ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ฟ้องผู้จัดการมรดกนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงเกินห้าปีขาดอายุความ

บิดา มารดา และบุตร ทนาย อาสา ปรึกษา เรื่อง อำนาจปกครองบุตร ฟรี

 

 

เพิ่มเพื่อนไลน์แชทกับทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

ฟ้องผู้จัดการมรดกนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงเกินห้าปีขาดอายุความ

การจัดการมรดกจะถือว่าสิ้นสุดลงเมื่อใดนั้น ต้องพิจารณาว่า ผู้จัดการมรดกได้โอนมรดกทั้งหมดของเจ้ามรดกให้แก่ทายาทไปเมื่อใด และกฎหมายกำหนดว่า "คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกนั้น มิให้ทายาทฟ้องเกินกว่าห้าปี นับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง"  ในคดีนี้เจ้ามรดกมีที่ดิน 1 แปลงและเงินฝากในธนาคารจำนวนหนึ่งซึ่งผู้จัดการมรดกในได้โอนที่ดินให้ตนเองในฐานะทายาทโดยธรรมและเบิกถอนเงินที่อยู่ในบัญชีของเจ้ามรดกทั้งหมดในปี 2528 โจทก์มาฟ้องผู้จัดการมรดกเกินกว่า 5 ปี นับแต่การจัดการมรดกเสร็จคดีจึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  5628/2538 

    แม้การกระทำของจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกจะเป็นกรณีที่ศาลอาจถอดถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้ก็ตาม แต่ตราบใดที่ยังมิได้มีคำสั่งถอดถอน จำเลยที่ 1 ก็ยังคงมีอำนาจในการจัดการมรดกได้ เมื่อทรัพย์มรดกมีเพียงที่ดินกับเงินฝากธนาคารและจำเลยที่ 1ได้โอนที่ดินดังกล่าวและถอนเงินออกมาทั้งหมดแล้วตั้งแต่ปี 2528จึงถือได้ว่าการจัดการมรดกได้สิ้นสุดแล้วตั้งแต่ปี 2528 โจทก์ฟ้องคดีนี้ในปี 2535 เกินกว่า 5 ปี นับแต่การจัดการมรดกเสร็จคดีจึงขาดอายุความ

 

 

ผู้จัดการมรดก  การจัดการมรดก อายุความ ถอนผู้จัดการมรดก

   โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของนางสาวมณี นอนโพธิ์ ตามคำสั่งศาลชั้นต้นคดีหมายเลขแดงที่ 100/2528มีหน้าที่แบ่งปันทรัพย์มรดกของนางสาวมณีให้แก่โจทก์และทายาทอื่น ๆแต่ไม่ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้จัดการมรดกโดยจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินมรดกโฉนดเลขที่ 33083 เป็นของตนเองแต่เพียงผู้เดียวและยักยอกเอาเงินของนางสาวมณีจำนวน 70,000 บาท ซึ่งฝากไว้ที่ธนาคารไป ต่อมาจำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมยกที่ดินมรดกดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 โดยทุจริตเป็นการยักยอกและเบียดบังทรัพย์มรดกเอาเป็นของตนเองมากกว่าส่วนที่ตนจะได้รับโดยฉ้อฉลต้องถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดก และการที่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่สมควรในการเป็นผู้จัดการมรดก ขอให้ศาลมีคำสั่งกำจัดจำเลยที่ 1 และที่ 2ไม่ให้ได้รับมรดกของนางสาวมณีและเพิกถอนจำเลยที่ 1 จากการเป็นผู้จัดการมรดกของนางสาวมณี โดยตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกแทนและยกเลิกการจดทะเบียนโอนรับมรดกที่ดินโฉนดเลขที่ 33083 ตามคำขอของจำเลยที่ 1 ลงวันที่ 11 มีนาคม 2528 และเพิกถอนการทำนิติกรรมยกให้ที่ดินดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ลงวันที่ 99 มีนาคม 2533 ให้จำเลยที่ 1 คืนเงินจำนวน 106,836.30 บาทแก่กองมรดกของนางสาวมณี พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของต้นเงินจำนวน 70,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระคืนเสร็จสิ้น

 จำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยที่ 1 ได้แบ่งทรัพย์มรดกอย่างถูกต้องตามหน้าที่ด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรมแล้ว และคดีของโจทก์ขาดอายุความ เพราะโจทก์ไม่ฟ้องร้องภายในกำหนด 5 ปี นับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง ขอให้ยกฟ้อง

 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนนางสาวเปรี่ยม นอนโพธิ์จำเลยที่ 1 จากการเป็นผู้จัดการมรดกของนางสาวมณี นอนโพธิ์และกำจัดมิให้เป็นผู้รับมรดกของนางสาวมณีกับให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 33083 ตำบลบ้านโพธิ์อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 11 มีนาคม2528 และวันที่ 9 มีนาคม 2533 โดยให้ที่ดินกลับคืนสู่กองมรดกของนางสาวมณี

          โจทก์และจำเลยทั้งสองอุทธรณ์

  ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกคำขอที่ให้เพิกถอนจำเลยที่ 1 จากการเป็นผู้จัดการมรดกของนางสาวมณี นอนโพธิ์และกำจัดมิให้เป็นผู้รับมรดกของนางสาวมณี กับให้ยกคำขอที่ให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2528และวันที่ 9 มีนาคม 2533 เสีย นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
          โจทก์ฎีกา

   ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า โจทก์ จำเลยที่ 1 นางฉ่ำ พงษ์นาคินทร์นายดัด นอนโพธิ์ และนางสาวมณี นอนโพธิ์พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน โดยเป็นบุตรของนายแดง นางเอ้บ นอนโพธิ์ ส่วนจำเลยที่ 2เป็นบุตรคนโตของนางฉ่ำ เมื่อปี พ.ศ. 2528 นางสาวมณีถึงแก่ความตาย มีทรัพย์มรดกเป็นที่ดิน 1 แปลงคือที่พิพาท และเงินฝากในธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด สาขานครราชสีมา 70,000 บาท จำเลยยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกนางสาวมณี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของนางสาวมณีเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์2528 ตามคดีหมายเลขแดงที่ 100/2528 ของศาลชั้นต้น เมื่อวันที่11 มีนาคม 2528 จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนางสาวมณีได้จดทะเบียนโอนที่พิพาทให้จำเลยที่ 1 ถือกรรมสิทธิ์ในฐานะผู้จัดการมรดก และในวันเดียวกันจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกได้จดทะเบียนโอนที่พิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทโดยธรรมตามเอกสารหมาย จ.5 และ จ.6 และเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2533 จำเลยที่ 1ได้จดทะเบียนยกที่พิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทนเพราะจำเลยที่ 2 เป็นหลาน ตามเอกสารหมาย จ.7 ส่วนเงินฝากในธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด สาขานครราชสีมา จำเลยที่ 1 ได้ถอนออกมาทั้งหมดคดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ โดยโจทก์อ้างว่าการที่จะถือว่าการจัดการมรดกสิ้นสุดลงแล้วต้องปรากฏว่าผู้จัดการมรดกได้แบ่งปันมรดกให้แก่ทายาททุกคนแล้วแต่จำเลยที่ 1 ยังมิได้แบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ผู้ใดคงจดทะเบียนโอนที่ดินเป็นของตนแต่ผู้เดียว และจำเลยที่ 1 เพิ่งโอนที่ดินมรดกแก่จำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2533 จึงถือไม่ได้ว่าการจัดการมรดกสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2528 นั้น เห็นว่า ตามฟ้องของโจทก์มีทรัพย์มรดกของนางสาวมณีอยู่เพียงที่พิพาทและเงินฝากในธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด สาขานครราชสีมา 70,000 บาท สำหรับที่พิพาทปรากฏตามเอกสารหมาย จ.5 และ จ.6 ว่าจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนโอนที่พิพาทให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกเมื่อวันที่11 มีนาคม 2528 และในวันเดียวกันจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกได้จดทะเบียนโอนที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก แต่การโอนให้แก่จำเลยที่ 2 นั้นปรากฏว่าตามเอกสารหมาย จ.7 ว่า จำเลยที่ 1 โอนให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทนเพราะจำเลยที่ 2 เป็นหลาน ส่วนเงินฝากในธนาคารนั้นคู่ความนำสืบรับกันว่าภายหลังศาลชั้นต้นมีคำสั่งแต่งตั้งให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกแล้วจำเลยที่ 1 ได้ไปถอนเงินทั้งหมดจากธนาคาร แม้โจทก์และจำเลยทั้งสองจะไม่ส่งอ้างหลักฐานการเบิกเงินของจำเลยที่ 1 ก็พอคาดคะเนตามหลักเหตุผลได้ว่าการที่อ้างว่านำไปชำระค่ารักษาพยาบาลและค่าจัดงานศพของนางสาวมณีแสดงว่าจำเลยที่ 1ได้เบิกเงินจำนวนดังกล่าวในปี พ.ศ. 2528 อันเป็นปีที่นางสาวมณีรักษาตัวและถึงแก่ความตายแล้วจำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกนั่นเอง ดังนั้นเมื่อปรากฏว่านางสาวมณีมีทรัพย์มรดกอยู่เพียง 2 รายการ คือ ที่พิพาทและเงินฝาก 70,000 บาท ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้จัดการโอนที่พิพาทเป็นของตนและถอนเงินทั้งหมดออกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 แม้การกระทำดังกล่าวเป็นกรณีที่ศาลอาจถอดถอนจำเลยที่ 1 จากผู้จัดการมรดกเสียได้ ในเมื่อศาลยังมิได้ถอดถอนจำเลยที่ 1 ก็ยังคงมีอำนาจในการจัดการมรดก การที่จำเลยที่ 1ในฐานะผู้จัดการมรดกได้ทำการโอนที่ดินมรดกและถอนเงินออกมาทั้งหมดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 ก็ถือได้ว่าการจัดการมรดกได้สิ้นสุดลงเมื่อปีพ.ศ. 2528 โจทก์มาฟ้องในคดีนี้ในวันที่ 4 มีนาคม 2535 เกินกว่า5 ปี นับแต่การจัดการมรดกเสร็จ คดีโจทก์จึงขาดอายุความกรณีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ข้ออื่นต่อไป ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น"

          พิพากษายืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  5628/2538 คดีฟ้องผู้จัดการมรดกต้องฟ้องภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ผู้จัดการมรดกได้จัดการมรดกสิ้นสุดลง การจัดการมรดกจะถือว่าสิ้นสุดลงเมื่อใดนั้น ต้องพิจารณาว่า ผู้จัดการมรดกได้โอนมรดกทั้งหมดของเจ้ามรดกให้แก่ทายาทไปเมื่อใด




คดีมรดก ร้องศาลตั้งผู้จัดการมรดก

พินัยกรรมของผู้ตายที่ห้ามโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตกเป็นโมฆะ, ข้อห้ามในพินัยกรรมเป็นโมฆะ, ผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม
ถอนผู้จัดการมรดก, การปันมรดกเสร็จสิ้นแล้ว, การจัดการศาลจ้าวไม่เป็นมรดก, ศาลจ้าวใต้เซียฮุดโจ๊วเป็นกุศลสถาน
ที่ดินของรัฐ มรดกของผู้ตาย, ที่ดินนิคมสหกรณ์, สิทธิทำประโยชน์ในที่ดิน, สิทธิเหนือพื้นดิน, การเพิกถอนโฉนดที่ดิน,
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทในกองมรดก, การเพิกถอนนิติกรรมในทรัพย์มรดก, การขายทรัพย์มรดกเพื่อชำระหนี้, ผู้จัดการมรดกกับสิทธิและหน้าที่
มรดกตกทอด, การเพิกถอนการสละมรดก, อายุความในการฟ้องคดีมรดก, สิทธิเรียกร้องแทนลูกหนี้
หนังสือแต่งตั้งผู้รับโอนประโยชน์ในเงินทุนเรือนหุ้นของสหกรณ์ไม่ถือเป็นพินัยกรรม, เงินสงเคราะห์สมาชิกสหกรณ์, สิทธิผู้รับโอนประโยชน์ในเงินสงเคราะห์
นิติกรรมซื้อขายที่ดินซึ่งเป็นคนต่างด้าว, คดีมรดกที่ดินของคนต่างด้าว, อายุความคดีมรดก, การยักยอกทรัพย์มรดก
พินัยกรรมยกมรดกให้พี่น้องร่วมบิดามารดา, สิทธิของผู้สืบสันดานในการรับมรดกแทนที่, การฟ้องเรียกค่าเช่าจากทรัพย์สินมรดก
การกำจัดทายาทมิให้รับมรดก, สิทธิรับมรดกของผู้สืบสันดานเมื่อทายาทถูกกำจัด, การเพิกถอนนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์มรดก
เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดก, การฟ้องแบ่งมรดกของผู้ตาย, การยกอายุความในคดีมรดก, สินสมรสและสินส่วนตัวในกองมรดก
ผู้จัดการมรดกและการโอนทรัพย์มรดก, พินัยกรรมด้วยวาจา ป.พ.พ. มาตรา 1663, การครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาท
สิทธิทายาทในมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง, ทายาทตายก่อนแบ่งมรดก, รับมรดกแทนที่ มาตรา 1639,
สิทธิการฟ้องขอแบ่งมรดกของทายาท, การเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินมรดก, สินสมรสหลังคู่สมรสเสียชีวิต
สัญญาประกันชีวิต, สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก, ผู้ทำประกันชีวิตและผู้รับผลประโยชน์ตายพร้อมกัน
การจัดการหนี้สินในกองมรดก, สิทธิของเจ้าหนี้กองมรดก, ที่ดินมรดกและการบังคับคดี
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดก
ผู้จัดการมรดกปฏิบัติผิดหน้าที่-ทายาทผู้มีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกได้
ผู้จัดการมรดกร่วมถึงแก่ความตายต้องทำอย่างไร, ฟ้องซ้อน คืออะไร, แต่งตั้งผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่เพียงทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป
ทายาทฟ้องทายาทให้แบ่งทรัพย์มรดก
การจัดการทรัพย์มรดกในฐานะผู้จัดการมรดกตามหน้าที่ที่จำเป็น
คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกปิดบังทรัพย์มรดกมีผลอย่างไร
ทายาทมิได้ฟ้องเรียกร้องมรดกภายใน 1 ปี
ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ผู้มีส่วนได้เสีย
สามีไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้จัดการมรดกได้
ทรัพย์มรดกยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาททุกคน-การจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้น
บุคคลผู้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มีผลอย่างไร?
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลถูกเพิกถอนได้
อายุความคดีมรดก เจ้าหนี้ฟ้องคดีมรดกเกินหนึ่งปี
คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก
บุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย
บุตรนอกกฎหมายซึ่งผู้ตายรับรองแล้วเป็นผู้สืบสันดาน
มารดาขายที่ดินซึ่งผู้เยาว์มีส่วนแบ่งไม่ต้องขอศาล
นายอำเภอคือผู้มีอำนาจจัดทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
ความรับผิดของผู้จัดการมดกภายหลังการเสียชีวิต
ผู้จัดการมรดกร่วมนำทรัพย์มรดกหาประโยชน์แก่ตน
ผู้สืบสันดาน คือใคร? ต่างกับทายาท อย่างไร?
คู่สมรสและการแบ่งมรดกของคู่สมรส | การสมรสเป็นโมฆะ
อายุความคดีมรดก และอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก
เหตุอันจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก
การปันมรดกเสร็จสิ้นลงแล้วการถอนผู้จัดการมรดกย่อมพ้นกำหนดเวลา
สามีมิได้จดทะเบียนสมรสไม่ถือเป็นทายาทของภริยาผู้ตาย
อำนาจหน้าที่จัดการศพพระภิกษุผู้มรณภาพไม่มีทรัพย์สิน
สามีไม่จดทะเบียนสมรสขอถอนผู้จัดการมรดก มีกรรมสิทธิ์รวม
ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะทำหน้าที่ผู้จัดการมรดก
อำนาจฟ้องขอแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตาย
ทายาททุกคนมอบหมายให้ครอบครองที่ดินแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วม
ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามมาตรา 1300
ทายาทโดยธรรมย่อมมีสิทธิเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์มรดกตามส่วนที่จะพึงได้
สิทธิรับมรดกที่ยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาห้ามยกเป็นข้อต่อสู้ผู้รับโอนโดยสุจริต
การจัดการมรดกและผู้จัดการมรดก, สินสมรสและสินส่วนตัวในคดีมรดก, อายุความคดีมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733
ผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก
ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์มรดกเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความแล้ว
ผู้คัดค้านไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการขอจัดการมรดก
ทายาทมีส่วนเท่ากันออกค่าใช้จ่ายจัดการทำศพ
ความเหมาะสมในการเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น
สิทธิของบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายในการรับมรดกของบุตรนอกกฎหมาย
หนังสือสัญญาแบ่งมรดกตกเป็นโมฆะหรือไม่?
อำนาจและหน้าที่ในการจัดการทำศพและลำดับก่อนหลัง
พินัยกรรมมีเงื่อนไขบังคับก่อน
ผู้จัดการมรดกฟ้องแทนทายาทโดยธรรมอื่น
คู่สมรสที่จดทะเบียนหย่าแล้วเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่
การสละมรดกมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายจึงขาดความเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
แม้กองมรดกมีผู้จัดการมรดกแล้วทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้อง
พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองไม่ได้ทำต่อหน้าพยานตกเป็นโมฆะ
บุตรนอกสมรสและบิดานอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดกต่อกันอย่างไร
ผู้จัดการมรดก | ทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดกเรียกให้เจ้าของรวมส่งมอบโฉนดที่ดิน
การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลงอายุความ 5 ปียังไม่เริ่มนับ
สิทธิรับมรดกก่อนหลัง
คำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ
อายุความฟ้องคดีแพ่งอันเนื่องจากคดียักยอกทรัพย์มรดก
เมื่อแบ่งมรดกเสร็จแล้วความเป็นทายาทสิ้นสุดลง-อายุความมรดก
การแบ่งมรดกที่ดินมือเปล่าไม่มีเอกสารสิทธิ
คดีมรดกต้องเป็นคดีที่ทายาทด้วยกันพิพาทกันเรื่องสิทธิในส่วนแบ่งมรดก
ขอให้ศาลสั่งถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ความรับผิดของผู้ตาย
แสดงบัญชีเครือญาติเป็นเท็จปิดบังจำนวนทายาท
อายุความคดีมรดกสะดุดหยุดลง การแบ่งทรัพย์มรดกไม่ชอบ
ไม่มีกฎหมายบังคับให้ฟ้องเอาทรัพย์มรดกจากทายาทอื่นที่ครอบครองแทนใน 1 ปี
สัญญาว่าจ้างติดตามทรัพย์กองมรดกเรียกส่วนแบ่งเป็นโมฆะ
คดีฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมปลอมและถูกกำจัดมิให้รับมรดก
โจทก์ฟ้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปี
ผู้จัดการมรดกแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันฟังคำสั่งศาล
คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกอายุความ 5 ปี
การแจ้งการเกิดของเด็กในทะเบียนคนเกิดเองว่าเป็นบุตรของตน
ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
การที่จะเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนทายาทอื่น
พินัยกรรมเอกสารลับทำผิดแบบเป็นโมฆะ
การจัดการมรดกไม่ชอบไม่อาจถือว่าการจัดการมรดกสิ้นลงแล้ว