ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกอายุความ 5 ปี

   -ปรึกษากฎหมาย นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

     โทร.085-9604258

   -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์   

   (1) @leenont 

   (2) @peesirilaw  

   (3) 0859604258 เพิ่มด้วยหมายเลขโทรศัพท์

  -Line Official Account : เพิ่มเพื่อน QR CODE

peesirilaw@leenont

คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกอายุความ 5 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1488/2566

โจทก์ทั้งห้าฟ้องขอให้ที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงรวมสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินพิพาท 2 แปลง เป็นทรัพย์สินในกองมรดกของ ณ. เจ้ามรดก และเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาททั้งหมดรวมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ทั้งห้า โดยบรรยายฟ้องว่าโจทก์แต่ละคนรวมทั้งจำเลยที่ 1 ต่างได้รับมรดกดังกล่าวคนละส่วนเท่า ๆ กัน รวม 6 ส่วน คิดเป็นเงินรวม 398,200 บาท จำเลยทั้งสามให้การว่า ที่ดินพิพาททั้งหมดรวมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวมิใช่ทรัพย์มรดก แม้โจทก์ทั้งห้าฟ้องรวมกันมา ก็ต้องถือทุนทรัพย์ที่ดินทั้งสี่ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะของตน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ต้องคิดแยกทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนมีสิทธิได้รับ มิใช่กรณีนำเฉพาะราคาที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 27623 มาคิดแยกรายแปลงเป็นทุนทรัพย์ของโจทก์ทั้งห้า

มูลเหตุที่โจทก์ทั้งห้าอ้างนำคดีนี้มาฟ้องเกิดจากการที่ ท. ผู้จัดการมรดกละเลยและไม่ปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการมรดก โดยไม่แบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ บ. ทายาทอย่างถูกต้อง อันเป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 เมื่อ ท. และ บ. ถึงแก่ความตายก่อนฟ้องคดีนี้ โจทก์ทั้งห้าในฐานะผู้สืบสันดานของ บ. จึงสืบสิทธิของ บ. มาฟ้องคดีนี้ ซึ่งเป็นการฟ้องเกี่ยวกับการจัดการมรดก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง ได้บัญญัติเรื่องอายุความในการฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกไว้โดยเฉพาะว่า ห้ามมิให้ทายาทฟ้องเกินกว่าห้าปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง จำเลยที่ 1 เป็นผู้สืบสิทธิของ บ. เช่นเดียวกับโจทก์ทั้งห้า ถือว่าเป็นบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาท ดังนั้น จำเลยที่ 1 ย่อมใช้สิทธิของ บ. ยกอายุความห้าปีตามบทบัญญัติดังกล่าวขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งห้าได้ โจทก์ทั้งห้าฟ้องคดีนี้เกินกว่าห้าปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง คดีโจทก์ทั้งห้าจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง

ผู้จัดการมรดกโอนที่ดินมรดกให้แก่ทายาทหมดแล้วถือว่าการจัดการมรดกสิ้นสุดแล้ว โจทก์ต้องฟ้องคดีภายใน 5 ปี นับแต่การจัดการมรดกเสร็จสิ้น

ที่ดิน 14 แปลง กับสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินผู้จัดการมรดกได้ทำการโอนทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทไปหมดแล้วถือว่าการจัดการมรดกสิ้นสุดลงแล้ว ดังนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อเกินกว่า 5 ปี นับแต่การจัดการมรดกเสร็จซึ่งตามฟ้องเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก โจทก์ทั้งสามต่างก็เป็นทายาทสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1733

      คำพิพากษาศาลฎีกาที่  1410/2529

  น. และจำเลยที่1ผู้จัดการมรดกของส. ต่างก็เป็นทายาทของเจ้ามรดกโดยน. เป็นภรรยาจำเลยที่1เป็นบุตรการที่บุคคลทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกโอนทรัพย์มรดกให้แก่ตนเองและทายาทอื่นซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกอยู่แล้วมิใช่เป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก. ผู้จัดการมรดกมิได้ทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลเป็นกรณีที่ศาลอาจถอนผู้จัดการมรดกเสียได้เท่านั้นหาเป็นเหตุให้อำนาจในการจัดการมรดกสิ้นสุดไปไม่เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลถอนผู้จัดการมรดกอำนาจในการจัดการมรดกของผู้จัดการมรดกยังคงมีอยู่ต่อไป เมื่อผู้จัดการมรดกได้ทำการโอนทรัพย์มรดกทั้งหมดให้แก่ทายาทของเจ้ามรดกไปหมดแล้วในวันที่29ตุลาคม2518ถือว่าการจัดการมรดกสิ้นสุดลงแล้วตั้งแต่วันดังกล่าวโจทก์ฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกเมื่อวันที่4มิถุนายน2524เกินกว่า5ปีนับแต่การจัดการมรดกเสร็จสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความตามป.พ.พ.มาตรา1733 คำฟ้องโจทก์มิได้แสดงโดยแจ้งชัดให้เห็นว่าผู้จัดการมรดกก็ดีจำเลยก็ดีได้กระทำการใดๆอันจะถือได้ว่าเป็นการรับสภาพความผิดต่อโจทก์ตามป.พ.พ.มาตรา172หรือกระทำการอื่นใดอันจะถือว่าเป็นการละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความตามป.พ.พ.มาตรา192จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาในศาลชั้นต้นปัญหาเรื่องนี้เป็นเรื่องอายุความฟ้องร้องมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัย.

          โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดก และทายาทผู้รับมรดกขอแบ่งมรดก

          จำเลยให้การว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1733

ศาลชั้นต้นพิพากษาฟ้อง

          ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

โจทก์ทั้งสามฎีกา

 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ปัญหาแรกการกระทำของผู้จัดการมรดกเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกหรือไม่นั้นได้ความว่า นางนิตย์ หังสพฤกษ์และจำเลยที่ 1 ผู้จัดการมรดกของนายสถิตย์เจ้ามรดกต่างก็เป็นทายาทของเจ้ามรดก โดยนางนิตย์เป็นภรรยา จำเลยที่ 1 เป็นบุตรเจ้ามรดกที่บุคคลทั้งสองโอนทรัพย์มรดกให้แก่ตนเองและทายาทอื่น ซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกอยู่แล้ว จึงมิใช่เป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3408/2525 ระหว่างนางนิตยา ตรีวรพันธุ์ ฯโจทก์ นายเที้ยง ตรีวรพันธุ์ หรือแช่ตี๋ จำเลย ซึ่งโจทก์ทั้งสามอ้างมาประกอบฎีกาข้อเท็จจริงไม่ตรงกับคดีนี้เทียบเคียงกันไม่ได้ฎีกาโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

  ปัญหาต่อไป กรณีสิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความหรือไม่นั้นโจทก์ฎีกาโต้เถียงว่าผู้จัดการมรดกมิได้ทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาล ย่อมถือว่าการจัดการมรดกยังไม่เสร็จสิ้น อายุความจึงยังไม่เริ่มนับประการหนึ่ง และจำเลยละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความแล้ว คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความอีกประการหนึ่งนั้น เห็นว่าฎีกาข้อแรกที่ผู้จัดการมรดกมิได้ทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลเป็นกรณีที่ศาลอาจถอนผู้จัดการมรดกเสียได้ หาเป็นเหตุให้อำนาจในการจัดการมรดกสิ้นสุดไปไม่ เมื่อไม่ปรากฎว่าศาลถอนผู้จัดการมรดกอำนาจในการจัดการมรดกของผู้จัดการมรดกก็ยังคงมีอยู่ต่อไป และเมื่อทรัพย์มรดกมีเพียงที่ดิน 14 แปลง กับสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินตามบัญชีทรัพย์มรดกท้ายฟ้องเอกสารหมายเลข 3 ผู้จัดการมรดกได้ทำการโอนทรัพย์มรดกเหล่านั้นให้แก่ทายาทของเจ้ามรดกไปหมดแล้วในวันที่29 ตุลาคม 2518 ถือว่าการจัดการมรดกสิ้นสุดลงแล้วตั้งแต่วันดังกล่าว คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 987/2485 ระหว่างนางสาวเกล็ดมณีบุนนาค โจทก์ คุณหญิงประชุม มนตรีสุริยวงศ์ กับพวก จำเลย และพิพากษาศาลฎีกาที่ 1628/2511 ระหว่างวัดมกุฎกษัตริยารามกับพวกโจทก์ นางมณี อุทกภาชน์ จำเลย ที่โจทก์ทั้งสามอ้างมาประกอบฎีกานั้นเห็นว่าข้อเท็จจริงทั้งสองคดีดังกล่าวได้ความว่าผู้จัดการมรดกยังมิได้แบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาททั้งหลายจนหมดสิ้นแต่อย่างใดกองมรดกจึงอยู่ในระหว่างจัดการ จึงนำมาเทียบเคียงกับคดีนี้ไม่ได้ส่วนฎีกาข้อที่ว่าจำเลยละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ จะยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้นั้น เห็นว่า คำฟ้องโจทก์มิได้แสดงโดยชัดแจ้งให้เห็นว่าผู้จัดการมรดกก็ดี จำเลยทั้งหกก็ดีได้กระทำการใด ๆ อันจะให้ถือว่าเป็นการรับสภาพความรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 หรือกระทำการอื่นใดอันจะถือได้ว่าเป็นการละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 192 จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสามยกปัญหาข้อนี้ขึ้นมาว่ากันในศาลชั้นต้น โจทก์เพิ่งยกขึ้นมาในชั้นอุทธรณ์ฎีกา ซึ่งปัญหานี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับอายุความฟ้องร้องมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามอุทธรณ์ดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมา และต้องห้ามฎีกาด้วยศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้จัดการมรดกแบ่งมรดกทั้งหมดให้แก่ทายาทบางคนไปแล้ว ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2518 การจัดการมรดกย่อมสิ้นสุดตั้งแต่บัดนั้น โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2524 เกินกว่า 5 ปี นับแต่การจัดการมรดกเสร็จซึ่งตามฟ้องเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก โจทก์ทั้งสามต่างก็เป็นทายาทสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1733 ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสามนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาโจทก์ทั้งสามฟังไม่ขึ้น

          พิพากษายืน               




คดีมรดก ร้องศาลตั้งผู้จัดการมรดก

การสละมรดกมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายจึงขาดความเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
แม้กองมรดกมีผู้จัดการมรดกแล้วทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้อง
พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองไม่ได้ทำต่อหน้าพยานตกเป็นโมฆะ
บุตรนอกสมรสและบิดานอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดกต่อกันอย่างไร
ผู้จัดการมรดก | ทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดกเรียกให้เจ้าของรวมส่งมอบโฉนดที่ดิน
การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลงอายุความ 5 ปียังไม่เริ่มนับ
สิทธิรับมรดกก่อนหลัง
คำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ
อายุความฟ้องคดีแพ่งอันเนื่องจากคดียักยอกทรัพย์มรดก
เมื่อแบ่งมรดกเสร็จแล้วความเป็นทายาทสิ้นสุดลง-อายุความมรดก
การแบ่งมรดกที่ดินมือเปล่าไม่มีเอกสารสิทธิ
คดีมรดกต้องเป็นคดีที่ทายาทด้วยกันพิพาทกันเรื่องสิทธิในส่วนแบ่งมรดก
ขอให้ศาลสั่งถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ความรับผิดของผู้ตาย
แสดงบัญชีเครือญาติเป็นเท็จปิดบังจำนวนทายาท
อายุความคดีมรดกสะดุดหยุดลง การแบ่งทรัพย์มรดกไม่ชอบ
ไม่มีกฎหมายบังคับให้ฟ้องเอาทรัพย์มรดกจากทายาทอื่นที่ครอบครองแทนใน 1 ปี
สัญญาว่าจ้างติดตามทรัพย์กองมรดกเรียกส่วนแบ่งเป็นโมฆะ
คดีฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมปลอมและถูกกำจัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่เพียงทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป
โจทก์ฟ้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปี
ผู้จัดการมรดกแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันฟังคำสั่งศาล
การแจ้งการเกิดของเด็กในทะเบียนคนเกิดเองว่าเป็นบุตรของตน
ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
การที่จะเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนทายาทอื่น
พินัยกรรมเอกสารลับทำผิดแบบเป็นโมฆะ
การจัดการมรดกไม่ชอบไม่อาจถือว่าการจัดการมรดกสิ้นลงแล้ว
การจัดการทรัพย์มรดกในฐานะผู้จัดการมรดกตามหน้าที่ที่จำเป็น
คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกปิดบังทรัพย์มรดกมีผลอย่างไร
ทายาทมิได้ฟ้องเรียกร้องมรดกภายใน 1 ปี
ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ผู้มีส่วนได้เสีย
สามีไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้จัดการมรดกได้
ทรัพย์มรดกยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาททุกคน-การจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้น
บุคคลผู้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มีผลอย่างไร?
ฟ้องผู้จัดการมรดกนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงเกินห้าปีขาดอายุความ
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลถูกเพิกถอนได้
อายุความคดีมรดก เจ้าหนี้ฟ้องคดีมรดกเกินหนึ่งปี
คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก
บุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย
บุตรนอกกฎหมายซึ่งผู้ตายรับรองแล้วเป็นผู้สืบสันดาน
มารดาขายที่ดินซึ่งผู้เยาว์มีส่วนแบ่งไม่ต้องขอศาล
นายอำเภอคือผู้มีอำนาจจัดทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
ความรับผิดของผู้จัดการมดกภายหลังการเสียชีวิต
ผู้จัดการมรดกร่วมนำทรัพย์มรดกหาประโยชน์แก่ตน
ผู้จัดการมรดกปฏิบัติผิดหน้าที่-ทายาทผู้มีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกได้
ผู้สืบสันดาน คือใคร? ต่างกับทายาท อย่างไร?
คู่สมรสและการแบ่งมรดกของคู่สมรส | การสมรสเป็นโมฆะ
อายุความคดีมรดก และอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก
เหตุอันจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก
การปันมรดกเสร็จสิ้นลงแล้วการถอนผู้จัดการมรดกย่อมพ้นกำหนดเวลา
สามีมิได้จดทะเบียนสมรสไม่ถือเป็นทายาทของภริยาผู้ตาย
อำนาจหน้าที่จัดการศพพระภิกษุผู้มรณภาพไม่มีทรัพย์สิน
สามีไม่จดทะเบียนสมรสขอถอนผู้จัดการมรดก มีกรรมสิทธิ์รวม
ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะทำหน้าที่ผู้จัดการมรดก
อำนาจฟ้องขอแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตาย
ทายาททุกคนมอบหมายให้ครอบครองที่ดินแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วม
ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามมาตรา 1300
ผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก
ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์มรดกเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความแล้ว
ทายาทมีส่วนเท่ากันออกค่าใช้จ่ายจัดการทำศพ
ความเหมาะสมในการเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น
สิทธิของบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายในการรับมรดกของบุตรนอกกฎหมาย
หนังสือสัญญาแบ่งมรดกตกเป็นโมฆะหรือไม่?
อำนาจและหน้าที่ในการจัดการทำศพและลำดับก่อนหลัง
พินัยกรรมมีเงื่อนไขบังคับก่อน
ผู้จัดการมรดกฟ้องแทนทายาทโดยธรรมอื่น
คู่สมรสที่จดทะเบียนหย่าแล้วเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่