ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น

   -ปรึกษากฎหมาย นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

     โทร.085-9604258

   -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์   

   (1) @leenont 

   (2) @peesirilaw  

   (3) 0859604258 เพิ่มด้วยหมายเลขโทรศัพท์

  -Line Official Account : เพิ่มเพื่อน QR CODE

ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น-ยังไม่ได้เปลี่ยนเจตนาการครอบครอง

โอนที่ดินมรดกมาเป็นของตนในฐานะผู้จัดการมรดกเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่นทุกคน แม้ต่อมาจะได้มีการโอนที่ดินมรดกมาเป็นชื่อตนในฐานะส่วนตัวก็ยังถือไม่ได้ว่าได้เปลี่ยนเจตนาการครอบครองที่ดินมรดกแทนทายาททุกคนมาเป็นการครอบครองในฐานะส่วนตัวเพราะยังมิได้บอกกล่าวไปยังทายาททุกคนว่าไม่มีเจตนายึดถือทรัพย์แทนทายาททุกคนต่อไป  ผู้จัดการมรดกยังคงมีหน้าที่จะต้องจัดแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาททุกคนตามสิทธิของทายาทที่กฎหมายกำหนดไว้ ดังนั้น การจัดการมรดกยังมิได้เสร็จสิ้นจึงจะนำอายุความ 5 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1733 วรรคสอง มาใช้บังคับไม่ได้ ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  8286/2544

 ครั้งแรกที่ ล. โอนที่ดินมรดกของ ท. มาเป็นของตนในฐานะผู้จัดการมรดกเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่นทุกคน แม้จะมีการโอนที่ดินมรดกดังกล่าวมาเป็นของ ล. ในฐานะส่วนตัวแล้วก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าได้เปลี่ยนเจตนาการครอบครองที่ดินมรดกแทนทายาททุกคนมาเป็นการครอบครองในฐานะส่วนตัวโดยเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียวเพราะ ล. ยังมิได้บอกกล่าวไปยังทายาททุกคนว่าไม่มีเจตนายึดถือทรัพย์แทนทายาททุกคนต่อไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 ทั้งปรากฏว่าก่อนหน้านี้ ล. ได้ถูก ป. ยื่นฟ้องในอีกคดีหนึ่งของศาลชั้นต้นเรื่องขอแบ่งมรดก คดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ว่า ล. ครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกับ ส. กับ ป. ทายาทผู้ตายต้องถือว่าครอบครองแทนทายาทของ ส. คำพิพากษาจึงผูกพันล. และจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ล. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ต้องถือว่า ล. ครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่นอยู่เช่นเดิม ล. ยังคงมีหน้าที่จะต้องจัดแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาททุกคนตามสิทธิของทายาทที่กฎหมายกำหนดไว้ ดังนั้น การจัดการมรดกยังมิได้เสร็จสิ้นจึงจะนำอายุความ 5 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1733 วรรคสอง มาใช้บังคับไม่ได้ ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
 
     โจทก์ทั้งสิบสามฟ้องขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 1552 ให้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 12 คนละ222 ตารางวา ให้โจทก์ที่ 13 จำนวน 777.5 ตารางวา หากจำเลยเพิกเฉยให้ถือเอาตามคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาแทนจำเลย
     จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
     ต่อมานางบังอร ค่องหิรัญ ที่ 1 นางอนันต์ คำป้อม ที่ 2ได้ยื่นคำร้องสอดขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับโจทก์ทั้งสิบสาม โดยอ้างว่าผู้ร้องสอดที่ 1 เป็นบุตรของนางสำเนียงมีสิทธิได้รับมรดกที่ดินแปลงดังกล่าว 222 ตารางวาและผู้ร้องสอดที่ 2 เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายบุญยังหรือสอมีสิทธิได้รับมรดกร่วมกับโจทก์ที่ 12 ซึ่งเป็นบุตร จำนวน 222 ตารางวา ศาลชั้นต้นอนุญาต
          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยแบ่งที่ดินโฉนดเลขที่ 1542ให้โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 6 และที่ 7 คนละ 172.7 ตารางวา ให้โจทก์ที่ 3ที่ 4 และที่ 5 คนละ 103.6 ตารางวา ให้โจทก์ที่ 8 ถึงที่ 11 คนละ222 ตารางวา ให้โจทก์ที่ 12 และผู้ร้องสอดที่ 2 คนละ 55.5 ตารางวา ให้โจทก์ที่ 13 จำนวน 518.3 ตารางวา ให้ผู้ร้องสอดที่ 1 จำนวน 222ตารางวา หากจำเลยไม่ปฏิบัติตาม ให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย คำขออื่นให้ยก

          จำเลยอุทธรณ์
          ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 โจทก์ที่ 9 ถึงแก่กรรมนางสาวประสม ฉิมคราม ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน ศาลอุทธรณ์ภาค 2 อนุญาต

  ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษากลับให้ยกฟ้อง

          โจทก์ที่ 2 ที่ 4 ที่ 8 ที่ 9 ที่ 10 ถึงที่ 12 และผู้ร้องสอดที่ 1 และที่ 2 ฎีกา โดยโจทก์ที่ 2 ที่ 8 ที่ 9 ผู้ร้องสอดที่ 1 และที่ 2 ได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกา

   สำหรับโจทก์ที่ 5 ที่ 10 ถึงที่ 12 ได้ยื่นฎีกา และศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันเดียวกันให้รับฎีกา และให้ส่งหมายนัดและสำเนาฎีกาให้แก่จำเลย หากส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 15 วัน เพื่อดำเนินการต่อไปมิฉะนั้นถือว่าทิ้งฎีกา แต่ปรากฏตามรายงานของเจ้าหน้าที่ลงวันที่ 22ธันวาคม 2542 ว่า เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2542 เจ้าหน้าที่ส่งหมายนัดให้จำเลยไม่ได้เนื่องจากบ้านปิด โจทก์ที่ 4 ที่ 10 ถึงที่ 12 ไม่ได้ยื่นคำแถลงเข้ามาภายใน 15 วันตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่รับฎีกา จึงเป็นการเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งที่ศาลชั้นต้นกำหนด ถือว่าโจทก์ที่ 4 ที่ 10 ถึงที่ 12 ทิ้งฟ้องฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2),246 และ 247 ให้จำหน่ายฎีกาของโจทก์ที่ 4 ที่ 10 ถึงที่ 12 ออกจากสารบบความของ ศาลฎีกา

 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "...ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า นางทิม คำป้อมเจ้ามรดกมีบุตร 6 คน คือนายเปลื้อง นายปลด นายสว่างหรือหว่างนางลำใย นายแป๊ะ และนางสุดใจ คำป้อม ซึ่งทุกคนถึงแก่กรรมไปหมดแล้วโจทก์ที่ 2 เป็นหลานนายปลด โจทก์ที่ 8 และที่ 9 เป็นบุตรนายสว่างผู้ร้องสอดที่ 1 เป็นหลานนายสว่าง ส่วนผู้ร้องสอดที่ 2 เป็นภริยาของนายบุญยังหรือสอ คำป้อม บุตรนายสว่าง โจทก์ที่ 2 ที่ 8 และที่ 9 ผู้ร้องสอดที่ 1 และที่ 2 เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของนางทิมทรัพย์มรดกของนางทิมคือที่ดินโฉนดเลขที่ 1552 เฉพาะส่วน เนื้อที่23 ไร่ 1 งาน 33 ตารางวา หลังจากนางทิมถึงแก่กรรม ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งนายเหลี่ยม คำป้อม บุตรนายแป๊ะเป็นผู้จัดการมรดกของนางทิมเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2531 นายเหลี่ยม โอนที่ดินมรดกของนางทิมมาเป็นของนายเหลี่ยมในฐานะผู้จัดการมรดก และในวันเดียวกันก็โอนที่ดินมรดกของนางทิมมาเป็นของนายเหลี่ยมในฐานะส่วนตัวต่อมานายเหลี่ยมถึงแก่กรรม ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งจำเลยซึ่งเป็นภริยานายเหลี่ยมเป็นผู้จัดการมรดกของนายเหลี่ยม มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ที่ 2 ที่ 8 และที่ 9 ผู้ร้องสอดที่ 1 และที่ 2 ว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ เห็นว่า ครั้งแรกที่นายเหลี่ยมโอนที่ดินมรดกของนางทิมมาเป็นของตนในฐานะผู้จัดการมรดกเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่นทุกคน แม้จะมีการโอนที่ดินมรดกดังกล่าวมาเป็นของนายเหลี่ยมในฐานะส่วนตัวแล้วก็ตามก็ยังถือไม่ได้ว่าเปลี่ยนเจตนาการครอบครองที่ดินมรดกแทนทายาททุกคนมาเป็นการครอบครองในฐานะส่วนตัวโดยเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียวยังมิได้เพราะนายเหลี่ยมยังมิได้บอกกล่าวไปยังทายาททุกคนว่าไม่มีเจตนายึดถือทรัพย์แทนทายาททุกคนต่อไปตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 ทั้งปรากฏว่าก่อนหน้านี้นายเหลี่ยมได้ถูกนางประเทือง ยี่กัว ยื่นฟ้องในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 623/2537 ของศาลชั้นต้น เรื่องขอแบ่งมรดกคดีดังกล่าวถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ว่า นายเหลี่ยม คำป้อม ครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกับนายสว่างกับนายแป๊ะทายาทผู้ตาย ต้องถือว่าครอบครองแทนทายาทของนายสว่าง จึงผูกพันนายเหลี่ยมและจำเลยซึ่งเป็นทายาทนายเหลี่ยมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145ต้องถือว่านายเหลี่ยมครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่นอยู่เช่นเดิมนายเหลี่ยมยังคงมีหน้าที่ที่จะต้องจัดแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาททุกคนตามสิทธิของทายาทที่กฎหมายกำหนดไว้ ดังนั้นการจัดการมรดกยังมิได้เสร็จสิ้นจึงจะนำอายุความ 5 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1733 วรรคสอง มาใช้บังคับไม่ได้ ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ขาดอายความแล้วพิพากษายกฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยในประเด็นข้ออื่นนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วยและเห็นสมควรส่งสำนวนคืนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 2 เพื่อให้วินิจฉัยประเด็นข้ออื่นและมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี เมื่อศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาประเด็นแห่งคดีแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี คดีของโจทก์ที่ 4 ที่ 10ถึงที่ 12 ที่ทิ้งฎีกาและโจทก์ที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 ถึงที่ 7 และที่ 13 ที่มิได้ฎีกาจึงไม่ถึงที่สุดในการพิพากษาใหม่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงต้องชี้ขาดตัดสินคดีเกี่ยวกับคำฟ้องของโจทก์ ดังกล่าวด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ชอบที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 เพื่อให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยประเด็นข้ออื่นแล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1)ประกอบด้วยมาตรา 247 ฎีกาของโจทก์ที่ 2 ที่ 8 และที่ 9 ผู้ร้องสอดที่ 1และที่ 2 ฟังขึ้น"

 พิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 และให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2พิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
 
มาตรา 1381  บุคคลใดยึดถือทรัพย์สินอยู่ในฐานะเป็นผู้แทนผู้ครอบครองบุคคลนั้น
จะเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือได้ ก็แต่โดยบอกกล่าวไปยังผู้ครอบครองว่าไม่เจตนาจะยึดถือทรัพย์สินแทนผู้ครอบครองต่อไป หรือตนเองเป็นผู้ครอบครองโดยสุจริต อาศัยอำนาจใหม่อันได้จากบุคคลภายนอก

มาตรา 1733  การให้อนุมัติ การปลดเปลื้องความรับผิด หรือข้อตกลงอื่นๆ อันเกี่ยวกับรายงานแสดงบัญชีการจัดการมรดกดั่งที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1732 นั้น จะสมบูรณ์ต่อเมื่อรายงานแสดงบัญชีนั้นได้ส่งมอบล่วงหน้าแก่ทายาทพร้อมด้วยเอกสารอันเกี่ยวกับการนั้นไม่น้อยกว่าสิบวันก่อนแล้ว
คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกนั้น มิให้ทายาทฟ้องเกินกว่าห้าปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง




คดีมรดก ร้องศาลตั้งผู้จัดการมรดก

การสละมรดกมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายจึงขาดความเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
แม้กองมรดกมีผู้จัดการมรดกแล้วทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้อง
พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองไม่ได้ทำต่อหน้าพยานตกเป็นโมฆะ
บุตรนอกสมรสและบิดานอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดกต่อกันอย่างไร
ผู้จัดการมรดก | ทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดกเรียกให้เจ้าของรวมส่งมอบโฉนดที่ดิน
การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลงอายุความ 5 ปียังไม่เริ่มนับ
สิทธิรับมรดกก่อนหลัง
คำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ
อายุความฟ้องคดีแพ่งอันเนื่องจากคดียักยอกทรัพย์มรดก
เมื่อแบ่งมรดกเสร็จแล้วความเป็นทายาทสิ้นสุดลง-อายุความมรดก
การแบ่งมรดกที่ดินมือเปล่าไม่มีเอกสารสิทธิ
คดีมรดกต้องเป็นคดีที่ทายาทด้วยกันพิพาทกันเรื่องสิทธิในส่วนแบ่งมรดก
ขอให้ศาลสั่งถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ความรับผิดของผู้ตาย
แสดงบัญชีเครือญาติเป็นเท็จปิดบังจำนวนทายาท
อายุความคดีมรดกสะดุดหยุดลง การแบ่งทรัพย์มรดกไม่ชอบ
ไม่มีกฎหมายบังคับให้ฟ้องเอาทรัพย์มรดกจากทายาทอื่นที่ครอบครองแทนใน 1 ปี
สัญญาว่าจ้างติดตามทรัพย์กองมรดกเรียกส่วนแบ่งเป็นโมฆะ
คดีฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมปลอมและถูกกำจัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่เพียงทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป
โจทก์ฟ้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปี
ผู้จัดการมรดกแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันฟังคำสั่งศาล
คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกอายุความ 5 ปี
การแจ้งการเกิดของเด็กในทะเบียนคนเกิดเองว่าเป็นบุตรของตน
ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
การที่จะเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนทายาทอื่น
พินัยกรรมเอกสารลับทำผิดแบบเป็นโมฆะ
การจัดการมรดกไม่ชอบไม่อาจถือว่าการจัดการมรดกสิ้นลงแล้ว
การจัดการทรัพย์มรดกในฐานะผู้จัดการมรดกตามหน้าที่ที่จำเป็น
คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกปิดบังทรัพย์มรดกมีผลอย่างไร
ทายาทมิได้ฟ้องเรียกร้องมรดกภายใน 1 ปี
ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ผู้มีส่วนได้เสีย
สามีไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้จัดการมรดกได้
ทรัพย์มรดกยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาททุกคน-การจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้น
บุคคลผู้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มีผลอย่างไร?
ฟ้องผู้จัดการมรดกนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงเกินห้าปีขาดอายุความ
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลถูกเพิกถอนได้
อายุความคดีมรดก เจ้าหนี้ฟ้องคดีมรดกเกินหนึ่งปี
คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก
บุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย
บุตรนอกกฎหมายซึ่งผู้ตายรับรองแล้วเป็นผู้สืบสันดาน
มารดาขายที่ดินซึ่งผู้เยาว์มีส่วนแบ่งไม่ต้องขอศาล
นายอำเภอคือผู้มีอำนาจจัดทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
ความรับผิดของผู้จัดการมดกภายหลังการเสียชีวิต
ผู้จัดการมรดกร่วมนำทรัพย์มรดกหาประโยชน์แก่ตน
ผู้จัดการมรดกปฏิบัติผิดหน้าที่-ทายาทผู้มีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกได้
ผู้สืบสันดาน คือใคร? ต่างกับทายาท อย่างไร?
คู่สมรสและการแบ่งมรดกของคู่สมรส | การสมรสเป็นโมฆะ
อายุความคดีมรดก และอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก
เหตุอันจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก
การปันมรดกเสร็จสิ้นลงแล้วการถอนผู้จัดการมรดกย่อมพ้นกำหนดเวลา
สามีมิได้จดทะเบียนสมรสไม่ถือเป็นทายาทของภริยาผู้ตาย
อำนาจหน้าที่จัดการศพพระภิกษุผู้มรณภาพไม่มีทรัพย์สิน
สามีไม่จดทะเบียนสมรสขอถอนผู้จัดการมรดก มีกรรมสิทธิ์รวม
ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะทำหน้าที่ผู้จัดการมรดก
อำนาจฟ้องขอแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตาย
ทายาททุกคนมอบหมายให้ครอบครองที่ดินแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วม
ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามมาตรา 1300
ผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก
ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์มรดกเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความแล้ว
ทายาทมีส่วนเท่ากันออกค่าใช้จ่ายจัดการทำศพ
ความเหมาะสมในการเป็นผู้จัดการมรดก
สิทธิของบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายในการรับมรดกของบุตรนอกกฎหมาย
หนังสือสัญญาแบ่งมรดกตกเป็นโมฆะหรือไม่?
อำนาจและหน้าที่ในการจัดการทำศพและลำดับก่อนหลัง
พินัยกรรมมีเงื่อนไขบังคับก่อน
ผู้จัดการมรดกฟ้องแทนทายาทโดยธรรมอื่น
คู่สมรสที่จดทะเบียนหย่าแล้วเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่