ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




อายุความคดีมรดก เจ้าหนี้ฟ้องคดีมรดกเกินหนึ่งปี

อายุความคดีมรดก เจ้าหนี้ฟ้องคดีมรดกเกินหนึ่งปี

เจ้าหนี้ฟ้องเรียกเอากับทรัพย์มรดกซึ่งรับจำนองไว้จากเจ้ามรดก แม้ว่าสิทธิเรียกร้องในหนี้ส่วนที่เป็นหนี้ประธานขาดอายุความแล้ว แต่เจ้ามรดกนำที่ดินมาจดทะเบียนจำนองไว้กับเจ้าหนี้ และเจ้าหนี้เรียกร้องเอากับทรัพย์มรดกอันเป็นทรัพย์ที่รับจำนองไว้ซึ่งเกิน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย ก็ไม่ต้องห้ามตามกฎหมายที่จะบังคับเอาได้เพราะถือว่าเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ

มาตรา 1754 ห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี ...มาตรา 193/27 ผู้รับจำนอง...ยังคงมีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนอง แม้ว่าสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นประธานจะขาดอายุความแล้วก็ตามแต่จะใช้สิทธินั้นบังคับให้ชำระดอกเบี้ยที่ค้างย้อนหลังเกินห้าปีขึ้นไปไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3481/2546  

แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม จะห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรรู้ถึงความตายของเจ้ามรดกแต่บทบัญญัติดังกล่าวก็บัญญัติยกเว้นไว้มิให้ใช้บังคับแก่กรณีสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ตามมาตรา 193/27 และมาตรา 745 ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะฟ้องบังคับชำระหนี้เกินกว่า1 ปี นับแต่ผู้ร้องรู้หรือควรได้รู้ถึงการตายของเจ้าของมรดก ผู้ร้องก็ยังคงมีสิทธิบังคับจำนองได้

คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมให้จำเลยทั้งสองชำระเงินจำนวน230,000 บาท แก่โจทก์ จำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 77 ตำบลวัดขนุนอำเภอสิงหนคร (อำเภอเมืองสงขลา)จังหวัดสงขลา พร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งจำเลยที่ 1 มีสิทธิครอบครองร่วมกับนางสาวแผ้ว รัชชโต และนางรัตติยา หนูสุคนธ์ โดยรับมรดกมาจากนายคล้อย รัชชโต เพื่อขายทอดตลาด

ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆและหากศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการยึดหรือโจทก์สละสิทธิในการบังคับคดีให้ผู้ร้องสวมสิทธิในการบังคับคดีต่อไป

โจทก์ยื่นคำคัดค้านว่า ผู้ร้องไม่ใช้สิทธิฟ้องคดีให้ทายาทของนายคล้อยชำระหนี้ภายในกำหนดอายุความนับแต่ทราบการตายของนายคล้อย คดีผู้ร้องจึงขาดอายุความขอให้ยกคำร้องขอ

จำเลยที่ 1 ยื่นคำคัดค้าน ขอให้ยกคำร้องขอ

   ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้รายอื่น หากโจทก์ถอนการยึดหรือสละสิทธิการยึดทรัพย์ ให้ผู้ร้องสวมสิทธิการบังคับคดีได้ตามกฎหมาย

   โจทก์อุทธรณ์

   ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายืน

   โจทก์ฎีกา       

  ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2532 นายคล้อยรัชชโต ได้กู้ยืมเงินผู้ร้องจำนวน 130,000 บาท และจดทะเบียนจำนองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 77 หมู่ที่ 3 ตำบลวัดขนุน อำเภอสิงหนคร(อำเภอเมืองสงขลา) จังหวัดสงขลา พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันการชำระหนี้ ต่อมานายคล้อยได้ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 นางสาวแผ้ว รัชชโต และนางรัตติยา หนูสุคนธ์ได้รับโอนสิทธิในที่ดินแปลงดังกล่าวในฐานะทายาทผู้ร้องทราบว่านายคล้อยถึงแก่ความตายตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2540 และยื่นคำร้องขอคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 15มีนาคม 2544 คดีมีปัญหาตามฎีกาของโจทก์ว่า สิทธิเรียกร้องของผู้ร้องขาดอายุความหรือไม่ เห็นว่า ปัญหาดังกล่าวศาลอุทธรณ์ภาค 9 ได้วินิจฉัยและแสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าแม้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 วรรคสาม จะห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรรู้ถึงความตายของเจ้ามรดกก็ตาม แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็บัญญัติยกเว้นไว้มิให้ใช้บังคับแก่กรณีสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ตามมาตรา 193/27 ซึ่งบัญญัติว่าผู้รับจำนอง ผู้รับจำนำ ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วง หรือผู้ทรงบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้อันตนได้ยึดถือไว้ ยังคงมีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนอง จำนำ หรือที่ได้ยึดถือไว้แม้ว่าสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นประธานจะขาดอายุความแล้วก็ตาม แต่จะใช้สิทธินั้นบังคับให้ชำระดอกเบี้ยที่ค้างย้อนหลังเกินห้าปีขึ้นไปไม่ได้ และตามมาตรา 745 ก็บัญญัติไว้ว่า ผู้รับจำนองจะบังคับจำนองแม้เมื่อหนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความแล้วก็ได้แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีไม่ได้ ดังนั้น แม้จะฟังว่า ผู้ร้องฟ้องบังคับชำระหนี้เกินกว่า 1 ปี นับแต่ผู้ร้องรู้หรือควรได้รู้ถึงการตายของเจ้ามรดกผู้ร้องก็ยังคงมีสิทธิบังคับจำนองได้ ฎีกาของโจทก์ไม่อาจหักล้างเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 9 ได้ และไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลฎีกาโดยความเห็นชอบของรองประธานศาลฎีกาซึ่งประธานศาลฎีกามอบหมาย เห็นว่า ฎีกาของโจทก์เป็นสาระแก่คดีไม่ควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยซ้ำอีก"

          พิพากษายกฎีกาของโจทก์ ให้คืนค่าขึ้นศาลทั้งหมดในชั้นฎีกาแก่โจทก์                    

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

 มาตรา 1754 ห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย หรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก

 คดีฟ้องเรียกตามข้อกำหนดพินัยกรรม มิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อผู้รับพินัยกรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงสิทธิซึ่งตนมีอยู่ตามพินัยกรรม

 ภายใต้บังคับแห่ง มาตรา 193/27 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าสิทธิเรียก ร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกมีกำหนดอายุความยาวกว่าหนึ่งปี มิให้เจ้าหนี้ นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก     

 ถึงอย่างไรก็ดี สิทธิเรียกร้องตามที่ว่ามาในวรรคก่อน ๆ นั้น มิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย

มาตรา 193/27 ผู้รับจำนองผู้รับจำนำ ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงหรือผู้ทรงบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้อันตนได้ยึดถือไว้ยังคงมีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนอง จำนำหรือที่ได้ยึดถือไว้ แม้ว่าสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นประธานจะขาดอายุความแล้วก็ตามแต่จะใช้สิทธินั้นบังคับให้ชำระดอกเบี้ยที่ค้างย้อนหลังเกินห้าปีขึ้นไปไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 778/2538

ตามฟ้องสภาพแห่งข้อหาของโจทก์คือ ที่ดินและบ้านพิพาทเป็นมรดกของท.โจทก์กับม.เป็นทายาทได้รับส่วนแบ่งคนละครึ่ง คำขอบังคับคือมรดกที่เรียกร้องคิดเป็นเงิน 800,000 บาท ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือม.ไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกที่ดินและบ้านทั้งหมดให้แก่จำเลยได้ที่โจทก์แก้ไขคำฟ้องโดยตัดข้อความที่ว่า "และครอบครองที่ดินแทนโจทก์ตลอดมา" ออกเป็นว่า "โจทก์และม.ได้ครอบครองและเก็บผลประโยชน์ในที่ดินพิพาทร่วมกันตลอดมาแต่ให้ม.ลงชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนโจทก์ โจทก์ได้ติดต่อทวงถาม" โดยคงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับตลอดจนข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาไว้ตามเดิมนั้นไม่ทำให้ประเด็นแห่งคดีเปลี่ยนไป ทั้งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมเช่นนี้โจทก์ย่อมแก้ไขได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179 วรรคท้าย ตั้งแต่ ท.จดทะเบียนรับโจทก์เป็นบุตรบุญธรรม โจทก์ได้ไปอยู่กับท.ในบ้านและที่ดินพิพาทตลอดมาโดยท.ประกอบอาชีพขายจาก และโจทก์ตัดจากในที่ดินพิพาทขายกับท.ด้วยเมื่อโจทก์เป็นบุตรบุญธรรมของท.บ้านและที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของท.เชื่อได้ว่าโจทก์ทำกินในที่ดินพิพาทร่วมกับท.และม.ด้วย นอกจากนั้นหลังจากท.ตามไป โจทก์ยังคงอยู่ในบ้านพิพาทและโจทก์เป็นผู้เก็บผลประโยชน์จากการตัดต้นสนในที่ดินพิพาทไปขายนำเงินไปมอบให้แก่ม.เพื่อช่วยเป็นค่าใช้จ่ายในการปลงศพท.การที่ท.ยังมิได้ยกบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หรือม.คนทั้งสองจึงอยู่อาศัยโดยทำกินในที่ดินพิพาทร่วมกันเท่านั้นเมื่อท.ตายไป บ้านและที่ดินพิพาทย่อมตกแก่โจทก์และ ม.การครอบครองอยู่อาศัยและทำกินต่อมาจึงเป็นการครอบครองแทนซึ่งกันและกัน แม้โจทก์จะมิได้คัดค้านการจดทะเบียนรับโอนมรดกของท.และมิได้ฟ้องคดีที่อายัดที่ดินพิพาท โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกท.ซึ่งตนเป็นเจ้าของร่วมได้ จะนำอายุความ1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754มาใช้บังคับไม่ได้ พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 24 บัญญัติบังคับว่าศาลอุทธรณ์ต้อง มีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคน จึงจะเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีได้ และแม้ในสำนวนจะไม่มีคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่เป็นต้นร่างก็ตามแต่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์โดยถ.ได้บันทึกรับรองว่าคดีนี้มีผู้พิพากษาสามคนได้ร่วมปรึกษาและมีความเห็นพ้องกันดังได้ลงลายมือชื่อไว้ในต้นร่างคำพิพากษาแล้วเมื่อจำเลยมิได้โต้เถียงว่าถ.มิใช่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ในขณะพิพากษา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ฉบับนี้จึงชอบด้วยกฎหมาย ส่วนที่โจทก์แก้ฎีกาให้เอาบ้านและที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งแก่ตนครึ่งหนึ่งนั้น เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในเรื่องนี้มาศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาตามที่โจทก์ขอมาในคำแก้ฎีกานั้นได้

โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องว่า นายเปลี่ยน นนทรักษ์ และนางเมี้ยน ศิริธรรมหรือนนทรักษ์ เป็นสามีภรรยากัน มีบุตรด้วยกัน7 คน นายสิงห์หรือเลี้ยง นนทรักษ์ เป็นบุตรคนที่ 1 นางสาวทองปลิว นนทรักษ์ เป็นบุตรคนที่ 2 จำเลยเป็นบุตรคนที่ 6 โจทก์เป็นบุตรของนายสิงห์หรือเลี้ยงกับนางเทียมจันทร์ นนทรักษ์ เมื่อประมาณ 20 ปีเศษ นายสิงห์และนางเทียมจันทร์ได้ยกโจทก์ให้เป็นบุตรบุญธรรมของนางสาวทองปลิว โจทก์ได้มาอาศัยอยู่กับนางสาวทองปลิวและนางเมี้ยน ณ บ้านเลขที่ 51 ซอยบางจะเกร็ง 3ตำบลแม่กรอง อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงครามจนกระทั่งนางสาวทองปลิวและนางเมี้ยน ถึงแก่ความตาย ก่อนตายนางสาวทองปลิวมีทรัพย์สิน คือที่ดินโฉนดเลขที่ 4636 ต่อมาได้แบ่งแยกเป็นโฉนดเลขที่ 18319 และ 18325 เนื้อที่ 7 ไร่ 1 งาน12 ตารางวา โดยนางสาวทองปลิวมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับคนอื่นรวม 5 คน ที่ดินเฉพาะส่วนของนางสาวทองปลิวมีเนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน61 ตารางวา และที่ดินโฉนดเลขที่ 5397 เนื้อที่ 6 ไร่ 1 งาน19 ตารางวา โดยนางสาวทองปลิวมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับบุคคลอื่นรวม 3 คน เฉพาะส่วนของนางสาวทองปลิว มีเนื้อที่ 2 ไร่71 ตารางวา รวมที่ดินที่เป็นส่วนของนางสาวทองปลิวมีเนื้อที่4 ไร่ 32 ตารางวา ซึ่งตกได้แก่โจทก์และนางเมี้ยน คนละ 2 ไร่16 ตารางวา คิดเป็นเงิน 700,000 บาท สำหรับบ้านเลขที่ 51ดังกล่าวราคา 200,000 บาท เป็นส่วนของนางสาวทองปลิวครึ่งหนึ่งเป็นเงิน 100,000 บาท เมื่อนางสาวทองปลิวถึงแก่ความตาย โจทก์และนางเมี้ยนได้ครอบครองเก็บผลประโยชน์ในที่ดินพิพาทร่วมกันตลอดมาแต่ให้นางเมี้ยนลงชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินแทน จนกระทั่งนางเมี้ยนถึงแก่ความตาย หลังจากนั้นโจทก์ทราบว่านางเมี้ยนและจำเลยได้สมคบกันให้นางเมี้ยนทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกของนางสาวทองปลิวส่วนที่ตกได้แก่โจทก์ให้จำเลยทั้งหมดทำให้โจทก์เสียหาย เพราะนางเมี้ยนไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินส่วนของนางสาวทองปลิวซึ่งตกได้แก่โจทก์ให้จำเลย โจทก์เคยทวงถามให้จำเลยโอนทรัพย์มรดกดังกล่าวคืนให้โจทก์ แต่จำเลยไม่ยอม ขอให้เพิกถอนหรือทำลายนิติกรรมการโอนมรดกที่ดินโฉนดเลขที่ 18319, 18325 และ 5397พร้อมบ้าน 1 หลัง เลขที่ 51 ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 18325จากชื่อนางเมี้ยน นนทรักษ์หรือศิริธรรม มาเป็นชื่อจำเลย ให้กลับคืนสู่สภาพเดิมภายใน 7 วัน นับแต่วันคดีถึงที่สุด ให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวรวมเนื้อที่ 2 ไร่ 16 ตารางวา พร้อมบ้านให้แก่โจทก์ ภายใน 7 วัน นับแต่วันคดีถึงที่สุดหากโอนไม่ได้ ให้จำเลยชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นเงิน 800,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ

จำเลยให้การว่า นางเมี้ยนมิได้ครอบครองทรัพย์มรดกพิพาทในคดีนี้ไว้แทนโจทก์ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2526 นางสาวทองปลิวได้ถึงแก่ความตายต่อมาวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2527 นางเมี้ยนซึ่งเป็นมรดกของนางสาวทองปลิวได้ไปขอรับมรดกของนางสาวทองปลิวซึ่งเป็นทรัพย์พิพาทในคดีนี้จากสำนักงานที่ดินมาเป็นกรรมสิทธิ์ของนางเมี้ยนแต่เพียงผู้เดียว ในการขอรับมรดกของนางเมี้ยนไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้าน นางเมี้ยนเป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทเพียงผู้เดียวและเป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่ในที่ดินพิพาทด้วยโจทก์ทราบว่านางเมี้ยนมิได้ครอบครองทรัพย์พิพาทไว้แทนโจทก์โจทก์จึงได้ขออายัดทรัพย์พิพาทเพื่อฟ้องนางเมี้ยนแต่ก็มิได้ฟ้องนางเมี้ยนทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองยกทรัพย์พิพาทให้แก่จำเลยนางเมี้ยนถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2532 ทรัพย์พิพาทจึงตกเป็นของจำเลยตามพินัยกรรม คดีโจทก์ขาดอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754, 1755 เพราะมิได้ฟ้องเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกพิพาทภายใน 1 ปี ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนแบ่งที่ดินโฉนดเลขที่ 1831918325 และโฉนดที่ดินเลขที่ 5397 เฉพาะส่วนอันเป็นมรดกของนางสาวทองปลิวให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง ให้จำเลยแบ่งบ้าน 1 หลัง เลขที่51 เป็นจำนวน 1 ใน 4 ส่วน ให้แก่โจทก์ ถ้าแบ่งไม่ได้ให้ขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่งให้แก่โจทก์ตามส่วนดังกล่าว

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์เห็นว่า ที่ดินบางแปลงนางสาวทองปลิวเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกับบุคคลภายนอกที่มิได้เป็นคู่ความ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ถ้าแบ่งไม่ได้ให้ขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่งให้โจทก์ตามส่วนนั้น ย่อมกระทบถึงสิทธิของบุคคลภายนอก ทั้งโจทก์ก็มิได้ขอมาในคำฟ้อง เป็นการพิพากษาเกินไปจากที่โจทก์ มาขอ จึงไม่ชอบพิพากษาแก้เป็นว่า ถ้าแบ่งไม่ได้ให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 800,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ นอกจากที่แก้คงเป็นไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่มิได้โต้เถียงกันในชั้นฎีกาฟังได้ว่านายเปลี่ยนกับนางเมี้ยนเป็นสามีภริยากัน มีบุตร 7 คนนายสิงห์หรือเลี้ยงเป็นบุตรคนที่ 1 นางสาวทองปลิว เป็นบุตรคนที่ 2 จำเลยเป็นบุตรคนที่ 6 ส่วนโจทก์เป็นบุตรนายสิงห์หรือเลี้ยงกับนางเทียมจันทร์ เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2510 นางสาวทองปลิวจดทะเบียนรับโจทก์เป็นบุตรบุญธรรม ต่อมาวันที่ 9พฤศจิกายน 2526 นางสาวทองปลิวถึงแก่ความตาย นางสาวทองปลิวมีมรดกคือ ที่ดินโฉนดเลขที่ 4636, 5397 โดยถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับบุคคลอื่น และเป็นเจ้าของบ้านเลขที่ 51 โดยถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับนางเมี้ยนคนละครึ่ง วันที่ 30 พฤษภาคม 2527 นางเมี้ยนจดทะเบียนรับโอนมรดกดังกล่าวเป็นของตนแต่ผู้เดียว ต่อมาวันที่ 2มิถุนายน 2529 ได้มีการแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 4636 เฉพาะส่วนที่นางเมี้ยนรับมรดกออกเป็นโฉนดเลขที่ 18319, 18325 โดยบ้านเลขที่51 ตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 18325 วันที่ 5 กันยายน 25321นางเมี้ยนถึงแก่ความตาย โดยก่อนตายนางเมี้ยนได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่จำเลย เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2533 จำเลยได้จดทะเบียนรับโอนมรดกดังกล่าวมาเป็นของตน

มีปัญหาต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยข้อแรกว่า ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องนั้นชอบหรือไม่ เห็นว่า ตามฟ้องสภาพแห่งข้อหาของโจทก์คือที่ดินและบ้านพิพาทเป็นมรดกของนางสาวทองปลิว โจทก์กับนางเมี้ยนเป็นทายาทได้รับส่วนแบ่งคนละครึ่ง คำขอบังคับคือ มรดกที่เรียกร้องคิดเป็นเงิน 800,000 บาท ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือ นางเมี้ยนไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกที่ดินและบ้านทั้งหมดให้แก่จำเลยได้ ที่โจทก์แก้ไขคำฟ้องโดยตัดข้อความในข้อ 6 บรรทัดที่ 2 ที่ว่า "และครอบครองที่ดินแทนโจทก์ตลอดมา" ออกเป็นว่า "โจทก์และนางเมี้ยนได้ครอบครองและเก็บผลประโยชน์ในที่ดินพิพาทร่วมกันตลอดมา แต่ให้นางเมี้ยนลงชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนโจทก์ โจทก์ได้ติดต่อทวงถาม" โดยสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ และคำขอบังคับตลอดจนข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา คงไว้ตามเดิมนั้นไม่ทำให้ประเด็นแห่งคดีเปลี่ยนไป ทั้งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมเช่นนี้โจทก์ย่อมแก้ไขได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 179 วรรคท้าย ศาลชั้นต้นสั่งชอบแล้ว

สำหรับปัญหาต้อง วินิจฉัยตามฎีกาจำเลยข้อต่อไปที่ว่า คดีโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 นั้นศาลฎีกาวินิจฉัยข้อเท็จจริงเชื่อได้ว่า โจทก์ทำกินในที่ดินพิพาทร่วมกับนางสาวทองปลิวและนางเมี้ยนด้วย นอกจากนี้ทางนำสืบของจำเลยที่ว่าในเดือนกุมภาพันธ์ 2527 ที่ นางเมี้ยนนำประกาศสำนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรสงคราม เรื่องนางเมี้ยขอจดทะเบียนรับมรดกของนางสาวทองปลิวไปปิดในที่ดินพิพาท โจทก์ยังไป ๆ มา ๆ ในที่ดินพิพาทและโจทก์ช่วยออกเงินค่าปลงศพนางสาวทองปลิวโดยโจทก์มอบเงินให้แก่นางเมี้ยน ก็เจือสมกับคำของพยานโจทก์ดังกล่าวอีกว่าหลังจากนางสาวทองปลิวตายไป โจทก์ยังคงอยู่ในบ้านพิพาท และโจทก์เป็นผู้เก็บผลประโยชน์จากการตัดต้นสนในที่ดินพิพาทไปขายนำเงินไปมอบให้แก่นางเมี้ยนเพื่อช่วยเป็นค่าใช้จ่ายในการปลงศพนางสาวทองปลิวจำนวน 10,000 บาท การที่ นางสาวทองปลิวยังมิได้ยกบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หรือนางเมี้ยน คนทั้งสองจึงอยู่อาศัยโดยทำกินในที่ดินพิพาทร่วมกันเท่านั้น เมื่อนางสาวทองปลิวตายไป บ้านและที่ดินพิพาทย่อมตกแก่โจทก์และนางเมี้ยน การครอบครองอยู่อาศัยและทำกินต่อมาจึงเป็นการครอบครองแทนซึ่งกันและกัน แม้โจทก์จะมิได้คัดค้านการจดทะเบียนรับโอนมรดกนางสาวทองปลิวของนางเมี้ยนและมิได้ฟ้องคดีที่อายัดที่ดินพิพาทโจทก์ก็ยังคงมีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกนางสาวทองปลิวซึ่งตนเป็นเจ้าของร่วมได้จะนำอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้ ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ

ส่วนปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาจำเลยข้อสุดท้ายที่ว่าศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีขัดต่อพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 24 นั้น เห็นว่า แม้บทบัญญัติดังกล่าวจะบังคับว่าศาลอุทธรณ์ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคน จึงจะเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีได้ และในสำนวนไม่มีคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่เป็นต้นร่างแต่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์โดยนายถาวร ตันตราภรณ์ ได้บันทึกรับรองว่าคดีนี้มีผู้พิพากษาสามคนได้ร่วมปรึกษาและมีความเห็นพ้องกันดังได้ลงลายมือชื่อไว้ในต้นร่างคำพิพากษาแล้ว เมื่อจำเลยมิได้โต้เถียงว่านายถาวร ตันตราภรณ์มิใช่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ในขณะพิพากษา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ฉบับนี้จึงชอบด้วยกฎหมาย

ส่วนที่โจทก์แก้ฎีกาให้เอาบ้านและที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งแก่ตนครึ่งหนึ่งนั้น เห็นว่า โจทก์มิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในเรื่องนี้ ศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาตามที่โจทก์ขอมาในคำแก้ฎีกานั้นได้

พิพากษายืน




คดีมรดก ร้องศาลตั้งผู้จัดการมรดก

พินัยกรรมมีเงื่อนไขบังคับก่อน article
ผู้จัดการมรดกฟ้องแทนทายาทโดยธรรมอื่น article
คู่สมรสที่จดทะเบียนหย่าแล้วเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่
การสละมรดกมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายจึงขาดความเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
แม้กองมรดกมีผู้จัดการมรดกแล้วทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้อง
พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองไม่ได้ทำต่อหน้าพยานตกเป็นโมฆะ
บุตรนอกสมรสและบิดานอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดกต่อกันอย่างไร
ผู้จัดการมรดก | ทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดกเรียกให้เจ้าของรวมส่งมอบโฉนดที่ดิน
การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลงอายุความ 5 ปียังไม่เริ่มนับ
สิทธิรับมรดกก่อนหลัง
คำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ
อายุความฟ้องคดีแพ่งอันเนื่องจากคดียักยอกทรัพย์มรดก
เมื่อแบ่งมรดกเสร็จแล้วความเป็นทายาทสิ้นสุดลง-อายุความมรดก
การแบ่งมรดกที่ดินมือเปล่าไม่มีเอกสารสิทธิ
คดีมรดกต้องเป็นคดีที่ทายาทด้วยกันพิพาทกันเรื่องสิทธิในส่วนแบ่งมรดก
ขอให้ศาลสั่งถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ความรับผิดของผู้ตาย
แสดงบัญชีเครือญาติเป็นเท็จปิดบังจำนวนทายาท
อายุความคดีมรดกสะดุดหยุดลง การแบ่งทรัพย์มรดกไม่ชอบ
ไม่มีกฎหมายบังคับให้ฟ้องเอาทรัพย์มรดกจากทายาทอื่นที่ครอบครองแทนใน 1 ปี
สัญญาว่าจ้างติดตามทรัพย์กองมรดกเรียกส่วนแบ่งเป็นโมฆะ
คดีฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมปลอมและถูกกำจัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่เพียงทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป
โจทก์ฟ้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปี
ผู้จัดการมรดกแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันฟังคำสั่งศาล
คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกอายุความ 5 ปี
การแจ้งการเกิดของเด็กในทะเบียนคนเกิดเองว่าเป็นบุตรของตน
ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
การที่จะเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนทายาทอื่น
พินัยกรรมเอกสารลับทำผิดแบบเป็นโมฆะ
การจัดการมรดกไม่ชอบไม่อาจถือว่าการจัดการมรดกสิ้นลงแล้ว
การจัดการทรัพย์มรดกในฐานะผู้จัดการมรดกตามหน้าที่ที่จำเป็น
คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกปิดบังทรัพย์มรดกมีผลอย่างไร
ทายาทมิได้ฟ้องเรียกร้องมรดกภายใน 1 ปี
ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ผู้มีส่วนได้เสีย
สามีไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้จัดการมรดกได้
ทรัพย์มรดกยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาททุกคน-การจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้น
บุคคลผู้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มีผลอย่างไร?
ฟ้องผู้จัดการมรดกนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงเกินห้าปีขาดอายุความ
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลถูกเพิกถอนได้
คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก
บุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย
บุตรนอกกฎหมายซึ่งผู้ตายรับรองแล้วเป็นผู้สืบสันดาน
มารดาขายที่ดินซึ่งผู้เยาว์มีส่วนแบ่งไม่ต้องขอศาล
นายอำเภอคือผู้มีอำนาจจัดทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
ความรับผิดของผู้จัดการมดกภายหลังการเสียชีวิต
ผู้จัดการมรดกร่วมนำทรัพย์มรดกหาประโยชน์แก่ตน
ผู้จัดการมรดกปฏิบัติผิดหน้าที่-ทายาทผู้มีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกได้
ผู้สืบสันดาน คือใคร? ต่างกับทายาท อย่างไร?
คู่สมรสและการแบ่งมรดกของคู่สมรส | การสมรสเป็นโมฆะ
อายุความคดีมรดก และอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก
เหตุอันจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก
การปันมรดกเสร็จสิ้นลงแล้วการถอนผู้จัดการมรดกย่อมพ้นกำหนดเวลา
สามีมิได้จดทะเบียนสมรสไม่ถือเป็นทายาทของภริยาผู้ตาย
อำนาจหน้าที่จัดการศพพระภิกษุผู้มรณภาพไม่มีทรัพย์สิน
สามีไม่จดทะเบียนสมรสขอถอนผู้จัดการมรดก มีกรรมสิทธิ์รวม
ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะทำหน้าที่ผู้จัดการมรดก
อำนาจฟ้องขอแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตาย
ทายาททุกคนมอบหมายให้ครอบครองที่ดินแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วม
ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามมาตรา 1300
ผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก
ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์มรดกเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความแล้ว
ทายาทมีส่วนเท่ากันออกค่าใช้จ่ายจัดการทำศพ
ความเหมาะสมในการเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น
สิทธิของบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายในการรับมรดกของบุตรนอกกฎหมาย
หนังสือสัญญาแบ่งมรดกตกเป็นโมฆะหรือไม่?
อำนาจและหน้าที่ในการจัดการทำศพและลำดับก่อนหลัง