ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




พินัยกรรมเอกสารลับทำผิดแบบเป็นโมฆะ

พินัยกรรมเอกสารลับทำผิดแบบเป็นโมฆะ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1653 "ผู้เขียน หรือ พยานในพินัยกรรมจะเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมนั้นไม่ได้"

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656 "พินัยกรรมนั้น จะทำตามแบบดังนี้ก็ได้ กล่าวคือ ต้องทำเป็นหนังสือลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำขึ้น และผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน ซึ่งพยานสองคนนั้นต้องลงลายมือชื่อ รับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้น"

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 "บุคคลต่อไปนี้จะเป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้
(1) ผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ
(2) บุคคลวิกลจริต หรือ บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ
(3) บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนล้มละลาย

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1705      "พินัยกรรม หรือ ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้นถ้าได้ทำขึ้นขัดต่อมาตรา 1653 ย่อมเป็นโมฆะ"

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3001/2538
                                              
   ลายมือชื่อของผู้ร้องอยู่เหนือลายมือชื่อของ  ว. และไม่มีข้อความต่อท้ายว่า  "ผู้พิมพ์"  ส่วนลายมือชื่อของ  ว.  มีข้อความต่อท้ายว่า  "ผู้พิมพ์"  และว.เบิกความว่าตนเป็นผู้พิมพ์พินัยกรรมทั้งโดยปกติน่าจะพิมพ์คนเดียว   กรณีจึงมีข้อสงสัยว่าผู้ร้องเป็นผู้พิมพ์พินัยกรรมด้วยหรือไม่   ซึ่งต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้ร้องซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียหายในการนี้    ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา11    จึงจะฟังว่าผู้ร้องเป็นผู้พิมพ์พินัยกรรมด้วยหาได้ไม่กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์   มาตรา1653    วรรคแรกอันจะทำให้พินัยกรรมหรือข้อกำหนดในพินัยกรรมเป็นโมฆะตามมาตรา1705    เมื่อพินัยกรรมได้ทำผิดแบบพินัยกรรมเอกสารลับอันทำให้ตกเป็นโมฆะ   แต่พินัยกรรมดังกล่าวก็ได้ทำขึ้นถูกต้องตามแบบพินัยกรรมธรรมดา   ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1656   ทุกประการพฤติการณ์แห่งคดีเป็นที่พึงสันนิษฐานได้ว่า   ถ้าเดิมทีผู้ทำพินัยกรรมรู้ว่าพินัยกรรมที่ตนทำนั้นไม่สมบูรณ์เป็นพินัยกรรมแบบเอกสารลับก็คงจะได้ตั้งใจให้สมบูรณ์เป็นพินัยกรรมแบบธรรมดา   กรณีเข้าลักษณะตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา136เดิม   พินัยกรรมจึงสมบูรณ์เป็นพินัยกรรมแบบธรรมดา   ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1656   และตามพินัยกรรมดังกล่าวระบุให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกและเป็นผู้รับพินัยกรรมผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย  ตามพินัยกรรมทั้งได้ความว่าการจัดการมรดกของผู้ตายมีเหตุขัดข้องในการจัดการผู้ร้อง  ไม่เป็นบุคคลต้องห้ามในการเป็นผู้จัดการมรดก  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1718   จึงสมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามพินัยกรรม

 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่า เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2535   นางแฉล้ม เทพหัสดิน ณ อยุธยา    ถึงแก่ความตายเนื่องจากการหายใจล้มเหลวติดเชื้อในกระแสเลือดและเบาหวาน    ก่อนตายนางแฉล้มได้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารลับยกทรัพย์สินต่าง ๆ ให้ผู้ร้องและตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก    ผู้ร้องได้ไปขอรับมรดกที่ดินตามพินัยกรรมแล้ว   แต่มีเหตุขัดข้องในการจัดการ โดยเจ้าพนักงานที่ดินอ้างว่า  ต้องมีคำสั่งศาลตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกเสียก่อน   ผู้ร้องเป็นผู้ไม่ต้องห้ามในการเป็นผู้จัดการมรดก ขอให้มีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

  ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งยกคำร้องขอ

 ผู้ร้องอุทธรณ์
  ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

  ผู้ร้องฎีกา

   ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เห็นควรวินิจฉัยปัญหาตามฎีกาของผู้ร้องในข้อที่ว่า    ผู้ร้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรม   เอกสารหมาย ร.3    ในฐานะเป็นผู้พิมพ์หรือไม่เสียก่อน เห็นว่า    ลายมือชื่อของผู้ร้อง  อยู่เหนือลายมือชื่อของนายวีระ วีระสัมฤทธิ์ และไม่มีข้อความต่อท้ายว่า  "ผู้พิมพ์"   ส่วนลายมือชื่อของ  นายวีระ มีข้อความต่อท้ายว่า  "ผู้พิมพ์"   และนายวีระเบิกความว่าตนเป็นผู้พิมพ์พินัยกรรม  ทั้งโดยปกติน่าจะพิมพ์คนเดียว   กรณีจึงมีข้อสงสัยว่า ผู้ร้องเป็นผู้พิมพ์พินัยกรรมด้วยหรือไม่ ซึ่งต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้ร้อง  ซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียหาย  ในการนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11    จึงจะฟังว่าผู้ร้องเป็นผู้พิมพ์พินัยกรรมด้วยหาได้ไม่    ข้อเท็จจริงน่าเชื่อตามคำเบิกความของผู้ร้องว่า  นางแฉล้ม เทพหัสดิน ณ อยุธยา ผู้ตายให้ผู้ร้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรมเป็นผู้รับพินัยกรรม เมื่อเป็นดังนี้ กรณีก็ไม่ต้องด้วย   ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1653   วรรคแรก    อันจะทำให้พินัยกรรม  หรือข้อกำหนดในพินัยกรรม  เป็นโมฆะตามมาตรา 1705

 ปัญหาข้อต่อไปมีว่า พินัยกรรมเอกสารหมาย   ร.3    เป็นพินัยกรรม  ที่ผู้ตายทำขั้นและนำไปแสดงต่อสำนักงานเขตดุสิต หรือไม่  เห็นว่า  แม้การทำพินัยกรรมแบบเอกสารลับ    ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1660   จะทำโดยวิธีเขียนหรือพิมพ์ก็ได้   ผู้เขียนหรือผู้พิมพ์  จึงมีความหมายอย่างเดียวกัน  ตามที่ผู้ร้องฎีกาก็ตาม   แต่ผู้ใดเป็นผู้เขียนหรือผู้พิมพ์  ซึ่งหากเป็นคนละคนกัน  ก็ย่อมแตกต่างและขัดกัน    ดังนี้ เมื่อตามทางนำสืบของผู้ร้องและตามพินัยกรรมเอกสารหมาย   ร.3   ปรากฎว่านายวีระเป็นผู้พิมพ์  หรืออีกนัยหนึ่งเป็นผู้เขียนพินัยกรรม   แต่ปรากฎตามซองพินัยกรรมเอกสารหมาย ร.5 ว่า นางแฉล้ม ผู้ทำพินัยกรรมได้ให้ถ้อยคำต่อสำนักงานเขตดุสิตว่าตนเป็นผู้เขียนพินัยกรรม   กรณีจึงย่อมเป็นการขัดกันดังที่ศาลล่างวินิจฉัย   แต่เห็นว่าลำพังการขัดกันดังกล่าวยังไม่ถึงกับจะทำให้ไม่น่าเชื่อว่า  พินัยกรรมเอกสารหมาย ร.3 มิใช่พินัยกรรมที่   นางแฉล้ม ผู้ทำ พินัยกรรมนำไปแสดงและให้ถ้อยคำต่อสำนักงานเขตดุสิต    การที่ นางแฉล้ม ผู้ทำ พินัยกรรมให้ถ้อยคำว่า   ตนเป็นผู้เขียนพินัยกรรมนั้นอาจมีทางเป็นไปได้ว่า   จะหมายถึงตนเป็นผู้ทำพินัยกรรมก็ได้ จึงต้องพิจารณาเหตุอื่นประกอบด้วย   เมื่อพิเคราะห์พินัยกรรมเอกสารหมาย ร.3    ประกอบกับซองพินัยกรรม  เอกสารหมาย ร.5    ปรากฎว่าพินัยกรรมลงวันที่ 13 เมษายน 2529   นายแฉล้ม ผู้ทำพินัยกรรมนำพินัยกรรมไปแสดง  และให้ถ้อยคำต่อสำนักงานเขตดุสิต วันที่ 15 เมษายน 2529 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังวันทำพินัยกรรมดังกล่าวเพียง    2  วัน   ทั้งได้ให้ถ้อยคำว่า  เมื่อตนถึงแก่กรรมแล้วให้มอบพินัยกรรมแก่ผู้ร้อง    แสดงว่าผู้ร้องต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสีย   ในทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม ซึ่งก็สอดคล้องกับพินัยกรรมเอกสารหมาย ร.3    ที่ระบุให้ผู้ร้องเป็นผู้รับพินัยกรรม  และผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก จึงน่าเชื่อว่าพินัยกรรมเอกสารหมาย ร.3   เป็นพินัยกรรมที่ นางแฉล้ม ผู้ตาย ทำขึ้นและนำไปแสดงต่อสำนักงานเขตดุสิตตามที่ผู้ร้องนำสืบ

          ปัญหาข้อต่อไปมีว่า เมื่อพินัยกรรมเอกสารหมาย ร.3 ซึ่งเป็นพินัยกรรมแบบเอกสารลับ ผู้ทำพินัยกรรมไม่ได้แจ้งนามและภูมิลำเนาของผู้เขียนให้ทราบอันทำให้ตกเป็นโมฆะแล้ว พินัยกรรมดังกล่าวจะสมบูรณ์เป็นพินัยกรรมแบบธรรมดาหรือไม่ เห็นว่า    เมื่อพินัยกรรมเอกสารหมาย ร.3 ได้ทำผิดแบบพินัยกรรมเอกสารลับอันทำให้ตก  เป็นโมฆะแต่พินัยกรรมดังกล่าวก็ได้ทำขึ้นถูกต้องตามแบบ  พินัยกรรมธรรมดา  ดังที่บัญญัติไว้ใน  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656 ทุกประการซึ่งพฤติการณ์แห่งคดีเป็นที่พึงสันนิษฐานได้ว่า   ถ้าเดิมทีนางแฉล้มผู้ทำพินัยกรรมรู้ว่าพินัยกรรม  ที่ตนทำนั้นไม่สมบูรณ์เป็นพินัยกรรมแบบเอกสารลับ   ก็คงจะได้ตั้งใจให้สมบูรณ์เป็นพินัยกรรมแบบธรรมดากรณีเข้าลักษณะตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 136 เดิม พินัยกรรมเอกสารหมาย ร.3   จึงสมบูรณ์เป็นพินัยกรรมแบบธรรมดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656

          ปัญหาข้อสุดท้ายมีว่า สมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่ เห็นว่า เมื่อพินัยกรรมเอกสารหมาย ร.3 สมบูรณ์เป็นพินัยกรรมแบบธรรมดาดังได้วินิจฉัยมา   และตามพินัยกรรมดังกล่าวระบุให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก  และเป็นผู้รับพินัยกรรม   ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียใน ทรัพย์มรดกของผู้ตายตามพินัยกรรม   ทั้งได้ความตามทางนำสืบของผู้ร้องว่า การจัดการมรดกของผู้ตายมีเหตุขัดข้องในการจัดการ  ผู้ร้องไม่เป็นบุคคลต้องห้ามในการเป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 จึงสมควรจะตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามพินัยกรรม

          พิพากษากลับ ให้ตั้งนายสุนทรี จินตกวีวัฒน์ เป็นผู้จัดการมรดกของนางแฉล้ม เทพหัสดิน ณ อยุธยา ผู้ตาย ตามพินัยกรรมให้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายต่อไป




คดีมรดก ร้องศาลตั้งผู้จัดการมรดก

พินัยกรรมของผู้ตายที่ห้ามโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตกเป็นโมฆะ, ข้อห้ามในพินัยกรรมเป็นโมฆะ, ผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม
ถอนผู้จัดการมรดก, การปันมรดกเสร็จสิ้นแล้ว, การจัดการศาลจ้าวไม่เป็นมรดก, ศาลจ้าวใต้เซียฮุดโจ๊วเป็นกุศลสถาน
ที่ดินของรัฐ มรดกของผู้ตาย, ที่ดินนิคมสหกรณ์, สิทธิทำประโยชน์ในที่ดิน, สิทธิเหนือพื้นดิน, การเพิกถอนโฉนดที่ดิน,
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทในกองมรดก, การเพิกถอนนิติกรรมในทรัพย์มรดก, การขายทรัพย์มรดกเพื่อชำระหนี้, ผู้จัดการมรดกกับสิทธิและหน้าที่
มรดกตกทอด, การเพิกถอนการสละมรดก, อายุความในการฟ้องคดีมรดก, สิทธิเรียกร้องแทนลูกหนี้
หนังสือแต่งตั้งผู้รับโอนประโยชน์ในเงินทุนเรือนหุ้นของสหกรณ์ไม่ถือเป็นพินัยกรรม, เงินสงเคราะห์สมาชิกสหกรณ์, สิทธิผู้รับโอนประโยชน์ในเงินสงเคราะห์
นิติกรรมซื้อขายที่ดินซึ่งเป็นคนต่างด้าว, คดีมรดกที่ดินของคนต่างด้าว, อายุความคดีมรดก, การยักยอกทรัพย์มรดก
พินัยกรรมยกมรดกให้พี่น้องร่วมบิดามารดา, สิทธิของผู้สืบสันดานในการรับมรดกแทนที่, การฟ้องเรียกค่าเช่าจากทรัพย์สินมรดก
การกำจัดทายาทมิให้รับมรดก, สิทธิรับมรดกของผู้สืบสันดานเมื่อทายาทถูกกำจัด, การเพิกถอนนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์มรดก
เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดก, การฟ้องแบ่งมรดกของผู้ตาย, การยกอายุความในคดีมรดก, สินสมรสและสินส่วนตัวในกองมรดก
ผู้จัดการมรดกและการโอนทรัพย์มรดก, พินัยกรรมด้วยวาจา ป.พ.พ. มาตรา 1663, การครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาท
สิทธิทายาทในมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง, ทายาทตายก่อนแบ่งมรดก, รับมรดกแทนที่ มาตรา 1639,
สิทธิการฟ้องขอแบ่งมรดกของทายาท, การเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินมรดก, สินสมรสหลังคู่สมรสเสียชีวิต
สัญญาประกันชีวิต, สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก, ผู้ทำประกันชีวิตและผู้รับผลประโยชน์ตายพร้อมกัน
การจัดการหนี้สินในกองมรดก, สิทธิของเจ้าหนี้กองมรดก, ที่ดินมรดกและการบังคับคดี
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดก
ผู้จัดการมรดกปฏิบัติผิดหน้าที่-ทายาทผู้มีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกได้
ผู้จัดการมรดกร่วมถึงแก่ความตายต้องทำอย่างไร, ฟ้องซ้อน คืออะไร, แต่งตั้งผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่เพียงทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป
ทายาทฟ้องทายาทให้แบ่งทรัพย์มรดก
การจัดการทรัพย์มรดกในฐานะผู้จัดการมรดกตามหน้าที่ที่จำเป็น
คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกปิดบังทรัพย์มรดกมีผลอย่างไร
ทายาทมิได้ฟ้องเรียกร้องมรดกภายใน 1 ปี
ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ผู้มีส่วนได้เสีย
สามีไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้จัดการมรดกได้
ทรัพย์มรดกยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาททุกคน-การจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้น
บุคคลผู้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มีผลอย่างไร?
ฟ้องผู้จัดการมรดกนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงเกินห้าปีขาดอายุความ
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลถูกเพิกถอนได้
อายุความคดีมรดก เจ้าหนี้ฟ้องคดีมรดกเกินหนึ่งปี
คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก
บุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย
บุตรนอกกฎหมายซึ่งผู้ตายรับรองแล้วเป็นผู้สืบสันดาน
มารดาขายที่ดินซึ่งผู้เยาว์มีส่วนแบ่งไม่ต้องขอศาล
นายอำเภอคือผู้มีอำนาจจัดทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
ความรับผิดของผู้จัดการมดกภายหลังการเสียชีวิต
ผู้จัดการมรดกร่วมนำทรัพย์มรดกหาประโยชน์แก่ตน
ผู้สืบสันดาน คือใคร? ต่างกับทายาท อย่างไร?
คู่สมรสและการแบ่งมรดกของคู่สมรส | การสมรสเป็นโมฆะ
อายุความคดีมรดก และอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก
เหตุอันจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก
การปันมรดกเสร็จสิ้นลงแล้วการถอนผู้จัดการมรดกย่อมพ้นกำหนดเวลา
สามีมิได้จดทะเบียนสมรสไม่ถือเป็นทายาทของภริยาผู้ตาย
อำนาจหน้าที่จัดการศพพระภิกษุผู้มรณภาพไม่มีทรัพย์สิน
สามีไม่จดทะเบียนสมรสขอถอนผู้จัดการมรดก มีกรรมสิทธิ์รวม
ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะทำหน้าที่ผู้จัดการมรดก
อำนาจฟ้องขอแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตาย
ทายาททุกคนมอบหมายให้ครอบครองที่ดินแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วม
ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามมาตรา 1300
ทายาทโดยธรรมย่อมมีสิทธิเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์มรดกตามส่วนที่จะพึงได้
สิทธิรับมรดกที่ยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาห้ามยกเป็นข้อต่อสู้ผู้รับโอนโดยสุจริต
การจัดการมรดกและผู้จัดการมรดก, สินสมรสและสินส่วนตัวในคดีมรดก, อายุความคดีมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733
ผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก
ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์มรดกเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความแล้ว
ผู้คัดค้านไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการขอจัดการมรดก
ทายาทมีส่วนเท่ากันออกค่าใช้จ่ายจัดการทำศพ
ความเหมาะสมในการเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น
สิทธิของบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายในการรับมรดกของบุตรนอกกฎหมาย
หนังสือสัญญาแบ่งมรดกตกเป็นโมฆะหรือไม่?
อำนาจและหน้าที่ในการจัดการทำศพและลำดับก่อนหลัง
พินัยกรรมมีเงื่อนไขบังคับก่อน
ผู้จัดการมรดกฟ้องแทนทายาทโดยธรรมอื่น
คู่สมรสที่จดทะเบียนหย่าแล้วเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่
การสละมรดกมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายจึงขาดความเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
แม้กองมรดกมีผู้จัดการมรดกแล้วทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้อง
พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองไม่ได้ทำต่อหน้าพยานตกเป็นโมฆะ
บุตรนอกสมรสและบิดานอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดกต่อกันอย่างไร
ผู้จัดการมรดก | ทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดกเรียกให้เจ้าของรวมส่งมอบโฉนดที่ดิน
การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลงอายุความ 5 ปียังไม่เริ่มนับ
สิทธิรับมรดกก่อนหลัง
คำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ
อายุความฟ้องคดีแพ่งอันเนื่องจากคดียักยอกทรัพย์มรดก
เมื่อแบ่งมรดกเสร็จแล้วความเป็นทายาทสิ้นสุดลง-อายุความมรดก
การแบ่งมรดกที่ดินมือเปล่าไม่มีเอกสารสิทธิ
คดีมรดกต้องเป็นคดีที่ทายาทด้วยกันพิพาทกันเรื่องสิทธิในส่วนแบ่งมรดก
ขอให้ศาลสั่งถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ความรับผิดของผู้ตาย
แสดงบัญชีเครือญาติเป็นเท็จปิดบังจำนวนทายาท
อายุความคดีมรดกสะดุดหยุดลง การแบ่งทรัพย์มรดกไม่ชอบ
ไม่มีกฎหมายบังคับให้ฟ้องเอาทรัพย์มรดกจากทายาทอื่นที่ครอบครองแทนใน 1 ปี
สัญญาว่าจ้างติดตามทรัพย์กองมรดกเรียกส่วนแบ่งเป็นโมฆะ
คดีฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมปลอมและถูกกำจัดมิให้รับมรดก
โจทก์ฟ้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปี
ผู้จัดการมรดกแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันฟังคำสั่งศาล
คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกอายุความ 5 ปี
การแจ้งการเกิดของเด็กในทะเบียนคนเกิดเองว่าเป็นบุตรของตน
ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
การที่จะเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนทายาทอื่น
การจัดการมรดกไม่ชอบไม่อาจถือว่าการจัดการมรดกสิ้นลงแล้ว