ReadyPlanet.com
dot
สำนักงานทนายความ
dot
bulletทนายความฟ้องหย่า
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
dot
พระราชบัญญัติ
dot
bulletพระราชบัญญัติ
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
dot
บทความเฉพาะเรื่อง
dot
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletสัญญายอมความ
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
dot
ลิงค์ต่าง ๆ
dot
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletคำพิพากษาศาลฎีกา
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletอำนาจปกครองบุตร




แม้กองมรดกมีผู้จัดการมรดกแล้วทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้อง

ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  

         (1) @leenont หรือ (2) @peesirilaw  

-Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย  QR CODE

  

แม้กองมรดกมีผู้จัดการมรดกแล้วทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้อง

การแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทที่ผู้จัดการมรดกจะต้องจัดการร่วมกัน เมื่อมีทายาทหลายคนทายาทแต่ละคนก็ย่อมมีสิทธิเป็นเจ้าของตามส่วนที่ตนจะพึงได้ เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ อาจใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอก

ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ศาลแพ่งธนบุรีมีคำสั่งตั้งโจทก์และนางจู เป็นผู้จัดการมรดกของนายทวีศักดิ์ ผู้ทรงเช็คพิพาทก่อนที่โจทก์จะฟ้องคดีนี้ เมื่อผู้จัดการมรดกอีกคนหนึ่งไม่ได้ร่วมเป็นโจทก์ฟ้องคดีนี้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องและโจทก์จะฟ้องคดีในฐานะทายาทไม่ได้ด้วย เพราะมีผู้จัดการมรดกแล้ว ทายาทย่อมไม่มีสิทธิเข้าจัดการมรดก พิพากษายกฟ้อง

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ไม่มีเหตุผลใดที่จะห้ามมิให้ทายาทฟ้องร้องดังเช่นคดีนี้ โจทก์ในฐานะทายาทจึงมีอำนาจฟ้องที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมานั้นศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย พิพากษากลับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1824/2543 

แม้มรดกจะมีผู้จัดการมรดกแล้ว ทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้องให้บุคคลภายนอกชำระหนี้สินของกองมรดกได้

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยออกเช็คลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2540จำนวนเงิน 250,000 บาท แล้วนำมาขายลดให้นายทวีศักดิ์ ต่อมานายทวีศักดิ์นำเช็คไปเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงิน ปรากฏว่านายทวีศักดิ์ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2540 ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2540ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินโจทก์เป็นภริยาโดยชอบกฎหมายและเป็นผู้จัดการมรดกของนายทวีศักดิ์ โจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้แล้วแต่จำเลยเพิกเฉย โจทก์จึงมาฟ้องคดีนี้ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของนายทวีศักดิ์ ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวน 250,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2540จนกว่าจะชำระเสร็จ

จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา

ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ศาลแพ่งธนบุรีมีคำสั่งตั้งโจทก์และนางจูจารุ เป็นผู้จัดการมรดกของนายทวีศักดิ์ ผู้ทรงเช็คพิพาทก่อนที่โจทก์จะฟ้องคดีนี้ เมื่อผู้จัดการมรดกอีกคนหนึ่งไม่ได้ร่วมเป็นโจทก์ฟ้องคดีนี้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องและโจทก์จะฟ้องคดีในฐานะทายาทไม่ได้ด้วย เพราะมีผู้จัดการมรดกแล้ว ทายาทย่อมไม่มีสิทธิเข้าจัดการมรดก พิพากษายกฟ้อง

        โจทก์อุทธรณ์
        ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
        โจทก์ฎีกา
         ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์พยานหลักฐานของโจทก์แล้วข้อเท็จจริงฟังได้ยุติว่า โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายทวีศักดิ์  เจ้ามรดกซึ่งถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 19พฤษภาคม 2540 ก่อนถึงแก่ความตายนายทวีศักดิ์ได้นำเช็คเอกสารหมาย จ.1 ไปให้ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาบางกอกน้อยที่นายทวีศักดิ์เปิดบัญชีไว้เพื่อเรียกเก็บเงิน ต่อมาวันที่ 20 พฤษภาคม2540 ธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามใบคืนเช็คเอกสารหมาย จ.2 ก่อนฟ้องคดีนี้ศาลแพ่งธนบุรีมีคำสั่งให้โจทก์กับนางจูร่วมกันเป็นผู้จัดการมรดกของนายทวีศักดิ์ ผู้ตายโดยคำสั่งมิได้กำหนดสิทธิและหน้าที่ของผู้จัดการมรดกไว้โดยเฉพาะโจทก์เพียงผู้เดียวฟ้องคดีนี้ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของผู้ตาย โดยนางจูผู้จัดการมรดกอีกคนหนึ่งไม่ได้ร่วมเป็นโจทก์ฟ้องด้วยปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์มีว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ โจทก์ฎีกาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องเนื่องจากโจทก์เป็นทายาทโดยชอบธรรมและผู้จัดการมรดก การฟ้องคดีติดตามหนี้สินเป็นการรวบรวมทรัพย์สินเข้าสู่กองมรดกเป็นการรักษาผลประโยชน์ของทายาท มิใช่เป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทที่ผู้จัดการมรดกจะต้องจัดการร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1726 เห็นว่า แม้มรดกนั้นจะมีผู้จัดการมรดกอยู่แล้ว ทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้องร้องให้บุคคลภายนอกชำระหนี้สินของกองมรดกอันเป็นการรักษาสิทธิอันจะพึงตกแก่กองมรดกได้ เพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 เมื่อเจ้ามรดกตายทรัพย์มรดกนั้นก็จะตกยังทายาท เมื่อมีทายาทหลายคนทายาทแต่ละคนก็ย่อมมีสิทธิเป็นเจ้าของตามส่วนที่ตนจะพึงได้ ซึ่งเจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆอาจใช้สิทธิอันเกิดแก่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอก รวมถึงการเรียกร้องเอาทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359 ซึ่งมาตรา 1745 ก็ให้นำมาใช้บังคับได้ทั้งบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 ลักษณะ 4 อันว่าด้วยวิธีจัดการและปันทรัพย์มรดกก็มิให้ทายาทฟ้องร้องในกรณีเช่นนี้ แต่จะเห็นได้ตามมาตรา 1737 ว่า แม้แต่เจ้าหนี้กองมรดกจะฟ้องร้องทายาทคนใดก็ได้ แต่ถ้ามีผู้จัดการมรดกให้เรียกผู้จัดการมรดกเข้ามาในคดีด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแม้มรดกมีผู้จัดการมรดกแล้วเจ้าหนี้ก็ยังฟ้องร้องทายาทได้ แต่เพื่อความสะดวกก็ให้เรียกผู้จัดการมรดกเข้ามาด้วย จึงไม่มีเหตุผลใดที่จะห้ามมิให้ทายาทฟ้องร้องดังเช่นคดีนี้ โจทก์ในฐานะทายาทจึงมีอำนาจฟ้องที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมานั้นศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น สำหรับปัญหาที่ว่าจำเลยจะต้องรับผิดตามฟ้องต่อโจทก์หรือไม่ ศาลล่างทั้งสองยังมิได้วินิจฉัย ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวน โจทก์มีตัวโจทก์มาเบิกความยืนยันว่า จำเลยออกเช็คลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2540 จำนวนเงิน 250,000 บาท ตามเอกสารหมาย จ.1 แล้วนำมาขายลดให้นายทวีศักดิ์ ต่อมานายทวีศักดิ์นำเช็คไปให้ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาบางกอกน้อย เรียกเก็บเงินเข้าบัญชีที่นายทวีศักดิ์ได้เปิดไว้เพื่อเรียกเก็บเงินแทน แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2540 ตามใบคืนเช็คเอกสารหมาย จ.2ทั้งยังมีการ์ดตัวอย่างลายมือชื่อจำเลยและบัญชีกระแสรายวันที่จำเลยเปิดไว้ตามเอกสารหมาย จ.4 และ จ.5 มาแสดง ซึ่งศาลตรวจดูลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเอกสารหมาย จ.1 เปรียบเทียบกับลายมือชื่อในการ์ดตัวอย่างลายมือชื่อจำเลยในเอกสารหมาย จ.4 และ จ.5 แล้วลักษณะลีลาและการเขียนเป็นอย่างเดียวกัน ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ตามพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบว่า จำเลยได้สั่งจ่ายเช็คแล้วธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจนกว่าจะชำระเสร็จเมื่อนายทวีศักดิ์ถึงแก่ความตายมรดกของนายทวีศักดิ์ซึ่งรวมทั้งสิทธิตามเช็คเอกสารหมาย จ.1 จึงตกได้แก่ทายาทซึ่งรวมทั้งโจทก์ที่เป็นทายาทคนหนึ่งด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1599 และ 1600"

พิพากษากลับเป็นว่า ให้จำเลยชำระเงินจำนวน 250,000 บาทพร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 20 พฤษภาคม2540 จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ แต่ดอกเบี้ยคำนวณถึงวันฟ้อง(วันที่ 2 กันยายน 2540) ไม่ให้เกิน 5,444 บาท
                    ( ผล อนุวัตรนิติการ - ระพินทร บรรจงศิลป - สมชาย จุลนิติ์ )
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
     มาตรา 1599 เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท
     ทายาทอาจเสียไปซึ่งสิทธิในมรดกได้แต่โดยบทบัญญัติแห่งประมวล กฎหมายนี้หรือกฎหมาย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
     มาตรา 55 เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้น เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของ บุคคลใดตามกฎหมายแพ่ง หรือบุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาล บุคคลนั้นชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลส่วนแพ่งที่มีเขตอำนาจได้ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายแพ่งและประมวลกฎหมายนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1824/2543  กองมรดกที่มีผู้จัดการมรดกร่วมกันนั้นผู้จัดการมรดกจะต้องจัดการมรดกร่วมกัน เมื่อทายาทมีสิทธิรับมรดกจึงเป็นเจ้าของรวม ย่อมสามารถใช้สิทธิเกี่ยวกับทรัพย์มรดกนั้นครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอกได้แม้กองมรดกจะมีทายาทแล้วก็ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้ทายาทฟ้องบุคคลภายนอกให้ชำระหนี้แก่กองมรดกได้

ปรึกษากฎหมาย  ปรึกษาทนายความ ลีนนท์  โทร 0859604258   สำนักงานพีศิริ ทนายความ




คดีมรดก ร้องศาลตั้งผู้จัดการมรดก

การแจ้งการเกิดของเด็กในทะเบียนคนเกิดเองว่าเป็นบุตรของตน
ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
การที่จะเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนทายาทอื่น
คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก
บุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย
บุตรนอกกฎหมายซึ่งผู้ตายรับรองแล้วเป็นผู้สืบสันดาน
มารดาขายที่ดินซึ่งผู้เยาว์มีส่วนแบ่งไม่ต้องขอศาล
การปันมรดกเสร็จสิ้นลงแล้วการถอนผู้จัดการมรดกย่อมพ้นกำหนดเวลา
สามีมิได้จดทะเบียนสมรสไม่ถือเป็นทายาทของภริยาผู้ตาย
อำนาจหน้าที่จัดการศพพระภิกษุผู้มรณภาพไม่มีทรัพย์สิน
สามีไม่จดทะเบียนสมรสขอถอนผู้จัดการมรดก มีกรรมสิทธิ์รวม
ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะทำหน้าที่ผู้จัดการมรดก
อำนาจฟ้องขอแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตาย
ทายาททุกคนมอบหมายให้ครอบครองที่ดินแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วม
ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามมาตรา 1300
ผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก
ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์มรดกเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความแล้ว
ทายาทมีส่วนเท่ากันออกค่าใช้จ่ายจัดการทำศพ
ความเหมาะสมในการเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น
สิทธิของบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายในการรับมรดกของบุตรนอกกฎหมาย
หนังสือสัญญาแบ่งมรดกตกเป็นโมฆะหรือไม่?
อำนาจและหน้าที่ในการจัดการทำศพและลำดับก่อนหลัง
พินัยกรรมมีเงื่อนไขบังคับก่อน
ผู้จัดการมรดก | ฟ้องแทนทายาทโดยธรรมอื่น
คู่สมรสที่จดทะเบียนหย่าแล้วเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่
การสละมรดกมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายจึงขาดความเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองไม่ได้ทำต่อหน้าพยานตกเป็นโมฆะ
บุตรนอกสมรสและบิดานอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดกต่อกันอย่างไร
ผู้จัดการมรดก | ทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดกเรียกให้เจ้าของรวมส่งมอบโฉนดที่ดิน
การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลงอายุความ 5 ปียังไม่เริ่มนับ
สิทธิรับมรดกก่อนหลัง
คำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ
อายุความฟ้องคดีแพ่งอันเนื่องจากคดียักยอกทรัพย์มรดก
เมื่อแบ่งมรดกเสร็จแล้วความเป็นทายาทสิ้นสุดลง-อายุความมรดก
การแบ่งมรดกที่ดินมือเปล่าไม่มีเอกสารสิทธิ
คดีมรดกต้องเป็นคดีที่ทายาทด้วยกันพิพาทกันเรื่องสิทธิในส่วนแบ่งมรดก
ขอให้ศาลสั่งถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ความรับผิดของผู้ตาย
แสดงบัญชีเครือญาติเป็นเท็จปิดบังจำนวนทายาท
อายุความคดีมรดกสะดุดหยุดลง การแบ่งทรัพย์มรดกไม่ชอบ
ไม่มีกฎหมายบังคับให้ฟ้องเอาทรัพย์มรดกจากทายาทอื่นที่ครอบครองแทนใน 1 ปี
คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกอายุความ 5 ปี
พินัยกรรมเอกสารลับทำผิดแบบเป็นโมฆะ
ทายาทมิได้ฟ้องเรียกร้องมรดกภายใน 1 ปี
ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ผู้มีส่วนได้เสีย
สามีไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้จัดการมรดกได้
ทรัพย์มรดกยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาททุกคน-การจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้น
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มีผลอย่างไร?
ฟ้องผู้จัดการมรดกนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงเกินห้าปีขาดอายุความ
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลถูกเพิกถอนได้
อายุความคดีมรดก เจ้าหนี้ฟ้องคดีมรดกเกินหนึ่งปี
นายอำเภอคือผู้มีอำนาจจัดทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
เหตุอันจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก
อายุความคดีมรดก และอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก
คู่สมรสและการแบ่งมรดกของคู่สมรส | การสมรสเป็นโมฆะ
ผู้จัดการมรดกปฏิบัติผิดหน้าที่-ทายาทผู้มีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกได้
ผู้สืบสันดาน คือใคร? ต่างกับทายาท อย่างไร?