ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ทายาทโดยธรรมย่อมมีสิทธิเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์มรดกตามส่วนที่จะพึงได้

ทายาทโดยธรรมย่อมมีสิทธิเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์มรดกตามส่วนที่จะพึงได้

โจทก์ จำเลย และนางบุญสมเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันของผู้ตายตามคำสั่งศาล โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกและในฐานะส่วนตัว โดยอ้างว่าทรัพย์มรดกส่วนใหญ่จะใส่ชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์และจำเลยเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาททุกคน จำเลยต้องนำทรัพย์มรดกมาแบ่งปันให้แก่ทายาท จำเลยแสดงทรัพย์มรดกไม่ครบถ้วนโดยปิดบังทรัพย์มรดกมากกว่าส่วนที่จำเลยจะได้รับจึงไม่สามารถจัดการแบ่งมรดกได้ คดีนี้จึงเป็นเรื่องที่จำเลยปิดบังไม่นำทรัพย์มรดกที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยมาแบ่งปันให้แก่ทายาท อันเป็นการกระทำส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับการทำหน้าที่ของผู้จัดการมรดก  กรณีจึงไม่ใช่เป็นการฟ้องคดีจัดการมรดกซึ่งในกรณีที่มีผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลหลายคนต้องให้ถือเอาเสียงข้างมาก โจทก์จึงไม่ต้องฟ้องผู้จัดการมรดกร่วมที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการปิดบังทรัพย์มรดก เพราะเมื่อเจ้ามรดกตาย ทรัพย์มรดกนั้นก็ตกแก่ทายาทโดยผลของกฎหมายโจทก์เป็นทายาทคนหนึ่งย่อมมีสิทธิเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์มรดกตามส่วนที่จะพึงได้ ซึ่งสามารถใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอก รวมถึงการเรียกร้องเอาทรัพย์สินคืน ตาม ป.พ.พ. บรรพ 6 ลักษณะ 4 ว่าด้วยวิธีจัดการและปันทรัพย์มรดกก็มิได้ห้ามทายาทไม่ให้ฟ้องร้องติดตามเอาทรัพย์มรดกจากผู้ปิดบังครอบครองซึ่งไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ได้ โจทก์ในฐานะทายาทจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยเพื่อรวบรวมทรัพย์สินเข้าเป็นกองมรดกแบ่งปันให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิต่อไป ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกร่วมเพียงลำพัง และพิพากษายกฟ้องโจทก์มานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5827/2562

โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกและในฐานะส่วนตัวโดยบรรยายฟ้องว่าโจทก์ จำเลย และ บ. เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันของผู้ตายตามคำสั่งศาล ทรัพย์มรดกส่วนใหญ่จะใส่ชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์และจำเลยเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแทน จำเลยมีหน้าที่ต้องนำทรัพย์มรดกทั้งหมดมาแบ่งปันให้แก่ทายาท แต่จำเลยแสดงทรัพย์มรดกเพียงบางส่วน โดยปิดบังทรัพย์มรดกมากกว่าส่วนที่จำเลยจะได้รับจากกองมรดก จึงไม่สามารถจัดการแบ่งมรดกได้ ขอให้บังคับจำเลยและผู้จัดการมรดกร่วมกันแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ตามสิทธิที่พึงได้หนึ่งในสี่ส่วน หรือให้ชำระเงินแทนพร้อมดอกเบี้ย กับขอให้จำเลยถูกกำจัดมิให้รับมรดก ดังนั้น ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในการฟ้องคดีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยปิดบังไม่นำทรัพย์มรดกที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยมาแบ่งปันให้แก่ทายาท อันเป็นการกระทำส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับการทำหน้าที่ของผู้จัดการมรดก แม้จะมีคำขอท้ายฟ้องให้บังคับจำเลยและผู้จัดการมรดกร่วมแบ่งมรดก ก็มิใช่เป็นการฟ้องคดีจัดการมรดก ซึ่งกรณีมีผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลหลายคนต้องดำเนินการตาม ป.พ.พ. มาตรา 1726 ที่บัญญัติให้การทำการตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกต้องถือเอาเสียงข้างมาก โจทก์จึงไม่จำต้องฟ้องผู้จัดการมรดกร่วมที่ไม่ได้ปิดบังหรือมีส่วนร่วมในการปิดบังทรัพย์มรดกด้วย

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยและผู้จัดการมรดกร่วมของผู้ตายแบ่งทรัพย์มรดกให้โจทก์ตามสิทธิหนึ่งในสี่ส่วน ตามบัญชีทรัพย์และสรุปรายการแบ่งปันทรัพย์มรดกท้ายฟ้องหมายเลข 4 และ 5 หากจำเลยและผู้จัดการมรดกร่วมไม่สามารถแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ได้ ขอให้จำเลยและผู้จัดการมรดกร่วมชำระเงิน 208,048,410 บาท จากกองมรดกพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระแก่โจทก์เสร็จสิ้น ขอให้กำจัดมิให้จำเลยรับมรดกในส่วนของตนที่จะได้รับ และให้กลับคืนเป็นทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งปันแก่ทายาทต่อไป หากจำเลยและผู้จัดการมรดกร่วมไม่แบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ ขอให้ยึดทรัพย์มรดกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งปันแก่โจทก์

จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยแบ่งปันทรัพย์มรดกของนายเกรียงไกร ผู้ตาย ตามบัญชีทรัพย์มรดก ทรัพย์รายการที่ 1 รวม 13 รายการ ทรัพย์รายการที่ 2 รวม 8 รายการ ทรัพย์รายการที่ 2 แบ่งออกเป็นสองส่วน ทรัพย์หนึ่งในสองส่วนเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย แล้วนำทรัพย์มรดกหักออกจากค่ารักษาพยาบาล 5,817,072 บาท ส่วนที่เหลือจึงเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายแบ่งปันให้โจทก์ให้หนึ่งในห้าส่วนของทรัพย์มรดกค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

โจทก์และจำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้อง โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่ให้ถูกต้อง ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงตามที่คู่ความมิได้โต้แย้งกันในชั้นนี้รับฟังได้ว่า นายเกรียงไกร ผู้ตาย กับนางบุญสม เป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้ตายถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2553 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งนางบุญสม โจทก์ และจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน ตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 89/2554 ของศาลชั้นต้น เดิมผู้ตายประกอบกิจการให้เช่ารถแท็กซี่ โรงภาพยนตร์และมีที่ดินให้เช่า แต่เลิกกิจการดังกล่าว ต่อมาผู้ตายกับจำเลยเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนและผู้ถือหุ้นในบริษัท 3 บริษัท คือ บริษัทเค.เอส. เรียลเอสเตทส์ จำกัด บริษัทราม 65 เซ็นเตอร์ จำกัด และบริษัทรอยัลพลาซ่า จำกัด วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2554 โจทก์มีหนังสือแจ้งจำเลยและนางบุญสมให้นัดประชุมปรึกษาเรื่องการจัดการมรดกของผู้ตาย วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2554 โจทก์ จำเลย นางบุญสม นางวิไล และนายวิชิต พร้อมญาติพี่น้องของแต่ละฝ่ายเข้าร่วมประชุม โดยโจทก์ จำเลย และนางบุญสมยอมรับว่าทรัพย์สิน 13 รายการ ตามฟ้องข้อ 5.1 เป็นสินสมรสระหว่างผู้ตายกับนางบุญสมที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยและนางบุญสม และทรัพย์สินที่นางบุญสมมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ 8 รายการ ตามฟ้องข้อ 5.2 เป็นสินสมรสระหว่างผู้ตายกับนางบุญสม และกองมรดกมีหนี้สินเป็นค่ารักษาพยาบาลที่จำเลยทดรองจ่ายแทนไป 5,817,072 บาท

มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาโจทก์ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เห็นว่า โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกและในฐานะส่วนตัวโดยบรรยายฟ้องว่าโจทก์ จำเลย และนางบุญสมเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันของผู้ตายตามคำสั่งศาล ทรัพย์มรดกส่วนใหญ่จะใส่ชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์และจำเลยเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแทน จำเลยมีหน้าที่ต้องนำทรัพย์มรดกทั้งหมดมาแบ่งปันให้แก่ทายาท แต่จำเลยแสดงทรัพย์มรดกเพียงบางส่วน โดยปิดบังทรัพย์มรดก 1,627,480,251 บาท มากกว่าส่วนที่จำเลยจะได้รับจากกองมรดก จึงไม่สามารถจัดการแบ่งมรดกได้ ขอให้บังคับจำเลยและผู้จัดการมรดกร่วมแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ตามสิทธิที่พึงได้หนึ่งในสี่ส่วน หรือให้ชำระเงินแทนพร้อมดอกเบี้ย กับขอให้จำเลยถูกกำจัดมิให้รับมรดก ดังนั้น ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในการฟ้องคดีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยปิดบังไม่นำทรัพย์มรดกที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยมาแบ่งปันให้แก่ทายาท อันเป็นการกระทำส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับการทำหน้าที่ของผู้จัดการมรดก แม้จะมีคำขอท้ายฟ้องให้บังคับจำเลยและผู้จัดการมรดกร่วมแบ่งมรดก ก็มิใช่เป็นการฟ้องคดีจัดการมรดก ซึ่งกรณีมีผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลหลายคนต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1726 ที่บัญญัติให้การทำการตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกต้องถือเอาเสียงข้างมาก โจทก์จึงไม่จำต้องฟ้องผู้จัดการมรดกร่วมที่ไม่ได้ปิดบังหรือมีส่วนร่วมในการปิดบังทรัพย์มรดกด้วย เมื่อเจ้ามรดกตาย ทรัพย์มรดกนั้นก็ตกแก่ทายาท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 วรรคหนึ่ง โจทก์เป็นทายาทคนหนึ่งย่อมมีสิทธิเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์มรดกตามส่วนที่ตนจะพึงได้ ซึ่งเจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ อาจใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอก รวมถึงการเรียกร้องเอาทรัพย์สินคืน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359 ทั้งบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 ลักษณะ 4 ว่าด้วยวิธีจัดการและปันทรัพย์มรดกก็มิได้ห้ามทายาทไม่ให้ฟ้องร้องติดตามเอาทรัพย์มรดกจากผู้ปิดบังครอบครองซึ่งไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ได้ โจทก์ในฐานะทายาทจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยเพื่อรวบรวมทรัพย์สินเข้าเป็นกองมรดกแบ่งปันให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิต่อไป ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกร่วมเพียงลำพัง และพิพากษายกฟ้องโจทก์มานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังขึ้น

พิพากษากลับ ให้จำเลยแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตาย 13 รายการ ตามบัญชีทรัพย์มรดกของผู้ตาย และ 8 รายการ ตามรายการทรัพย์สินของนางบุญสมท้ายรายงานการประชุมการจัดการทรัพย์มรดกของผู้ตาย และบัญชีทรัพย์มรดกของผู้ตาย รายการที่ 1 และ 2 โดยทรัพย์มรดกดังกล่าวให้แบ่งส่วนที่เป็นสินสมรสของนางบุญสมออกครึ่งหนึ่งก่อน ส่วนอีกครึ่งหนึ่งของผู้ตายเป็นมรดกนำไปหักออกจากค่ารักษาพยาบาล 5,817,072 บาท ส่วนที่เหลือเป็นทรัพย์มรดกแบ่งให้โจทก์หนึ่งในห้าส่วน วิธีการแบ่งให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

 




คดีมรดก ร้องศาลตั้งผู้จัดการมรดก

บุตรนอกกฎหมายซึ่งผู้ตายรับรองแล้วเป็นผู้สืบสันดาน
มารดาขายที่ดินซึ่งผู้เยาว์มีส่วนแบ่งไม่ต้องขอศาล
นายอำเภอคือผู้มีอำนาจจัดทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
ความรับผิดของผู้จัดการมดกภายหลังการเสียชีวิต
ผู้จัดการมรดกร่วมนำทรัพย์มรดกหาประโยชน์แก่ตน
ผู้จัดการมรดกปฏิบัติผิดหน้าที่-ทายาทผู้มีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกได้
ผู้สืบสันดาน คือใคร? ต่างกับทายาท อย่างไร?
คู่สมรสและการแบ่งมรดกของคู่สมรส | การสมรสเป็นโมฆะ
อายุความคดีมรดก และอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก
เหตุอันจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก
การปันมรดกเสร็จสิ้นลงแล้วการถอนผู้จัดการมรดกย่อมพ้นกำหนดเวลา
สามีมิได้จดทะเบียนสมรสไม่ถือเป็นทายาทของภริยาผู้ตาย
อำนาจหน้าที่จัดการศพพระภิกษุผู้มรณภาพไม่มีทรัพย์สิน
สามีไม่จดทะเบียนสมรสขอถอนผู้จัดการมรดก มีกรรมสิทธิ์รวม
ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะทำหน้าที่ผู้จัดการมรดก
อำนาจฟ้องขอแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตาย
ทายาททุกคนมอบหมายให้ครอบครองที่ดินแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วม
ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามมาตรา 1300
ทายาทสละมรดกโดยที่รู้อยู่ว่าการสละมรดกทำให้เจ้าหนี้ของตนเสียประโยชน์
สิทธิรับมรดกที่ยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาห้ามยกเป็นข้อต่อสู้ผู้รับโอนโดยสุจริต
ตามกฎหมายลักษณะผัวเมียมิได้บัญญัติให้ใช้บังคับเฉพาะแก่บุคคลผู้มีสัญชาติไทย
ผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก
ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์มรดกเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความแล้ว
ผู้คัดค้านไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการขอจัดการมรดก
ทายาทฟ้องทายาทให้แบ่งทรัพย์มรดก
ทายาทมีส่วนเท่ากันออกค่าใช้จ่ายจัดการทำศพ
ความเหมาะสมในการเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น
สิทธิของบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายในการรับมรดกของบุตรนอกกฎหมาย
หนังสือสัญญาแบ่งมรดกตกเป็นโมฆะหรือไม่?
อำนาจและหน้าที่ในการจัดการทำศพและลำดับก่อนหลัง
พินัยกรรมมีเงื่อนไขบังคับก่อน
ผู้จัดการมรดกฟ้องแทนทายาทโดยธรรมอื่น
คู่สมรสที่จดทะเบียนหย่าแล้วเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่
การสละมรดกมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายจึงขาดความเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
แม้กองมรดกมีผู้จัดการมรดกแล้วทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้อง
พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองไม่ได้ทำต่อหน้าพยานตกเป็นโมฆะ
บุตรนอกสมรสและบิดานอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดกต่อกันอย่างไร
ผู้จัดการมรดก | ทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดกเรียกให้เจ้าของรวมส่งมอบโฉนดที่ดิน
การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลงอายุความ 5 ปียังไม่เริ่มนับ
สิทธิรับมรดกก่อนหลัง
คำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ
อายุความฟ้องคดีแพ่งอันเนื่องจากคดียักยอกทรัพย์มรดก
เมื่อแบ่งมรดกเสร็จแล้วความเป็นทายาทสิ้นสุดลง-อายุความมรดก
การแบ่งมรดกที่ดินมือเปล่าไม่มีเอกสารสิทธิ
คดีมรดกต้องเป็นคดีที่ทายาทด้วยกันพิพาทกันเรื่องสิทธิในส่วนแบ่งมรดก
ขอให้ศาลสั่งถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ความรับผิดของผู้ตาย
แสดงบัญชีเครือญาติเป็นเท็จปิดบังจำนวนทายาท
อายุความคดีมรดกสะดุดหยุดลง การแบ่งทรัพย์มรดกไม่ชอบ
ไม่มีกฎหมายบังคับให้ฟ้องเอาทรัพย์มรดกจากทายาทอื่นที่ครอบครองแทนใน 1 ปี
สัญญาว่าจ้างติดตามทรัพย์กองมรดกเรียกส่วนแบ่งเป็นโมฆะ
คดีฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมปลอมและถูกกำจัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่เพียงทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป
โจทก์ฟ้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปี
ผู้จัดการมรดกแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันฟังคำสั่งศาล
คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกอายุความ 5 ปี
การแจ้งการเกิดของเด็กในทะเบียนคนเกิดเองว่าเป็นบุตรของตน
ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
การที่จะเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนทายาทอื่น
พินัยกรรมเอกสารลับทำผิดแบบเป็นโมฆะ
การจัดการมรดกไม่ชอบไม่อาจถือว่าการจัดการมรดกสิ้นลงแล้ว
การจัดการทรัพย์มรดกในฐานะผู้จัดการมรดกตามหน้าที่ที่จำเป็น
คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกปิดบังทรัพย์มรดกมีผลอย่างไร
ทายาทมิได้ฟ้องเรียกร้องมรดกภายใน 1 ปี
ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ผู้มีส่วนได้เสีย
สามีไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้จัดการมรดกได้
ทรัพย์มรดกยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาททุกคน-การจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้น
บุคคลผู้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มีผลอย่างไร?
ฟ้องผู้จัดการมรดกนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงเกินห้าปีขาดอายุความ
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลถูกเพิกถอนได้
อายุความคดีมรดก เจ้าหนี้ฟ้องคดีมรดกเกินหนึ่งปี
คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก
บุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย