ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




แสดงบัญชีเครือญาติเป็นเท็จปิดบังจำนวนทายาท

 แสดงบัญชีเครือญาติเป็นเท็จปิดบังจำนวนทายาท

คำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกกฎหมายจะไม่บังคับให้ต้องยื่นบัญชีเครือญาติพร้อมไปกับคำร้องก็ตาม แต่ผู้จัดการมรดกเป็นบุคคลที่เจ้ามรดกให้ความไว้วางใจหรือเป็นบุคคลที่ศาลเห็นว่าน่าจะจัดการเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกมากที่สุด ซึ่งต้องดูจากพฤติการณ์และความสุจริตใจของผู้ร้องขอเป็นสำคัญ เมื่อผู้ร้องมีพฤติการณ์ที่ส่อไปในทางไม่สุจริต แสดงบัญชีเครือญาติเป็นเท็จเพื่อปิดบังข้อเท็จจริงในเรื่องจำนวนทายาทของผู้ตายอันอาจเป็นการเสียหายแก่ทายาทของผู้ตายที่ถูกปิดบังเช่นนี้ ย่อมถือได้ว่าเป็นเหตุอย่างอื่นอันสมควรที่ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกได้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  4703/2552
 
มาตรา 1713  ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกก็ได้ ในกรณีดั่งต่อไปนี้
(1)  เมื่อเจ้ามรดกตาย ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมได้สูญหายไป หรืออยู่นอกราชอาณาเขต หรือเป็นผู้เยาว์
(2)  เมื่อผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่สามารถ หรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ หรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการ หรือในการแบ่งปันมรดก
(3)  เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกไว้ไม่มีผลบังคับได้ด้วยประการใด ๆ
การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ถ้ามีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งตามข้อกำหนดพินัยกรรม และถ้าไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรม ก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์และโดยคำนึงถึงเจตนาของเจ้ามรดก แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร

มาตรา 1719  ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็น เพื่อให้การเป็นไปตามคำสั่งแจ้งชัดหรือโดยปริยายแห่งพินัยกรรม และเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปหรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก
 
มาตรา 1727  ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก เพราะเหตุผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควรก็ได้ แต่ต้องร้องขอเสียก่อนที่การปันมรดกเสร็จสิ้นลง
แม้ถึงว่าจะได้เข้ารับตำแหน่งแล้วก็ดี ผู้จัดการมรดกจะลาออกจากตำแหน่งโดยมีเหตุอันสมควรก็ได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตจากศาล

     แม้การยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกกฎหมายจะไม่บังคับให้ต้องยื่นบัญชีเครือญาติพร้อมไปกับคำร้องก็ตาม แต่การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 วรรคท้าย บัญญัติให้ศาลตั้งตามข้อกำหนดพินัยกรรม ถ้าไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรม ก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์ และมาตรา 1719 บัญญัติให้ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อให้การเป็นไปตามคำสั่งแจ้งชัดหรือโดยปริยายแห่งพินัยกรรม และเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปหรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก ดังนั้น ผู้จัดการมรดกจึงเป็นบุคคลที่เจ้ามรดกให้ความไว้วางใจหรือเป็นบุคคลที่ศาลเห็นว่าน่าจะจัดการเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกมากที่สุดและให้สมดังเจตนาของเจ้ามรดก ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องพิเคราะห์ดูจากพฤติการณ์และความสุจริตใจของผู้ร้องขอเป็นสำคัญ เมื่อฟังว่าผู้ร้องมีพฤติการณ์ที่ส่อไปในทางไม่สุจริต แสดงบัญชีเครือญาติเป็นเท็จเพื่อปิดบังข้อเท็จจริงในเรื่องจำนวนทายาทของผู้ตายอันอาจเป็นการเสียหายแก่ทายาทของผู้ตายที่ถูกปิดบังเช่นนี้ ย่อมถือได้ว่าเป็นเหตุอย่างอื่นอันสมควรที่ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 วรรคหนึ่งได้แล้ว

   นับแต่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกผู้ร้องไม่เคยแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และทายาทอื่นเลย ซึ่งเมื่อนับแต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก จนถึงวันที่ผู้คัดค้านทั้งสามยื่นคำร้องขอถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกเป็นเวลาถึง 2 ปีเศษ จึงเป็นระยะเวลานานพอสมควรที่ผู้ร้องจะสามารถแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทอื่นได้แล้ว การที่ผู้ร้องไม่ดำเนินการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และทายาทอื่นของผู้ตายจนเวลาล่วงเลยมาหลายปีแล้วเช่นนี้ ถือได้ว่าผู้ร้องทำผิดหน้าที่และละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ผู้จัดการมรดกอันเป็นเหตุอย่างอื่นที่ผู้มีส่วนได้เสียจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 วรรคหนึ่ง

   การที่ผู้คัดค้านทั้งสามร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 และขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกแทนนั้นแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่ามีเหตุที่ศาลจะสั่งถอนได้ ก็ไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดก ศาลอาจจะไม่ถอนผู้จัดการมรดกคนเดิมแต่ให้ตั้งผู้จัดการมรดกคนใหม่เป็นผู้จัดการมรดกร่วมก็ได้หากศาลเห็นว่าจะเป็นการทำให้ทายาททุกฝ่ายได้รับประโยชน์จากกองมรดกด้วยความเป็นธรรมมากที่สุด แม้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกอยู่เดิมมีเจตนาปกปิดจำนวนทายาทที่แท้จริงและละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ แต่ก็ปรากฏว่าก่อนที่ผู้ตายจะถึงแก่ความตายได้พักอาศัยอยู่กับผู้ร้อง ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ไม่เคยไปเยี่ยมเยียนผู้ตายเลย แม้ขณะผู้ตายป่วยก็ไม่เคยไปดูแล ทั้งเมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายก็ไม่ไปร่วมงานศพ และไม่มีส่วนออกค่าใช้จ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาลและค่าปลงศพของผู้ตาย แสดงว่าผู้คัดค้านที่ 1 อาจจะไม่ค่อยมีความผูกพันหรือได้รับความไว้วางใจจากผู้ตายมากนัก การจะตั้งผู้ร้องหรือผู้คัดค้านที่ 1 คนใดคนหนึ่งให้เป็นผู้จัดการมรดกเพียงลำพังจึงอาจเกิดความไม่เป็นธรรมแก่อีกฝ่ายและไม่เกิดประโยชน์แก่กองมรดกสมดังเจตนาของผู้ตาย เพื่อให้การจัดการมรดกเป็นไปด้วยความถูกต้องและเป็นธรรม ศาลฎีกาจึงเห็นพ้องด้วยกับศาลอุทธรณ์ที่ให้ตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกัน

   คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งแต่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมมรดกของนายบุญส่ง ผู้ตายกับให้ผู้ร้องมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย

   ผู้คัดค้านทั้งสามยื่นคำร้องขอและแก้ไขคำร้อง ขอให้ศาลมีคำสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกแทน

     ผู้ร้องยื่นคำคัดค้าน ขอให้ยกคำร้องขอของผู้คัดค้านทั้งสาม

  ระหว่างไต่สวน ผู้คัดค้านที่ 3 ถึงแก่ความตาย ศาลชั้นต้นจำหน่ายคดีเฉพาะผู้คัดค้านที่ 3 ออกจากสารบบความ

    ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งยกคำร้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

     ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 อุทธรณ์

  ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ตั้งผู้ร้องร่วมกับผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของนายบุญส่ง ผู้ตาย ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

    ผู้ร้องฎีกา

    ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “...ข้อเท็จจริงฟังได้ในเบื้องต้นว่า นายบุญส่ง ผู้ตาย มีภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส 3 คน ภรรยาคนแรกคือนางตุ๋ยหรือกุ๋ยหรือหรือสีกุย มีบุตรรวม 4 คน คือผู้คัดค้านทั้งสามกับนายสุชิน ภรรยาคนที่สองไม่ทราบชื่อและเสียชีวิตแล้วโดยมีบุตร 1 คน คือ นายสุพจน์ ภรรยาคนที่สามคือนางยุพา มีบุตร 2 คน คือนางสาวขวัญเรือน และผู้ร้อง ผู้ตายได้ให้การรับรองว่าบุตรทุกคนเป็นบุตรของตนแล้ว เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย โดยในการยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ผู้ร้องได้แสดงบัญชีเครือญาติตามเอกสารหมาย ร.3 และนำสืบว่าผู้ตายมีทายาทอยู่เพียง 2 คน คือนางสาวขวัญเรือน และตัวผู้ร้อง ซึ่งเป็นบุตรที่เกิดจากนางยุพา ภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนของผู้ตาย

          คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาข้อแรกของผู้ร้องว่า การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอจัดการมรดกโดยเสนอบัญชีเครือญาติ ตามเอกสารหมาย ร.3 ต่อศาลชั้นต้น ผู้ร้องมีเจตนาปิดบังจำนวนทายาทที่แท้จริงหรือไม่ เห็นว่า ในชั้นอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า ผู้ร้องทราบดีตั้งแต่ก่อนยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกแล้วว่าผู้คัดค้านทั้งสาม นายสุชิน และนายสุพจน์เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายด้วยแต่ผู้ร้องไม่ระบุชื่อบุคคลดังกล่าวลงในบัญชีเครือญาติตามเอกสารหมาย ร.3 ผู้ร้องมิได้ฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงดังกล่าว จึงต้องฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติว่า ผู้ร้องทราบว่าผู้คัดค้านทั้งสาม นายสุชินและนายสุพจน์ เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายด้วยตั้งแต่ก่อนที่ผู้ร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกแล้ว การที่ผู้ร้องแสดงบัญชีเครือญาติตามเอกสารหมาย ร.3 และสำสืบว่าผู้ตายมีทายาทอยู่เพียง 2 คน คือตัวผู้ร้องและนางสาวขวัญเรือนพี่สาวของผู้ร้อง เมื่อรับฟังประกอบกับในระหว่างไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้านทั้งสามเมื่อทนายผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 3 นำบัญชีเครือญาติตามเอกสารหมาย ร.3 ให้ผู้ร้องดู ผู้ร้องก็ยังเบิกความยืนยันว่า ผู้ตายมีทายาทที่เกิดจากนางยุพาเพียงเท่าที่ปรากฏตามเอกสารดังกล่าวอยู่อีก ทั้งภายหลังจากที่ผู้ร้องได้รับการตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้วก็ไม่ปรากฏว่าผู้ร้องเคยติดต่อหรือแจ้งให้ผู้คัดค้านทั้งสามทราบเพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับการจัดการมรดกของผู้ตายแต่อย่างใด พฤติการณ์ของผู้ร้องดังกล่าวย่อมส่อแสดงให้เห็นว่า ผู้ร้องมีเจตนาไม่สุจริตแสดงบัญชีเครือญาติเป็นเท็จเพื่อต้องการปิดบังจำนวนทายาทที่แท้จริงของผู้ตายแล้ว ที่ผู้ร้องฎีกาอ้างว่าผู้ร้องไม่ได้รับประโยชน์อันใดจากการเข้ามาเป็นผู้จัดการมรดก และไม่ได้รับสินจ้างบำเหน็จจากการเป็นผู้จัดการมรดก ทั้งการที่ทายาทไม่มีชื่อระบุอยู่ในบัญชีเครือญาติก็ไม่ทำให้ทายาทนั้นเสียสิทธิในการรับมรดกแต่อย่างใด และในการยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกก็ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายบังคับว่า จะต้องยื่นบัญชีเครือญาติพร้อมไปกับคำร้องด้วยนั้น คงเป็นเพียงความเห็นของผู้ร้องเอง ซึ่งในข้อนี้ศาลฎีกาเห็นว่าแม้กฎหมายจะไม่บังคับให้ต้องยื่นบัญชีเครือญาติพร้อมไปกับคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกก็ตามแต่การตั้งผู้จัดการมรดกนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 วรรคท้าย บัญญัติให้ศาลตั้งตามข้อกำหนดพินัยกรรม ถ้าไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์และมาตรา 1719 บัญญัติให้ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อให้การเป็นไปตามคำสั่งแจ้งชัดหรือโดยปริยายแห่งพินัยกรรม และเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปหรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก ดังนั้น ผู้จัดการมรดกจึงเป็นบุคคลที่เจ้ามรดกให้ความไว้วางใจ หรือเป็นบุคคลที่ศาลเห็นว่าน่าจะจัดการเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกมากที่สุดและให้สมดังเจตนาของเจ้ามรดก ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องพิเคราะห์ดูจากพฤติการณ์และความสุจริตใจของผู้ร้องขอเป็นสำคัญ เมื่อฟังว่าผู้ร้องมีพฤติการณ์ที่ส่อไปในทางไม่สุจริตแสดงบัญชีเครือญาติเป็นเท็จเพื่อปิดบังข้อเท็จจริงในเรื่องจำนวนทายาทของผู้ตาย อันอาจเป็นการเสียหายแก่ทายาทของผู้ตายที่ถูกปิดบังเช่นนี้ ย่อมถือได้ว่าเป็นเหตุอย่างอื่นอันสมควรที่ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 วรรคหนึ่ง ได้แล้ว ฎีกาของผู้ร้องข้อนี้จึงฟังไม่ขึ้น

          มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องข้อต่อไปว่า ผู้ร้องได้กระทำผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดก ละเลยไม่ทำการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทหรือไม่ ในข้อนี้ผู้ร้องเบิกความยอมรับว่า ภายหลังจากได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดก ผู้ร้องได้รวบรวมทรัพย์สินและจำหน่ายทรัพย์สินไปบางส่วน โดยขายที่ดินว่างเปล่าที่ตั้งอยู่อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และขายที่ดินพร้อมบ้านทาวน์เฮาส์ที่เขตสวนหลวงตามบัญชีทรัพย์เอกสารหมาย ร.10 อันดับที่ 5 และที่ 6 ไปในราคา 90,000 บาท และ 500,000 บาท ตามลำดับ และได้เบิกเงินในบัญชีของผู้ตายที่ฝากไว้ในธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ตามบัญชีทรัพย์อันดับที่ 1 และที่ 2 ไปรวมเป็นเงินประมาณ 30,000 บาท ทั้งได้เบิกความตอบทนายผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 3 ถามค้านว่า เงินที่ได้จากการขายทรัพย์สินของผู้ตายบางส่วนยังมิได้แบ่งให้แก่ทายาทคนอื่นอันเจือสมกับคำเบิกความของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ที่ยืนยันว่านับแต่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกผู้ร้องไม่เคยแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และทายาทอื่นเลย ซึ่งเมื่อนับแต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกในวันที่ 22 มีนาคม 2544 จนถึงวันที่ 4 มิถุนายน 2546 ที่ผู้คัดค้านทั้งสามยื่นคำร้องขอถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกเป็นเวลาถึง 2 ปีเศษ จึงย่อมเป็นระยะเวลานานพอสมควรที่ผู้ร้องจะสามารจัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทอื่นได้แล้ว แต่ผู้ร้องก็ไม่ยอมแบ่งไม่ว่จะเป็นเงินฝากธนาคารหรือทรัพย์สินอื่นของผู้ตายตามบัญชีทรัพย์เอกสารหมาย ร.10 ที่ผู้ร้องนำสืบและฎีกาอ้างว่าผู้ร้องได้ขายทรัพย์มรดกบางส่วนและเบิกเงินจากธนาคารไปชำระหนี้ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลก่อนผู้ตายถึงแก่ความตาย ค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพของผู้ตายและแบ่งปันเงินให้แก่หุ้นส่วนในการทำกิจการค้าของผู้ตายซึ่งก็ไม่เพียงพอที่จะชำระหนี้กองมรดกได้ทั้งหมดนั้นคงเป็นเพียงคำเบิกความกล่าวอ้างลอยๆ ของผู้ร้องเอง โดยไม่มีพยานหลักฐานอื่นหรือแม้แต่บัญชีรายรับรายจ่ายที่ผู้ร้องเบิกความอ้างว่าได้จัดทำไว้แล้วมาแสดงสนับสนุน ข้ออ้างของผู้ร้องดังกล่าวจึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง การที่ผู้ร้องไม่ดำเนินการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และทายาทอื่นของผู้ตายจนเวลาล่วงเลยมาหลายปีแล้วเช่นนี้ ถือได้ว่าผู้ร้องกระทำผิดหน้าที่และละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ผู้จัดการมรดกอันเป็นเหตุอย่างอื่นที่ผู้มีส่วนได้เสียจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 วรรคหนึ่ง ฎีกาของผู้ร้องในข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน

          ปัญหาสุดท้ายตามฎีกาของผู้ร้องมีว่า มีเหตุที่จะตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องหรือไม่ เห็นว่า การที่ผู้คัดค้านทั้งสามร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 และขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกแทนนั้น แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่ามีเหตุที่ศาลจะสั่งถอนได้ ก็ไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกแล้วตั้งผู้คัดค้านที่ 1 ให้เป็นผู้จัดการมรดกคนใหม่เสมอไปศาลอาจจะไม่ถอนผู้จัดการมรดกคนเดิมแต่ให้ตั้งผู้จัดการมรดกคนใหม่เป็นผู้จัดการมรดกร่วมก็ได้หากเห็นว่าจะเป็นการทำให้ทายาททุกฝ่ายได้รับประโยชน์จากกองมรดกด้วยความเป็นธรรมมากที่สุด ข้อเท็จจริงปรากฏในทางพิจารณาว่า ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกอยู่เดิมมีเจตนาปกปิดจำนวนทายาทที่แท้จริงและละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ อันอาจเกิดความเสียหายแก่ทายาทอื่น ส่วนผู้คัดค้านที่ 1 แม้จะเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายและมีสิทธิร้องต่อศาลขอตั้งผู้จัดการมรดกก็ตาม แต่ก็ปรากฏว่าก่อนที่ผู้ตายจะถึงแก่ความตายได้พักอาศัยอยู่กับผู้ร้อง ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ไม่เคยไปเยี่ยมเยียนผู้ตายเลย แม้ขณะเมื่อผู้ตายป่วยก็ไม่เคยไปดูแลทั้งเมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายก็ไม่ไปร่วมงานศพ และไม่มีส่วนออกค่าใช้จ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาลและค่าปลงศพของผู้ตาย แสดงว่าผู้คัดค้านที่ 1 อาจจะไม่ค่อยมีความผูกพันหรือได้รับความไว้วางใจจากผู้ตายมากนัก การจะตั้งผู้ร้องหรือผู้คัดค้านที่ 1 คนใดคนหนึ่งให้เป็นผู้จัดการมรดกเพียงลำพังจึงอาจเกิดความไม่เป็นธรรมแก่อีกฝ่ายและไม่เกิดประโยชน์แก่กองมรดกสมดังเจตนาของผู้ตายขึ้นได้ ดังนั้น เพื่อให้การจัดการมรดกเป็นไปด้วยความถูกต้องและเป็นธรรม ศาลฎีกาจึงเห็นพ้องด้วยกับศาลอุทธรณ์ที่ให้ตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกัน ที่ผู้ร้องฎีกาว่า หากตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องอาจจะมีปัญหาความเป็นปรปักษ์ต่อกันและมีความคิดเห็นแตกต่างกันจนไม่อาจหาเสียงข้างมากได้ อันจะเป็นข้อขัดข้องในการจัดการมรดกต่อไปนั้น เห็นว่า หากมีกรณีดังกล่าวเกิดขึ้นผู้ร้องหรือผู้คัดค้านที่ 1 หรือผู้มีส่วนได้เสียก็อาจจะร้องขอให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาดได้ หรือหากฝ่ายใดกระทำผิดหน้าที่หรือละเลยไม่กระทำตามหน้าที่ อีกฝ่ายหนึ่งก็มีสิทธิร้องขอให้ศาลมีคำสั่งถอนออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้เช่นกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1726, มาตรา 1727 และมาตรา 1731 จึงหาเป็นข้อขัดข้องดังที่ผู้ร้องฎีกาอ้างไม่ คำพิพากษาฎีกาที่ผู้ร้องอ้างมีรูปเรื่องและข้อเท็จจริงไม่ตรงกับคดีนี้ ฎีกาของผู้ร้องฟังไม่ขึ้น

          พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ”

เหตุสมควรตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกร่วมเนื่องจากผู้ร้องไม่ยอมรับว่าผู้ตายมีมรดกที่จะต้องแบ่งปันแก่ทายาท

คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาผู้ร้อง(ผู้จัดการมรดก)ว่าผู้ตายมีมรดกที่จะแบ่งปันแก่ทายาทหรือไม่ เห็นว่า ที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ผู้ร้องก็อ้างว่าผู้ตายมีที่ดินและทรัพย์สินอื่นที่จะต้องแบ่งปันแก่ทายาทที่ยังไม่ได้จัดการแบ่งปันให้แก่ทายาท จึงฟังได้ว่าผู้ตายมีมรดกที่จะแบ่งปันแก่ทายาท ขณะที่ผู้ร้องยื่นคำร้องเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายและผู้คัดค้านขอตั้งผู้จัดการมรดกร่วมทรัพย์ยังมีชื่อผู้ตายเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อยู่ และผู้คัดค้านก็อ้างว่าเป็นมรดกผู้ตาย ในเบื้องต้นจึงต้องฟังว่าผู้ตายมีมรดกที่จะต้องจัดการและแบ่งปันแก่ทายาท 

เหตุสมควรตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกร่วมเนื่องจากผู้ร้องไม่ยอมรับว่าผู้ตายมีมรดกที่จะต้องแบ่งปันแก่ทายาท และไม่ยอมรับว่าผู้คัดค้านมีสิทธิรับมรดก ในขณะที่ผู้คัดค้านก็อ้างว่าผู้ตายมีมรดกและผู้คัดค้านมีสิทธิได้รับมรดก จึงมีเหตุขัดข้องที่ศาลต้องตั้งผู้คัดค้า(นางสาวชมนาฎ)เข้ามาเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทายาทของผู้ตายทุกฝ่าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6574/2541

ในการที่ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตาย เพราะ ผู้ตายมีมรดกที่จะต้องแบ่งปันแก่ทายาท มีเหตุขัดแย้งในการแบ่งปันมรดก และผู้ร้องเหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตาย หากการจัดการมรดกยังไม่เสร็จสิ้นปรากฏว่าผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควร ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก และตั้งผู้จัดการมรดกคนใหม่ก็ได้ หรือหากศาลไม่ถอนผู้จัดการมรดกคนเดิมจะตั้ง ผู้จัดการมรดกคนใหม่เป็นผู้จัดการมรดกร่วมก็ได้ ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้วแม้ต่อมาผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอให้ตั้ง ช. เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องโดยผู้คัดค้านจะไม่ได้ขอให้ ถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายก็ตาม แต่เมื่อปรากฏในทางพิจารณาว่า การจัดการมรดก อาจเกิดความไม่เป็นธรรมได้เพราะผู้ร้องซึ่งเป็น ผู้จัดการมรดกผู้ตายอยู่เดิม อ้างว่าผู้ตายไม่มีมรดก และผู้คัดค้านไม่มีสิทธิรับมรดก จึงเป็นการสมควรที่ศาล จะตั้ง ช. เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องได้เพื่อให้การจัดการมรดกได้เป็นไปด้วยความถูกต้องและเป็นธรรม และการที่ศาลตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องต่อมานั้น เป็นการพิจารณาว่าผู้คัดค้านมีส่วนได้เสียหรือไม่ ช. มีคุณสมบัติที่จะเป็นผู้จัดการมรดกและเหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกร่วมหรือไม่ ดังนี้ เมื่อผู้ร้องและผู้คัดค้านมิใช่คู่ความรายเดียวกัน ประเด็นตามคำร้องของผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นคนละประเด็นกัน จึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144

คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของนายนพคุณ นาคามดี ผู้ตาย ต่อมาผู้คัดค้านยื่นคำร้องว่า ผู้คัดค้านเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายและทายาทโดยธรรมของผู้ตาย มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ผู้คัดค้านเพิ่งจะทราบว่าผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ผู้คัดค้านประสงค์จะขอตั้งผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้อง เนื่องจากผู้ตายมีทรัพย์มรดกที่จะต้องแบ่งปันแก่ทายาท ขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งนางสาวชมนาฎ อัมพรพิพัฒน์ เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้อง

ผู้ร้องยื่นคำคัดค้านว่า ผู้คัดค้านไม่ใช่บุตรของนายนพคุณ นาคามดี ผู้ตาย เพราะผู้ตายได้ทำหมันแล้วตั้งแต่ปี 2521 จึงไม่สามารถมีบุตรได้ ผู้ร้องเพิ่งทราบว่าบรรดาทรัพย์สินทั้งหมดที่มีชื่อผู้ตายถือกรรมสิทธิ์นั้นไม่ใช่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ตาย แต่เป็นกรรมสิทธิ์ของนางบุญนาค นาคามดี มารดาของผู้ตายซึ่งได้ทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองตัดมิให้ผู้ตายเป็นผู้รับมรดกและยกทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่นายนพรัตน์ นาคามดี และนายนพเก้า นาคามดีบุตรของผู้ตาย ผู้ตายไม่มีทรัพย์สินอื่นใดเป็นมรดกที่จะต้องตั้งผู้จัดการมรดกอีก ทั้งผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกได้จัดการโอนที่ดินทั้งหมดให้แก่นายนพรัตน์ นาคามดี และนายนพเก้า นาคามดี ตามพินัยกรรมของนางบุญนาค นาคามดีแล้ว ขอให้ยกคำร้องคัดค้านของผู้คัดค้าน

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งให้นางสาวชมนาฎ อัมพรพิพัฒน์ผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กชายบุลากร นาคามดีเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้อง

ผู้ร้องอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

ผู้ร้องฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาผู้ร้องประการแรกว่า นายนพคุณ  ผู้ตายมีมรดกที่จะแบ่งปันแก่ทายาทหรือไม่ เห็นว่า ที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ผู้ร้องก็อ้างว่าผู้ตายมีที่ดินและทรัพย์สินอื่นที่จะต้องแบ่งปันแก่ทายาท ทั้งตามโฉนดที่ดินเลขที่ 73515 เลขที่ 41989 ถึง 41994 ตามเอกสารหมาย รค.8 ถึง รค.14 และโฉนดที่ดินเลขที่ 32732 ตามเอกสารหมาย รค.15 ล้วนมีชื่อผู้ตายเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อยู่ก่อน เพิ่งโอนมรดกเป็นของนายนพเก้าและนายนพรัตน์ภายหลังจากผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอตั้งนางสาวชมนาฎ  เป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายร่วมกับผู้ร้องทั้งสิ้น นอกจากนี้ผู้ตายยังมีที่ดินโฉนดเลขที่ 16873 ตามเอกสารหมาย ร.6 ที่ยังไม่ได้จัดการแบ่งปันให้แก่ทายาท จึงฟังได้ว่าผู้ตายมีมรดกที่จะแบ่งปันแก่ทายาท ที่ผู้ร้องฎีกาว่า ทรัพย์มรดกดังกล่าวเป็นของนางบุญนาค โดยนางบุญนาคได้ทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองตัดมิให้ผู้ตายได้รับมรดกของนางบุญนาคและยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้นายนพรัตน์และนายนพเก้าแล้ว ผู้ตายจึงไม่มีมรดกที่จะแบ่งแก่ทายาทนั้น เมื่อขณะที่ผู้ร้องยื่นคำร้องเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายและผู้คัดค้านขอตั้งผู้จัดการมรดกร่วมทรัพย์ดังกล่าวยังมีชื่อผู้ตายเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อยู่ และผู้คัดค้านก็อ้างว่าเป็นมรดกผู้ตาย ในเบื้องต้นจึงต้องฟังว่าผู้ตายมีมรดกที่จะต้องจัดการและแบ่งปันแก่ทายาท ส่วนทรัพย์รายใดจะเป็นมรดกของผู้ตายหรือไม่ อย่างไรเป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นแบ่งปันมรดกแก่ทายาท

ที่ผู้ร้องฎีกาว่า หากตั้งนางสาวชมนาฎเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องจะทำให้เป็นคดีความบานปลายไม่มีที่สิ้นสุดจะก่อให้เกิดปัญหาและเป็นการไม่ชอบอย่างยิ่ง เพราะผู้ตายไม่มีทรัพย์มรดกและผู้คัดค้านไม่มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกใด ๆของนางบุญนาค อีกทั้งทำให้ผู้ร้องไม่สามารถจัดการมรดกให้เป็นของนายนพรัตน์และนายนพเก้าผู้มีสิทธิที่แท้จริงได้เลยนั้น เห็นว่า เพราะผู้ร้องไม่ยอมรับว่าผู้ตายมีมรดกที่จะต้องแบ่งปันแก่ทายาท และไม่ยอมรับว่าผู้คัดค้านมีสิทธิรับมรดก ในขณะที่ผู้คัดค้านก็อ้างว่าผู้ตายมีมรดกและผู้คัดค้านมีสิทธิได้รับมรดก จึงมีเหตุขัดข้องที่ศาลต้องตั้งนางสาวชมนาฎเข้ามาเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทายาทของผู้ตายทุกฝ่าย

สำหรับฎีกาของผู้ร้องที่ว่า ศาลชั้นต้นได้ไต่สวนและมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายไปแล้ว กลับให้นางสาวชมนาฎเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องอีก จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 นั้น เห็นว่า ในการที่ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายนั้น ศาลได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ตายมีมรดกที่จะต้องแบ่งปันแก่ทายาท มีเหตุขัดแย้งในการแบ่งปันมรดกดังกล่าว และผู้ร้องเหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายหากการจัดการมรดกยังไม่เสร็จสิ้น ปรากฏว่าผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่หรือเพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควรผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกและตั้งผู้จัดการมรดกคนใหม่ก็ได้ หรือหากศาลไม่ถอนผู้จัดการมรดกคนเดิมจะตั้งผู้จัดการมรดกคนใหม่เป็นผู้จัดการมรดกร่วมก็ได้แม้ในคดีนี้ผู้คัดค้านจะไม่ได้ขอให้ถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตาย เมื่อปรากฏในทางพิจารณาว่า การจัดการมรดกอาจเกิดความไม่เป็นธรรมได้เพราะผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายอยู่เดิม อ้างว่าผู้ตายไม่มีมรดก และผู้คัดค้านไม่มีสิทธิรับมรดกจึงเป็นการสมควรที่ศาลจะตั้งนางสาวชมนาฎเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้อง เพื่อให้การจัดการมรดกได้เป็นไปด้วยความถูกต้องและเป็นธรรม การที่ศาลตั้งนางสาวชมนาฎเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องเป็นการพิจารณาว่าผู้คัดค้านมีส่วนได้เสียหรือไม่ นางสาวชมนาฎมีคุณสมบัติที่จะเป็นผู้จัดการมรดกและเหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกร่วมหรือไม่ ผู้ร้องและผู้คัดค้านมิใช่คู่ความรายเดียวกันประเด็นตามคำร้องของผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นคนละประเด็นกันจึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144

พิพากษายืน




คดีมรดก ร้องศาลตั้งผู้จัดการมรดก

บุตรนอกกฎหมายซึ่งผู้ตายรับรองแล้วเป็นผู้สืบสันดาน
มารดาขายที่ดินซึ่งผู้เยาว์มีส่วนแบ่งไม่ต้องขอศาล
นายอำเภอคือผู้มีอำนาจจัดทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
ความรับผิดของผู้จัดการมดกภายหลังการเสียชีวิต
ผู้จัดการมรดกร่วมนำทรัพย์มรดกหาประโยชน์แก่ตน
ผู้จัดการมรดกปฏิบัติผิดหน้าที่-ทายาทผู้มีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกได้
ผู้สืบสันดาน คือใคร? ต่างกับทายาท อย่างไร?
คู่สมรสและการแบ่งมรดกของคู่สมรส | การสมรสเป็นโมฆะ
อายุความคดีมรดก และอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก
เหตุอันจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก
การปันมรดกเสร็จสิ้นลงแล้วการถอนผู้จัดการมรดกย่อมพ้นกำหนดเวลา
สามีมิได้จดทะเบียนสมรสไม่ถือเป็นทายาทของภริยาผู้ตาย
อำนาจหน้าที่จัดการศพพระภิกษุผู้มรณภาพไม่มีทรัพย์สิน
สามีไม่จดทะเบียนสมรสขอถอนผู้จัดการมรดก มีกรรมสิทธิ์รวม
ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะทำหน้าที่ผู้จัดการมรดก
อำนาจฟ้องขอแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตาย
ทายาททุกคนมอบหมายให้ครอบครองที่ดินแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วม
ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามมาตรา 1300
ทายาทโดยธรรมย่อมมีสิทธิเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์มรดกตามส่วนที่จะพึงได้
ทายาทสละมรดกโดยที่รู้อยู่ว่าการสละมรดกทำให้เจ้าหนี้ของตนเสียประโยชน์
สิทธิรับมรดกที่ยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาห้ามยกเป็นข้อต่อสู้ผู้รับโอนโดยสุจริต
ตามกฎหมายลักษณะผัวเมียมิได้บัญญัติให้ใช้บังคับเฉพาะแก่บุคคลผู้มีสัญชาติไทย
ผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก
ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์มรดกเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความแล้ว
ผู้คัดค้านไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการขอจัดการมรดก
ทายาทฟ้องทายาทให้แบ่งทรัพย์มรดก
ทายาทมีส่วนเท่ากันออกค่าใช้จ่ายจัดการทำศพ
ความเหมาะสมในการเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น
สิทธิของบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายในการรับมรดกของบุตรนอกกฎหมาย
หนังสือสัญญาแบ่งมรดกตกเป็นโมฆะหรือไม่?
อำนาจและหน้าที่ในการจัดการทำศพและลำดับก่อนหลัง
พินัยกรรมมีเงื่อนไขบังคับก่อน
ผู้จัดการมรดกฟ้องแทนทายาทโดยธรรมอื่น
คู่สมรสที่จดทะเบียนหย่าแล้วเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่
การสละมรดกมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายจึงขาดความเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
แม้กองมรดกมีผู้จัดการมรดกแล้วทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้อง
พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองไม่ได้ทำต่อหน้าพยานตกเป็นโมฆะ
บุตรนอกสมรสและบิดานอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดกต่อกันอย่างไร
ผู้จัดการมรดก | ทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดกเรียกให้เจ้าของรวมส่งมอบโฉนดที่ดิน
การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลงอายุความ 5 ปียังไม่เริ่มนับ
สิทธิรับมรดกก่อนหลัง
คำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ
อายุความฟ้องคดีแพ่งอันเนื่องจากคดียักยอกทรัพย์มรดก
เมื่อแบ่งมรดกเสร็จแล้วความเป็นทายาทสิ้นสุดลง-อายุความมรดก
การแบ่งมรดกที่ดินมือเปล่าไม่มีเอกสารสิทธิ
คดีมรดกต้องเป็นคดีที่ทายาทด้วยกันพิพาทกันเรื่องสิทธิในส่วนแบ่งมรดก
ขอให้ศาลสั่งถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ความรับผิดของผู้ตาย
อายุความคดีมรดกสะดุดหยุดลง การแบ่งทรัพย์มรดกไม่ชอบ
ไม่มีกฎหมายบังคับให้ฟ้องเอาทรัพย์มรดกจากทายาทอื่นที่ครอบครองแทนใน 1 ปี
สัญญาว่าจ้างติดตามทรัพย์กองมรดกเรียกส่วนแบ่งเป็นโมฆะ
คดีฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมปลอมและถูกกำจัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่เพียงทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป
โจทก์ฟ้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปี
ผู้จัดการมรดกแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันฟังคำสั่งศาล
คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกอายุความ 5 ปี
การแจ้งการเกิดของเด็กในทะเบียนคนเกิดเองว่าเป็นบุตรของตน
ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
การที่จะเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนทายาทอื่น
พินัยกรรมเอกสารลับทำผิดแบบเป็นโมฆะ
การจัดการมรดกไม่ชอบไม่อาจถือว่าการจัดการมรดกสิ้นลงแล้ว
การจัดการทรัพย์มรดกในฐานะผู้จัดการมรดกตามหน้าที่ที่จำเป็น
คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกปิดบังทรัพย์มรดกมีผลอย่างไร
ทายาทมิได้ฟ้องเรียกร้องมรดกภายใน 1 ปี
ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ผู้มีส่วนได้เสีย
สามีไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้จัดการมรดกได้
ทรัพย์มรดกยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาททุกคน-การจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้น
บุคคลผู้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มีผลอย่างไร?
ฟ้องผู้จัดการมรดกนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงเกินห้าปีขาดอายุความ
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลถูกเพิกถอนได้
อายุความคดีมรดก เจ้าหนี้ฟ้องคดีมรดกเกินหนึ่งปี
คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก
บุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย