ReadyPlanet.com
dot
สำนักงานทนายความ
dot
bulletทนายความฟ้องหย่า
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
dot
พระราชบัญญัติ
dot
bulletพระราชบัญญัติ
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
dot
บทความเฉพาะเรื่อง
dot
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletสัญญายอมความ
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletกรมบังคับคดี
dot
ลิงค์ต่าง ๆ
dot
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletอำนาจปกครองบุตร




สามีไม่จดทะเบียนสมรสขอถอนผู้จัดการมรดก มีกรรมสิทธิ์รวม

ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3)  peesirilaw  หรือ (4) @peesirilaw   (5)   @leenont1

-Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย  QR CODE

สามีไม่จดทะเบียนสมรสขอถอนผู้จัดการมรดก  มีกรรมสิทธิ์รวม 

สามีที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสสามารถยื่นคำร้องขอถอนผู้จัดการมรดกได้หรือไม่?? ในเรื่องการถอนผู้จัดการมรดกนั้น สามีไม่ชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกและมีกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ถือว่าสามีของผู้ตายเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งถอนผู้จัดการมรดกได้ แต่การที่จะยื่นคำร้องขอถอนผู้จัดการมรดกนั้นจะต้องมีเหตุตามกฎหมายด้วย กล่าวคือผู้จัดการมรดกไม่กระทำการตามหน้าที่หรือมีเหตุอย่างอื่นที่สมควรจะถอนผู้จัดการมรดกได้  ส่วนการที่ผู้จัดการมรดกได้โอนที่ดินและเบิกถอนเงินฝากในธนาคารในบัญชีเงินฝากของเจ้ามรดกนั้น สามีในฐานะเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเงินและที่ดินดังกล่าวด้วย การกระทำของผู้จัดการมรดกจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของสามี สามีก็ชอบที่จะฟ้องผู้จัดการมรดกเป็นอีกคดีอื่น เหตุผลและข้ออ้างของสามีจึงไม่ใช่เหตุที่ผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำหน้าที่ผู้จัดการมรดกและถอนผู้จัดการมรดกได้

     คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3724/2548   

     การที่โจทก์อ้างว่าเป็นสามีไม่ชอบด้วยกฎหมายของ ส. เจ้ามรดกและมีกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์มรดกเพราะทำมาหาได้ร่วมกัน ถือว่าโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกได้

     เมื่อศาลได้มีคำสั่งตั้งจำเลยให้เป็นผู้จัดการมรดกของ ส. แล้ว การที่โจทก์จะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้นั้น กรณีจึงต้องมีเหตุตามกฎหมาย คือ ผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่หรือเพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควร ข้ออ้างที่โจทก์ว่าจำเลยโอนที่ดินและเบิกถอนเงินฝากในธนาคารไปอย่างรีบร้อนและไม่จำเป็น ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวโจทก์และเจ้ามรดกทำมาหาได้ร่วมกัน แม้เป็นจริงดังอ้างก็เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์เท่านั้น โจทก์ชอบที่จะฟ้องเป็นคดีได้ต่างหากอยู่แล้ว ส่วนการที่อ้างว่าจำเลยไม่ทำบัญชีทรัพย์มรดกนั้นทรัพย์มรดกต่าง ๆ ก็มีระบุไว้ในพินัยกรรมแล้ว กรณีดังนี้หาใช่เหตุที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่หรือเหตุอื่นอันสมควรให้ศาลสั่งถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 ไม่.

     โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมของนางสาวสุมาลัยและขอให้ถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกของนางสาวสุมาลัย

     ศาลชั้นต้น เห็นว่า โจทก์เคยฟ้องจำเลยขอให้เพิกถอนพินัยกรรมของนางสาวสุมาลัยเป็นคดีหมายเลขดำที่ 144/2542 ของศาลชั้นต้น ซึ่งคดีอยู่ในระหว่างพิจารณา ฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับคำขอบังคับที่ขอให้เพิกถอนพินัยกรรมของนางสาวสุมาลัยจึงเป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 จึงมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์ในส่วนดังกล่าว และรับฟ้องเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับคำขอบังคับที่ให้ถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของนางสาวสุมาลัยเท่านั้น
      จำเลยให้การ ขอให้ยกฟ้อง

     ระหว่างพิจารณาโจทก์และจำเลยรับข้อเท็จจริงกันว่า โจทก์กับนางสาวสุมาลัยอยู่กินกันฉันสามีภรรยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน นางสาวดาริณีและนางสาวกุลพรซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วไม่ใช่บุตรของโจทก์หรือนางสาวสุมาลัย โจทก์และนางสาวสุมาลัยนำมาเลี้ยงดูและให้การศึกษา โดยไม่ได้จดทะเบียนรับบุคคลดังกล่าวเป็นบุตรบุญธรรม ศาลเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้แล้ว จึงให้งดสืบพยานโจทก์จำเลย

       ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลย โดยกำหนดค่าทนายความให้ 2,000 บาท
      โจทก์อุทธรณ์

       ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายืน ให้โจทก์ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ 1,500 บาท แทนจำเลย
      โจทก์ฎีกา

      ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การที่โจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นสามีไม่ชอบด้วยกฎหมายของนางสาวสุมาลัยเจ้ามรดก และมีกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์มรดกเพราะทำมาหาได้ร่วมกัน ถือว่าโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกได้ แต่เนื่องจากศาลได้มีคำสั่งตั้งจำเลยให้เป็นผู้จัดการมรดกของนางสาวสุมาลัยแล้ว เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดก กรณีจึงต้องมีเหตุตามกฎหมายคือผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควร ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่า จำเลยโอนที่ดินและเบิกถอนเงินฝากในธนาคารไปอย่างรีบร้อนและไม่จำเป็น ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวโจทก์และเจ้ามรดกทำมาหาได้ร่วมกันนั้น แม้เป็นจริงดังอ้างก็เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์เท่านั้น โจทก์ชอบที่จะฟ้องเป็นคดีได้ต่างหากอยู่แล้ว ส่วนการที่อ้างว่าจำเลยไม่ทำบัญชีทรัพย์มรดกนั้น ทรัพย์มรดกต่าง ๆ ก็มีระบุไว้ในพินัยกรรมแล้ว กรณีดังนี้หาใช่เหตุที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่หรือเหตุอื่นอันสมควรให้ศาลสั่งถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 ไม่ ที่ศาลล่างทั้งสองยกฟ้องโจทก์ชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล

          พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ.

       ( จิระวรรณ ศิริบุตร - เกษม เวชศิลป์ - ไพโรจน์ วายุภาพ )
       ศาลจังหวัดสงขลา - นายเลิศชาย จิระชาติ
      ศาลอุทธรณ์ภาค 9 - นางสาวบุญมี ฐิตะศิริ

**ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาทนายความ ลีนนท์  085 960 4258  สำนักงานพีศิริ ทนายความ

 




คดีมรดก ร้องศาลตั้งผู้จัดการมรดก

ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด
บุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกปฏิบัติผิดหน้าที่-ทายาทผู้มีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกได้
คู่สมรสและการแบ่งมรดกของคู่สมรส | การสมรสเป็นโมฆะ
อายุความคดีมรดก และอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก
ผู้สืบสันดาน คือใคร? ต่างกับทายาท อย่างไร?
ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์มรดกเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความแล้ว
สามีมิได้จดทะเบียนสมรสไม่ถือเป็นทายาทของภริยาผู้ตาย
ไม่มีกฎหมายบังคับให้ฟ้องเอาทรัพย์มรดกจากทายาทอื่นที่ครอบครองแทนใน 1 ปี
อำนาจฟ้องขอแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตาย
ฟ้องผู้จัดการมรดกนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงเกินห้าปีขาดอายุความ
แม้กองมรดกมีผู้จัดการมรดกแล้วทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้อง
คำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ
คดีมรดกต้องเป็นคดีที่ทายาทด้วยกันพิพาทกันเรื่องสิทธิในส่วนแบ่งมรดก
ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น
ทายาททุกคนมอบหมายให้ครอบครองที่ดินแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วม
ทรัพย์มรดกยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาททุกคน-การจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้น
อายุความคดีมรดก เจ้าหนี้ฟ้องคดีมรดกเกินหนึ่งปี
การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลงอายุความ 5 ปียังไม่เริ่มนับ
อายุความคดีมรดกสะดุดหยุดลง การแบ่งทรัพย์มรดกไม่ชอบ
อายุความฟ้องคดีแพ่งอันเนื่องจากคดียักยอกทรัพย์มรดก
สามีไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้จัดการมรดกได้
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลถูกเพิกถอนได้
สิทธิของบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายในการรับมรดกของบุตรนอกกฎหมาย
บุตรนอกกฎหมายซึ่งผู้ตายรับรองแล้วเป็นผู้สืบสันดาน
ผู้จัดการมรดกเรียกให้เจ้าของรวมส่งมอบโฉนดที่ดิน
การปันมรดกเสร็จสิ้นลงแล้วการถอนผู้จัดการมรดกย่อมพ้นกำหนดเวลา
ผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก
เหตุอันจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก
มารดาขายที่ดินซึ่งผู้เยาว์มีส่วนแบ่งไม่ต้องขอศาล
พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองไม่ได้ทำต่อหน้าพยานตกเป็นโมฆะ
ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามมาตรา 1300
แสดงบัญชีเครือญาติเป็นเท็จปิดบังจำนวนทายาท
ความเหมาะสมในการเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มีผลอย่างไร?
การแบ่งมรดกที่ดินมือเปล่าไม่มีเอกสารสิทธิ
ขอให้ศาลสั่งถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก
ทายาทมิได้ฟ้องเรียกร้องมรดกภายใน 1 ปี
พินัยกรรมมีเงื่อนไขบังคับก่อน
คู่สมรสที่จดทะเบียนหย่าแล้วเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่
การสละมรดกมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายจึงขาดความเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ผู้มีส่วนได้เสีย
สิทธิรับมรดกก่อนหลัง
บุตรนอกสมรสและบิดานอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดกต่อกันอย่างไร
ผู้จัดการมรดก | ทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดก | ฟ้องแทนทายาทโดยธรรมอื่น
หนังสือสัญญาแบ่งมรดกตกเป็นโมฆะหรือไม่?
ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะทำหน้าที่ผู้จัดการมรดก
ทายาทมีส่วนเท่ากันออกค่าใช้จ่ายจัดการทำศพ
อำนาจหน้าที่จัดการศพพระภิกษุผู้มรณภาพไม่มีทรัพย์สิน
อำนาจและหน้าที่ในการจัดการทำศพและลำดับก่อนหลัง
คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกอายุความ 5 ปี
เมื่อแบ่งมรดกเสร็จแล้วความเป็นทายาทสิ้นสุดลง-อายุความมรดก
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ความรับผิดของผู้ตาย
นายอำเภอคือผู้มีอำนาจจัดทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
พินัยกรรมเอกสารลับทำผิดแบบเป็นโมฆะ
การที่จะเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนทายาทอื่น