ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองไม่ได้ทำต่อหน้าพยานตกเป็นโมฆะ

พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองไม่ได้ทำต่อหน้าพยานตกเป็นโมฆะ

พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองคืออะไร? ขั้นตอนในการทำพินัยกรรมเป็นเอกสารฝ่ายเมืองมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? การทำพินัยกรรมขณะที่ผู้ทำพินัยกรรมป่วยหรือนอนป่วยอยู่ที่โรงพยาบาลสามารถทำได้หรือไม่? การที่ผู้ทำพินัยกรรมแจ้งข้อความที่ต้องการทำพินัยกรรมให้เจ้าหน้าที่โดยไม่มีพยานสองคนอยู่ต่อหน้าตนทำได้หรือไม่?? การนำพินัยกรรมซึ่งตกเป็นโมฆะไปประกอบยื่นคำร้องขอตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกมีผลอย่างไร??

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  4698/2552

 พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองซึ่งไม่ได้ทำต่อหน้าพยาน 2 คนพร้อมกัน เป็นพินัยกรรมที่ทำขึ้นขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1658 (1) ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1705 การแต่งตั้งผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลนั้น ศาลย่อมใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงความเหมาะสมเพื่อประโยชน์แก่กองมรดก แม้ผู้ร้องจะไม่เป็นบุคคลต้องห้ามในการเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1718 แต่ผู้ร้องนำพินัยกรรมซึ่งเป็นโมฆะมายื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกย่อมทำให้เป็นที่หวาดระแวงแก่ผู้คัดค้านและทายาทอื่นในการรักษาผลประโยชน์ในทรัพย์สินให้แก่ทายาทของเจ้ามรดก ผู้ร้องจึงไม่เหมาะสมในการเป็นผู้จัดการมรดก

 มาตรา 1658  พินัยกรรมนั้น จะทำเป็นเอกสารฝ่ายเมืองก็ได้ กล่าวคือ
(1)  ผู้ทำพินัยกรรมต้องไปแจ้งข้อความที่ตนประสงค์จะให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมของตนแก่กรมการอำเภอต่อหน้าพยานอีกอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน
(2)  กรมการอำเภอต้องจดข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมแจ้งให้ทราบนั้นลงไว้ และอ่านข้อความนั้นให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานฟัง
(3)  เมื่อผู้ทำพินัยกรรมและพยานทราบแน่ชัดว่า ข้อความที่กรมการอำเภอจดนั้นเป็นการถูกต้องตรงกันกับที่ผู้ทำพินัยกรรมแจ้งไว้แล้ว ให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ
(4)  ข้อความที่กรมการอำเภอจดไว้นั้น ให้กรมการอำเภอลงลายมือชื่อและลง วัน เดือน ปี ทั้งจดลงไว้ด้วยตนเองเป็นสำคัญว่า พินัยกรรมนั้นได้ทำขึ้นถูกต้องตามบทบัญญัติอนุมาตรา 1 ถึง 3 ข้างต้น แล้วประทับตราตำแหน่งไว้เป็นสำคัญ
การขูดลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรม พยาน และกรมการอำเภอจะได้ลงลายมือชื่อกำกับไว้
 
มาตรา 1705  พินัยกรรมหรือข้อกำหนดพินัยกรรมนั้น ถ้าได้ทำขึ้นขัดต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 1652, 1653, 1656, 1657, 1658, 1660, 1661 หรือ 1663 ย่อมเป็นโมฆะ

มาตรา 1718  บุคคลต่อไปนี้จะเป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้
(1) ผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ
(2) บุคคลวิกลจริต หรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ
(3) บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนล้มละลาย

  ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

          ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้าน ขอให้ยกคำร้องขอ

   ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งนางชวน ผู้ร้อง เป็นผู้จัดการมรดกของนายคลอน ผู้ตาย ให้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

          ผู้คัดค้านอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษากลับ ให้ยกคำร้อง ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

          ผู้ร้องฎีกา

  ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “...ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้เถียงกันฟังเป็นยุติว่า ผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายคลอน ผู้ตายกับนางเวือง มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันรวม 5 คน เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2544 ผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยสาเหตุโรคชรา ก่อนตายผู้ตายมีทรัพย์มรดกคือ เงินฝากในธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาสุรินทร์ จำนวน 43,000.18 บาท ที่ดินโฉนดเลขที่ 123484 ถึง 123486 ตำบลเทนมีย์ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ และที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เลขที่ 571 ตำบลเทนมีย์ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยผู้ตายเป็นเจ้าของร่วมกับบุคคลอื่น เฉพาะส่วนที่ผู้ตายเป็นเจ้าของคิดเป็นเนื้อที่ 7 ไร่เศษ

 คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องว่า สมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่ เห็นว่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 วรรคสอง บัญญัติถึงการตั้งผู้จัดการมรดกในกรณีที่มีข้อกำหนดพินัยกรรมโดยกำหนดให้ศาลต้องตั้งตามข้อกำหนดพินัยกรรม เมื่อคดีนี้ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกที่ผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้ผู้ร้องกับนายเพลือง และผู้คัดค้านคัดค้านพินัยกรรม ว่าข้อกำหนดพินัยกรรมเป็นโมฆะและผู้มีชื่อในพินัยกรรมคบคิดกันฉ้อฉลหลอกลวงผู้ตายให้ทำพินัยกรรมในขณะที่มีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ ซึ่งหากพินัยกรรมที่ผู้ร้องอ้างเป็นพินัยกรรมที่ผู้ร้องใช้กลฉ้อฉลให้ผู้ตายทำขึ้น ผู้ร้องอาจถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1606 (4) และอาจเป็นเหตุให้ไม่สมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ตรงกันข้ามถ้าพินัยกรรมนั้นสมบูรณ์มีผลบังคับทรัพย์มรดกทั้งหมดของผู้ตายตามพินัยกรรมย่อมตกได้แก่ผู้ร้องและนายเพลืองเท่านั้นผู้คัดค้านย่อมไม่มีส่วนได้เสียและไม่มีสิทธิคัดค้าน ดังนั้น ปัญหาที่ว่าพินัยกรรมตามคำร้องมีผลบังคับได้ตามกฎหมายหรือไม่ จึงเป็นประเด็นสำคัญที่จะต้องวินิจฉัยประกอบกับประเด็นที่ว่า สมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่ ผู้ร้องมีนายเคลย เป็นพยานเบิกความว่า เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2544 พยานได้ไปเยี่ยมผู้ตายที่โรงพยาบาลสุรินทร์ ผู้ตายกำชับพยานให้ไปติดต่อปลัดอำเภอเมืองสุรินทร์ให้มาทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้บุตรสองคน พยานแจ้งให้เจ้าหน้าที่ที่ว่าการอำเภอทราบ เจ้าหน้าที่แนะนำว่าหากผู้ตายไม่สามารถดำเนินการที่ว่าการอำเภอได้ ให้นำหลักฐานเกี่ยวกับทรัพย์สินไม่ว่าจะเป็นที่ดินหรือเงินสด รวมทั้งกรณีถ้าผู้ทำพินัยกรรมอายุเกินกว่า 60 ปี ให้แพทย์รับรองด้วยว่าผู้ทำพินัยกรรมมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์และให้เตรียมพยาน 2 คน เพื่อรับรองพินัยกรรมด้วย หลังจากนั้นในวันรุ่งขึ้นพยานจึงได้นำหลักฐานสมุดเงินฝาก สำเนา น.ส.3 ทั้งสองฉบับ และใบรับรองแพทย์จากผู้ตายไปที่ว่าการอำเภอเมืองสุรินทร์ เมื่อไปถึงพบนายธนิต ปลัดอำเภอ แจ้งความประสงค์ของผู้ตายให้ทราบ เสร็จแล้วเจ้าหน้าที่แจ้งให้พยานไปรอที่โรงพยาบาลในช่วงบ่าย เมื่อนายธนิตและนางรุ่งอรุณซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของที่ว่าการอำเภอเมืองสุรินทร์ไปถึงโรงพยาบาลพบผู้ตายได้สอบถามความประสงค์ของผู้ตายและอ่านข้อความในพินัยกรรมให้ผู้ตายฟัง แล้วนายธนิตให้ผู้ตายพิมพ์ลายนิ้วมือโดยมีนายญาติ และนายจักรกฤษ ลงลายมือชื่อรับรองพินัยกรรม พร้อมทั้งมีนางสำเปา และนางแสงระวี ลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ตายด้วย เมื่อนายธนิตดำเนินการเสร็จแล้วได้มอบใบรับพินัยกรรมให้พยานไว้และมีนายธนิตปลัดอำเภอรักษาราชการแทนนายอำเภอเมืองสุรินทร์เบิกความว่า เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2544 พยานเดินทางไปที่โรงพยาบาลสุรินทร์พบผู้ตาย พยานได้สอบถามผู้ตายว่ายกทรัพย์สินอะไรให้ใคร ถ้าตรงกับที่ระบุไว้ในพินัยกรรมก็จะอ่านให้ฟัง แล้วให้ลงลายมือชื่อ ซึ่งผู้ตายได้พิมพ์ลายนิ้วมือโดยมีพยานรับรอง 2 คน นอกจากนี้ยังมีนายจักรกฤษ และนางแสงระวี พยานผู้ร้องเบิกความในทำนองเดียวกันว่า พินัยกรรมทำขึ้นเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2544 ที่โรงพยาบาลสุรินทร์ โดยนายธนิตเป็นผู้ทำพินัยกรรม ส่วนผู้คัดค้านเบิกความว่า เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2544 ผู้ตายมีอาการปวดท้องจุกเสียด พยานจึงนำตัวผู้ตายเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลสุรินทร์ซึ่งแพทย์ให้ความเห็นว่าระดับการรู้สึกสับสนและมีความกังวลใจเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาตัว หลังจากนั้น 1 วัน แพทย์ได้ตรวจดูอาการปรากฏว่าผู้ตายป่วยเป็นโรคมะเร็งในถุงน้ำดีจะต้องรับการผ่าตัดซึ่งผู้ตายได้ลงลายมือชื่อด้วยตนเองในคำรับรองยินยอมให้แพทย์ทำการผ่าตัด โดยปกติผู้ตายจะลงลายมือชื่อด้วยตนเองไม่พิมพ์ลายนิ้วมือ ในการดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินของผู้ตาย ผู้ตายจะเขียนชื่อของตนเองในเอกสารต่างๆ พยานเคยได้ยินผู้ตายพูดกับนายเคลยเกี่ยวกับเรื่องเงินฝากเท่านั้นว่าจะหาคนมาจัดการเพื่อที่จะดำเนินการถอนเงินฝากมาเป็นค่ารักษาพยาบาลได้ และในวันที่ผู้ตายเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลผู้ตายนำเพียงสมุดเงินฝากมาเท่านั้นไม่ได้นำเอกสารสิทธิเกี่ยวกับที่ดินมาด้วย และมีนางเวือง ภริยาผู้ตายและเป็นมารดาผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นพยานเบิกความว่าขณะที่พยานไปเยี่ยมผู้ตายที่โรงพยาบาลพบกับนายเคลยและได้ยิน ผู้ตายพูดปรึกษาหารือกับนายเคลยเรื่องที่จะถอนเงินฝากในบัญชี ส่วนเรื่องอื่นพยานไม่ได้ยินหลังจากพยานกลับจากโรงพยาบาลประมาณ 10 วัน ผู้ร้องมาที่บ้านและขอกุญแจตู้เก็บเอกสารสำคัญโดยบอกว่าจะเปิดเอาเช็คซึ่งบุตรสาวผู้ร้องฝากผู้ร้องไว้ เมื่อพยานให้กุญแจผู้ร้องไปแล้วก็ไม่นำกุญแจมาคืน มาคืนอีกทีเมื่อเสร็จงานศพของผู้ตายแล้ว ต่อมาทราบว่าเอกสารเกี่ยวกับที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์จำนวน 4 แปลง ทะเบียนสมรส ใบมรณบัตรและทะเบียนบ้านได้หายไป พยานไปขอเอกสารดังกล่าวคืนจากผู้ร้องแต่ผู้ร้องไม่ยอมคืนให้ และผู้ตายไม่เคยพูดปรึกษาหารือกับพยานเกี่ยวกับเรื่องทำพินัยกรรม เห็นว่า เมื่อพิเคราะห์ตามพินัยกรรมที่ผู้ร้องอ้างว่า ผู้ตายได้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกนั้น เป็นพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมือง ซึ่งในพินัยกรรมนั้นนอกจากระบุไว้ว่าทำต่อหน้าพยานคือนายญาติ และนายจักรกฤษ จำนวน 2 คน แล้ว ยังระบุอีกว่านายธนิต ปลัดอำเภอเมืองสุรินทร์ซึ่งทำหน้าที่แทนนายอำเภอได้ทำบันทึกต่อท้ายพินัยกรรมนี้ไว้ว่าได้จดและอ่านข้อความที่ทำพินัยกรรมขึ้นนั้นให้ผู้ตายและพยานฟัง ผู้ตายและพยานได้รับรองข้อความว่าถูกต้องและลงลายมือชื่อในพินัยกรรมด้วย แต่กลับได้ความจากนายญาติ พยานผู้ร้องเบิกความว่าพยานเป็นลูกจ้างประจำโรงพยาบาลสุรินทร์ นายเคลย เป็นผู้ยื่นเอกสารให้พยานลงลายมือชื่อ ส่วนใครจะเป็นผู้ทำพินัยกรรมและทำพินัยกรรมยกอะไรให้ใครพยานไม่ทราบ พยานลงลายมือชื่อในกระดาษเปล่าเท่านั้น และยังได้ความจากพยานเบิกความตอบคำถามค้านของทนายผู้คัดค้านยืนยันอีกว่า ในวันที่พยานลงลายมือชื่อในพินัยกรรม พยานไม่ทราบว่านายธนิตจะอยู่ด้วยหรือไม่ และนายเคลยยื่นเอกสารให้พยานลงลายมือชื่อที่ชั้นบนตรงระเบียงด้านนอกห้องผู้ป่วยโดยนายเคลยบอกว่าให้พยานลงลายมือชื่อเป็นพยานว่าผู้ตายป่วยและได้มารักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลนี้จริง พยานลงลายมือชื่อในพินัยกรรม ในเวลาไม่เกินเที่ยงวันขณะที่ลงลายมือนั้น พยานไม่เห็นลายพิมพ์นิ้วมือของใครในเอกสารดังกล่าวและไม่เห็นข้อความในเอกสารด้วย ซึ่งหากนายเคลยบอกว่าเอกสารดังกล่าวเป็นพินัยกรรม พยานคงไม่ยินยอมลงลายมือชื่อเนื่องจากพยานเห็นว่าไม่เกี่ยวข้องกับพยาน นอกจากนี้ยังได้ความจากนายเคลย พยานผู้ร้องเบิกความว่า เมื่อพยานไปถึงที่ว่าการอำเภอพบนายธนิตปลัดอำเภอได้นำพยานหลักฐานทั้งหมดให้นายธนิตและแจ้งความประสงค์ของผู้ตายให้ทราบ นางรุ่งอรุณ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เป็นผู้พิมพ์ข้อความแล้วแจ้งให้พยานไปรอช่วงบ่ายที่โรงพยาบาลแต่กลับได้ความจากพยานเบิกความตอบคำถามค้านของทนายผู้คัดค้านว่า นายธนิตเป็นผู้พิมพ์พินัยกรรมแล้วบอกให้พยานกลับไปรอที่โรงพยาบาล ในขณะที่นายจักรกฤษและนางแสงระวีเบิกความในทำนองเดียวกันว่านายธนิตเป็นผู้ทำพินัยกรรมขึ้นที่โรงพยาบาล หากบุคคลทั้งสามอยู่ร่วมด้วยในขณะทำพินัยกรรมก็ย่อมเป็นธรรมดาที่จะต้องเบิกความไปในทำนองเดียวกัน แต่พยานทั้งสามกลับเบิกความแตกต่างกันในส่วนของผู้พิมพ์พินัยกรรม จึงทำให้มีพิรุธว่าพินัยกรรมทำขึ้นที่ที่ว่าการอำเภอโดยนางรุ่งอรุณเป็นผู้พิมพ์หรือทำขึ้นที่โรงพยาบาลโดยนายธนิตเป็นผู้พิมพ์ ทั้งผู้ร้องมิได้นำนางรุ่งอรุณมาเบิกความให้เห็นข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่น นอกจากนี้ยังได้ความจากนายจักรกฤษ พยานผู้ร้องเบิกความตอบคำถามค้านของทนายผู้คัดค้านอีกว่าในวันที่มีการทำพินัยกรรมนั้นพินัยกรรมไม่ได้ระบุให้ผู้ร้องและนายเพลือง เป็นผู้รับประโยชน์ แต่พินัยกรรมระบุให้บุคคลทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดก ซึ่งในข้อนี้ก็ขัดกับพินัยกรรมที่ระบุว่าให้ยกทรัพย์สินให้แก่ผู้ร้องและนายเพลืองและให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ซึ่งหากนายจักรกฤษเป็นพยานในพินัยกรรมจริงนายจักรกฤษย่อมต้องทราบความประสงค์ของผู้ตายในพินัยกรรม เมื่อพยานผู้ร้องเบิกความแตกต่างกันเช่นนี้ ข้อความที่ว่าใครเป็นผู้ทำพินัยกรรมหรือเป็นผู้รู้เห็นในขณะผู้ตายทำพินัยกรรมจึงขัดแย้งกัน ด้วยเหตุนี้พยานหลักฐานของผู้ร้องในประเด็นนี้จึงไม่มีน้ำหนักไม่น่าเชื่อถือ เพราะถ้านายธนิตอ่านข้อความในพินัยกรรมให้ผู้ตายฟังต่อหน้าพยานที่ระบุในพินัยกรรมจริง นายจักรกฤษซึ่งเป็นพยานในพินัยกรรมและนายญาติซึ่งเป็นพยานคนหนึ่งก็คงต้องคัดค้านเป็นแน่ เมื่อพิเคราะห์ตามรูปคดีและพยานหลักฐานของผู้ร้องที่นำสืบมาทำให้มีเหตุผลน่าเชื่อได้ว่าพินัยกรรมนี้ไม่ได้ทำต่อหน้าพยาน 2 คน จึงเป็นพินัยกรรมที่ทำขึ้นขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1658 (1) และส่งผลให้พินัยกรรมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1705 และเห็นว่าการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลนั้น ศาลย่อมใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงความเหมะสมเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกด้วย ถึงแม้ผู้ร้องจะไม่เป็นบุคคลต้องห้ามในการเป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 ก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าผู้ร้องนำพินัยกรรมซึ่งเป็นโมฆะมายื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกในคดีนี้ย่อมทำให้เป็นที่หวาดระแวงแก่ผู้คัดค้านและทายาทอื่นในการรักษาผลประโยชน์ในทรัพย์สินให้แก่ทายาทของเจ้ามรดก ผู้ร้องจึงไม่เหมาะสมในการเป็นผู้จัดการมรดกในคดีนี้ เมื่อวินิจฉัยดังนี้แล้วก็ไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาข้ออื่นของผู้ร้องอีกต่อไป ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของผู้ร้องฟังไม่ขึ้น”

          พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ        




คดีมรดก ร้องศาลตั้งผู้จัดการมรดก

พินัยกรรมของผู้ตายที่ห้ามโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตกเป็นโมฆะ, ข้อห้ามในพินัยกรรมเป็นโมฆะ, ผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม
ถอนผู้จัดการมรดก, การปันมรดกเสร็จสิ้นแล้ว, การจัดการศาลจ้าวไม่เป็นมรดก, ศาลจ้าวใต้เซียฮุดโจ๊วเป็นกุศลสถาน
ที่ดินของรัฐ มรดกของผู้ตาย, ที่ดินนิคมสหกรณ์, สิทธิทำประโยชน์ในที่ดิน, สิทธิเหนือพื้นดิน, การเพิกถอนโฉนดที่ดิน,
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทในกองมรดก, การเพิกถอนนิติกรรมในทรัพย์มรดก, การขายทรัพย์มรดกเพื่อชำระหนี้, ผู้จัดการมรดกกับสิทธิและหน้าที่
มรดกตกทอด, การเพิกถอนการสละมรดก, อายุความในการฟ้องคดีมรดก, สิทธิเรียกร้องแทนลูกหนี้
หนังสือแต่งตั้งผู้รับโอนประโยชน์ในเงินทุนเรือนหุ้นของสหกรณ์ไม่ถือเป็นพินัยกรรม, เงินสงเคราะห์สมาชิกสหกรณ์, สิทธิผู้รับโอนประโยชน์ในเงินสงเคราะห์
นิติกรรมซื้อขายที่ดินซึ่งเป็นคนต่างด้าว, คดีมรดกที่ดินของคนต่างด้าว, อายุความคดีมรดก, การยักยอกทรัพย์มรดก
พินัยกรรมยกมรดกให้พี่น้องร่วมบิดามารดา, สิทธิของผู้สืบสันดานในการรับมรดกแทนที่, การฟ้องเรียกค่าเช่าจากทรัพย์สินมรดก
การกำจัดทายาทมิให้รับมรดก, สิทธิรับมรดกของผู้สืบสันดานเมื่อทายาทถูกกำจัด, การเพิกถอนนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์มรดก
เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดก, การฟ้องแบ่งมรดกของผู้ตาย, การยกอายุความในคดีมรดก, สินสมรสและสินส่วนตัวในกองมรดก
ผู้จัดการมรดกและการโอนทรัพย์มรดก, พินัยกรรมด้วยวาจา ป.พ.พ. มาตรา 1663, การครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาท
สิทธิทายาทในมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง, ทายาทตายก่อนแบ่งมรดก, รับมรดกแทนที่ มาตรา 1639,
สิทธิการฟ้องขอแบ่งมรดกของทายาท, การเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินมรดก, สินสมรสหลังคู่สมรสเสียชีวิต
สัญญาประกันชีวิต, สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก, ผู้ทำประกันชีวิตและผู้รับผลประโยชน์ตายพร้อมกัน
การจัดการหนี้สินในกองมรดก, สิทธิของเจ้าหนี้กองมรดก, ที่ดินมรดกและการบังคับคดี
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดก
ผู้จัดการมรดกปฏิบัติผิดหน้าที่-ทายาทผู้มีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกได้
ผู้จัดการมรดกร่วมถึงแก่ความตายต้องทำอย่างไร, ฟ้องซ้อน คืออะไร, แต่งตั้งผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่เพียงทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป
ทายาทฟ้องทายาทให้แบ่งทรัพย์มรดก
การจัดการทรัพย์มรดกในฐานะผู้จัดการมรดกตามหน้าที่ที่จำเป็น
คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกปิดบังทรัพย์มรดกมีผลอย่างไร
ทายาทมิได้ฟ้องเรียกร้องมรดกภายใน 1 ปี
ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ผู้มีส่วนได้เสีย
สามีไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้จัดการมรดกได้
ทรัพย์มรดกยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาททุกคน-การจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้น
บุคคลผู้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มีผลอย่างไร?
ฟ้องผู้จัดการมรดกนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงเกินห้าปีขาดอายุความ
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลถูกเพิกถอนได้
อายุความคดีมรดก เจ้าหนี้ฟ้องคดีมรดกเกินหนึ่งปี
คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก
บุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย
บุตรนอกกฎหมายซึ่งผู้ตายรับรองแล้วเป็นผู้สืบสันดาน
มารดาขายที่ดินซึ่งผู้เยาว์มีส่วนแบ่งไม่ต้องขอศาล
นายอำเภอคือผู้มีอำนาจจัดทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
ความรับผิดของผู้จัดการมดกภายหลังการเสียชีวิต
ผู้จัดการมรดกร่วมนำทรัพย์มรดกหาประโยชน์แก่ตน
ผู้สืบสันดาน คือใคร? ต่างกับทายาท อย่างไร?
คู่สมรสและการแบ่งมรดกของคู่สมรส | การสมรสเป็นโมฆะ
อายุความคดีมรดก และอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก
เหตุอันจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก
การปันมรดกเสร็จสิ้นลงแล้วการถอนผู้จัดการมรดกย่อมพ้นกำหนดเวลา
สามีมิได้จดทะเบียนสมรสไม่ถือเป็นทายาทของภริยาผู้ตาย
อำนาจหน้าที่จัดการศพพระภิกษุผู้มรณภาพไม่มีทรัพย์สิน
สามีไม่จดทะเบียนสมรสขอถอนผู้จัดการมรดก มีกรรมสิทธิ์รวม
ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะทำหน้าที่ผู้จัดการมรดก
อำนาจฟ้องขอแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตาย
ทายาททุกคนมอบหมายให้ครอบครองที่ดินแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วม
ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามมาตรา 1300
ทายาทโดยธรรมย่อมมีสิทธิเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์มรดกตามส่วนที่จะพึงได้
สิทธิรับมรดกที่ยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาห้ามยกเป็นข้อต่อสู้ผู้รับโอนโดยสุจริต
การจัดการมรดกและผู้จัดการมรดก, สินสมรสและสินส่วนตัวในคดีมรดก, อายุความคดีมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733
ผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก
ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์มรดกเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความแล้ว
ผู้คัดค้านไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการขอจัดการมรดก
ทายาทมีส่วนเท่ากันออกค่าใช้จ่ายจัดการทำศพ
ความเหมาะสมในการเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น
สิทธิของบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายในการรับมรดกของบุตรนอกกฎหมาย
หนังสือสัญญาแบ่งมรดกตกเป็นโมฆะหรือไม่?
อำนาจและหน้าที่ในการจัดการทำศพและลำดับก่อนหลัง
พินัยกรรมมีเงื่อนไขบังคับก่อน
ผู้จัดการมรดกฟ้องแทนทายาทโดยธรรมอื่น
คู่สมรสที่จดทะเบียนหย่าแล้วเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่
การสละมรดกมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายจึงขาดความเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
แม้กองมรดกมีผู้จัดการมรดกแล้วทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้อง
บุตรนอกสมรสและบิดานอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดกต่อกันอย่างไร
ผู้จัดการมรดก | ทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดกเรียกให้เจ้าของรวมส่งมอบโฉนดที่ดิน
การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลงอายุความ 5 ปียังไม่เริ่มนับ
สิทธิรับมรดกก่อนหลัง
คำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ
อายุความฟ้องคดีแพ่งอันเนื่องจากคดียักยอกทรัพย์มรดก
เมื่อแบ่งมรดกเสร็จแล้วความเป็นทายาทสิ้นสุดลง-อายุความมรดก
การแบ่งมรดกที่ดินมือเปล่าไม่มีเอกสารสิทธิ
คดีมรดกต้องเป็นคดีที่ทายาทด้วยกันพิพาทกันเรื่องสิทธิในส่วนแบ่งมรดก
ขอให้ศาลสั่งถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ความรับผิดของผู้ตาย
แสดงบัญชีเครือญาติเป็นเท็จปิดบังจำนวนทายาท
อายุความคดีมรดกสะดุดหยุดลง การแบ่งทรัพย์มรดกไม่ชอบ
ไม่มีกฎหมายบังคับให้ฟ้องเอาทรัพย์มรดกจากทายาทอื่นที่ครอบครองแทนใน 1 ปี
สัญญาว่าจ้างติดตามทรัพย์กองมรดกเรียกส่วนแบ่งเป็นโมฆะ
คดีฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมปลอมและถูกกำจัดมิให้รับมรดก
โจทก์ฟ้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปี
ผู้จัดการมรดกแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันฟังคำสั่งศาล
คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกอายุความ 5 ปี
การแจ้งการเกิดของเด็กในทะเบียนคนเกิดเองว่าเป็นบุตรของตน
ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
การที่จะเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนทายาทอื่น
พินัยกรรมเอกสารลับทำผิดแบบเป็นโมฆะ
การจัดการมรดกไม่ชอบไม่อาจถือว่าการจัดการมรดกสิ้นลงแล้ว