ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




พินัยกรรมมีเงื่อนไขบังคับก่อน

ทำพินัยกรรมมีเงื่อนไขยกที่ดินและบ้านให้โจทก์ให้สิทธิเก็บกินตลอดชีวิตแก่จำเลย

เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกบ้านและที่ดินให้โจทก์โดยระบุว่าจำเลยมีสิทธิอยู่อาศัยและสิทธิเก็บกินได้ตลอดชีวิต เมื่อจำเลยตายให้บ้านและที่ดินตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ เป็นพินัยกรรมที่มีเงื่อนไขบังคับก่อน จำเลยครอบครองบ้านและที่ดินแทนโจทก์ จะยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้ เพราะกฎหมายรับรองสิทธิของบุคคลที่จะยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้ก็แต่เฉพาะบุคคลซึ่งเป็นทายาทหรือบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาทหรือโดยผู้จัดการมรดกเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7199/2552

   ตามข้อกำหนดในพินัยกรรมเขียนเองระบุว่า เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายแล้วบ้านและที่ดินพิพาทนั้น เจ้ามรดกขอยกให้สิทธิอยู่อาศัยและสิทธิเก็บกินแก่จำเลยมีอำนาจครอบครองและเก็บกินได้จนตลอดชีวิต แต่ถ้าจำเลยถึงแก่ความตายลงเมื่อใดแล้ว ให้บ้านและที่ดินดังกล่าวนี้ตกเป็นกรรมสิทธิ์โดยสมบูรณ์แก่บุตรที่เกิดจาก ฉ. ทุกคน โดยให้บุตรของ ฉ. ทุกคนมีส่วนกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินดังกล่าวนี้เท่ากัน ข้อกำหนดในพินัยกรรมดังกล่าว เจ้ามรดกมิได้ยกกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย เพียงแต่ให้สิทธิอยู่อาศัยและเก็บกินตลอดชีวิตแก่จำเลยเท่านั้น สิทธิของจำเลยในฐานะผู้รับพินัยกรรมก็มีเพียงตามที่กำหนดไว้ในพินัยกรรมเท่านั้น ส่วนกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินพิพาทจะต้องตกทอดได้แก่โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นบุตรของ ฉ. เมื่อจำเลยถึงแก่ความตายแล้วตามเงื่อนไขบังคับก่อนที่ผู้ทำพินัยกรรมระบุให้พินัยกรรมมีผลบังคับให้เรียกร้องกันได้ภายหลังตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1673 ประกอบมาตรา 1674 วรรคสอง จึงต้องถือว่านับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายและข้อกำหนดในพินัยกรรมเฉพาะส่วนของจำเลยมีผลนั้นก็มีผลเพียงให้จำเลยมีสิทธิอยู่อาศัยและเก็บกินในบ้านและที่ดินพิพาทจนตลอดชีวิตของจำเลยเท่านั้น จึงต้องถือว่าจำเลยครอบครองบ้านและที่ดินพิพาทแทนโจทก์ทั้งสามผู้รับพินัยกรรมซึ่งมีเงื่อนไขบังคับก่อนและเงื่อนไขนั้นยังไม่สำเร็จเท่านั้น จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งสามได้ ทั้งนี้เพราะมาตรา 1755 รับรองสิทธิของบุคคลที่จะยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้ก็แต่เฉพาะบุคคลซึ่งเป็นทายาทหรือบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาทหรือโดยผู้จัดการมรดกเท่านั้น

          จำเลยไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำขอรับมรดกบ้านและที่ดินพิพาทมาเป็นของตน เนื่องจากบ้านและที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกที่เจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมระบุยกให้แก่โจทก์ทั้งสามแล้ว เพียงแต่เงื่อนไขบังคับก่อนที่กำหนดให้บ้านและที่ดินพิพาทตกทอดได้แก่โจทก์ทั้งสามยังไม่สำเร็จเพราะจำเลยยังไม่ถึงแก่ความตายเท่านั้น บ้านและที่ดินพิพาทจึงมิใช่ทรัพย์นอกพินัยกรรมอันจะตกทอดแก่จำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1620

    โจทก์ทั้งสามฟ้องว่า โจทก์ทั้งสามเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายฉัตรชัย นายฉัตรชัยเป็นบุตรของนางแฉล้ม เจ้ามรดก เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2519 นางแฉล้มทำพินัยกรรมยกบ้านเลขที่ 106/6 ซอยมหาดไทย 1 ถนนลาดพร้าว พร้อมที่ดินโฉนดเลขที่ 29172 ตำบลวังทองหลาง (คลองจั่น) อำเภอบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ให้จำเลยมีสิทธิอยู่อาศัยและเก็บกินตลอดชีวิต แต่ถ้าจำเลยถึงแก่ความตายเมื่อใดให้บ้านและที่ดินดังกล่าวตกเป็นกรรมสิทธิ์โดยสมบูรณ์แก่บุตรที่เกิดจากนายฉัตรชัยเท่ากันทุกคนนับแต่นางแฉล้มถึงแก่ความตาย โจทก์ทั้งสามและจำเลยได้ร่วมกันครอบครองอาศัยในบ้านและที่ดินดังกล่าวตลอดมาโดยจำเลยครอบครองแทนโจทก์ทั้งสาม วันที่ 2 มกราคม 2524 จำเลยบอกนายฉัตรชัยและนายชื่นฉันท์ บุตรของนางแฉล้มว่าจะไปขอรับมรดกในส่วนของเงินฝากซึ่งอยู่ในธนาคารตามที่นางแฉล้มได้ทำพินัยกรรมระบุไว้ในข้อ 2 ว่ายกให้จำเลยนายฉัตรชัยและนายชื่นฉันท์จึงทำหนังสือสละมรดกมอบให้จำเลยเพื่อนำไปยื่นต่อธนาคาร ในวันเดียวกันนั้นจำเลยนำเอกสารดังกล่าวไปยื่นต่อเจ้าพนักงานที่ดินขอรับโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 29172 พร้อมบ้านเลขที่ 106/6 ในฐานะทายาทโดยธรรมโดยอ้างว่าเจ้ามรดกไม่ได้ทำพินัยกรรม เจ้าพนักงานที่ดินหลงเชื่อจึงได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2544 โจทก์ทั้งสามได้ไปขอตรวจสอบโฉนดที่ดินจึงทราบเรื่องราวดังกล่าว ขอให้บังคับจำเลยเพิกถอนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์บ้านเลขที่ 106/6 ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นเลขที่ 38 พร้อมที่ดินโฉนดเลขที่ 29172 ซอยมหาดไทย 1 แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง (บางกะปิ) กรุงเทพมหานคร จากที่มีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ให้กลับสู่สภาพเดิม หากไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา

  จำเลยให้การว่า จำเลยไม่ได้ครอบครองบ้านและที่ดินตามฟ้องแทนโจทก์ทั้งสาม ภายหลังนางแฉล้มมารดาจำเลยซึ่งเป็นเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย จำเลยได้ไปจดทะเบียนรับโอนมรดกบ้านและที่ดินดังกล่าวมาเป็นของตนเองโดยนายฉัตรชัยและนายชื่นฉันท์ซึ่งเป็นพี่น้องของจำเลยได้สละมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมโดยความสมัครใจมิใช่จำเลยหลอกลวงให้นายฉัตรชัยและนายชื่นฉันท์สละมรดก โจทก์ทั้งสามได้เข้ามาพักอาศัยในบ้านและที่ดินพิพาทในฐานะผู้อาศัยโดยโจทก์ที่ 1 ได้ย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาอยู่ในบ้านดังกล่าว เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2536 ซึ่งขณะนั้นโจทก์ที่ 1 อายุ 25 ปี สำหรับโจทก์ที่ 2 ได้แจ้งย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาอยู่อาศัยในบ้านดังกล่าวเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2540 ซึ่งขณะนั้นโจทก์ที่ 2 มีอายุ 27 ปี ส่วนโจทก์ที่ 3 ได้แจ้งย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาอยู่อาศัยในบ้านดังกล่าวเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2533 ซึ่งขณะนั้นโจทก์ที่ 3 มีอายุ 17 ปี นับแต่นางแฉล้มเจ้ามรดกถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2523 จำเลยได้เข้าครอบครองและเข้าอาศัยในบ้านและที่ดินพิพาทดังกล่าวในฐานะเป็นเจ้าของตลอดมา โดยได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทในฐานะทายาทโดยธรรม ซึ่งเป็นผู้รับมรดกของนางแฉล้มเจ้ามรดกมาเป็นชื่อจำเลยตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2524 และจำเลยได้แจ้งย้ายทะเบียนบ้านมาอยู่ในทะเบียนบ้านดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2528 และได้ครอบครองอยู่อาศัยในบ้านและที่ดินดังกล่าวในฐานะเจ้าของมาจนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 20 ปี การที่โจทก์ทั้งสามฟ้องเรียกทรัพย์มรดกบ้านและที่ดินดังกล่าวในฐานะทายาทโดยพินัยกรรมของนางแฉล้มเจ้ามรดกภายหลังจากที่นางแฉล้มถึงแก่ความตายเกินกว่า 10 ปีแล้ว สิทธิเรียกร้องของโจทก์ทั้งสามจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ขอให้ยกฟ้อง

          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยไปจดทะเบียนเพิกถอนการโอนมรดกที่ดินโฉนดเลขที่ 29172 ตำบลวังทองหลาง (คลองจั่น) อำเภอบางกะปิ กรุงเทพมหานคร พร้อมบ้านเลขที่ 38 (106/6) ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินดังกล่าวกลับมาเป็นชื่อนางแฉล้ม หากไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งสาม โดยกำหนดค่าทนายความ 7,500 บาท

          จำเลยอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับเป็นว่า ให้ยกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ

          โจทก์ทั้งสามฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับกันฟังได้เป็นยุติในเบื้องต้นว่า นางแฉล้มเจ้ามรดกมีบุตรสามคน คือ นายฉัตรชัย นายชื่นฉันท์ และจำเลย ส่วนโจทก์ทั้งสามเป็นบุตรของนายฉัตรชัย เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2519 นางแฉล้มได้ทำพินัยกรรมแบบเขียนด้วยมือตนเองทั้งฉบับไว้ตามหนังสือพินัยกรรมเขียนเอง เอกสารหมาย จ.3 มีข้อความแสดงเจตนาเผื่อตายว่า เมื่อนางแฉล้มถึงแก่ความตายแล้ว ให้บรรดาทรัพย์สินที่มีอยู่แล้วหรือที่จะเกิดมีขึ้นอีกในภายหน้าตกทอดได้แก่บุคคลต่าง ๆ โดยมีสาระสำคัญอยู่ในพินัยกรรม ข้อ 1 และ ข้อ 2 ซึ่งมีข้อความดังนี้

          “ข้อ 1. บ้านเลขที่ 106/6 ซึ่งตั้งอยู่ในที่ดินโฉนดหมายเลขที่ 29172 และเลขที่ดิน 1543 ในซอยมหาดไทย 1 ถนนลาดพร้าว ตำบลวังทองหลาง (คลองจั่น) เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ 100 ตารางวา นั้น เมื่อข้าพเจ้าตายแล้ว ขอยกทั้งตัวบ้านและที่ดินดังกล่าวแล้วข้างต้นนี้ ให้สิทธิอยู่อาศัยและสิทธิเก็บกินแก่นางชูโฉม ให้มีอำนาจเข้าครอบครองและเก็บกินได้จนตลอดชีวิตของนางชูโฉม แต่ถ้านางชูโฉมได้ถึงแก่ความตายลงเมื่อใดแล้วต้องให้บ้านและที่ดินที่กล่าวนี้ตกเป็นกรรมสิทธิ์โดยสมบูรณ์แก่ลูกที่เกิดจากนายฉัตรชัย ซึ่งเป็นบุตรชายของข้าพเจ้านั้น ถ้านายฉัตรชัย มีลูกกี่คนก็ตามก็ให้ได้รับกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินที่กล่าวนี้ร่วมกันทุก ๆ คน โดยมีส่วนกรรมสิทธิ์เท่ากันทุกคนด้วย

          ข้อ 2. เงินของข้าพเจ้าที่มีอยู่ในธนาคารทั้งสิ้น ซึ่งข้าพเจ้าได้ให้เป็นสินส่วนตัวแก่นางชูโฉม ไว้ใช้สอยเพียงตลอดเวลาที่นางชูโฉม ยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น แต่ถ้านางชูโฉมตายก่อนข้าพเจ้าเมื่อใด ต้องให้เงินที่ข้าพเจ้าได้ให้ไว้เป็นสินส่วนตัวแก่นางชูโฉม นั้น กลับมาเป็นกรรมสิทธิ์ของข้าพเจ้าทันที ถ้าหากข้าพเจ้าตายก่อนแล้วนางชูโฉม ตายลงภายหลังและถ้าเงินสินส่วนตัวที่ข้าพเจ้าให้ไว้นั้นยังใช้สอยไม่หมด ยังมีเหลืออยู่เท่าใดก็ต้องให้เงินสินส่วนตัวที่เหลืออยู่นั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่หลานของข้าพเจ้าซึ่งเป็นลูกที่เกิดจากบุตรชายของข้าพเจ้าคือ ลูกของนายฉัตรชัย ทุกคนกับลูกของนายชื่นฉันท์ ทุกคน ซึ่งจะมีทั้งหมดกี่คนก็ตามให้ได้รับกรรมสิทธิ์เงินที่ข้าพเจ้าได้ให้เป็นสินส่วนตัวแก่นางชูโฉม ที่เหลืออยู่ในธนาคาร เมื่อนางชูโฉม ตายแล้วนั้นนำมาแบ่งเฉลี่ยให้หลานของข้าพเจ้าเท่า ๆ กันทุกคนด้วย ตามที่ข้าพเจ้าได้มีบันทึกเงื่อนไขต่อท้ายบัญชีเงินฝากแนบติดไว้ ซึ่งได้มอบให้ผู้จัดการธนาคารที่รับฝากเงินนั้นเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐานด้วยแล้ว”

          หลังจากที่นางแฉล้มเจ้ามรดกถึงแก่ความตายแล้ว จำเลยได้นำหนังสือบอกสละมรดกของนายฉัตรชัยและนายชื่นฉันท์ไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อขอให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทตามพินัยกรรมเป็นของจำเลย และได้ความตามถ้อยคำสำนวนในคดีด้วยว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทในชั้นชี้สองสถานว่า บ้านและที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสามหรือของจำเลย และคดีโจทก์ทั้งสามขาดอายุความหรือไม่ และศาลชั้นต้นได้พิจารณาและวินิจฉัยคดีตามประเด็นพิพาทที่กำหนดไว้ดังกล่าวข้างต้นว่า ตามข้อกำหนดในพินัยกรรมจำเลยไม่มีสิทธิจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทมาเป็นของตน และจำเลยครอบครองบ้านและที่ดินพิพาทแทนโจทก์ทั้งสาม จำเลยไม่มีสิทธิยกอายุความมรดกขึ้นยันโจทก์ทั้งสามได้ จึงพิพากษาให้โจทก์ทั้งสามเป็นฝ่ายชนะคดี แต่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีเพียงประเด็นเดียวว่า โจทก์ทั้งสามมิได้ใช้สิทธิเรียกร้องตามข้อกำหนดในพินัยกรรมโดยปล่อยเวลาให้ล่วงพ้นไปนับแต่นางแฉล้มถึงแก่ความตายเกิน 10 ปี แล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 จำเลยเป็นทายาทของเจ้ามรดกย่อมยกอายุความตามบทบัญญัติดังกล่าวขึ้นต่อสู้ได้ จึงพิพากษากลับให้ยกฟ้อง คดีจึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ทั้งสามว่า คดีโจทก์ทั้งสามขาดอายุความแล้วหรือไม่ เห็นว่า ตามข้อกำหนดในพินัยกรรมเขียนเองเอกสารหมาย จ.3 ข้อ 1. มีข้อความระบุไว้ชัดแจ้งว่า เมื่อนางแฉล้มเจ้ามรดกถึงแก่ความตายแล้วบ้านและที่ดินพิพาทคือบ้านเลขที่ 106/6 ซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 29172 เลขที่ดิน 1543 ซอยมหาดไทย 1 ถนนลาดพร้าว ตำบลวังทองหลาง (คลองจั่น) เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 100 ตารางวา นั้น เจ้ามรดกขอยกให้สิทธิอยู่อาศัยและสิทธิเก็บกินแก่จำเลยมีอำนาจครอบครองและเก็บกินได้จนตลอดชีวิต แต่ถ้าจำเลยถึงแก่ความตายลงเมื่อใดแล้ว ให้บ้านและที่ดินดังกล่าวนี้ตกเป็นกรรมสิทธิ์โดยสมบูรณ์แก่บุตรที่เกิดจากนายฉัตรชัยทุกคน โดยให้บุตรของนายฉัตรชัยทุกคนมีส่วนกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินดังกล่าวนี้เท่ากัน ซึ่งจะเห็นได้ว่า ข้อกำหนดในพินัยกรรมดังกล่าว เจ้ามรดกมิได้ยกกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย เพียงแต่ให้สิทธิอยู่อาศัยและเก็บกินตลอดชีวิตแก่จำเลยเท่านั้น โดยเหตุนี้เมื่อนางแฉล้มผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตาย สิทธิของจำเลยในฐานะผู้รับพินัยกรรมซึ่งเกิดมีขึ้นตามกฎหมายก็มีเพียงตามที่กำหนดไว้ในพินัยกรรมว่าให้จำเลยมีเพียงสิทธิอยู่อาศัยและเก็บกินในบ้านและที่ดินพิพาทได้ตลอดชีวิตเท่านั้น ส่วนกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินพิพาทจะต้องตกทอดได้ตลอดชีวิตเท่านั้น ส่วนกรรมสิทธิในบ้านและที่ดินพิพาทจะต้องตกทอดได้แก่โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นบุตรของนายฉัตรชัยเมื่อจำเลยถึงแก่ความตายแล้วตามเงื่อนไขบังคับก่อนที่นางแฉล้มผู้ทำพินัยกรรมระบุให้พินัยกรรมมีผลบังคับให้เรียกร้องกันได้ภายหลัง ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1673 ประกอบมาตรา 1674 วรรคสอง กรณีจึงต้องถือว่านับแต่นางแฉล้มเจ้ามรดกถึงแก่ความตายและข้อกำหนดในพินัยกรรมเฉพาะส่วนของจำเลยมีผลนั้นก็มีผลเพียงให้จำเลยมีสิทธิอยู่อาศัยและเก็บกินในบ้านและที่ดินพิพาทจนตลอดชีวิตของจำเลยเท่านั้น จึงต้องถือว่าจำเลยครอบครองบ้านและที่ดินพิพาทแทนโจทก์ทั้งสามผู้รับพินัยกรรมซึ่งมีเงื่อนไขบังคับก่อนและเงื่อนไขนั้นยังไม่สำเร็จเท่านั้น จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งสามได้ ทั้งนี้เพราะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1755 รับรองสิทธิของบุคคลที่จะยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้ก็แต่เฉพาะบุคคลซึ่งเป็นทายาทหรือบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาทหรือโดยผู้จัดการมรดกเท่านั้น จำเลยครอบครองบ้านและที่ดินทรัพย์มรดกแทนโจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นทายาท จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งสามได้ ที่จำเลยอ้างว่า คดีของโจทก์ทั้งสามขาดอายุความฟังไม่ขึ้น เมื่อผลแห่งการวินิจฉัยในประเด็นเรื่องอายุความเป็นดังนี้ คดีจึงมีประเด็นพิพาทตามอุทธรณ์ของจำเลยประการต่อมาว่า บ้านและที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสามหรือของจำเลยซึ่งศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยมา แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียทีเดียวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยก่อน โดยประเด็นข้อนี้ เห็นว่า ไม่ว่าข้อเท็จจริงจะเป็นดังที่จำเลยกล่าวอ้างในอุทธรณ์ว่านายฉัตรชัยและนายชื่อฉันท์ต่างเต็มใจและสมัครใจไม่ขอรับมรดกอันเป็นการสละมรดกและไม่คัดค้านการยื่นขอรับมรดกของจำเลยหรือไม่ก็ตาม จำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำขอรับมรดกบ้านและที่ดินพิพาทมาเป็นของตนได้ เนื่องจากบ้านและที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกที่นางแฉล้มเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมระบุยกให้แก่โจทก์ทั้งสามแล้วเพียงแต่เงื่อนไขบังคับก่อนที่กำหนดให้บ้านและที่ดินพิพาทตกทอดได้แก่โจทก์ทั้งสามยังไม่สำเร็จเพราะจำเลยยังไม่ถึงแก่ความตายเท่านั้น บ้านและที่ดินพิพาทจึงมิใช่ทรัพย์นอกพินัยกรรมอันจะตกทอดแก่จำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1620 ได้ ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยไม่มีสิทธิจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทมาเป็นของตนนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา”

          พิพากษากลับให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ
 
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1673 สิทธิและหน้าที่ใด ๆ อันเกิดขึ้นตามพินัยกรรมให้ มีผลบังคับเรียกร้องกันได้ตั้งแต่ผู้ทำพินัยกรรมตายเป็นต้นไป เว้นแต่ ผู้ทำพินัยกรรมจะได้กำหนดเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาให้มีผลบังคับเรียก ร้องกันได้ภายหลัง

มาตรา 1674 ถ้าข้อกำหนดพินัยกรรมมีเงื่อนไข และเงื่อนไขนั้น สำเร็จเสียก่อนเวลาที่ผู้ทำพินัยกรรมตาย หากว่าเป็นเงื่อนไขบังคับ ก่อนข้อกำหนดพินัยกรรมนั้นมีผลเมื่อผู้ทำพินัยกรรมตาย หากว่าเป็น เงื่อนไขบังคับหลัง ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้นเป็นอันไร้ผล
ถ้าเงื่อนไขบังคับก่อนสำเร็จภายหลังที่ผู้ทำพินัยกรรมตาย ข้อ กำหนดพินัยกรรมมีผลตั้งแต่เวลาเงื่อนไขสำเร็จ
ถ้าเงื่อนไขบังคับหลังสำเร็จภายหลังที่ผู้ทำพินัยกรรมตาย ข้อ กำหนดพินัยกรรมมีผลตั้งแต่เวลาที่ผู้ทำพินัยกรรมตาย แต่ตกเป็น อันไร้ผลในเมื่อเงื่อนไขนั้นสำเร็จ
แต่ถ้าผู้ทำพินัยกรรมได้กำหนดไว้ในพินัยกรรมว่า ในกรณีที่กล่าวมาในสองวรรคก่อนนั้น ให้ความสำเร็จแห่งเงื่อนไขมีผลย้อนหลังไป ถึงเวลาที่ผู้ทำพินัยกรรมตาย ก็ให้เป็นไปตามเจตนาของผู้ทำพินัยกรรม นั้น

มาตรา 1620 ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ หรือทำพินัยกรรม ไว้แต่ไม่มีผลบังคับได้ ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของ ผู้ตายนั้นตามกฎหมาย
ถ้าผู้ใดตายโดยได้ทำพินัยกรรมไว้ แต่พินัยกรรมนั้นจำหน่ายทรัพย์หรือ มีผลบังคับได้แต่เพียงบางส่วนแห่งทรัพย์มรดก ให้ปันส่วนที่มิได้จำหน่าย โดยพินัยกรรม หรือส่วนที่พินัยกรรมไม่มีผลบังคับให้แก่ทายาทโดยธรรม ตามกฎหมาย

มาตรา 1755 อายุความหนึ่งปีนั้น จะยกขึ้นต่อสู้ได้ก็แต่โดยบุคคล ซึ่งเป็นทายาท หรือบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาท หรือโดยผู้จัดการมรดก               




คดีมรดก ร้องศาลตั้งผู้จัดการมรดก

พินัยกรรมของผู้ตายที่ห้ามโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตกเป็นโมฆะ, ข้อห้ามในพินัยกรรมเป็นโมฆะ, ผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม
ถอนผู้จัดการมรดก, การปันมรดกเสร็จสิ้นแล้ว, การจัดการศาลจ้าวไม่เป็นมรดก, ศาลจ้าวใต้เซียฮุดโจ๊วเป็นกุศลสถาน
ที่ดินของรัฐ มรดกของผู้ตาย, ที่ดินนิคมสหกรณ์, สิทธิทำประโยชน์ในที่ดิน, สิทธิเหนือพื้นดิน, การเพิกถอนโฉนดที่ดิน,
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทในกองมรดก, การเพิกถอนนิติกรรมในทรัพย์มรดก, การขายทรัพย์มรดกเพื่อชำระหนี้, ผู้จัดการมรดกกับสิทธิและหน้าที่
มรดกตกทอด, การเพิกถอนการสละมรดก, อายุความในการฟ้องคดีมรดก, สิทธิเรียกร้องแทนลูกหนี้
หนังสือแต่งตั้งผู้รับโอนประโยชน์ในเงินทุนเรือนหุ้นของสหกรณ์ไม่ถือเป็นพินัยกรรม, เงินสงเคราะห์สมาชิกสหกรณ์, สิทธิผู้รับโอนประโยชน์ในเงินสงเคราะห์
นิติกรรมซื้อขายที่ดินซึ่งเป็นคนต่างด้าว, คดีมรดกที่ดินของคนต่างด้าว, อายุความคดีมรดก, การยักยอกทรัพย์มรดก
พินัยกรรมยกมรดกให้พี่น้องร่วมบิดามารดา, สิทธิของผู้สืบสันดานในการรับมรดกแทนที่, การฟ้องเรียกค่าเช่าจากทรัพย์สินมรดก
การกำจัดทายาทมิให้รับมรดก, สิทธิรับมรดกของผู้สืบสันดานเมื่อทายาทถูกกำจัด, การเพิกถอนนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์มรดก
เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดก, การฟ้องแบ่งมรดกของผู้ตาย, การยกอายุความในคดีมรดก, สินสมรสและสินส่วนตัวในกองมรดก
ผู้จัดการมรดกและการโอนทรัพย์มรดก, พินัยกรรมด้วยวาจา ป.พ.พ. มาตรา 1663, การครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาท
สิทธิทายาทในมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง, ทายาทตายก่อนแบ่งมรดก, รับมรดกแทนที่ มาตรา 1639,
สิทธิการฟ้องขอแบ่งมรดกของทายาท, การเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินมรดก, สินสมรสหลังคู่สมรสเสียชีวิต
สัญญาประกันชีวิต, สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก, ผู้ทำประกันชีวิตและผู้รับผลประโยชน์ตายพร้อมกัน
การจัดการหนี้สินในกองมรดก, สิทธิของเจ้าหนี้กองมรดก, ที่ดินมรดกและการบังคับคดี
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดก
ผู้จัดการมรดกปฏิบัติผิดหน้าที่-ทายาทผู้มีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกได้
ผู้จัดการมรดกร่วมถึงแก่ความตายต้องทำอย่างไร, ฟ้องซ้อน คืออะไร, แต่งตั้งผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่เพียงทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป
ทายาทฟ้องทายาทให้แบ่งทรัพย์มรดก
การจัดการทรัพย์มรดกในฐานะผู้จัดการมรดกตามหน้าที่ที่จำเป็น
คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกปิดบังทรัพย์มรดกมีผลอย่างไร
ทายาทมิได้ฟ้องเรียกร้องมรดกภายใน 1 ปี
ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ผู้มีส่วนได้เสีย
สามีไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้จัดการมรดกได้
ทรัพย์มรดกยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาททุกคน-การจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้น
บุคคลผู้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มีผลอย่างไร?
ฟ้องผู้จัดการมรดกนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงเกินห้าปีขาดอายุความ
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลถูกเพิกถอนได้
อายุความคดีมรดก เจ้าหนี้ฟ้องคดีมรดกเกินหนึ่งปี
คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก
บุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย
บุตรนอกกฎหมายซึ่งผู้ตายรับรองแล้วเป็นผู้สืบสันดาน
มารดาขายที่ดินซึ่งผู้เยาว์มีส่วนแบ่งไม่ต้องขอศาล
นายอำเภอคือผู้มีอำนาจจัดทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
ความรับผิดของผู้จัดการมดกภายหลังการเสียชีวิต
ผู้จัดการมรดกร่วมนำทรัพย์มรดกหาประโยชน์แก่ตน
ผู้สืบสันดาน คือใคร? ต่างกับทายาท อย่างไร?
คู่สมรสและการแบ่งมรดกของคู่สมรส | การสมรสเป็นโมฆะ
อายุความคดีมรดก และอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก
เหตุอันจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก
การปันมรดกเสร็จสิ้นลงแล้วการถอนผู้จัดการมรดกย่อมพ้นกำหนดเวลา
สามีมิได้จดทะเบียนสมรสไม่ถือเป็นทายาทของภริยาผู้ตาย
อำนาจหน้าที่จัดการศพพระภิกษุผู้มรณภาพไม่มีทรัพย์สิน
สามีไม่จดทะเบียนสมรสขอถอนผู้จัดการมรดก มีกรรมสิทธิ์รวม
ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะทำหน้าที่ผู้จัดการมรดก
อำนาจฟ้องขอแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตาย
ทายาททุกคนมอบหมายให้ครอบครองที่ดินแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วม
ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามมาตรา 1300
ทายาทโดยธรรมย่อมมีสิทธิเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์มรดกตามส่วนที่จะพึงได้
สิทธิรับมรดกที่ยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาห้ามยกเป็นข้อต่อสู้ผู้รับโอนโดยสุจริต
การจัดการมรดกและผู้จัดการมรดก, สินสมรสและสินส่วนตัวในคดีมรดก, อายุความคดีมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733
ผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก
ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์มรดกเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความแล้ว
ผู้คัดค้านไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการขอจัดการมรดก
ทายาทมีส่วนเท่ากันออกค่าใช้จ่ายจัดการทำศพ
ความเหมาะสมในการเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น
สิทธิของบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายในการรับมรดกของบุตรนอกกฎหมาย
หนังสือสัญญาแบ่งมรดกตกเป็นโมฆะหรือไม่?
อำนาจและหน้าที่ในการจัดการทำศพและลำดับก่อนหลัง
ผู้จัดการมรดกฟ้องแทนทายาทโดยธรรมอื่น
คู่สมรสที่จดทะเบียนหย่าแล้วเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่
การสละมรดกมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายจึงขาดความเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
แม้กองมรดกมีผู้จัดการมรดกแล้วทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้อง
พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองไม่ได้ทำต่อหน้าพยานตกเป็นโมฆะ
บุตรนอกสมรสและบิดานอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดกต่อกันอย่างไร
ผู้จัดการมรดก | ทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดกเรียกให้เจ้าของรวมส่งมอบโฉนดที่ดิน
การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลงอายุความ 5 ปียังไม่เริ่มนับ
สิทธิรับมรดกก่อนหลัง
คำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ
อายุความฟ้องคดีแพ่งอันเนื่องจากคดียักยอกทรัพย์มรดก
เมื่อแบ่งมรดกเสร็จแล้วความเป็นทายาทสิ้นสุดลง-อายุความมรดก
การแบ่งมรดกที่ดินมือเปล่าไม่มีเอกสารสิทธิ
คดีมรดกต้องเป็นคดีที่ทายาทด้วยกันพิพาทกันเรื่องสิทธิในส่วนแบ่งมรดก
ขอให้ศาลสั่งถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ความรับผิดของผู้ตาย
แสดงบัญชีเครือญาติเป็นเท็จปิดบังจำนวนทายาท
อายุความคดีมรดกสะดุดหยุดลง การแบ่งทรัพย์มรดกไม่ชอบ
ไม่มีกฎหมายบังคับให้ฟ้องเอาทรัพย์มรดกจากทายาทอื่นที่ครอบครองแทนใน 1 ปี
สัญญาว่าจ้างติดตามทรัพย์กองมรดกเรียกส่วนแบ่งเป็นโมฆะ
คดีฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมปลอมและถูกกำจัดมิให้รับมรดก
โจทก์ฟ้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปี
ผู้จัดการมรดกแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันฟังคำสั่งศาล
คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกอายุความ 5 ปี
การแจ้งการเกิดของเด็กในทะเบียนคนเกิดเองว่าเป็นบุตรของตน
ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
การที่จะเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนทายาทอื่น
พินัยกรรมเอกสารลับทำผิดแบบเป็นโมฆะ
การจัดการมรดกไม่ชอบไม่อาจถือว่าการจัดการมรดกสิ้นลงแล้ว