ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทในกองมรดก, การเพิกถอนนิติกรรมในทรัพย์มรดก, การขายทรัพย์มรดกเพื่อชำระหนี้, ผู้จัดการมรดกกับสิทธิและหน้าที่

 

เพิ่มเพื่อนไลน์แชทกับทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

ปรึกษากฎหมายทางแชทไลน์

การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทในกองมรดก, การเพิกถอนนิติกรรมในทรัพย์มรดก, การขายทรัพย์มรดกเพื่อชำระหนี้, ผู้จัดการมรดกกับสิทธิและหน้าที่

คำถาม 1:

จำเลยที่ 1 มีอำนาจในการขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 หรือไม่?

คำตอบ:

จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายสุวิทย์ มีอำนาจตามกฎหมายในการจัดการทรัพย์มรดก รวมถึงการขายที่ดินพิพาทเพื่อชำระหนี้และแบ่งปันทรัพย์สินแก่ทายาท โดยการดำเนินการดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากทายาทส่วนใหญ่และเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

คำถาม 2:

จำเลยที่ 2 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทอย่างถูกต้องหรือไม่?

คำตอบ:

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทอย่างถูกต้อง เนื่องจากการโอนกรรมสิทธิ์จากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก ได้ดำเนินการโดยชอบด้วยกฎหมายและผ่านความเห็นชอบจากทายาทส่วนใหญ่ตามขั้นตอนที่ถูกต้องตามกฎหมายทรัพย์มรดก.

*การขายที่ดินพิพาทของผู้จัดการมรดกเพื่อนำเงินชำระหนี้กองมรดกและแบ่งปันทรัพย์สิน ได้ดำเนินการตามกฎหมายและความเห็นชอบของทายาทส่วนใหญ่ โดยไม่ละเมิดสิทธิของผู้คัดค้าน ทั้งยังเป็นการป้องกันความเสียหายต่อกองมรดกที่มีหนี้สินจำนวนมาก

*คดีนี้เกี่ยวกับคำฟ้องของโจทก์ที่ต้องการเพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกลับมาเป็นทรัพย์มรดก โดยโจทก์ที่ 1 และที่ 2 อ้างสิทธิในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดก ขณะที่จำเลยที่ 2 อ้างว่ารับโอนโดยสุจริต ศาลเห็นว่าคำฟ้องนี้เป็นคดีที่สามารถคำนวณเป็นราคาเงินได้

*จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดก มีอำนาจขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 ตามที่กฎหมายกำหนด เนื่องจากที่ดินดังกล่าวเป็นทรัพย์มรดกของนายเจียมและนางนิภาที่ตกทอดแก่ทายาทโดยยังไม่ได้แบ่งปัน การดำเนินการขายได้รับความเห็นชอบจากทายาทส่วนใหญ่ เพื่อนำเงินไปชำระหนี้ของกองมรดก ซึ่งหากไม่ดำเนินการจะก่อให้เกิดความเสียหาย ศาลเห็นว่าจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติตามหน้าที่โดยชอบ ฎีกาของโจทก์ทั้งสองในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

*จำเลยที่ 2 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เนื่องจากจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกมีอำนาจโอนขายที่ดินดังกล่าว ฎีกาของโจทก์ทั้งสองในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

*คดีของโจทก์เป็นคดีมีทุนทรัพย์ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความ 50,000 บาท ไม่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ฎีกาของโจทก์ในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6219/2559

เมื่อ จ. และ น. ถึงแก่ความตายแล้วทายาทยังไม่ได้แบ่งปันทรัพย์มรดกกัน ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ จ. และ น. ดังนั้น ส. ย่อมมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนทายาททุกคน เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ส. จึงอยู่ในฐานะเป็นตัวแทนของทายาททุกคนของ จ. และ น. เช่นเดียวกับ ส. จำเลยที่ 1 ยังเป็นผู้จัดการมรดกของ น. ร่วมกับ ธ. และเป็นผู้จัดการมรดกของ จ. ร่วมกับ ก. จำเลยที่ 1 จึงอยู่ในฐานะตัวแทนของทายาททุกคนในการจัดการทรัพย์มรดกของ จ. และ น. มีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป หรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก และต้องรับผิดต่อทายาทในฐานะตัวแทน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 และ 1720 โดยทายาทแต่ละคนไม่จำต้องตั้งตัวแทนอีก การที่จำเลยที่ 1 และ ธ. ในฐานะผู้จัดการมรดกของ น. ได้จัดการประชุมทายาทของ น. ถึงเจ็ดครั้ง และเสนอให้ทายาททุกคนประมูลซื้อที่ดินพิพาทก่อน แต่ไม่มีทายาทคนใดเสนอราคา จากนั้นทายาทลงคะแนนด้วยเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิได้รับมรดกให้ขายที่ดินพิพาทเพื่อนำเงินไปชำระหนี้กองมรดกของ น. แล้วนำเงินส่วนที่เหลือมาแบ่งปันระหว่างทายาท จากนั้นจำเลยที่ 1 ให้ ธ. และบริษัท ซ. เป็นผู้ดำเนินการจัดการประมูลที่ดินพิพาท แต่เมื่อได้ราคาต่ำเกินควร ก็ดำเนินการจัดหาผู้เสนอซื้อรายใหม่ ต่อมาจำเลยที่ 2 เสนอซื้อในราคาที่สูงขึ้น และในการประชุมครั้งที่ 7 ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกเกินกว่ากึ่งหนึ่งลงคะแนนเสียงข้างมากให้ขายที่ดินพิพาทในราคาดังกล่าว คงมีแต่เพียงโจทก์ที่ 1 คัดค้าน ซึ่งในวันเดียวกันทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของ จ. ก็ให้ความยินยอมขายที่ดินพิพาทในส่วนที่เป็นมรดกของ จ. ไปพร้อมกับมรดกของ น. ด้วย กรณีดังกล่าวจึงเป็นการที่เจ้าของรวมจัดการอันเป็นสาระสำคัญโดยตกลงกันด้วยคะแนนข้างมากแห่งเจ้าของรวม และคะแนนข้างมากนั้นมีส่วนไม่ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งแห่งค่าทรัพย์มรดกแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1745 ประกอบมาตรา 1358 วรรคสาม และจำเลยที่ 1 กับ ธ. ในฐานะผู้จัดการมรดกของ น. ได้จัดการตามที่จำเป็นเพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดกของ น. และทายาททุกคนตามหน้าที่อันควรแล้ว แม้จำเลยที่ 1 และ ธ. จะยังไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้ขายที่ดินพิพาทในส่วนมรดกของ น. ตามเงื่อนไขในคำสั่งศาลแพ่งกรุงเทพใต้ แต่จำเลยที่ 1 และ ธ. ก็ยื่นคำร้องขออนุญาตขายที่ดินทรัพย์ถึงสามครั้ง และยังยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกการห้ามทำนิติกรรมในทรัพย์สินกองมรดกของ น. ซึ่งศาลมีคำสั่งว่า ผู้จัดการมรดกมีอำนาจตามกฎหมายในการแบ่งปันทรัพย์มรดก และปรากฏว่ากองมรดกของ จ. และ น. มีหนี้ที่ต้องชำระเป็นจำนวนมากและต้องรับภาระชำระค่าดอกเบี้ยไม่น้อยกว่าปีละ66,000,000 บาท หากไม่รีบดำเนินการขายที่ดินพิพาทย่อมเกิดความเสียหายแก่กองมรดกที่จะต้องรับภาระหนี้เพิ่มขึ้น ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลและทำหน้าที่ผู้จัดการมรดกเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกโดยชอบแล้ว เมื่อที่ดินพิพาทมีชื่อ ส. เป็นผู้มีชื่อในทะเบียน จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. จึงมีสิทธิและหน้าที่ในการจัดการเกี่ยวกับที่ดินพิพาทและมีอำนาจจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6219/2559, การจัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 และ 1720, ผู้จัดการมรดกกับสิทธิและหน้าที่, การแบ่งปันทรัพย์มรดกในกองมรดก, การขายทรัพย์มรดกเพื่อชำระหนี้, มรดกตกทอดและสิทธิของทายาท, ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1745, การเพิกถอนนิติกรรมในทรัพย์มรดก, ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับผู้จัดการมรดก, การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทในกองมรดก,

 

*****โจทก์ทั้งสองฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์ระหว่างจำเลยทั้งสอง และให้จำเลยทั้งสองร่วมกันจดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 826 ตำบลทุ่งวัดดอน (บ้านทวาย) อำเภอสาทร (บางรัก) กรุงเทพมหานคร และที่ดินโฉนดเลขที่ 2143, 2144, 2145, 2146 และ 2148 ตำบลทุ่งวัดดอน อำเภอสาทร กรุงเทพมหานคร คืนให้แก่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายสุวิทย์ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา โดยจำเลยทั้งสองเป็นผู้รับผิดในค่าธรรมเนียม อากรแสตมป์ ภาษีเงินได้ และค่าใช้จ่าย ที่เกี่ยวข้อง หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสอง

จำเลยที่ 1 ที่ 2 ให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ให้โจทก์ทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยทั้งสอง โดยกำหนดค่าทนายความ 50,000 บาท

โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ให้โจทก์ทั้งสองร่วมกันใช้ค่าทนายความในชั้นอุทธรณ์ 50,000 บาท แทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ไม่แก้อุทธรณ์ จึงไม่กำหนดค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ให้

โจทก์ทั้งสองฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ทั้งสองประการแรกว่า คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือไม่ เห็นว่า คดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 เป็นทายาทโดยธรรมและเป็นผู้จัดการมรดกของนายสุมิตร ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของนายเจียมส่วนหนึ่งและเป็นทรัพย์มรดกของนางนิภาส่วนหนึ่ง นายสุมิตรมีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของนางนิภาจำนวนหนึ่งในเจ็ดส่วน โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิในทรัพย์มรดกของนางนิภาหนึ่งในเจ็ดส่วน โจทก์ที่ 2 เป็นทายาทโดยธรรมและมีสิทธิได้รับมรดกของนายเจียมและนางนิภา และมีคำขอบังคับให้เพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายสุวิทย์ซึ่งถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนนายเจียมและนางนิภากับจำเลยที่ 2 และให้จำเลยทั้งสองร่วมกันโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกลับมาเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายสุวิทย์ กรณีจึงเป็นการที่โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองให้กลับมาเป็นทรัพย์มรดกของนายเจียมและนางนิภา โดยให้มีชื่อของจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายสุวิทย์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพื่อเป็นประโยชน์แก่โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทของนายสุมิตร และโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทของนายเจียมและนางนิภาด้วย ทั้งจำเลยที่ 2 ก็ให้การต่อสู้ว่ารับโอนที่ดินพิพาทโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต อันเป็นการต่อสู้โจทก์ทั้งสองด้วยเรื่องกรรมสิทธิ์ คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ซึ่งมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาท ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมานั้นชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ทั้งสองในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ทั้งสองประการต่อไปว่า จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายสุวิทย์มีอำนาจขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 หรือไม่ เห็นว่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท เมื่อนายเจียมและนางนิภาถึงแก่ความตายแล้วทายาทยังไม่ได้แบ่งปันทรัพย์มรดกกัน ทั้งข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของนายเจียมและนางนิภา นายสุวิทย์ย่อมมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนทายาททุกคน เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของนายสุวิทย์จึงอยู่ในฐานะเป็นตัวแทนของทายาททุกคนของนายเจียมและนางนิภาเช่นเดียวกับนายสุวิทย์ และนอกจากจำเลยที่ 1 จะเป็นผู้จัดการมรดกของนายสุวิทย์แล้ว จำเลยที่ 1 ยังเป็นผู้จัดการมรดกของนางนิภาร่วมกับนายธิติ และเป็นผู้จัดการมรดกของนายเจียมร่วมกับนางกรแก้ว จำเลยที่ 1 จึงอยู่ในฐานะตัวแทนของทายาททุกคนในการจัดการทรัพย์มรดกของนายเจียมและนางนิภา มีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป หรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก และต้องรับผิดต่อทายาทในฐานะตัวแทน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 และ 1720 โดยทายาทแต่ละคนไม่จำต้องตั้งตัวแทนอีกแต่อย่างใด การที่จำเลยที่ 1 และนายธิติในฐานะผู้จัดการมรดกของนางนิภาได้จัดการประชุมทายาทของนางนิภาถึง 7 ครั้ง และเสนอให้ทายาททุกคนประมูลซื้อที่ดินพิพาทก่อน แต่ไม่มีทายาทคนใดเสนอราคา จากนั้นทายาทลงคะแนนด้วยเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิได้รับมรดกให้ขายที่ดินพิพาทเพื่อนำเงินไปชำระหนี้กองมรดกของนางนิภา แล้วนำเงินส่วนที่เหลือมาแบ่งปันระหว่างทายาท หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 และนายธิติได้ให้บริษัทเซ็นจูรี่ จำกัด เป็นผู้ดำเนินการจัดการประมูลที่ดินพิพาท แต่เมื่อได้ราคาเพียงตารางวาละ 100,000 บาท ซึ่งต่ำเกินควร ก็ดำเนินการจัดหาผู้เสนอซื้อรายใหม่ ต่อมาจำเลยที่ 2 เสนอซื้อในราคาที่สูงขึ้นเป็นตารางวาละ 170,000 บาท และในการประชุมครั้งที่ 7 ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกเกินกว่ากึ่งหนึ่งลงคะแนนด้วยเสียงข้างมากให้ขายที่ดินพิพาทในราคาดังกล่าว คงมีแต่เพียงโจทก์ที่ 1 คัดค้าน ตามสำเนารายงานการประชุม ซึ่งในวันเดียวกันทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของนายเจียมก็ให้ความยินยอมขายที่ดินพิพาทในส่วนที่เป็นมรดกของนายเจียมไปพร้อมกับมรดกของนางนิภาด้วยตามสำเนาหนังสือให้ความยินยอมและเห็นชอบในการขายที่ดินทรัพย์มรดก กรณีดังกล่าวจึงเป็นการที่เจ้าของรวมจัดการอันเป็นสาระสำคัญโดยตกลงกันด้วยคะแนนข้างมากแห่งเจ้าของรวม และคะแนนข้างมากนั้นมีส่วนไม่ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งแห่งค่าทรัพย์มรดกแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1745 ประกอบมาตรา 1358 วรรคสาม และจำเลยที่ 1 กับนายธิติในฐานะผู้จัดการมรดกของนางนิภาได้จัดการตามที่จำเป็นเพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดกของนางนิภาและทายาททุกคนตามหน้าที่อันควรแล้ว แม้จำเลยที่ 1 และนายธิติจะยังไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้ขายที่ดินพิพาทในส่วนมรดกของนางนิภาตามเงื่อนไขในคำสั่งศาลคดีหมายเลขแดงที่ 4676/2545 ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2554 ของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ แต่จำเลยที่ 1 และนายธิติก็ยื่นคำร้องขออนุญาตขายที่ดินทรัพย์มรดกดังกล่าวถึง 3 ครั้ง เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2555 วันที่ 30 มีนาคม 2555 และวันที่ 30 พฤษภาคม 2555 ตามสำเนาคำร้องและยังยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกการห้ามทำนิติกรรมในทรัพย์สินกองมรดกของนางนิภาในคดีหมายเลขแดงที่ 10443/2544 ของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2555 ซึ่งศาลแพ่งกรุงเทพใต้มีคำสั่งว่า ผู้จัดการมรดกมีอำนาจตามกฎหมายในการแบ่งปันทรัพย์มรดก ตามสำเนาคำร้องและปรากฏว่าศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงตามคำเบิกความของนายธิติว่า กองมรดกของนายเจียมและนางนิภามีหนี้ที่ต้องชำระเป็นจำนวนมากถึง 1,800,000,000 บาท ต้องรับภาระชำระค่าดอกเบี้ยไม่น้อยกว่าปีละ 66,000,000 บาท หากไม่รีบดำเนินการขายที่ดินพิพาทย่อมเกิดความเสียหายแก่กองมรดกที่จะต้องรับภาระหนี้เพิ่มขึ้น ซึ่งโจทก์ทั้งสองไม่ได้อุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในส่วนนี้ จึงไม่อาจยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ และถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลและทำหน้าที่ผู้จัดการมรดกเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกโดยชอบแล้ว เมื่อที่ดินพิพาทมีชื่อนายสุวิทย์เป็นผู้มีชื่อในทะเบียน จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายสุวิทย์จึงมีสิทธิและหน้าที่ในการจัดการเกี่ยวกับที่ดินพิพาทและมีอำนาจจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ฎีกาของโจทก์ทั้งสองในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

ปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ทั้งสองประการต่อไปว่า จำเลยที่ 2 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทหรือไม่ เห็นว่า ศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้แล้วว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายสุวิทย์มีอำนาจจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ดังนั้น จำเลยที่ 2 ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ฎีกาของโจทก์ทั้งสองในข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน

สำหรับฎีกาของโจทก์ทั้งสองในประการสุดท้ายว่า คดีของโจทก์ทั้งสองเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความให้โจทก์ทั้งสองต้องรับผิดเกินอัตราตามกฎหมายนั้น เห็นว่า ศาลฎีกาได้วินิจฉัยในตอนต้นแล้วว่า คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความที่โจทก์ทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดศาลละ 50,000 บาท จึงไม่เกินกว่าอัตราขั้นสูงในศาลชั้นต้นและในศาลอุทธรณ์ตามตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ฎีกาของโจทก์ทั้งสองในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

อนึ่ง ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ยื่นคำแก้อุทธรณ์ฉบับลงวันที่ 25 มิถุนายน 2557 ในสำนวนแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยที่ 2 ไม่แก้อุทธรณ์ จึงไม่กำหนดค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ให้ เป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข

พิพากษายืน ให้โจทก์ทั้งสองร่วมกันใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีการวม 100,000 บาท แทนจำเลยทั้งสอง


*เรื่อง-ผู้จัดการมรดก: สิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายในการจัดการมรดก

บทนำ

เมื่อบุคคลใดถึงแก่ความตาย มรดกของบุคคลนั้นย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยชอบธรรมตามกฎหมาย หรือเป็นไปตามพินัยกรรมที่ได้จัดทำไว้ การบริหารจัดการทรัพย์มรดกจึงเป็นกระบวนการสำคัญที่ต้องอาศัยผู้จัดการมรดกซึ่งได้รับแต่งตั้งโดยศาล หรือระบุในพินัยกรรม บทบาทหน้าที่ของผู้จัดการมรดกมีความสำคัญต่อการแบ่งปันทรัพย์สินอย่างเป็นธรรมและสอดคล้องกับข้อกำหนดของกฎหมาย

สิทธิและหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตามกฎหมาย

ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่ในการดำเนินการดังนี้:

1.จัดการมรดกเพื่อให้เป็นไปตามพินัยกรรม

หากผู้ตายได้ทำพินัยกรรมไว้ ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในพินัยกรรมนั้น ไม่ว่าจะเป็นคำสั่งแจ้งชัด (Explicit) หรือโดยปริยาย (Implicit) เช่น การมอบทรัพย์สินให้แก่บุคคลเฉพาะเจาะจง การชำระหนี้ หรือการจัดสรรทรัพย์สินให้กับทายาทตามสัดส่วน

2.บริหารทรัพย์มรดกโดยทั่วไป

ในกรณีที่ไม่มีพินัยกรรม หรือไม่มีข้อกำหนดเฉพาะเจาะจง ผู้จัดการมรดกต้องดำเนินการจัดการทรัพย์มรดกทั้งหมด เช่น การดูแลทรัพย์สิน การป้องกันความเสียหาย หรือการรักษาทรัพย์สินให้อยู่ในสภาพดี

3.แบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาท

ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่จัดสรรทรัพย์มรดกแก่ทายาทตามสัดส่วนที่กฎหมายกำหนดหรือที่ระบุในพินัยกรรม การแบ่งปันนี้อาจรวมถึงการขายทรัพย์สินเพื่อเปลี่ยนเป็นเงินสด หากเป็นวิธีที่เหมาะสมในการแบ่งปัน

4.ชำระหนี้สินของกองมรดก

ก่อนแบ่งปันทรัพย์สิน ผู้จัดการมรดกต้องชำระหนี้สินของผู้ตาย เช่น หนี้สินส่วนตัว ภาษี หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

5.ดำเนินการทางกฎหมายแทนกองมรดก

ผู้จัดการมรดกมีสิทธิในการดำเนินการทางกฎหมาย เช่น การฟ้องร้องบุคคลที่เกี่ยวข้อง การปกป้องสิทธิของกองมรดก หรือการจัดการทรัพย์สินที่เป็นข้อพิพาท

การจัดการที่จำเป็นและสอดคล้องกับกฎหมาย

มาตรา 1720 ยังระบุเพิ่มเติมว่า ผู้จัดการมรดกต้องดำเนินการใด ๆ ที่จำเป็นเพื่อรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของกองมรดก รวมถึงการดำเนินการที่ป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น

•การขายทรัพย์สินเพื่อชำระดอกเบี้ยหรือภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้น

•การประชุมหารือกับทายาทเพื่อหามติในการบริหารจัดการ

บทสรุป

ผู้จัดการมรดกมีบทบาทสำคัญในการดูแลและบริหารทรัพย์สินของผู้ตายให้เป็นไปตามกฎหมายและพินัยกรรม หน้าที่เหล่านี้ต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวังและโปร่งใส เพื่อสร้างความยุติธรรมให้แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง การเข้าใจสิทธิและหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตามกฎหมายจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการบริหารมรดกอย่างราบรื่นและยุติธรรม

 
คำถาม 1: จำเลยที่ 1 มีอำนาจในการขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 หรือไม่? คำตอบ: จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายสุวิทย์ มีอำนาจตามกฎหมายในการจัดการทรัพย์มรดก รวมถึงการขายที่ดินพิพาทเพื่อชำระหนี้และแบ่งปันทรัพย์สินแก่ทายาท โดยการดำเนินการดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากทายาทส่วนใหญ่และเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด คำถาม 2: จำเลยที่ 2 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทอย่างถูกต้องหรือไม่? คำตอบ: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทอย่างถูกต้อง เนื่องจากการโอนกรรมสิทธิ์จากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก ได้ดำเนินการโดยชอบด้วยกฎหมายและผ่านความเห็นชอบจากทายาทส่วนใหญ่ตามขั้นตอนที่ถูกต้องตามกฎหมายทรัพย์มรดก.
 
 
 
ปรึกษากฎหมาย ทนายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร. 085-960-4258



คดีมรดก ร้องศาลตั้งผู้จัดการมรดก

พินัยกรรมของผู้ตายที่ห้ามโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตกเป็นโมฆะ, ข้อห้ามในพินัยกรรมเป็นโมฆะ, ผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม
ถอนผู้จัดการมรดก, การปันมรดกเสร็จสิ้นแล้ว, การจัดการศาลจ้าวไม่เป็นมรดก, ศาลจ้าวใต้เซียฮุดโจ๊วเป็นกุศลสถาน
ที่ดินของรัฐ มรดกของผู้ตาย, ที่ดินนิคมสหกรณ์, สิทธิทำประโยชน์ในที่ดิน, สิทธิเหนือพื้นดิน, การเพิกถอนโฉนดที่ดิน,
มรดกตกทอด, การเพิกถอนการสละมรดก, อายุความในการฟ้องคดีมรดก, สิทธิเรียกร้องแทนลูกหนี้
หนังสือแต่งตั้งผู้รับโอนประโยชน์ในเงินทุนเรือนหุ้นของสหกรณ์ไม่ถือเป็นพินัยกรรม, เงินสงเคราะห์สมาชิกสหกรณ์, สิทธิผู้รับโอนประโยชน์ในเงินสงเคราะห์
นิติกรรมซื้อขายที่ดินซึ่งเป็นคนต่างด้าว, คดีมรดกที่ดินของคนต่างด้าว, อายุความคดีมรดก, การยักยอกทรัพย์มรดก
พินัยกรรมยกมรดกให้พี่น้องร่วมบิดามารดา, สิทธิของผู้สืบสันดานในการรับมรดกแทนที่, การฟ้องเรียกค่าเช่าจากทรัพย์สินมรดก
การกำจัดทายาทมิให้รับมรดก, สิทธิรับมรดกของผู้สืบสันดานเมื่อทายาทถูกกำจัด, การเพิกถอนนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์มรดก
เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดก, การฟ้องแบ่งมรดกของผู้ตาย, การยกอายุความในคดีมรดก, สินสมรสและสินส่วนตัวในกองมรดก
ผู้จัดการมรดกและการโอนทรัพย์มรดก, พินัยกรรมด้วยวาจา ป.พ.พ. มาตรา 1663, การครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาท
สิทธิทายาทในมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง, ทายาทตายก่อนแบ่งมรดก, รับมรดกแทนที่ มาตรา 1639,
สิทธิการฟ้องขอแบ่งมรดกของทายาท, การเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินมรดก, สินสมรสหลังคู่สมรสเสียชีวิต
สัญญาประกันชีวิต, สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก, ผู้ทำประกันชีวิตและผู้รับผลประโยชน์ตายพร้อมกัน
การจัดการหนี้สินในกองมรดก, สิทธิของเจ้าหนี้กองมรดก, ที่ดินมรดกและการบังคับคดี
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดก
ผู้จัดการมรดกปฏิบัติผิดหน้าที่-ทายาทผู้มีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกได้
ผู้จัดการมรดกร่วมถึงแก่ความตายต้องทำอย่างไร, ฟ้องซ้อน คืออะไร, แต่งตั้งผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่เพียงทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป
ทายาทฟ้องทายาทให้แบ่งทรัพย์มรดก
การจัดการทรัพย์มรดกในฐานะผู้จัดการมรดกตามหน้าที่ที่จำเป็น
คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกปิดบังทรัพย์มรดกมีผลอย่างไร
ทายาทมิได้ฟ้องเรียกร้องมรดกภายใน 1 ปี
ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ผู้มีส่วนได้เสีย
สามีไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้จัดการมรดกได้
ทรัพย์มรดกยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาททุกคน-การจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้น
บุคคลผู้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มีผลอย่างไร?
ฟ้องผู้จัดการมรดกนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงเกินห้าปีขาดอายุความ
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลถูกเพิกถอนได้
อายุความคดีมรดก เจ้าหนี้ฟ้องคดีมรดกเกินหนึ่งปี
คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก
บุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย
บุตรนอกกฎหมายซึ่งผู้ตายรับรองแล้วเป็นผู้สืบสันดาน
มารดาขายที่ดินซึ่งผู้เยาว์มีส่วนแบ่งไม่ต้องขอศาล
นายอำเภอคือผู้มีอำนาจจัดทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
ความรับผิดของผู้จัดการมดกภายหลังการเสียชีวิต
ผู้จัดการมรดกร่วมนำทรัพย์มรดกหาประโยชน์แก่ตน
ผู้สืบสันดาน คือใคร? ต่างกับทายาท อย่างไร?
คู่สมรสและการแบ่งมรดกของคู่สมรส | การสมรสเป็นโมฆะ
อายุความคดีมรดก และอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก
เหตุอันจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก
การปันมรดกเสร็จสิ้นลงแล้วการถอนผู้จัดการมรดกย่อมพ้นกำหนดเวลา
สามีมิได้จดทะเบียนสมรสไม่ถือเป็นทายาทของภริยาผู้ตาย
อำนาจหน้าที่จัดการศพพระภิกษุผู้มรณภาพไม่มีทรัพย์สิน
สามีไม่จดทะเบียนสมรสขอถอนผู้จัดการมรดก มีกรรมสิทธิ์รวม
ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะทำหน้าที่ผู้จัดการมรดก
อำนาจฟ้องขอแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตาย
ทายาททุกคนมอบหมายให้ครอบครองที่ดินแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วม
ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามมาตรา 1300
ทายาทโดยธรรมย่อมมีสิทธิเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์มรดกตามส่วนที่จะพึงได้
สิทธิรับมรดกที่ยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาห้ามยกเป็นข้อต่อสู้ผู้รับโอนโดยสุจริต
การจัดการมรดกและผู้จัดการมรดก, สินสมรสและสินส่วนตัวในคดีมรดก, อายุความคดีมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733
ผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก
ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์มรดกเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความแล้ว
ผู้คัดค้านไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการขอจัดการมรดก
ทายาทมีส่วนเท่ากันออกค่าใช้จ่ายจัดการทำศพ
ความเหมาะสมในการเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น
สิทธิของบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายในการรับมรดกของบุตรนอกกฎหมาย
หนังสือสัญญาแบ่งมรดกตกเป็นโมฆะหรือไม่?
อำนาจและหน้าที่ในการจัดการทำศพและลำดับก่อนหลัง
พินัยกรรมมีเงื่อนไขบังคับก่อน
ผู้จัดการมรดกฟ้องแทนทายาทโดยธรรมอื่น
คู่สมรสที่จดทะเบียนหย่าแล้วเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่
การสละมรดกมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายจึงขาดความเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
แม้กองมรดกมีผู้จัดการมรดกแล้วทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้อง
พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองไม่ได้ทำต่อหน้าพยานตกเป็นโมฆะ
บุตรนอกสมรสและบิดานอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดกต่อกันอย่างไร
ผู้จัดการมรดก | ทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดกเรียกให้เจ้าของรวมส่งมอบโฉนดที่ดิน
การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลงอายุความ 5 ปียังไม่เริ่มนับ
สิทธิรับมรดกก่อนหลัง
คำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ
อายุความฟ้องคดีแพ่งอันเนื่องจากคดียักยอกทรัพย์มรดก
เมื่อแบ่งมรดกเสร็จแล้วความเป็นทายาทสิ้นสุดลง-อายุความมรดก
การแบ่งมรดกที่ดินมือเปล่าไม่มีเอกสารสิทธิ
คดีมรดกต้องเป็นคดีที่ทายาทด้วยกันพิพาทกันเรื่องสิทธิในส่วนแบ่งมรดก
ขอให้ศาลสั่งถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ความรับผิดของผู้ตาย
แสดงบัญชีเครือญาติเป็นเท็จปิดบังจำนวนทายาท
อายุความคดีมรดกสะดุดหยุดลง การแบ่งทรัพย์มรดกไม่ชอบ
ไม่มีกฎหมายบังคับให้ฟ้องเอาทรัพย์มรดกจากทายาทอื่นที่ครอบครองแทนใน 1 ปี
สัญญาว่าจ้างติดตามทรัพย์กองมรดกเรียกส่วนแบ่งเป็นโมฆะ
คดีฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมปลอมและถูกกำจัดมิให้รับมรดก
โจทก์ฟ้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปี
ผู้จัดการมรดกแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันฟังคำสั่งศาล
คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกอายุความ 5 ปี
การแจ้งการเกิดของเด็กในทะเบียนคนเกิดเองว่าเป็นบุตรของตน
ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
การที่จะเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนทายาทอื่น
พินัยกรรมเอกสารลับทำผิดแบบเป็นโมฆะ
การจัดการมรดกไม่ชอบไม่อาจถือว่าการจัดการมรดกสิ้นลงแล้ว