ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




พินัยกรรมของผู้ตายที่ห้ามโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตกเป็นโมฆะ, ข้อห้ามในพินัยกรรมเป็นโมฆะ, ผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม

เพิ่มเพื่อนไลน์แชทกับทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

ปรึกษากฎหมายทางแชทไลน์

พินัยกรรมของผู้ตายที่ห้ามโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตกเป็นโมฆะ, ข้อห้ามในพินัยกรรมเป็นโมฆะ, ผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม

*ศาลฎีกาตัดสินข้อกำหนดในพินัยกรรมที่ขัดต่อเจตนารมณ์กฎหมายมรดกให้เป็นโมฆะ ที่ดินตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมตามกฎหมาย เนื่องจากไม่สามารถจำกัดสิทธิการโอนกรรมสิทธิ์ของทายาทได้

*นายสถาพรถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2550 โดยมีพินัยกรรมลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2538 ศาลชั้นต้นตั้งจำเลยทั้งสามเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม และตั้งโจทก์ที่ 1 กับนายณรงค์วิทย์เป็นผู้จัดการมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมเพื่อจัดการทรัพย์สินนอกพินัยกรรมตามคำสั่งศาล

*ข้อกำหนดในพินัยกรรมของผู้ตายที่ห้ามโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินขัดต่อกฎหมายมรดกและตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1706 (3) โดยที่ดินทั้งสี่แปลงตกทอดแก่โจทก์ทั้งสองในฐานะทายาทโดยธรรม 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887/2559

เมื่อบุคคลใดตายทรัพย์มรดกของบุคคลนั้นย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยผลของกฎหมาย การที่จะมีข้อกำหนดในพินัยกรรมห้ามมิให้จำหน่ายจ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น ย่อมมีผลทำให้มรดกของผู้ตายยังเป็นทรัพย์สินของผู้ตายอยู่ ไม่ตกทอดไปยังทายาทดังที่กฎหมายว่าด้วยมรดกกำหนดไว้ ซึ่งผิดเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยมรดก ข้อกำหนดนั้นย่อมตกเป็นโมฆะ ไม่อาจใช้บังคับได้

*ส่วนข้อความในพินัยกรรมที่ว่า หากการใดไม่สามารถปฏิบัติได้เพราะมีข้อจำกัด หรือข้อห้ามของกฎหมาย ให้ผู้จัดการมรดกร่วมกันพิจารณาหาวิธีดำเนินการให้เป็นไปตามความประสงค์ของผู้ทำพินัยกรรมมากที่สุดเท่าที่กระทำได้ เป็นข้อกำหนดที่ให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดกำหนดให้มากน้อยเท่าใดตามแต่ใจ มิใช่เป็นการให้ผู้จัดการมรดกหาวิธีดำเนินการตามความประสงค์ของผู้ตายโดยการตั้งมูลนิธิ ทั้งในพินัยกรรมไม่มีข้อกำหนดที่ทำขึ้นโดยให้บุคคลใดตกอยู่ในภาระติดพันที่จะก่อตั้งมูลนิธิได้ และมิใช่จะสั่งจัดสรรทรัพย์สินไว้โดยตรงเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1676 ข้อกำหนดในพินัยกรรมดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1706 (3)

เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมเกี่ยวกับที่ดินทั้งสี่แปลงตกเป็นโมฆะ ถือว่าผู้ทำพินัยกรรมมิได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินทั้งสี่แปลงให้แก่ผู้ใด ที่ดินทั้งสี่แปลงจึงตกทอดแก่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทโดยธรรม

 

คำพิพากษาศาลฎีกา 1887/2559,พินัยกรรมโมฆะ,กฎหมายมรดกไทย,ทายาทโดยธรรม,ข้อกำหนดในพินัยกรรมผิดกฎหมาย,การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมรดก,บทบัญญัติมาตรา 1599,ข้อห้ามในพินัยกรรม,การฟ้องร้องเกี่ยวกับมรดก,ผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม,

 

****โจทก์ทั้งสองฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามในฐานะผู้จัดการมรดกร่วมกันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 7758 ตำบลคลองเตย อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้างบ้านเลขที่ 6 และ 6/1 ซอยสันตินฤมาน ถนนสุขุมวิท 30 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ที่ดินโฉนดเลขที่ 128291 ตำบลคลองเตย อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้างบ้านเลขที่ 3/1 และ 5 ซอยบรรสารหรือบรรณสาร ถนนสุขุมวิท 28 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร และที่ดินโฉนดเลขที่ 59726 ตำบลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน (ตลาดใหม่) จังหวัดสมุทรสาคร (นครไชยศรี) ถนนเพชรเกษม พร้อมสิ่งปลูกสร้างตึกแถว 4 ชั้น เลขที่ (74/235) จำนวน 1 คูหา พร้อมทั้งส่งมอบดอกผลของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวทั้งหมดให้แก่โจทก์ทั้งสองโดยปลอดภาระติดพันใด ๆ ทั้งสิ้น หากจำเลยทั้งสามไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาจำเลยทั้งสามและหรือแทนคนใดคนหนึ่ง โดยให้จำเลยทั้งสามส่งมอบโฉนดที่ดินทั้งสามโฉนดข้างต้นแก่โจทก์ทั้งสองไปดำเนินการเอง

จำเลยทั้งสามให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามในฐานะผู้จัดการมรดกทรัพย์สินของเจ้ามรดกตามพินัยกรรมร่วมกันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 7758 เลขที่ดิน 4401 หน้าสำรวจ 781 ตำบลคลองเตย อำเภอพระโขนง จังหวัดกรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้างบ้านเลขที่ 6 และ 6/1 ซอยสันตินฤมาน ถนนสุขุมวิท 30 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร กับที่ดินโฉนดเลขที่ 128291 เลขที่ดิน 4400 หน้าสำรวจ 4704 ตำบลคลองเตย อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้างบ้านเลขที่ 3/1 และ 5 ซอยบรรสารหรือบรรณสาร ถนนสุขุมวิท 28 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร และที่ดินโฉนดเลขที่ 59726 เลขที่ดิน 231 หน้าสำรวจ 7953 ตำบลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน (ตลาดใหม่) จังหวัดสมุทรสาคร (นครไชยศรี) ถนนเพชรเกษม พร้อมสิ่งปลูกสร้างตึกแถว 4 ชั้น เลขที่ 74/235 จำนวน 1 คูหา แก่โจทก์ทั้งสองโดยปลอดภาระติดพันใด ๆ หากจำเลยทั้งสามไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสาม โดยให้จำเลยทั้งสามส่งมอบโฉนดที่ดินทั้งสามโฉนดข้างต้นแก่โจทก์ทั้งสองไปดำเนินการเอง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

จำเลยที่ 2 อุทธรณ์

ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ที่ 1 ถึงแก่ความตาย นายประโพธ ผู้ร้องที่ 1 และนางชุลี ผู้ร้องที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของโจทก์ที่ 1 ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาต

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

จำเลยที่ 2 ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า นายสถาพร ผู้ตายถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2550 โดยผู้ตายทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองฉบับลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2538 จำเลยทั้งสามยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นให้ตั้งจำเลยทั้งสามเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย โจทก์ทั้งสองยื่นคำคัดค้าน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งจำเลยทั้งสามเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมมีหน้าที่จัดการทรัพย์มรดกของผู้ตายตามพินัยกรรม และตั้งโจทก์ที่ 1 กับนายณรงค์วิทย์ ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมมีหน้าที่จัดการทรัพย์มรดกของผู้ตายนอกพินัยกรรมตามคำสั่งคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 8102/2551 ของศาลชั้นต้น

คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ว่า ข้อกำหนดตามพินัยกรรมของผู้ตายเป็นโมฆะหรือไม่ เห็นว่า ข้อความตามพินัยกรรมดังกล่าวข้อ 1 ระบุว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 7758 ตำบลคลองเตย อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้างบ้านเลขที่ 6 และ 6/1 ซอยสันตินฤมาน ถนนสุขุมวิท 30 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ที่ดินโฉนดเลขที่ 128291 ตำบลคลองเตย อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้างบ้านเลขที่ 3/1 และ 5 ซอยบรรสารหรือบรรณสาร ถนนสุขุมวิท 28 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ที่ดินโฉนดเลขที่ 26060 ตำบลนาเกลือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี พร้อมสิ่งปลูกสร้างตึกแถว 1 คูหา และที่ดินโฉนดเลขที่ 44282 ตำบลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน (ตลาดใหม่) จังหวัดสมุทรสาคร (นครไชยศรี) ถนนเพชรเกษม พร้อมสิ่งปลูกสร้างตึกแถว 4 ชั้น 1 คูหา ห้ามมิให้จำหน่ายจ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น ให้ผู้จัดการมรดกดำเนินการให้เช่าบ้าน และที่ดินรวมทั้งสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ ในที่ดินดังกล่าว เงินค่าเช่าที่ได้รับทั้งหมดแบ่งออกเป็นสองส่วนเท่ากัน ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท" มาตรา 1603 บัญญัติว่า "กองมรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยสิทธิตามกฎหมายหรือโดยพินัยกรรม ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมายเรียกว่า "ทายาทโดยธรรม" ทายาทที่มีสิทธิตามพินัยกรรมเรียกว่า "ผู้รับพินัยกรรม" จะเห็นได้ว่า เมื่อบุคคลใดตายทรัพย์มรดกของบุคคลนั้นย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยผลของกฎหมาย การที่จะมีข้อกำหนดในพินัยกรรมห้ามมิให้จำหน่ายจ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น ย่อมมีผลทำให้มรดกของผู้ตายยังเป็นทรัพย์สินของผู้ตายอยู่ ไม่ตกทอดไปยังทายาท ดังที่กฎหมายว่าด้วยมรดกกำหนดไว้ ซึ่งผิดเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยมรดก ข้อกำหนดนั้นย่อมตกเป็นโมฆะ ไม่อาจใช้บังคับได้ ส่วนข้อความในพินัยกรรมข้อ 6 ที่ว่า หากการใดไม่สามารถปฏิบัติได้เพราะมีข้อจำกัด หรือข้อห้ามของกฎหมาย ให้ผู้จัดการมรดกร่วมกันพิจารณาหาวิธีดำเนินการให้เป็นไปตามความประสงค์ของผู้ทำพินัยกรรมมากที่สุดเท่าที่กระทำได้ จะเห็นได้ว่าข้อกำหนดในพินัยกรรมข้อ 6 เป็นข้อกำหนดที่ให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดกำหนดให้มากน้อยเท่าใดตามแต่ใจ มิใช่เป็นการให้ผู้จัดการมรดกหาวิธีดำเนินการตามความประสงค์ของผู้ตายโดยการตั้งมูลนิธิ ทั้งในพินัยกรรมไม่มีข้อกำหนดที่ทำขึ้นโดยให้บุคคลใดตกอยู่ในภาระติดพันที่จะก่อตั้งมูลนิธิได้ และมิใช่จะสั่งจัดสรรทรัพย์สินไว้โดยตรงเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง ตามบทบัญญัติมาตรา 110 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1676 ข้อกำหนดในพินัยกรรมดังกล่าวตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1706 (3) เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมเกี่ยวกับที่ดินทั้งสี่แปลงตกเป็นโมฆะ ถือว่าผู้ทำพินัยกรรมมิได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินทั้งสี่แปลงให้แก่ผู้ใด ที่ดินทั้งสี่แปลงจึงตกทอดแก่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทโดยธรรม ซึ่งโจทก์ทั้งสองระบุในคำฟ้องว่า ปัจจุบันคงเหลือที่ดินโฉนดเลขที่ 7758 ตำบลคลองเตย อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ที่ดินโฉนดเลขที่ 128291 ตำบลคลองเตย อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้าง และที่ดินโฉนดเลขที่ 44282 ตำบลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน (ตลาดใหม่) จังหวัดสมุทรสาคร (นครไชยศรี) ถนนเพชรเกษม พร้อมสิ่งปลูกสร้าง และมีคำขอบังคับให้โอนที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวแล้ว ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสามในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งสามแปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่โจทก์ทั้งสองนั้นจึงชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยที่ 2 ทุกประการฟังไม่ขึ้น

อนึ่ง ที่โจทก์ทั้งสองอ้างในคำแก้ฎีกาว่า จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจยื่นฟ้องฎีกา เพราะมิได้กระทำร่วมกันกับจำเลยอื่นซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกนั้น เห็นว่า ในชั้นอุทธรณ์โจทก์ทั้งสองก็ได้ทำคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ว่า จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจยื่นฟ้องอุทธรณ์เพราะมิได้กระทำร่วมกันกับจำเลยอื่นซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกเช่นกัน แต่ศาลอุทธรณ์มิได้หยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย แม้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีไม่จำต้องฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แต่หากโจทก์ทั้งสองยังติดใจในปัญหาที่ศาลอุทธรณ์มิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยดังกล่าว โจทก์ทั้งสองก็ชอบที่จะยกขึ้นกล่าวในคำแก้ฎีกาคัดค้านถึงข้อที่ศาลอุทธรณ์มิได้หยิบยกปัญหานั้นขึ้นวินิจฉัยว่าไม่ชอบอย่างไรด้วยเหตุผลใด ที่ถูกต้องเป็นอย่างไร แต่โจทก์ทั้งสองคงเพียงแต่กล่าวถึงโดยคัดลอกมาจากคำแก้อุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสอง โดยไม่ได้โต้แย้งการไม่วินิจฉัยในปัญหาตามคำแก้อุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองดังกล่าว คำแก้ฎีกาของโจทก์ทั้งสองในข้อนี้จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

คำถามที่ 1:

ข้อกำหนดในพินัยกรรมที่ห้ามจำหน่ายจ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนทรัพย์สินมรดกของผู้ตายขัดต่อกฎหมายหรือไม่?

คำตอบ:

ข้อกำหนดในพินัยกรรมที่ห้ามมิให้จำหน่ายจ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนทรัพย์สินมรดกของผู้ตายขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยมรดก เนื่องจากทรัพย์สินมรดกจะต้องตกทอดแก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 และ 1603 ดังนั้น ข้อกำหนดดังกล่าวจึงเป็นโมฆะตามมาตรา 1706 (3)

คำถามที่ 2:

เหตุใดศาลจึงพิพากษาให้ผู้จัดการมรดกโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ทั้งสอง?

คำตอบ:

เนื่องจากข้อกำหนดในพินัยกรรมเกี่ยวกับที่ดินตกเป็นโมฆะ ที่ดินดังกล่าวจึงไม่ตกเป็นทรัพย์สินตามพินัยกรรม แต่ตกทอดแก่โจทก์ทั้งสองในฐานะทายาทโดยธรรม ศาลจึงพิพากษาให้ผู้จัดการมรดกดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้แก่โจทก์โดยชอบตามกฎหมาย. 

 

 




คดีมรดก ร้องศาลตั้งผู้จัดการมรดก

ถอนผู้จัดการมรดก, การปันมรดกเสร็จสิ้นแล้ว, การจัดการศาลจ้าวไม่เป็นมรดก, ศาลจ้าวใต้เซียฮุดโจ๊วเป็นกุศลสถาน
ที่ดินของรัฐ มรดกของผู้ตาย, ที่ดินนิคมสหกรณ์, สิทธิทำประโยชน์ในที่ดิน, สิทธิเหนือพื้นดิน, การเพิกถอนโฉนดที่ดิน,
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทในกองมรดก, การเพิกถอนนิติกรรมในทรัพย์มรดก, การขายทรัพย์มรดกเพื่อชำระหนี้, ผู้จัดการมรดกกับสิทธิและหน้าที่
มรดกตกทอด, การเพิกถอนการสละมรดก, อายุความในการฟ้องคดีมรดก, สิทธิเรียกร้องแทนลูกหนี้
หนังสือแต่งตั้งผู้รับโอนประโยชน์ในเงินทุนเรือนหุ้นของสหกรณ์ไม่ถือเป็นพินัยกรรม, เงินสงเคราะห์สมาชิกสหกรณ์, สิทธิผู้รับโอนประโยชน์ในเงินสงเคราะห์
นิติกรรมซื้อขายที่ดินซึ่งเป็นคนต่างด้าว, คดีมรดกที่ดินของคนต่างด้าว, อายุความคดีมรดก, การยักยอกทรัพย์มรดก
พินัยกรรมยกมรดกให้พี่น้องร่วมบิดามารดา, สิทธิของผู้สืบสันดานในการรับมรดกแทนที่, การฟ้องเรียกค่าเช่าจากทรัพย์สินมรดก
การกำจัดทายาทมิให้รับมรดก, สิทธิรับมรดกของผู้สืบสันดานเมื่อทายาทถูกกำจัด, การเพิกถอนนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์มรดก
เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดก, การฟ้องแบ่งมรดกของผู้ตาย, การยกอายุความในคดีมรดก, สินสมรสและสินส่วนตัวในกองมรดก
ผู้จัดการมรดกและการโอนทรัพย์มรดก, พินัยกรรมด้วยวาจา ป.พ.พ. มาตรา 1663, การครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาท
สิทธิทายาทในมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง, ทายาทตายก่อนแบ่งมรดก, รับมรดกแทนที่ มาตรา 1639,
สิทธิการฟ้องขอแบ่งมรดกของทายาท, การเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินมรดก, สินสมรสหลังคู่สมรสเสียชีวิต
สัญญาประกันชีวิต, สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก, ผู้ทำประกันชีวิตและผู้รับผลประโยชน์ตายพร้อมกัน
การจัดการหนี้สินในกองมรดก, สิทธิของเจ้าหนี้กองมรดก, ที่ดินมรดกและการบังคับคดี
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดก
ผู้จัดการมรดกปฏิบัติผิดหน้าที่-ทายาทผู้มีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกได้
ผู้จัดการมรดกร่วมถึงแก่ความตายต้องทำอย่างไร, ฟ้องซ้อน คืออะไร, แต่งตั้งผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่เพียงทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป
ทายาทฟ้องทายาทให้แบ่งทรัพย์มรดก
การจัดการทรัพย์มรดกในฐานะผู้จัดการมรดกตามหน้าที่ที่จำเป็น
คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกปิดบังทรัพย์มรดกมีผลอย่างไร
ทายาทมิได้ฟ้องเรียกร้องมรดกภายใน 1 ปี
ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ผู้มีส่วนได้เสีย
สามีไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้จัดการมรดกได้
ทรัพย์มรดกยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาททุกคน-การจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้น
บุคคลผู้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มีผลอย่างไร?
ฟ้องผู้จัดการมรดกนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงเกินห้าปีขาดอายุความ
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลถูกเพิกถอนได้
อายุความคดีมรดก เจ้าหนี้ฟ้องคดีมรดกเกินหนึ่งปี
คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก
บุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย
บุตรนอกกฎหมายซึ่งผู้ตายรับรองแล้วเป็นผู้สืบสันดาน
มารดาขายที่ดินซึ่งผู้เยาว์มีส่วนแบ่งไม่ต้องขอศาล
นายอำเภอคือผู้มีอำนาจจัดทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
ความรับผิดของผู้จัดการมดกภายหลังการเสียชีวิต
ผู้จัดการมรดกร่วมนำทรัพย์มรดกหาประโยชน์แก่ตน
ผู้สืบสันดาน คือใคร? ต่างกับทายาท อย่างไร?
คู่สมรสและการแบ่งมรดกของคู่สมรส | การสมรสเป็นโมฆะ
อายุความคดีมรดก และอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก
เหตุอันจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก
การปันมรดกเสร็จสิ้นลงแล้วการถอนผู้จัดการมรดกย่อมพ้นกำหนดเวลา
สามีมิได้จดทะเบียนสมรสไม่ถือเป็นทายาทของภริยาผู้ตาย
อำนาจหน้าที่จัดการศพพระภิกษุผู้มรณภาพไม่มีทรัพย์สิน
สามีไม่จดทะเบียนสมรสขอถอนผู้จัดการมรดก มีกรรมสิทธิ์รวม
ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะทำหน้าที่ผู้จัดการมรดก
อำนาจฟ้องขอแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตาย
ทายาททุกคนมอบหมายให้ครอบครองที่ดินแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วม
ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามมาตรา 1300
ทายาทโดยธรรมย่อมมีสิทธิเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์มรดกตามส่วนที่จะพึงได้
สิทธิรับมรดกที่ยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาห้ามยกเป็นข้อต่อสู้ผู้รับโอนโดยสุจริต
การจัดการมรดกและผู้จัดการมรดก, สินสมรสและสินส่วนตัวในคดีมรดก, อายุความคดีมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733
ผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก
ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์มรดกเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความแล้ว
ผู้คัดค้านไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการขอจัดการมรดก
ทายาทมีส่วนเท่ากันออกค่าใช้จ่ายจัดการทำศพ
ความเหมาะสมในการเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น
สิทธิของบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายในการรับมรดกของบุตรนอกกฎหมาย
หนังสือสัญญาแบ่งมรดกตกเป็นโมฆะหรือไม่?
อำนาจและหน้าที่ในการจัดการทำศพและลำดับก่อนหลัง
พินัยกรรมมีเงื่อนไขบังคับก่อน
ผู้จัดการมรดกฟ้องแทนทายาทโดยธรรมอื่น
คู่สมรสที่จดทะเบียนหย่าแล้วเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่
การสละมรดกมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายจึงขาดความเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
แม้กองมรดกมีผู้จัดการมรดกแล้วทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้อง
พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองไม่ได้ทำต่อหน้าพยานตกเป็นโมฆะ
บุตรนอกสมรสและบิดานอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดกต่อกันอย่างไร
ผู้จัดการมรดก | ทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดกเรียกให้เจ้าของรวมส่งมอบโฉนดที่ดิน
การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลงอายุความ 5 ปียังไม่เริ่มนับ
สิทธิรับมรดกก่อนหลัง
คำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ
อายุความฟ้องคดีแพ่งอันเนื่องจากคดียักยอกทรัพย์มรดก
เมื่อแบ่งมรดกเสร็จแล้วความเป็นทายาทสิ้นสุดลง-อายุความมรดก
การแบ่งมรดกที่ดินมือเปล่าไม่มีเอกสารสิทธิ
คดีมรดกต้องเป็นคดีที่ทายาทด้วยกันพิพาทกันเรื่องสิทธิในส่วนแบ่งมรดก
ขอให้ศาลสั่งถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ความรับผิดของผู้ตาย
แสดงบัญชีเครือญาติเป็นเท็จปิดบังจำนวนทายาท
อายุความคดีมรดกสะดุดหยุดลง การแบ่งทรัพย์มรดกไม่ชอบ
ไม่มีกฎหมายบังคับให้ฟ้องเอาทรัพย์มรดกจากทายาทอื่นที่ครอบครองแทนใน 1 ปี
สัญญาว่าจ้างติดตามทรัพย์กองมรดกเรียกส่วนแบ่งเป็นโมฆะ
คดีฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมปลอมและถูกกำจัดมิให้รับมรดก
โจทก์ฟ้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปี
ผู้จัดการมรดกแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันฟังคำสั่งศาล
คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกอายุความ 5 ปี
การแจ้งการเกิดของเด็กในทะเบียนคนเกิดเองว่าเป็นบุตรของตน
ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
การที่จะเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนทายาทอื่น
พินัยกรรมเอกสารลับทำผิดแบบเป็นโมฆะ
การจัดการมรดกไม่ชอบไม่อาจถือว่าการจัดการมรดกสิ้นลงแล้ว