ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




การที่จะเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนทายาทอื่น

การที่จะเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนทายาทอื่น

การที่ทายาทคนหนึ่งครอบครองทรัพย์มรดกไว้นั้นไม่มีกฎหมายสนับสนุนว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทอื่น การที่จะเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนทายาทอื่นหรือครอบครองไว้เพื่อตนเองย่อมแล้วแต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏแต่ละคดีไป ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 189/2535 และ 2220/2552 เพราะหากถือว่าทายาทที่ครอบครองทรัพย์มรดกแต่ผู้เดียวเป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นที่ไม่ได้ครอบครองทรัพย์มรดกด้วย อายุความตามมาตรา 1754 ก็ไม่อาจใช้บังคับได้เลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9992/2560

ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย หรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก" และวรรคสี่ บัญญัติว่า "ถึงอย่างไรก็ดี สิทธิเรียกร้องตามที่ว่ามาในวรรคก่อนๆ นั้น มิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย" อย่างไรก็ตามบทบัญญัติดังกล่าวมีข้อยกเว้นตามมาตรา 1748 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า "ทายาทคนใดครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งกัน ทายาทคนนั้นมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้ แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความตามมาตรา 1754 แล้วก็ดี" การที่ทายาทคนหนึ่งครอบครองทรัพย์มรดกไว้นั้น ไม่มีกฎหมายสนับสนุนว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทคนอื่นด้วย การที่จะเป็นการครอบครองแทนทายาทคนอื่นหรือครอบครองไว้เพื่อตนเองย่อมแล้วแต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในแต่ละคดี เพราะหากถือว่าทายาทที่ครอบครองทรัพย์มรดกแต่ผู้เดียวเป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นที่ไม่ได้ครอบครองทรัพย์มรดกด้วย อายุความตามมาตรา 1754 ก็ไม่อาจใช้บังคับได้เลย

การที่ ก. เป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกพิพาทของผู้ตายตั้งแต่ขณะที่ผู้ตายยังมีชีวิตและภายหลังผู้ตายถึงแก่ความตายอย่างเป็นเจ้าของโดยถือว่าเป็นสินส่วนตัวตลอดมาแต่เพียงผู้เดียว โดยโจทก์ไม่เคยฟ้องหรือร้องขอให้พนักงานอัยการยกคดีนี้ขึ้นว่ากล่าวเอาแก่ ก. ซึ่งเป็นมารดาเพื่อขอแบ่งมรดกพิพาทจาก ก. แต่อย่างใด และเมื่อ ก. แบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1335 ออกเป็น 7 แปลง โดยมีที่ดินโฉนดเลขที่ 78021 รวมอยู่ด้วย โจทก์ก็ไม่เคยโต้แย้งคัดค้าน ยิ่งกว่านั้นในคดีที่ ก. ฟ้องขอให้เพิกถอนคืนการให้ที่ดินแก่โจทก์รวม 5 แปลง ซึ่งที่ดินดังกล่าวมีชื่อ ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ขณะที่ผู้ตายยังมีชีวิตและ ก. ได้จดทะเบียนยกให้โจทก์นั้น โจทก์ก็ไม่ได้โต้แย้งว่าที่ดินทั้งห้าแปลงและที่ดินที่ขายไปเป็นสินสมรสระหว่างผู้ตายและ ก. และเป็นมรดกของผู้ตายกึ่งหนึ่งอันจะตกแก่โจทก์ที่เป็นทายาทและทายาทอื่นด้วย ก. ไม่เคยร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายรวมทั้งไม่เคยเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายอันจะถือว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทอื่น นอกจากนี้ตามคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายของ ศ. ระบุเพียงว่า ผู้ตายมีทรัพย์มรดกคือเงินฝากในธนาคารเท่านั้น และ ศ. ก็เบิกความยืนยันว่า ได้จัดการแบ่งเงินทรัพย์มรดกของผู้ตายเสร็จสิ้นไปแล้ว ผู้ตายไม่มีทรัพย์สินอื่นใดที่จะจัดการอีก อันเป็นข้อสนับสนุนว่า ก. ครอบครองทรัพย์มรดกพิพาทที่มีชื่อ ก. แต่ผู้เดียวโดย ศ. และทายาทอื่นไม่ได้ร่วมครอบครองทรัพย์มรดกที่เป็นที่ดินเลย กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1748 วรรคหนึ่ง ผู้ตายถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2532 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2556 เกินสิบปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามมาตรา 1754 วรรคหนึ่งและวรรคสี่ จำเลยเป็นผู้สืบสิทธิ ก. ผู้เป็นทายาทย่อมมีสิทธิยกอายุความดังกล่าวขึ้นต่อสู้ได้ตามมาตรา 1755

(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15/2560)

โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่า จำเลยถูกกำจัดมิให้ได้มรดกของพันเอกกาจ ให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 1335, 78021 และ 7288 หนึ่งในเจ็ดส่วนให้แก่โจทก์โดยให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา หากไม่สามารถจดทะเบียนโอนได้ ให้จำเลยชำระเงินจำนวน 50,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลย โดยกำหนดค่าทนายความ 10,000 บาท ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีให้เป็นพับ

โจทก์และจำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับ ให้จำเลยจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท 3 แปลง เฉพาะส่วนที่เป็นมรดกของพันเอกกาจจำนวนหนึ่งในเจ็ดส่วน หากไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้เป็นยุติในชั้นนี้โดยคู่ความไม่โต้แย้งคัดค้านว่า นางกฐิน เป็นบุตรของหลวงแจ่มวิชาสอนและนางผิน ซึ่งประกอบกิจการโรงงานผลิตและจำหน่ายยาสีฟันวิเศษนิยม เมื่อหลวงแจ่มวิชาสอนและนางผินถึงแก่ความตาย กิจการดังกล่าวตกแก่บุตรและนางกฐินด้วย โจทก์และจำเลยเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของพันเอกกาจ กับนางกฐิน ซึ่งจดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2482 มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 7 คน คือ โจทก์ นายหาญ นางนิรมล นางถิระศิริ จำเลย นางศรีประไพ และนายวรกิจ ซึ่งถึงแก่ความตาย เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2528 โดยไม่มีผู้สืบสันดาน นางกฐินมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินหลายร้อยแปลงรวมทั้งที่ดินพิพาทคดีนี้ โดยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2498 นางกฐินจดทะเบียนซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 1335 เนื้อที่ 56 ไร่ 3 งาน 45 ตารางวา จากนายสุรินทร์ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2504 นางกฐินจดทะเบียนซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 7288 เนื้อที่ 10 ไร่ 1 งาน 37 ตารางวา จากนายศุภโชค วันที่ 17 กันยายน 2532 พันเอกกาจถึงแก่ความตาย วันที่ 2 ธันวาคม 2532 ศาลแพ่งมีคำสั่งตั้งนางศรีประไพ เป็นผู้จัดการมรดกพันเอกกาจ วันที่ 28 ธันวาคม 2535 นางกฐินจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1335 ออกไป 7 แปลง เป็นที่ดินโฉนดเลขที่ 78015 ถึง 78021 คงเหลือที่ดินโฉนดเลขที่ 1335 เพียง 5 ไร่ 2 งาน 18 ตารางวา โดยที่ดินโฉนดเลขที่ 78021 เนื้อที่ 7 ไร่ 2 งาน มีชื่อนางกฐินเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ซึ่งออกโฉนดเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2536 วันที่ 24 ตุลาคม 2550 นางกฐินจดทะเบียนยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1335, 7288 และ 78021 รวมสามโฉนดให้แก่จำเลย เมื่อปี 2549 นางกฐินฟ้องขอถอนคืนการให้ที่ดินแก่โจทก์รวม 5 แปลง อ้างว่าโจทก์เนรคุณ โจทก์ให้การต่อสู้คดีว่าไม่ได้เนรคุณ ขอให้ยกฟ้อง วันที่ 13 มิถุนายน 2551 ศาลแพ่งกรุงเทพใต้พิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18347/2557 โดยพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ให้ยกฟ้อง (ขณะคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา นางกฐินถึงแก่ความตาย นางนิรมลและนางศรีประไพเข้าเป็นคู่ความแทน) เมื่อปี 2551 โจทก์ยื่นคำร้องขอต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางให้มีคำสั่งว่านางกฐินเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและตั้งโจทก์เป็นผู้พิทักษ์ นางกฐินกับพวกรวม 6 คน ยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้องขอ แต่หากศาลสั่งให้นางกฐินเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ก็ให้นางนิรมล (ผู้คัดค้านที่ 3) และจำเลย (ผู้คัดค้านที่ 5) เป็นผู้พิทักษ์ร่วมกัน ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางวินิจฉัยว่า นางกฐินอายุ 94 ปีเศษ แม้สามารถมาเบิกความต่อศาลได้ ได้ยินคำซักถามของทนายความและตอบคำถามของศาลและทนายความได้ แต่นางกฐินมีอายุมากแล้ว สายตามองไม่เห็นทั้งสองข้าง มีโรคประจำตัวหลายโรค และที่สำคัญไม่สามารถที่จะจัดทำการงานหรือกิจการด้วยตนเองตามลำพัง อาการดังกล่าวเข้าลักษณะมีกายพิการไม่สมประกอบ จึงมีคำสั่งให้นางกฐินเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถโดยให้นางนิรมลและจำเลยเป็นผู้พิทักษ์ อนึ่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยไม่ได้เบียดบังยักย้ายทรัพย์พิพาทอันเป็นมรดกจึงไม่ถูกกำจัดมิให้ได้มรดก โจทก์ไม่ฎีกาหรือทำคำแก้ฎีกาจึงยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1

ปัญหาต้องวินิจฉัยประการแรกตามฎีกาของจำเลยมีว่า ที่ดินพิพาททั้งสามแปลงเป็นสินสมรสระหว่างพันเอกกาจ ผู้ตายกับนางกฐิน หรือเป็นสินส่วนตัวของนางกฐิน ข้อเท็จจริงได้ความว่า ที่ดินพิพาททั้งสามแปลง คือ ที่ดินโฉนดเลขที่ 1335 เนื้อที่ 56 ไร่ 3 งาน 45 ตารางวา (ขณะพิพาทกันคดีนี้มีเนื้อที่ 5 ไร่ 2 งาน 18 ตารางวา) นางกฐินซื้อมาเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2498 จึงเป็นการได้มาก่อนพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่บังคับใช้ ต้องถือว่าที่ดินดังกล่าวเป็นสินสมรสระหว่างนางกฐินและพันเอกกาจ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1466 เดิม แม้ทางนำสืบของจำเลยจะอ้างว่า เงินที่นำมาซื้อที่ดินเป็นของตากับยายและของห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลโรงงานวิเศษนิยมให้นางกฐินมาซื้อ แต่ไม่ได้ความว่าเงินที่ให้มาซื้อนั้นเป็นการให้เป็นสินส่วนตัว จึงฟังไม่ได้ว่าเป็นสินส่วนตัวตามมาตรา 1464 (3) เดิม แต่เป็นสินสมรสตามมาตรา 1466 เดิม เมื่อนำเงินสินสมรสไปซื้อที่ดินมา ที่ดินที่ซื้อมาจึงเป็นสินสมรส ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 78021 เนื้อที่ 2 ไร่ 7 งาน เป็นที่ดินที่แบ่งแยกมาจากที่ดินตามสำเนาโฉนดที่ดินเลขที่ 1335 แม้จะออกโฉนดเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2536 ก็ถือว่าเป็นสินสมรสระหว่างนางกฐินและพันเอกกาจในขณะพันเอกกาจถึงแก่ความตาย โดยส่วนของพันเอกกาจย่อมเป็นมรดกของพันเอกกาจ เมื่อพันเอกกาจถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2532 ตามมาตรา 1625 (1) สำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 7288 เนื้อที่ 10 ไร่ 1 งาน 37 ตารางวา นางกฐินซื้อมาเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2504 จึงเป็นการได้มาก่อนพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่บังคับใช้และเป็นการนำเงินสินสมรสไปซื้อที่ดินมาย่อมเป็นสินสมรสตามมาตรา 1466 วรรคหนึ่ง (เดิม) เช่นกัน ฎีกาของจำเลยประการแรกฟังไม่ขึ้น

ปัญหาต้องวินิจฉัยประการที่สองมีว่า ฟ้องโจทก์สำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 1335 และ 78021 กับ 7288 ขาดอายุความมรดกหรือไม่ เห็นว่า เมื่อพันเอกกาจถึงแก่ความตาย ต้องแบ่งทรัพย์สินระหว่างนางกฐินและพันเอกกาจซึ่งเป็นคู่สมรสชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1625 (1) ส่วนของพันเอกกาจกึ่งหนึ่งนั้น เมื่อพันเอกกาจไม่ได้ทำพินัยกรรมย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมคือนางกฐินซึ่งเป็นภริยาชอบด้วยกฎหมายและบุตรอีก 6 คน ที่มีโจทก์และจำเลยรวมอยู่ด้วย ตามมาตรา 1620 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 1629 โดยมีสิทธิได้รับมรดกคนละหนึ่งในเจ็ดส่วน ซึ่งในการที่ทายาทจะเรียกร้องเอาส่วนแบ่งมรดกนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย หรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก" และวรรคสี่ บัญญัติว่า"ถึงอย่างไรก็ดี สิทธิเรียกร้องตามที่ว่ามาในวรรคก่อน ๆ นั้น มิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย" แต่อย่างไรก็ตามบทบัญญัติดังกล่าวมีข้อยกเว้นตามมาตรา 1748 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ทายาทคนใดครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งกัน ทายาทคนนั้นมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้ แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความตามมาตรา 1754 แล้วก็ดี" แต่การที่ทายาทคนหนึ่งครอบครองทรัพย์มรดกไว้นั้นไม่มีกฎหมายสนับสนุนว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นด้วย การที่จะเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนทายาทอื่นหรือครอบครองไว้เพื่อตนเองย่อมแล้วแต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏแต่ละคดีไป ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 189/2535 และ 2220/2552 เพราะหากถือว่าทายาทที่ครอบครองทรัพย์มรดกแต่ผู้เดียวเป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นที่ไม่ได้ครอบครองทรัพย์มรดกด้วย อายุความตามมาตรา 1754 ก็ไม่อาจใช้บังคับได้เลย โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องและนำสืบว่า เมื่อพันเอกกาจถึงแก่ความตาย โจทก์ให้นางกฐินซึ่งเป็นมารดาครอบครองที่ดินทรัพย์มรดกของพันเอกกาจที่ตกแก่โจทก์หนึ่งในเจ็ดส่วนแทนโจทก์ เห็นว่า โจทก์คงมีตัวโจทก์เป็นพยานเบิกความลอย ๆ เพียงปากเดียว ไม่มีพยานหลักฐานใดมาสนับสนุน คำเบิกความของโจทก์ที่ว่าให้นางกฐินซึ่งเป็นมารดาและเป็นทายาทคนหนึ่งครอบครองแทนจึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง แต่ตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ดังกล่าวเป็นการยอมรับว่า นางกฐินเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกของพันเอกกาจ อันเป็นการเจือสมกับทางนำสืบของจำเลยว่านางกฐินครอบครองทรัพย์มรดกตั้งแต่ขณะที่พันเอกกาจมีชีวิตและภายหลังพันเอกกาจถึงแก่ความตายอย่างเป็นเจ้าของโดยถือว่าเป็นสินส่วนตัวตลอดมา นอกจากนี้ขณะที่นางกฐินครอบครองทรัพย์มรดกแต่เพียงผู้เดียว โจทก์ก็ไม่เคยฟ้องหรือร้องขอให้พนักงานอัยการยกคดีขึ้นว่ากล่าวเอาแก่นางกฐินซึ่งเป็นมารดาขอแบ่งมรดกจากนางกฐินแต่ประการใด และเมื่อนางกฐินแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1335 ออกเป็น 7 แปลง โดยมีที่ดินโฉนดเลขที่ 78021 รวมอยู่ด้วย โจทก์ก็ไม่เคยโต้แย้งคัดค้าน ยิ่งกว่านั้นในคดีที่นางกฐินฟ้องขอให้เพิกถอนคืนการให้ที่ดินแก่โจทก์รวม 5 แปลง ตามคดีหมายเลขดำที่ 10289/2549 คดีหมายเลขแดงที่ 5372/2551 ของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ซึ่งที่ดินดังกล่าวก็มีชื่อนางกฐินเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ขณะที่พันเอกกาจยังมีชีวิตและนางกฐินได้จดทะเบียนยกให้แก่โจทก์นั้น โดยที่ดิน 2 แปลง ยกให้ขณะพันเอกกาจมีชีวิต อีก 3 แปลง ยกให้เมื่อพันเอกกาจถึงแก่ความตายและยังมีที่ดินอื่นที่โจทก์ได้รับยกให้หลายแปลง แต่ขายไปบางแปลงได้เงินมา 400,000,000 บาท ซึ่งโจทก์ยอมรับว่า นางกฐินได้ให้การดังกล่าวจริง โจทก์ก็ไม่ได้โต้แย้งเลยว่าที่ดินทั้งห้าแปลง และที่ดินที่ขายไปเป็นสินสมรสระหว่างพันเอกกาจและนางกฐินและเป็นมรดกของพันเอกกาจกึ่งหนึ่งอันจะตกแก่โจทก์ที่เป็นทายาทและทายาทอื่นด้วย ประกอบกับนางกฐินก็ไม่เคยร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของพันเอกกาจรวมทั้งไม่เคยเป็นผู้จัดการมรดกของพันเอกกาจอันจะถือว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทอื่น แม้นางศรีประไพ ซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งจะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของพันเอกกาจและศาลมีคำสั่งตั้งนางศรีประไพเป็นผู้จัดการมรดกของพันเอกกาจก็ตาม แต่นางศรีประไพไม่เคยเข้ามาเกี่ยวข้องกับทรัพย์มรดกพิพาททั้งก่อนและหลังที่ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกซึ่งตามคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของนางศรีประไพก็ระบุเพียงว่า พันเอกกาจมีทรัพย์มรดกคือ เงินฝากในธนาคารเท่านั้น และนางศรีประไพก็เบิกความยืนยันว่า ได้จัดการแบ่งเงินทรัพย์มรดกของพันเอกกาจเสร็จสิ้นไปแล้ว พันเอกกาจไม่มีทรัพย์สินอื่นใดนอกจากเงินฝากในธนาคารที่จะจัดการอีก ยิ่งเป็นข้อสนับสนุนว่า นางกฐินครอบครองทรัพย์มรดกที่มีชื่อนางกฐินแต่ผู้เดียวโดยนางศรีประไพและทายาทอื่นไม่ได้ร่วมครอบครองทรัพย์มรดกที่เป็นที่ดินเลย กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 วรรคหนึ่ง พันเอกกาจถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2532 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2556 เกินกำหนดสิบปี คดีโจทก์ขาดอายุความตามมาตรา 1754 วรรคหนึ่งและวรรคสี่ จำเลยเป็นผู้สืบสิทธินางกฐินผู้เป็นทายาทย่อมมีสิทธิยกอายุความดังกล่าวขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ ทั้งนี้ตามมาตรา 1755 ส่วนคำพิพากษาศาลฎีกาที่โจทก์อ้างมานั้น ข้อเท็จจริงไม่ตรงกับคดีนี้ เพราะจำเลยไม่ใช่ผู้จัดการมรดกและไม่ใช่ผู้รับโอนที่ดินทรัพย์มรดกจากผู้จัดการมรดก แต่รับโอนจากนางกฐินที่ไม่ได้ครอบครองแทนทายาทจนสิทธิของทายาทอื่นขาดอายุความแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์สำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 1335, 78021 และ 7288 ไม่ขาดอายุความมรดกนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยประการนี้ฟังขึ้น

พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ




คดีมรดก ร้องศาลตั้งผู้จัดการมรดก

พินัยกรรมของผู้ตายที่ห้ามโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตกเป็นโมฆะ, ข้อห้ามในพินัยกรรมเป็นโมฆะ, ผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม
ถอนผู้จัดการมรดก, การปันมรดกเสร็จสิ้นแล้ว, การจัดการศาลจ้าวไม่เป็นมรดก, ศาลจ้าวใต้เซียฮุดโจ๊วเป็นกุศลสถาน
ที่ดินของรัฐ มรดกของผู้ตาย, ที่ดินนิคมสหกรณ์, สิทธิทำประโยชน์ในที่ดิน, สิทธิเหนือพื้นดิน, การเพิกถอนโฉนดที่ดิน,
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทในกองมรดก, การเพิกถอนนิติกรรมในทรัพย์มรดก, การขายทรัพย์มรดกเพื่อชำระหนี้, ผู้จัดการมรดกกับสิทธิและหน้าที่
มรดกตกทอด, การเพิกถอนการสละมรดก, อายุความในการฟ้องคดีมรดก, สิทธิเรียกร้องแทนลูกหนี้
หนังสือแต่งตั้งผู้รับโอนประโยชน์ในเงินทุนเรือนหุ้นของสหกรณ์ไม่ถือเป็นพินัยกรรม, เงินสงเคราะห์สมาชิกสหกรณ์, สิทธิผู้รับโอนประโยชน์ในเงินสงเคราะห์
นิติกรรมซื้อขายที่ดินซึ่งเป็นคนต่างด้าว, คดีมรดกที่ดินของคนต่างด้าว, อายุความคดีมรดก, การยักยอกทรัพย์มรดก
พินัยกรรมยกมรดกให้พี่น้องร่วมบิดามารดา, สิทธิของผู้สืบสันดานในการรับมรดกแทนที่, การฟ้องเรียกค่าเช่าจากทรัพย์สินมรดก
การกำจัดทายาทมิให้รับมรดก, สิทธิรับมรดกของผู้สืบสันดานเมื่อทายาทถูกกำจัด, การเพิกถอนนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์มรดก
เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดก, การฟ้องแบ่งมรดกของผู้ตาย, การยกอายุความในคดีมรดก, สินสมรสและสินส่วนตัวในกองมรดก
ผู้จัดการมรดกและการโอนทรัพย์มรดก, พินัยกรรมด้วยวาจา ป.พ.พ. มาตรา 1663, การครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาท
สิทธิทายาทในมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง, ทายาทตายก่อนแบ่งมรดก, รับมรดกแทนที่ มาตรา 1639,
สิทธิการฟ้องขอแบ่งมรดกของทายาท, การเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินมรดก, สินสมรสหลังคู่สมรสเสียชีวิต
สัญญาประกันชีวิต, สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก, ผู้ทำประกันชีวิตและผู้รับผลประโยชน์ตายพร้อมกัน
การจัดการหนี้สินในกองมรดก, สิทธิของเจ้าหนี้กองมรดก, ที่ดินมรดกและการบังคับคดี
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดก
ผู้จัดการมรดกปฏิบัติผิดหน้าที่-ทายาทผู้มีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกได้
ผู้จัดการมรดกร่วมถึงแก่ความตายต้องทำอย่างไร, ฟ้องซ้อน คืออะไร, แต่งตั้งผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่เพียงทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป
ทายาทฟ้องทายาทให้แบ่งทรัพย์มรดก
การจัดการทรัพย์มรดกในฐานะผู้จัดการมรดกตามหน้าที่ที่จำเป็น
คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกปิดบังทรัพย์มรดกมีผลอย่างไร
ทายาทมิได้ฟ้องเรียกร้องมรดกภายใน 1 ปี
ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ผู้มีส่วนได้เสีย
สามีไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้จัดการมรดกได้
ทรัพย์มรดกยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาททุกคน-การจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้น
บุคคลผู้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มีผลอย่างไร?
ฟ้องผู้จัดการมรดกนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงเกินห้าปีขาดอายุความ
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลถูกเพิกถอนได้
อายุความคดีมรดก เจ้าหนี้ฟ้องคดีมรดกเกินหนึ่งปี
คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก
บุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย
บุตรนอกกฎหมายซึ่งผู้ตายรับรองแล้วเป็นผู้สืบสันดาน
มารดาขายที่ดินซึ่งผู้เยาว์มีส่วนแบ่งไม่ต้องขอศาล
นายอำเภอคือผู้มีอำนาจจัดทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
ความรับผิดของผู้จัดการมดกภายหลังการเสียชีวิต
ผู้จัดการมรดกร่วมนำทรัพย์มรดกหาประโยชน์แก่ตน
ผู้สืบสันดาน คือใคร? ต่างกับทายาท อย่างไร?
คู่สมรสและการแบ่งมรดกของคู่สมรส | การสมรสเป็นโมฆะ
อายุความคดีมรดก และอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก
เหตุอันจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก
การปันมรดกเสร็จสิ้นลงแล้วการถอนผู้จัดการมรดกย่อมพ้นกำหนดเวลา
สามีมิได้จดทะเบียนสมรสไม่ถือเป็นทายาทของภริยาผู้ตาย
อำนาจหน้าที่จัดการศพพระภิกษุผู้มรณภาพไม่มีทรัพย์สิน
สามีไม่จดทะเบียนสมรสขอถอนผู้จัดการมรดก มีกรรมสิทธิ์รวม
ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะทำหน้าที่ผู้จัดการมรดก
อำนาจฟ้องขอแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตาย
ทายาททุกคนมอบหมายให้ครอบครองที่ดินแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วม
ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามมาตรา 1300
ทายาทโดยธรรมย่อมมีสิทธิเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์มรดกตามส่วนที่จะพึงได้
สิทธิรับมรดกที่ยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาห้ามยกเป็นข้อต่อสู้ผู้รับโอนโดยสุจริต
การจัดการมรดกและผู้จัดการมรดก, สินสมรสและสินส่วนตัวในคดีมรดก, อายุความคดีมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733
ผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก
ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์มรดกเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความแล้ว
ผู้คัดค้านไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการขอจัดการมรดก
ทายาทมีส่วนเท่ากันออกค่าใช้จ่ายจัดการทำศพ
ความเหมาะสมในการเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น
สิทธิของบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายในการรับมรดกของบุตรนอกกฎหมาย
หนังสือสัญญาแบ่งมรดกตกเป็นโมฆะหรือไม่?
อำนาจและหน้าที่ในการจัดการทำศพและลำดับก่อนหลัง
พินัยกรรมมีเงื่อนไขบังคับก่อน
ผู้จัดการมรดกฟ้องแทนทายาทโดยธรรมอื่น
คู่สมรสที่จดทะเบียนหย่าแล้วเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่
การสละมรดกมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายจึงขาดความเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
แม้กองมรดกมีผู้จัดการมรดกแล้วทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้อง
พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองไม่ได้ทำต่อหน้าพยานตกเป็นโมฆะ
บุตรนอกสมรสและบิดานอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดกต่อกันอย่างไร
ผู้จัดการมรดก | ทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดกเรียกให้เจ้าของรวมส่งมอบโฉนดที่ดิน
การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลงอายุความ 5 ปียังไม่เริ่มนับ
สิทธิรับมรดกก่อนหลัง
คำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ
อายุความฟ้องคดีแพ่งอันเนื่องจากคดียักยอกทรัพย์มรดก
เมื่อแบ่งมรดกเสร็จแล้วความเป็นทายาทสิ้นสุดลง-อายุความมรดก
การแบ่งมรดกที่ดินมือเปล่าไม่มีเอกสารสิทธิ
คดีมรดกต้องเป็นคดีที่ทายาทด้วยกันพิพาทกันเรื่องสิทธิในส่วนแบ่งมรดก
ขอให้ศาลสั่งถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ความรับผิดของผู้ตาย
แสดงบัญชีเครือญาติเป็นเท็จปิดบังจำนวนทายาท
อายุความคดีมรดกสะดุดหยุดลง การแบ่งทรัพย์มรดกไม่ชอบ
ไม่มีกฎหมายบังคับให้ฟ้องเอาทรัพย์มรดกจากทายาทอื่นที่ครอบครองแทนใน 1 ปี
สัญญาว่าจ้างติดตามทรัพย์กองมรดกเรียกส่วนแบ่งเป็นโมฆะ
คดีฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมปลอมและถูกกำจัดมิให้รับมรดก
โจทก์ฟ้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปี
ผู้จัดการมรดกแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันฟังคำสั่งศาล
คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกอายุความ 5 ปี
การแจ้งการเกิดของเด็กในทะเบียนคนเกิดเองว่าเป็นบุตรของตน
ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
พินัยกรรมเอกสารลับทำผิดแบบเป็นโมฆะ
การจัดการมรดกไม่ชอบไม่อาจถือว่าการจัดการมรดกสิ้นลงแล้ว