ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




อำนาจฟ้องขอแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตาย

อำนาจฟ้องขอแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตาย

หากทายาทโดยธรรมคนใดไม่ได้รับหรือได้รับส่วนแบ่งไม่ครบตามสิทธิย่อมมีสิทธิเรียกร้องหรือฟ้องผู้จัดการมรดกหรือทายาทอื่นที่ครอบครองทรัพย์มรดกให้แบ่งแก่ตนได้ และแม้ว่าจะมีเจ้าหนี้ของผู้ตายที่ยังมิได้รับชำระหนี้ เจ้าหนี้นั้นก็ชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้จากทายาทโดยธรรมคนใดหรือผู้จัดการมรดกของผู้ตายก็ได้ แม้ทรัพย์มรดกจะได้แบ่งไปแล้วก็ตาม 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1883 - 1884/2559

การที่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 6 อ้างความเป็นบุตรทายาทโดยธรรมของผู้ตายฟ้องเรียกร้องทรัพย์สินเฉพาะที่เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายให้จำเลยแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 6 อันเป็นข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา เมื่อโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 6 เรียกร้องจำเลยแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย จึงขอให้ศาลบังคับจำเลยแบ่งปันทรัพย์มรดก คำฟ้องของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 6 จึงเป็นการแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 แล้ว ส่วนโจทก์ที่ 1 จะเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์มรดกของผู้ตายหรือไม่ ก็ชอบที่จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับโจทก์ที่ 1 ในสำนวนแรก ไม่ทำให้คำฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 6 ในสำนวนหลังส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ที่ 1 เคลือบคลุม

กรณีที่ตามฟ้องโจทก์ทั้งหกและคำให้การของจำเลยต่างรับกันได้ว่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินตามฟ้องมีบริษัทต่าง ๆ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ โจทก์ทั้งหกก็มิได้มีคำขอท้ายฟ้องให้แบ่งที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่โจทก์ทั้งหก คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างว่าเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายหรือไม่ และในส่วนรถยนต์จำนวน 25 คัน ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไว้แล้วว่า ไม่อาจรับฟังได้ว่าเป็นทรัพย์สินของผู้ตาย โจทก์ทั้งหกมิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ได้วินิจฉัยไว้ดังกล่าวว่า ไม่ถูกต้องและคลาดเคลื่อน หรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร และที่ถูกแล้วศาลอุทธรณ์ควรวินิจฉัยอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2547 ว่า โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของรวมในทรัพย์มรดกของผู้ตายและเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายกึ่งหนึ่ง แม้โจทก์ที่ 1 ในสำนวนแรกจะยื่นฟ้องคดีนี้ไว้ก่อนและจำเลยยื่นคำให้การไว้ในสำนวนแรกก่อนที่ศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวจะมีคำวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีก็ตาม แต่ในคดีนี้โจทก์ที่ 1 อ้างสิทธิในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์มรดกของผู้ตายที่ทำมาหาได้ร่วมกันกึ่งหนึ่ง โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 6 อ้างสิทธิในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายเช่นเดียวกันกับในคดีดังกล่าว กรณีจึงถือว่าโจทก์ทั้งหกและจำเลยเป็นคู่ความเดียวกันกับคดีดังกล่าว เมื่อไม่ปรากฏว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ได้วินิจฉัยไว้ดังกล่าวได้ถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับ หรืองดเสีย คำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์ทั้งหกและจำเลยนับตั้งแต่วันที่ได้มีคำสั่ง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่อาจวินิจฉัยประเด็นเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์มรดกที่โจทก์ทำมาหาได้ร่วมกันกับผู้ตายกึ่งหนึ่งในคดีนี้ได้อีก เพราะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับประเด็นที่ศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวได้วินิจฉัยไว้แล้ว ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 และแม้ว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยตามประเด็นในคำให้การของจำเลยไปโดยไม่ชอบ แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็มิได้รับฟังข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่น จึงไม่มีเหตุให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะฎีกาต่อมาได้ ฎีกาของจำเลยในข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

แม้ศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวจะมีคำสั่งตั้งให้ จำเลย นาวาตรีหญิง ร. ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรม ว. ข. ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรม ม. กับ ฐ. โจทก์ ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกันแล้วก็ตาม ผู้จัดการทั้งหลายก็ยังคงมีหน้าที่ต้องแบ่งปันทรัพย์มรดกให้เป็นไปตามสิทธิของทายาทโดยธรรมแต่ละคน หากทายาทโดยธรรมคนใดไม่ได้รับหรือได้รับส่วนแบ่งไม่ครบตามสิทธิย่อมมีสิทธิเรียกร้องหรือฟ้องผู้จัดการมรดกหรือทายาทอื่นที่ครอบครองทรัพย์มรดกให้แบ่งแก่ตนได้ และแม้ว่าจะมีเจ้าหนี้ของผู้ตายที่ยังมิได้รับชำระหนี้ เจ้าหนี้นั้นก็ชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้จากทายาทโดยธรรมคนใดหรือผู้จัดการมรดกของผู้ตายก็ได้ แม้ทรัพย์มรดกจะได้แบ่งไปแล้วก็ตาม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1737 และ 1738 ดังนั้น การมีผู้จัดการมรดกหรือเจ้าหนี้กองมรดกที่ยังมิได้รับชำระหนี้ จึงมิได้เป็นเหตุทำให้สิทธิในการเรียกร้องขอแบ่งทรัพย์มรดกของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 6 ในฐานะทายาทโดยธรรมเสื่อมเสียไป เมื่อผู้ตายมีทายาทโดยธรรมรวม 10 คน แม้โจทก์ที่ 3 จะถอนฎีกาไปแล้ว แต่สิทธิของโจทก์ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 6 และจำเลยคงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งทรัพย์มรดกของผู้ตายเพียงคนละ 1 ใน 10 ส่วน ซึ่งในกรณีเช่นนี้ มิใช่การกันส่วนแบ่งทรัพย์มรดกไว้เพื่อทายาทอื่นที่มิได้เป็นคู่ความหรือร้องสอดเข้ามาในคดีอันจะเป็นการต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1749 เมื่อทรัพย์มรดกของผู้ตายมีโจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยกึ่งหนึ่งโดยไม่ปรากฏว่าเป็นการแบ่งทรัพย์สินในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 1363 วรรคสาม โจทก์ที่ 1 สำนวนแรกจึงมีอำนาจฟ้องขอแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายได้ และโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 6 ในสำนวนหลังมีอำนาจฟ้องขอแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายที่จำเลยครอบครองอยู่ได้

คดีทั้งสองสำนวนนี้ ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษารวมกันโดยให้เรียกโจทก์สำนวนแรกว่า โจทก์ที่ 1 เรียกโจทก์สำนวนหลังว่าโจทก์ที่ 2 ถึงโจทก์ที่ 6 และเรียกจำเลยทั้งสองสำนวนว่า จำเลย

โจทก์ทั้งสองสำนวนฟ้องและแก้ไขคำฟ้อง ขอให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกเป็นเงิน 12,708,812,142.80 บาท แก่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 6 และขอมิให้จำเลยเข้าขัดขวาง หรือก้าวก่าย หรือยุ่งเกี่ยวกับการถือสิทธิครอบครอง และจดทะเบียนเป็นเจ้าของทรัพย์สินตามฟ้องของโจทก์ทั้งหก หากจำเลยไม่สามารถส่งมอบทรัพย์สินดังกล่าวได้ ให้ชดใช้ราคาตามมูลค่าทรัพย์สิน จำนวน 16,117,992,000 บาท แก่โจทก์ที่ 1 และจำนวน 12,708,812,142.80 บาท แก่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 6

จำเลยให้การขอให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งหกทั้งสองสำนวน

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์สินของนายชวลิต ผู้ตาย จึงมีสิทธิในทรัพย์สินดังกล่าวกึ่งหนึ่ง ส่วนที่เหลืออีกกึ่งหนึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 6 เป็นผู้สืบสันดานของผู้ตายมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 (1) ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 60,000 บาท คำขออื่นให้ยก

โจทก์ทั้งหกและจำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยถือหุ้นพิพาทตามฟ้องโจทก์ทั้งหกคือบริษัทฮาร์ดร็อค คาเฟ่ จำกัด จำนวน 500 หุ้น บริษัทแอม ครูส ไลน์ จำกัด จำนวน 40,500 หุ้น บริษัทสปอร์ต-เฮลท์ซิตี้ จำกัด จำนวน 1,000 หุ้น บริษัท ที.ชวลิต จำกัด จำนวน 10 หุ้น บริษัทซีโน เนชั่นแนล จำกัด จำนวน 10 หุ้น บริษัทแอมบาสซาเดอร์ จำกัด จำนวน 500 หุ้น บริษัทแอมคอนซัลแท็นท์ จำกัด จำนวน 500 หุ้น บริษัทบิลเลียนแนร์ คลับ จำกัด จำนวน 500 หุ้น บริษัทแอม ดาร์ริ่ง จำกัด จำนวน 500 หุ้น บริษัทแอม เรียล เอสเตท คอนสตรักชั่น จำกัด จำนวน 500 หุ้น บริษัทแอม ซี แอนด์ แอร์ ทรานสปอร์ต จำกัด จำนวน 500 หุ้น บริษัทแอม แอร์ไลน์ จำกัด จำนวน 500 หุ้น บริษัทแอม ทัวร์แอนด์แทรเวิล จำกัด จำนวน 500 หุ้น บริษัทไชย จำกัด จำนวน 325,000 หุ้น บริษัทสยาม - ไทย (1982) จำกัด จำนวน 10 หุ้น บริษัททีแอนด์เอ็นครูสไลน์ จำกัด จำนวน 500 หุ้น บริษัทชวริน จำกัด จำนวน 130,000 หุ้น บริษัทแอมเทล โฮลดิ้งส์ จำกัด จำนวน 91,998 หุ้น บริษัทเทพรัตนพันธ์ จำกัด จำนวน 1,000 หุ้น บริษัทแอมเทล แอดส์ จำกัด จำนวน 800 หุ้น บริษัทชวริน โฮลดิ้งส์ จำกัด จำนวน 500 หุ้น บริษัทแอม กรุ๊ป ฟู้ด แอนด์เบพเวอร์เรท โปรดักส์ชั่น จำกัด จำนวน 500 หุ้น บริษัทแอมโฮลดิ้งส์ จำกัด จำนวน 500 หุ้น บริษัทแอมบาสซาเดอร์ประกันภัย จำกัด จำนวน 10,000 หุ้น บริษัทแอม แอร์คอนดิชั่น บัส จำกัด จำนวน 500 หุ้น บริษัทแอมเทลกรุ๊ป กรุงเทพ จำกัด จำนวน 9,977,998 หุ้น และบริษัทแอมบาสซาเดอร์คลับ จำกัด จำนวน 500 หุ้น แทนผู้ตายซึ่งโจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของรวมในหุ้นพิพาทดังกล่าวกึ่งหนึ่ง ส่วนอีกกึ่งหนึ่งของหุ้นพิพาทดังกล่าว ยกเว้นหุ้นบริษัทแอมบาสซาเดอร์คลับ จำกัด จำนวน 500 หุ้น เป็นทรัพย์มรดกของทายาท โดยหุ้นพิพาทตามฟ้องโจทก์ทั้งหกเป็นทรัพย์ที่ต้องรวบรวมเข้ากองมรดกเพื่อแบ่งปันแก่เจ้าของรวมและทายาทต่อไป คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์ทั้งหกโดยกำหนดค่าทนายความสำนวนละ 30,000 บาท ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

โจทก์ทั้งหกและจำเลยฎีกา

ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ที่ 3 ยื่นคำร้องขอถอนฎีกา ศาลฎีกามีคำสั่งอนุญาตและให้จำหน่ายคดีเฉพาะโจทก์ที่ 3 ออกจากสารบบความ

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้แย้งกันในชั้นนี้ฟังเป็นยุติได้ว่า โจทก์ที่ 1 และผู้ตายจดทะเบียนสมรสกันวันที่ 28 มกราคม 2500 มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ โจทก์ที่ 2 ต่อมาวันที่ 4 เมษายน 2504 โจทก์ที่ 1 กับผู้ตายจดทะเบียนหย่าแต่ยังคงอยู่กินฉันสามีภริยากันแล้วมีบุตรด้วยกันอีก 6 คน คือ โจทก์ที่ 3 ถึงโจทก์ที่ 6 นางสาวชวนาถ และจำเลยซึ่งผู้ตายจดทะเบียนรับรองบุตรแล้ว โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 6 นางสาวชวนาถและจำเลยจึงเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตาย ผู้ตายเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทและโอนหุ้นของบริษัทให้แก่จำเลยเป็นผู้ถือหุ้นรวม 27 บริษัท ส่วนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินมีชื่อบริษัทต่าง ๆ ที่ผู้ตายก่อตั้งขึ้นเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ และรถยนต์จำนวน 25 คัน อยู่ในความครอบครองของบริษัทชวริน จำกัด

คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า ฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 6 เคลือบคลุมหรือไม่ โดยจำเลยฎีกาว่า โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 6 ไม่ได้บรรยายให้ชัดแจ้งว่าทรัพย์สินที่ผู้ตายกับโจทก์ที่ 1 ทำมาหาได้ร่วมกันอย่างไรนั้น เห็นว่า โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 6 อ้างความเป็นบุตรทายาทโดยธรรมของผู้ตายฟ้องเรียกร้องทรัพย์สินเฉพาะที่เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายให้จำเลยแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 6 อันเป็นข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา เมื่อโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 6 เรียกร้องจำเลยแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย จึงขอให้ศาลบังคับจำเลยแบ่งปันทรัพย์มรดก คำฟ้องของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 6 จึงเป็นการแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว ส่วนโจทก์ที่ 1 จะเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์มรดกของผู้ตายหรือไม่ ก็ชอบที่จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับโจทก์ที่ 1 ในสำนวนแรก ไม่ทำให้คำฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 6 ในสำนวนหลังส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ที่ 1 เคลือบคลุม

คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 6 และจำเลยต่อไปว่า จำเลยต้องแบ่งทรัพย์สินตามฟ้องให้แก่โจทก์ทั้งหกหรือไม่ เพียงใด ที่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 6 ฎีกาขอให้จำเลยแบ่งทรัพย์สินตามฟ้องให้แก่โจทก์ทั้งหกตามส่วนนั้น เห็นว่า ตามฟ้องโจทก์ทั้งหกและคำให้การของจำเลยต่างรับกันได้ว่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินตามฟ้องมีบริษัทต่าง ๆ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ โจทก์ทั้งหกก็มิได้มีคำขอท้ายฟ้องให้แบ่งที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่โจทก์ทั้งหก คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างว่าเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายหรือไม่ ส่วนรถยนต์จำนวน 25 คัน ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไว้แล้วว่า รถยนต์จำนวน 25 คัน ไม่อาจรับฟังได้ว่าเป็นทรัพย์สินของผู้ตาย โจทก์ทั้งหกมิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ได้วินิจฉัยไว้ดังกล่าวว่า ไม่ถูกต้องและคลาดเคลื่อน หรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร และที่ถูกแล้วศาลอุทธรณ์ควรวินิจฉัยอย่างไร จึงเป็นฎีกาไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย

ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า รถยนต์จำนวน 25 คัน ไม่ใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตาย ส่วนหุ้นของบริษัทรวม 27 บริษัท ที่ผู้ตายยกให้จำเลยก่อนถึงแก่ความตายนั้น จำเลยฎีกาว่า หลังจากโจทก์ที่ 1 และผู้ตายจดทะเบียนหย่ากันในปี 2504 โดยทำบันทึกข้อตกลงการหย่าแล้วยังอยู่กินกันฉันสามีภริยาจนมีบุตรด้วยกัน ต่อมาในปี 2517 จึงได้เลิกร้างกันไปโดยเด็ดขาดดังที่โจทก์ที่ 1 ให้การไว้ต่อพนักงานคุมประพฤติตาม โดยผู้ตายไปพักอยู่ที่โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพมหานคร ไม่เคยแสดงออกต่อบุคคลทั่วไปว่าผู้ตายเป็นสามีของโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 1 กลับไปใช้ชื่อสกุลเดิมและไม่ได้อยู่กินกันฉันสามีภริยากันจนผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยไม่ได้ถือหุ้นในบริษัทต่าง ๆ แทนผู้ตาย แต่ผู้ตายได้ยกหุ้นให้แก่จำเลยโดยเสน่หาก่อนตายเพราะเห็นว่าจำเลยเป็นบุตรชายเพียงคนเดียวที่สืบวงศ์ตระกูลต่อจากผู้ตายตามขนบธรรมเนียมของคนจีน หุ้นในบริษัทต่าง ๆ จึงมิใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตาย หุ้นที่มีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือจึงเป็นของจำเลยนั้น เห็นว่า เมื่อได้ความตามฟ้องโจทก์ทั้งสองสำนวนและทางนำสืบของโจทก์ทั้งหกโดยที่จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธและนำสืบเป็นอย่างอื่นว่า จำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายเคยยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นขอให้มีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเป็นคดีหมายเลขดำที่ 8795/2544 ของศาลชั้นต้น และเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2552 โจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 6 ยื่นคำร้องขอให้นำคดีดังกล่าวมารวมการพิจารณาเข้าด้วยกันกับคดีนี้ แม้ศาลอุทธรณ์จะยกคำร้อง แต่ก็ปรากฏตามสำเนาคำสั่งในคดีหมายเลขดำที่ 8795/2544 หมายเลขแดงที่ 3707/2547 ของศาลชั้นต้นว่า จำเลยยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย โจทก์ที่ 1 อ้างว่าเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์มรดกของผู้ตายที่ทำมาหาได้ร่วมกันกับผู้ตายกึ่งหนึ่ง และโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 6 เด็กชายวัชริศ โดยนาวาตรีหญิงเรณู ผู้แทนโดยชอบธรรม เด็กหญิงมุกดา และเด็กหญิงฐิติรัตน์ โดยนางเขมิกา ผู้แทนโดยชอบธรรม อ้างความเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายยื่นคำคัดค้านและขอให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2547 ว่า โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของรวมในทรัพย์มรดกของผู้ตายและเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายกึ่งหนึ่ง แม้โจทก์ที่ 1 ในสำนวนแรกจะยื่นฟ้องคดีนี้ไว้ก่อนและจำเลยยื่นคำให้การไว้ในสำนวนแรกก่อนที่ศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวจะมีคำวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีก็ตาม แต่ในคดีนี้โจทก์ที่ 1 อ้างสิทธิในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์มรดกของผู้ตายที่ทำมาหาได้ร่วมกันกึ่งหนึ่ง โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 6 อ้างสิทธิในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายเช่นเดียวกันกับในคดีดังกล่าว กรณีจึงถือว่าโจทก์ทั้งหกและจำเลยเป็นคู่ความเดียวกันกับคดีดังกล่าว เมื่อไม่ปรากฏว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ได้วินิจฉัยไว้ดังกล่าวได้ถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับ หรืองดเสีย คำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์ทั้งหกและจำเลยนับตั้งแต่วันที่ได้มีคำสั่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่อาจวินิจฉัยประเด็นเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์มรดกที่โจทก์ทำมาหาได้ร่วมกันกับผู้ตายกึ่งหนึ่งในคดีนี้ได้อีก เพราะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับประเด็นที่ศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวได้วินิจฉัยไว้แล้ว ซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 และแม้ว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยตามประเด็นในคำให้การของจำเลยไปโดยไม่ชอบ แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็มิได้รับฟังข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่น จึงไม่มีเหตุให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะฎีกาต่อมาได้ ฎีกาของจำเลยในข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของรวมในทรัพย์มรดกของผู้ตายกึ่งหนึ่ง ซึ่งในส่วนหุ้นของบริษัทต่าง ๆ นั้น แม้ผู้มีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นหรือบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าเป็นผู้ถือหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1141 ก็ตาม แต่เมื่อได้ความตามทางนำสืบของโจทก์ทั้งหกและจำเลยที่รับกันฟังได้ว่า บุตรของผู้ตายจะเข้ามาช่วยทำงานบริหารบริษัทในเครือที่ผู้ตายก่อตั้งขึ้น โดยผู้ตายมีอำนาจจัดการโอนหุ้นของบริษัทต่าง ๆ ได้โดยลำพังแต่เพียงผู้เดียวโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากบุคคลอื่นในครอบครัวและโจทก์ที่ 1 แม้ผู้ตายจะดำเนินการให้บุตรคนใดเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทใดแล้วก็ตามแต่ผู้ตายก็ยังคงสามารถดำเนินการโอนหุ้นของบริษัทต่าง ๆ ไปยังบุตรคนอื่นได้อีกโดยไม่ปรากฏว่าผู้ถือหุ้นนั้นเสียค่าตอบแทนเพื่อให้ได้มาซึ่งหุ้นของบริษัทนั้น ๆ ทั้งยังได้ความ ตามฎีกาของจำเลยอีกว่า ที่ผู้ตายโอนหุ้นของบริษัทต่าง ๆ จากบุคคลในครอบครัวคนหนึ่งไปให้บุคคลในครอบครัวอีกคนหนึ่งหรือแม้กระทั่งการโอนหุ้นกลับคืนให้ผู้ตายเป็นเพราะมีข้อตกลงในครอบครัวว่าบุคคลใดประพฤติเสียหาย ไม่ขยัน ไม่ซื่อสัตย์ หรือมีปัญหาทำงานไม่ได้ ก็ให้ผู้ตายมีสิทธิโอนหุ้นคืนหรือโอนให้คนที่เหมาะสมกว่าเมื่อใดก็ได้ตามที่ผู้ตายต้องการ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามทางนำสืบของคู่ความและฎีกาของจำเลยดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ผู้ตายเพียงแต่ให้จำเลยมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นไว้แทนผู้ตายเท่านั้น มิได้ยกหรือโอนหุ้นให้เป็นสิทธิเด็ดขาดของจำเลยหรือให้จำเลยเป็นผู้บริหารกิจการของบริษัทนั้นแต่เพียงผู้เดียวโดยเฉพาะแต่อย่างใด เพราะหากจำเลยประพฤติเสียหาย ไม่ขยัน ไม่ซื่อสัตย์ หรือมีปัญหาทำงานไม่ได้ ผู้ตายก็มีสิทธิโอนหุ้นกลับคืนหรือโอนให้บุคคลอื่นต่อไปได้เช่นกัน พยานหลักฐานของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 6 จึงมีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่า จำเลยมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทต่าง ๆ ไว้แทนผู้ตาย ฎีกาของจำเลยในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น แต่ในส่วนหุ้นของบริษัทแอมบาสซาเดอร์ จำกัด ในสำนวนแรกที่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 6 ไม่ได้ฟ้อง และบริษัทแอมบาสซาเดอร์คลับ จำกัด ในสำนวนหลังระบุหุ้นของบริษัทแอมบาสซาเดอร์คลับ จำกัด ไว้เท่านั้น ซึ่งสอดคล้องกับหนังสือรับรอง บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น และหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทแอมบาสซาเดอร์คลับ จำกัด โดยไม่ปรากฏหนังสือรับรอง บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น และหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทแอมบาสซาเดอร์ จำกัด ในทางนำสืบของโจทก์ทั้งหกแต่อย่างใด กรณีจึงไม่อาจรับฟังได้ว่าผู้ตายถือหุ้นและจำเลยถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวแทนผู้ตาย จึงคงมีหุ้นบริษัทต่าง ๆ ที่ผู้ตายก่อตั้งขึ้นและถือหุ้นในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยากับโจทก์ที่ 1 ตามฟ้องรวม 26 บริษัท และเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายที่โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยกึ่งหนึ่งในฐานะเจ้าของรวมที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ส่วนอีกกึ่งหนึ่งย่อมเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายที่ตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม เมื่อในคดีร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 8795/2544 หมายเลขแดงที่ 3707/2547 ของศาลชั้นต้นพบว่ามีทายาทโดยธรรมของผู้ตายรวม 10 คน คือ โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 6 นางสาวชวนาถ จำเลย เด็กชายวัชริศ เด็กหญิงมุกดา และเด็กหญิงฐิติรัตน์ ซึ่งต่างเป็นทายาทโดยธรรมในลำดับเดียวกัน แม้ศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวจะมีคำสั่งตั้งให้จำเลย นาวาตรีหญิงเรณูในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมเด็กชายวัชริศ นางเขมิกาในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมเด็กหญิงมุกดากับเด็กหญิงฐิติรัตน์ โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกันแล้วก็ตาม แต่ผู้จัดการมรดกทั้งหลายก็ยังคงมีหน้าที่ต้องแบ่งปันทรัพย์มรดกให้เป็นไปตามสิทธิของทายาทโดยธรรมแต่ละคน หากทายาทโดยธรรมคนใดไม่ได้รับหรือได้รับส่วนแบ่งไม่ครบตามสิทธิย่อมมีสิทธิเรียกร้องหรือฟ้องผู้จัดการมรดกหรือทายาทอื่นที่ครอบครองทรัพย์มรดกให้แบ่งแก่ตนได้ และแม้ว่าจะมีเจ้าหนี้ของผู้ตายที่ยังมิได้รับชำระหนี้ เจ้าหนี้นั้นก็ชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้จากทายาทโดยธรรมคนใดหรือผู้จัดการมรดกของผู้ตายก็ได้ แม้ทรัพย์มรดกจะได้แบ่งไปแล้วก็ตาม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1737 และ 1738 ดังนั้น การมีผู้จัดการมรดกหรือเจ้าหนี้กองมรดกที่ยังมิได้รับชำระหนี้ จึงมิได้เป็นเหตุทำให้สิทธิในการเรียกร้องขอแบ่งทรัพย์มรดกของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 6 ในฐานะทายาทโดยธรรมเสื่อมเสียไป เมื่อผู้ตายมีทายาทโดยธรรมรวม 10 คน แม้โจทก์ที่ 3 จะถอนฎีกาไปแล้วแต่สิทธิของโจทก์ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 6 และจำเลยคงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งทรัพย์มรดกของผู้ตายเพียงคนละ 1 ใน 10 ส่วน ซึ่งในกรณีเช่นนี้ มิใช่การกันส่วนแบ่งทรัพย์มรดกไว้เพื่อทายาทอื่นที่มิได้เป็นคู่ความหรือร้องสอดเข้ามาในคดีอันจะเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1749 เมื่อทรัพย์มรดกของผู้ตายมีโจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยกึ่งหนึ่งโดยไม่ปรากฏว่าเป็นการแบ่งทรัพย์สินในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1363 วรรคสาม โจทก์ที่ 1 ในสำนวนแรกจึงมีอำนาจฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์มรดกของผู้ตายได้ และโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 6 ในสำนวนหลังมีอำนาจฟ้องขอแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายที่จำเลยครอบครองอยู่ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ไม่แบ่งปันทรัพย์มรดกให้ตามคำขอของโจทก์ทั้งหกจึงไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 6 ฟังขึ้น สำหรับฎีกาของคู่ความข้ออื่นศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไว้ชอบด้วยเหตุผลแล้ว ศาลฎีกาไม่จำต้องวินิจฉัยอีกเพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยโอนหรือแบ่งหุ้นของบริษัทฮาร์ดร็อค คาเฟ่ จำกัด จำนวน 500 หุ้น บริษัทแอม ครูส ไลน์ จำกัด จำนวน 40,500 หุ้น บริษัทสปอร์ต-เฮลท์ซิตี้ จำกัด จำนวน 1,000 หุ้น บริษัท ที.ชวลิต จำกัด จำนวน 10 หุ้น บริษัทซีโน เนชั่นแนล จำกัด จำนวน 10 หุ้น บริษัท แอมบาสซาเดอร์ คลับ จำกัด จำนวน 500 หุ้น บริษัทแอมคอนซัลแท็นท์ จำกัด จำนวน 500 หุ้น บริษัทบิลเลียนแนร์ คลับ จำกัด จำนวน 500 หุ้น บริษัทแอม ดาร์ริ่ง จำกัด จำนวน 500 หุ้น บริษัทแอม เรียล เอสเตท คอนสตรักชั่น จำกัด จำนวน 500 หุ้น บริษัทแอมซี แอนด์ แอร์ ทรานสปอร์ต จำกัด จำนวน 500 หุ้น บริษัทแอม แอร์ไลน์ จำกัด จำนวน 500 หุ้น บริษัทแอม ทัวร์แอนด์ แทรเวิล จำกัด จำนวน 500 หุ้น บริษัทไชย จำกัด จำนวน 325,000 หุ้น บริษัทสยาม - ไทย (1982) จำกัด จำนวน 10 หุ้น บริษัททีแอนด์เอ็นครูสไลน์ จำกัด จำนวน 500 หุ้น บริษัทชวริน จำกัด จำนวน 130,000 หุ้น บริษัทแอมเทล โฮลดิ้งส์ จำกัด จำนวน 91,998 หุ้น บริษัทเทพรัตนพันธ์ จำกัด จำนวน 1,000 หุ้น บริษัทแอมเทล แอดส์ จำกัด จำนวน 800 หุ้น บริษัทชวรินโฮลดิ้งส์ จำกัด จำนวน 500 หุ้น บริษัทแอม กรุ๊ป ฟู้ด แอนด์ เบพเวอร์เรท โปรดักส์ชั่น จำกัด จำนวน 500 หุ้น บริษัทแอมโฮลดิ้งส์ จำกัด จำนวน 500 หุ้น บริษัทแอมบาสซาเดอร์ประกันภัย จำกัด จำนวน 10,000 หุ้น บริษัทแอม แอร์คอนดิชั่น บัส จำกัด จำนวน 500 หุ้น และบริษัทแอมเทลกรุ๊ป กรุงเทพ จำกัด จำนวน 9,977,998 หุ้น ให้แก่โจทก์ที่ 1 กึ่งหนึ่ง ส่วนทรัพย์มรดกที่เหลือให้จำเลยโอนหรือแบ่งหุ้นแก่โจทก์ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 6 คนละ 1 ใน 10 ส่วน หากโอนหรือแบ่งไม่ได้ให้ดำเนินการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาแทนโจทก์ที่ 1 ในสำนวนแรก และโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 6 ในสำนวนหลัง โดยกำหนดค่าทนายความสำนวนละ 30,000 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์




คดีมรดก ร้องศาลตั้งผู้จัดการมรดก

อำนาจและหน้าที่ในการจัดการทำศพและลำดับก่อนหลัง article
พินัยกรรมมีเงื่อนไขบังคับก่อน article
ผู้จัดการมรดกฟ้องแทนทายาทโดยธรรมอื่น article
คู่สมรสที่จดทะเบียนหย่าแล้วเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่
การสละมรดกมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายจึงขาดความเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
แม้กองมรดกมีผู้จัดการมรดกแล้วทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้อง
พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองไม่ได้ทำต่อหน้าพยานตกเป็นโมฆะ
บุตรนอกสมรสและบิดานอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดกต่อกันอย่างไร
ผู้จัดการมรดก | ทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดกเรียกให้เจ้าของรวมส่งมอบโฉนดที่ดิน
การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลงอายุความ 5 ปียังไม่เริ่มนับ
สิทธิรับมรดกก่อนหลัง
คำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ
อายุความฟ้องคดีแพ่งอันเนื่องจากคดียักยอกทรัพย์มรดก
เมื่อแบ่งมรดกเสร็จแล้วความเป็นทายาทสิ้นสุดลง-อายุความมรดก
การแบ่งมรดกที่ดินมือเปล่าไม่มีเอกสารสิทธิ
คดีมรดกต้องเป็นคดีที่ทายาทด้วยกันพิพาทกันเรื่องสิทธิในส่วนแบ่งมรดก
ขอให้ศาลสั่งถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ความรับผิดของผู้ตาย
แสดงบัญชีเครือญาติเป็นเท็จปิดบังจำนวนทายาท
อายุความคดีมรดกสะดุดหยุดลง การแบ่งทรัพย์มรดกไม่ชอบ
ไม่มีกฎหมายบังคับให้ฟ้องเอาทรัพย์มรดกจากทายาทอื่นที่ครอบครองแทนใน 1 ปี
สัญญาว่าจ้างติดตามทรัพย์กองมรดกเรียกส่วนแบ่งเป็นโมฆะ
คดีฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมปลอมและถูกกำจัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่เพียงทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป
โจทก์ฟ้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปี
ผู้จัดการมรดกแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันฟังคำสั่งศาล
คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกอายุความ 5 ปี
การแจ้งการเกิดของเด็กในทะเบียนคนเกิดเองว่าเป็นบุตรของตน
ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
การที่จะเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนทายาทอื่น
พินัยกรรมเอกสารลับทำผิดแบบเป็นโมฆะ
การจัดการมรดกไม่ชอบไม่อาจถือว่าการจัดการมรดกสิ้นลงแล้ว
การจัดการทรัพย์มรดกในฐานะผู้จัดการมรดกตามหน้าที่ที่จำเป็น
คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกปิดบังทรัพย์มรดกมีผลอย่างไร
ทายาทมิได้ฟ้องเรียกร้องมรดกภายใน 1 ปี
ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ผู้มีส่วนได้เสีย
สามีไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้จัดการมรดกได้
ทรัพย์มรดกยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาททุกคน-การจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้น
บุคคลผู้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มีผลอย่างไร?
ฟ้องผู้จัดการมรดกนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงเกินห้าปีขาดอายุความ
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลถูกเพิกถอนได้
อายุความคดีมรดก เจ้าหนี้ฟ้องคดีมรดกเกินหนึ่งปี
คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก
บุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย
บุตรนอกกฎหมายซึ่งผู้ตายรับรองแล้วเป็นผู้สืบสันดาน
มารดาขายที่ดินซึ่งผู้เยาว์มีส่วนแบ่งไม่ต้องขอศาล
นายอำเภอคือผู้มีอำนาจจัดทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
ความรับผิดของผู้จัดการมดกภายหลังการเสียชีวิต
ผู้จัดการมรดกร่วมนำทรัพย์มรดกหาประโยชน์แก่ตน
ผู้จัดการมรดกปฏิบัติผิดหน้าที่-ทายาทผู้มีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกได้
ผู้สืบสันดาน คือใคร? ต่างกับทายาท อย่างไร?
คู่สมรสและการแบ่งมรดกของคู่สมรส | การสมรสเป็นโมฆะ
อายุความคดีมรดก และอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก
เหตุอันจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก
การปันมรดกเสร็จสิ้นลงแล้วการถอนผู้จัดการมรดกย่อมพ้นกำหนดเวลา
สามีมิได้จดทะเบียนสมรสไม่ถือเป็นทายาทของภริยาผู้ตาย
อำนาจหน้าที่จัดการศพพระภิกษุผู้มรณภาพไม่มีทรัพย์สิน
สามีไม่จดทะเบียนสมรสขอถอนผู้จัดการมรดก มีกรรมสิทธิ์รวม
ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะทำหน้าที่ผู้จัดการมรดก
ทายาททุกคนมอบหมายให้ครอบครองที่ดินแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วม
ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามมาตรา 1300
ผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก
ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์มรดกเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความแล้ว
ทายาทมีส่วนเท่ากันออกค่าใช้จ่ายจัดการทำศพ
ความเหมาะสมในการเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น
สิทธิของบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายในการรับมรดกของบุตรนอกกฎหมาย
หนังสือสัญญาแบ่งมรดกตกเป็นโมฆะหรือไม่?