ReadyPlanet.com
dot
สำนักงานทนายความ
dot
bulletทนายความฟ้องหย่า
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
dot
พระราชบัญญัติ
dot
bulletพระราชบัญญัติ
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
dot
บทความเฉพาะเรื่อง
dot
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletสัญญายอมความ
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletกรมบังคับคดี
dot
ลิงค์ต่าง ๆ
dot
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletอำนาจปกครองบุตร




การสละมรดกมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายจึงขาดความเป็นผู้มีส่วนได้เสีย

ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3)  peesirilaw  หรือ (4) @peesirilaw   (5)   @leenont1

-Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย  QR CODE

การสละมรดกมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายจึงขาดความเป็นผู้มีส่วนได้เสีย

อำนาจร้องขอถอนผู้จัดการมรดก  พินัยกรรมเป็นโมฆะ

ทำบันทึกว่าจะไม่เรียกร้องใด ๆ ทั้งสิ้นอีกเป็นการสละมรดกทั้งหมดมิใช่สละมรดกเพียงบางส่วนจึงมีผลเป็นการสละมรดกตามมาตรา 1612  เมื่อผู้คัดค้านสละมรดกแล้วมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตาย ผู้คัดค้าน จึงไม่ใช่ทายาทและผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกไม่มีอำนาจร้องขอถอนผู้จัดการมรดก

พินัยกรรมต้องทำเป็นหนังสือลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำขึ้น และผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน พินัยกรรมที่มีพยานลงลายมือชื่อสองคน แต่มิได้ลงวัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรมถือว่าเป็นพินัยกรรมที่ทำขึ้นโดยขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656   ย่อมเป็นโมฆะตามมาตรา 1705

    คำพิพากษาศาลฎีกาที่3776/2545     

    พินัยกรรมที่มีพยานลงลายมือชื่อสองคน แต่มิได้ลงวัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรมถือว่าเป็นพินัยกรรมที่ทำขึ้นโดยขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656   ย่อมเป็นโมฆะตามมาตรา 1705

           บันทึกข้อตกลงที่มีข้อความว่า ผู้คัดค้านที่ 1 ได้รับเงินจากผู้ร้องในนามผู้จัดการมรดกของ ส. ไปในวันนี้แล้วและจะไม่เรียกร้องใด ๆ ทั้งสิ้นอีก เป็นข้อตกลงระงับข้อพิพาทในทรัพย์มรดก ที่จะมีขึ้นในเรื่องการแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายในอนาคตให้หมดไป จึงเป็นการประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 850 นอกจากนี้เงิน 10,000 บาท ที่ผู้ร้องจ่ายให้ผู้คัดค้านที่ 1 ก็เป็นเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ ซึ่งมิใช่ทรัพย์มรดกเพราะมิใช่ทรัพย์สินที่ผู้ตายมีอยู่ก่อนหรือขณะถึงแก่ความตาย ดังนั้น การที่ผู้คัดค้านที่ 1 รับเงินดังกล่าวไป แล้วทำบันทึกว่าจะไม่เรียกร้องใด ๆ ทั้งสิ้นอีก จึงเป็นการสละมรดกทั้งหมดมิใช่สละมรดกเพียงบางส่วนจึงมีผลเป็นการสละมรดกตามมาตรา 1612 และไม่เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1613  เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 สละมรดกแล้วมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายตามมาตรา 1615 ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่ใช่ทายาทและผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกไม่มีอำนาจร้องขอถอนผู้จัดการมรดก

          คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของนางสุนทรเกตุจิตร ผู้ตาย เพื่อจัดการมรดกตามพินัยกรรม
          ผู้คัดค้านที่ 1 ยื่นคำร้องขอว่า ผู้คัดค้านที่ 1 มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันสี่คน คือ นางเฉลียว คงดิษฐ์ ผู้คัดค้านที่ 1 นางสุนทร เกตุจิตร ผู้ตาย และนายสุจินต์กลิ่นเกษร ซึ่งถึงแก่กรรมแล้ว ผู้ตายได้สมรสกับนายโนแล เกตุจิตร นายโนแลถึงแก่กรรมก่อนผู้ตาย ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย โดยอ้างว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมนั้น เนื่องจากพินัยกรรมของผู้ตายไม่สมบูรณ์ไม่มีผลตามกฎหมายเพราะพินัยกรรมไม่ได้ลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำพินัยกรรมและพยานมิได้ลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมในขณะทำพินัยกรรม ผู้ร้องจึงไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย จึงขาดคุณสมบัติในการเป็นผู้จัดการมรดก อีกทั้งพินัยกรรมมีพิรุธ เพราะระบุยกทรัพย์สินให้แก่ผู้ร้อง บุตรของผู้ร้องและบุตรของพี่สาวผู้ร้องเท่านั้น และในขณะที่ทำพินัยกรรมผู้ตายกำลังป่วย ไม่มีสติสัมปชัญญะที่จะสามารถทำพินัยกรรมได้ ขอให้มีคำสั่งถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกและมีคำสั่งตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

          ผู้คัดค้านที่ 2 ยื่นคำร้องคัดค้านว่า ผู้คัดค้านที่ 2 มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันสี่คน คือ ผู้คัดค้านที่ 2 ผู้คัดค้านที่ 1 นางสุนทร เกตุจิตร ผู้ตาย นายสุจินต์ กลิ่นเกษรซึ่งถึงแก่กรรมแล้ว หลังจากที่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้วผู้ร้องได้แบ่งทรัพย์มรดกให้ผู้คัดค้านที่ 1 กับพวกเป็นเงิน 60,000 บาท แล้วทำหลักฐานเป็นหนังสือยืนยันว่าจะไม่เรียกร้องใด ๆ ทั้งสิ้นอีก ดังนั้น ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายอีก และยังทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก โดยยักยอกทรัพย์มรดกไปเป็นของตนบางส่วน จึงขาดคุณสมบัติในการเป็นผู้จัดการมรดก ขอให้มีคำสั่งตั้งผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือตั้งผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องกับยกคำร้องขอของผู้คัดค้านที่ 1

          ผู้ร้องยื่นคำคัดค้านว่า พินัยกรรมของผู้ตายมีผลสมบูรณ์เพราะมีพยานหลายคนขณะทำพินัยกรรมผู้ตายมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ผู้คัดค้านที่ 1 ได้รับเงินจากผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายไป 60,000 บาท และทำบันทึกว่าจะไม่เรียกร้องใด ๆอีก ผู้คัดค้านที่ 1 จึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกผู้ร้องไม่เคยทำผิดหน้าที่ในการจัดการมรดกแต่อย่างใด

          ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ถอนนางสนิท  ผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของนางสุนทร  ผู้ตาย และมีคำสั่งตั้งนางชำเรือง  ผู้คัดค้านที่ 1 กับนางเฉลียว  ผู้คัดค้านที่ 2 ร่วมกันเป็นผู้จัดการมรดกของนางสุนทร ผู้ตาย ให้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย

          ผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 2 อุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน
          ผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 2 ฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาคัดค้านว่าผู้คัดค้านที่ 1 ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกับนางสุนทร เกตุจิตร ผู้ตาย ผู้ตายทำพินัยกรรมตามสำเนาภาพถ่ายเอกสารหมาย ร.6 ไว้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกผู้คัดค้านที่ 1 ได้รับเงินจากผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายเป็นเงิน 10,000 บาทเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2540 โดยบันทึกว่าจะไม่เรียกร้องใด ๆ อีก ตามเอกสารหมายร.12 มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องว่า พินัยกรรมเอกสารหมาย ร.6 เป็นโมฆะหรือไม่ เห็นว่า พินัยกรรมตามเอกสารหมาย ร.6 ไม่ได้ลงวัน เดือน ปี ไว้ ซึ่งตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656 บัญญัติว่า พินัยกรรมต้องทำเป็นหนังสือ ลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำขึ้นและผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน ซึ่งพยานสองคนนั้นต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้น ดังนั้น แม้พินัยกรรมดังกล่าวจะมีพยานลงลายมือชื่อสองคนแต่มิได้ลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำพินัยกรรมก็ต้องถือว่าพินัยกรรมดังกล่าวเป็นพินัยกรรมที่ทำขึ้นโดยขัดต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 1656 ย่อมเป็นโมฆะ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1705 เมื่อพินัยกรรมดังกล่าวเป็นโมฆะ ผู้ร้องจึงมิใช่ทายาทของผู้ตายตามพินัยกรรมไม่มีส่วนได้เสียในอันที่จะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ที่ศาลล่างทั้งสองให้ถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายนั้นชอบแล้ว ฎีกาของผู้ร้องฟังไม่ขึ้น

          มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้คัดค้านที่ 2 ว่า ผู้คัดค้านที่ 1 มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกอันจะทำให้มีสิทธิเรียกร้องขอถอนผู้จัดการมรดกหรือไม่ ตามบันทึกเอกสารหมาย ร.12 มีข้อความว่า ผู้คัดค้านที่ 1 ได้รับเงินจากผู้ร้องในนามผู้จัดการมรดกของนางสุนทร เกตุจิตร ไปในวันนี้แล้วและจะไม่เรียกร้องใด ๆ ทั้งสิ้นอีก ผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 ลงลายมือชื่อไว้ เห็นว่า ข้อความดังกล่าวเป็นข้อตกลงระงับข้อพิพาทในทรัพย์มรดกรายนี้ ที่จะมีขึ้นในเรื่องการแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายในอนาคตให้หมดไป โดยผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายในขณะนั้นยอมจ่ายเงินให้ผู้คัดค้านที่ 1 จำนวน 10,000 บาท แล้วผู้คัดค้านที่ 1 จะไม่เรียกร้องใด ๆ ทั้งสิ้น จึงเป็นการประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850นอกจากนี้เงินจำนวน 10,000 บาท ที่ผู้ร้องจ่ายให้ผู้คัดค้านที่ 1 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นได้ความจากพยานผู้ร้องและผู้คัดค้านทั้งสองว่าเป็นเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ของสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ของลูกค้า ธกส. อำเภอสรรพยาซึ่งผู้ตายระบุไว้ในใบสมัครว่า เมื่อผู้ตายถึงแก่กรรมแล้วให้ผู้ร้องเป็นผู้รับเงินสงเคราะห์เงินดังกล่าวย่อมมิใช่ทรัพย์มรดกเพราะมิใช่ทรัพย์สินที่ผู้ตายมีอยู่ก่อนหรือขณะถึงแก่ความตาย ดังนั้น การที่ผู้คัดค้านที่ 1 รับเงินดังกล่าวไป 10,000 บาท แล้ว ทำบันทึกว่าจะไม่เรียกร้องใด ๆ ทั้งสิ้นอีก จึงเป็นการสละมรดกทั้งหมดมิใช่สละมรดกเพียงบางส่วนการประนีประนอมยอมความตามเอกสารหมาย ร.12 ดังกล่าวจึงมีผลเป็นการสละมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612 และไม่เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1613เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 สละมรดกแล้วมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1615 ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่ใช่ทายาทและผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก ไม่มีอำนาจมาร้องขอถอนผู้จัดการมรดก ที่ศาลล่างทั้งสองให้ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้คัดค้านที่ 2 นั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วยฎีกาของผู้คัดค้านที่ 2 ฟังขึ้น"

          พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ตั้งนางเฉลียว  ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของนางสุนทร  ผู้ตายแต่เพียงผู้เดียวให้ยกคำร้องของนางชำเรือง มาใหญ่ผู้คัดค้านที่ 1 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1

            ( วสันต์ ตรีสุวรรณ - ชาญชัย ลิขิตจิตถะ - จำรูญ แสนภักดี )

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3776/2545  บุคคลมีจะมีอำนาจร้องขอถอนผู้จัดการมรดกได้จะต้องเป็นทายาทโดยธรรม ทายาทสละมรดกแล้วมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาที่เจ้ามรดกตาย จึงสิ้นสิทธิในการเป็นทายาทไม่มีส่วนได้เสียในกองมรดกและไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอถอดถอนผู้จัดการมรดก

 

การสละมรดกต้องเป็นการสละส่วนของตนโดยไม่เจาะจงว่าจะให้แก่ทายาทคนใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15721/2558

ตามบันทึกถ้อยคำไม่รับมรดกที่โจทก์ทั้งสอง จำเลยทั้งสอง และ ก. ให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานที่ดินมีใจความสำคัญว่า ที่ดินพิพาทที่มีชื่อ ว. เจ้ามรดกเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ อ. สามีของ ว. ได้มายื่นเรื่องราวขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้ของ ว. ซึ่งโจทก์ทั้งสอง จำเลยทั้งสอง และ ก. ทายาทของ ว. ไม่ประสงค์จะขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้ และยินยอมให้ อ. เป็นผู้ขอรับมรดกแต่เพียงผู้เดียว ต่อมา อ. จดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยทั้งสอง ดังนี้ ไม่ใช่การสละมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1612, 1613 เพราะการสละมรดกต้องเป็นการสละส่วนของตนโดยไม่เจาะจงว่าจะให้แก่ทายาทคนใด แต่บันทึกถ้อยคำดังกล่าวมีลักษณะเป็นการประนีประนอมยอมความมีผลบังคับได้ตามมาตรา 850, 852 และ 1750 วรรคสอง โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของ ว. จึงไม่มีสิทธิฟ้องแบ่งที่ดินพิพาทจากจำเลยทั้งสอง

โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทแปลงที่ 1 ถึงที่ 29 และให้จำเลยทั้งสองโอนที่ดินพิพาทแปลงที่ 30 ถึงที่ 37 ตามฟ้องให้แก่โจทก์หนึ่งในสี่ส่วนและให้จำเลยที่ 1 แบ่งเงินฝากจากบัญชีธนาคารที่มีชื่อนายอรุณ ทุกบัญชีให้แก่โจทก์เป็นเงิน 1,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ หากจำเลยทั้งสองไม่ดำเนินการขอให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองและหากจำเลยทั้งสองไม่สามารถแบ่งปันทรัพย์มรดกได้ ให้นำทรัพย์มรดกออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งปันให้โจทก์ตามสัดส่วนหรือชดใช้เงิน 16,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

จำเลยทั้งสองให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายอรุณ จดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 2853 ตำบลนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา และที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 70016 ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา หนึ่งในสี่ส่วน หากไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยกและให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดให้เป็นพับ

โจทก์อุทธรณ์โดยได้รับอนุญาตให้ยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

โจทก์ฎีกาโดยได้รับอนุญาตให้ยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งกันในชั้นฎีการับฟังเป็นยุติว่า นายอรุณกับนางวรรลี เป็นสามีภริยากันโดยจดทะเบียนสมรส มีบุตรด้วยกันสี่คน คือ โจทก์ จำเลยทั้งสองและนายกิจจา นายอรุณกับนางวรรลีมีที่ดินพิพาท 37 แปลง ตามฟ้องเป็นสินสมรส นายอรุณจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทแปลงที่ 1 และที่ 2 ให้นายกิจจาโดยได้รับความยินยอมจากนางวรรลี ครั้นนางวรรลีถึงแก่ความตาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งนายอรุณเป็นผู้จัดการมรดกของนางวรรลี ต่อมาโจทก์ จำเลยทั้งสองและนายกิจจาทำบันทึกถ้อยคำไม่รับมรดกที่ดินพิพาทแปลงที่ 3 ถึงที่ 22 ในส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของนางวรรลีผู้ตายกึ่งหนึ่งและยินยอมให้นายอรุณรับมรดกของเจ้ามรดกได้ โดยลงลายมือชื่อโจทก์จำเลยทั้งสองและนายกิจจามอบไว้แก่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา นายอรุณจดทะเบียนโอนมรดกที่ดินพิพาทรวม 20 แปลง ของผู้ตายนั้นให้ตนเอง วันรุ่งขึ้นนายอรุณจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทรวม 20 แปลง ให้จำเลยที่ 1 ภายหลังนางวรรลีถึงแก่ความตาย นายอรุณเป็นโจทก์ฟ้องนายกิจจาเป็นจำเลยเรียกถอนคืนการให้ที่ดินพิพาทแปลงที่ 1 และที่ 2 ต่อมานายอรุณนำคำพิพากษาศาลชั้นต้นไปดำเนินการจดทะเบียนถอนคืนการให้ที่ดินพิพาทแปลงที่ 1 และที่ 2 แล้วจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้จำเลยที่ 1 ต่อมานายอรุณจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทแปลงที่ 23 ที่ 24 และที่ 26 ถึงที่ 29 ให้จำเลยที่ 1 และนายอรุณจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทแปลงที่ 30 และที่ 32 ถึงที่ 37 ให้จำเลยทั้งสอง นายอรุณถึงแก่ความตาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของนายอรุณ สำหรับที่ดินพิพาทแปลงที่ 25 และที่ 31 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายอรุณ จดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ถือกรรมสิทธิ์หนึ่งในสี่ส่วน หากไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา คู่ความไม่อุทธรณ์ จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ข้อแรกว่า ที่ดินพิพาทแปลงที่ 1 และที่ 2 ครึ่งหนึ่งเป็นทรัพย์มรดกของนางวรรลีผู้ตายที่จะตกทอดแก่ทายาทหรือไม่ โดยโจทก์ฎีกาว่า ที่ดินพิพาทแปลงที่ 1 และที่ 2 เป็นสินสมรสระหว่างนายอรุณกับนางวรรลี ขณะนางวรรลีมีชีวิตอยู่ได้โอนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสที่นายอรุณกับนางวรรลีถือกรรมสิทธิ์คนละครึ่งให้นายกิจจา ต่อมาศาลมีคำพิพากษาถอนคืนการให้ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงนั้นจึงกลับมาสู่เจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมอันได้แก่ นายอรุณกับนางวรรลี แม้นางวรรลีจะถึงแก่ความตายไปแล้วก็ตาม เมื่อศาลเพิกถอนการให้ สิทธิในที่ดินพิพาทจึงกลับสู่เจ้าของเดิมในขณะทำนิติกรรมยกให้ ดังนั้นที่ดินพิพาทแปลงที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นทรัพย์มรดกของนางวรรลีผู้ตายครึ่งหนึ่งที่จะตกทอดแก่ทายาท เห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1470 ที่กำหนดให้ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาประกอบด้วยสินส่วนตัวและสินสมรสนั้นหมายถึง ทรัพย์สินที่สามีภริยามีอยู่ในขณะที่เป็นสามีภริยากัน แม้เดิมที่ดินพิพาทแปลงที่ 1 และที่ 2 เป็นสินสมรสระหว่างนายอรุณกับนางวรรลี เมื่อนายอรุณโอนที่ดินพิพาทให้แก่นายกิจจาโดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และได้รับความยินยอมจากนางวรรลี การให้ย่อมเป็นอันสมบูรณ์ ที่ดินพิพาทนั้นจึงไม่เป็นสินสมรสระหว่างนายอรุณกับนางวรรลีอีกต่อไป การที่นางวรรลีถึงแก่ความตายในเวลาต่อมาย่อมทำให้การสมรสระหว่างนายอรุณกับนางวรรลีสิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1501 ภายหลังนางวรรลีถึงแก่ความตายไปแล้ว ศาลพิพากษาให้ถอนคืนการให้ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงนั้นเช่นนี้ ที่ดินพิพาทแปลงที่ 1 และที่ 2 จึงไม่เป็นสินสมรสระหว่างนายอรุณกับนางวรรลี และมิใช่ทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องที่นางวรรลีมีอยู่ในขณะถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1600 ที่ดินพิพาทแปลงที่ 1 และที่ 2 ครึ่งหนึ่งจึงมิใช่ทรัพย์มรดกของนางวรรลีผู้ตายที่จะตกทอดแก่ทายาทอีกต่อไป โจทก์ไม่อาจฟ้องขอแบ่งมรดกที่ดินพิพาทได้ ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ข้อสุดท้ายว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องแบ่งที่ดินพิพาทแปลงที่ 3 ถึงที่ 22 ในส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของนางวรรลีผู้ตายครึ่งหนึ่งหรือไม่ เห็นว่า ตามสำเนาบันทึกถ้อยคำไม่รับมรดกที่ดินพิพาทแปลงที่ 3 ถึงที่ 22 เป็นบันทึกที่โจทก์ จำเลยทั้งสอง และนายกิจจาให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสงขลามีใจความสำคัญว่า ตามที่นายอรุณได้ยื่นคำขอรับโอนมรดกที่ดินพิพาทแปลงที่ 3 ถึงที่ 22 ของนางวรรลีผู้ตายนั้น โจทก์ จำเลยทั้งสอง และนายกิจจาเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดกที่ดินพิพาทด้วยในฐานะบุตรได้รับทราบการขอรับมรดกที่ดินพิพาทตามประกาศของสำนักงานที่ดินจังหวัดสงขลาฉบับลงวันที่ 9 ตุลาคม 2551 แล้วยินยอมให้นายอรุณรับมรดกของนางวรรลีผู้ตายได้ ซึ่งโจทก์ จำเลยทั้งสอง และนายกิจจาลงลายมือชื่อมอบไว้แก่เจ้าพนักงานที่ดิน แม้สำเนาบันทึกถ้อยคำไม่รับมรดก ที่โจทก์และทายาทอื่นตกลงยกทรัพย์มรดกที่ดินพิพาทแปลงที่ 3 ถึงที่ 22 ในส่วนของนางวรรลีครึ่งหนึ่งให้แก่นายอรุณมิใช่เป็นการสละมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612 และ 1613 เพราะการสละมรดกต้องเป็นการสละส่วนของตนโดยไม่เจาะจงว่าจะให้แก่ทายาทคนใดและยังมีทรัพย์มรดกส่วนอื่นอีกที่มิได้มีการสละด้วยก็ตาม แต่ก็เป็นกรณีที่ทายาทได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกกันโดยสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 วรรคสองประกอบมาตรา 850 ซึ่งมีผลบังคับได้ตามมาตรา 852 โจทก์เรียกร้องทรัพย์มรดกส่วนนี้ไม่ได้ จึงไม่มีสิทธิฟ้องแบ่งที่ดินพิพาทแปลงที่ 3 ถึงที่ 22 ในส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของนางวรรลีผู้ตายครึ่งหนึ่ง ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน

พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

 
ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาทนายความ ลีนนท์  โทร 0859604258   สำนักงานพีศิริ ทนายความ

 




คดีมรดก ร้องศาลตั้งผู้จัดการมรดก

ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด
บุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกปฏิบัติผิดหน้าที่-ทายาทผู้มีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกได้
คู่สมรสและการแบ่งมรดกของคู่สมรส | การสมรสเป็นโมฆะ
อายุความคดีมรดก และอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก
ผู้สืบสันดาน คือใคร? ต่างกับทายาท อย่างไร?
ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์มรดกเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความแล้ว
สามีมิได้จดทะเบียนสมรสไม่ถือเป็นทายาทของภริยาผู้ตาย
ไม่มีกฎหมายบังคับให้ฟ้องเอาทรัพย์มรดกจากทายาทอื่นที่ครอบครองแทนใน 1 ปี
อำนาจฟ้องขอแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตาย
ฟ้องผู้จัดการมรดกนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงเกินห้าปีขาดอายุความ
แม้กองมรดกมีผู้จัดการมรดกแล้วทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้อง
คำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ
คดีมรดกต้องเป็นคดีที่ทายาทด้วยกันพิพาทกันเรื่องสิทธิในส่วนแบ่งมรดก
ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น
ทายาททุกคนมอบหมายให้ครอบครองที่ดินแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วม
ทรัพย์มรดกยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาททุกคน-การจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้น
อายุความคดีมรดก เจ้าหนี้ฟ้องคดีมรดกเกินหนึ่งปี
การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลงอายุความ 5 ปียังไม่เริ่มนับ
อายุความคดีมรดกสะดุดหยุดลง การแบ่งทรัพย์มรดกไม่ชอบ
อายุความฟ้องคดีแพ่งอันเนื่องจากคดียักยอกทรัพย์มรดก
สามีไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้จัดการมรดกได้
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลถูกเพิกถอนได้
สิทธิของบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายในการรับมรดกของบุตรนอกกฎหมาย
บุตรนอกกฎหมายซึ่งผู้ตายรับรองแล้วเป็นผู้สืบสันดาน
ผู้จัดการมรดกเรียกให้เจ้าของรวมส่งมอบโฉนดที่ดิน
การปันมรดกเสร็จสิ้นลงแล้วการถอนผู้จัดการมรดกย่อมพ้นกำหนดเวลา
ผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก
เหตุอันจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก
มารดาขายที่ดินซึ่งผู้เยาว์มีส่วนแบ่งไม่ต้องขอศาล
พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองไม่ได้ทำต่อหน้าพยานตกเป็นโมฆะ
ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามมาตรา 1300
แสดงบัญชีเครือญาติเป็นเท็จปิดบังจำนวนทายาท
ความเหมาะสมในการเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มีผลอย่างไร?
การแบ่งมรดกที่ดินมือเปล่าไม่มีเอกสารสิทธิ
ขอให้ศาลสั่งถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก
ทายาทมิได้ฟ้องเรียกร้องมรดกภายใน 1 ปี
พินัยกรรมมีเงื่อนไขบังคับก่อน
คู่สมรสที่จดทะเบียนหย่าแล้วเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่
สามีไม่จดทะเบียนสมรสขอถอนผู้จัดการมรดก มีกรรมสิทธิ์รวม
ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ผู้มีส่วนได้เสีย
สิทธิรับมรดกก่อนหลัง
บุตรนอกสมรสและบิดานอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดกต่อกันอย่างไร
ผู้จัดการมรดก | ทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดก | ฟ้องแทนทายาทโดยธรรมอื่น
หนังสือสัญญาแบ่งมรดกตกเป็นโมฆะหรือไม่?
ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะทำหน้าที่ผู้จัดการมรดก
ทายาทมีส่วนเท่ากันออกค่าใช้จ่ายจัดการทำศพ
อำนาจหน้าที่จัดการศพพระภิกษุผู้มรณภาพไม่มีทรัพย์สิน
อำนาจและหน้าที่ในการจัดการทำศพและลำดับก่อนหลัง
คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกอายุความ 5 ปี
เมื่อแบ่งมรดกเสร็จแล้วความเป็นทายาทสิ้นสุดลง-อายุความมรดก
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ความรับผิดของผู้ตาย
นายอำเภอคือผู้มีอำนาจจัดทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
พินัยกรรมเอกสารลับทำผิดแบบเป็นโมฆะ
การที่จะเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนทายาทอื่น