ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




สามีไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้จัดการมรดกได้

ผู้จัดการมรดก  สามีไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้มีส่วนได้เสีย  ร่วมกันทำมาหากินจนมีทรัพย์

สามีภริยาอยู่กินกันมาถึง 16 ปี ไม่ได้จดทะเบียนสมรส เมื่อภริยาตาย โดยมีพี่สาวร่วมบิดาหนึ่งคน และพี่สาวร่วมบิดาร้องขอให้ศาลตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดก สามีจึงร้องคัดค้านและขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกแต่เพียงผู้เดียว ศาลตั้งให้พี่สาวและสามีเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันได้ โดยถือว่าสามีที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสนั้นเป็นผู้มีส่วนได้เสีย

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4209/2534 

ผู้คัดค้านกับผู้ตายอยู่กินเป็นสามีภริยาแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ได้ร่วมกันทำมาหากินจนมีทรัพย์สินต่าง ๆ บุคคลทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ผู้คัดค้านจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินเหล่านั้น ดังนี้สมควรที่จะตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกร่วมด้วย

ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ผู้ร้องเป็นพี่ร่วมบิดากับนางสาวสำเนียง  โดยไม่ได้ทำพินัยกรรมและตั้งผู้จัดการมรดกไว้การจัดการมรดกมีเหตุขัดข้อง ผู้ร้องไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามกฎหมายขอให้มีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

ผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านว่า ผู้คัดค้านเป็นสามีไม่จดทะเบียนสมรสของผู้ตายมาประมาณ 16 ปี ไม่มีบุตรด้วยกันมีทรัพย์สินร่วมกัน ผู้ร้องไม่เหมาะสมและไม่มีความสามารถที่จะเป็นผู้จัดการมรดก ขอให้ยกคำร้องและมีคำสั่งตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

   ศาลชั้นต้นพิพากษายกคำร้อง และตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

     ผู้ร้องอุทธรณ์
  ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของนางสาวสำเนียง สามิภักดิ์ ผู้ตาย

ผู้ร้องฎีกาขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแต่เพียงผู้เดียว

  ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่ได้โต้เถียงกันในชั้นฎีกาฟังได้ว่าผู้ร้องเป็นพี่สาวร่วมบิดาแต่ต่างมารดากับผู้ตาย ผู้ตายไม่มีผู้สืบสันดาน บิดามารดาของผู้ตายถึงแก่ความตายไปแล้ว ผู้คัดค้านเป็นสามีของผู้ตายอยู่กินกันฉันสามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย ก่อนมาอยู่กินกันฉันสามีภริยากับผู้ตาย ผู้คัดค้านมีภริยาแล้วชื่อนางวิสิทธิ์โดยได้แต่งงานและจดทะเบียนสมรสกันเมื่อ พ.ศ. 2500 ขณะนี้ก็ยังไม่ได้จดทะเบียนหย่ากันตามกฎหมาย

พิเคราะห์แล้ว ที่ผู้ร้องฎีกาว่าผู้คัดค้านไม่สมควรเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องนั้น ผู้ร้องให้เหตุผลว่า ผู้คัดค้านมีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว ในปัจจุบันยังไม่ได้จดทะเบียนหย่าขาดจากกัน ไม่ว่าผู้คัดค้านจะมีพฤติการณ์เช่นไร ผู้คัดค้านกับผู้ตายก็ไม่อาจมีสถานภาพเป็นสามีภริยากันได้ ผู้คัดค้านเป็นเพียงชายชู้ของผู้ตายเท่านั้น ศาลฎีกาเห็นว่า การที่หญิงกับชายอยู่กินร่วมกันและประพฤติปฏิบัติต่อกันฉันสามีและภริยา แม้จะไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายหญิงชายคู่นั้นก็ได้ชื่อว่าเป็นสามีภริยากันโดยทางพฤตินัย เป็นแต่เพียงกฎหมายยังไม่รับรองว่าเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วเท่านั้น ดังนั้น การที่ผู้คัดค้านกับผู้ตายอยู่กินกันฉันสามีภริยาเป็นเวลานานประมาณ 16 ปี ก็ถือได้ว่าผู้คัดค้านกับผู้ตายเป็นสามีภริยากันแล้ว ผู้ร้องนำสืบโดยผู้ร้องกับพยานผู้ร้องมาเบิกความลอย ๆ ว่า ผู้ตายไม่มีสามีทรัพย์สินต่าง ๆที่ผู้ตายมีอยู่ ผู้ตายเป็นผู้ซื้อหามาเองเพียงลำพัง โดยไม่มีพยานหลักฐานอื่นใดมาสนับสนุน แต่ฝ่ายผู้คัดค้านเบิกความว่าผู้คัดค้านเป็นสามีของผู้ตายอยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยามานานประมาณ 16 ปีแล้วระหว่างนั้นได้ร่วมกันซื้อหาทรัพย์สินมาเก็บไว้บ้าง และซื้อที่ดินพร้อมอาคารชุดราชเทวีทาวเวอร์ นอกจากนี้ผู้คัดค้านกับผู้ตายยังได้เปิดบัญชีเงินฝากไว้ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด สาขาบางกะปิซึ่งบัญชีดังกล่าวผู้คัดค้านและผู้ตายมีชื่อเป็นเจ้าของบัญชีร่วมกันข้อเท็จจริงดังกล่าวผู้ร้องก็ไม่ได้โต้แย้งหรือนำพยานหลักฐานมาพิสูจน์หักล้างว่าไม่เป็นความจริง ข้อนำสืบของผู้คัดค้านดังกล่าวเมื่อพิจารณาประกอบกับการที่ผู้คัดค้านกับผู้ตายเป็นสามีภริยากันและอยู่กินกันฉันสามีภริยาเป็นเวลานานถึง 16 ปีแล้วมีเหตุผลให้น่าเชื่อว่าผู้คัดค้านกับผู้ตายร่วมกันทำมาหากินจนมีทรัพย์สินต่าง ๆ ที่ผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเป็นคดีนี้และทรัพย์สินดังกล่าวต้องถือว่าผู้คัดค้านกับผู้ตายเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกัน จึงถือได้ว่าผู้คัดค้านเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินดังกล่าวที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าผู้คัดค้านสมควรเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมนั้นชอบด้วยเหตุผลแล้ว..."

       พิพากษายืน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4209/2534  สามีไม่ได้จดทะเบียนสมรส เป็นผู้มีส่วนได้เสีย ของภรรยา ภรรยาตายมีพี่สาว พี่สาวขอให้ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดก สามีคัดคัดค้านขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกแต่เพียงผู้เดียว ศาลตั้งให้พี่สาวและสามีเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันได้เพราะสามีเป็นผู้มีส่วนได้เสีย

เบิกความอันเป็นเท็จขอเป็นผู้จัดการมรดก

จำเลยเป็นน้องสาวผู้ตายได้ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกเบิกความอันเป็นเท็จต่อศาลว่า ผู้ตายมิได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้แก่ผู้ใด และมิได้ตั้งผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดก  ข้อเท็จจริงคือขณะจำเลยเบิกความในคดีที่จำเลยร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกจำเลยรู้ว่าผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้แก่บุคคลอื่นแล้ว จำเลยจึงเป็นผู้ถูกตัดขาดมิให้รับมรดก และไม่มีฐานะเป็นทายาทที่จะร้องขอให้ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดก คำเบิกความของจำเลยจึงเป็นข้อสำคัญในคดีการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล




คดีมรดก ร้องศาลตั้งผู้จัดการมรดก

อำนาจและหน้าที่ในการจัดการทำศพและลำดับก่อนหลัง article
พินัยกรรมมีเงื่อนไขบังคับก่อน article
ผู้จัดการมรดกฟ้องแทนทายาทโดยธรรมอื่น article
คู่สมรสที่จดทะเบียนหย่าแล้วเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่
การสละมรดกมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายจึงขาดความเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
แม้กองมรดกมีผู้จัดการมรดกแล้วทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้อง
พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองไม่ได้ทำต่อหน้าพยานตกเป็นโมฆะ
บุตรนอกสมรสและบิดานอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดกต่อกันอย่างไร
ผู้จัดการมรดก | ทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดกเรียกให้เจ้าของรวมส่งมอบโฉนดที่ดิน
การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลงอายุความ 5 ปียังไม่เริ่มนับ
สิทธิรับมรดกก่อนหลัง
คำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ
อายุความฟ้องคดีแพ่งอันเนื่องจากคดียักยอกทรัพย์มรดก
เมื่อแบ่งมรดกเสร็จแล้วความเป็นทายาทสิ้นสุดลง-อายุความมรดก
การแบ่งมรดกที่ดินมือเปล่าไม่มีเอกสารสิทธิ
คดีมรดกต้องเป็นคดีที่ทายาทด้วยกันพิพาทกันเรื่องสิทธิในส่วนแบ่งมรดก
ขอให้ศาลสั่งถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ความรับผิดของผู้ตาย
แสดงบัญชีเครือญาติเป็นเท็จปิดบังจำนวนทายาท
อายุความคดีมรดกสะดุดหยุดลง การแบ่งทรัพย์มรดกไม่ชอบ
ไม่มีกฎหมายบังคับให้ฟ้องเอาทรัพย์มรดกจากทายาทอื่นที่ครอบครองแทนใน 1 ปี
สัญญาว่าจ้างติดตามทรัพย์กองมรดกเรียกส่วนแบ่งเป็นโมฆะ
คดีฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมปลอมและถูกกำจัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่เพียงทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป
โจทก์ฟ้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปี
ผู้จัดการมรดกแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันฟังคำสั่งศาล
คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกอายุความ 5 ปี
การแจ้งการเกิดของเด็กในทะเบียนคนเกิดเองว่าเป็นบุตรของตน
ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
การที่จะเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนทายาทอื่น
พินัยกรรมเอกสารลับทำผิดแบบเป็นโมฆะ
การจัดการมรดกไม่ชอบไม่อาจถือว่าการจัดการมรดกสิ้นลงแล้ว
การจัดการทรัพย์มรดกในฐานะผู้จัดการมรดกตามหน้าที่ที่จำเป็น
คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกปิดบังทรัพย์มรดกมีผลอย่างไร
ทายาทมิได้ฟ้องเรียกร้องมรดกภายใน 1 ปี
ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ผู้มีส่วนได้เสีย
ทรัพย์มรดกยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาททุกคน-การจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้น
บุคคลผู้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มีผลอย่างไร?
ฟ้องผู้จัดการมรดกนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงเกินห้าปีขาดอายุความ
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลถูกเพิกถอนได้
อายุความคดีมรดก เจ้าหนี้ฟ้องคดีมรดกเกินหนึ่งปี
คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก
บุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย
บุตรนอกกฎหมายซึ่งผู้ตายรับรองแล้วเป็นผู้สืบสันดาน
มารดาขายที่ดินซึ่งผู้เยาว์มีส่วนแบ่งไม่ต้องขอศาล
นายอำเภอคือผู้มีอำนาจจัดทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
ความรับผิดของผู้จัดการมดกภายหลังการเสียชีวิต
ผู้จัดการมรดกร่วมนำทรัพย์มรดกหาประโยชน์แก่ตน
ผู้จัดการมรดกปฏิบัติผิดหน้าที่-ทายาทผู้มีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกได้
ผู้สืบสันดาน คือใคร? ต่างกับทายาท อย่างไร?
คู่สมรสและการแบ่งมรดกของคู่สมรส | การสมรสเป็นโมฆะ
อายุความคดีมรดก และอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก
เหตุอันจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก
การปันมรดกเสร็จสิ้นลงแล้วการถอนผู้จัดการมรดกย่อมพ้นกำหนดเวลา
สามีมิได้จดทะเบียนสมรสไม่ถือเป็นทายาทของภริยาผู้ตาย
อำนาจหน้าที่จัดการศพพระภิกษุผู้มรณภาพไม่มีทรัพย์สิน
สามีไม่จดทะเบียนสมรสขอถอนผู้จัดการมรดก มีกรรมสิทธิ์รวม
ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะทำหน้าที่ผู้จัดการมรดก
อำนาจฟ้องขอแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตาย
ทายาททุกคนมอบหมายให้ครอบครองที่ดินแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วม
ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามมาตรา 1300
ผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก
ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์มรดกเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความแล้ว
ทายาทมีส่วนเท่ากันออกค่าใช้จ่ายจัดการทำศพ
ความเหมาะสมในการเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น
สิทธิของบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายในการรับมรดกของบุตรนอกกฎหมาย
หนังสือสัญญาแบ่งมรดกตกเป็นโมฆะหรือไม่?