ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




เมื่อแบ่งมรดกเสร็จแล้วความเป็นทายาทสิ้นสุดลง-อายุความมรดก

 เมื่อแบ่งมรดกเสร็จแล้วความเป็นทายาทสิ้นสุดลง-อายุความมรดก

ภายหลังจากการรังวัดที่ดินเพื่อแบ่งมรดก ทายาทต่างเข้าครอบครองที่ดิน มีผลให้การจัดการมรดกเสร็จสิ้นแล้ว แม้ต่อมาผู้จัดการมรดกได้แบ่งมรดกใหม่แล้วโอนให้ทายาทบางคนตามที่แบ่งใหม่ซึ่งไม่เป็นธรรมกับทายาทบางคน เมื่อแบ่งมรดกเสร็จแล้วความเป็นทายาทสิ้นสุดลงจึงไม่มีสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้ซึ่งกันและกันในฐานะทายาท

  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6383/2551

เมื่อทายาทต่างเข้าทำประโยชน์ที่ดินตามส่วนที่มีการรังวัดจริง และต่างเข้าครอบครองที่ดินตามที่แบ่งแยก แสดงว่าเมื่อรังวัดเสร็จแล้วได้มีการแบ่งทรัพย์มรดกที่ดินพิพาทโดยการครอบครองเป็นส่วนสัดกันแล้ว การแบ่งมรดกจึงมีผลสมบูรณ์ เมื่อต่อมาผู้จัดการมรดกได้ แบ่งที่ดินพิพาทใหม่แล้วโอนที่ดินพิพาทตามส่วนแบ่งใหม่แก่ทายาทบางคนและกระทำการโต้แย้งสิทธิของทายาทบางคนและมีการออกโฉนดที่ดินตามส่วนที่แบ่งใหม่ จึงเป็นการออกโฉนดที่ดินโดยมิชอบ ศาลมีอำนาจเพิกถอนการออกโฉนดที่ดินพิพาทดังกล่าวได้ ปัญหาเรื่องอายุความมรดกนั้น เมื่อได้มีการแบ่งมรดกสมบูรณ์แล้วตั้งแต่ต้น ดังนั้นทายาททุกคนไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาที่ดินมรดกอีกย่อมสิ้นความเป็นทายาทในส่วนที่ดินพิพาทที่แบ่งปันกันแล้วจึงไม่มีสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้ซึ่งกันและกันในฐานะทายาท แต่ทายาทที่ถูกโต้แย้งสิทธิในที่ดินฟ้องผู้จัดการมรดกให้แบ่งที่ดินให้ตนตามส่วนแบ่งเดิมได้และไม่ขาดอายุความ

  โจทก์ทั้งสองฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามไปดำเนินการจดทะเบียนเพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 20963, 20964, 20965 และ 20966 และหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 1367 กลับเป็นทรัพย์มรดกของนายเสนาะ ตาม น.ส. 3 ก. เลขที่ 975 เช่นเดิม โดยให้จำเลยทั้งสามเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการทั้งหมด หากจำเลยทั้งสามไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสาม แล้วให้จำเลยทั้งสามร่วมกันหรือแทนกันแบ่งที่ดิน น.ส. 3 ก. เลขที่ 975 ให้แก่โจทก์ทั้งสองตามลำดับ โดยแบ่งให้โจทก์ที่ 1 ทางด้านทิศเหนือของที่ดินแปลงดังกล่าวจำนวน 11 ไร่ 1 งาน 19 ตารางวา และโจทก์ที่ 2 ทางด้านทิศเหนือถัดจากโจทก์ที่ 1 ลงมาทางด้านทิศใต้ จำนวนเนื้อที่ 2 ไร่ 1 งาน 17 ตารางวา และห้ามจำเลยทั้งสามและบริวารเกี่ยวข้องในที่ดินเฉพาะของโจทก์ทั้งสอง โดยให้จำเลยทั้งสามเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการทั้งหมด หากจำเลยทั้งสามไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสาม
      จำเลยทั้งสามให้การขอให้ยกฟ้อง

   ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

  โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์

 ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่ยังไม่ได้วินิจฉัยแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นรวมสั่งเมื่อมีคำพิพากษาใหม่

  จำเลยทั้งสามฎีกา

    ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสามได้ตกลงแบ่งที่ดินกันจริงโดยแบ่งให้โจทก์ที่ 1 จำนวน 9 ไร่ ก่อน ส่วนที่เหลือจึงแบ่งกันสี่คน ส่วนจำเลยที่ 3 สละสิทธิ์ในการรับส่วนแบ่ง เมื่อตกลงแบ่งกันแล้วจึงไปยื่นคำร้องขอรับมรดกและรังวัดที่ดินเพื่อแบ่งแยก แล้วนายวิเชียร เจ้าหน้าที่ที่ดินได้ออกไปรังวัดเพื่อแบ่งแยกที่ดินพิพาทโดยรังวัดแบ่งแยกตามที่โจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสามตกลงกันตามแผนที่รังวัด โดยการออกไปรังวัดนี้โจทก์ทั้งสอง และนางประจิม กำนันที่ออกไประวังแนวเขตในการรังวัดต่างเบิกความว่า จำเลยทั้งสามต่างอยู่ด้วยในขณะที่มีการรังวัด ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เบิกความว่าไม่รู้เห็นการรังวัดของนายวิเชียรมีน้ำหนักน้อยกว่าพยานโจทก์ทั้งสอง ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าทายาทของนายเสนาะทุกคนต่างรับรู้การรังวัดแบ่งแยกที่ดินของนายวิเชียรด้วย และโจทก์ทั้งสองเบิกความโดยมีนางประจิม นายประเสริฐ นายสมพงษ์และนายบุญเลิศเบิกความสนับสนุนว่า เมื่อรังวัดแบ่งแยกแล้ว โจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่างเข้าทำประโยชน์ในที่ดินตามที่แบ่งแยกกันซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็เบิกความรับว่า เมื่อรังวัดแล้วระหว่างรอการประกาศของสำนักงานที่ดินโจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่างเข้าทำประโยชน์ที่ดินตามส่วนที่มีการรังวัดจริง ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า เมื่อนายวิเชียรรังวัดที่ดินเสร็จแล้ว โจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่างเข้าครอบครองที่ดินตามที่แบ่งแยก ซึ่งก็สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่รับฟังมาแล้วว่า โจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสามตกลงแบ่งที่ดินพิพาทกันตามที่นายวิเชียรออกไปรังวัดจริง จากข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่กล่าวมาแล้วย่อมแสดงว่าเมื่อรังวัดเสร็จแล้วได้มีการแบ่งทรัพย์มรดกที่ดินพิพาทโดยการครอบครองเป็นส่วนสัดกันแล้ว การแบ่งมรดกจึงมีผลสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยทั้งสามไม่ยอมโอนที่ดินตามที่โจทก์ทั้งสองครอบครองให้แก่โจทก์ทั้งสองเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ทั้งสองแล้วที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยว่า โจทก์ทั้งสองมีอำนาจฟ้องนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยทั้งสามฟังไม่ขึ้น

ปัญหาว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่นั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัว จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกและต่างเข้าครอบครองเป็นส่วนสัด ตามมาตรา 1750 วรรคหนึ่ง ดังที่วินิจฉัยข้างต้นแล้วเช่นนี้ ก็ไม่ขาดอายุความมรดกเพราะโจทก์ทั้งสองได้ที่ดินพิพาทตามที่เข้าครอบครองเป็นของตนโดยเด็ดขาดแล้ว จำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัว จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะใช้สิทธิเรียกร้องเอาที่ดินพิพาทให้ผิดไปจากที่ได้แบ่งปันกันไปแล้วหาได้ไม่ รวมทั้งไม่มีสิทธิยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ทั้งสอง เมื่อจำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัว จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาที่ดินพิพาทเช่นนี้ย่อมสิ้นความเป็นทายาทในส่วนที่ดินพิพาทที่แบ่งปันกันแล้วจึงไม่มีสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งสองได้ เพราะมิใช่บุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ส่วนกรณีที่จำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายดังเช่นคดีนี้ ถือว่าเป็นผู้แทนของโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาท จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งสองได้ก็แต่ตามมาตรา 1733 วรรคสอง ในคดีจัดการมรดก เท่านั้น แต่คดีนี้เป็นคดีมรดกจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดก หาอาจยกอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทหาได้ไม่ คดีของโจทก์ทั้งสองจึงไม่ขาดอายุความ โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดกตามฟ้อง การที่จำเลยที่ 1 แบ่งที่ดินพิพาทใหม่แล้วโอนที่ดินพิพาทตามส่วนแบ่งใหม่แก่จำเลยทั้งสามและมีการออกโฉนดที่ดินตามส่วนที่แบ่งใหม่ จึงเป็นการออกโฉนดที่ดินโดยมิชอบ ศาลมีอำนาจเพิกถอนการออกโฉนดที่ดินพิพาทดังกล่าวและห้ามจำเลยทั้งสามและบริวารเกี่ยวข้องได้ แต่ที่โจทก์ทั้งสองขอให้บังคับจำเลยทั้งสามแบ่งที่ดินพิพาทแก่โจทก์ทั้งสองนั้น เห็นว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิใช่ผู้จัดการมรดก จึงไม่มีหน้าที่ต้องจัดการแบ่งทรัพย์มรดกแก่โจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองไม่อาจขอบังคับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ คงฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกแบ่งที่ดินพิพาทแก่โจทก์ทั้งสองเท่านั้น แต่สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินการส่วนนี้ให้หักจากกองมรดกทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1739 (1)

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสามไปดำเนินการเพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 20963, 20964, 20965 และ 20966 ตำบลบ้านน้อย อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร กับ น.ส. 3 ก. เลขที่ 1367 กลับเป็นทรัพย์มรดกของนายเสนาะ ตาม น.ส. 3 ก. เลขที่ 975 โดยให้จำเลยทั้งสามเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการเพิกถอน หากจำเลยทั้งสามเพิกเฉยให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสามแล้วให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกแบ่งที่ดินตาม น.ส. 3 ก. เลขที่ 975 ดังกล่าวทางด้านทิศเหนือแก่โจทก์ที่ 1 จำนวนเนื้อที่ 11 ไร่ 1 งาน 19 ตารางวา และทางด้านทิศเหนือถัดลงมาจากโจทก์ที่ 1 แก่โจทก์ที่ 2 จำนวนเนื้อที่ 2 ไร่ 1 งาน 17 ตารางวา โดยค่าใช้จ่ายส่วนนี้ให้หักจากกองมรดก หากจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกเพิกเฉยให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ห้ามจำเลยทั้งสามและบริวารเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ คำขอนอกจากนี้ให้ยก ให้จำเลยทั้งสามใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลแทนโจทก์ทั้งสอง โดยกำหนดค่าทนายความทั้งสามศาลสำหรับโจทก์ที่ 1 จำนวน 8,000 บาท สำหรับโจทก์ที่ 2 จำนวน 2,000 บาท.

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

 มาตรา 1750 การแบ่งปันทรัพย์มรดกนั้น อาจทำได้โดยทายาทต่าง เข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัด หรือโดยการขายทรัพย์มรดกแล้ว เอาเงินที่ขายได้มาแบ่งปันกันระหว่างทายาท

 ถ้าการแบ่งปันมิได้เป็นไปตามวรรคก่อน แต่ได้ทำโดยสัญญาจะ ฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ เว้นแต่จะมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่ง อย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือตัวแทนของฝ่ายนั้นเป็นสำคัญ ในกรณีเช่นนี้ให้นำ มาตรา 850,มาตรา 852 แห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วย ประนีประนอมยอมความมาใช้บังคับโดยอนุโลม

 มาตรา 1754 ห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย หรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก

คดีฟ้องเรียกตามข้อกำหนดพินัยกรรม มิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อผู้รับพินัยกรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงสิทธิซึ่งตนมีอยู่ตามพินัยกรรม

 ภายใต้บังคับแห่ง มาตรา 193/27 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าสิทธิเรียก ร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกมีกำหนดอายุความยาวกว่าหนึ่งปี มิให้เจ้าหนี้ นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก

ถึงอย่างไรก็ดี สิทธิเรียกร้องตามที่ว่ามาในวรรคก่อน ๆ นั้น มิให้ฟ้อง ร้องเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย




คดีมรดก ร้องศาลตั้งผู้จัดการมรดก

พินัยกรรมของผู้ตายที่ห้ามโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตกเป็นโมฆะ, ข้อห้ามในพินัยกรรมเป็นโมฆะ, ผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม
ถอนผู้จัดการมรดก, การปันมรดกเสร็จสิ้นแล้ว, การจัดการศาลจ้าวไม่เป็นมรดก, ศาลจ้าวใต้เซียฮุดโจ๊วเป็นกุศลสถาน
ที่ดินของรัฐ มรดกของผู้ตาย, ที่ดินนิคมสหกรณ์, สิทธิทำประโยชน์ในที่ดิน, สิทธิเหนือพื้นดิน, การเพิกถอนโฉนดที่ดิน,
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทในกองมรดก, การเพิกถอนนิติกรรมในทรัพย์มรดก, การขายทรัพย์มรดกเพื่อชำระหนี้, ผู้จัดการมรดกกับสิทธิและหน้าที่
มรดกตกทอด, การเพิกถอนการสละมรดก, อายุความในการฟ้องคดีมรดก, สิทธิเรียกร้องแทนลูกหนี้
หนังสือแต่งตั้งผู้รับโอนประโยชน์ในเงินทุนเรือนหุ้นของสหกรณ์ไม่ถือเป็นพินัยกรรม, เงินสงเคราะห์สมาชิกสหกรณ์, สิทธิผู้รับโอนประโยชน์ในเงินสงเคราะห์
นิติกรรมซื้อขายที่ดินซึ่งเป็นคนต่างด้าว, คดีมรดกที่ดินของคนต่างด้าว, อายุความคดีมรดก, การยักยอกทรัพย์มรดก
พินัยกรรมยกมรดกให้พี่น้องร่วมบิดามารดา, สิทธิของผู้สืบสันดานในการรับมรดกแทนที่, การฟ้องเรียกค่าเช่าจากทรัพย์สินมรดก
การกำจัดทายาทมิให้รับมรดก, สิทธิรับมรดกของผู้สืบสันดานเมื่อทายาทถูกกำจัด, การเพิกถอนนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์มรดก
เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดก, การฟ้องแบ่งมรดกของผู้ตาย, การยกอายุความในคดีมรดก, สินสมรสและสินส่วนตัวในกองมรดก
ผู้จัดการมรดกและการโอนทรัพย์มรดก, พินัยกรรมด้วยวาจา ป.พ.พ. มาตรา 1663, การครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาท
สิทธิทายาทในมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง, ทายาทตายก่อนแบ่งมรดก, รับมรดกแทนที่ มาตรา 1639,
สิทธิการฟ้องขอแบ่งมรดกของทายาท, การเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินมรดก, สินสมรสหลังคู่สมรสเสียชีวิต
สัญญาประกันชีวิต, สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก, ผู้ทำประกันชีวิตและผู้รับผลประโยชน์ตายพร้อมกัน
การจัดการหนี้สินในกองมรดก, สิทธิของเจ้าหนี้กองมรดก, ที่ดินมรดกและการบังคับคดี
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดก
ผู้จัดการมรดกปฏิบัติผิดหน้าที่-ทายาทผู้มีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกได้
ผู้จัดการมรดกร่วมถึงแก่ความตายต้องทำอย่างไร, ฟ้องซ้อน คืออะไร, แต่งตั้งผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่เพียงทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป
ทายาทฟ้องทายาทให้แบ่งทรัพย์มรดก
การจัดการทรัพย์มรดกในฐานะผู้จัดการมรดกตามหน้าที่ที่จำเป็น
คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกปิดบังทรัพย์มรดกมีผลอย่างไร
ทายาทมิได้ฟ้องเรียกร้องมรดกภายใน 1 ปี
ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ผู้มีส่วนได้เสีย
สามีไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้จัดการมรดกได้
ทรัพย์มรดกยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาททุกคน-การจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้น
บุคคลผู้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มีผลอย่างไร?
ฟ้องผู้จัดการมรดกนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงเกินห้าปีขาดอายุความ
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลถูกเพิกถอนได้
อายุความคดีมรดก เจ้าหนี้ฟ้องคดีมรดกเกินหนึ่งปี
คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก
บุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย
บุตรนอกกฎหมายซึ่งผู้ตายรับรองแล้วเป็นผู้สืบสันดาน
มารดาขายที่ดินซึ่งผู้เยาว์มีส่วนแบ่งไม่ต้องขอศาล
นายอำเภอคือผู้มีอำนาจจัดทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
ความรับผิดของผู้จัดการมดกภายหลังการเสียชีวิต
ผู้จัดการมรดกร่วมนำทรัพย์มรดกหาประโยชน์แก่ตน
ผู้สืบสันดาน คือใคร? ต่างกับทายาท อย่างไร?
คู่สมรสและการแบ่งมรดกของคู่สมรส | การสมรสเป็นโมฆะ
อายุความคดีมรดก และอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก
เหตุอันจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก
การปันมรดกเสร็จสิ้นลงแล้วการถอนผู้จัดการมรดกย่อมพ้นกำหนดเวลา
สามีมิได้จดทะเบียนสมรสไม่ถือเป็นทายาทของภริยาผู้ตาย
อำนาจหน้าที่จัดการศพพระภิกษุผู้มรณภาพไม่มีทรัพย์สิน
สามีไม่จดทะเบียนสมรสขอถอนผู้จัดการมรดก มีกรรมสิทธิ์รวม
ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะทำหน้าที่ผู้จัดการมรดก
อำนาจฟ้องขอแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตาย
ทายาททุกคนมอบหมายให้ครอบครองที่ดินแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วม
ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามมาตรา 1300
ทายาทโดยธรรมย่อมมีสิทธิเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์มรดกตามส่วนที่จะพึงได้
สิทธิรับมรดกที่ยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาห้ามยกเป็นข้อต่อสู้ผู้รับโอนโดยสุจริต
การจัดการมรดกและผู้จัดการมรดก, สินสมรสและสินส่วนตัวในคดีมรดก, อายุความคดีมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733
ผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก
ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์มรดกเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความแล้ว
ผู้คัดค้านไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการขอจัดการมรดก
ทายาทมีส่วนเท่ากันออกค่าใช้จ่ายจัดการทำศพ
ความเหมาะสมในการเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น
สิทธิของบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายในการรับมรดกของบุตรนอกกฎหมาย
หนังสือสัญญาแบ่งมรดกตกเป็นโมฆะหรือไม่?
อำนาจและหน้าที่ในการจัดการทำศพและลำดับก่อนหลัง
พินัยกรรมมีเงื่อนไขบังคับก่อน
ผู้จัดการมรดกฟ้องแทนทายาทโดยธรรมอื่น
คู่สมรสที่จดทะเบียนหย่าแล้วเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่
การสละมรดกมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายจึงขาดความเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
แม้กองมรดกมีผู้จัดการมรดกแล้วทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้อง
พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองไม่ได้ทำต่อหน้าพยานตกเป็นโมฆะ
บุตรนอกสมรสและบิดานอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดกต่อกันอย่างไร
ผู้จัดการมรดก | ทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดกเรียกให้เจ้าของรวมส่งมอบโฉนดที่ดิน
การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลงอายุความ 5 ปียังไม่เริ่มนับ
สิทธิรับมรดกก่อนหลัง
คำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ
อายุความฟ้องคดีแพ่งอันเนื่องจากคดียักยอกทรัพย์มรดก
การแบ่งมรดกที่ดินมือเปล่าไม่มีเอกสารสิทธิ
คดีมรดกต้องเป็นคดีที่ทายาทด้วยกันพิพาทกันเรื่องสิทธิในส่วนแบ่งมรดก
ขอให้ศาลสั่งถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ความรับผิดของผู้ตาย
แสดงบัญชีเครือญาติเป็นเท็จปิดบังจำนวนทายาท
อายุความคดีมรดกสะดุดหยุดลง การแบ่งทรัพย์มรดกไม่ชอบ
ไม่มีกฎหมายบังคับให้ฟ้องเอาทรัพย์มรดกจากทายาทอื่นที่ครอบครองแทนใน 1 ปี
สัญญาว่าจ้างติดตามทรัพย์กองมรดกเรียกส่วนแบ่งเป็นโมฆะ
คดีฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมปลอมและถูกกำจัดมิให้รับมรดก
โจทก์ฟ้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปี
ผู้จัดการมรดกแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันฟังคำสั่งศาล
คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกอายุความ 5 ปี
การแจ้งการเกิดของเด็กในทะเบียนคนเกิดเองว่าเป็นบุตรของตน
ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
การที่จะเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนทายาทอื่น
พินัยกรรมเอกสารลับทำผิดแบบเป็นโมฆะ
การจัดการมรดกไม่ชอบไม่อาจถือว่าการจัดการมรดกสิ้นลงแล้ว