ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามมาตรา 1300

อำนาจผู้จัดการมรดกขายเพื่อใช้หนี้กองมรดก

(ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามมาตรา 1300) 

อำนาจของผู้จัดการมรดกในการขายที่ดินทรัพย์มรดกเพื่อใช้หนี้กองมรดกเป็นอำนาจของผู้จัดการมรดกที่กระทำได้ การที่ผู้จัดการมรดกไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความโอนที่ดินให้จำเลยที่ 2 โดยไม่มีค่าตอบแทนและรู้อยู่แล้วว่าตนเองในฐานะผู้จัดการมรดกได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับผู้ซื้อไว้แล้วและผู้ซื้อชำระราคาครบถ้วนแล้ว ผู้ซื้ออยู่ในฐานะที่จะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน แม้ยังไม่ได้เข้าครอบครองทรัพย์สินที่ซื้อขาย การทำสัญญาประนีประนอมยอมความโอนที่ดินให้โดยไม่มีค่าตอบแทนอันเป็นทางเสียเปรียบแก่ผู้ซื้อและเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ทำให้ผู้ซื้อที่ดินได้รับความเสียหายขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  198/2552

 จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ข. ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทของ ข. ให้ ท. เพื่อนำเงินที่ขายได้ไปชำระหนี้กองมรดกของ ข. อันเป็นอำนาจของผู้จัดการมรดก ที่กระทำได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1724 ทายาทรวมทั้งจำเลยที่ 2 จึงต้องผูกพันต่อ ท. ในการที่จำเลยที่ 1 กระทำไปดังกล่าว การที่จำเลยที่ 1 กลับไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมโอนที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยไม่มีค่าตอบแทนและรู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทให้ ท. ไปก่อนและได้รับชำระราคาครบถ้วนแล้ว ทั้งยังได้ไปดำเนินการยื่นคำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทให้แก่ ท. และอยู่ในระหว่างการดำเนินการของเจ้าพนักงานที่ดิน ท. จึงอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามมาตรา 1300 จึงเป็นทางเสียเปรียบแก่ ท. โจทก์ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของ ท. จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทได้ตามมาตรา 1300 ประกอบ มาตรา 1599 และมาตรา 1600

มาตรา 1300  ถ้าได้จดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เป็นทางเสียเปรียบแก่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นอาจเรียกให้เพิกถอนการจดทะเบียนนั้นได้ แต่การโอนอันมีค่าตอบแทน ซึ่งผู้รับโอนกระทำการโดยสุจริตนั้น ไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด ท่านว่าจะเรียกให้เพิกถอนทะเบียนไม่ได้

มาตรา 1599  เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท
ทายาทอาจเสียไปซึ่งสิทธิในมรดกได้แต่โดยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น
 
มาตรา 1724  ทายาทย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันผู้จัดการมรดกได้ทำไปภายในขอบอำนาจในฐานะที่เป็นผู้จัดการมรดก
ถ้าผู้จัดการมรดกเข้าทำนิติกรรมกับบุคคลภายนอก โดยเห็นแก่ทรัพย์สินอย่างใดๆ หรือประโยชน์อย่างอื่นใด อันบุคคลภายนอกได้ให้ หรือได้ให้คำมั่นว่าจะให้เป็นลาภส่วนตัวทายาทหาต้องผูกพันไม่ เว้นแต่ทายาทจะได้ยินยอมด้วย
 
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของนางทองชุม ซึ่งถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2541 ตามคำสั่งของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2542 จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของนางเข็ม ตามคำสั่งของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2540 เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2541 จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เลขที่ 1679/1049 เนื้อที่ 5 ไร่ 1 งาน 53 ตารางวา ให้แก่นางทองชุมในราคา 150,000 บาท และมีข้อตกลงว่าหากผิดสัญญาจำเลยที่ 1 ยินยอมชำระค่าเสียหายให้แก่นางทองชุม 300,000 บาท โดยนางทองชุมชำระราคาตามสัญญาครบถ้วนแล้ว ต่อมาวันที่ 7 สิงหาคม 2541 จำเลยที่ 2 ยื่นคำคัดค้านการจดทะเบียนโอนที่ดินอ้างว่าเป็นทรัพย์มรดกของนางเข็มและยื่นคำฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนางเข็มต่อศาลชั้นต้น เป็นคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 553/2542 ขอแบ่งทรัพย์มรดกวันที่ 22 เมษายน 2542 จำเลยทั้งสองใช้สิทธิโดยไม่สุจริตร่วมกันทำสัญญาประนีประนอมยอมความตกลงโอนที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 และศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความทำให้โจทก์ในฐานะทายาทของนางทองชุมได้รับความเสียหาย ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทดังกล่าวระหว่างจำเลยทั้งสองและให้จำเลยทั้งสองร่วมกันจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ หากไม่ปฏิบัติให้ถือคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทนในการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาท หากไม่สามารถจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ได้ ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าที่ดินจำนวน 150,000 บาท พร้อมค่าเสียหายจำนวน 300,000 บาท รวมเป็นเงิน 450,000 บาท แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ

   จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา
          จำเลยที่ 2 ให้การว่า นายเขียว เป็นบุตรของนางเข็ม เจ้ามรดก ซึ่งถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2536 โดยนายเขียวถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2521 จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรของนายเขียวจึงเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกของนางเข็มแทนที่นายเขียว ต่อมาวันที่ 12 พฤษภาคม 2540 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแต่ตั้งจำเลยที่ 1 บุตรอีกคนหนึ่งของนางเข็มเป็นผู้จัดการมรดก จำเลยที่ 1 สมคบกับนางทองชุมมารดาโจทก์ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้แก่นางทองชุมในราคาต่ำ โดยจำเลยที่ 2 มิได้รู้เห็นยินยอมสัญญาจะขายที่ดินพิพาทเกิดขึ้นเพราะกลฉ้อฉลไม่ต้องการให้จำเลยที่ 2 ได้รับโอนที่ดินทรัพย์มรดก จำเลยที่ 2 บอกล้างแล้วสัญญาดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิด ต่อมาจำเลยที่ 2 ในฐานะทายาทได้รับโอนที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 ผู้จัดการมรดกของนางเข็มตามคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความของศาลชั้นต้นในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 553/2542 โดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทได้ขอให้ยกฟ้อง

 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวน 180,000 บาท แก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับถัดจากวันที่ 9 สิงหาคม 2542 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ คำขออื่นให้ยกและให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 5,000 บาท ยกฟ้องจำเลยที่ 2 ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 2 ให้เป็นพับ

 โจทก์อุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษากลับ (ที่ถูก พิพากษาแก้) ให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เลขที่ 1679/1049 หมู่ที่ 7 (4) ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่างจำเลยทั้งสอง ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของนางทองชุม หากจำเลยทั้งสองไม่จดทะเบียนโอนที่ดินให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองในการจดทะเบียนโอนที่ดิน หากจำเลยทั้งสองไม่สามารถจดทะเบียนโอนที่ดินได้ ให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าที่ดินจำนวน 150,000 บาท และค่าเสียหายอีกจำนวน 50,000 บาท แก่โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของนางทองชุม พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงินจำนวนดังกล่าว นับแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2542 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความทั้งสองศาลรวม 8,000 บาท คำขอนอกจากนี้ให้ยกเสีย

 จำเลยที่ 2 ฎีกา
          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้เถียงกันในชั้นฎีกาฟังเป็นยุติว่าจำเลยที่ 1 และนายเขียว ซึ่งเป็นบิดาของจำเลยที่ 2 เป็นบุตรของนางเข็ม นางเข็มถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2536 โดยนางเขียวถึงแก่ความตายก่อนนางเข็มในวันที่ 28 กรกฎาคม 2521 จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของนางเข็มตามคำสั่งศาลชั้นต้น โจทก์เป็นบุตรของนางทองชุม ซึ่งถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2541 และเป็นผู้จัดการมรดกของนางทองชุมตามคำสั่งศาลชั้นต้น เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2541 ก่อนนางทองชุมถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนางเข็มทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของนางเข็มเจ้ามรดกตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เลขที่ 1679/1049 หมู่ที่ 7 (4) ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช เนื้อที่ 5 ไร่ 1 งาน 53 ตารางวาให้แก่นางทองชุมในราคา 150,000 บาท มีข้อตกลงว่าหากผิดสัญญาจำเลยที่ 1 ยินยอมชำระค่าเยหายให้นางทองชุม 300,000 บาท นางทองชุมชำระราคาที่ดินครบถ้วนแล้ว วันที่ 27 กรกฎาคม 2541 จำเลยที่ 1 และนางทองชุมร่วมกันยื่นคำขอจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทต่อสำนักงานที่ดินจังหวัดนครศรีธรรมราช วันที่ 7 สิงหาคม 2541 จำเลยที่ 2 ยื่นคำคัดค้านการขอจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทและยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลชั้นต้นเป็นคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 553/2542 ขอแบ่งทรัพย์มรดกในฐานะทายาทมีสิทธิรับมรดกของนางเข็มแทนที่นายเขียว จำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงประนีประนอมยอมความกันโดยจำเลยที่ 1 ยินยอมโอนที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมและจำเลยที่ 2 ไปดำเนินการจดทะเบียนรับโอนที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2542 แล้วตามสำเนาสารบัญจดทะเบียนเอกสารหมาย ล.5 ปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 2 มีว่า โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง เพราะการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างนางทองชุมมารดาโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำโดยไม่สุจริตและจำเลยที่ 2 อยู่ในฐานะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมได้ก่อนโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 หรือไม่ เห็นว่า ในทางพิจารณาโจทก์มีนางจงดี เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีช่วยราชการงานออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์และโรงเรือนสำนักงานที่ดินจังหวัดนครศรีธรรมราช เบิกความเป็นพยานยืนยันว่า ราคาซื้อขายที่ดินแปลงพิพาทจำนวน 150,000 บาท เป็นราคาตามปกติไม่ได้ต่ำกว่าความเป็นจริงที่จำเลยที่ 2 อ้างตัวเองเป็นพยานเบิกความว่า ราคาที่ดินแปลงพิพาทราคาไร่ละ 100,000 บาท ก็ดี นางศศิธร พยานจำเลยเบิกความว่า ที่ดินแปลงพิพาทหากขายให้บุคคลอื่นได้ราคาประมาณ 250,000 บาท ก็ดี แต่จำเลยที่ 2 ไม่นำพยานหลักฐานมาสืบสนับสนุนให้ฟังได้ว่าราคาซื้อที่ดินแปลงใกล้เคียงกับที่ดินพิพาทมีราคาซื้อขายกันตามที่จำเลยที่ 2 อ้าง อันจะทำให้เห็นว่านางทองชุมกับจำเลยที่ 1 สมคบกันซื้อขายที่ดินแปลงพิพาทในราคาที่ต่ำกว่าความเป็นจริงโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด ทั้งจำเลยที่ 2 ก็เบิกความยอมรับว่า นางทองชุมเคยซื้อที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกไปจากจำเลยที่ 1 จำนวน 2 แปลง ด้วย แต่ไม่ปรากฎว่าจำเลยที่ 2 ได้ฟ้องขอเพิกถอนแต่อย่างใด พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาจึงมีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานจำเลยที่ 2 ข้อเท็จจริงจึงฟังว่าการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างนางทองชุมกับจำเลยที่ 1 เป็นการซื้อขายโดยสุจริตเช่นเดียวกับที่นางทองชุมเคยซื้อที่ดินมรดกแปลงอื่นจากจำเลยที่ 1 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า การทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแปลงพิพาทระหว่างนางทองชุมกับจำเลยที่ 1 กระทำโดยสุจริตและมีการชำระราคาครบถ้วนแล้ว และในวันที่ไปยื่นคำขอจดทะเบียนซื้อขายที่สำนักงานที่ดินจังหวัดนครศรีธรรมราช โจทก์มีนางจงดีเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับคำขอจดทะเบียนเบิกความตอบทนายจำเลยที่ 2 ถามค้านยืนยันว่า ในวันยื่นคำขอจดทะเบียนมีจำเลยที่ 1 มากับนางทองชุมและพยานได้ทำการสอบสวนเบื้องต้นจำเลยที่ 1 ผู้ขายแล้ว จำเลยที่ 1 อ้างว่าเพื่อนำเงินที่ขายไปชำระหนี้กองมรดกของนางเข็ม ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้ไปยื่นคำขอจดทะเบียนด้วยตนเอง แต่มอบอำนาจให้นางทองชุมเป็นผู้ยื่นและข้ออ้างว่าเพื่อนำเงินไปชำระหนี้มรดกเป็นข้ออ้างลอยๆ จึงเป็นเพียงความเห็นของจำเลยที่ 2 เองไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง ดังนั้นเมื่อได้ยื่นคำขอจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินแล้ว แม้นางทองชุมจะยังไม่ได้ครอบครองที่ดินพิพาทนางทองชุมก็เป็นบุคคลที่อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของนางเข็มตามคำสั่งศาล ซึ่งนางศศิธรพยานจำเลยที่ 2 ก็เบิกความยอมรับว่า ที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของนางเข็มพยานและจำเลยที่ 2 ทราบและได้ให้ความยินยอม จึงต้องฟังว่าจำเลยที่ 2 รู้เห็นและยินยอมให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของนางเข็ม ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนางเข็มทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแปลงพิพาทให้นางทองชุมโดยอ้างว่าเพื่อนำเงินที่ขายได้ไปชำระหนี้กองมรดกของนางเข็ม ซึ่งได้ระบุไว้ชัดแจ้งในคำขอจดทะเบียนสิทธิเอกสารหมาย จ.7 ซึ่งเป็นอำนาจของผู้จัดการมรดกที่กระทำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1724 ทายาททุกคนของนางเข็มรวมทั้งจำเลยที่ 2 จึงต้องผูกพันต่อนางทองชุมในการที่จำเลยที่ 1 กระทำไปดังกล่าวการที่จำเลยที่ 1 กลับไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความโอนที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยไม่มีค่าตอบแทนและรู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนางเข็มได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแปลงพิพาทให้งานทองชุมไปก่อนแล้ว และได้รับชำระราคาครบถ้วนแล้วทั้งยังได้ไปดำเนินการยื่นคำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทให้แก่นางทองชุมและอยู่ในระหว่างการดำเนินการของเจ้าพนักงานที่ดินเช่นนี้ นางทองชุมจึงอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 หาใช่จำเลยที่ 2 ไม่ การที่จำเลยที่ 2 อาศัยสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำกับจำเลยที่ 1 ไปดำเนินการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 จึงเป็นทางเสียเปรียบแก่นางทองชุมผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนของตนได้อยู่ก่อนโจทก์ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของนางทองชุมจึงมีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสอง ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินแปลงพิพาทได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 ประกอบ มาตรา 1599 และมาตรา 1600 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย”

 พิพากษายืน ให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าทนายความชั้นฎีกาแทนโจทก์ 1,500 บาท




คดีมรดก ร้องศาลตั้งผู้จัดการมรดก

บุตรนอกกฎหมายซึ่งผู้ตายรับรองแล้วเป็นผู้สืบสันดาน
มารดาขายที่ดินซึ่งผู้เยาว์มีส่วนแบ่งไม่ต้องขอศาล
นายอำเภอคือผู้มีอำนาจจัดทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
ความรับผิดของผู้จัดการมดกภายหลังการเสียชีวิต
ผู้จัดการมรดกร่วมนำทรัพย์มรดกหาประโยชน์แก่ตน
ผู้จัดการมรดกปฏิบัติผิดหน้าที่-ทายาทผู้มีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกได้
ผู้สืบสันดาน คือใคร? ต่างกับทายาท อย่างไร?
คู่สมรสและการแบ่งมรดกของคู่สมรส | การสมรสเป็นโมฆะ
อายุความคดีมรดก และอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก
เหตุอันจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก
การปันมรดกเสร็จสิ้นลงแล้วการถอนผู้จัดการมรดกย่อมพ้นกำหนดเวลา
สามีมิได้จดทะเบียนสมรสไม่ถือเป็นทายาทของภริยาผู้ตาย
อำนาจหน้าที่จัดการศพพระภิกษุผู้มรณภาพไม่มีทรัพย์สิน
สามีไม่จดทะเบียนสมรสขอถอนผู้จัดการมรดก มีกรรมสิทธิ์รวม
ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะทำหน้าที่ผู้จัดการมรดก
อำนาจฟ้องขอแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตาย
ทายาททุกคนมอบหมายให้ครอบครองที่ดินแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วม
ทายาทโดยธรรมย่อมมีสิทธิเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์มรดกตามส่วนที่จะพึงได้
ทายาทสละมรดกโดยที่รู้อยู่ว่าการสละมรดกทำให้เจ้าหนี้ของตนเสียประโยชน์
สิทธิรับมรดกที่ยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาห้ามยกเป็นข้อต่อสู้ผู้รับโอนโดยสุจริต
ตามกฎหมายลักษณะผัวเมียมิได้บัญญัติให้ใช้บังคับเฉพาะแก่บุคคลผู้มีสัญชาติไทย
ผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก
ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์มรดกเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความแล้ว
ผู้คัดค้านไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการขอจัดการมรดก
ทายาทฟ้องทายาทให้แบ่งทรัพย์มรดก
ทายาทมีส่วนเท่ากันออกค่าใช้จ่ายจัดการทำศพ
ความเหมาะสมในการเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น
สิทธิของบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายในการรับมรดกของบุตรนอกกฎหมาย
หนังสือสัญญาแบ่งมรดกตกเป็นโมฆะหรือไม่?
อำนาจและหน้าที่ในการจัดการทำศพและลำดับก่อนหลัง
พินัยกรรมมีเงื่อนไขบังคับก่อน
ผู้จัดการมรดกฟ้องแทนทายาทโดยธรรมอื่น
คู่สมรสที่จดทะเบียนหย่าแล้วเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่
การสละมรดกมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายจึงขาดความเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
แม้กองมรดกมีผู้จัดการมรดกแล้วทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้อง
พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองไม่ได้ทำต่อหน้าพยานตกเป็นโมฆะ
บุตรนอกสมรสและบิดานอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดกต่อกันอย่างไร
ผู้จัดการมรดก | ทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดกเรียกให้เจ้าของรวมส่งมอบโฉนดที่ดิน
การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลงอายุความ 5 ปียังไม่เริ่มนับ
สิทธิรับมรดกก่อนหลัง
คำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ
อายุความฟ้องคดีแพ่งอันเนื่องจากคดียักยอกทรัพย์มรดก
เมื่อแบ่งมรดกเสร็จแล้วความเป็นทายาทสิ้นสุดลง-อายุความมรดก
การแบ่งมรดกที่ดินมือเปล่าไม่มีเอกสารสิทธิ
คดีมรดกต้องเป็นคดีที่ทายาทด้วยกันพิพาทกันเรื่องสิทธิในส่วนแบ่งมรดก
ขอให้ศาลสั่งถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ความรับผิดของผู้ตาย
แสดงบัญชีเครือญาติเป็นเท็จปิดบังจำนวนทายาท
อายุความคดีมรดกสะดุดหยุดลง การแบ่งทรัพย์มรดกไม่ชอบ
ไม่มีกฎหมายบังคับให้ฟ้องเอาทรัพย์มรดกจากทายาทอื่นที่ครอบครองแทนใน 1 ปี
สัญญาว่าจ้างติดตามทรัพย์กองมรดกเรียกส่วนแบ่งเป็นโมฆะ
คดีฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมปลอมและถูกกำจัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่เพียงทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป
โจทก์ฟ้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปี
ผู้จัดการมรดกแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันฟังคำสั่งศาล
คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกอายุความ 5 ปี
การแจ้งการเกิดของเด็กในทะเบียนคนเกิดเองว่าเป็นบุตรของตน
ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
การที่จะเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนทายาทอื่น
พินัยกรรมเอกสารลับทำผิดแบบเป็นโมฆะ
การจัดการมรดกไม่ชอบไม่อาจถือว่าการจัดการมรดกสิ้นลงแล้ว
การจัดการทรัพย์มรดกในฐานะผู้จัดการมรดกตามหน้าที่ที่จำเป็น
คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกปิดบังทรัพย์มรดกมีผลอย่างไร
ทายาทมิได้ฟ้องเรียกร้องมรดกภายใน 1 ปี
ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ผู้มีส่วนได้เสีย
สามีไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้จัดการมรดกได้
ทรัพย์มรดกยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาททุกคน-การจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้น
บุคคลผู้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มีผลอย่างไร?
ฟ้องผู้จัดการมรดกนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงเกินห้าปีขาดอายุความ
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลถูกเพิกถอนได้
อายุความคดีมรดก เจ้าหนี้ฟ้องคดีมรดกเกินหนึ่งปี
คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก
บุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย