ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ผู้จัดการมรดกฟ้องแทนทายาทโดยธรรมอื่น

 ผู้จัดการมรดก | ฟ้องแทนทายาทโดยธรรมอื่น

การฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกถือว่ากระทำการแทนทายาทอื่นผู้มีสิทธิทั้งหมด ซึ่งการฟ้องดังกล่าวถือเป็นการดำเนินการเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกอย่างหนึ่ง และการฟ้องคดีก็เป็นการดำเนินการในฐานะตัวแทนของทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกทุกคนอยู่แล้ว การที่ผู้ร้องสอดขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมอีกก็มีแต่จะก่อให้เกิดความยุ่งยากในการดำเนินคดีโดยมิได้ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมในกรณีนี้ ผู้ร้องสอดเองก็ไม่สามารถใช้สิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่โจทก์มีอยู่ และจะใช้สิทธิเช่นว่านั้นในทางที่ขัดกับสิทธิของโจทก์หาได้ไม่

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7377/2549 

โจทก์ฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายซึ่งถือเป็นการดำเนินการเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกอย่างหนึ่ง และเป็นการดำเนินการในฐานะตัวแทนของทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกทุกคนอยู่แล้ว การที่ผู้ร้องสอดซึ่งเป็นทายาทขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมอีกก็มีแต่จะก่อให้เกิดความยุ่งยากในการดำเนินคดีโดยมิได้ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ ผู้ร้องสอดเองก็ไม่สามารถใช้สิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่โจทก์มีอยู่ และจะใช้สิทธิเช่นว่านั้นในทางที่ขัดกับสิทธิของโจทก์หาได้ไม่ ส่วนกองมรดกได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำของโจทก์เพียงใด ผู้ร้องสอดก็สามารถดำเนินการเพื่อเรียกร้องเอาจากโจทก์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1720 แห่ง ป.พ.พ. ได้อยู่แล้ว กรณียังไม่มีความจำเป็นที่ผู้ร้องสอดจะร้องสอดเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีนี้

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของนางปุก  ผู้ตายตามคำสั่งศาล โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกและจำเลยเป็นผู้มีชื่อถือสิทธิครอบครองที่ดิน ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เล่ม 1 หน้า 16 สารบบเล่ม 20 หน้า 76 หมู่ที่ 1 ตำบลท่ามะขาม อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เนื้อที่ 25 ไร่ 2 งาน 3 ตารางวา โดยโจทก์ก็มีสิทธิครอบครอง 1 ใน 3 ส่วน คิดเป็นเนื้อที่ 8 ไร่ 2 งาน 1 ตารางวา จำเลยเป็นผู้ยึดถือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินแปลงดังกล่าวไว้ เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2540 โจทก์กับจำเลยตกลงร่วมกันรังวัดแบ่งแยกที่ดินตามส่วนที่จะได้รับ แต่เมื่อถึงวันนัดรังวัด จำเลยไม่ยอมไปดำเนินการ เพราะตกลงแนวเขตที่จะแบ่งแยกไม่ได้ จึงไม่สามารถนำเจ้าพนักงานไปรังวัดแบ่งแยกได้ โจทก์จึงยกเลิกการขอรังวัด ต่อมาโจทก์ติดต่อให้จำเลยไปดำเนินการแบ่งแยกที่ดินตามส่วนใหม่ แต่จำเลยเพิกเฉยทำให้โจทก์ไม่สามารถนำที่ดินส่วนของโจทก์มาแบ่งให้ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย ขอให้บังคับจำเลยนำที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เล่ม 1 หน้า 16 สารบบเล่ม 20 หน้า 76 หมู่ที่ 1 ตำบลท่ามะขาม อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เนื้อที่ 25 ไร่ 2 งาน 3 ตารางวา ออกขายทอดตลาดนำเงินสุทธิมาแบ่งให้โจทก์ 1 ใน 3 ส่วน และให้จำเลยส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ของที่ดินดังกล่าวให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อดำเนินการขายทอดตลาด

ระหว่างการพิจารณา ก่อนจำเลยยื่นคำให้การ จำเลยถึงแก่ความตาย นางทองย้อย ชาวไร่นาค ทายาทของจำเลยยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน ศาลชั้นต้นอนุญาต

จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า ที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ 46 ไร่ 3 งาน 97 1/10 ตารางวา เดิมนายแคล้ว ใจอดทน เจ้าของที่ดินพิพาทได้ขอรังวัดเพื่อออกโฉนดที่ดินเจ้าพนักงานได้รังวัดปักหลักเขตเสาหิน และการครอบครอง โดยมีเจ้าของที่ดินข้างเคียงมาระวังแนวเขตรับรองว่าถูกต้อง แต่นายแคล้วไม่ได้เสียค่าธรรมเนียมตามระเบียบราชการ จึงทำให้เรื่องการออกโฉนดยุติไป ส่วนที่ระบุว่าที่ดินพิพาทเนื้อที่ 25 ไร่ 2 งาน 3 ตารางวา เป็นการประมาณการเท่านั้น เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2540 จำเลยกับโจทก์ได้ร่วมกันขอรังวัด และขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ในที่ดินพิพาทและขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทเพื่อแบ่งส่วนให้แก่นางปุก ใจอดทน จำนวน 1 ใน 3 ส่วนตามคำพิพากษา เจ้าพนักงานได้รังวัดที่ดินพิพาททั้งหมดโดยมีเจ้าของที่ดินข้างเคียงมาระวังแนวเขต รังวัดได้เนื้อที่ 46 ไร่ 3 งานเศษ แต่โจทก์จะแบ่งที่ดินพิพาทให้จำเลยเพียง 20 ไร่ ซึ่งไม่ถึง 2 ใน 3 ส่วน ตามคำพิพากษา หรือตามที่โจทก์จำเลยทำบันทึกข้อตกลงไว้ที่สำนักงานที่ดิน จำเลยจึงไม่ยินยอมเพราะไม่ได้ส่วนแบ่งตามส่วน โจทก์จึงขอยกเลิกการรังวัดแบ่งแยกโจทก์ทราบดีว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ 46 ไร่ 3 งาน 97 1/10 ตารางวา แต่โจทก์มีเจตนาจะฟ้องให้แบ่งส่วนให้จำเลยเพียง 17 ไร่ 2 ตารางวา จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์และจำเลยได้ตกลงแบ่งที่ดินพิพาทเป็นส่วนสัดแล้ว โดยตกลงกันว่าให้ที่ดินแยก 1 ด้านทิศตะวันตก เนื้อที่ 20 ไร่ และแปลงคงเหลือเป็นของจำเลย ส่วนโจทก์ให้ได้ที่ดินด้านทิศใต้ ตามรูปที่ดินท้ายคำให้การหมายเลข 2 หากโจทก์จะขอแบ่งแยกที่ดินพิพาทตามที่ตกลงกัน จำเลยไม่คัดค้านแต่หากไม่อาจแบ่งกันได้ ก็ให้นำที่ดินพิพาททั้งหมดเนื้อที่ 46 ไร่ 3 งานเศษ ออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งให้จำเลย 2 ใน 3 ส่วน ขอให้ยกฟ้อง และบังคับโจทก์ให้ร่วมกับจำเลยรังวัดที่ดินเพื่อออกหนังสือรับรองการทำประโยน์ (น.ส. 3 ก.) ในที่ดินพิพาททั้งแปลง และแบ่งแยกสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลย 2 ใน 3 ส่วน จากเนื้อที่ 46 ไร่ 3 งาน 97 1/10 ตารางวา คิดเป็นเนื้อที่ 30 ไร่ 3 งาน 30 ตารางวา หากโจทก์ไม่ไปดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนา หากไม่อาจดำเนินการรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทตามส่วนได้ไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้นำที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาด นำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาด แบ่งแก่จำเลย 2 ใน 3 ส่วน

โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า เดิมที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ 49 ไร่ 1 งาน 83 ตารางวา นายแคล้ว ใจอดทน ได้แบ่งขายที่ดินให้ผู้อื่นไป 23 ไร่ 3 งาน 80 ตารางวา ที่ดินพิพาทจึงมีเนื้อที่เหลือเพียง 25 ไร่ 2 งาน 3 ตารางวา นายแคล้วไม่เคยขอรังวัดออกโฉนดที่ดินพิพาท โจทก์จำเลยเคยตกลงกันไปขอรังวัดแบ่งที่ดินตามส่วนที่แต่ละฝ่ายจะได้รับ เมื่อถึงวันนัดรังวัดจำเลยไม่ไปดำเนินการ ที่ดินส่วนที่จำเลยอ้างว่าเป็นเนื้อที่เพิ่มอยู่นอกที่ดินพิพาท และเป็นที่ดินของผู้อื่น ขอให้ยกฟ้องแย้ง

ระหว่างการพิจารณา ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องว่า ผู้ร้องสอดเป็นบุตรของนางปุก ใจอดทน ผู้ตาย และเป็นพี่สาวของโจทก์ ผู้ร้องสอดจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินพิพาทในฐานะทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย ผู้ร้องสอดมีความประสงค์ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ของผู้ร้องสอด

    ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ถือว่าโจทก์กระทำการแทนผู้ร้องสอดแล้ว จึงไม่อนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้าเป็นโจทก์ร่วม ให้ยกคำร้อง

    ผู้ร้องสอดอุทธรณ์
         ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ

      ผู้ร้องสอดฎีกา

   ศาลฎีการวินิจฉัยว่า "คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องสอดว่า กรณีมีเหตุสมควรอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมหรือไม่ ผู้ร้องสอดฎีกาว่า ผู้ร้องสอดมีส่วนได้เสียในกองมรดกของนางปุกผู้ตาย มีสิทธิที่จะร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม ในการยื่นคำร้องโจทก์ก็ไม่คัดค้าน หากศาลชั้นต้นอนุญาต ผู้ร้องสอดสามารถใช้สิทธิรักษาผลประโยชน์ของกองมรดกร่วมกับโจทก์ อันจะก่อให้เกิดผลดีแก่กองมรดกและทายาทมากกว่าโจทก์ดำเนินคดีไปเพียงคนเดียวนั้น เห็นว่า โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ซึ่งถือเป็นการดำเนินการเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกอย่างหนึ่ง และการฟ้องคดีของโจทก์ดังกล่าวก็เป็นการดำเนินการในฐานะตัวแทนของทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกทุกคนอยู่แล้ว การที่ผู้ร้องสอดขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมอีกก็มีแต่จะก่อให้เกิดความยุ่งยากในการดำเนินคดีโดยมิได้ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมในกรณีนี้ ผู้ร้องสอดเองก็ไม่สามารถใช้สิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่โจทก์มีอยู่ และจะใช้สิทธิเช่นว่านั้นในทางที่ขัดกับสิทธิของโจทก์หาได้ไม่ กรณียังไม่มีความจำเป็นที่ผู้ร้องสอดจะร้องสอดเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีนี้ ส่วนที่ผู้ร้องสอดอ้างว่าจะเข้าไปรักษาผลประโยชน์ของกองมรดกนั้น เห็นว่า หากกองมรดกได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำของโจทก์ ผู้ร้องสอดก็สามารถดำเนินการเพื่อเรียกร้องเอาจากโจทก์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1720 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้อยู่แล้ว ที่ศาลล่างทั้งสองยกคำร้องของผู้ร้องสอดนั้นต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของผู้ร้องสอดฟังไม่ขึ้น"

            พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ.

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

     มาตรา 55 เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้น เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของ บุคคลใดตามกฎหมายแพ่ง หรือบุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาล บุคคลนั้นชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลส่วนแพ่งที่มีเขตอำนาจได้ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายแพ่งและประมวลกฎหมายนี้

     มาตรา 1720 ผู้จัดการมรดกต้องรับผิดต่อ ทายาทตามที่บัญญัติไว้ใมาตรา 809  ถึง 812, 819, 823 แห่งประมวลกฎหมายนี้ โดยอนุโลม และ เมื่อ เกี่ยวกับ บุคคลภายนอก ให้ใช้ มาตรา 831 บังคับ โดยอนุโลม




คดีมรดก ร้องศาลตั้งผู้จัดการมรดก

พินัยกรรมของผู้ตายที่ห้ามโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตกเป็นโมฆะ, ข้อห้ามในพินัยกรรมเป็นโมฆะ, ผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม
ถอนผู้จัดการมรดก, การปันมรดกเสร็จสิ้นแล้ว, การจัดการศาลจ้าวไม่เป็นมรดก, ศาลจ้าวใต้เซียฮุดโจ๊วเป็นกุศลสถาน
ที่ดินของรัฐ มรดกของผู้ตาย, ที่ดินนิคมสหกรณ์, สิทธิทำประโยชน์ในที่ดิน, สิทธิเหนือพื้นดิน, การเพิกถอนโฉนดที่ดิน,
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทในกองมรดก, การเพิกถอนนิติกรรมในทรัพย์มรดก, การขายทรัพย์มรดกเพื่อชำระหนี้, ผู้จัดการมรดกกับสิทธิและหน้าที่
มรดกตกทอด, การเพิกถอนการสละมรดก, อายุความในการฟ้องคดีมรดก, สิทธิเรียกร้องแทนลูกหนี้
หนังสือแต่งตั้งผู้รับโอนประโยชน์ในเงินทุนเรือนหุ้นของสหกรณ์ไม่ถือเป็นพินัยกรรม, เงินสงเคราะห์สมาชิกสหกรณ์, สิทธิผู้รับโอนประโยชน์ในเงินสงเคราะห์
นิติกรรมซื้อขายที่ดินซึ่งเป็นคนต่างด้าว, คดีมรดกที่ดินของคนต่างด้าว, อายุความคดีมรดก, การยักยอกทรัพย์มรดก
พินัยกรรมยกมรดกให้พี่น้องร่วมบิดามารดา, สิทธิของผู้สืบสันดานในการรับมรดกแทนที่, การฟ้องเรียกค่าเช่าจากทรัพย์สินมรดก
การกำจัดทายาทมิให้รับมรดก, สิทธิรับมรดกของผู้สืบสันดานเมื่อทายาทถูกกำจัด, การเพิกถอนนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์มรดก
เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดก, การฟ้องแบ่งมรดกของผู้ตาย, การยกอายุความในคดีมรดก, สินสมรสและสินส่วนตัวในกองมรดก
ผู้จัดการมรดกและการโอนทรัพย์มรดก, พินัยกรรมด้วยวาจา ป.พ.พ. มาตรา 1663, การครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาท
สิทธิทายาทในมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง, ทายาทตายก่อนแบ่งมรดก, รับมรดกแทนที่ มาตรา 1639,
สิทธิการฟ้องขอแบ่งมรดกของทายาท, การเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินมรดก, สินสมรสหลังคู่สมรสเสียชีวิต
สัญญาประกันชีวิต, สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก, ผู้ทำประกันชีวิตและผู้รับผลประโยชน์ตายพร้อมกัน
การจัดการหนี้สินในกองมรดก, สิทธิของเจ้าหนี้กองมรดก, ที่ดินมรดกและการบังคับคดี
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดก
ผู้จัดการมรดกปฏิบัติผิดหน้าที่-ทายาทผู้มีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกได้
ผู้จัดการมรดกร่วมถึงแก่ความตายต้องทำอย่างไร, ฟ้องซ้อน คืออะไร, แต่งตั้งผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่เพียงทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป
ทายาทฟ้องทายาทให้แบ่งทรัพย์มรดก
การจัดการทรัพย์มรดกในฐานะผู้จัดการมรดกตามหน้าที่ที่จำเป็น
คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกปิดบังทรัพย์มรดกมีผลอย่างไร
ทายาทมิได้ฟ้องเรียกร้องมรดกภายใน 1 ปี
ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ผู้มีส่วนได้เสีย
สามีไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้จัดการมรดกได้
ทรัพย์มรดกยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาททุกคน-การจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้น
บุคคลผู้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มีผลอย่างไร?
ฟ้องผู้จัดการมรดกนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงเกินห้าปีขาดอายุความ
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลถูกเพิกถอนได้
อายุความคดีมรดก เจ้าหนี้ฟ้องคดีมรดกเกินหนึ่งปี
คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก
บุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย
บุตรนอกกฎหมายซึ่งผู้ตายรับรองแล้วเป็นผู้สืบสันดาน
มารดาขายที่ดินซึ่งผู้เยาว์มีส่วนแบ่งไม่ต้องขอศาล
นายอำเภอคือผู้มีอำนาจจัดทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
ความรับผิดของผู้จัดการมดกภายหลังการเสียชีวิต
ผู้จัดการมรดกร่วมนำทรัพย์มรดกหาประโยชน์แก่ตน
ผู้สืบสันดาน คือใคร? ต่างกับทายาท อย่างไร?
คู่สมรสและการแบ่งมรดกของคู่สมรส | การสมรสเป็นโมฆะ
อายุความคดีมรดก และอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก
เหตุอันจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก
การปันมรดกเสร็จสิ้นลงแล้วการถอนผู้จัดการมรดกย่อมพ้นกำหนดเวลา
สามีมิได้จดทะเบียนสมรสไม่ถือเป็นทายาทของภริยาผู้ตาย
อำนาจหน้าที่จัดการศพพระภิกษุผู้มรณภาพไม่มีทรัพย์สิน
สามีไม่จดทะเบียนสมรสขอถอนผู้จัดการมรดก มีกรรมสิทธิ์รวม
ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะทำหน้าที่ผู้จัดการมรดก
อำนาจฟ้องขอแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตาย
ทายาททุกคนมอบหมายให้ครอบครองที่ดินแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วม
ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามมาตรา 1300
ทายาทโดยธรรมย่อมมีสิทธิเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์มรดกตามส่วนที่จะพึงได้
สิทธิรับมรดกที่ยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาห้ามยกเป็นข้อต่อสู้ผู้รับโอนโดยสุจริต
การจัดการมรดกและผู้จัดการมรดก, สินสมรสและสินส่วนตัวในคดีมรดก, อายุความคดีมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733
ผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก
ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์มรดกเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความแล้ว
ผู้คัดค้านไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการขอจัดการมรดก
ทายาทมีส่วนเท่ากันออกค่าใช้จ่ายจัดการทำศพ
ความเหมาะสมในการเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น
สิทธิของบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายในการรับมรดกของบุตรนอกกฎหมาย
หนังสือสัญญาแบ่งมรดกตกเป็นโมฆะหรือไม่?
อำนาจและหน้าที่ในการจัดการทำศพและลำดับก่อนหลัง
พินัยกรรมมีเงื่อนไขบังคับก่อน
คู่สมรสที่จดทะเบียนหย่าแล้วเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่
การสละมรดกมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายจึงขาดความเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
แม้กองมรดกมีผู้จัดการมรดกแล้วทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้อง
พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองไม่ได้ทำต่อหน้าพยานตกเป็นโมฆะ
บุตรนอกสมรสและบิดานอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดกต่อกันอย่างไร
ผู้จัดการมรดก | ทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดกเรียกให้เจ้าของรวมส่งมอบโฉนดที่ดิน
การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลงอายุความ 5 ปียังไม่เริ่มนับ
สิทธิรับมรดกก่อนหลัง
คำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ
อายุความฟ้องคดีแพ่งอันเนื่องจากคดียักยอกทรัพย์มรดก
เมื่อแบ่งมรดกเสร็จแล้วความเป็นทายาทสิ้นสุดลง-อายุความมรดก
การแบ่งมรดกที่ดินมือเปล่าไม่มีเอกสารสิทธิ
คดีมรดกต้องเป็นคดีที่ทายาทด้วยกันพิพาทกันเรื่องสิทธิในส่วนแบ่งมรดก
ขอให้ศาลสั่งถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ความรับผิดของผู้ตาย
แสดงบัญชีเครือญาติเป็นเท็จปิดบังจำนวนทายาท
อายุความคดีมรดกสะดุดหยุดลง การแบ่งทรัพย์มรดกไม่ชอบ
ไม่มีกฎหมายบังคับให้ฟ้องเอาทรัพย์มรดกจากทายาทอื่นที่ครอบครองแทนใน 1 ปี
สัญญาว่าจ้างติดตามทรัพย์กองมรดกเรียกส่วนแบ่งเป็นโมฆะ
คดีฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมปลอมและถูกกำจัดมิให้รับมรดก
โจทก์ฟ้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปี
ผู้จัดการมรดกแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันฟังคำสั่งศาล
คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกอายุความ 5 ปี
การแจ้งการเกิดของเด็กในทะเบียนคนเกิดเองว่าเป็นบุตรของตน
ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
การที่จะเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนทายาทอื่น
พินัยกรรมเอกสารลับทำผิดแบบเป็นโมฆะ
การจัดการมรดกไม่ชอบไม่อาจถือว่าการจัดการมรดกสิ้นลงแล้ว