

อำนาจหน้าที่จัดการศพพระภิกษุผู้มรณภาพไม่มีทรัพย์สิน อำนาจหน้าที่จัดการศพพระภิกษุผู้มรณภาพไม่มีทรัพย์สิน พระภิกษุผู้มรณภาพไม่มีทรัพย์สินอันเป็นมรดกให้แก่วัด ๆ จึงไม่เป็นผู้มีอำนาจหน้าที่จัดการศพ น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับพระภิกษุจึงเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่จัดการศพ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 348/2527 แม้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นวัดมีสิทธิได้รับทรัพย์สินของพระภิกษุมั่นผู้มรณภาพซึ่งได้มาระหว่างสมณเพศตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1623 แต่พระภิกษุมั่นไม่มีทรัพย์สินอันเป็นมรดก ทั้งพระภิกษุมั่นไม่ได้ตั้งบุคคลใด ไว้ให้เป็นผู้จัดการทำศพ. ฉะนั้นโจทก์ซึ่งเป็นทายาทพระภิกษุมั่นโดยเป็นน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับพระภิกษุมั่นจึงเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่จัดการศพ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับพระภิกษุมั่น ทัตโตซึ่งอุปสมบทเป็นพระภิกษุมา 70 ปีแล้ว เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2524 พระภิกษุมั่นได้มรณะภาพขณะที่พำนักอยู่ที่วัดจำเลยที่ 1 โดยมิได้ทำพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินและผู้ที่จะจัดการทำศพไว้ โจทก์ในฐานะทายาทได้ไปขอรับศพพระภิกษุมั่นจากจำเลยทั้ง 4 แต่ฝ่ายจำเลยไม่ยอมมอบศพพระภิกษุมั่นให้โจทก์ ขอให้ศาลพิพากษาบังคับ จำเลยทั้งสี่ให้การว่า โจทก์ไม่ใช่ทายาทของพระภิกษุมั่น พระภิกษุมั่นไม่เคยตั้งให้โจทก์เป็นผู้จัดการศพของตน พระภิกษุมั่นเป็นผู้ก่อตั้งวัดจำเลยที่ 1และจำพรรษาอยู่ที่วัดจำเลยที่ 1 เป็นเวลาหลายสิบปีจนกระทั่งมรณภาพ โดยถือเอาวัดจำเลยที่ 1 เป็นภูมิลำเนาของตน เมื่อพระภิกษุมั่นมรณภาพทรัพย์สินต่าง ๆของพระภิกษุมั่นที่ได้มาระหว่างสมณเพศจึงตกเป็นสมบัติของวัดจำเลยที่ 1 ทั้งสิ้นวัดจำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจหน้าที่โดยธรรมและชอบด้วยกฎหมายในอันที่จะจัดการศพของพระภิกษุมั่น ขอให้ยกฟ้อง โจทก์จำเลยแถลงรับข้อเท็จจริงกันว่า โจทก์เป็นน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับพระภิกษุมั่น ขณะมรณภาพพระภิกษุมั่นไม่มีทรัพย์สินอันเป็นมรดก ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์แล้วพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันส่งมอบศพพระภิกษุมั่นให้แก่โจทก์ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้อง โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงตามที่คู่ความแถลงรับกันฟังได้ว่า โจทก์เป็นน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับพระภิกษุมั่นผู้มรณภาพ โจทก์จึงเป็นทายาทของพระภิกษุมั่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 ส่วนจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นวัดแม้จะมีสิทธิได้รับทรัพย์สินของพระภิกษุมั่นซึ่งได้มาระหว่างสมณเพศตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1623 แต่พระภิกษุมั่นก็ไม่มีทรัพย์สินอันเป็นมรดกให้แก่จำเลยที่ 1 ทั้งพระภิกษุมั่นมิได้ตั้งบุคคลใดไว้ให้เป็นผู้จัดการทำศพ ฉะนั้น โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของพระภิกษุมั่นจึงเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่จัดการทำศพ ส่วนจำเลยที่ 1 มิได้เป็นทายาทและมิได้รับทรัพย์มรดกของผู้ตายไม่มีสิทธิใด ๆ เกี่ยวกับการทำศพรายนี้ พิพากษากลับ ให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1623 ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มา ในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศนั้น เมื่อพระภิกษุนั้น ถึงแก่มรณภาพ ให้ตกเป็นสมบัติของวัด ที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้น เว้นไว้แต่ พระภิกษุนั้นจะได้จำหน่ายไป ในระหว่างชีวิตหรือโดยพินัยกรรม มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับ เท่านั้น และ ภายใต้บังคับ แห่ง มาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลำดับ มีสิทธิได้รับมรดก ก่อนหลัง ดั่งต่อไปนี้ คือ |