ReadyPlanet.com
dot
สำนักงานทนายความ
dot
bulletทนายความฟ้องหย่า
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
dot
พระราชบัญญัติ
dot
bulletพระราชบัญญัติ
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
dot
บทความเฉพาะเรื่อง
dot
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletสัญญายอมความ
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletกรมบังคับคดี
dot
ลิงค์ต่าง ๆ
dot
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletอำนาจปกครองบุตร




ผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก

ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3)  peesirilaw  หรือ (4) @peesirilaw   (5)   @leenont1

-Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย  QR CODE

ผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก

การที่ผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมโอนทรัพย์มรดกให้แก่ตนเองซึ่งไม่ใช่ทายาทย่อมไม่มีอำนาจกระทำเพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกเมื่อผู้ตายมิได้ทำพินัยกรรมอนุญาตและไม่ได้รับอนุญาตจากศาลย่อมตกเป็นโมฆะ ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงยังคงเป็นมรดกของผู้ตายและโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดก(คนใหม่)มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง  

บุคคลจะยกอายุความคดีมรดกขึ้นต่อสู้ได้จะต้องเป็นบุคคลซึ่งเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดก เมื่อผู้จัดการมรดกไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกจึงไม่อาจยกอายุความคดีมรดกขึ้นตัดฟ้องโจทก์ได้ ทั้งคดีนี้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดก(คนใหม่)ของผู้ตายฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองและบริวารให้ออกจากที่ดินมรดก และให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบโฉนดที่ดินมรดกคืน มิได้ฟ้องเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกจึงนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1733 มาปรับใช้แก่คดีนี้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  9295/2547

นางสาวสิริกุล เค็งสม ในฐานะผู้จัดการมรดกของ       โจทก์
 
          การที่ ป. ในฐานะผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมโอนทรัพย์มรดกที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่ตนเองซึ่งไม่ใช่ทายาท แม้จะเป็นการตอบแทนการเอาเงินส่วนตัวชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองแทนกองมรดก อันเป็นการจัดการมรดกทั่วไป ก็ไม่มีอำนาจกระทำเพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก เมื่อผู้ตายมิได้ทำพินัยกรรมอนุญาตและ ป. ไม่ได้รับอนุญาตจากศาลจึงเป็นการฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 1722 ย่อมตกเป็นโมฆะ ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงจึงยังคงเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย

          โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของนายสมพงษ์ ผู้ตาย จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของเรือตรีประสิทธิ์ ซึ่งเดิมเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและได้ครอบครองที่ดินโฉนดเลขที่ 3648 และ 10583 ของผู้ตาย กับยึดถือโฉนดที่ดินทั้งสองแปลงไว้ ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ส่งมอบโฉนดที่ดินเลขที่ 3648 และ 10583 ตำบลโกรกกราก อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร คืนแก่โจทก์ให้จำเลยทั้งสองขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าว และให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายอัตราเดือนละ 3,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยทั้งสองจะขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดิน

          จำเลยทั้งสองให้การและแก้ไขคำให้การ ขอให้ยกฟ้อง

          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบโฉนดที่ดินเลขที่ 3648 และ 10583 ตำบลโกรกกราก อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร คืนแก่โจทก์ ให้จำเลยทั้งสองขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดินพิพาท ห้ามจำเลยทั้งสองเกี่ยวข้องในที่ดินพิพาทต่อไป และให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายเดือนละ 3,000 บาท นับแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2541 จนกว่าจำเลยทั้งสองและบริวารจะออกจากที่ดินพิพาทแก่โจทก์

          จำเลยทั้งสองอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน

          จำเลยทั้งสองฎีกา
          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “...พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้ฎีกาโต้แย้งกันรับฟังเป็นที่ยุติได้ว่าโจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่นายสมพงษ์ผู้ตายได้รับรองแล้วส่วนเรือตรีประสิทธิ์ซึ่งเป็นบิดาของจำเลยที่ 1 และเป็นสามีของจำเลยที่ 2 นั้นเป็นพี่ของผู้ตาย เดิมที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 3648 และ 10583 ตำบลโกรกกราก อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร มีชื่อผู้ตายเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2531 นายสมพงษ์ถึงแก่ความตาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งเรือตรีประสิทธิ์เป็นผู้จัดการมรดก ต่อมาในปี 2532 เรือตรีประสิทธิ์ได้ปลูกสร้างบ้านเลขที่ 50 ก. ลงบนที่ดินโฉนดเลขที่ 3648 และเรือตรีประสิทธิ์กับจำเลยทั้งสองได้เข้าอยู่อาศัยในบ้านหลังดังกล่าว ปี 2534 เรือตรีประสิทธิ์ในฐานะผู้จัดการมรดกได้โอนที่ดินทั้งสองแปลงเป็นของตน จากนั้นในปี 2537 เรือตรีประสิทธิ์ถึงแก่ความตาย จำเลยทั้งสองยังคงพักอาศัยอยู่ที่บ้านหลังดังกล่าว และจำเลยที่ 1 เป็นผู้ยึดถือโฉนดที่ดินพิพาททั้งสองแปลงไว้ ต่อมาปี 2540 ศาลมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของนายสมพงษ์โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกได้บอกกล่าวให้จำเลยทั้งสองขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 3648 และให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาททั้งสองแปลงคืนโจทก์ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองประการแรกว่า ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงยังคงเป็นทรัพย์มรดกของนายสมพงษ์หรือไม่ เห็นว่าเมื่อผู้ตายมิได้ทำพินัยกรรมไว้ทรัพย์มรดกย่อมตกแก่ทายาทโดยธรรม แม้โจทก์จะเป็นบุตรนอกกฎหมายของนายสมพงษ์ แต่นายสมพงษ์ก็ได้รับรองแล้ว ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 ให้ถือเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ (1) มีสิทธิได้รับมรดกก่อนเรือตรีประสิทธิ์ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ (3) ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 และย่อมส่งผลให้เรือตรีประสิทธิ์ไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของนายสมพงษ์ผู้ตายเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1630 วรรคหนึ่ง เรือตรีประสิทธิ์ในฐานะผู้จัดการมรดกมีเพียงสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปหรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 ซึ่งจะต้องแบ่งส่วนมรดกให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิในมรดกตามที่กฎหมายบัญญัติเท่านั้น การที่เรือตรีประสิทธิ์ในฐานะผู้จัดการมรดกโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่ตนเองทั้งที่ไม่มีสิทธิรับมรดกดังกล่าว จึงเป็นการกระทำโดยปราศจากอำนาจไม่มีผลผูกพันแต่ประการใด ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า การที่เรือตรีประสิทธิ์โอนที่ดินมรดกทั้งสองแปลงให้แก่ตนเองเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่เรือตรีประสิทธิ์เอาเงินส่วนตัวชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองแทนกองมรดกอันเป็นการจัดการมรดกทั่วไป ซึ่งผู้จัดการมรดกมีอำนาจทำได้ ไม่ใช่การแบ่งปันทรัพย์มรดก ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงจึงเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของเรือตรีประสิทธิ์ มิใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตายนั้น เห็นว่า โจทก์มีนางสาวลักษณา ซึ่งเป็นบุตรของเรือตรีประสิทธิ์กับนางสุมลเป็นพยานเบิกความว่า เรือตรีประสิทธิ์ได้ขายที่ดินมรดกไป 1 แปลงเพื่อเอาเงินมาไถ่ถอนจำนองที่ดินมรดกอีก 2 แปลง ซึ่งตามสารบัญจดทะเบียนที่ดินทั้งสองแปลง ก็ปรากฏว่าเรือตรีประสิทธิ์ได้โอนที่ดินมรดกทั้งสองแปลงให้เป็นของตนเองในระหว่างจำนอง ต่อมาในปี 2535 จึงไถ่ถอนจำนอง หากเรือตรีประสิทธิ์เอาเงินส่วนตัวไถ่ถอนจำนองจริง ก็น่าจะจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองก่อนที่จะมีการโอนที่ดินมรดกเป็นของตน กรณีจึงน่าเชื่อตามคำเบิกความของนางสาวลักษณาว่าที่เรือตรีประสิทธิ์เอาเงินที่ขายที่ดินมรดกไปไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาททั้งสองแปลงนอกจากนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1722 ยังห้ามผู้จัดการมรดกมิให้ทำนิติกรรมใดๆ ซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก เว้นแต่จะมีพินัยกรรมอนุญาตหรือได้รับอนุญาตจากศาล การที่เรือตรีประสิทธิ์ทำนิติกรรมโอนทรัพย์มรดกให้แก่ตนเองซึ่งไม่ใช่ทายาท ถึงแม้จะเป็นการตอบแทนการเอาเงินส่วนตัวชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองแทนกองมรดกอันเป็นการจัดการมรดกทั่วไปตามที่จำเลยทั้งสองอ้างมาในฎีกา ก็ไม่มีอำนาจกระทำเพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกเมื่อผู้ตายมิได้ทำพินัยกรรมอนุญาตและไม่ได้รับอนุญาตจากศาลย่อมตกเป็นโมฆะจึงไม่ทำให้เรือตรีประสิทธิ์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินมรดกทั้งสองแปลงโดยนิติกรรมแต่ประการใด ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่า ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงยังคงเป็นมรดกของผู้ตายและโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยทั้งสองในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

          ปัญหาตามฎีกาของจำเลยทั้งสองประการต่อไปมีว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความคดีมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 และการฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกต้องฟ้องภายใน 5 ปี โจทก์ฟ้องเกินกำหนดจึงขาดอายุความตามมาตรา 1733 นั้น เห็นว่า บุคคลจะยกอายุความคดีมรดกขึ้นต่อสู้ได้จะต้องเป็นบุคคลซึ่งเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดก หรือบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาทหรือโดยผู้จัดการมรดกเท่านั้น ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1755 แต่เรือตรีประสิทธิ์ไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกดังที่วินิจฉัยมาแล้วข้างต้น และจำเลยทั้งสองก็เป็นเพียงทายาทของเรือตรีประสิทธิ์ไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเช่นกัน จึงไม่อาจยกอายุความคดีมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ขึ้นตัดฟ้องโจทก์ได้ ทั้งคดีนี้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองและบริวารให้ออกจากที่ดินมรดก และให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบโฉนดที่ดินมรดกคืน มิได้ฟ้องเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกของเรือตรีประสิทธิ์เพื่อให้จำเลยทั้งสองในฐานะทายาทต้องรับผิดแต่อย่างใด จึงนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1733 มาปรับใช้แก่คดีนี้ไม่ได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่า คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความนั้นศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยทั้งสองในข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน”
          พิพากษายืน
 
 ( สมชัย จึงประเสริฐ - พีรพล จันทร์สว่าง - บุญรอด ตันประเสริฐ )
 
 
ป.พ.พ.

มาตรา 1722  ผู้จัดการมรดกจะทำนิติกรรมใดๆ ซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกหาได้ไม่ เว้นแต่พินัยกรรมจะได้อนุญาตไว้ หรือได้รับอนุญาตจากศาล

 




คดีมรดก ร้องศาลตั้งผู้จัดการมรดก

ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด
บุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกปฏิบัติผิดหน้าที่-ทายาทผู้มีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกได้
คู่สมรสและการแบ่งมรดกของคู่สมรส | การสมรสเป็นโมฆะ
อายุความคดีมรดก และอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก
ผู้สืบสันดาน คือใคร? ต่างกับทายาท อย่างไร?
ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์มรดกเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความแล้ว
สามีมิได้จดทะเบียนสมรสไม่ถือเป็นทายาทของภริยาผู้ตาย
ไม่มีกฎหมายบังคับให้ฟ้องเอาทรัพย์มรดกจากทายาทอื่นที่ครอบครองแทนใน 1 ปี
อำนาจฟ้องขอแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตาย
ฟ้องผู้จัดการมรดกนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงเกินห้าปีขาดอายุความ
แม้กองมรดกมีผู้จัดการมรดกแล้วทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้อง
คำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ
คดีมรดกต้องเป็นคดีที่ทายาทด้วยกันพิพาทกันเรื่องสิทธิในส่วนแบ่งมรดก
ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น
ทายาททุกคนมอบหมายให้ครอบครองที่ดินแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วม
ทรัพย์มรดกยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาททุกคน-การจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้น
อายุความคดีมรดก เจ้าหนี้ฟ้องคดีมรดกเกินหนึ่งปี
การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลงอายุความ 5 ปียังไม่เริ่มนับ
อายุความคดีมรดกสะดุดหยุดลง การแบ่งทรัพย์มรดกไม่ชอบ
อายุความฟ้องคดีแพ่งอันเนื่องจากคดียักยอกทรัพย์มรดก
สามีไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้จัดการมรดกได้
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลถูกเพิกถอนได้
สิทธิของบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายในการรับมรดกของบุตรนอกกฎหมาย
บุตรนอกกฎหมายซึ่งผู้ตายรับรองแล้วเป็นผู้สืบสันดาน
ผู้จัดการมรดกเรียกให้เจ้าของรวมส่งมอบโฉนดที่ดิน
การปันมรดกเสร็จสิ้นลงแล้วการถอนผู้จัดการมรดกย่อมพ้นกำหนดเวลา
เหตุอันจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก
มารดาขายที่ดินซึ่งผู้เยาว์มีส่วนแบ่งไม่ต้องขอศาล
พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองไม่ได้ทำต่อหน้าพยานตกเป็นโมฆะ
ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามมาตรา 1300
แสดงบัญชีเครือญาติเป็นเท็จปิดบังจำนวนทายาท
ความเหมาะสมในการเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มีผลอย่างไร?
การแบ่งมรดกที่ดินมือเปล่าไม่มีเอกสารสิทธิ
ขอให้ศาลสั่งถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก
ทายาทมิได้ฟ้องเรียกร้องมรดกภายใน 1 ปี
พินัยกรรมมีเงื่อนไขบังคับก่อน
คู่สมรสที่จดทะเบียนหย่าแล้วเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่
การสละมรดกมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายจึงขาดความเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
สามีไม่จดทะเบียนสมรสขอถอนผู้จัดการมรดก มีกรรมสิทธิ์รวม
ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ผู้มีส่วนได้เสีย
สิทธิรับมรดกก่อนหลัง
บุตรนอกสมรสและบิดานอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดกต่อกันอย่างไร
ผู้จัดการมรดก | ทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดก | ฟ้องแทนทายาทโดยธรรมอื่น
หนังสือสัญญาแบ่งมรดกตกเป็นโมฆะหรือไม่?
ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะทำหน้าที่ผู้จัดการมรดก
ทายาทมีส่วนเท่ากันออกค่าใช้จ่ายจัดการทำศพ
อำนาจหน้าที่จัดการศพพระภิกษุผู้มรณภาพไม่มีทรัพย์สิน
อำนาจและหน้าที่ในการจัดการทำศพและลำดับก่อนหลัง
คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกอายุความ 5 ปี
เมื่อแบ่งมรดกเสร็จแล้วความเป็นทายาทสิ้นสุดลง-อายุความมรดก
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ความรับผิดของผู้ตาย
นายอำเภอคือผู้มีอำนาจจัดทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
พินัยกรรมเอกสารลับทำผิดแบบเป็นโมฆะ
การที่จะเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนทายาทอื่น