ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ถอนผู้จัดการมรดก, การปันมรดกเสร็จสิ้นแล้ว, การจัดการศาลจ้าวไม่เป็นมรดก, ศาลจ้าวใต้เซียฮุดโจ๊วเป็นกุศลสถาน

 

 

เพิ่มเพื่อนไลน์แชทกับทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

ปรึกษากฎหมายทางแชทไลน์

 ถอนผู้จัดการมรดก, การปันมรดกเสร็จสิ้นแล้ว, การจัดการศาลจ้าวไม่เป็นมรดก, ศาลจ้าวใต้เซียฮุดโจ๊วเป็นกุศลสถาน

"ผู้คัดค้านไม่มีอำนาจร้องขอถอนผู้จัดการมรดก หากการปันมรดกเสร็จสิ้นแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 และทรัพย์สินของศาลจ้าวใต้เซียฮุดโจ๊วไม่ใช่มรดกของผู้ตายตามกฎหมาย"

*ผู้คัดค้านเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ซึ่งเคยเป็นผู้จัดการศาลจ้าวใต้เซียฮุดโจ๊วที่ตั้งอยู่บนที่ดินของวัดไตรมิตรวิทยาราม ผู้ตายได้โอนที่ดินใน จ.ปทุมธานีให้ผู้คัดค้านโดยเสน่หาและเสียชีวิต ในปี 2548 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมปี 2541 ศาลชั้นต้นตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก แต่ผู้คัดค้านเคยขอจัดงานในศาลจ้าวในหลายปีที่ผ่านมาโดยได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ

*การที่ศาลอุทธรณ์ยกประเด็นการปันมรดกเสร็จสิ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 วรรคหนึ่ง มาเป็นเหตุยกคำร้องของผู้คัดค้าน เป็นการชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยที่ศาลสามารถหยิบยกขึ้นพิจารณาได้ แม้คู่ความไม่ได้อ้างในชั้นอุทธรณ์ ฎีกาของผู้คัดค้านจึงฟังไม่ขึ้น

*การปันทรัพย์มรดกของผู้ตายเสร็จสิ้นแล้ว ผู้คัดค้านจึงไม่มีอำนาจร้องขอถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 วรรคหนึ่ง ทั้งนี้ ศาลจ้าวใต้เซียฮุดโจ๊วและทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องถือเป็นกุศลสถานสำหรับมหาชน ไม่ใช่มรดกของผู้ตายตามกฎหมาย แม้จะระบุไว้ในพินัยกรรมก็ไม่มีผลบังคับ ฎีกาของผู้คัดค้านจึงฟังไม่ขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2210/2559

การร้องขอถอนผู้จัดการมรดกก่อนปันมรดกเสร็จสิ้นแล้วหรือไม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 เป็นเรื่องอำนาจฟ้องหรืออำนาจยื่นคำร้องอันเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

ศาลจ้าวใต้เซียฮุดโจ๊วตั้งอยู่ในที่ดินซึ่งรัฐเป็นเจ้าของหรือผู้ปกปักรักษาตามกฎเสนาบดีกระทรวงนครบาลและกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 15 มีนาคม 2463 ออกตามความใน พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา 123 เป็นกุศลสถานสำหรับมหาชนแม้ผู้ตายจะเป็นผู้ดูแลขณะมีชีวิต ก็หาทำให้ศาลจ้าวใต้เซียฮุดโจ๊วตลอดทั้งทรัพย์สินและผลประโยชน์ของศาลจ้าวนั้นเป็นมรดกของผู้ตายอันจะตกแก่ทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 วรรคหนึ่ง ที่ผู้ตายจะกำหนดการเผื่อตายเกี่ยวกับทรัพย์สินในพินัยกรรมได้ แม้จะกำหนดไว้ในพินัยกรรมก็ไม่มีผลบังคับ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1646

ผู้ตายเป็นผู้จัดการปกครองดูแลศาลจ้าวใต้เซียฮุดโจ๊วจะต้องมีคุณสมบัติตามกฎเสนาบดีฯ ข้างต้น ซึ่งเป็นการประกอบกิจการอาชีพอันเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ ย่อมไม่เป็นมรดกของผู้ตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1600 อันจะตกแก่ทายาทตาม มาตรา 1599 วรรคหนึ่ง

ตามพินัยกรรมที่ผู้ตายทำเมื่อไม่มีทรัพย์สินที่ตามพินัยกรรมที่จะปันแก่ทายาท และทรัพย์สินนอกพินัยกรรมของผู้ตายก็ไม่มีแล้ว การจัดการมรดกของผู้ตายโดยผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกย่อมเสร็จสิ้น ผู้คัดค้านจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 วรรคหนึ่ง

 

ถอนผู้จัดการมรดกก่อนปันมรดก, ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727, ศาลจ้าวใต้เซียฮุดโจ๊วเป็นกุศลสถาน, ทรัพย์สินที่ไม่ใช่มรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1600, พินัยกรรมไม่มีผลตาม ป.พ.พ. มาตรา 1646, การปันทรัพย์มรดกเสร็จสิ้น, อำนาจศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), คุณสมบัติผู้จัดการศาลจ้าว, ข้อพิพาทเกี่ยวกับมรดกและพินัยกรรม, การจัดการศาลจ้าวไม่เป็นมรดก,

 

 

*****คดีสืบเนื่องมาจากผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมของนางอุ่นใจ ผู้ตาย ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

**ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอและแก้ไขคำร้องขอให้ถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย และตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกแทน

ผู้ร้องยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้องขอของผู้คัดค้าน

ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้ววินิจฉัยว่า ลายมือชื่อผู้เขียนและพยานในพินัยกรรมปลอมตกเป็นโมฆะจึงมีคำสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย และตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแทน ให้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

ผู้ร้องอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า การปันมรดกเสร็จสิ้นแล้ว ผู้คัดค้านไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอแล้ว พิพากษากลับให้ยกคำร้องขอของผู้คัดค้าน ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ

ผู้คัดค้านฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังได้เป็นยุติในชั้นนี้ โดยคู่ความไม่โต้แย้งคัดค้านว่า ผู้คัดค้านเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของนางอุ่นใจ ผู้ตาย ซึ่งเกิดจากนายชวน ตามเอกสารรายการเกี่ยวกับบ้าน สำเนาสูติบัตร และสำเนาหนังสือสำคัญเปลี่ยนชื่อสกุลของผู้ตาย อาคารเลขที่ 66 ถนนพระราม 4 แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เป็นของวัดไตรมิตรวิทยาราม มีศาลจ้าวใต้เซียฮุดโจ๊วตั้งอยู่ เพื่อให้ประชาชนผู้มีจิตศรัทธามากราบไหว้ โดยผู้ตายเป็นผู้เช่าอาคารเลขที่ 66 จากวัดไตรมิตรวิทยารามเพื่ออยู่อาศัย ตามสำเนาแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร ผู้ตายเป็นผู้จัดการปกครองดูแลศาลจ้าว เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2544 ผู้ตายจดทะเบียนให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 16650 ตำบลประชาธิปัตย์ (รังสิตเหนือ) อำเภอธัญบุรี (กลางเมือง) จังหวัดปทุมธานี (ธัญบุรี) พร้อมอาคารซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ตายแก่ผู้คัดค้านโดยเสน่หา ตามสำเนาโฉนดที่ดินและหนังสือให้ที่ดิน วันที่ 22 พฤษภาคม 2548 ผู้ตายถึงแก่ความตาย ตามสำเนามรณบัตร และแบบรับรองรายการทะเบียนคนตาย วันที่ 13 มกราคม 2553 นายเกตุ ได้ทำสัญญาเช่าอาคารเลขที่ 66 จากวัดไตรมิตรวิทยาราม ตามสำเนาสัญญาเช่าอาคาร ใบเสร็จรับเงินและใบสำคัญการรับเงินประจำปี 2556 และปี 2557 วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2556 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย โดยอ้างว่า ผู้ตายทำพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 18 มีนาคม 2541 ไว้ ซึ่งตรงกับพินัยกรรม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2556 ตามคำสั่งศาลชั้นต้นในสำนวนคดีนี้ อนึ่ง เมื่อปี 2550, 2551, 2554, 2556 และ 2557 ผู้คัดค้านเคยขออนุญาตจัดให้มีการแสดงมหรสพงิ้วโรง เนื่องในงานเทศกาลไหว้ศาลจ้าว ตามคำสั่งอนุญาตของเจ้าพนักงานตำรวจ

*ปัญหาต้องวินิจฉัยประการแรกตามฎีกาของผู้คัดค้านมีว่า ที่ศาลอุทธรณ์ยกประเด็นเรื่องการปันมรดกของผู้ตายเสร็จสิ้นแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 วรรคหนึ่ง มาเป็นเหตุยกคำร้องขอของผู้คัดค้านเป็นการชอบหรือไม่ และประเด็นดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือไม่ เห็นว่า มาตรา 1727 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกเพราะเหตุ... ก็ได้ แต่ต้องร้องขอเสียก่อนที่การปันมรดกเสร็จสิ้นลง" บทบัญญัติดังกล่าวเป็นเรื่องอำนาจฟ้องหรืออำนาจยื่นคำร้องขอ จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่ได้หยิบยกขึ้นเป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ย่อมหยิบยกขึ้นอ้างได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) เมื่อตามคำร้องขอของผู้คัดค้านกล่าวอ้างครั้งแรกก่อนขอแก้ไขคำร้องว่า การปันทรัพย์มรดกเสร็จสิ้น อันเป็นเหตุให้ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าการปันทรัพย์มรดกเสร็จสิ้นแล้ว จึงเป็นข้อเท็จจริงที่ว่ากล่าวโดยชอบในศาลชั้นต้นอันนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้อง ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์หยิบประเด็นเรื่องการปันทรัพย์มรดกเสร็จสิ้นแล้วมาเป็นเหตุยกคำร้องขอของผู้คัดค้านว่าไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอ จึงชอบแล้ว ฎีกาของผู้คัดค้านประการแรกฟังไม่ขึ้น


ปัญหาต้องวินิจฉัยประการที่สองตามฎีกาของผู้คัดค้านมีว่า การปันทรัพย์มรดกของผู้ตายเสร็จสิ้นแล้วเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านไม่มีอำนาจร้องขอให้ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ เห็นว่า แม้หากจะฟังว่าพินัยกรรมไม่ตกเป็นโมฆะ แต่ตามพินัยกรรมมีข้อกำหนดในพินัยกรรมรวม 5 ข้อ โดยข้อ 1 ถึงข้อ 4 เป็นเรื่องกำหนดการเผื่อตายเกี่ยวกับทรัพย์สิน ข้อ 5 กำหนดให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ในส่วนศาลจ้าวใต้เซียฮุดโจ๊วและการจัดกิจการศาลจ้าวที่พินัยกรรมกำหนดให้ผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจดำเนินการกิจการศาลจ้าวต่อไปรวมทั้งดำเนินการเกี่ยวกับผลประโยชน์ที่ได้รับบริจาคตามพินัยกรรม ข้อ 4. นั้น ผู้คัดค้านฎีกาว่า ศาลจ้าวใต้เซียฮุดโจ๊ว รวมทั้งทรัพย์สินในกิจการของศาลจ้าวเป็นมรดกของผู้ตายที่ไม่ได้ระบุในพินัยกรรมจึงเป็นมรดกของผู้ตายที่ตกแก่ผู้คัดค้านที่เป็นทายาทโดยธรรมแต่ผู้เดียวและผู้ร้องได้ฟ้องผู้คัดค้านกับนายเกตุต่อศาลชั้นต้นขอให้ขับไล่ผู้คัดค้านและนายเกตุออกจากศาลจ้าว ห้ามผู้คัดค้านและนายเกตุยุ่งเกี่ยวกับกิจการของศาลจ้าวใต้เซียฮุดโจ๊ว กับให้ส่งมอบทรัพย์สินของศาลจ้าวที่อยู่ในความครอบครองของผู้คัดค้านและนายเกตุให้แก่ผู้ร้องทั้งหมด ตามหมายเรียกคดีแพ่งสามัญและสำเนาคำฟ้องของศาลชั้นต้น ซึ่งศาลชั้นต้นได้จำหน่ายคดีชั่วคราวเพื่อรอผลคำพิพากษาคดีนี้ ตามสำเนารายงานกระบวนพิจารณาคดีหมายเลขดำที่ พ.281/2557 หมายเลขคดีแดงที่ พ.635/2557 ของศาลชั้นต้นลงวันที่ 21 เมษายน 2557 ที่แนบท้ายฎีกา (ซึ่งผู้ร้องไม่ได้แก้ฎีกาโต้แย้ง) การปันทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้น จึงมีปัญหาว่า ศาลจ้าวใต้เซียฮุดโจ๊วและทรัพย์สินภายในศาลจ้าวกับกิจการศาลจ้าวรวมทั้งผลประโยชน์และรายจ่ายของศาลจ้าวเป็นมรดกของผู้ตายหรือไม่ ซึ่งศาลล่างทั้งสองยังไม่ได้วินิจฉัย ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่ย้อนสำนวน เห็นว่า ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา 123 บัญญัติว่า "ที่วัดหรือกุศลสถานอย่างอื่นซึ่งเป็นของกลางสำหรับมหาชนก็ให้อยู่ในหน้าที่กรมการอำเภอจะต้องตรวจตราอุดหนุนผู้ปกปักรักษา อย่าให้ผู้ใดรุกล้ำเบียดเบียนที่อันนั้น" ซึ่งกฎเสนาบดีกระทรวงนครบาลและกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยกุศลสถานชนิดศาลจ้าว ลงวันที่ 15 มีนาคม 2463 ออกตามความในพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา 123 ว่า ศาลจ้าวซึ่งเป็นสถานที่เคารพและกระทำพิธีกรรมตามลัทธิของประชาชนบางจำพวกในกรุงสยามนับว่าเป็นกุศลสถานสำหรับประชาชนประเภทหนึ่ง โดยใช้กฎดังกล่าวเฉพาะศาลจ้าวที่ตั้งอยู่ในที่ดินซึ่งรัฐบาลเป็นเจ้าของหรือเป็นผู้ปกปักษ์รักษาเท่านั้นตามกฎข้อ 1. เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ศาลจ้าวใต้เซียฮุดโจ๊วเป็นสถานที่เคารพสักการะและทำพิธีกรรมของประชน (โดยเฉพาะชาวจีนรอบบริเวณศาลจ้าว) และตั้งอยู่ในอาคารเลขที่ 66 ของวัดไตรมิตรวิทยารามที่ปลูกอยู่บนที่ดินของวัดอันเป็นธรณีสงฆ์ ศาลจ้าวนั้นจึงตั้งอยู่ในที่ดินซึ่งรัฐบาลเป็นเจ้าของ กรณีต้องด้วยบทกฎหมายและกฏเสนาบดีข้างต้น ศาลจ้าวใต้เซียฮุดโจ๊วจึงเป็นกุศลสถานสำหรับมหาชนหาใช่มรดกของผู้ตาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1600 อันจะตกแก่ทายาทตามมาตรา 1599 วรรคหนึ่งไม่ นอกจากนี้ กฎข้อ 2 ฆ คำว่า ผลประโยชน์นั้น หมายความว่า ทรัพย์สมบัติรายได้อันพึงบังเกิดแก่ศาลจ้าวนั้น และหมายความตลอดถึงรายจ่ายด้วย ดังนั้น ทรัพย์สินและผลประโยชน์รวมทั้งรายจ่ายเกี่ยวกับศาลจ้าวจึงเป็นของศาลจ้าวหาใช่เป็นทรัพย์สินของผู้ตาย อันจะเป็นมรดกตกได้แก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ดังกล่าว แม้ผู้ตายจะกำหนดการเผื่อตายเกี่ยวกับทรัพย์สินไว้ก็ไม่มีผลบังคับเป็นพินัยกรรม ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1646 ส่วนการจัดกิจการศาลจ้าว กฎข้อ 11. กำหนดให้มีผู้จัดการปกครองและผู้ตรวจตรา ข้อ 12. กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นผู้จัดการปกครองและผู้ตรวจตราไว้ ซึ่งจะต้องมีใบอนุญาตตามหลักเกณฑ์ ข้อ 13. แม้ผู้ตายจะเป็นผู้จัดการปกครองดูแลศาลจ้าวขณะมีชีวิตก็เป็นการประกอบกิจการงานอาชีพอันเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ เนื่องจากจะต้องมีคุณสมบัติและมีใบอนุญาตตามกฎเสนาบดีข้างต้น การเป็นผู้จัดการศาลจ้าวของผู้ตายย่อมไม่เป็นมรดกของผู้ตายตามมาตรา 1600 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อันจะตกได้แก่ทายาท ตามมาตรา 1599 วรรคหนึ่ง เช่นกัน แม้ผู้ตายจะกำหนดให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการศาลจ้าวก็ไม่มีผลบังคับ เมื่อพินัยกรรมตามข้อ 1 ถึงข้อ 4 ไม่มีผลบังคับ ดังวินิจฉัยข้างต้น จึงไม่มีทรัพย์สินตามพินัยกรรมที่จะปันแก่ทายาท แม้ผู้ร้องจะเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลซึ่งมีอำนาจจัดการทรัพย์มรดกของผู้ตายที่ไม่ระบุไว้ในพินัยกรรมด้วยก็ตาม แต่ได้ความตามคำร้องขอของผู้คัดค้านว่า ทรัพย์สินนอกพินัยกรรมจัดการเสร็จสิ้นแล้ว เช่นนี้ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าการปันทรัพย์มรดกของผู้ตายเสร็จสิ้นแล้วก่อนที่ผู้คัดค้านจะยื่นคำร้องขอให้ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดก ผู้คัดค้านจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 วรรคหนึ่ง การที่ผู้ร้องฟ้องผู้คัดค้านกับนายเกตุและศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราวตามคดีหมายเลขดำที่ พ.281/2557 หมายเลขแดงที่ พ.635/2557 เป็นเรื่องการโต้เถียงอำนาจการจัดการศาลจ้าวใต้เซียฮุดโจ๊วซึ่งไม่ใช่การจัดการมรดกของผู้ตาย ที่จะถือว่าเป็นเหตุการณ์ปันทรัพย์มรดกของผู้ตายไม่เสร็จสิ้นหาได้ไม่ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในปัญหาประการที่สองมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาของผู้คัดค้านประการนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน

พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

บทความ: การร้องขอถอนหรือการลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการมรดกตามกฎหมาย

การจัดการมรดกเป็นขั้นตอนสำคัญที่ต้องดำเนินการอย่างถูกต้องและโปร่งใส ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่ดูแลและแบ่งทรัพย์สินของผู้ตายตามกฎหมายและพินัยกรรมที่กำหนดไว้ อย่างไรก็ตาม ในบางกรณี อาจเกิดปัญหาที่ทำให้จำเป็นต้องร้องขอให้ถอนผู้จัดการมรดก หรือในบางกรณีผู้จัดการมรดกเองอาจต้องการลาออกจากตำแหน่ง ซึ่งทั้งสองประเด็นนี้ได้รับการกำหนดไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 ดังนี้

1. การร้องขอถอนผู้จัดการมรดก

กฎหมายกำหนดให้ ผู้มีส่วนได้เสีย มีสิทธิร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก หากพบเหตุผลที่เพียงพอ เช่น

•ผู้จัดการมรดก ละเลยหน้าที่ ไม่ดำเนินการจัดการทรัพย์มรดกตามที่กำหนดในพินัยกรรมหรือกฎหมาย

•มีเหตุผลอื่นที่สมควร เช่น การบริหารที่ไม่โปร่งใส หรือการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์มรดก

อย่างไรก็ตาม การร้องขอถอนผู้จัดการมรดกจะต้องทำก่อนที่การปันมรดกเสร็จสิ้นลง หากการปันมรดกเสร็จสิ้นแล้ว การยื่นคำร้องจะถือว่าไม่มีอำนาจตามกฎหมาย ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนต่อสิทธิของทายาทและผู้มีส่วนได้เสียรายอื่นๆ

2. การลาออกของผู้จัดการมรดก

ในกรณีที่ผู้จัดการมรดกมีเหตุผลสมควร เช่น สุขภาพไม่ดี หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ต่อเนื่อง กฎหมายอนุญาตให้ผู้จัดการมรดก ลาออกจากตำแหน่ง ได้ แต่การลาออกนี้จะต้องได้รับการ อนุญาตจากศาล ก่อนเสมอ ศาลจะพิจารณาความเหมาะสมของเหตุผลก่อนอนุมัติคำขอลาออก เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับการจัดการทรัพย์มรดก

ข้อควรระวังในการถอนหรือการลาออก

•ผู้มีส่วนได้เสีย ควรตรวจสอบข้อมูลและเหตุผลให้ครบถ้วนก่อนยื่นคำร้อง เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี

•ผู้จัดการมรดก ที่ต้องการลาออกควรเตรียมหลักฐานหรือเหตุผลที่ชัดเจนเพื่อสนับสนุนคำร้องต่อศาล

บทสรุป

การถอนหรือการลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการมรดกเป็นขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างชัดเจน เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียและรักษาความเป็นธรรมในกระบวนการจัดการมรดก ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรศึกษากฎหมายและดำเนินการอย่างถูกต้องเพื่อป้องกันความเสียหายและข้อพิพาทในภายหลัง

คำถามที่ 1:

การร้องขอถอนผู้จัดการมรดกหลังจากการปันมรดกเสร็จสิ้นสามารถทำได้หรือไม่?

คำตอบ:

ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 วรรคหนึ่ง ระบุว่าการร้องขอถอนผู้จัดการมรดกต้องทำก่อนที่การปันมรดกจะเสร็จสิ้น การร้องขอหลังจากนั้นถือว่าไม่มีอำนาจฟ้อง ซึ่งศาลอาจหยิบยกปัญหานี้ขึ้นพิจารณาได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

คำถามที่ 2:

ทรัพย์สินของศาลจ้าวใต้เซียฮุดโจ๊วถือเป็นมรดกของผู้ตายหรือไม่?

คำตอบ:

ทรัพย์สินของศาลจ้าวใต้เซียฮุดโจ๊วไม่ถือเป็นมรดกของผู้ตาย เพราะตามกฎหมาย ศาลจ้าวถือเป็นกุศลสถานสำหรับมหาชน และทรัพย์สินของศาลจ้าวเป็นทรัพย์สินเฉพาะของศาล ไม่สามารถระบุในพินัยกรรมเพื่อแบ่งให้ทายาทได้ ทั้งนี้สอดคล้องกับ ป.พ.พ. มาตรา 1600 และ 1646

 

คำถามที่ 1:  การร้องขอถอนผู้จัดการมรดกหลังจากการปันมรดกเสร็จสิ้นสามารถทำได้หรือไม่?  คำตอบ:  ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 วรรคหนึ่ง ระบุว่าการร้องขอถอนผู้จัดการมรดกต้องทำก่อนที่การปันมรดกจะเสร็จสิ้น การร้องขอหลังจากนั้นถือว่าไม่มีอำนาจฟ้อง ซึ่งศาลอาจหยิบยกปัญหานี้ขึ้นพิจารณาได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)  คำถามที่ 2:  ทรัพย์สินของศาลจ้าวใต้เซียฮุดโจ๊วถือเป็นมรดกของผู้ตายหรือไม่?  คำตอบ:  ทรัพย์สินของศาลจ้าวใต้เซียฮุดโจ๊วไม่ถือเป็นมรดกของผู้ตาย เพราะตามกฎหมาย ศาลจ้าวถือเป็นกุศลสถานสำหรับมหาชน และทรัพย์สินของศาลจ้าวเป็นทรัพย์สินเฉพาะของศาล ไม่สามารถระบุในพินัยกรรมเพื่อแบ่งให้ทายาทได้ ทั้งนี้สอดคล้องกับ ป.พ.พ. มาตรา 1600 และ 1646




คดีมรดก ร้องศาลตั้งผู้จัดการมรดก

พินัยกรรมของผู้ตายที่ห้ามโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตกเป็นโมฆะ, ข้อห้ามในพินัยกรรมเป็นโมฆะ, ผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม
ที่ดินของรัฐ มรดกของผู้ตาย, ที่ดินนิคมสหกรณ์, สิทธิทำประโยชน์ในที่ดิน, สิทธิเหนือพื้นดิน, การเพิกถอนโฉนดที่ดิน,
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทในกองมรดก, การเพิกถอนนิติกรรมในทรัพย์มรดก, การขายทรัพย์มรดกเพื่อชำระหนี้, ผู้จัดการมรดกกับสิทธิและหน้าที่
มรดกตกทอด, การเพิกถอนการสละมรดก, อายุความในการฟ้องคดีมรดก, สิทธิเรียกร้องแทนลูกหนี้
หนังสือแต่งตั้งผู้รับโอนประโยชน์ในเงินทุนเรือนหุ้นของสหกรณ์ไม่ถือเป็นพินัยกรรม, เงินสงเคราะห์สมาชิกสหกรณ์, สิทธิผู้รับโอนประโยชน์ในเงินสงเคราะห์
นิติกรรมซื้อขายที่ดินซึ่งเป็นคนต่างด้าว, คดีมรดกที่ดินของคนต่างด้าว, อายุความคดีมรดก, การยักยอกทรัพย์มรดก
พินัยกรรมยกมรดกให้พี่น้องร่วมบิดามารดา, สิทธิของผู้สืบสันดานในการรับมรดกแทนที่, การฟ้องเรียกค่าเช่าจากทรัพย์สินมรดก
การกำจัดทายาทมิให้รับมรดก, สิทธิรับมรดกของผู้สืบสันดานเมื่อทายาทถูกกำจัด, การเพิกถอนนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์มรดก
เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดก, การฟ้องแบ่งมรดกของผู้ตาย, การยกอายุความในคดีมรดก, สินสมรสและสินส่วนตัวในกองมรดก
ผู้จัดการมรดกและการโอนทรัพย์มรดก, พินัยกรรมด้วยวาจา ป.พ.พ. มาตรา 1663, การครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาท
สิทธิทายาทในมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง, ทายาทตายก่อนแบ่งมรดก, รับมรดกแทนที่ มาตรา 1639,
สิทธิการฟ้องขอแบ่งมรดกของทายาท, การเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินมรดก, สินสมรสหลังคู่สมรสเสียชีวิต
สัญญาประกันชีวิต, สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก, ผู้ทำประกันชีวิตและผู้รับผลประโยชน์ตายพร้อมกัน
การจัดการหนี้สินในกองมรดก, สิทธิของเจ้าหนี้กองมรดก, ที่ดินมรดกและการบังคับคดี
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดก
ผู้จัดการมรดกปฏิบัติผิดหน้าที่-ทายาทผู้มีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกได้
ผู้จัดการมรดกร่วมถึงแก่ความตายต้องทำอย่างไร, ฟ้องซ้อน คืออะไร, แต่งตั้งผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่เพียงทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป
ทายาทฟ้องทายาทให้แบ่งทรัพย์มรดก
การจัดการทรัพย์มรดกในฐานะผู้จัดการมรดกตามหน้าที่ที่จำเป็น
คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกปิดบังทรัพย์มรดกมีผลอย่างไร
ทายาทมิได้ฟ้องเรียกร้องมรดกภายใน 1 ปี
ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ผู้มีส่วนได้เสีย
สามีไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้จัดการมรดกได้
ทรัพย์มรดกยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาททุกคน-การจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้น
บุคคลผู้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มีผลอย่างไร?
ฟ้องผู้จัดการมรดกนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงเกินห้าปีขาดอายุความ
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลถูกเพิกถอนได้
อายุความคดีมรดก เจ้าหนี้ฟ้องคดีมรดกเกินหนึ่งปี
คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก
บุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย
บุตรนอกกฎหมายซึ่งผู้ตายรับรองแล้วเป็นผู้สืบสันดาน
มารดาขายที่ดินซึ่งผู้เยาว์มีส่วนแบ่งไม่ต้องขอศาล
นายอำเภอคือผู้มีอำนาจจัดทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
ความรับผิดของผู้จัดการมดกภายหลังการเสียชีวิต
ผู้จัดการมรดกร่วมนำทรัพย์มรดกหาประโยชน์แก่ตน
ผู้สืบสันดาน คือใคร? ต่างกับทายาท อย่างไร?
คู่สมรสและการแบ่งมรดกของคู่สมรส | การสมรสเป็นโมฆะ
อายุความคดีมรดก และอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก
เหตุอันจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก
การปันมรดกเสร็จสิ้นลงแล้วการถอนผู้จัดการมรดกย่อมพ้นกำหนดเวลา
สามีมิได้จดทะเบียนสมรสไม่ถือเป็นทายาทของภริยาผู้ตาย
อำนาจหน้าที่จัดการศพพระภิกษุผู้มรณภาพไม่มีทรัพย์สิน
สามีไม่จดทะเบียนสมรสขอถอนผู้จัดการมรดก มีกรรมสิทธิ์รวม
ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะทำหน้าที่ผู้จัดการมรดก
อำนาจฟ้องขอแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตาย
ทายาททุกคนมอบหมายให้ครอบครองที่ดินแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วม
ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามมาตรา 1300
ทายาทโดยธรรมย่อมมีสิทธิเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์มรดกตามส่วนที่จะพึงได้
สิทธิรับมรดกที่ยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาห้ามยกเป็นข้อต่อสู้ผู้รับโอนโดยสุจริต
การจัดการมรดกและผู้จัดการมรดก, สินสมรสและสินส่วนตัวในคดีมรดก, อายุความคดีมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733
ผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก
ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์มรดกเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความแล้ว
ผู้คัดค้านไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการขอจัดการมรดก
ทายาทมีส่วนเท่ากันออกค่าใช้จ่ายจัดการทำศพ
ความเหมาะสมในการเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น
สิทธิของบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายในการรับมรดกของบุตรนอกกฎหมาย
หนังสือสัญญาแบ่งมรดกตกเป็นโมฆะหรือไม่?
อำนาจและหน้าที่ในการจัดการทำศพและลำดับก่อนหลัง
พินัยกรรมมีเงื่อนไขบังคับก่อน
ผู้จัดการมรดกฟ้องแทนทายาทโดยธรรมอื่น
คู่สมรสที่จดทะเบียนหย่าแล้วเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่
การสละมรดกมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายจึงขาดความเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
แม้กองมรดกมีผู้จัดการมรดกแล้วทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้อง
พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองไม่ได้ทำต่อหน้าพยานตกเป็นโมฆะ
บุตรนอกสมรสและบิดานอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดกต่อกันอย่างไร
ผู้จัดการมรดก | ทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดกเรียกให้เจ้าของรวมส่งมอบโฉนดที่ดิน
การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลงอายุความ 5 ปียังไม่เริ่มนับ
สิทธิรับมรดกก่อนหลัง
คำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ
อายุความฟ้องคดีแพ่งอันเนื่องจากคดียักยอกทรัพย์มรดก
เมื่อแบ่งมรดกเสร็จแล้วความเป็นทายาทสิ้นสุดลง-อายุความมรดก
การแบ่งมรดกที่ดินมือเปล่าไม่มีเอกสารสิทธิ
คดีมรดกต้องเป็นคดีที่ทายาทด้วยกันพิพาทกันเรื่องสิทธิในส่วนแบ่งมรดก
ขอให้ศาลสั่งถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ความรับผิดของผู้ตาย
แสดงบัญชีเครือญาติเป็นเท็จปิดบังจำนวนทายาท
อายุความคดีมรดกสะดุดหยุดลง การแบ่งทรัพย์มรดกไม่ชอบ
ไม่มีกฎหมายบังคับให้ฟ้องเอาทรัพย์มรดกจากทายาทอื่นที่ครอบครองแทนใน 1 ปี
สัญญาว่าจ้างติดตามทรัพย์กองมรดกเรียกส่วนแบ่งเป็นโมฆะ
คดีฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมปลอมและถูกกำจัดมิให้รับมรดก
โจทก์ฟ้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปี
ผู้จัดการมรดกแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันฟังคำสั่งศาล
คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกอายุความ 5 ปี
การแจ้งการเกิดของเด็กในทะเบียนคนเกิดเองว่าเป็นบุตรของตน
ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
การที่จะเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนทายาทอื่น
พินัยกรรมเอกสารลับทำผิดแบบเป็นโมฆะ
การจัดการมรดกไม่ชอบไม่อาจถือว่าการจัดการมรดกสิ้นลงแล้ว