ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ความรับผิดของผู้จัดการมดกภายหลังการเสียชีวิต

ความรับผิดของผู้จัดการมดกซึ่งภายหลังการเสียชีวิต

ความรับผิดของผู้จัดการมดกซึ่งภายหลังการเสียชีวิต

 ตามฎีกาของโจทก์และจำเลยว่า การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 อนุญาตให้นางสาวทัศนีย์ บุตรจำเลยเป็นคู่ความแทนจำเลย(ที่เสียชีวิต)ชอบหรือไม่ โจทก์ฎีกาว่า ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งนายธีระชัย บุตรนางผ่องเป็นคู่ความแทนที่จำเลยแล้ว ไม่ควรที่จะอนุญาตให้นางสาวทัศนีย์เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยอีก ส่วนจำเลยฎีกาว่า เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 ยกคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยของนางสาวทัศนีย์แล้วก็ไม่ควรที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยใหม่ เพราะหากไม่มีบุคคลใดเข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลย ตามกฎหมายให้ถือว่าคดีดังกล่าวสิ้นสุด ถือเสมือนไม่มีการฟ้องร้อง เห็นว่า เมื่อจำเลยถึงแก่ความตาย แม้คำสั่งศาลที่แต่งตั้งให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกไม่มีผลต่อไปก็ตาม แต่ความรับผิดของผู้จัดการมรดกอันเกิดจากการจัดการมรดกมิชอบ มิใช่เป็นการเฉพาะตัวจึงย่อมตกทอดแก่ทายาท ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 อนุญาตให้นางสาวทัศนีย์เป็นคู่ความแทนที่จำเลยจึงชอบแล้วและชอบที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จะดำเนินคดีต่อไป ฎีกาของโจทก์และจำเลยฟังไม่ขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8687 - 8688/2558

เมื่อจำเลยถึงแก่ความตาย คำสั่งศาลที่ตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกไม่มีผลต่อไป แต่ความรับผิดของผู้จัดการมรดกอันเกิดจากการจัดการมรดกมิชอบมิใช่เป็นการเฉพาะตัวจึงย่อมตกทอดแก่ทายาท ที่ศาลอนุญาตให้ ท. เป็นคู่ความแทนที่จำเลยจึงชอบแล้ว

พินัยกรรมมีลายมือชื่อพยานสองคนและไม่มีกฎหมายห้ามมิให้พยานในพินัยกรรมเป็นพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือในขณะเดียวกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าพยานในพินัยกรรมทั้งสองเป็นบุคคลต้องห้าม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1670 การที่ผู้ทำพินัยกรรมลงลายมือชื่อและพิมพ์ลายนิ้วมือต่อหน้า ช. กับ ห. เมื่อบุคคลทั้งสองลงลายมือชื่อรับรองไว้ในขณะทำพินัยกรรม ตามมาตรา 1665 พินัยกรรมจึงถูกต้องตามแบบและสมบูรณ์ตามกฎหมาย

คดีสองสำนวนนี้ ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษารวมกันโดยให้เรียกโจทก์ในสำนวนแรกว่า โจทก์ที่ 1 และเรียกโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 6 ในสำนวนหลังว่า โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 ตามลำดับ เรียกจำเลยทั้งสองสำนวนว่า จำเลย

โจทก์ทั้งสองสำนวนฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้พิพากษาว่า พินัยกรรมของนางผ่องฉบับลงวันที่ 20 มกราคม 2537 ตกเป็นโมฆะ และให้จำเลยแบ่งที่ดินมรดกส่วนที่เป็นของนางผ่องกึ่งหนึ่งในที่ดินโฉนดเลขที่ 970, 124166 ถึง 124168 ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช และที่ดินโฉนดเลขที่ 47284 และ 47285 ตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ให้แก่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 คนละหนึ่งในสิบสองส่วน หากไม่สามารถแบ่งแยกได้ ให้นำที่ดินทั้งหกแปลงออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 ตามส่วนที่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 มีสิทธิได้รับ

จำเลยทั้งสองสำนวนให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนข้อกำหนดในพินัยกรรมของนางผ่องฉบับลงวันที่ 20 มกราคม 2537 ข้อ 1 เฉพาะการยกให้ที่ดินส่วนที่เป็นของบุตรทั้งสิบสองคนของนายคลิ้ง คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองสำนวนให้เป็นพับ

โจทก์ทั้งเจ็ดและจำเลยอุทธรณ์

ในชั้นตรวจรับอุทธรณ์ จำเลยถึงแก่ความตาย นางสาวทัศนีย์ บุตรผู้ตายยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยพร้อมยื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้นางสาวทัศนีย์ เป็นคู่ความแทนที่จำเลยและรับอุทธรณ์ของจำเลย

ศาลอุทธรณ์ภาค 8 เห็นว่า สิทธิในการจัดการมรดกเป็นสิทธิเฉพาะตัว จึงไม่อนุญาตให้นางสาวทัศนีย์เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยและไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยและมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการหาทายาทนางผ่องหรือผู้จัดการมรดกนางผ่องคนใหม่มาเป็นคู่ความแทนที่จำเลย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งนายธีระชัย บุตรนางผ่องเป็นคู่ความแทนที่จำเลย

ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 โจทก์ที่ 3 และที่ 4 ถึงแก่ความตาย นายสมควร ผู้จัดการมรดกโจทก์ที่ 3 ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ที่ 3 นางรวิพิมพ์ ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ที่ 4 ศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีคำสั่งอนุญาตและให้เพิกถอนคำสั่งเดิมที่ไม่รับนางสาวทัศนีย์ เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลย เป็นให้บังคับตามศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งให้นางสาวทัศนีย์ เป็นคู่ความแทนที่จำเลยและเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้นายธีระชัย เป็นคู่ความแทนที่จำเลย

ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษากลับว่า พินัยกรรมฉบับลงวันที่ 20 มกราคม 2537 ของนางผ่อง ตามฟ้องไม่มีผลบังคับ ให้นางสาวทัศนีย์ คู่ความแทนที่จำเลย แบ่งที่ดินโฉนดเลขที่ 970 ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ดินโฉนดเลขที่ 47284 และ 47285 ตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ครึ่งหนึ่งส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของนางผ่อง ให้โจทก์ทั้งเจ็ดคนละ 1 ใน 12 ส่วน แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินทรัพย์มรดกของจำเลยที่ตกทอดได้แก่ตน หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์ทั้งเจ็ด โดยกำหนด ค่าทนายความให้รวม 30,000 บาท

โจทก์ทั้งเจ็ดและจำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังว่า โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ที่ 6 ที่ 7 และจำเลยเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน โดยบิดาชื่อนายคลิ้ง มารดาชื่อนางผ่อง โจทก์ที่ 3 เป็นบุตรของร้อยเอกสมิทธิ์ ซึ่งเป็นบุตรของนายคลิ้งกับนางผ่อง โจทก์ที่ 5 เป็นบุตรของนางอุไร ซึ่งเป็นบุตรของนายคลิ้งกับนางผ่อง นายคลิ้งกับนางผ่องมีบุตรด้วยกัน 12 คน นายคลิ้งถึงแก่ความตายเมื่อปี 2527 ส่วนนางผ่องถึงแก่ความตายเมื่อปี 2541 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของนางผ่องตามพินัยกรรม พินัยกรรมดังกล่าวมีทั้งลายพิมพ์นิ้วมือของนางผ่องและลายมือชื่อของนางผ่อง

มีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ทั้งเจ็ดและจำเลยว่า การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 อนุญาตให้นางสาวทัศนีย์ บุตรจำเลยเป็นคู่ความแทนจำเลยชอบหรือไม่ โดยโจทก์ทั้งเจ็ดฎีกาว่า ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งนายธีระชัย บุตรนางผ่องเป็นคู่ความแทนที่จำเลยแล้ว ไม่ควรที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จะอนุญาตให้นางสาวทัศนีย์เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยอีก ส่วนจำเลยฎีกาว่า เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 ยกคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยของนางสาวทัศนีย์แล้วก็ไม่ชอบที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยใหม่ เพราะหากไม่มีบุคคลใดเข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลย ตามกฎหมายให้ถือว่าคดีดังกล่าวสิ้นสุด ถือเสมือนไม่มีการฟ้องร้อง เห็นว่า เมื่อจำเลยถึงแก่ความตาย แม้คำสั่งศาลที่แต่งตั้งให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกไม่มีผลต่อไปก็ตาม แต่ความรับผิดของผู้จัดการมรดกอันเกิดจากการจัดการมรดกมิชอบ มิใช่เป็นการเฉพาะตัวจึงย่อมตกทอดแก่ทายาท ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 อนุญาตให้นางสาวทัศนีย์เป็นคู่ความแทนที่จำเลยจึงชอบแล้วและชอบที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จะดำเนินคดีต่อไป ฎีกาของโจทก์ทั้งเจ็ดและจำเลยฟังไม่ขึ้น

มีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยต่อไปว่า พินัยกรรมพิพาทเป็นพินัยกรรมที่สมบูรณ์ตามกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า ในการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อในพินัยกรรมของนางผ่อง ผู้เชี่ยวชาญของศาลมีความเห็นว่า ไม่อาจตรวจพิสูจน์เปรียบเทียบลงความเห็นให้เป็นหลักฐานอย่างหนึ่งอย่างใดได้ตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ การวินิจฉัยว่า พินัยกรรมสมบูรณ์ตามกฎหมายหรือไม่ จึงต้องอาศัยพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบเข้ามาในสำนวนความ ตามลายมือชื่อของนางผ่องที่ปรากฏในเอกสาร มีทั้งส่วนที่นางผ่องลงลายมือชื่อเพียงอย่างเดียวและมีทั้งนางผ่องลงลายมือชื่อและชื่อสกุล ส่วนตามพินัยกรรมมีทั้งลายมือชื่อและชื่อสกุลของนางผ่อง การพิจารณาว่า ลายมือชื่อและชื่อสกุลของนางผ่องเป็นการลงลายมือชื่อและชื่อสกุลของนางผ่องที่แท้จริงหรือไม่ ควรจะต้องพิจารณาจากเอกสารต่าง ๆ ที่นางผ่องได้ลงลายมือชื่อและชื่อสกุลไว้ประกอบกัน ซึ่งเป็นเอกสารที่สำคัญนางผ่องจะลงทั้งลายมือชื่อและชื่อสกุลเป็นส่วนใหญ่ ลักษณะการเขียนแม้จะแตกต่างกันบ้างแต่ส่วนใหญ่แล้วคล้ายคลึงกัน เมื่อนำลายมือชื่อและชื่อสกุลที่ปรากฏตามพินัยกรรมมาเปรียบเทียบกันแล้วก็มีลักษณะคล้ายคลึงกันคือ ลักษณะการเขียนทั้งตัวอักษรลายมือชื่อและชื่อสกุลไม่ติดกัน ที่โจทก์อ้างว่านางผ่องเป็นคนหูหนวก ตาฝ้าฟางไม่เห็นตัวอักษร สติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ ไม่อาจลงลายมือชื่อด้วยตนเองได้นั้น เห็นว่า ในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 414/2534 ที่นายประจวบ ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของนายคลิ้ง ผู้ตาย โดยมีนางสาวปราณี เป็นผู้คัดค้านนั้น นางผ่องได้มาเบิกความต่อศาลเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2536 ตามคำให้การซึ่งในคำเบิกความดังกล่าว นางผ่องสามารถเบิกความในสาระสำคัญเกี่ยวกับครอบครัวของนางผ่องเอง ตลอดจนทรัพย์สินของตนเองและของนายคลิ้งได้ ไม่ปรากฏว่าเลอะเลือนหรือมีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์แต่ประการใด เมื่อต่อมานางผ่องทำพินัยกรรม หลังจากเบิกความในคดีดังกล่าวเพียงสองเดือนเศษ ซึ่งจำเลยและนางเพ็ญศรีก็เบิกความว่า ลายมือชื่อในพินัยกรรมและลายพิมพ์นิ้วมือเป็นของนางผ่อง จึงไม่น่าเชื่อว่าขณะทำพินัยกรรมนางผ่องจะมีอาการเลอะเลือน ตาฟ่าฟางไม่เห็นตัวอักษร หรือมีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ตามข้ออ้างของโจทก์ทั้งเจ็ดแต่ประการใด ข้อเท็จจริงยังได้ความต่อไปว่า นอกจากนางผ่องจะลงลายมือชื่อในการทำพินัยกรรมแล้วนางผ่องยังได้พิมพ์ลายนิ้วมือไว้ด้วย โดยโจทก์อ้างว่านางผ่องถูกกดลายพิมพ์นิ้วมือและไม่มีพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือนั้น ก็ปรากฏว่าพินัยกรรมมีลายมือชื่อพยานสองคนและไม่มีกฎหมายห้ามมิให้พยานในพินัยกรรมเป็นพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือในขณะเดียวกันมิได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าพยานในพินัยกรรมทั้งสองคนเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้เป็นพยานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1670 นายโชติ ซึ่งเป็นผู้อ่านพินัยกรรมให้นางผ่องฟังได้เบิกความไว้ในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 90/2542 หมายเลขแดงที่ 321/2542 ว่า นายห้วน เป็นผู้พิมพ์พินัยกรรมตามข้อความที่นางผ่องต้องการ พยานอ่านข้อความในพินัยกรรมให้นางผ่องฟัง นางผ่องรับว่าถูกต้องจึงได้พิมพ์ลายนิ้วมือข้างขวาและเนื่องจากลายพิมพ์นิ้วมือไม่ชัดเจน นางผ่องจึงได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้ทำพินัยกรรมไว้ด้วย ขณะทำพินัยกรรมนางผ่องมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ พูดจารู้เรื่อง ขณะนี้นายห้วนได้เสียชีวิตไปแล้ว นายโชติมีอาชีพทนายความและเป็นเทศมนตรีไม่มีส่วนได้เสียกับฝ่ายใด น่าเชื่อว่านางผ่องลงลายมือชื่อและพิมพ์ลายนิ้วมือต่อหน้านายโชติและนายห้วน และนายโชติกับนายห้วนลงลายมือชื่อรับรองไว้ขณะทำพินัยกรรม ตามมาตรา 1665 พินัยกรรมจึงถูกต้องตามแบบและสมบูรณ์ตามกฎหมาย ฎีกาของจำเลยฟังขึ้น

อนึ่ง โจทก์ทั้งเจ็ดฎีกาเฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 200 บาท แต่โจทก์ทั้งเจ็ดเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามาอย่างคดีมีทุนทรัพย์เป็นเงิน 46,862.50 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่เกินมาแก่โจทก์ทั้งเจ็ด

พิพากษากลับ ให้บังคับคดีไปตามศาลชั้นต้น คืนค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาส่วนที่เกินมาแก่โจทก์ทั้งเจ็ด ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาทั้งสองสำนวนให้เป็นพับ

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 1670 บุคคลต่อไปนี้จะเป็นพยานในการทำพินัยกรรมไม่ได้

(1) ผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ

(2) บุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งถูกพิพากษาให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ

(3) คนหูหนวก เป็นใบ้ หรือตาบอด

Section 1670. The following persons cannot witness at the making of a will;

(1) persons not sui juris

(2) persons of unsound mind or persons adjudged quasi-incompetent;

(3) persons who are deaf or dumb or blind

จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกเมื่อจำเลยถึงแก่ความตายคำสั่งศาลที่ตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกไม่มีผลต่อไป




คดีมรดก ร้องศาลตั้งผู้จัดการมรดก

บุตรนอกกฎหมายซึ่งผู้ตายรับรองแล้วเป็นผู้สืบสันดาน
มารดาขายที่ดินซึ่งผู้เยาว์มีส่วนแบ่งไม่ต้องขอศาล
นายอำเภอคือผู้มีอำนาจจัดทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
ผู้จัดการมรดกร่วมนำทรัพย์มรดกหาประโยชน์แก่ตน
ผู้จัดการมรดกปฏิบัติผิดหน้าที่-ทายาทผู้มีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกได้
ผู้สืบสันดาน คือใคร? ต่างกับทายาท อย่างไร?
คู่สมรสและการแบ่งมรดกของคู่สมรส | การสมรสเป็นโมฆะ
อายุความคดีมรดก และอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก
เหตุอันจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก
การปันมรดกเสร็จสิ้นลงแล้วการถอนผู้จัดการมรดกย่อมพ้นกำหนดเวลา
สามีมิได้จดทะเบียนสมรสไม่ถือเป็นทายาทของภริยาผู้ตาย
อำนาจหน้าที่จัดการศพพระภิกษุผู้มรณภาพไม่มีทรัพย์สิน
สามีไม่จดทะเบียนสมรสขอถอนผู้จัดการมรดก มีกรรมสิทธิ์รวม
ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะทำหน้าที่ผู้จัดการมรดก
อำนาจฟ้องขอแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตาย
ทายาททุกคนมอบหมายให้ครอบครองที่ดินแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วม
ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามมาตรา 1300
ทายาทโดยธรรมย่อมมีสิทธิเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์มรดกตามส่วนที่จะพึงได้
ทายาทสละมรดกโดยที่รู้อยู่ว่าการสละมรดกทำให้เจ้าหนี้ของตนเสียประโยชน์
สิทธิรับมรดกที่ยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาห้ามยกเป็นข้อต่อสู้ผู้รับโอนโดยสุจริต
ตามกฎหมายลักษณะผัวเมียมิได้บัญญัติให้ใช้บังคับเฉพาะแก่บุคคลผู้มีสัญชาติไทย
ผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก
ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์มรดกเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความแล้ว
ผู้คัดค้านไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการขอจัดการมรดก
ทายาทฟ้องทายาทให้แบ่งทรัพย์มรดก
ทายาทมีส่วนเท่ากันออกค่าใช้จ่ายจัดการทำศพ
ความเหมาะสมในการเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น
สิทธิของบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายในการรับมรดกของบุตรนอกกฎหมาย
หนังสือสัญญาแบ่งมรดกตกเป็นโมฆะหรือไม่?
อำนาจและหน้าที่ในการจัดการทำศพและลำดับก่อนหลัง
พินัยกรรมมีเงื่อนไขบังคับก่อน
ผู้จัดการมรดกฟ้องแทนทายาทโดยธรรมอื่น
คู่สมรสที่จดทะเบียนหย่าแล้วเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่
การสละมรดกมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายจึงขาดความเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
แม้กองมรดกมีผู้จัดการมรดกแล้วทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้อง
พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองไม่ได้ทำต่อหน้าพยานตกเป็นโมฆะ
บุตรนอกสมรสและบิดานอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดกต่อกันอย่างไร
ผู้จัดการมรดก | ทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดกเรียกให้เจ้าของรวมส่งมอบโฉนดที่ดิน
การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลงอายุความ 5 ปียังไม่เริ่มนับ
สิทธิรับมรดกก่อนหลัง
คำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ
อายุความฟ้องคดีแพ่งอันเนื่องจากคดียักยอกทรัพย์มรดก
เมื่อแบ่งมรดกเสร็จแล้วความเป็นทายาทสิ้นสุดลง-อายุความมรดก
การแบ่งมรดกที่ดินมือเปล่าไม่มีเอกสารสิทธิ
คดีมรดกต้องเป็นคดีที่ทายาทด้วยกันพิพาทกันเรื่องสิทธิในส่วนแบ่งมรดก
ขอให้ศาลสั่งถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ความรับผิดของผู้ตาย
แสดงบัญชีเครือญาติเป็นเท็จปิดบังจำนวนทายาท
อายุความคดีมรดกสะดุดหยุดลง การแบ่งทรัพย์มรดกไม่ชอบ
ไม่มีกฎหมายบังคับให้ฟ้องเอาทรัพย์มรดกจากทายาทอื่นที่ครอบครองแทนใน 1 ปี
สัญญาว่าจ้างติดตามทรัพย์กองมรดกเรียกส่วนแบ่งเป็นโมฆะ
คดีฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมปลอมและถูกกำจัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่เพียงทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป
โจทก์ฟ้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปี
ผู้จัดการมรดกแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันฟังคำสั่งศาล
คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกอายุความ 5 ปี
การแจ้งการเกิดของเด็กในทะเบียนคนเกิดเองว่าเป็นบุตรของตน
ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
การที่จะเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนทายาทอื่น
พินัยกรรมเอกสารลับทำผิดแบบเป็นโมฆะ
การจัดการมรดกไม่ชอบไม่อาจถือว่าการจัดการมรดกสิ้นลงแล้ว
การจัดการทรัพย์มรดกในฐานะผู้จัดการมรดกตามหน้าที่ที่จำเป็น
คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกปิดบังทรัพย์มรดกมีผลอย่างไร
ทายาทมิได้ฟ้องเรียกร้องมรดกภายใน 1 ปี
ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ผู้มีส่วนได้เสีย
สามีไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้จัดการมรดกได้
ทรัพย์มรดกยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาททุกคน-การจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้น
บุคคลผู้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มีผลอย่างไร?
ฟ้องผู้จัดการมรดกนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงเกินห้าปีขาดอายุความ
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลถูกเพิกถอนได้
อายุความคดีมรดก เจ้าหนี้ฟ้องคดีมรดกเกินหนึ่งปี
คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก
บุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย