ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ผู้จัดการมรดกร่วมนำทรัพย์มรดกหาประโยชน์แก่ตน

ผู้จัดการมรดกร่วมนำทรัพย์มรดกหาประโยชน์แก่ตน

ผู้จัดการมรดกร่วมนำทรัพย์มรดกหาประโยชน์แก่ตน

 โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้บังคับคืนเงินค่าเช่าทรัพย์มรดกแก่กองมรดกของผู้ตายและขับไล่จำเลยทั้งสามจากคลังสินค้าซึ่งเป็นทรัพย์มรดกอันถือเป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก ซึ่งมีอายุความ 5 ปี โจทก์ฟ้องคดีนี้ภายใน 5 ปีคดีจึงยังไม่ขาดอายุความ

ตามคำฟ้องเชื่อว่าสัญญาเช่าคลังสินค้า(ทรัพย์มรดก)ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เป็นการทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานในการทำสัญญาให้จำเลยที่ 3 เช่าช่วง โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีเจตนาที่จะผูกพันชำระค่าเช่าต่อกัน 

เมื่อโจทก์ทั้งสองฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันคืนเงินค่าเช่าคลังสินค้าพิพาทที่ได้รับจากจำเลยที่ 3 แล้ว การจะบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 คืนเงินค่าเช่าในส่วนนี้อีก ย่อมเป็นการบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดซ้ำซ้อนกันในมูลหนี้เดียวกัน ดังนั้น โจทก์ทั้งสองจึงไม่อาจขอให้บังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดคืนเงินค่าเช่าคลังสินค้าพิพาทในส่วนนี้อีก จำเลยที่ 1 และที่ 2 คงต้องรับผิดคืนเงินค่าเช่าคลังสินค้าพิพาทกึ่งหนึ่งเป็นเงิน 10,502,184.33 บาท แก่โจทก์ทั้งสองเท่านั้น 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2026/2563

โจทก์ทั้งสองฟ้องตั้งประเด็นว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมรู้กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 หาประโยชน์จากกองมรดกของผู้ตายด้วยการนำคลังสินค้าพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายออกให้จำเลยที่ 2 เช่าในราคาต่ำ แล้วจำเลยที่ 2 นำคลังสินค้าพิพาทออกให้จำเลยที่ 3 เช่าช่วง ทำให้กองมรดกของผู้ตายเสียหายต้องขาดรายได้ที่ควรจะได้รับ สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองจึงเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกร่วมอีกผู้หนึ่ง นำเอาทรัพย์มรดกของผู้ตายไปหาประโยชน์แก่ตนและพวกโดยไม่มีสิทธิ ขอให้บังคับคืนเงินค่าเช่าดังกล่าวแก่กองมรดกของผู้ตายและขับไล่จำเลยทั้งสามจากคลังสินค้าพิพาท อันถือเป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก ซึ่งมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง ดังนั้น แม้โจทก์ทั้งสองจะกล่าวบรรยายฟ้องอ้างการกระทำของจำเลยทั้งสามว่าเป็นการทำสัญญาโดยกลฉ้อฉลและละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง กรณีก็ไม่อาจฟังว่าสภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องเป็นมูลคดีละเมิดและกลฉ้อฉลอันมีอายุความ 1 ปี ตามข้ออ้างของจำเลยที่ 1 และที่ 2 และเมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การรับว่าโจทก์ทั้งสองทราบถึงการละเมิดและทราบตัวผู้จะพึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนก่อนวันที่ 11 เมษายน 2554 และโจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้ในวันที่ 30 กรกฎาคม 2555 ซึ่งยังไม่เกินกำหนด 5 ปี คดีโจทก์ทั้งสองจึงไม่ขาดอายุความโจทก์ทั้งสองฎีกาว่า จำเลยที่ 1 นำคลังสินค้าพิพาทออกให้เช่าในฐานะทายาทตามพินัยกรรม (ผู้รับพินัยกรรม) เงินค่าเช่าต้องกลับเข้าสู่กองมรดกของผู้ตาย สิทธิของจำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาศาลฎีกา (ในอีกคดีหนึ่ง) ต้องไปว่ากล่าวกันในภายหลัง และหากจำเลยที่ 1 มีสิทธิกึ่งหนึ่งในค่าเช่าคลังสินค้าพิพาทก็คงมีสิทธิได้รับจากค่าเช่าซึ่งจำเลยที่ 2 ชำระให้แก่จำเลยที่ 1 ทั้งความเป็นหุ้นส่วนก็เป็นเรื่องเฉพาะตัว เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นหุ้นส่วนกับผู้ตาย จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดคืนเงินค่าเช่าคลังสินค้าพิพาทเต็มจำนวนนั้น เป็นข้อที่โจทก์ทั้งสองเพิ่งหยิบยกขึ้นต่อสู้ในชั้นฎีกาโดยไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยทุจริตร่วมมือกันหาประโยชน์จากกองมรดกของผู้ตาย โดยจำเลยที่ 1 นำคลังสินค้าพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายออกให้จำเลยที่ 2 เช่าในราคาเหมาเดือนละ 20,000 บาท ทั้งที่สามารถให้เช่าเก็บข้าวสารได้ไม่น้อยกว่าเดือนละ 500,000 บาท แล้วจำเลยที่ 2 โดยทุจริตร่วมมือกับจำเลยที่ 3 นำคลังสินค้าพิพาทออกให้จำเลยที่ 3 เช่าช่วงในอัตราเดือนละ 524,880 บาท โดยสัญญาเช่าคลังสินค้าพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เป็นการทำสัญญาโดยกลฉ้อฉลและรู้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำไปโดยไม่มีอำนาจ ทำให้กองมรดกของผู้ตายได้รับความเสียหาย ซึ่งตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ทั้งสองเห็นได้ว่าเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 นำเอาคลังสินค้าพิพาทไปให้จำเลยที่ 3 เช่าเพื่อแสวงหาประโยชน์จากทรัพย์มรดกของผู้ตายร่วมกันโดยไม่มีสิทธิที่จะกระทำได้ และยังอ้างว่าสัญญาเช่าคลังสินค้าพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เป็นการกระทำโดยกลฉ้อฉล กรณีตามคำฟ้องจึงมีเหตุอันควรเชื่อว่าสัญญาเช่าคลังสินค้าพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เป็นการทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานในการทำสัญญาให้จำเลยที่ 3 เช่าช่วงคลังสินค้าพิพาท โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีเจตนาที่จะผูกพันชำระค่าเช่าต่อกัน ทั้งหากจะฟังว่าสัญญาเช่าคลังสินค้าพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 มีผลผูกพันกันตามข้อสัญญา กรณีก็ต้องนับว่าค่าเช่าซึ่งจำเลยที่ 2 ต้องชำระแก่จำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิเหนือคลังสินค้าพิพาทและถือเป็นค่าใช้จ่ายซึ่งจำเลยที่ 2 มีสิทธินำไปหักทอนออกจากค่าเช่าช่วงคลังสินค้าพิพาทซึ่งจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดคืนแก่โจทก์ทั้งสอง และเมื่อโจทก์ทั้งสองฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันคืนเงินค่าเช่าคลังสินค้าพิพาทที่ได้รับจากจำเลยที่ 3 แล้ว การจะบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 คืนเงินค่าเช่าในส่วนนี้อีก ย่อมเป็นการบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดซ้ำซ้อนกันในมูลหนี้เดียวกัน ดังนั้น โจทก์ทั้งสองจึงไม่อาจขอให้บังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดคืนเงินค่าเช่าคลังสินค้าพิพาทในส่วนนี้อีก จำเลยที่ 1 และที่ 2 คงต้องรับผิดคืนเงินค่าเช่าคลังสินค้าพิพาทกึ่งหนึ่งเป็นเงิน 10,502,184.33 บาท แก่โจทก์ทั้งสองเท่านั้น ปัญหาข้อนี้ แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ แต่ถือเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 (เดิม)

โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และสัญญาเช่า (เช่าช่วง) ระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ให้จำเลยทั้งสามขนย้ายทรัพย์สินออกจากคลังสินค้าทั้งสองหลัง ส่งมอบการครอบครองคลังสินค้าคืนแก่โจทก์ทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตาย กับให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงิน 21,250,320 บาท และค่าเสียหายอีกเดือนละ 544,880 บาท จนกว่าจำเลยทั้งสามจะส่งมอบคลังสินค้าทั้งสองหลังคืนแก่โจทก์ทั้งสองในสภาพเรียบร้อย หากจำเลยทั้งสามไม่ส่งมอบคืน ให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสามในการส่งมอบ โดยให้จำเลยทั้งสามรับผิดชอบในบรรดาความเสียหายและค่าใช้จ่าย

จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันชำระเงิน 11,078,267 บาท แก่โจทก์ทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของนางสาวสิริพร ผู้ตาย พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 28 เมษายน 2552 ไปจนกว่าจะชำระเสร็จ กับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งสอง โดยกำหนดค่าทนายความ 20,000 บาท เฉพาะค่าขึ้นศาลให้ใช้แทนตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ทั้งสองชนะคดี ยกฟ้องจำเลยที่ 3 ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 3 ให้เป็นพับ คำขออื่นให้ยก

โจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 1 และที่ 2 อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันชำระเงิน 10,017,440.30 บาท แก่โจทก์ทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของนางสาวสิริพร ผู้ตาย โดยไม่ต้องชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ทั้งสอง ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

โจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า โจทก์ทั้งสองเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับนางสาวสิริพร ผู้ตาย โดยมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 12 คน ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นหลานของจำเลยที่ 1 ผู้ตายถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2550 ภายหลังผู้ตายถึงแก่ความตาย โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายต่อศาลจังหวัดนครสวรรค์ จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องคัดค้าน ศาลจังหวัดนครสวรรค์มีคำสั่งตั้งโจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกัน ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาโดยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8834/2556 พิพากษายืน ระหว่างพิพาทกันในคดีร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย จำเลยที่ 1 เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ทั้งสองเป็นจำเลยต่อศาลจังหวัดนครสวรรค์มิให้เกี่ยวข้องกับทรัพย์มรดกของผู้ตายโดยอ้างว่าผู้ตายอยู่กินกับโจทก์ (จำเลยที่ 1 ในคดีนี้) ฉันชู้สาวในลักษณะรักร่วมเพศและประกอบธุรกิจร่วมกัน โจทก์ (จำเลยที่ 1 ในคดีนี้) จึงมีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายกึ่งหนึ่งและอีกกึ่งหนึ่งผู้ตายทำพินัยกรรมยกให้โจทก์ (จำเลยที่ 1 ในคดีนี้) แล้ว ศาลฎีกาโดยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 579/2559 พิพากษาว่า ทรัพย์ตามบัญชีทรัพย์ รายการที่ 1 ถึงรายการที่ 11 และรายการที่ 16 ถึงรายการที่ 21 ซึ่งรวมถึงคลังสินค้าที่พิพาทในคดีนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ (จำเลยที่ 1 ในคดีนี้) กึ่งหนึ่ง ครั้นวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2552 จำเลยที่ 1 ทำสัญญาให้จำเลยที่ 2 เช่าคลังสินค้าพิพาทหลังที่ 2 พื้นที่ 3,600 ตารางเมตร สามารถเก็บข้าวสารได้ 145,800 กระสอบ และคลังสินค้าพิพาทหลังที่ 3 พื้นที่ 2,880 ตารางเมตร สามารถเก็บข้าวสารได้ 116,640 กระสอบ รวม 2 หลัง ในอัตราเหมาเดือนละ 20,000 บาท จากนั้นวันที่ 28 เมษายน 2552 จำเลยที่ 2 ทำสัญญาให้จำเลยที่ 3 เช่าช่วงคลังสินค้าพิพาททั้งสองหลังในอัตรากระสอบละ 2 บาทต่อเดือน โจทก์ทั้งสองอ้างว่าจำเลยทั้งสามร่วมทำสัญญาเช่าคลังสินค้าพิพาทโดยรู้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิในคลังสินค้าพิพาท ทำให้โจทก์ทั้งสองและกองมรดกของผู้ตายต้องขาดรายได้จากค่าเช่าคลังสินค้าพิพาทตามสัญญาเช่าระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เดือนละ 20,000 บาท และตามสัญญาเช่าช่วงระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 เดือนละ 524,880 บาท รวมเป็นเงิน 544,880 บาท ต่อเดือน โจทก์ทั้งสองจึงฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าคลังสินค้าพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และสัญญาเช่าช่วงคลังสินค้าพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 พร้อมทั้งขับไล่จำเลยทั้งสามออกจากคลังสินค้าพิพาท และให้ร่วมกันชำระคืนเงินค่าเช่าคลังสินค้าพิพาทเดือนละ 544,880 บาท นับแต่วันทำสัญญาเช่าช่วงถึงวันฟ้องเป็นเงินรวม 21,250,320 บาท และค่าเช่าเดือนละ 544,880 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป แต่จำเลยทั้งสามปฏิเสธความรับผิด

ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในประการแรกตามฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีว่า โจทก์ทั้งสองมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระค่าเสียหายตามฟ้องหรือไม่ เห็นว่า แม้ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาจะรับฟังเป็นยุติว่า จำเลยที่ 1 เคยเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ทั้งสองเป็นจำเลยอ้างว่า จำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดกทั้งหมดของผู้ตาย โดยจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรวมในทรัพย์มรดกดังกล่าวกึ่งหนึ่งและเป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมอีกกึ่งหนึ่ง และศาลฎีกาโดยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 579/2559 พิพากษาว่า ทรัพย์มรดกของผู้ตายบางรายการซึ่งรวมถึงคลังสินค้าพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 กึ่งหนึ่ง ก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงก็ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองกล่าวบรรยายฟ้องอ้างว่าคลังสินค้าพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายมีเจตนาทุจริตร่วมกับจำเลยที่ 2 แสวงหาประโยชน์จากกองมรดกของผู้ตาย โดยนำคลังสินค้าพิพาทไปให้จำเลยที่ 2 เช่าในราคาต่ำเดือนละ 20,000 บาท แล้วให้จำเลยที่ 2 นำไปให้จำเลยที่ 3 เช่าช่วงในราคาเดือนละ 524,880 บาท โดยจำเลยที่ 3 รู้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธินำคลังสินค้าพิพาทออกให้เช่า ทำให้กองมรดกของผู้ตายขาดรายได้ที่ควรได้รับเป็นเวลา 3 ปี 3 เดือน ขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสามและร่วมกันคืนเงินค่าเช่าดังกล่าวพร้อมค่าเสียหายเป็นรายเดือนจนกว่าจะส่งมอบคลังสินค้าพิพาทคืน ซึ่งถือเป็นคำฟ้องที่มีสภาพแห่งข้อหาเป็นการเรียกเอาทรัพย์มรดกและดอกผลที่เกิดจากทรัพย์มรดกของผู้ตายคืนจากจำเลยที่ 1 ผู้จัดการมรดกซึ่งกระทำผิดหน้าที่ รวมถึงจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้ร่วมกระทำการโดยทุจริตอันเป็นหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกร่วมของผู้ตาย และเมื่อสิทธิของจำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวเพิ่งเกิดขึ้นภายหลังโจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้ ทั้งเป็นสิทธิเพียงบางส่วนในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ดังนั้น โจทก์ทั้งสองย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามปฏิบัติการชำระหนี้ตามฟ้องได้ ส่วนข้ออ้างในฎีกาที่ว่า จำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ในคลังสินค้าพิพาทกึ่งหนึ่ง โจทก์ทั้งสองไม่อาจขับไล่จำเลยที่ 1 ก็ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองแถลงขอสละประเด็นดังกล่าว ตามรายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่ 17 มีนาคม 2560 ของศาลชั้นต้นไปแล้ว และศาลล่างทั้งสองก็มิได้พิพากษาบังคับในส่วนนี้ ฎีกาข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดี ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า โจทก์ทั้งสองมีอำนาจฟ้องนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

ปัญหาต้องวินิจฉัยในประการต่อไปตามฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีว่า ฟ้องโจทก์ทั้งสองขาดอายุความหรือไม่ เห็นว่า โจทก์ทั้งสองฟ้องตั้งประเด็นว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ร่วมรู้กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 หาประโยชน์จากกองมรดกของผู้ตายด้วยการนำคลังสินค้าพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายออกให้จำเลยที่ 2 เช่าในราคาต่ำ แล้วจำเลยที่ 2 นำคลังสินค้าพิพาทออกให้จำเลยที่ 3 เช่าช่วง ทำให้กองมรดกของผู้ตายเสียหายต้องขาดรายได้ที่ควรจะได้รับ สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองจึงเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกร่วมอีกผู้หนึ่งนำเอาทรัพย์มรดกของผู้ตายไปหาประโยชน์แก่ตนและพวกโดยไม่มีสิทธิ ขอให้บังคับคืนเงินค่าเช่าดังกล่าวแก่กองมรดกของผู้ตายและขับไล่จำเลยทั้งสามจากคลังสินค้าพิพาท อันถือเป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกซึ่งมีอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1733 วรรคสอง ดังนั้น แม้โจทก์ทั้งสองจะกล่าวบรรยายฟ้องอ้างการกระทำของจำเลยทั้งสามว่า เป็นการทำสัญญาโดยกลฉ้อฉลและละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง กรณีก็ไม่อาจฟังว่าสภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องเป็นมูลคดีละเมิดและกลฉ้อฉลอันมีอายุความ 1 ปี ตามข้ออ้างของจำเลยที่ 1 และที่ 2 และเมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การรับว่าโจทก์ทั้งสองทราบถึงการละเมิดและทราบตัวผู้จะพึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนก่อนวันที่ 11 เมษายน 2554 และโจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้ในวันที่ 30 กรกฎาคม 2555 ซึ่งยังไม่เกินกำหนด 5 ปี คดีโจทก์ทั้งสองจึงไม่ขาดอายุความ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นด้วยในผล ฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในประการต่อไปตามฎีกาของโจทก์ทั้งสองมีว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องร่วมกันรับผิดชำระค่าเสียหายต่อโจทก์ทั้งสองเพียงใด เห็นว่า แม้คลังสินค้าพิพาทหลังที่ 2 มีพื้นที่ 3,600 ตารางเมตร สามารถเก็บข้าวสารได้ประมาณ 145,800 กระสอบ ส่วนคลังสินค้าพิพาทหลังที่ 3 มีพื้นที่ 2,880 ตารางเมตร สามารถเก็บข้าวสารได้ประมาณ 116,640 กระสอบ อัตราค่าเช่ากระสอบละ 2 บาทต่อเดือน คิดเป็นค่าเช่าเดือนละ 524,880 บาท และโจทก์ทั้งสองฎีกาอ้างว่าสัญญาเช่าช่วงระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ทำให้กองมรดกของผู้ตายขาดประโยชน์ที่ควรได้รับจากการเป็นผู้ทำสัญญาให้เช่าโดยตรง การกำหนดค่าเสียหายต้องคำนวณจากสิทธิที่ควรได้รับ มิใช่คำนวณจากเงินค่าเช่าซึ่งจำเลยที่ 3 ชำระให้แก่จำเลยที่ 2 ก็ตาม แต่เมื่อมูลคดีตามฟ้องเป็นกรณีโจทก์ทั้งสองอ้างว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 นำคลังสินค้าพิพาทไปให้เช่าโดยไม่มีสิทธิและขอให้บังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระเงินค่าเช่าดังกล่าวคืน มิใช่มูลคดีเรียกค่าเสียหายจากเหตุไม่อาจใช้ประโยชน์จากคลังสินค้าพิพาททั้งสัญญาเช่าคลังสินค้าพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ตกลงคิดค่าเช่าตามจำนวนข้าวสารที่นำเข้าเก็บจริงในคลังสินค้าเป็นรายกระสอบอัตรากระสอบละ 2 บาทต่อเดือน โดยคำนวณจากจำนวนข้าวสารคงเหลือซึ่งจำเลยที่ 3 นำเข้าเก็บในคลังสินค้าพิพาทในแต่ละวันของเดือนว่ามีเพียงใด มิได้กำหนดอัตราค่าเช่าตามจำนวนพื้นที่คลังสินค้าในอัตราคงที่ทุกเดือน ดังนั้น การกำหนดให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 คืนเงินค่าเช่าดังกล่าวจึงต้องกำหนดจากจำนวนเงินค่าเช่าซึ่งจำเลยที่ 3 ชำระแก่จำเลยที่ 2 หาใช่กำหนดจากจำนวนพื้นที่คลังสินค้าในอัตราคงที่เดือนละ 524,880 บาท ดังข้ออ้างของโจทก์ทั้งสอง และเมื่อข้อเท็จจริงจากทางพิจารณารับฟังเป็นยุติว่า จำเลยที่ 3 ชำระค่าเช่าคลังสินค้าพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2552 ถึงเดือนมีนาคม 2556 เป็นเงินรวม 21,216,534 บาท และคดีพิพาทอ้างกรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ศาลฎีกาโดยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 579/2559 พิพากษาว่าทรัพย์มรดกของผู้ตายบางรายการซึ่งมีคลังสินค้าพิพาท 2 หลังรวมอยู่ด้วย เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าของรวมจำนวนกึ่งหนึ่งนั้น มีผลผูกพันโจทก์ทั้งสอง และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่ความในคดีดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ดังนั้น โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันคืนเงินค่าเช่าคลังสินค้าพิพาทซึ่งเป็นดอกผลของทรัพย์มรดกของผู้ตายซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้รับจากจำเลยที่ 3 เพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้น และเมื่อข้อเท็จจริงได้ความจากทางนำสืบของคู่ความทั้งสองฝ่ายว่า ค่าเช่าคลังสินค้าพิพาทซึ่งจำเลยที่ 3 ชำระแก่จำเลยที่ 2 เป็นเงินทั้งสิ้น 21,216,534 บาท โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันคืนเงินค่าเช่าดังกล่าวเป็นเงิน 10,608,267 บาท ข้อที่โจทก์ทั้งสองฎีกาว่า ค่าเช่าคลังสินค้าพิพาทซึ่งจำเลยที่ 2 ได้รับจากจำเลยที่ 3 ถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (5) ต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 1 มิใช่อัตราร้อยละ 10 ตามคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์นั้น เห็นว่า ข้อเท็จจริงปรากฏจากใบสำคัญจ่ายว่า ในการชำระค่าเช่าคลังสินค้าพิพาททุกคราว จำเลยที่ 3 จะหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1 การที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 3 หักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 10 คิดเป็นเงินรวม 1,060,826.70 บาท แล้วนำไปหักทอนกับค่าเช่าคลังสินค้าพิพาท จึงเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไขให้ถูกต้อง และเมื่อคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1 แล้วคิดเป็นเงิน 106,082.67 บาท เมื่อนำไปหักทอนกับค่าเช่าซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องรับผิดแล้ว คงเป็นเงินซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องร่วมกันรับผิดจำนวน 10,502,184.33 บาท ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดคืนเงินค่าเช่าในส่วนนี้จำนวน 9,547,440.30 บาท นั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ทั้งสองในข้อนี้ฟังขึ้นบางส่วน

ส่วนฎีกาของโจทก์ทั้งสองที่ว่า จำเลยที่ 1 นำคลังสินค้าพิพาทออกให้เช่าในฐานะทายาทตามพินัยกรรม (ผู้รับพินัยกรรม) เงินค่าเช่าต้องกลับเข้าสู่กองมรดกของผู้ตาย สิทธิของจำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาศาลฎีกาต้องไปว่ากล่าวกันในภายหลัง และหากจำเลยที่ 1 มีสิทธิกึ่งหนึ่งในค่าเช่าคลังสินค้าพิพาทก็คงมีสิทธิได้รับจากค่าเช่า ซึ่งจำเลยที่ 2 ชำระให้แก่จำเลยที่ 1 ทั้งความเป็นหุ้นส่วนก็เป็นเรื่องเฉพาะตัว เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นหุ้นส่วนกับผู้ตาย จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดคืนเงินค่าเช่าคลังสินค้าพิพาทเต็มจำนวนนั้น เห็นว่า เป็นข้อที่โจทก์ทั้งสองเพิ่งหยิบยกขึ้นต่อสู้ในชั้นฎีกา โดยไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยในข้อนี้

ปัญหาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องร่วมกันคืนเงินตามสัญญาเช่าคลังสินค้าพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 กึ่งหนึ่ง เป็นเงิน 470,000 บาท แก่โจทก์ทั้งสองหรือไม่ เห็นว่า โจทก์ทั้งสองกล่าวบรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยทุจริตร่วมมือกันหาประโยชน์จากกองมรดกของผู้ตาย โดยจำเลยที่ 1 นำคลังสินค้าพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายออกให้จำเลยที่ 2 เช่าในราคาเหมาเดือนละ 20,000 บาท ทั้งที่คลังสินค้าพิพาทสามารถให้เช่าเก็บข้าวสารได้ไม่น้อยกว่าเดือนละ 500,000 บาท แล้วจำเลยที่ 2 โดยทุจริตร่วมมือกับจำเลยที่ 3 นำคลังสินค้าพิพาทออกให้จำเลยที่ 3 เช่าช่วงในอัตราเดือนละ 524,880 บาท โดยสัญญาเช่าคลังสินค้าพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เป็นการทำสัญญาโดยกลฉ้อฉล และรู้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำไปโดยไม่มีอำนาจ ทำให้กองมรดกของผู้ตายได้รับความเสียหาย ซึ่งตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ทั้งสองเห็นได้ว่าเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 นำเอาคลังสินค้าพิพาทไปให้จำเลยที่ 3 เช่าเพื่อแสวงหาประโยชน์จากทรัพย์มรดกของผู้ตายร่วมกันโดยไม่มีสิทธิที่จะกระทำได้ และยังอ้างว่าสัญญาเช่าคลังสินค้าพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เป็นการกระทำโดยกลฉ้อฉล กรณีตามคำฟ้องจึงมีเหตุอันควรเชื่อว่าสัญญาเช่าคลังสินค้าพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เป็นการทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานในการทำสัญญาให้จำเลยที่ 3 เช่าช่วงคลังสินค้าพิพาท โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีเจตนาที่จะผูกพันชำระค่าเช่าต่อกัน ทั้งหากจะฟังว่าสัญญาเช่าคลังสินค้าพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 มีผลผูกพันกันตามข้อสัญญา กรณีก็ต้องนับว่าค่าเช่าซึ่งจำเลยที่ 2 ต้องชำระแก่จำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิเหนือคลังสินค้าพิพาทและถือเป็นค่าใช้จ่ายซึ่งจำเลยที่ 2 มีสิทธินำไปหักทอนออกจากค่าเช่าช่วงคลังสินค้าพิพาทซึ่งจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดคืนแก่โจทก์ทั้งสอง และเมื่อโจทก์ทั้งสองฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันคืนเงินค่าเช่าคลังสินค้าพิพาทที่ได้รับจากจำเลยที่ 3 แล้ว การจะบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 คืนเงินค่าเช่าในส่วนนี้อีก ย่อมเป็นการบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดซ้ำซ้อนกันในมูลหนี้เดียวกัน ดังนั้น โจทก์ทั้งสองจึงไม่อาจขอให้บังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดคืนเงินค่าเช่าคลังสินค้าพิพาทในส่วนนี้อีก จำเลยที่ 1 และที่ 2 คงต้องรับผิดคืนเงินค่าเช่าคลังสินค้าพิพาทกึ่งหนึ่งเป็นเงิน 10,502,184.33 บาท แก่โจทก์ทั้งสองเท่านั้น ปัญหาข้อนี้ แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ แต่ถือเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 (เดิม) ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยเป็นบางส่วน ฎีกาของโจทก์ทั้งสองในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันชำระเงิน 10,502,184.33 บาท แก่โจทก์ทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของนางสาวสิริพร ผู้ตาย ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

การจัดการมรดกสิ้นสุดลง , termination of the administratorship

มาตรา 1733 วรรคสอง  "คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกนั้น มิให้ทายาทฟ้องเกินกว่าห้าปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง" 

 

Section 1733 (paragraph 2) No action on account of the administratorship can be entered by an heir later than five years after the termination of the administratorship.

การจัดการมรดกสิ้นสุดลง , termination of the administratorship




คดีมรดก ร้องศาลตั้งผู้จัดการมรดก

บุตรนอกกฎหมายซึ่งผู้ตายรับรองแล้วเป็นผู้สืบสันดาน
มารดาขายที่ดินซึ่งผู้เยาว์มีส่วนแบ่งไม่ต้องขอศาล
นายอำเภอคือผู้มีอำนาจจัดทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
ความรับผิดของผู้จัดการมดกภายหลังการเสียชีวิต
ผู้จัดการมรดกปฏิบัติผิดหน้าที่-ทายาทผู้มีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกได้
ผู้สืบสันดาน คือใคร? ต่างกับทายาท อย่างไร?
คู่สมรสและการแบ่งมรดกของคู่สมรส | การสมรสเป็นโมฆะ
อายุความคดีมรดก และอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก
เหตุอันจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก
การปันมรดกเสร็จสิ้นลงแล้วการถอนผู้จัดการมรดกย่อมพ้นกำหนดเวลา
สามีมิได้จดทะเบียนสมรสไม่ถือเป็นทายาทของภริยาผู้ตาย
อำนาจหน้าที่จัดการศพพระภิกษุผู้มรณภาพไม่มีทรัพย์สิน
สามีไม่จดทะเบียนสมรสขอถอนผู้จัดการมรดก มีกรรมสิทธิ์รวม
ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะทำหน้าที่ผู้จัดการมรดก
อำนาจฟ้องขอแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตาย
ทายาททุกคนมอบหมายให้ครอบครองที่ดินแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วม
ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามมาตรา 1300
ทายาทโดยธรรมย่อมมีสิทธิเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์มรดกตามส่วนที่จะพึงได้
ทายาทสละมรดกโดยที่รู้อยู่ว่าการสละมรดกทำให้เจ้าหนี้ของตนเสียประโยชน์
สิทธิรับมรดกที่ยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาห้ามยกเป็นข้อต่อสู้ผู้รับโอนโดยสุจริต
ตามกฎหมายลักษณะผัวเมียมิได้บัญญัติให้ใช้บังคับเฉพาะแก่บุคคลผู้มีสัญชาติไทย
ผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก
ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์มรดกเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความแล้ว
ผู้คัดค้านไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการขอจัดการมรดก
ทายาทฟ้องทายาทให้แบ่งทรัพย์มรดก
ทายาทมีส่วนเท่ากันออกค่าใช้จ่ายจัดการทำศพ
ความเหมาะสมในการเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น
สิทธิของบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายในการรับมรดกของบุตรนอกกฎหมาย
หนังสือสัญญาแบ่งมรดกตกเป็นโมฆะหรือไม่?
อำนาจและหน้าที่ในการจัดการทำศพและลำดับก่อนหลัง
พินัยกรรมมีเงื่อนไขบังคับก่อน
ผู้จัดการมรดกฟ้องแทนทายาทโดยธรรมอื่น
คู่สมรสที่จดทะเบียนหย่าแล้วเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่
การสละมรดกมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายจึงขาดความเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
แม้กองมรดกมีผู้จัดการมรดกแล้วทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้อง
พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองไม่ได้ทำต่อหน้าพยานตกเป็นโมฆะ
บุตรนอกสมรสและบิดานอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดกต่อกันอย่างไร
ผู้จัดการมรดก | ทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดกเรียกให้เจ้าของรวมส่งมอบโฉนดที่ดิน
การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลงอายุความ 5 ปียังไม่เริ่มนับ
สิทธิรับมรดกก่อนหลัง
คำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ
อายุความฟ้องคดีแพ่งอันเนื่องจากคดียักยอกทรัพย์มรดก
เมื่อแบ่งมรดกเสร็จแล้วความเป็นทายาทสิ้นสุดลง-อายุความมรดก
การแบ่งมรดกที่ดินมือเปล่าไม่มีเอกสารสิทธิ
คดีมรดกต้องเป็นคดีที่ทายาทด้วยกันพิพาทกันเรื่องสิทธิในส่วนแบ่งมรดก
ขอให้ศาลสั่งถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ความรับผิดของผู้ตาย
แสดงบัญชีเครือญาติเป็นเท็จปิดบังจำนวนทายาท
อายุความคดีมรดกสะดุดหยุดลง การแบ่งทรัพย์มรดกไม่ชอบ
ไม่มีกฎหมายบังคับให้ฟ้องเอาทรัพย์มรดกจากทายาทอื่นที่ครอบครองแทนใน 1 ปี
สัญญาว่าจ้างติดตามทรัพย์กองมรดกเรียกส่วนแบ่งเป็นโมฆะ
คดีฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมปลอมและถูกกำจัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่เพียงทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป
โจทก์ฟ้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปี
ผู้จัดการมรดกแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันฟังคำสั่งศาล
คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกอายุความ 5 ปี
การแจ้งการเกิดของเด็กในทะเบียนคนเกิดเองว่าเป็นบุตรของตน
ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
การที่จะเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนทายาทอื่น
พินัยกรรมเอกสารลับทำผิดแบบเป็นโมฆะ
การจัดการมรดกไม่ชอบไม่อาจถือว่าการจัดการมรดกสิ้นลงแล้ว
การจัดการทรัพย์มรดกในฐานะผู้จัดการมรดกตามหน้าที่ที่จำเป็น
คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกปิดบังทรัพย์มรดกมีผลอย่างไร
ทายาทมิได้ฟ้องเรียกร้องมรดกภายใน 1 ปี
ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ผู้มีส่วนได้เสีย
สามีไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้จัดการมรดกได้
ทรัพย์มรดกยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาททุกคน-การจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้น
บุคคลผู้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มีผลอย่างไร?
ฟ้องผู้จัดการมรดกนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงเกินห้าปีขาดอายุความ
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลถูกเพิกถอนได้
อายุความคดีมรดก เจ้าหนี้ฟ้องคดีมรดกเกินหนึ่งปี
คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก
บุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย