ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




เหตุอันจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก

ถอนผู้จัดการมรดก

มีเหตุที่จะถอนผู้จัดการมรดกและตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ 

ข้อเท็จจริงได้ความว่าผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งศาลได้โอนที่ดินทั้งหมดให้แก่บุคคลต่าง ๆ โดยไม่มีทรัพย์มรดกของผู้ตายหลงเหลือให้จัดการอีกต่อไป ดังนั้นถือได้ว่าผู้จัดการมรดกได้จัดการมรดกเสร็จสิ้นแล้ว แม้ผู้คัดค้านจะอ้างเหตุว่าผู้ร้องยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกต่อศาลโดยมีเจตนาทุจริตปกปิดผู้คัดค้านและบุตรซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายทั้งได้โอนทรัพย์มรดกให้แก่ผู้ไม่มีสิทธิและไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลภายในสิบห้าวันตามกฎหมายอันอาจเป็นเหตุให้ร้องขอถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้ก็ตามก็เป็นเรื่องที่ผู้คัดค้านและทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกแต่ได้รับการแบ่งปันไม่ชอบจะต้องไปฟ้องร้องเป็นคดีอื่นต่อไปต่างหากจากการร้องขอให้ถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดก ผู้คัดค้านไม่มีเหตุที่จะมาร้องขอถอนผู้จัดการมรดกและตั้งผู้จัดการมรดกซึ่งเป็นเวลาภายหลังการปันมรดกเสร็จสิ้นแล้วจึงต้องห้ามตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2150/2561

การร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 วรรคหนึ่ง ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดต้องร้องขอเสียก่อนที่การปันมรดกเสร็จสิ้นลง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้ร้องได้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแล้วโดยไม่มีทรัพย์มรดกของผู้ตายหลงเหลือให้จัดการอีกต่อไป จึงถือได้ว่าผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกได้จัดการมรดกเสร็จสิ้นแล้ว แม้ผู้คัดค้านจะอ้างเหตุว่าผู้ร้องยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกโดยมีเจตนาทุจริตปกปิดผู้คัดค้านและบุตรซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตาย ทั้งได้โอนทรัพย์มรดกให้แก่ผู้ไม่มีสิทธิ หรือมีเหตุอื่นตามกฎหมายอันอาจเป็นเหตุในการร้องขอถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้ก็ตาม ก็ไม่อาจถือได้ว่าการปันมรดกรายดังกล่าวยังไม่เสร็จสิ้น การที่ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกภายหลังการปันมรดกเสร็จสิ้นแล้วย่อมต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว

(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2561)

คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของนายเล็ก ผู้ตาย

ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอให้ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกแทน

ผู้ร้องยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้อง

ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้ว มีคำสั่งยกคำร้องของผู้คัดค้าน ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

ผู้คัดค้านอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

ผู้คัดค้านฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้เถียงกันในชั้นฎีการับฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ว่า ผู้ร้องเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมายของนายเล็ก ผู้ตาย ผู้คัดค้านเป็นภริยาชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ผู้ตายมีทรัพย์มรดกเป็นที่ดิน 8 แปลง คือ ที่ดินโฉนดเลขที่ 74621, 74622, 74623, 74624, 74625, 51895, 6808 และ 13180 อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2555 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกโอนที่ดินทรัพย์มรดกดังกล่าวให้แก่ตนเองในฐานะส่วนตัว ต่อมาเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2555 วันที่ 9 กรกฎาคม 2555 และวันที่ 30 มีนาคม 2558 ผู้ร้องโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 74621, 74623, 74624 และ 51895 ให้แก่นางณิชารีย์ บุตรของผู้ร้องซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันของผู้ตาย เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2555 ผู้ร้องโอนที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 74625 และ 13180 ให้แก่นางสาวปภาวรินท์ บุตรของผู้คัดค้านกับผู้ตายตามสำเนาโฉนดที่ดิน และเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2558 ผู้ร้องโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 74622 และ 6806 ให้แก่นางอุไร บุตรของผู้ร้องซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันของผู้ตาย นอกจากนี้ผู้ตายมีที่ดินโฉนดเลขที่ 50477 อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นสินสมรสของผู้ตายกับผู้คัดค้านและมีชื่อผู้คัดค้านเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2554 ผู้คัดค้านโอนขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่ผู้มีชื่อตามสำเนาโฉนดที่ดิน นอกจากนี้ผู้ตายไม่มีทรัพย์มรดกอื่นใดอีก ต่อมาวันที่ 17 เมษายน 2558 ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอให้ถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกแทน

มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้คัดค้านว่า มีเหตุที่จะถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ ตามข้อเท็จจริงอันยุติได้ความว่า เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2555 วันที่ 9 กรกฎาคม 2555 วันที่ 23 กรกฎาคม 2555 และวันที่ 30 มีนาคม 2558 ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งศาลได้โอนที่ดินรวม 8 แปลง ให้แก่นางณิชารีย์กับนางอุไร ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันของผู้ตาย และนางสาวปภาวรินท์ ซึ่งเป็นบุตรของผู้ตาย นอกจากนี้เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2554 ผู้คัดค้านโอนขายที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 50477 ซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างผู้ตายกับผู้คัดค้านให้แก่ผู้มีชื่อ นอกจากนี้ไม่มีทรัพย์มรดกของผู้ตายหลงเหลือให้จัดการอีกต่อไป จึงถือได้ว่าผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกได้จัดการมรดกเสร็จสิ้นตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2558 แม้ผู้คัดค้านจะอ้างเหตุว่าผู้ร้องยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกต่อศาลโดยมีเจตนาทุจริตปกปิดผู้คัดค้านและบุตรซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายทั้งได้โอนทรัพย์มรดกให้แก่ผู้ไม่มีสิทธิและไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลภายในสิบห้าวันตามกฎหมายอันอาจเป็นเหตุให้ร้องขอถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้ก็ตาม แต่หากผู้ร้องจัดการมรดกไม่ถูกต้องตามที่ผู้คัดค้านกล่าวอ้างก็เป็นเรื่องที่ผู้คัดค้านและทายาทผู้มีสิทธิแต่ได้รับการแบ่งปันไม่ชอบจะต้องไปฟ้องร้องเป็นคดีมีข้อพิพาทโดยตรงต่อไปเป็นคดีต่างหากจากการร้องขอให้ถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดก ไม่อาจถือได้ว่าการปันมรดกรายดังกล่าวยังไม่เสร็จสิ้น ไม่มีเหตุที่จะมาร้องขอถอนผู้จัดการมรดกและตั้งผู้จัดการมรดก การที่ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2558 อันเป็นเวลาภายหลังการปันมรดกเสร็จสิ้นแล้ว ย่อมต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 วรรคหนึ่ง ฎีกาของผู้คัดค้านฟังไม่ขึ้น

พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ


เหตุอันจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก

กฎหมายระบุเหตุที่จะขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกได้ต่อเมื่อผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุอื่นที่สมควร การที่ทายาทร้องขอให้ศาลถอนผู้จัดการมรดกเพราะว่ารายการทรัพย์สินของเจ้ามรดกตามคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกเป็นของทายาท(ผู้คัดค้าน)  ไม่ได้เป็นของเจ้ามรดก ซึ่งเหตุดังกล่าวไม่ใช่เหตุตามกฎหมายที่จะอ้างเพื่อขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกได้ ส่วนทรัพย์สินดังกล่าวจะเป็นทรัพย์ของเจ้ามรดกหรือไม่  หรือเป็นของผู้ใดก็ต้องไปว่ากล่าวกันอีกต่างหากในคดีอื่น

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่  6473/2548
 
          ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 วรรคหนึ่ง ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก เพราะเหตุผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควรก็ได้ แต่เหตุที่ผู้คัดค้านยกขึ้นอ้างว่าทรัพย์สินตามคำร้องมิใช่ทรัพย์ของเจ้ามรดกแต่เป็นของผู้คัดค้าน มิใช่เหตุตามกฎหมายดังกล่าวอันจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้
 
มาตรา 1727  ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก เพราะเหตุผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควรก็ได้ แต่ต้องร้องขอเสียก่อนที่การปันมรดกเสร็จสิ้นลง
แม้ถึงว่าจะได้เข้ารับตำแหน่งแล้วก็ดี ผู้จัดการมรดกจะลาออกจากตำแหน่งโดยมีเหตุอันสมควรก็ได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตจากศาล
 
          คดีสืบเนื่องมาจากวันที่ 24 กันยายน 2545 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งนางณัฐกฤตา  ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของนายสุริเยศ  เจ้ามรดก

          ต่อมานายทองเจือ  ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก

          ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ผู้คัดค้านขอให้เพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกด้วยเหตุที่ผู้ร้องระบุทรัพย์สินของผู้คัดค้านเป็นทรัพย์มรดกของเจ้ามรดก และผู้ร้องไม่นำผู้คัดค้านไปเบิกความเป็นพยานในชั้นไต่สวนคำร้อง ซึ่งเหตุดังกล่าวมิใช่เหตุตามกฎหมายที่จะเพิกถอนผู้จัดการมรดกได้ จึงให้ยกคำร้อง ค่าคำร้องให้เป็นพับ

          ผู้คัดค้านอุทธรณ์คำสั่ง
          ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ผู้ร้องไม่ได้แก้อุทธรณ์ จึงไม่กำหนดค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ให้

          ผู้คัดค้านฎีกา
          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “คดีมีปัญหาข้อกฎหมายวินิจฉัยตามฎีกาของผู้คัดค้านว่า มีเหตุสมควรถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกหรือไม่ ผู้คัดค้านฎีกาว่า การที่ผู้ร้องอ้างว่าที่ดินและรถยนต์ตามสำเนาโฉนดที่ดินและสำเนารายการจดทะเบียนเจ้าของรถเอกสารหมาย ร.6 และ ร.7 เป็นของเจ้ามรดก ซึ่งความจริงทรัพย์สินดังกล่าวเป็นของผู้คัดค้าน ผู้ร้องจึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะใช้สิทธิยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก ขอให้ศาลถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกนั้น เห็นว่า ผู้คัดค้านมิได้คัดค้านว่าผู้ร้องมิใช่ทายาหรือมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะมีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก หรือผู้ร้องเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดกแต่ประการใด ผู้คัดค้านอ้างแต่เพียงว่าที่ดินและรถยนต์ที่ผู้ร้องอ้างว่าเป็นของเจ้ามรดกเป็นของผู้คัดค้านขอให้ถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกโดยเหตุที่ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่รวบรวมทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกมาแบ่งปันกันระหว่างทายาท หากบุคคลใดเห็นว่าทรัพย์สินที่ผู้จัดการมรดกรวบรวมมาแบ่งปันกันระหว่างทายาท มิใช่ของเจ้ามรดก บุคคลนั้นก็ชอบที่จะว่ากล่าวคัดค้านเอาแก่ผู้จัดการมรดกในชั้นรวบรวมแบ่งทรัพย์มรดกให้ ทรัพย์สินที่ผู้ร้องอ้างว่าเป็นของเจ้ามรดกอาจจะมิใช่ทรัพย์สินของเจ้ามรดกก็เป็นได้ การโต้แย้งกันระหว่างผู้ที่อ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินกับผู้จัดการมรดกก็ต้องว่ากล่าวกันอีกต่างหากสิทธิของผู้เป็นเจ้าของทรัพย์มีอยู่อย่างใดก็คงมีอยู่อย่างนั้น มิได้เสียไปแต่ประการใด เนื่องจากตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 วรรคหนึ่ง ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก เพราะเหตุผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควรก็ได้ แต่เหตุที่ผู้คัดค้านยกขึ้นอ้างเป็นเรื่องคัดค้านว่าทรัพย์สินตามคำร้องมิใช่ทรัพย์ของเจ้ามรดกแต่เป็นของผู้คัดค้าน จึงมิใช่เหตุตามกฎหมายดังกล่าวอันจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้ส่วนที่ผู้คัดค้านอ้างว่า ผู้ร้องอ้างผู้คัดค้านเป็นพยานแต่มิได้นำผู้คัดค้านเข้ามาในคดีเพื่อเบิกความพยานเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตนั้น เห็นว่า ในชั้นยื่นคำร้องขอจัดการทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกผู้ร้องก็ระบุว่าผู้คัดค้านเป็นทายาทของเจ้ามรดก และอ้างผู้คัดค้านเป็นพยานผู้ร้องด้วย แม้ต่อมาจะมิได้นำผู้คัดค้านมาเบิกความเป็นพยานต่อศาลก็เป็นสิทธิของผู้ร้องที่จะนำผู้ใดมาเบิกความเป็นพยานผู้ร้อง ผู้ร้องหาจำต้องสืบพยานผู้ร้องตามบัญชีระบุพยานที่เสนอต่อศาลทั้งหมดไม่ ดังนั้น การที่ผู้ร้องอ้างผู้คัดค้านเป็นพยานของผู้ร้อง แต่มิได้นำผู้คัดค้านมาเบิกความต่อศาล ผู้คัดค้านย่อมไม่อาจกล่าวอ้างได้ว่าผู้ร้องใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ทำให้ผู้คัดค้านเสียหาย ที่ศาลล่างทั้งสองยกคำร้องของผู้คัดค้านนั้นชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของผู้คัดค้านฟังไม่ขึ้น”

          พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ




คดีมรดก ร้องศาลตั้งผู้จัดการมรดก

บุตรนอกกฎหมายซึ่งผู้ตายรับรองแล้วเป็นผู้สืบสันดาน
มารดาขายที่ดินซึ่งผู้เยาว์มีส่วนแบ่งไม่ต้องขอศาล
นายอำเภอคือผู้มีอำนาจจัดทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
ความรับผิดของผู้จัดการมดกภายหลังการเสียชีวิต
ผู้จัดการมรดกร่วมนำทรัพย์มรดกหาประโยชน์แก่ตน
ผู้จัดการมรดกปฏิบัติผิดหน้าที่-ทายาทผู้มีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกได้
ผู้สืบสันดาน คือใคร? ต่างกับทายาท อย่างไร?
คู่สมรสและการแบ่งมรดกของคู่สมรส | การสมรสเป็นโมฆะ
อายุความคดีมรดก และอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก
การปันมรดกเสร็จสิ้นลงแล้วการถอนผู้จัดการมรดกย่อมพ้นกำหนดเวลา
สามีมิได้จดทะเบียนสมรสไม่ถือเป็นทายาทของภริยาผู้ตาย
อำนาจหน้าที่จัดการศพพระภิกษุผู้มรณภาพไม่มีทรัพย์สิน
สามีไม่จดทะเบียนสมรสขอถอนผู้จัดการมรดก มีกรรมสิทธิ์รวม
ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะทำหน้าที่ผู้จัดการมรดก
อำนาจฟ้องขอแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตาย
ทายาททุกคนมอบหมายให้ครอบครองที่ดินแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วม
ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามมาตรา 1300
ทายาทโดยธรรมย่อมมีสิทธิเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์มรดกตามส่วนที่จะพึงได้
ทายาทสละมรดกโดยที่รู้อยู่ว่าการสละมรดกทำให้เจ้าหนี้ของตนเสียประโยชน์
สิทธิรับมรดกที่ยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาห้ามยกเป็นข้อต่อสู้ผู้รับโอนโดยสุจริต
ตามกฎหมายลักษณะผัวเมียมิได้บัญญัติให้ใช้บังคับเฉพาะแก่บุคคลผู้มีสัญชาติไทย
ผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก
ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์มรดกเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความแล้ว
ผู้คัดค้านไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการขอจัดการมรดก
ทายาทฟ้องทายาทให้แบ่งทรัพย์มรดก
ทายาทมีส่วนเท่ากันออกค่าใช้จ่ายจัดการทำศพ
ความเหมาะสมในการเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น
สิทธิของบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายในการรับมรดกของบุตรนอกกฎหมาย
หนังสือสัญญาแบ่งมรดกตกเป็นโมฆะหรือไม่?
อำนาจและหน้าที่ในการจัดการทำศพและลำดับก่อนหลัง
พินัยกรรมมีเงื่อนไขบังคับก่อน
ผู้จัดการมรดกฟ้องแทนทายาทโดยธรรมอื่น
คู่สมรสที่จดทะเบียนหย่าแล้วเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่
การสละมรดกมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายจึงขาดความเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
แม้กองมรดกมีผู้จัดการมรดกแล้วทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้อง
พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองไม่ได้ทำต่อหน้าพยานตกเป็นโมฆะ
บุตรนอกสมรสและบิดานอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดกต่อกันอย่างไร
ผู้จัดการมรดก | ทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดกเรียกให้เจ้าของรวมส่งมอบโฉนดที่ดิน
การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลงอายุความ 5 ปียังไม่เริ่มนับ
สิทธิรับมรดกก่อนหลัง
คำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ
อายุความฟ้องคดีแพ่งอันเนื่องจากคดียักยอกทรัพย์มรดก
เมื่อแบ่งมรดกเสร็จแล้วความเป็นทายาทสิ้นสุดลง-อายุความมรดก
การแบ่งมรดกที่ดินมือเปล่าไม่มีเอกสารสิทธิ
คดีมรดกต้องเป็นคดีที่ทายาทด้วยกันพิพาทกันเรื่องสิทธิในส่วนแบ่งมรดก
ขอให้ศาลสั่งถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ความรับผิดของผู้ตาย
แสดงบัญชีเครือญาติเป็นเท็จปิดบังจำนวนทายาท
อายุความคดีมรดกสะดุดหยุดลง การแบ่งทรัพย์มรดกไม่ชอบ
ไม่มีกฎหมายบังคับให้ฟ้องเอาทรัพย์มรดกจากทายาทอื่นที่ครอบครองแทนใน 1 ปี
สัญญาว่าจ้างติดตามทรัพย์กองมรดกเรียกส่วนแบ่งเป็นโมฆะ
คดีฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมปลอมและถูกกำจัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่เพียงทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป
โจทก์ฟ้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปี
ผู้จัดการมรดกแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันฟังคำสั่งศาล
คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกอายุความ 5 ปี
การแจ้งการเกิดของเด็กในทะเบียนคนเกิดเองว่าเป็นบุตรของตน
ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
การที่จะเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนทายาทอื่น
พินัยกรรมเอกสารลับทำผิดแบบเป็นโมฆะ
การจัดการมรดกไม่ชอบไม่อาจถือว่าการจัดการมรดกสิ้นลงแล้ว
การจัดการทรัพย์มรดกในฐานะผู้จัดการมรดกตามหน้าที่ที่จำเป็น
คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกปิดบังทรัพย์มรดกมีผลอย่างไร
ทายาทมิได้ฟ้องเรียกร้องมรดกภายใน 1 ปี
ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ผู้มีส่วนได้เสีย
สามีไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้จัดการมรดกได้
ทรัพย์มรดกยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาททุกคน-การจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้น
บุคคลผู้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มีผลอย่างไร?
ฟ้องผู้จัดการมรดกนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงเกินห้าปีขาดอายุความ
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลถูกเพิกถอนได้
อายุความคดีมรดก เจ้าหนี้ฟ้องคดีมรดกเกินหนึ่งปี
คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก
บุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย