ReadyPlanet.com
dot
สำนักงานทนายความ
dot
bulletทนายความฟ้องหย่า
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
dot
พระราชบัญญัติ
dot
bulletพระราชบัญญัติ
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
dot
บทความเฉพาะเรื่อง
dot
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletสัญญายอมความ
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletกรมบังคับคดี
dot
ลิงค์ต่าง ๆ
dot
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletอำนาจปกครองบุตร




คำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ

ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3)  peesirilaw  หรือ (4) @peesirilaw   (5)   @leenont1

-Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย  QR CODE

คำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ

๑. การนั่งพิจารณาคดีต้องกระทําต่อหน้าคู่ความเพื่อให้กระบวนพิจารณาคดีของศาลเป็นไปด้วยความเที่ยงธรรม และคู่ความที่มาศาลจะได้รักษาผลประโยชน์ในเชิงคดีของเขา

๒. ถ้าในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลปรากฏคู่ความฝ่ายใดมรณะให้ศาลสั่งเลื่อนการพิจารณาไปจนกว่าจะมีผู้เข้ามาแทนที่ผู้มรณะ

๓. ผู้มีสิทธิเข้าแทนที่คู่ความผู้มรณะได้แก่ทายาทของผู้มรณะ ผู้จัดการทรัพย์มรดกของผู้มรณะ หรือบุคคลอื่นใดที่ปกครองทรัพย์มรดกไว้

๔. การเข้าแทนที่คู่ความผู้มรณะ บุคคลตามข้อ ๓ ยื่นคําขอโดยทําเป็นคําร้องเข้ามาเองภายใน ๑ ปี นับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นมรณะ หรือคู่ความฝ่ายที่มีชีวิตมีคําขอฝ่ายเดียวให้ศาลหมายเรียกให้เข้ามา

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งจึงได้บัญญัติเรื่องการพิจารณาคดีเกี่ยวกับคู่ความมรณะไว้ ๓ มาตราด้วยกันคือ มาตรา ๔๒,  มาตรา ๔๓  และมาตรา ๔๔ ซึ่งมีข้อความดังนี้

   มาตรา ๔๒ ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลได้มรณะเสียก่อนศาลพิพากษาคดี ให้ศาลเลื่อนการนั่งพิจารณาไปจนกว่าทายาทของผู้มรณะหรือผู้จัดการทรัพย์มรดกของผู้มรณะ หรือบุคคลอื่นใดที่ปกครองทรัพย์มรดกไว้จะได้เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ โดยมีคำขอเข้ามาเอง หรือโดยที่ศาลหมายเรียกให้เข้ามาเนื่องจากคู่ความฝายใดฝ่ายหนึ่งมีคําขอฝ่ายเดียว คําขอเช่นว่านี้จะต้องยื่นภายในกําหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่คู่ความฝายนั้นมรณะ

ถ้าไม่มีคําขอของบุคคลดังกล่าวมาแล้ว หรือไม่มีคําขอของคู่ความฝายใดฝ่ายหนึ่งภายในเวลาที่กําหนดไว้ ให้ศาลมีคําสั่งจําหน่ายคดีเรื่องนั้นเสียจากสารบบความ

   มาตรา ๔๓ ถ้าทายาทของผู้มรณะ หรือผู้จัดการทรัพย์มรดกของผู้มรณะหรือบุคคลอื่นใดที่ปกครองทรัพย์มรดกประสงค์จะขอเข้ามาเป็นคู่ความแทน ก็ให้ยื่นคําขอโดยทําเป็นคําร้องต่อศาลเพื่อการนั้น

ในกรณีเช่นนี้ เมื่อศาลเห็นสมควร หรือเมื่อคู่ความฝายใดฝ่ายหนึ่งมีคําขอศาลอาจสั่งให้ผู้ที่จะเข้ามาเป็นคู่ความแทนนั้น แสดงพยานหลักฐานสนับสนุนคําขอเช่นว่านั้นได้ เมื่อได้แสดงพยานหลักฐานดังกล่าวนั้นแล้วให้ศาลมีคําสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตในการที่จะเข้ามาเป็นคู่ความแทน

   มาตรา ๔๔ คําสั่งให้หมายเรียกบุคคลใดเข้ามาแทนผู้มรณะนั้น จะต้องกําหนดระยะเวลาพอสมควรเพื่อให้บุคคลนั้นมีโอกาสคัดค้านในศาลว่าตนมิได้เป็นทายาทของผู้มรณะหรือมิได้เป็นผู้จัดการทรัพย์มรดกหรือผู้ปกครองทรัพย์มรดกนั้น

ทายาท ผู้จัดการทรัพย์มรดกหรือบุคคลผู้ถูกเรียกไม่จําต้องปฏิบัติตามหมายเช่นว่านั้นก่อนระยะเวลาที่กฎหมายกําหนดไว้เพื่อการยอมรับฐานะนั้นได้ล่วงพ้นไปแล้ว

ถ้าบุคคลที่ถูกศาลหมายเรียกนั้น ยินยอมรับเข้ามาเป็นคู่ความแทนผู้มรณะให้ศาลจดรายงานพิสดารไว้และดําเนินคดีต่อไป

ถ้าบุคคลนั้นไม่ยินยอมหรือไม่มาศาล ให้ศาลทําการไต่สวนตามที่เห็นสมควร ถ้าศาลเห็นว่าหมายเรียกนั้นมีเหตุผลฟังได้ ก็ให้ออกคําสั่งตั้งบุคคลผู้ถูกเรียกเป็นคู่ความแทนผู้มรณะแล้วดําเนินคดีต่อไป ถ้าศาลเห็นว่าข้อคัดค้านของบุคคลผู้ถูกเรียกมีเหตุผลฟังได้ ก็ให้ศาลสั่งเพิกถอนหมายเรียกนั้นเสีย และถ้าคู่ความฝายใดฝ่ายหนึ่งไม่สามารถเรียกทายาทอันแท้จริงหรือผู้จัดการทรัพย์มรดก หรือบุคคลที่ปกครองทรัพย์มรดกของผู้มรณะเข้ามาเป็นคู่ความแทนผู้มรณะได้ภายในกําหนดเวลาหนึ่งปี ก็ให้ศาลมีคําสั่งตามที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม



ตัวอย่างที่ ๑


 

   คำร้องขอเข้าแทนที่คู่ความที่มรณะ

 

                ข้อ  ๑  คดีนี้โจทก์ได้มรณะลงก่อนที่ศาลจะมีคำพิพากษา และศาลได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราว

                เนื่องจากโจทก์ถึงแก่กรรมด้วยโรคหัวใจล้มเหลว เมื่อวันที่ ๐๑ มกราคม ๒๕๕๘  รายละเอียดปรากฏตามใบมรณบัตร  เอกสารท้องคำร้องหมายเลข  ๑

                ผู้ร้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์  รายละเอียดปรากฏตามสำเนารายการเกี่ยวกับบ้านเอกสารท้ายคำร้องหมายเลข  ๒  ผู้ร้องจึงขอกราบเรียนต่อศาล  เพื่อขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ในคดีนี้


                      ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด


ตัวอย่างที่ ๒

คำร้องขอให้ศาลหมายเรียกทายาทเข้ารับมรดกความแทนที่ 


ข้อ ๑ คดีนี้เนื่องจากจำเลยถึงแก่กรรมลงเมื่อวันที่   ๐๑    เดือน มกราคม        พ.ศ.  ๒๕๕๙  ตามที่ศาลได้โปรดมีคำสั่งให้เลื่อนคดีไปเพื่อรอทายาทของจำเลยเข้ารับมรดกความแทนที่ เมื่อวันที่ ๐๑ เดือน มีนาคม  พ.ศ. ๒๕๕๙ โจทก์  ได้ตรวจสอบแล้วปรากฏว่า นาย สมบูรณ์  สมบูรณ์สุข เป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลย รายละเอียดปรากฏตามสำเนาหนังสือสำคัญการสมรสตามเอกสารท้ายคำร้องที่โจทก์ได้ยื่นมาพร้อมคำร้องนี้แล้ว โจทก์ทั้งสอง จึงขอประทานกราบเรียนต่อศาลได้โปรดมีคำสั่งหมายเรียก นาย สมบูรณ์  สมบูรณ์สุข เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยในคดีนี้ด้วย 


                         ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด 




ตัวอย่างที่ ๓


 

 คำร้องขอให้เรียกทายาทเข้ามาเป็นคู่ความแทนผู้มรณะ

 


        ข้อ ๑ คดีนี้จำเลยได้มรณะลงก่อนที่ศาลจะมีคำพิพากษา และศาลได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราว

ต่อมาได้มี นายกิตติ  จำเจ  ทายาทจำเลยได้ยื่นคำร้องต่อศาลนี้เพื่อให้ศาลมีคำสั่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกและศาลได้มีคำสั่งตั้งให้นายกิตติ จำเจ เป็นผู้จัดการมรดกของจำเลยแล้ว ตามสำเนาคำสั่งศาลเอกสารท้ายคำร้องหมายเลข ๑

       ด้วยเหตุดังกล่าวจึงขอศาลได้โปรดมีคำสั่งเรียกนายจอห์นจำเจผู้จัดการมรดกของจำเลยเ ให้เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยต่อไปด้วย


                            ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด 


 




คดีมรดก ร้องศาลตั้งผู้จัดการมรดก

ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด
บุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกปฏิบัติผิดหน้าที่-ทายาทผู้มีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกได้
คู่สมรสและการแบ่งมรดกของคู่สมรส | การสมรสเป็นโมฆะ
อายุความคดีมรดก และอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก
ผู้สืบสันดาน คือใคร? ต่างกับทายาท อย่างไร?
ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์มรดกเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความแล้ว
สามีมิได้จดทะเบียนสมรสไม่ถือเป็นทายาทของภริยาผู้ตาย
ไม่มีกฎหมายบังคับให้ฟ้องเอาทรัพย์มรดกจากทายาทอื่นที่ครอบครองแทนใน 1 ปี
อำนาจฟ้องขอแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตาย
ฟ้องผู้จัดการมรดกนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงเกินห้าปีขาดอายุความ
แม้กองมรดกมีผู้จัดการมรดกแล้วทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้อง
คดีมรดกต้องเป็นคดีที่ทายาทด้วยกันพิพาทกันเรื่องสิทธิในส่วนแบ่งมรดก
ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น
ทายาททุกคนมอบหมายให้ครอบครองที่ดินแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วม
ทรัพย์มรดกยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาททุกคน-การจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้น
อายุความคดีมรดก เจ้าหนี้ฟ้องคดีมรดกเกินหนึ่งปี
การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลงอายุความ 5 ปียังไม่เริ่มนับ
อายุความคดีมรดกสะดุดหยุดลง การแบ่งทรัพย์มรดกไม่ชอบ
อายุความฟ้องคดีแพ่งอันเนื่องจากคดียักยอกทรัพย์มรดก
สามีไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้จัดการมรดกได้
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลถูกเพิกถอนได้
สิทธิของบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายในการรับมรดกของบุตรนอกกฎหมาย
บุตรนอกกฎหมายซึ่งผู้ตายรับรองแล้วเป็นผู้สืบสันดาน
ผู้จัดการมรดกเรียกให้เจ้าของรวมส่งมอบโฉนดที่ดิน
การปันมรดกเสร็จสิ้นลงแล้วการถอนผู้จัดการมรดกย่อมพ้นกำหนดเวลา
ผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก
เหตุอันจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก
มารดาขายที่ดินซึ่งผู้เยาว์มีส่วนแบ่งไม่ต้องขอศาล
พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองไม่ได้ทำต่อหน้าพยานตกเป็นโมฆะ
ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามมาตรา 1300
แสดงบัญชีเครือญาติเป็นเท็จปิดบังจำนวนทายาท
ความเหมาะสมในการเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มีผลอย่างไร?
การแบ่งมรดกที่ดินมือเปล่าไม่มีเอกสารสิทธิ
ขอให้ศาลสั่งถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก
ทายาทมิได้ฟ้องเรียกร้องมรดกภายใน 1 ปี
พินัยกรรมมีเงื่อนไขบังคับก่อน
คู่สมรสที่จดทะเบียนหย่าแล้วเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่
การสละมรดกมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายจึงขาดความเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
สามีไม่จดทะเบียนสมรสขอถอนผู้จัดการมรดก มีกรรมสิทธิ์รวม
ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ผู้มีส่วนได้เสีย
สิทธิรับมรดกก่อนหลัง
บุตรนอกสมรสและบิดานอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดกต่อกันอย่างไร
ผู้จัดการมรดก | ทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดก | ฟ้องแทนทายาทโดยธรรมอื่น
หนังสือสัญญาแบ่งมรดกตกเป็นโมฆะหรือไม่?
ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะทำหน้าที่ผู้จัดการมรดก
ทายาทมีส่วนเท่ากันออกค่าใช้จ่ายจัดการทำศพ
อำนาจหน้าที่จัดการศพพระภิกษุผู้มรณภาพไม่มีทรัพย์สิน
อำนาจและหน้าที่ในการจัดการทำศพและลำดับก่อนหลัง
คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกอายุความ 5 ปี
เมื่อแบ่งมรดกเสร็จแล้วความเป็นทายาทสิ้นสุดลง-อายุความมรดก
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ความรับผิดของผู้ตาย
นายอำเภอคือผู้มีอำนาจจัดทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
พินัยกรรมเอกสารลับทำผิดแบบเป็นโมฆะ
การที่จะเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนทายาทอื่น