ReadyPlanet.com
dot
สำนักงานทนายความ
dot
bulletทนายความฟ้องหย่า
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
dot
พระราชบัญญัติ
dot
bulletพระราชบัญญัติ
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
dot
บทความเฉพาะเรื่อง
dot
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletสัญญายอมความ
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletกรมบังคับคดี
dot
ลิงค์ต่าง ๆ
dot
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletอำนาจปกครองบุตร




ขอให้ศาลสั่งถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก

ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3)  peesirilaw  หรือ (4) @peesirilaw   (5)   @leenont1

-Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย  QR CODE

ขอให้ศาลสั่งถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก

ยื่นคำร้องขอถอนผู้จัดการมรดกของผู้ตายเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้มีส่วนได้เสีย แม้ว่าคำร้องใหม่นี้จะมีเนื้อหาและประเด็นอย่างเดียวกันกับคำร้องขอถอนผู้จัดการมรดกของผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งศาลมีคำพิพากษาตามยอมและคดีถึงที่สุดไปแล้วก็ตาม การที่ศาลชั้นต้นด่วนมีคำสั่งให้งดการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้านที่ 2 เสียเช่นนี้จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งและคำพิพากษายกคำร้องของผู้คัดค้านที่ 2 มานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของผู้คัดค้านที่ 2 ฟังขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5374/2552

มาตรา 1727  ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก เพราะเหตุผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควรก็ได้ แต่ต้องร้องขอเสียก่อนที่การปันมรดกเสร็จสิ้นลง
แม้ถึงว่าจะได้เข้ารับตำแหน่งแล้วก็ดี ผู้จัดการมรดกจะลาออกจากตำแหน่งโดยมีเหตุอันสมควรก็ได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตจากศาล
 
มาตรา 1728   ผู้จัดการมรดกต้องลงมือจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายในสิบห้าวัน
(1)  นับแต่เจ้ามรดกตาย ถ้าในขณะนั้นผู้จัดการมรดกได้รู้ถึงการตั้งแต่งตามพินัยกรรมที่มอบหมายไว้แก่ตน หรือ
(2)  นับแต่วันที่เริ่มหน้าที่ผู้จัดการมรดกตามมาตรา 1726 ในกรณีที่ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดก หรือ
(3)  นับแต่วันที่ผู้จัดการมรดกรับเป็นผู้จัดการมรดกในกรณีอื่น
 
มาตรา 1729    ผู้จัดการมรดกต้องจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งเดือนนับแต่เวลาที่ระบุไว้ในมาตรา 1728 แต่กำหนดเวลานี้ เมื่อผู้จัดการมรดกร้องขอก่อนสิ้นกำหนดเวลาหนึ่งเดือน ศาลจะอนุญาตให้ขยายต่อไปอีกก็ได้
บัญชีนั้นต้องทำต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคน ซึ่งต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกนั้นด้วย
บุคคลซึ่งจะเป็นพยานในการทำพินัยกรรมไม่ได้ตามมาตรา 1670 จะเป็นพยานในการทำบัญชีใดๆ ที่ต้องทำขึ้นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ไม่ได้
 
มาตรา 1730   ให้นำมาตรา 1563, 1564 วรรค 1 และ 2 และ 1565 แห่งประมวลกฎหมายนี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในระหว่างทายาทกับผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรมและในระหว่างศาลกับผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้ง
 
มาตรา 1731  ถ้าผู้จัดการมรดกมิได้จัดทำบัญชีภายในเวลาและตามแบบที่กำหนดไว้ หรือถ้าบัญชีนั้นไม่เป็นที่พอใจแก่ศาล เพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หรือการทุจริต หรือความไม่สามารถอันเห็นประจักษ์ของผู้จัดการมรดก ศาลจะถอนผู้จัดการมรดกเสียก็ได้
 
มาตรา 1732  ผู้จัดการมรดกต้องจัดการตามหน้าที่และทำรายงานแสดงบัญชีการจัดการและแบ่งปันมรดกให้เสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ระบุไว้ในมาตรา 1728 เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรม ทายาทโดยจำนวนข้างมาก หรือศาลจะได้กำหนดเวลาให้ไว้เป็นอย่างอื่น
 
มาตรา 1733
  การให้อนุมัติ การปลดเปลื้องความรับผิด หรือข้อตกลงอื่นๆ อันเกี่ยวกับรายงานแสดงบัญชีการจัดการมรดกดั่งที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1732 นั้น จะสมบูรณ์ต่อเมื่อรายงานแสดงบัญชีนั้นได้ส่งมอบล่วงหน้าแก่ทายาทพร้อมด้วยเอกสารอันเกี่ยวกับการนั้นไม่น้อยกว่าสิบวันก่อนแล้ว
คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกนั้น มิให้ทายาทฟ้องเกินกว่าห้าปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง
 
           คำร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรของผู้ตายเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแทน ระบุว่าผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลชั้นต้นไม่จัดการโอนทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทและแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทอื่นตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกทำให้ทายาทอื่นที่จะได้รับส่วนแบ่งในกองมรดกได้รับความเสียหายโดยผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านเป็นทำนองปฏิเสธอย่างสิ้นเชิง ดังนั้น เนื้อหาตามคำร้องขอของผู้คัดค้านที่ 2 จึงแสดงรายละเอียดชัดเจนแล้วว่า ผู้ร้องละเลยไม่ทำการตามหน้าที่และผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียได้มายื่นคำร้องขอต่อศาลก่อนที่การปันมรดกเสร็จสิ้นลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 ในกรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นจำต้องไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้านที่ 2 เพื่อฟังพยานหลักฐานจากผู้คัดค้านที่ 2 และผู้ร้องให้ครบถ้วนกระบวนความเสียก่อนว่า ผู้ร้องละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ตามคำร้องขอหรือมีเหตุอย่างอื่นที่สมควรที่ศาลจะสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. ดังกล่าวหรือไม่ รวมทั้งผู้ร้องได้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายบังคับไว้ตามบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1728 ถึง 1733 ซึ่งถือเป็นสาเหตุอย่างอื่นที่ศาลอาจเห็นว่าเป็นเหตุสมควรที่จะสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกเสียก็ได้หรือไม่ โดยมิพักต้องคำนึงถึงว่าผู้คัดค้านที่ 2 มีเนื้อหาและประเด็นอย่างเดียวกันกับคำร้องขอของผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเคยยื่นคำร้องขอแล้วได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับผู้ร้องและศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมจนคดีถึงที่สุดไปแล้วหรือไม่ เพราะในกรณีเช่นนี้ผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งก็มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกก่อนการปันมรดกเสร็จสิ้นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 เป็นการเฉพาะตัวของผู้มีส่วนได้เสียแต่ละคน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้านที่ 2 จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ
 
          คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของนางสมบูรณ์ ผู้ตาย ต่อมาผู้คัดค้านที่ 1 ร้องคัดค้านขอให้สั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกแทน ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วคู่ความตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งทรัพย์มรดกของผู้ตายให้แก่ทายาทอื่นด้วย ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมและตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อบังคับให้ผู้ร้องปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอม

          ผู้คัดค้านที่ 2 ยื่นคำร้องคัดค้านขอให้สั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดก ศาลชั้นต้นพิจารณาคำร้องแล้วเห็นว่ากรณีไม่มีเหตุสมควรถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายจึงให้ยกคำร้อง ค่าคำร้องเป็นพับ

          ผู้คัดค้านที่ 2 อุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน

          ผู้คัดค้านที่ 2 ฎีกา
          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงที่ผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 2 มิได้โต้แย้งกันฟังเป็นยุติได้ว่า ผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 2 ต่างเป็นบุตรของนางสมบูรณ์ ผู้ตาย และเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย ขณะที่ผู้คัดค้านที่ 2 มายื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อให้ศาลชั้นต้นสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและตั้งผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแทนนั้นการแบ่งปันมรดกยังไม่เสร็จสิ้นลง คดีมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้คัดค้านที่ 2 ว่า การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้านที่ 2 และมีคำสั่งยกคำร้องเสียโดยศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนมานั้นชอบแล้วหรือไม่ เพียงใด เห็นว่า คำร้องขอให้สั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแทนตามคำร้องฉบับลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2549 ระบุว่า ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลชั้นต้นไม่จัดการโอนทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทและแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทอื่นตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกทำให้ทายาทอื่นที่จะได้รับส่วนแบ่งในกองมรดกได้รับความเสียหาย จึงขอให้ศาลมีคำสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายรายนี้และตั้งผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกแทนต่อไปโดยผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกยื่นคำร้องคัดค้านฉบับลงวันที่ 29 มิถุนายน 2549 เป็นทำนองปฏิเสธอย่างสิ้นเชิง ดังนั้น เนื้อหาตามคำร้องของผู้คัดค้านที่ 2 ดังกล่าวจึงแสดงรายละเอียดให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่า ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่และผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียได้มายื่นคำร้องขอต่อศาลก่อนที่การปันมรดกเสร็จสิ้นลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 ในกรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นจำต้องไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้านที่ 2 เพื่อฟังพยานหลักฐานจากผู้คัดค้านที่ 2 และผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกให้ครบถ้วนกระบวนความเสียก่อนว่า ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่หรือมีเหตุอย่างอื่นที่สมควรศาลจะสั่งถอนผู้จัดการมรดกเสียก็ได้ตามบทบัญญัติแห่งประมาลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ดังกล่าวข้างต้น รวมทั้งผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกมิได้ปฏิบัติผิดหน้าที่ที่จะต้องทำตามที่กฎหมายบังคับไว้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1728 ถึง 1733 ซึ่งถือเป็นสาเหตุอย่างอื่นที่ศาลเห็นว่าเป็นเหตุสมควรที่จะสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกเสียก็ได้เช่นกัน โดยมิพักต้องคำนึงถึงว่าผู้คัดค้านที่ 2 ยื่นคำร้องขอถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายโดยมีเนื้อหาและประเด็นอย่างเดียวกันกับคำร้องของผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับผู้ร้องและศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมจนคดีถึงที่สุดไปแล้วหรือไม่ เพราะในกรณีเช่นนี้ผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 เป็นการเฉพาะตัวของผู้มีส่วนได้เสียแต่ละคน อีกทั้งสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 กับผู้ร้องดังกล่าวก็มีผลผูกพันเฉพาะผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกกับผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งต่างเป็นทายาทที่ลงชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวเท่านั้น มิได้มีผลผูกพันถึงผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียนอกสัญญาประนีประนอมยอมความแต่ประการใด นอกจากนี้การที่จัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้นตามคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็มิใช่สาเหตุที่ผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกไม่ได้แต่อย่างใด แต่กลับเป็นข้อเท็จจริงที่ยืนยันให้เห็นว่าผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งมีส่วนได้เสียมีสิทธิมายื่นร้องขอต่อศาลได้โดยชอบตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 เสียอีก ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นด่วนมีคำสั่งให้งดการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้านที่ 2 เสียเช่นนี้จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งและคำพิพากษายกคำร้องของผู้คัดค้านที่ 2 มานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของผู้คัดค้านที่ 2 ฟังขึ้น”

          พิพากษายกคำสั่งและคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสอง ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้านที่ 2 แล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้ศาลชั้นต้นรวมสั่งเมื่อมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่
 
 
( ม.ล.ฤทธิเทพ เทวกุล - กีรติ กาญจนรินทร์ - ศิริชัย วัฒนโยธิน )
 
 




คดีมรดก ร้องศาลตั้งผู้จัดการมรดก

ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด
บุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกปฏิบัติผิดหน้าที่-ทายาทผู้มีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกได้
คู่สมรสและการแบ่งมรดกของคู่สมรส | การสมรสเป็นโมฆะ
อายุความคดีมรดก และอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก
ผู้สืบสันดาน คือใคร? ต่างกับทายาท อย่างไร?
ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์มรดกเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความแล้ว
สามีมิได้จดทะเบียนสมรสไม่ถือเป็นทายาทของภริยาผู้ตาย
ไม่มีกฎหมายบังคับให้ฟ้องเอาทรัพย์มรดกจากทายาทอื่นที่ครอบครองแทนใน 1 ปี
อำนาจฟ้องขอแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตาย
ฟ้องผู้จัดการมรดกนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงเกินห้าปีขาดอายุความ
แม้กองมรดกมีผู้จัดการมรดกแล้วทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้อง
คำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ
คดีมรดกต้องเป็นคดีที่ทายาทด้วยกันพิพาทกันเรื่องสิทธิในส่วนแบ่งมรดก
ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น
ทายาททุกคนมอบหมายให้ครอบครองที่ดินแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วม
ทรัพย์มรดกยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาททุกคน-การจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้น
อายุความคดีมรดก เจ้าหนี้ฟ้องคดีมรดกเกินหนึ่งปี
การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลงอายุความ 5 ปียังไม่เริ่มนับ
อายุความคดีมรดกสะดุดหยุดลง การแบ่งทรัพย์มรดกไม่ชอบ
อายุความฟ้องคดีแพ่งอันเนื่องจากคดียักยอกทรัพย์มรดก
สามีไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้จัดการมรดกได้
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลถูกเพิกถอนได้
สิทธิของบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายในการรับมรดกของบุตรนอกกฎหมาย
บุตรนอกกฎหมายซึ่งผู้ตายรับรองแล้วเป็นผู้สืบสันดาน
ผู้จัดการมรดกเรียกให้เจ้าของรวมส่งมอบโฉนดที่ดิน
การปันมรดกเสร็จสิ้นลงแล้วการถอนผู้จัดการมรดกย่อมพ้นกำหนดเวลา
ผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก
เหตุอันจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก
มารดาขายที่ดินซึ่งผู้เยาว์มีส่วนแบ่งไม่ต้องขอศาล
พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองไม่ได้ทำต่อหน้าพยานตกเป็นโมฆะ
ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามมาตรา 1300
แสดงบัญชีเครือญาติเป็นเท็จปิดบังจำนวนทายาท
ความเหมาะสมในการเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มีผลอย่างไร?
การแบ่งมรดกที่ดินมือเปล่าไม่มีเอกสารสิทธิ
ทายาทมิได้ฟ้องเรียกร้องมรดกภายใน 1 ปี
พินัยกรรมมีเงื่อนไขบังคับก่อน
คู่สมรสที่จดทะเบียนหย่าแล้วเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่
การสละมรดกมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายจึงขาดความเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
สามีไม่จดทะเบียนสมรสขอถอนผู้จัดการมรดก มีกรรมสิทธิ์รวม
ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ผู้มีส่วนได้เสีย
สิทธิรับมรดกก่อนหลัง
บุตรนอกสมรสและบิดานอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดกต่อกันอย่างไร
ผู้จัดการมรดก | ทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดก | ฟ้องแทนทายาทโดยธรรมอื่น
หนังสือสัญญาแบ่งมรดกตกเป็นโมฆะหรือไม่?
ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะทำหน้าที่ผู้จัดการมรดก
ทายาทมีส่วนเท่ากันออกค่าใช้จ่ายจัดการทำศพ
อำนาจหน้าที่จัดการศพพระภิกษุผู้มรณภาพไม่มีทรัพย์สิน
อำนาจและหน้าที่ในการจัดการทำศพและลำดับก่อนหลัง
คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกอายุความ 5 ปี
เมื่อแบ่งมรดกเสร็จแล้วความเป็นทายาทสิ้นสุดลง-อายุความมรดก
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ความรับผิดของผู้ตาย
นายอำเภอคือผู้มีอำนาจจัดทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
พินัยกรรมเอกสารลับทำผิดแบบเป็นโมฆะ
การที่จะเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนทายาทอื่น