ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ผู้สืบสันดาน คือใคร? ต่างกับทายาท อย่างไร?

ผู้สืบสันดาน

ผู้สืบสันดาน คือใคร? ต่างกับทายาท อย่างไร?

ในทางกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 บัญญัติว่า "ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่งต่อไปนี้ คือ
(1)  ผู้สืบสันดาน
(2)  บิดามารดา
(3)  พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(4)  พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
(5)  ปู่ ย่า ตา ยาย
(6)  ลุง ป้า น้า อา
คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635"

คำว่า "ทายาท" กับทายาทโดยธรรม มีความหมายเหมือนกัน แต่ทายาทแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ทายาทโดยธรรม และทายาทตามพินัยกรรม ซึ่งตามมาตรา 1629 ข้างต้นเริ่มด้วย ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น ซึ่งบัญญัติลำดับในการรับมรดกก่อนหลังไว้ตามอนุมาตรา (1) ถึง อนุมาตรา (6) และในอนุมาตรา (1) คือ ผู้สืบสันดาน ดังนั้นจึงพอทราบกันว่าทายาทโดยธรรมคือใครบ้างจะเป็นคนอื่นนอกเหนือจากบุคคล 6 ลำดับข้างต้นไม่ได้

สำหรับทายาทตามพินัยกรรม ก็คือบุคคลที่เจ้ามรดกระบุชื่อให้มีสิทธิรับมรดกตามพินัยกรรมซึ่งผู้ตายทำไว้ก่อนเสียชีวิต ทายาทตามพินัยกรรมอาจเป็นบุคคลที่ไม่มีความเกี่ยวข้องตามสายเลือดก็ได้ไม่จำเป็นต้องเป็นบุคคล 6 ลำดับตามมาตรา 1629 ก็ได้    

มาตรา 1631  ในระหว่างผู้สืบสันดานต่างชั้นกันนั้น บุตรของเจ้ามรดกอันอยู่ในชั้นสนิทที่สุดเท่านั้นมีสิทธิรับมรดก ผู้สืบสันดานที่อยู่ในชั้นถัดลงไปจะรับมรดกได้ก็แต่โดยอาศัยสิทธิในการรับมรดกแทนที่

ตามมาตรา 1631 กล่าวถึง ผู้สืบสันดานต่างชั้นกัน หมายความว่าอย่างไร? เมื่อพิจารณาข้อความถัดไปที่ระบุว่า บุตรของเจ้ามรดกอันอยู่ในชั้นสนิทที่สุด หรือพูดอีกแบบหนึ่งว่า ผู้สืบสันดานของเจ้ามรดกอันอยู่ในชั้นสนิทที่สุด ก็จะเข้าใจความหมายของคำว่า ผู้สืบสันดานได้ดียิ่งขึ้น กล่าวคือ ผู้สืบสันดานก็คือ บุตรของผู้ตาย หรือบุตรของบุตรของผู้ตาย (ลูกของลูก) และถัดลงไปเรื่อย ๆ จนไม่ขาดสาย ดังนั้นคำว่าผู้สืบสันดานต่างชั้นกันคือ ชั้นบุตร กับชั้นบุตรของบุตร ซึ่งต่างก็เป็นผู้สืบสันดานด้วยกันทั้งนั้น แต่กฎหมายกำหนดลำดับชั้นไว้ให้ชั้นผู้สืบสันดานชั้นสนิทที่สุดกับผู้ตายมีสิทธิรับมรดกก่อน ถ้าผู้สืบสันดานชั้นสนิทที่สุดเสียชีวิตก่อนเจ้ามรดกก็ให้ผู้สืบสันดานชั้นถัดลงไป (บุตรของบุตร) เป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายได้ซึ่งกฎหมายเรียกว่า การรับมรดกแทนที่ 

การฟ้องเรียกทรัพย์เป็นของตน หากศาลเห็นว่าโจทก์ควรได้เพียงส่วนแบ่ง ศาลสามารถพิพากษาให้โจทก์ได้รับแต่ส่วนแบ่งนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (2) ทรัพย์มรดกที่เป็นที่ดินโฉนดเลขที่ 22874 และ 60 มีเพียงกึ่งหนึ่งที่ถือเป็นมรดกของผู้ตาย จึงสามารถเพิกถอนเฉพาะส่วนกลับคืนสู่กองมรดกได้

เมื่อผู้ตายเสียชีวิต มรดกตกทอดแก่ทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 แต่จำเลยที่ 1 โอนมรดกทั้งหมดให้ตนเอง รวมถึงให้จำเลยที่ 2 และ 3 ซึ่งไม่ใช่ทายาทผู้มีสิทธิ์ มรดกที่ดินดังกล่าวจึงยังไม่แบ่งปันตามกฎหมาย และจำเลยที่ 1 ถือว่าครอบครองแทนทายาทคนอื่น ไม่สามารถอ้างการครอบครองต่อสู้ได้

จำเลยที่ 1 ในฐานะภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย มีสิทธิในมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 และมาตรา 1635 โดยที่ดินโฉนดเลขที่ 22874 และ 60 เป็นสินสมรส จำเลยที่ 1 มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งรวมสามในสี่ส่วน ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 24990 และ 123 ซึ่งเป็นสินส่วนตัวของผู้ตาย จำเลยที่ 1 มีสิทธิได้รับเพียงกึ่งหนึ่ง

ศาลล่างพิพากษาเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินทั้งหมดไม่ถูกต้อง เนื่องจากปัญหานี้เกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) และมาตรา 252

คำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีก่อนย่อมผูกพันโจทก์และจำเลย
 
สิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยชอบธรรมเป็นสิทธิที่ได้มาโดยผลของกฎหมาย คู่ความในคดีก่อนต่างกล่าวอ้างความเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายเช่นเดียวกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีก่อนได้ถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับ หรืองดเสีย คำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีก่อนย่อมผูกพันโจทก์และจำเลย
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1886/2559
 
โจทก์มิได้ฟ้องโดยขอให้ศาลมีคำพิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้สืบสันดานและเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายอันเป็นคำฟ้องเพื่อขอให้รับรองสิทธิ ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้สืบสันดานและเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายจึงถือได้ว่าเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งที่เกินไปกว่าคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 ซึ่งสิทธิการรับมรดกของผู้ตายในฐานะทายาทโดยชอบธรรมเป็นสิทธิที่ได้มาโดยผลของกฎหมาย แม้ศาลอุทธรณ์จะยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้ แต่ก็มิได้ทำให้สิทธิในการรับมรดกของผู้ตายในฐานะทายาทโดยธรรมที่ได้มาโดยผลของกฎหมายหมดสิ้นไป
 
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย โจทก์โดยนาวาตรีหญิง ร. ผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นผู้คัดค้านที่ 1 เด็กหญิง ม. และเด็กหญิง ฐ. โดย ข. ผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นผู้คัดค้านที่ 2 จำเลยที่ 3 เป็นผู้คัดค้านที่ 3 ส. เป็นผู้คัดค้านที่ 4 จำเลยที่ 2 เป็นผู้คัดค้านที่ 5 จำเลยที่ 4 เป็นผู้คัดค้านที่ 6 จำเลยที่ 6 เป็นผู้คัดค้านที่ 7 และจำเลยที่ 7 เป็นผู้คัดค้านที่ 8 ยื่นคำคัดค้านและขอให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายด้วย ซึ่งโจทก์โดยนาวาตรีหญิง ร. ผู้แทนโดยชอบธรรมซึ่งเป็นผู้คัดค้านที่ 1 และเด็กหญิง ม. กับเด็กหญิง ฐ. โดย ข. ผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นผู้คัดค้านที่ 2 ต่างกล่าวอ้างในคำร้องคัดค้านว่า โจทก์ เด็กหญิง ม. และเด็กหญิง ฐ. ต่างเป็นบุตรนอกกฎหมายที่ผู้ตายรับรองแล้วและต่างเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีว่า โจทก์ เด็กหญิง ม. เด็กหญิง ฐ. จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ที่ 6 และที่ 7 เป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตาย ส. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันกับผู้ตายและเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย จึงมีคำสั่งแต่งตั้งให้จำเลยที่ 1 นาวาตรีหญิง ร. ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ ข. ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรม เด็กหญิง ม. กับเด็กหญิง ฐ. จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ที่ 6 ที่ 7 และ ส. เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกัน แม้คดีนี้จะมิได้เป็นฟ้องซ้อนกับคดีดังกล่าวเพราะโจทก์ในคดีนี้มิใช่โจทก์คนเดียวกันกับคดีดังกล่าวก็ตาม แต่โจทก์ เด็กหญิง ม. เด็กหญิง ฐ. จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ที่ 6 และที่ 7 ซึ่งเป็นคู่ความในคดีดังกล่าว ต่างกล่าวอ้างความเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายเช่นเดียวกัน ส่วนจำเลยที่ 5 แม้จะมิได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าว แต่คำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีดังกล่าวก็เกี่ยวด้วยฐานะความเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของผู้ตายที่มีต่อกองมรดกเช่นเดียวกับคดีนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวได้ถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับ หรืองดเสีย คำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งเจ็ดนับตั้งแต่วันที่ได้มีคำสั่ง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่อาจวินิจฉัยประเด็นเกี่ยวกับความเป็นทายาทโดยธรรมของโจทก์ในคดีนี้ได้อีก เพราะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับประเด็นที่ศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวได้วินิจฉัยไว้แล้ว ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
 
ผู้ตายมีบุตรเป็นทายาทโดยธรรมรวม 10 คน คือ โจทก์ เด็กหญิง ม. เด็กหญิง ฐ. จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และ ส. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์มรดกของผู้ตายกึ่งหนึ่ง ซึ่งแม้ศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวจะมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 1 กับนาวาตรีหญิง ร.ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ ข. ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กหญิง ม. กับเด็กหญิง ฐ. จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ที่ 6 ที่ 7 และ ส. เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกันแล้วก็ตาม แต่ผู้จัดการมรดกทั้งหลายก็ยังคงมีหน้าที่ต้องแบ่งปันทรัพย์มรดกให้เป็นไปตามสิทธิของทายาทโดยธรรมแต่ละคน หากทายาทโดยธรรมคนใดไม่ได้รับหรือได้รับส่วนแบ่งไม่ครบตามสิทธิย่อมมีสิทธิเรียกร้องหรือฟ้องผู้จัดการมรดกหรือทายาทอื่นที่ครอบครองทรัพย์มรดกให้แบ่งแก่ตนได้ และแม้ว่าจะมีเจ้าหนี้ของผู้ตายที่ยังมิได้รับชำระหนี้อยู่ก็ตามเจ้าหนี้นั้นก็ชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้จากทายาทโดยธรรมคนใดหรือผู้จัดการมรดกของผู้ตายก็ได้ แม้ทรัพย์มรดกจะได้แบ่งไปแล้วก็ตาม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1737 และ 1738 การมีผู้จัดการมรดกหรือเจ้าหนี้กองมรดกที่ยังมิได้รับชำระหนี้ จึงมิได้ทำให้สิทธิในการเรียกร้องขอแบ่งทรัพย์มรดกของโจทก์ในฐานะทายาทโดยธรรมเสื่อมเสียไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งเจ็ดขอแบ่งมรดกของผู้ตายได้ ฎีกาของจำเลยที่ 1 ฟังไม่ขึ้น และเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงในคดีหมายเลขดำที่ 8795/2544 หมายเลขแดงที่ 3707/2547 ของศาลชั้นต้นว่า ส. เป็นเจ้าของรวมในทรัพย์มรดกของผู้ตายอยู่ด้วยกึ่งหนึ่งในฐานะเจ้าของรวมที่ทำมาหาได้ร่วมกัน โดยในคดีดังกล่าว โจทก์ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ที่ 6 และที่ 7 ต่างใช้สิทธิร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับ ส. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมิใช่คู่ความในคดีนี้ที่อ้างว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์มรดกของผู้ตายกึ่งหนึ่ง คำวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีดังกล่าวจึงผูกพันทายาทโดยธรรมทุกคนของผู้ตายรวมทั้งโจทก์ที่มีต่อ ส. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ดังนั้น โจทก์ เด็กหญิง ม. เด็กหญิง ฐ. และจำเลยทั้งเจ็ด ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายจึงมีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายกึ่งหนึ่ง ส่วนอีกกึ่งหนึ่งย่อมเป็นของ ส. ในฐานะเจ้าของรวมและแม้ทายาทอื่นจะมิได้เข้ามาเป็นคู่ความหรือมิได้ร้องสอดเข้ามาในคดีนี้ก็ไม่เป็นเหตุให้โจทก์และจำเลยทั้งเจ็ดมีสิทธิได้รับมรดกทั้งหมดเพียง 8 คน แต่โจทก์และจำเลยทั้งเจ็ดคงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งทรัพย์มรดกของผู้ตายเพียงคนละ 1 ใน 10 ส่วน กรณีเช่นนี้มิใช่เป็นการกันส่วนแบ่งทรัพย์มรดกไว้เพื่อทายาทอื่นที่มิได้เป็นคู่ความหรือร้องสอดเข้ามาในคดีอันจะเป็นการต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1749 สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับทรัพย์สินตามฟ้องจึงมีอยู่ 1 ใน 20 ส่วนที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้แบ่งมรดกให้แก่โจทก์ 1 ใน 8 ส่วน ซึ่งเกินไปกว่าส่วนแห่งสิทธิที่โจทก์จะพึงได้จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (2) ประกอบมาตรา 246, 247 (เดิม)
 
โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ส่งมอบและโอนหุ้นของบริษัทแอมเทล กรุ๊ป กรุงเทพ จำกัด บริษัทแอมเทล โฮลดิ้งส์ จำกัด กับให้จำเลยที่ 2 ส่งมอบและโอนหุ้นของบริษัทแอมเทล โฮลดิ้งส์ จำกัด ซึ่งถือแทนผู้ตายคืนแก่กองมรดกของผู้ตาย หากไม่โอนคืนให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 และให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันแบ่งทรัพย์มรดกของผู้ตายตามฟ้องให้แก่โจทก์ 1 ส่วนของทายาททั้งหมดที่มีสิทธิจะได้รับ หากแบ่งไม่ได้ให้นำทรัพย์มรดกออกขายทอดตลาดแล้วนำเงินมาแบ่งให้แก่โจทก์ ให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันชำระเงินอันเป็นผลประโยชน์ กำไร เงินปันผล ของกองมรดกของผู้ตายนับแต่วันที่ผู้ตายถึงแก่ความตายจนถึงวันฟ้องเป็นเงิน 2,016,000,000 บาท และนับถัดจากวันฟ้องไปจนกว่าจะนำเงินผลประโยชน์และผลกำไรดังกล่าวชำระแก่โจทก์ 1 ส่วนของทายาททั้งหมดที่มีสิทธิได้รับ พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ผู้ตายถึงแก่ความตายเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ หากไม่ชำระให้ยึดทรัพย์ของจำเลยทั้งเจ็ดออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระให้แก่โจทก์จนครบถ้วน
 
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ให้การขอให้ยกฟ้อง
 
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า โจทก์เป็นผู้สืบสันดานมีสิทธิได้รับมรดกของนายชวลิต ผู้ตาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 (1) กับให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 30,000 บาท ส่วนค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 กับโจทก์ให้เป็นพับ คำขออื่นให้ยก
 
โจทก์และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันแบ่งรถยนต์ 18 คัน ที่ดิน 3 แปลง หุ้นที่มีชื่อผู้ตายถือหุ้นอยู่ในบริษัท 28 บริษัท และห้างหุ้นส่วนจำกัด 3 ห้างหุ้นส่วน ให้แก่โจทก์ 1 ใน 8 ส่วน ถ้าแบ่งไม่ได้ให้นำรถยนต์ ที่ดินและหุ้นนั้น ออกขายทอดตลาดแบ่งเงินสุทธิให้แก่โจทก์ 1 ใน 8 ส่วน ให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่พิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้สืบสันดานมีสิทธิได้รับมรดกของนายชวลิต ผู้ตาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 (1) นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
โจทก์และจำเลยที่ 1 ฎีกา
 
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์ได้บรรลุนิติภาวะแล้ว ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีด้วยตนเอง ศาลฎีกาอนุญาต
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า จำเลยทั้งเจ็ดเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายกับนางสุนีย์ เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2544 ผู้ตายถึงแก่ความตายโดยมิได้ทำพินัยกรรมหรือตั้งผู้จัดการมรดกไว้ ผู้ตายมีทรัพย์มรดกคือรถยนต์ 18 คัน ที่ดิน 3 แปลง หุ้นของบริษัทที่มีชื่อผู้ตายเป็น ผู้ถือหุ้น 28 บริษัท และห้างหุ้นส่วนจำกัด 3 ห้างหุ้นส่วน โดยจำเลยที่ 1 มีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทแอมเทล กรุ๊ป กรุงเทพ จำกัด และบริษัทแอมเทล โฮลดิ้งส์ จำกัด ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทแอมเทล โฮลดิ้งส์ จำกัด จำเลยที่ 1 เคยยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและโจทก์เป็น ผู้คัดค้านโดยขอให้ตั้งนาวาตรีหญิงเรณู ผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ในขณะนั้นเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ตามคดีหมายเลขดำที่ 8795/2544 ของศาลชั้นต้น โจทก์เรียกร้องส่วนแบ่งในทรัพย์มรดกของผู้ตายจากจำเลยทั้งเจ็ด แต่ไม่สามารถตกลงกันได้
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ก่อนว่า หุ้นของบริษัทแอมเทล กรุ๊ป กรุงเทพ จำกัด และบริษัทแอมเทล โฮลดิ้งส์ จำกัด ที่มีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือหุ้นเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายหรือไม่ และจำเลยทั้งเจ็ดต้องร่วมรับผิดชำระเงินผลประโยชน์ ผลกำไรหรือเงินปันผลของกองมรดกแก่โจทก์หรือไม่ โดยโจทก์ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ถือหุ้นของบริษัทแอมเทล กรุ๊ป กรุงเทพ จำกัด และบริษัทแอมเทล โฮลดิ้งส์ จำกัด ไว้แทนผู้ตายและเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย จำเลยทั้งเจ็ดจึงต้องแบ่งทรัพย์มรดกดังกล่าวและเงินผลประโยชน์ กำไร เงินปันผล ของกองมรดกนับแต่วันที่ผู้ตายถึงแก่ความตายถึงวันฟ้องจำนวน 2,016,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี แก่โจทก์ และที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้สืบสันดานจึงเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายไม่เกินคำขอของโจทก์นั้น โจทก์มีนาวาตรีหญิงเรณู เบิกความว่า ผู้ตายมีทรัพย์สินเป็นหุ้นของบริษัทจำนวน 28 บริษัท และห้างหุ้นส่วน 3 ห้างหุ้นส่วน โดยหุ้นของบริษัทแอมเทล กรุ๊ป กรุงเทพ จำกัด และบริษัทแอมเทล โฮลดิ้งส์ จำกัด ผู้ตายให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือหุ้นแทนกับได้ความตามคำเบิกความของนายอนุศักดิ์ พยานจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 ไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศเป็นเวลานาน ไม่มีสังคมในประเทศไทยและจำเลยที่ 1 เป็นบุตรชายเพียงคนเดียวของผู้ตาย ผู้ตายจะโอนหุ้นของบริษัทให้บุคคลใดเป็นอำนาจการตัดสินใจของผู้ตายเพียงลำพัง นายพงษ์ศักดิ์ พยานจำเลยที่ 1 เบิกความว่า ในบางครั้งหลังจากที่ผู้ตายโอนหุ้นให้แก่บุคคลอื่นแล้ว ก็สามารถที่จะโอนกลับคืนมาได้ หากผู้รับโอนหุ้นประพฤติตนไม่เหมาะสม ในการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นนั้น ผู้ตายจะสั่งให้นายภูษิต เป็นผู้ดำเนินการ และพนักงานในบริษัทจะเรียกผู้ตายว่าท่านประธานเนื่องจากผู้ตายจะเป็นผู้มีอำนาจสั่งการในบริษัทแต่เพียงผู้เดียว แม้ว่าบริษัทดังกล่าวผู้ตายจะถือหุ้นมากหรือน้อยก็ตาม และนายภูษิตพยานจำเลยที่ 1 เบิกความว่า บุตรทุกคนของผู้ตาย หากเข้าช่วยทำงานที่บริษัทแอมเทล กรุ๊ป กรุงเทพ จำกัด ผู้ตายก็จะโอนหุ้นให้บุตรคนนั้น แต่หากมีความประพฤติที่ไม่เหมาะสมผู้ตายก็จะถอนโอนหุ้นกลับคืนมา ในส่วนของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ซึ่งเคยมาช่วยงานและสร้างปัญหาให้แก่ผู้ตาย ผู้ตายได้มอบหมายให้พยานไปถอนโอนหุ้นของบริษัทแอมเทล กรุ๊ป กรุงเทพ จำกัด กลับคืนมาทั้งหมดตั้งแต่ปลายปี 2543 เหลือเพียงจำเลยที่ 1 ที่เข้าช่วยงานผู้ตายเท่านั้น ผู้ตายจึงให้พยานดำเนินการโอนหุ้นให้แก่จำเลยที่ 1 และถึงแม้ว่าในขณะที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้ถือหุ้นร่วมกับผู้ตายและมีอำนาจสั่งการร่วมกับผู้ตายในบริษัท แต่ในการสั่งการในบริษัทส่วนใหญ่ผู้ตายจะเป็นผู้สั่งการเองทั้งหมด เห็นว่า จากคำเบิกความพยานจำเลยที่ 1 ดังกล่าวมา แสดงให้เห็นถึงพฤติการณ์ของผู้ตายที่จะดำเนินการโอนหุ้นของบริษัทให้แก่บุตรที่มาช่วยทำงานในบริษัทเท่านั้น และแม้ผู้ตายจะโอนหุ้นไปให้บุตรคนอื่นแล้ว แต่ผู้ตายก็ยังคงมีอำนาจที่จะโอนหุ้นกลับคืนมาได้หากพบว่าบุตรคนใดมีความประพฤติไม่เหมาะสม และอาจดำเนินการโอนหุ้นไปให้บุตรคนอื่นอีกก็ได้ ดังนั้น หากจำเลยที่ 1 ที่เพิ่งจะเข้ามาช่วยงานผู้ตายได้เพียงประมาณ 1 ปี มีความประพฤติไม่เหมาะสมเช่นเดียวกับบุตรคนอื่นและผู้ตายยังมีชีวิตอยู่ ผู้ตายก็สามารถที่จะดำเนินการโอนหุ้นกลับคืนมาเป็นของผู้ตายได้เช่นเดียวกันกับที่เคยดำเนินการมาแล้วกับบุตรคนอื่น ประกอบกับพฤติการณ์ของผู้ตายที่ถึงแม้จะโอนหุ้นไปให้บุตรคนใดที่มาช่วยงานแล้ว ผู้ตายก็ยังคงมีอำนาจในการสั่งการหรือบริหารงานของบริษัทดังเดิม คำเบิกความพยานจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจึงเจือสมทางนำสืบของโจทก์ และทำให้พยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักรับฟังได้ว่า ผู้ตายมิได้โอนหุ้นหรือยกหุ้นให้เป็นสิทธิเด็ดขาดแก่จำเลยที่ 1 แต่อย่างใด ผู้ตายเพียงแต่โอนหุ้นของบริษัทแอมเทล กรุ๊ป กรุงเทพ จำกัด และบริษัทแอมเทล โฮลดิ้งส์ จำกัด ให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือหุ้นไว้แทนผู้ตายในระหว่างมาช่วยงานบริษัทเท่านั้น ดังนั้น เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย หุ้นของทั้งสองบริษัทจึงเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่า เงินผลประโยชน์ กำไร เงินปันผล ของกองมรดกนับแต่วันที่ผู้ตายถึงแก่ความตายถึงวันฟ้องมีจำนวน 2,016,000,000 บาท นั้น เงินผลประโยชน์ กำไร หรือเงินปันผลดังกล่าว เป็นดอกผลที่เกิดขึ้นหลังจากที่ผู้ตายถึงแก่ความตาย ซึ่งนาวาตรีหญิงเรณูผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์เบิกความตอบทนายจำเลยที่ 4 และที่ 5 ถามค้านว่า พยานไม่ทราบว่าบริษัททั้งหมดตามฟ้องมีผลกำไรหรือขาดทุนอย่างไร ซึ่งนายพงษ์ศักดิ์พยานจำเลยที่ 1 ก็เบิกความในส่วนนี้ว่า พยานได้ตรวจสอบเอกสารที่บริษัทต่าง ๆ ยื่นต่อกรมสรรพากรแล้วพบว่า บริษัทดำเนินกิจการขาดทุนไม่มีผลกำไร จึงถือได้ว่าโจทก์ไม่สามารถนำสืบให้เห็นได้ว่า ทรัพย์มรดกของผู้ตายมีผลประโยชน์ กำไร หรือเงินปันผลตามที่โจทก์กล่าวอ้าง จำเลยทั้งเจ็ดจึงไม่จำต้องรับผิดต่อโจทก์ในส่วนนี้ ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่า ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า โจทก์เป็นผู้สืบสันดานจึงเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายทั้งที่โจทก์มิได้มีคำขอในส่วนนี้ชอบแล้วนั้น เห็นว่า โจทก์มิได้ฟ้องโดยขอให้ศาลมีคำพิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้สืบสันดานและเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายอันเป็นคำฟ้องเพื่อขอให้รับรองสิทธิ ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้สืบสันดานและเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายจึงถือได้ว่าเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งที่เกินไปกว่าคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ซึ่งสิทธิการรับมรดกของผู้ตายในฐานะทายาทโดยชอบธรรมเป็นสิทธิที่ได้มาโดยผลของกฎหมาย แม้ศาลอุทธรณ์จะยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้ แต่ก็มิได้ทำให้สิทธิในการรับมรดกของผู้ตายในฐานะทายาทโดยธรรมที่ได้มาโดยผลของกฎหมายหมดสิ้นไป ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้นบางส่วน
 
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ว่า โจทก์เป็นทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายและมีอำนาจฟ้องขอแบ่งมรดกของผู้ตายหรือไม่ ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า โจทก์ไม่ยอมไปตรวจพิสูจน์เพื่อยืนยันความเป็นบุตรโดยสายเลือดของผู้ตาย ไม่มีพยานเอกสารหรือภาพถ่ายที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์เป็นบุตรผู้ตาย พยานบุคคลก็เบิกความลอย ๆ ไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง ผู้ตายไม่ได้รับรองว่าโจทก์เป็นบุตร โจทก์จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย และโจทก์บรรยายฟ้องว่า ผู้ตายมีทายาทโดยธรรมอีก 2 คน คือ เด็กหญิง ม. และเด็กหญิง ฐ. ซึ่งบุคคลทั้งสองได้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายด้วย คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำนวนทายาทโดยธรรมจึงอาจเปลี่ยนแปลงได้และผู้ตายมีหนี้สินจำนวนมากที่ยังไม่ได้ชำระจึงเป็นการยุ่งยากและยังไม่สมควรในการแบ่งทรัพย์มรดกนั้น เห็นว่า โจทก์จะมีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของผู้ตายตามฟ้องได้ก็ต่อเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า โจทก์เป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตาย เมื่อปรากฏตามทางนำสืบของโจทก์และจำเลยทั้งเจ็ดว่า จำเลยที่ 1 เคยยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเป็นคดีหมายเลขดำที่ 8795/2544 ของศาลชั้นต้นและในคดีนี้ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2548 จำเลยที่ 1 ยื่นคำแถลงการณ์ปิดคดีในชั้นอุทธรณ์ยอมรับว่า คดีดังกล่าวศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์เป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายตามประเด็นที่ได้ตั้งเอาไว้ และเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2552 จำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 ยื่นคำร้องขอให้นำคดีดังกล่าว มารวมการพิจารณาเข้าด้วยกันกับคดีนี้ แม้ศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งไม่อนุญาตก็ตาม แต่ก็ปรากฏตามสำเนาคำสั่งในคดีหมายเลขดำที่ 8795/2544 หมายเลขแดงที่ 3707/2547 ของศาลชั้นต้นว่า จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย โจทก์โดยนาวาตรีหญิงเรณู ผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นผู้คัดค้านที่ 1 เด็กหญิง ม. และเด็กหญิง ฐ. โดยนางเขมิกา ผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นผู้คัดค้านที่ 2 จำเลยที่ 3 เป็นผู้คัดค้านที่ 3 นางสุนีย์ เป็นผู้คัดค้านที่ 4 จำเลยที่ 2 เป็นผู้คัดค้านที่ 5 จำเลยที่ 4 เป็นผู้คัดค้านที่ 6 จำเลยที่ 6 เป็นผู้คัดค้านที่ 7 และจำเลยที่ 7 เป็นผู้คัดค้านที่ 8 ยื่นคำคัดค้านและขอให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายด้วย ซึ่งโจทก์โดยนาวาตรีหญิงเรณู ผู้แทนโดยชอบธรรมซึ่งเป็นผู้คัดค้านที่ 1 และเด็กหญิง ม. กับเด็กหญิง ฐ. โดยนางเขมิกา ผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นผู้คัดค้านที่ 2 ต่างกล่าวอ้างในคำร้องคัดค้านว่า โจทก์ เด็กหญิง ม. และเด็กหญิง ฐ. ต่างเป็นบุตรนอกกฎหมายที่ผู้ตายรับรองแล้วและต่างเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2547 ว่า โจทก์ เด็กหญิง ม. เด็กหญิง ฐ. จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ที่ 6 และที่ 7 เป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตาย นางสุนีย์ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันกับผู้ตายและเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย จึงมีคำสั่งแต่งตั้งให้จำเลยที่ 1 นาวาตรีหญิงเรณูในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ นางเขมิกาในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรม เด็กหญิง ม. กับเด็กหญิง ฐ. จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ที่ 6 ที่ 7 และนางสุนีย์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกัน แม้คดีนี้จะมิได้เป็นฟ้องซ้อนกับคดีดังกล่าวเพราะโจทก์ในคดีนี้มิใช่โจทก์คนเดียวกันกับคดีดังกล่าวดังที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยไว้แล้วก็ตาม แต่โจทก์ เด็กหญิง ม. เด็กหญิง ฐ. จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ที่ 6 และที่ 7 ซึ่งเป็นคู่ความในคดีดังกล่าวต่างกล่าวอ้างความเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายเช่นเดียวกัน ส่วนจำเลยที่ 5 แม้จะมิได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าว แต่คำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีดังกล่าวก็เกี่ยวด้วยฐานะความเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของผู้ตายที่มีต่อกองมรดกเช่นเดียวกับคดีนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวได้ถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับ หรืองดเสีย คำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งเจ็ดนับตั้งแต่วันที่ได้มีคำสั่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่อาจวินิจฉัยประเด็นเกี่ยวกับความเป็นทายาทโดยธรรมของโจทก์ในคดีนี้ได้อีก เพราะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับประเด็นที่ศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวได้วินิจฉัยไว้แล้ว ซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 และแม้ว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยตามประเด็นในคำให้การของจำเลยทั้งเจ็ดไปโดยไม่ชอบ แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็มิได้รับฟังข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่น จึงไม่มีเหตุให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จำเลยที่ 1 จะฎีกาได้ ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ว่า ผู้ตายไม่ได้รับรองโจทก์เป็นบุตรและโจทก์ไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์และที่ปรากฏในคดีดังกล่าวจึงรับฟังได้ว่า ผู้ตายมีบุตรเป็นทายาทโดยธรรมรวม 10 คน คือ โจทก์ เด็กหญิง ม. เด็กหญิง ฐ. จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และนางสุนีย์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์มรดกของผู้ตายกึ่งหนึ่ง ซึ่งแม้ศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวจะมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 1 นาวาตรีหญิงเรณูในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ นางเขมิกาในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กหญิง ม. กับเด็กหญิง ฐ. จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ที่ 6 ที่ 7 และนางสุนีย์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกันแล้วก็ตาม แต่ผู้จัดการมรดกทั้งหลายก็ยังคงมีหน้าที่ต้องแบ่งปันทรัพย์มรดกให้เป็นไปตามสิทธิของทายาทโดยธรรมแต่ละคน หากทายาทโดยธรรมคนใดไม่ได้รับหรือได้รับส่วนแบ่งไม่ครบตามสิทธิย่อมมีสิทธิเรียกร้องหรือฟ้องผู้จัดการมรดกหรือทายาทอื่นที่ครอบครองทรัพย์มรดกให้แบ่งแก่ตนได้ และแม้ว่าจะมีเจ้าหนี้ของผู้ตายที่ยังมิได้รับชำระหนี้อยู่ก็ตามเจ้าหนี้นั้นก็ชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้จากทายาทโดยธรรมคนใดหรือผู้จัดการมรดกของผู้ตายก็ได้ แม้ทรัพย์มรดกจะได้แบ่งไปแล้วก็ตาม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1737 และ 1738 ดังนั้น การมีผู้จัดการมรดกหรือเจ้าหนี้กองมรดกที่ยังมิได้รับชำระหนี้ จึงมิได้ทำให้สิทธิในการเรียกร้องขอแบ่งทรัพย์มรดกของโจทก์ในฐานะทายาทโดยธรรมเสื่อมเสียไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งเจ็ดขอแบ่งมรดกของผู้ตายได้ ฎีกาของจำเลยที่ 1 ฟังไม่ขึ้น และเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงในคดีหมายเลขดำที่ 8795/2544 หมายเลขแดงที่ 3707/2547 ของศาลชั้นต้นว่า นางสุนีย์เป็นเจ้าของรวมในทรัพย์มรดกของผู้ตายอยู่ด้วยกึ่งหนึ่งในฐานะเจ้าของรวมที่ทำมาหาได้ร่วมกัน โดยในคดีดังกล่าว โจทก์ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ที่ 6 และที่ 7 ต่างใช้สิทธิร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับนางสุนีย์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมิใช่คู่ความในคดีนี้ที่อ้างว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์มรดกของผู้ตายกึ่งหนึ่ง คำวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีดังกล่าวจึงผูกพันทายาทโดยธรรมทุกคนของผู้ตายรวมทั้งโจทก์ที่มีต่อนางสุนีย์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ดังนั้น โจทก์ เด็กหญิง ม. เด็กหญิง ฐ. และจำเลยทั้งเจ็ด ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายจึงมีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายกึ่งหนึ่ง ส่วนอีกกึ่งหนึ่งย่อมเป็นของนางสุนีย์ในฐานะเจ้าของรวมและแม้ทายาทอื่นจะมิได้เข้ามาเป็นคู่ความหรือมิได้ร้องสอดเข้ามาในคดีนี้ก็ไม่เป็นเหตุให้โจทก์และจำเลยทั้งเจ็ดมีสิทธิได้รับมรดกทั้งหมดเพียง 8 คน แต่โจทก์และจำเลยทั้งเจ็ดคงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งทรัพย์มรดกของผู้ตายเพียงคนละ 1 ใน 10 ส่วน กรณีเช่นนี้มิใช่เป็นการกันส่วนแบ่งทรัพย์มรดกไว้เพื่อทายาทอื่นที่มิได้เป็นคู่ความหรือร้องสอดเข้ามาในคดีอันจะเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1749 สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับทรัพย์สินตามฟ้องจึงมีอยู่ 1 ใน 20 ส่วน ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้แบ่งมรดกให้แก่โจทก์ 1 ใน 8 ส่วน ซึ่งเกินไปกว่าส่วนแห่งสิทธิที่โจทก์จะพึงได้จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (2) ประกอบมาตรา 246, 247 (เดิม)
 
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันโอนหรือแบ่งรถยนต์ 18 คัน ที่ดิน 3 แปลง หุ้นของบริษัทที่มีชื่อผู้ตายถือหุ้นอยู่ 28 บริษัท และห้างหุ้นส่วนจำกัด 3 ห้างหุ้นส่วน กับให้จำเลยที่ 1 โอนหรือแบ่งหุ้นของบริษัทแอมเทล กรุ๊ป กรุงเทพ จำกัด และบริษัทแอมเทล โฮลดิ้งส์ จำกัด ที่มีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือหุ้น ให้แก่โจทก์ 1 ใน 20 ส่วน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

 



คดีมรดก ร้องศาลตั้งผู้จัดการมรดก

พินัยกรรมของผู้ตายที่ห้ามโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตกเป็นโมฆะ, ข้อห้ามในพินัยกรรมเป็นโมฆะ, ผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม
ถอนผู้จัดการมรดก, การปันมรดกเสร็จสิ้นแล้ว, การจัดการศาลจ้าวไม่เป็นมรดก, ศาลจ้าวใต้เซียฮุดโจ๊วเป็นกุศลสถาน
ที่ดินของรัฐ มรดกของผู้ตาย, ที่ดินนิคมสหกรณ์, สิทธิทำประโยชน์ในที่ดิน, สิทธิเหนือพื้นดิน, การเพิกถอนโฉนดที่ดิน,
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทในกองมรดก, การเพิกถอนนิติกรรมในทรัพย์มรดก, การขายทรัพย์มรดกเพื่อชำระหนี้, ผู้จัดการมรดกกับสิทธิและหน้าที่
มรดกตกทอด, การเพิกถอนการสละมรดก, อายุความในการฟ้องคดีมรดก, สิทธิเรียกร้องแทนลูกหนี้
หนังสือแต่งตั้งผู้รับโอนประโยชน์ในเงินทุนเรือนหุ้นของสหกรณ์ไม่ถือเป็นพินัยกรรม, เงินสงเคราะห์สมาชิกสหกรณ์, สิทธิผู้รับโอนประโยชน์ในเงินสงเคราะห์
นิติกรรมซื้อขายที่ดินซึ่งเป็นคนต่างด้าว, คดีมรดกที่ดินของคนต่างด้าว, อายุความคดีมรดก, การยักยอกทรัพย์มรดก
พินัยกรรมยกมรดกให้พี่น้องร่วมบิดามารดา, สิทธิของผู้สืบสันดานในการรับมรดกแทนที่, การฟ้องเรียกค่าเช่าจากทรัพย์สินมรดก
การกำจัดทายาทมิให้รับมรดก, สิทธิรับมรดกของผู้สืบสันดานเมื่อทายาทถูกกำจัด, การเพิกถอนนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์มรดก
เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดก, การฟ้องแบ่งมรดกของผู้ตาย, การยกอายุความในคดีมรดก, สินสมรสและสินส่วนตัวในกองมรดก
ผู้จัดการมรดกและการโอนทรัพย์มรดก, พินัยกรรมด้วยวาจา ป.พ.พ. มาตรา 1663, การครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาท
สิทธิทายาทในมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง, ทายาทตายก่อนแบ่งมรดก, รับมรดกแทนที่ มาตรา 1639,
สิทธิการฟ้องขอแบ่งมรดกของทายาท, การเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินมรดก, สินสมรสหลังคู่สมรสเสียชีวิต
สัญญาประกันชีวิต, สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก, ผู้ทำประกันชีวิตและผู้รับผลประโยชน์ตายพร้อมกัน
การจัดการหนี้สินในกองมรดก, สิทธิของเจ้าหนี้กองมรดก, ที่ดินมรดกและการบังคับคดี
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดก
ผู้จัดการมรดกปฏิบัติผิดหน้าที่-ทายาทผู้มีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกได้
ผู้จัดการมรดกร่วมถึงแก่ความตายต้องทำอย่างไร, ฟ้องซ้อน คืออะไร, แต่งตั้งผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่เพียงทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป
ทายาทฟ้องทายาทให้แบ่งทรัพย์มรดก
การจัดการทรัพย์มรดกในฐานะผู้จัดการมรดกตามหน้าที่ที่จำเป็น
คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกปิดบังทรัพย์มรดกมีผลอย่างไร
ทายาทมิได้ฟ้องเรียกร้องมรดกภายใน 1 ปี
ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ผู้มีส่วนได้เสีย
สามีไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้จัดการมรดกได้
ทรัพย์มรดกยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาททุกคน-การจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้น
บุคคลผู้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มีผลอย่างไร?
ฟ้องผู้จัดการมรดกนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงเกินห้าปีขาดอายุความ
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลถูกเพิกถอนได้
อายุความคดีมรดก เจ้าหนี้ฟ้องคดีมรดกเกินหนึ่งปี
คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก
บุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย
บุตรนอกกฎหมายซึ่งผู้ตายรับรองแล้วเป็นผู้สืบสันดาน
มารดาขายที่ดินซึ่งผู้เยาว์มีส่วนแบ่งไม่ต้องขอศาล
นายอำเภอคือผู้มีอำนาจจัดทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
ความรับผิดของผู้จัดการมดกภายหลังการเสียชีวิต
ผู้จัดการมรดกร่วมนำทรัพย์มรดกหาประโยชน์แก่ตน
คู่สมรสและการแบ่งมรดกของคู่สมรส | การสมรสเป็นโมฆะ
อายุความคดีมรดก และอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก
เหตุอันจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก
การปันมรดกเสร็จสิ้นลงแล้วการถอนผู้จัดการมรดกย่อมพ้นกำหนดเวลา
สามีมิได้จดทะเบียนสมรสไม่ถือเป็นทายาทของภริยาผู้ตาย
อำนาจหน้าที่จัดการศพพระภิกษุผู้มรณภาพไม่มีทรัพย์สิน
สามีไม่จดทะเบียนสมรสขอถอนผู้จัดการมรดก มีกรรมสิทธิ์รวม
ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะทำหน้าที่ผู้จัดการมรดก
อำนาจฟ้องขอแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตาย
ทายาททุกคนมอบหมายให้ครอบครองที่ดินแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วม
ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามมาตรา 1300
ทายาทโดยธรรมย่อมมีสิทธิเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์มรดกตามส่วนที่จะพึงได้
สิทธิรับมรดกที่ยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาห้ามยกเป็นข้อต่อสู้ผู้รับโอนโดยสุจริต
การจัดการมรดกและผู้จัดการมรดก, สินสมรสและสินส่วนตัวในคดีมรดก, อายุความคดีมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733
ผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก
ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์มรดกเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความแล้ว
ผู้คัดค้านไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการขอจัดการมรดก
ทายาทมีส่วนเท่ากันออกค่าใช้จ่ายจัดการทำศพ
ความเหมาะสมในการเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น
สิทธิของบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายในการรับมรดกของบุตรนอกกฎหมาย
หนังสือสัญญาแบ่งมรดกตกเป็นโมฆะหรือไม่?
อำนาจและหน้าที่ในการจัดการทำศพและลำดับก่อนหลัง
พินัยกรรมมีเงื่อนไขบังคับก่อน
ผู้จัดการมรดกฟ้องแทนทายาทโดยธรรมอื่น
คู่สมรสที่จดทะเบียนหย่าแล้วเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่
การสละมรดกมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายจึงขาดความเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
แม้กองมรดกมีผู้จัดการมรดกแล้วทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้อง
พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองไม่ได้ทำต่อหน้าพยานตกเป็นโมฆะ
บุตรนอกสมรสและบิดานอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดกต่อกันอย่างไร
ผู้จัดการมรดก | ทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดกเรียกให้เจ้าของรวมส่งมอบโฉนดที่ดิน
การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลงอายุความ 5 ปียังไม่เริ่มนับ
สิทธิรับมรดกก่อนหลัง
คำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ
อายุความฟ้องคดีแพ่งอันเนื่องจากคดียักยอกทรัพย์มรดก
เมื่อแบ่งมรดกเสร็จแล้วความเป็นทายาทสิ้นสุดลง-อายุความมรดก
การแบ่งมรดกที่ดินมือเปล่าไม่มีเอกสารสิทธิ
คดีมรดกต้องเป็นคดีที่ทายาทด้วยกันพิพาทกันเรื่องสิทธิในส่วนแบ่งมรดก
ขอให้ศาลสั่งถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ความรับผิดของผู้ตาย
แสดงบัญชีเครือญาติเป็นเท็จปิดบังจำนวนทายาท
อายุความคดีมรดกสะดุดหยุดลง การแบ่งทรัพย์มรดกไม่ชอบ
ไม่มีกฎหมายบังคับให้ฟ้องเอาทรัพย์มรดกจากทายาทอื่นที่ครอบครองแทนใน 1 ปี
สัญญาว่าจ้างติดตามทรัพย์กองมรดกเรียกส่วนแบ่งเป็นโมฆะ
คดีฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมปลอมและถูกกำจัดมิให้รับมรดก
โจทก์ฟ้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปี
ผู้จัดการมรดกแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันฟังคำสั่งศาล
คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกอายุความ 5 ปี
การแจ้งการเกิดของเด็กในทะเบียนคนเกิดเองว่าเป็นบุตรของตน
ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
การที่จะเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนทายาทอื่น
พินัยกรรมเอกสารลับทำผิดแบบเป็นโมฆะ
การจัดการมรดกไม่ชอบไม่อาจถือว่าการจัดการมรดกสิ้นลงแล้ว