ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ผู้จัดการมรดกเรียกให้เจ้าของรวมส่งมอบโฉนดที่ดิน

 ผู้จัดการมรดกเรียกให้เจ้าของรวมส่งมอบโฉนดที่ดิน จดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการมรดก

ผู้จัดการมรดกต้องนำคำสั่งศาลและโฉนดที่ดินมาแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินโดยไม่จำเป็นต้องนำเจ้าของรวมไปสำนักงานที่ดินด้วย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทจากผู้ตายเป็นชื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกตามคำขอท้ายฟ้อง
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3409/2554

  โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งศาล จะจัดการทรัพย์มรดกคือที่ดินพิพาทซึ่งผู้ตายกับจำเลยเป็นเจ้าของรวม โจทก์ติดต่อสำนักงานที่ดินเพื่อให้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อผู้ตายในโฉนดที่ดินให้เป็นชื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดก แต่เจ้าพนักงานที่ดินแจ้งให้โจทก์นำต้นฉบับโฉนดที่ดินและจำเลยต้องมาด้วยโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบ แต่จำเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนเปลี่ยนชื่อกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินส่วนของผู้ตายเป็นชื่อโจทก์ มิฉะนั้นให้ถือคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย แต่การจะขอจดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการมรดกในโฉนดที่ดินดังกล่าวนั้น เจ้าพนักงานที่ดินแจ้งให้โจทก์นำเอกสารมาแสดงให้ครบถ้วน คือ โฉนดที่ดินพิพาทเพียงอย่างเดียวเท่านั้น มิได้แจ้งให้โจทก์ต้องนำตัวจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมในโฉนดที่ดินพิพาทมาที่สำนักงานที่ดินด้วย ทั้งตาม ป.ที่ดิน ฯ มาตรา 82 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2497) ออกตามความใน พ.ร.บ.ให้ใช้ ป.ที่ดิน ฯ บัญญัติให้โจทก์ต้องนำคำสั่งศาลตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกและโฉนดที่ดินมาแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินด้วย เมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้นำโฉนดที่ดินมาแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดิน จึงมีเหตุให้เจ้าพนักงานที่ดินไม่สามารถจดทะเบียนตามความประสงค์ของโจทก์ได้ ซึ่งเป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับเจ้าพนักงานที่ดิน มิได้เกี่ยวข้องกับจำเลยที่ต้องไปที่สำนักงานที่ดินในฐานะเจ้าของรวมด้วย เมื่อจำเลยเป็นผู้ครอบครองโฉนดที่ดินพิพาท แต่ไม่ยินยอมส่งมอบให้โจทก์ โจทก์จึงไม่สามารถดำเนินการใส่ชื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายในโฉนดที่ดินแทนผู้ตายถือเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ในการทำหน้าที่ผู้จัดการมรดก โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องขอให้บังคับจำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทแก่โจทก์ เพื่อโจทก์จะได้นำไปแสดงเป็นหลักฐานต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ให้ดำเนินการใส่ชื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกในโฉนดที่ดินพิพาทแล้วโจทก์จะได้ดำเนินการแบ่งมรดกของผู้ตายให้แก่ทายาทของผู้ตายต่อไปเท่านั้น โจทก์หามีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทจากผู้ตายเป็นชื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกตามคำขอท้ายฟ้องได้ไม่
 
          โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของนายโกศล ผู้ตายตามคำสั่งศาลจังหวัดนนทบุรี นายโกศลมีทรัพย์มรดกคือ ที่ดินโฉนดเลขที่ 12380 ตำบลท่าช้าง อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี เนื้อที่ 76 ไร่ 1 งาน 1.6 ตารางวา โดยถือกรรมสิทธิ์รวมกับจำเลยและจำเลยเป็นผู้ครอบครองโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าว โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกประสงค์จะจัดการทรัพย์มรดกเพื่อโอนให้แก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตาย จึงได้ไปดำเนินการที่สำนักงานที่ดินจังหวัดจันทบุรี ขอให้เปลี่ยนชื่อผู้ตายในโฉนดที่ดินเป็นชื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตาย แต่ไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากสำนักงานที่ดินดังกล่าวแจ้งว่า จะต้องนำต้นฉบับโฉนดที่ดินและจำเลยต้องมาด้วยเพื่อจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงสารบัญจดทะเบียนหลังโฉนด จึงจะดำเนินการให้ได้โจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทราบเพื่อดำเนินการตามที่ได้รับแจ้งดังกล่าวแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉยขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนเปลี่ยนชื่อกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 12380 ตำบลท่าช้าง อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี ในส่วนของนายโกศล ผู้ตาย เป็นชื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตาย หากจำเลยไม่ดำเนินการให้ถือคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย
          จำเลยให้การว่า ขอให้ยกฟ้อง

          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยไปจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 12380 ตำบลท่าช้าง อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี ในส่วนของนายโกศล ผู้ตาย เป็นชื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายโกศล ผู้ตาย หากจำเลยไม่ไปดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
          จำเลยอุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ
          โจทก์ฎีกา

  ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “...คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า โจทก์ขอบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมในโฉนดที่ดินพิพาทจากผู้ตายเป็นชื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้หรือไม่ โจทก์ฎีกาว่า การที่จำเลยเพิกเฉยไม่นำโฉนดที่ดินพิพาทไปดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อผู้ตายเป็นชื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายในโฉนดที่ดินพิพาท ทำให้โจทก์ไม่สามารถจัดการมรดกของผู้ตายให้เป็นไปตามกฎหมายได้ ส่งผลให้โจทก์และทายาทที่มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายได้รับความเสียหาย โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อผู้มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทจากผู้ตายเป็นชื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยดังกล่าวนั้นโจทก์ไม่เห็นพ้องด้วย ขอให้พิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 และพิพากษาให้บังคับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้น เห็นว่า ตามคำบรรยายฟ้องโจทก์บรรยายไว้โดยชัดแจ้งว่า โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งศาล ผู้ตายมีทรัพย์มรดกคือที่ดินพิพาทซึ่งผู้ตายมีชื่อเป็นเจ้าของร่วมกับจำเลยในโฉนดที่ดินพิพาทเอกสารหมาย จ. 5 หรือ ล. 3 โจทก์มีความประสงค์ที่จะจัดการทรัพย์มรดกของผู้ตายเพื่อดำเนินการโอนให้แก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตาย จึงได้ไปติดต่อที่สำนักงานที่ดินเพื่อให้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อผู้ตายซึ่งเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยในโฉนดที่ดินพิพาทเป็นชื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตาย แต่ขัดข้องเจ้าพนักงานที่ดินไม่สามารถดำเนินการให้ได้ เนื่องจากไม่ได้นำเอกสารหลักฐานมาแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อประกอบการพิจารณาให้ครบถ้วน ซึ่งตามเอกสารหมาย จ. 8 ที่โจทก์อ้างส่งเป็นพยาน เจ้าพนักงานที่ดินแจ้งให้โจทก์นำเอกสารมาแสดงให้ครบถ้วนคือหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินคือโฉนดที่ดินพิพาทเพียงอย่างเดียวเท่านั้น มิได้แจ้งให้โจทก์ต้องนำตัวจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของร่วมในโฉนดที่ดินพิพาทมาที่สำนักงานที่ดินด้วยแต่อย่างใด ซึ่งในเรื่องนี้ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 82 บัญญัติว่า “ผู้ใดประสงค์จะขอจดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการมรดกในหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน ให้ยื่นคำขอพร้อมด้วยนำหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินนั้น และหลักฐานการเป็นผู้จัดการมรดกมาแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 71 ถ้าเป็นผู้จัดการมรดกโดยคำสั่งศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนให้ตามคำขอ...” ส่วนวิธีการดำเนินการจดทะเบียนเป็นไปตามกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ.2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 โดยในข้อ 9 “การจดทะเบียนสิทธิในที่ดินโดยประการอื่นนอกจากนิติกรรมให้ดำเนินการดังนี้ (1) ผู้ได้มาต้องยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่พร้อมด้วยเอกสารแสดงสิทธิการได้มาและโฉนดที่ดิน...” จึงเป็นที่เห็นได้ว่าในกรณีของโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายตามคำสั่งศาล โจทก์จึงต้องนำเอกสารมาแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินให้ครบถ้วนเพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินการให้ตามบทกฎหมายดังกล่าว คือ คำสั่งศาลตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกและโฉนดที่ดินพิพาท เมื่อโจทก์ไม่นำโฉนดที่ดินพิพาทมาแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินด้วย จึงมีเหตุขัดข้องทำให้เจ้าพนักงานที่ดินไม่สามารถดำเนินการให้ตามความประสงค์ของโจทก์ได้ จึงแจ้งให้โจทก์ทราบดังกล่าว ซึ่งเป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับเจ้าพนักงานที่ดิน มิได้เกี่ยวข้องกับจำเลยที่ต้องไปที่สำนักงานที่ดินในฐานะเจ้าของรวมด้วย เจ้าพนักงานที่ดินจึงจะดำเนินการให้ได้แต่อย่างใด เมื่อโฉนดที่ดินพิพาทจำเลยเป็นผู้ครอบครองไว้ และจำเลยไม่ยอมส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทให้โจทก์ โจทก์จึงไม่สามารถดำเนินการใส่ชื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายในโฉนดที่ดินแทนผู้ตาย ทำให้โจทก์ไม่สามารถดำเนินการจัดแบ่งมรดกของผู้ตายให้แก่ทายาทของผู้ตายตามหน้าที่ผู้จัดการมรดกได้ เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ในการทำหน้าที่ผู้จัดการมรดกตามกฎหมาย โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องขอให้บังคับจำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทแก่โจทก์ เพื่อโจทก์จะได้นำไปแสดงเป็นหลักฐานต่อเจ้าพนักงานที่ดิน เพื่อเจ้าพนักงานที่ดินจะได้ดำเนินการใส่ชื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกในโฉนดที่ดินพิพาทเพื่อดำเนินการแบ่งมรดกของผู้ตายให้แก่ทายาทของผู้ตายต่อไปเท่านั้น โจทก์หามีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทจากผู้ตายเป็นชื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกตามคำขอท้ายฟ้องได้ไม่ แม้จำเลยจะให้การต่อสู้ในเรื่องผู้ตายมีส่วนเป็นเจ้าของในที่ดินพิพาทจำนวนเท่าใดด้วย ก็เป็นเรื่องให้การต่อสู้นอกคำฟ้องไม่เกี่ยวกับข้อหาตามที่โจทก์ฟ้อง ไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น”

          พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
 
หมายเหตุ

          คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ติดต่อสำนักงานที่ดินเพื่อให้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อผู้ตายในโฉนดที่ดินให้เป็นชื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดก แต่เจ้าพนักงานที่ดินแจ้งให้โจทก์นำต้นฉบับโฉนดที่ดินและจำเลยต้องมาด้วย โจทก์จึงแจ้งให้จำเลยทราบ แต่จำเลยเพิกเฉย ทำให้โจทก์ฟ้องคดีนี้ แสดงว่าโจทก์อ้างว่า โจทก์มีสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายที่จะเรียกร้องให้จำเลยนำต้นฉบับโฉนดที่ดินพิพาทที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยมาส่งมอบให้แก่โจทก์เพื่อโจทก์จะได้นำไปจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายในโฉนดที่ดินแทนผู้ตายเฉพาะส่วนของผู้ตาย และโจทก์ยังมีสิทธิบังคับให้จำเลยมาทำการจดทะเบียนโอนเปลี่ยนชื่อในโฉนดที่ดินพิพาทในส่วนของผู้ตาย ให้เป็นชื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายอีกด้วย เมื่อจำเลยเพิกเฉย ก็ถือว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในการทำหน้าที่ผู้จัดการมรดกตามกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยคดีนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แต่กลับปรากฏว่าโจทก์เพียงมีคำขอท้ายฟ้องขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนเปลี่ยนชื่อกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทในส่วนของผู้ตายให้เป็นชื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตาย หากจำเลยไม่ดำเนินการให้ถือคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยเท่านั้น อันเป็นการบังคับให้จำเลยต้องไปที่สำนักงานที่ดินเพื่อทำนิติกรรมโอนเปลี่ยนชื่อกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทดังกล่าวด้วย โดยที่โจทก์มิได้มีคำขอบังคับให้จำเลยส่งมอบต้นฉบับโฉนดที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ด้วยแต่อย่างใด แม้ตามประมวลกฎหมายที่ดินและพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 จะบัญญัติให้การจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อผู้ตายในโฉนดที่ดินให้เป็นชื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกแทนผู้ตาย โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายจะต้องนำต้นฉบับโฉนดที่ดินพิพาทที่อยู่ในความครอบของจำเลยไปด้วย แต่เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยมิได้มีคำขอบังคับให้จำเลยส่งมอบต้นฉบับโฉนดที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ด้วย คดีจะฟังว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ในส่วนนี้หาได้ไม่ และแม้โจทก์จะมีคำขอบังคับให้จำเลยต้องไปที่สำนักงานที่ดินเพื่อทำนิติกรรมโอนเปลี่ยนชื่อกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทดังกล่าวด้วยก็ตาม แต่เมื่อตามประมวลกฎหมายที่ดินและพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มิได้บัญญัติว่าการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อผู้ตายในโฉนดที่ดินให้เป็นชื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกแทนผู้ตาย จำเลยในฐานะ
เจ้าของรวมในที่ดินพิพาทจะต้องมาทำนิติกรรมดังกล่าวด้วยแต่อย่างใดทั้งจำเลยก็มิได้มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับโจทก์ในอันจะต้องไปทำการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อผู้ตายในโฉนดที่ดินให้เป็นชื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกแทนผู้ตายดังกล่าว การที่จำเลยไม่มาทำนิติกรรมดังกล่าวให้แก่โจทก์จึงไม่อาจถือว่าจำเลยได้กระทำการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ได้ ศาลย่อมไม่อาจบังคับให้จำเลยจดทะเบียนโอนเปลี่ยนชื่อในโฉนดที่ดินส่วนของผู้ตายเป็นชื่อโจทก์ มิฉะนั้นให้ถือคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยตามคำขอบังคับท้ายฟ้องของโจทก์ได้ คดีย่อมถือได้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยดังกล่าว
              อย่างไรก็ตาม หากโจทก์ฟ้องจำเลยโดยมีคำขอบังคับให้จำเลยส่งมอบต้นฉบับโฉนดที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ด้วย ก็ย่อมถือว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิจากจำเลยโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลย ศาลสามารถพิพากษาบังคับให้จำเลยส่งมอบต้นฉบับโฉนดที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ เพื่อโจทก์จะได้นำไปแสดงเป็นหลักฐานต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ให้ดำเนินการใส่ชื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกในโฉนดที่ดินพิพาทได้ แต่โจทก์จะมีคำขอบังคับด้วยว่า หากจำเลยไม่ส่งมอบต้นฉบับโฉนดที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ให้ถือคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยหาได้ไม่ เพราะจำเลยก็มิได้มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับโจทก์ในอันที่จะต้องส่งมอบต้นฉบับโฉนดที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์นั่นเอง และหากจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับให้จำเลยส่งมอบต้นฉบับโฉนดที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โจทก์ก็สามารถบังคับคดีโดยยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายจับจำเลยมากักขังจนกว่าจำเลยได้ส่งมอบต้นฉบับโฉนดที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 297-301 โดยโจทก์ไม่จำเป็นต้องขอให้ศาลออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเสียก่อนแต่อย่างใด เนื่องจากการบังคับคดีในกรณีนี้ไม่จำเป็นต้องอาศัยเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้ดำเนินการอย่างประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ - 296 สัตต แต่อย่างใด
         
  ทวี ประจวบลาภ

ประมวลกฎหมายที่ดิน  มาตรา 82  

จดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการมรดก

ผู้ใดประสงค์จะขอจดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการมรดกใน หนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน ให้ยื่นคำขอพร้อมด้วยนำหนังสือแสดงสิทธิ ในที่ดินนั้น และหลักฐานการเป็นผู้จัดการมรดกมาแสดงต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ตาม มาตรา 71 ถ้าเป็นผู้จัดการมรดกโดยคำสั่งศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนให้ตามคำขอ แต่ถ้าเป็น ผู้จัดการมรดกในกรณีอื่น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนและตรวจ สอบหลักฐาน และให้นำความใน มาตรา 81 วรรคสองมาใช้บังคับ โดยอนุโลม เมื่อไม่มีผู้โต้แย้ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนลง ชื่อผู้จัดการมรดกในหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินนั้นได้ แต่ถ้ามีผู้โต้แย้ง ก็ให้รอเรื่องไว้และให้คู่กรณีไปฟ้องร้องต่อศาลเมื่อศาลมีคำพิพากษา หรือคำสั่งถึงที่สุดประการใดแล้ว ให้ดำเนินการไปตามคำพิพากษา หรือคำสั่งศาลนั้น

   ในกรณีที่ผู้จัดการมรดกซึ่งได้มีชื่อในหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินแล้ว ขอจดทะเบียนสิทธิในที่ดินให้แก่ทายาท ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนิน การจดทะเบียนให้ตามคำขอโดยไม่ต้องประกาศตาม มาตรา 81

   ในกรณีที่ทรัสตรีของทรัสต์ซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมาย ไว้แล้ว ขอจดทะเบียนในฐานะเป็นทรัสตี เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สอบสวนพยานหลักฐานแล้วให้ดำเนินการจดทะเบียนได้ 




คดีมรดก ร้องศาลตั้งผู้จัดการมรดก

บุตรนอกกฎหมายซึ่งผู้ตายรับรองแล้วเป็นผู้สืบสันดาน
มารดาขายที่ดินซึ่งผู้เยาว์มีส่วนแบ่งไม่ต้องขอศาล
นายอำเภอคือผู้มีอำนาจจัดทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
ความรับผิดของผู้จัดการมดกภายหลังการเสียชีวิต
ผู้จัดการมรดกร่วมนำทรัพย์มรดกหาประโยชน์แก่ตน
ผู้จัดการมรดกปฏิบัติผิดหน้าที่-ทายาทผู้มีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกได้
ผู้สืบสันดาน คือใคร? ต่างกับทายาท อย่างไร?
คู่สมรสและการแบ่งมรดกของคู่สมรส | การสมรสเป็นโมฆะ
อายุความคดีมรดก และอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก
เหตุอันจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก
การปันมรดกเสร็จสิ้นลงแล้วการถอนผู้จัดการมรดกย่อมพ้นกำหนดเวลา
สามีมิได้จดทะเบียนสมรสไม่ถือเป็นทายาทของภริยาผู้ตาย
อำนาจหน้าที่จัดการศพพระภิกษุผู้มรณภาพไม่มีทรัพย์สิน
สามีไม่จดทะเบียนสมรสขอถอนผู้จัดการมรดก มีกรรมสิทธิ์รวม
ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะทำหน้าที่ผู้จัดการมรดก
อำนาจฟ้องขอแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตาย
ทายาททุกคนมอบหมายให้ครอบครองที่ดินแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วม
ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามมาตรา 1300
ทายาทโดยธรรมย่อมมีสิทธิเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์มรดกตามส่วนที่จะพึงได้
ทายาทสละมรดกโดยที่รู้อยู่ว่าการสละมรดกทำให้เจ้าหนี้ของตนเสียประโยชน์
สิทธิรับมรดกที่ยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาห้ามยกเป็นข้อต่อสู้ผู้รับโอนโดยสุจริต
ตามกฎหมายลักษณะผัวเมียมิได้บัญญัติให้ใช้บังคับเฉพาะแก่บุคคลผู้มีสัญชาติไทย
ผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก
ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์มรดกเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความแล้ว
ผู้คัดค้านไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการขอจัดการมรดก
ทายาทฟ้องทายาทให้แบ่งทรัพย์มรดก
ทายาทมีส่วนเท่ากันออกค่าใช้จ่ายจัดการทำศพ
ความเหมาะสมในการเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น
สิทธิของบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายในการรับมรดกของบุตรนอกกฎหมาย
หนังสือสัญญาแบ่งมรดกตกเป็นโมฆะหรือไม่?
อำนาจและหน้าที่ในการจัดการทำศพและลำดับก่อนหลัง
พินัยกรรมมีเงื่อนไขบังคับก่อน
ผู้จัดการมรดกฟ้องแทนทายาทโดยธรรมอื่น
คู่สมรสที่จดทะเบียนหย่าแล้วเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่
การสละมรดกมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายจึงขาดความเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
แม้กองมรดกมีผู้จัดการมรดกแล้วทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้อง
พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองไม่ได้ทำต่อหน้าพยานตกเป็นโมฆะ
บุตรนอกสมรสและบิดานอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดกต่อกันอย่างไร
ผู้จัดการมรดก | ทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก
การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลงอายุความ 5 ปียังไม่เริ่มนับ
สิทธิรับมรดกก่อนหลัง
คำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ
อายุความฟ้องคดีแพ่งอันเนื่องจากคดียักยอกทรัพย์มรดก
เมื่อแบ่งมรดกเสร็จแล้วความเป็นทายาทสิ้นสุดลง-อายุความมรดก
การแบ่งมรดกที่ดินมือเปล่าไม่มีเอกสารสิทธิ
คดีมรดกต้องเป็นคดีที่ทายาทด้วยกันพิพาทกันเรื่องสิทธิในส่วนแบ่งมรดก
ขอให้ศาลสั่งถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ความรับผิดของผู้ตาย
แสดงบัญชีเครือญาติเป็นเท็จปิดบังจำนวนทายาท
อายุความคดีมรดกสะดุดหยุดลง การแบ่งทรัพย์มรดกไม่ชอบ
ไม่มีกฎหมายบังคับให้ฟ้องเอาทรัพย์มรดกจากทายาทอื่นที่ครอบครองแทนใน 1 ปี
สัญญาว่าจ้างติดตามทรัพย์กองมรดกเรียกส่วนแบ่งเป็นโมฆะ
คดีฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมปลอมและถูกกำจัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่เพียงทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป
โจทก์ฟ้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปี
ผู้จัดการมรดกแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันฟังคำสั่งศาล
คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกอายุความ 5 ปี
การแจ้งการเกิดของเด็กในทะเบียนคนเกิดเองว่าเป็นบุตรของตน
ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
การที่จะเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนทายาทอื่น
พินัยกรรมเอกสารลับทำผิดแบบเป็นโมฆะ
การจัดการมรดกไม่ชอบไม่อาจถือว่าการจัดการมรดกสิ้นลงแล้ว
การจัดการทรัพย์มรดกในฐานะผู้จัดการมรดกตามหน้าที่ที่จำเป็น
คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกปิดบังทรัพย์มรดกมีผลอย่างไร
ทายาทมิได้ฟ้องเรียกร้องมรดกภายใน 1 ปี
ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ผู้มีส่วนได้เสีย
สามีไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้จัดการมรดกได้
ทรัพย์มรดกยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาททุกคน-การจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้น
บุคคลผู้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มีผลอย่างไร?
ฟ้องผู้จัดการมรดกนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงเกินห้าปีขาดอายุความ
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลถูกเพิกถอนได้
อายุความคดีมรดก เจ้าหนี้ฟ้องคดีมรดกเกินหนึ่งปี
คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก
บุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย