ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




การจัดการทรัพย์มรดกในฐานะผู้จัดการมรดกตามหน้าที่ที่จำเป็น

 บิดา มารดา และบุตร ทนาย อาสา ปรึกษา เรื่อง อำนาจปกครองบุตร ฟรี

 

เพิ่มเพื่อนไลน์แชทกับทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ 

การจัดการทรัพย์มรดกในฐานะผู้จัดการมรดกตามหน้าที่ที่จำเป็น

ผู้จัดการมรดกมีอำนาจจัดการทรัพย์มรดกของผู้ตาย ดังนั้นการที่ผู้จัดการมรดกทำสัญญาประนีประนอมยอมความโอนขายที่ดินพิพาทเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกในการจัดการทรัพย์สินของผู้ตายเพื่อชำระหนี้ของผู้ตายและมีหน้าที่นำทรัพย์สินที่เหลือจากการชำระหนี้มาจัดการแบ่งปันให้แก่ทายาทของผู้ตายตามกฎหมาย กรณีดังกล่าวเป็นการจัดการทรัพย์มรดกในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามหน้าที่ที่จำเป็นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 ไม่ใช่เป็นการกระทำนอกเหนือหน้าที่ของผู้จัดการมรดกแต่อย่างใดไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนมีผลผูกพันคู่สมรสของผู้ตายและโจทก์ในคดีนี้ซึ่งเป็นผู้สืบสิทธิในฐานะทายาทซึ่งเป็นคู่ความในคดีก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง โจทก์ในคดีนี้จะโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ยุติไปแล้วและผูกพันโจทก์เพื่อให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงในคดีนี้เป็นอย่างอื่นไม่ได้

 

ผู้จัดการมรดก, อำนาจัดการมรดก, โอนขายที่ดิน, แบ่งปันให้ทายาท

 

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3502/2564

คดีก่อน น. ฟ้องจำเลยที่ 20 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ว่าจำเลยที่ 20 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความตกลงขายที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นสินสมรสของ น. โดยไม่ได้รับความยินยอมหรือให้สัตยาบันจาก น. เป็นการจัดการมรดกโดยมิชอบ สัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมไม่มีผลผูกพัน น. จนศาลฎีกามีคำพิพากษาว่า ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสซึ่งเป็นของ น. สองในสามส่วนอันเป็นส่วนหนึ่งของสินบริคณห์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1462 วรรคสอง (เดิม) ส. ผู้เป็นสามีมีอำนาจจำหน่ายสินบริคณห์ได้แต่ผู้เดียวโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจาก น. ภริยาก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1468 (เดิม) และมาตรา 1473 วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะนั้น ส. ย่อมมีอำนาจทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินบริคณห์รวมทั้งในส่วนที่เป็นสินสมรสของ น. ให้แก่ผู้อื่นได้โดยลำพัง โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจาก น. ก่อน จำเลยที่ 1 มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 20 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. คู่สัญญาให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่ ส. ทำไว้ก่อนตายได้ การที่จำเลยที่ 20 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกในการจัดการทรัพย์สินของ ส. เพื่อชำระหนี้ที่ ส. มีความรับผิดอยู่ก่อนตาย และเพื่อนำทรัพย์สินที่เหลือมาจัดการแบ่งปันให้แก่ทายาทของ ส. ตามกฎหมาย อันเป็นการจัดการทรัพย์มรดกในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. ตามหน้าที่ที่จำเป็นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 หาใช่เป็นการกระทำนอกเหนือหน้าที่ของผู้จัดการมรดกไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวย่อมมีผลผูกพัน น. รวมทั้งโจทก์ซึ่งเป็นผู้สืบสิทธิในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของ น. จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 20 ซึ่งเป็นคู่ความในคดีก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง โจทก์จะโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ยุติไปแล้วและผูกพันโจทก์เพื่อให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงในคดีนี้เป็นอย่างอื่นว่า ส. ไม่ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกับจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 20 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความโอนขายที่ดินพิพาทส่วนของ น. โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่

โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งยี่สิบสองร่วมกันดำเนินการเพิกถอนการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมทุกประเภท ทุกรายการ ซึ่งรวมถึงการโอนให้โดยเสน่หา โอนขาย หรือจำนองที่ปรากฏรายการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในสารบัญโฉนดที่ดินเลขที่ 838, 1113, 3149 ถึง 3156, 3210 ถึง 3212, 3303 ถึง 3310, 3474 ถึง 3481, 3490 ถึง 3497, 3600 ถึง 3633 และ 4365 ถึง 4368 อันสืบเนื่องมาจากผลของสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 9536/2523 ของศาลชั้นต้น งวดที่ 1 จำนวนสองในสามส่วน และอีกหนึ่งในห้าส่วนของหนึ่งในสามส่วน เมื่อเพิกถอนแล้วให้จำเลยที่ 20 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายสด จำเลยที่ 21 และที่ 22 ร่วมกันจดทะเบียนโอนใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินทุกแปลงในส่วนที่เพิกถอนดังกล่าว และให้จำเลยทั้งยี่สิบสองร่วมกันดำเนินการเพิกถอนการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมทุกประเภท ทุกรายการ ซึ่งรวมถึงการให้โดยเสน่หา โอนขาย หรือจำนองที่ปรากฏรายการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในสารบัญโฉนดที่ดินเลขที่ 3258, 3259, 3357, 3456, 3498, 3558, 3659 ถึง 3663, 3716 ถึง 3720, 6131 ถึง 6157, 6192 ถึง 6199, 6284 ถึง 6288, 15333, 15334, 22480 ถึง 22487 ที่ดินตาม น.ส. 3 ก. เลขที่ 781, 1306, 1353, 1520, 1521 และที่ดิน ส.ค. 1 เลขที่ 249, 250 อันสืบเนื่องมาจากผลของสัญญาประนีประนอมยอมความงวดที่ 3 จำนวนสองในสามส่วน และอีกหนึ่งในห้าส่วนของหนึ่งในสามส่วน เมื่อเพิกถอนแล้วให้จำเลยที่ 20 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายสด จำเลยที่ 21 และที่ 22 ร่วมกันจดทะเบียนโอนใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวทุกแปลงในส่วนที่เพิกถอนดังกล่าว หากจำเลยทั้งยี่สิบสองไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ให้จำเลยทั้งยี่สิบสองร่วมกันรับผิดค่าธรรมเนียม ค่าอากร และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน หากจำเลยทั้งยี่สิบสองไม่สามารถดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ได้ ให้บังคับจำเลยทั้งยี่สิบสองร่วมกันใช้ราคาที่ดินเป็นเงิน 1,563,833,332 บาท หรือใช้ราคาที่ดินตามราคาตลาดในวันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วแต่จำนวนใดมากกว่ากันก็ให้ใช้ราคานั้น พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ หากที่ดินแปลงใดไม่อาจดำเนินการได้ ให้จำเลยทั้งยี่สิบสองร่วมกันใช้ราคาที่ดินแปลงที่ไม่สามารถโอนคืนโดยปลอดภาระผูกพันใด ๆ แก่โจทก์ตามบัญชีแสดงราคาที่ดินพิพาทท้ายฟ้อง หรือใช้ราคาที่ดินตามราคาตลาดในวันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วแต่จำนวนใดมากกว่ากันก็ให้ใช้ราคานั้น พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

จำเลยที่ 1 ถึงที่ 20 ให้การขอให้ยกฟ้อง

ระหว่างพิจารณา โจทก์โดยนายอุดมศักดิ์ ทนายความโจทก์ยื่นคำร้องลงวันที่ 1 มีนาคม 2547 ขอถอนคำฟ้อง ทนายความจำเลยที่ 10 ถึงที่ 12 ที่ 14 ที่ 18 ที่ 21 และที่ 22 แถลงไม่คัดค้าน ส่วนจำเลยอื่นไม่มาศาล ศาลชั้นต้นนัดพร้อมวันที่ 7 มิถุนายน 2547 เพื่อสอบถามว่าจะคัดค้านคำร้องขอถอนคำฟ้องของโจทก์หรือไม่ ต่อมาวันที่ 4 มีนาคม 2547 โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนคำร้องขอถอนคำฟ้อง อ้างว่าโจทก์ไม่เคยมอบอำนาจให้นายอุดมศักดิ์มีอำนาจยื่นคำร้องขอถอนคำฟ้องโดยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบก่อน และโจทก์ไม่ได้ให้ความยินยอม โจทก์ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ตามใบแต่งทนายความของโจทก์ ทนายความโจทก์มีอำนาจถอนฟ้องได้ การยื่นคำร้องขอถอนคำฟ้องจึงชอบด้วยกฎหมายมีผลผูกพันโจทก์ ไม่อนุญาตให้ถอนคำร้องขอถอนคำฟ้องเฉพาะในส่วนของจำเลยที่ 10 ถึงที่ 12 ที่ 14 ที่ 18 ที่ 21 และที่ 22 และอนุญาตให้ถอนคำร้องขอถอนคำฟ้องในส่วนของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ที่ 13 ที่ 15 ถึงที่ 17 ที่ 19 และที่ 20

โจทก์อุทธรณ์คำสั่ง

ต่อมาเมื่อถึงวันนัดพร้อมวันที่ 7 มิถุนายน 2547 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องจำเลยที่ 10 ถึงที่ 12 ที่ 14 ที่ 18 ที่ 21 และที่ 22 ให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยดังกล่าวออกจากสารบบความ

โจทก์อุทธรณ์คำสั่ง

ระหว่างพิจารณา จำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 และที่ 3 ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน และจำเลยที่ 3 ถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 ขอเข้าว่าคดีแทน ศาลชั้นต้นอนุญาต

ศาลชั้นต้นเห็นว่า คดีพอวินิจฉัยได้ ให้งดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยทั้งหมด

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 20 ชำระเงินค่าที่ดินที่ได้จากการขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์สองในสามส่วน และอีกหนึ่งในห้าส่วนของหนึ่งในสามส่วนที่เหลือ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก และให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยอื่นทั้งหมด ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ที่ 13 ที่ 15 ถึงที่ 17 และที่ 19 โดยกำหนดค่าทนายความคนละ 20,000 บาท

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ถอนคำร้องขอถอนคำฟ้องของโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 10 ถึงที่ 12 ที่ 14 ที่ 18 ที่ 21 และที่ 22 ยกคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี และยกอุทธรณ์ข้ออื่นของโจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้ให้ศาลชั้นต้นรวมสั่งเมื่อมีคำพิพากษาใหม่

จำเลยที่ 21 และที่ 22 ฎีกา

ศาลฎีกาพิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนคำฟ้องจำเลยที่ 4 ที่ 8 ถึง ที่ 18 ที่ 21 และที่ 22 ศาลชั้นต้นอนุญาต จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยดังกล่าวออกจากสารบบความ

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า นายสดและนาง น. เป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม 2478 ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 (เดิม) มีบุตรด้วยกัน 5 คน โจทก์และจำเลยที่ 20 เป็นบุตรของนายสดและ น. จำเลยที่ 1 เป็นมารดาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 และจำเลยที่ 3 เป็นมารดาของจำเลยที่ 4 ที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 838, 1113 และอีกหลายแปลง เนื้อที่ประมาณ 3,000 ไร่ เป็นที่ดินที่นายสดและ น. ได้มาระหว่างเป็นสามีภริยากัน เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2521 นายสดถึงแก่ความตายโดยมิได้ทำพินัยกรรม ศาลแพ่งธนบุรีมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 20 เป็นผู้จัดการมรดกของนายสด วันที่ 26 มิถุนายน 2521 จำเลยที่ 1 ฟ้องจำเลยที่ 20 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายสดต่อศาลชั้นต้นเป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 7145/2521 ว่า ก่อนนายสดถึงแก่ความตายได้ทำสัญญาขายที่ดินและสิทธิการครอบครองที่ดินที่ตำบลนาจอมเทียน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี รวมเนื้อที่ประมาณ 3,000 ไร่ แก่จำเลยที่ 1 ในราคา 25,000,000 บาท ขอให้บังคับจำเลยที่ 20 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายสดปฏิบัติตามสัญญา วันที่ 26 สิงหาคม 2523 จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 20 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่า จำเลยที่ 20 ตกลงขายที่ดินตามฟ้องแก่จำเลยที่ 1 ในราคา 40,000,000 บาท โดยจำเลยที่ 20 เป็นผู้จัดการออกโฉนดที่ดินทุกแปลง เมื่อออกโฉนดที่ดินแล้วจะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ยอมชำระราคาที่ดินส่วนที่โอนนั้นตามราคาประเมินของทางราชการ หากที่ดินตามฟ้องแปลงใด จำเลยที่ 20 ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลยที่ 1 ได้ จำเลยที่ 20 ยินยอมใช้ที่ดินหรือราคาตลาดแทนแก่จำเลยที่ 1 จนครบ ตกลงโอนกรรมสิทธิ์และชำระเงินเป็น 3 งวด ดังนี้ งวดที่ 1 ภายในกำหนด 4 เดือน นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยที่ 20 จะโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 838 และ 1113 แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ชำระเงิน 5,000,000 บาท แก่จำเลยที่ 20 งวดที่ 2 ภายในกำหนด 5 เดือน นับจากวันพ้นกำหนดเวลางวดที่ 1 จำเลยที่ 20 จะโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 1525, 1602, 1636 และ 1647 แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ชำระเงิน 6,000,000 บาท แก่จำเลยที่ 20 งวดที่ 3 ที่ดินที่เหลือให้จำเลยที่ 20 ขอออกโฉนดที่ดินเสร็จแล้วให้แจ้งแก่จำเลยที่ 1 เพื่อกำหนดวันโอนกรรมสิทธิ์และชำระเงินส่วนที่เหลือ หากจำเลยที่ 1 ชำระราคาที่ดินงวดใดไม่ได้ ให้ถือว่าจำเลยที่ 1 สละสิทธิไม่ซื้อที่ดินตามโฉนดเหล่านั้น ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 9536/2523 ต่อมาวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2524 จำเลยที่ 20 จดทะเบียนขายที่ดินโฉนดเลขที่ 838 และ 1113 แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าที่ดินแก่จำเลยที่ 20 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความในงวดที่ 1 แล้ว และในวันเดียวกันจำเลยที่ 1 จดทะเบียนให้ที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวแก่จำเลยที่ 2 โดยเสน่หาและไม่มีค่าตอบแทน จำเลยที่ 2 รังวัดที่ดินแบ่งแยกในนามเดิมโฉนดเลขที่ 1113 เป็นที่ดินโฉนดเลขที่ 3149 ถึง 3156 และ 3210 ถึง 3212 และแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 3212 ออกเป็นโฉนดเลขที่ 4365 ถึง 4368 จำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 3151 ถึง 3154 แก่จำเลยที่ 16 และที่ดินโฉนดเลขที่ 3155 และ 3156 แก่จำเลยที่ 15 จดทะเบียนขายที่ดินโฉนดเลขที่ 3210, 3211, 4365 และ 4366 แก่จำเลยที่ 7 แล้วจำเลยที่ 7 จดทะเบียนจำนองที่ดินดังกล่าวแก่จำเลยที่ 12 ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 838 จำเลยที่ 2 รังวัดที่ดินแบ่งแยกในนามเดิมออกเป็นที่ดินโฉนดเลขที่ 3303 ถึง 3310 จากนั้นได้แบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 3307 ถึง 3310 เป็นที่ดินโฉนดเลขที่ 3625 ถึง 3633, 3474 ถึง 3481, 3600 ถึง 3624 และ 3490 ถึง 3497 ตามลำดับ วันที่ 1 ตุลาคม 2529 จำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 838 และที่ดินที่แบ่งแยกทั้งหมดแก่จำเลยที่ 10 ส่วนงวดที่ 2 และงวดที่ 3 จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 20 มีข้อพิพาทกันในชั้นบังคับคดี ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาในงวดที่ 2 มีผลเท่ากับเป็นการสละสิทธิในการซื้อที่ดินงวดที่ 2 ทั้งสี่โฉนดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ตามสำเนาคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3594/2527 และศาลฎีกาวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 20 ขอออกโฉนดที่ดินงวดที่ 3 เสร็จและรับโฉนดที่ดินส่วนใหญ่ไปแล้ว แต่จำเลยที่ 20 มิได้แจ้งกำหนดวันโอนให้จำเลยที่ 1 ทราบ จำเลยที่ 20 เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยที่ 1 มีสิทธิบังคับให้จำเลยที่ 20 โอนที่ดินงวดที่ 3 ได้ ตามสำเนาคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4188/2533 นาง น. กับพวกฟ้องจำเลยที่ 20 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายสด ขอให้จำเลยที่ 20 แบ่งที่ดินสินสมรสและมรดกของนายสดแก่ น. และทายาทเป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 10864/2534 ของศาลชั้นต้น ศาลฎีกามีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 20 แบ่งที่ดินดังกล่าวให้แก่นาง น. สองในสามส่วน ส่วนที่เหลืออีกหนึ่งในสามส่วนให้แบ่งแก่ น. อีกหนึ่งในห้าส่วน ตามสำเนาคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3140/2538 เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2534 นาง น. ฟ้องจำเลยที่ 20 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขอให้เพิกถอนการรังวัดแบ่งแยกที่ดินกับเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 9536/2523 ของศาลชั้นต้น มิให้มีผลผูกพันที่ดินส่วนที่เป็นสินสมรสของนาง น. สองในสามส่วนเป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 16824/2534 ของศาลชั้นต้น ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินอันเป็นสินสมรสตามคำวินิจฉัยในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3140/2538 ได้ระงับไปแล้วด้วยสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 นาง น. ไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมได้ ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสซึ่งเป็นของนาง น. สองในสามส่วนอันเป็นส่วนหนึ่งของสินบริคณห์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 มาตรา 1462 วรรคสอง (เดิม) นายสดมีอำนาจจำหน่ายสินบริคณห์ได้แต่ผู้เดียวโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจาก น. ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 มาตรา 1468 (เดิม) และมาตรา 1473 วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะนั้น นายสดย่อมมีอำนาจทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินบริคณห์รวมทั้งในส่วนที่เป็นสินสมรสของนาง น. ให้แก่ผู้อื่นได้โดยลำพัง โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจาก น. ก่อน จำเลยที่ 1 มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 20 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายสดคู่สัญญาให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่นายสดทำไว้ก่อนตายได้ การที่จำเลยที่ 20 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายสดทำสัญญาประนีประนอมยอมความขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 1 เป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกเพื่อชำระหนี้ที่นายสดมีความรับผิดอยู่ก่อนตาย และเพื่อนำทรัพย์สินที่เหลือมาจัดการแบ่งปันให้แก่ทายาทของนายสดตามกฎหมาย อันเป็นการจัดการทรัพย์มรดกในฐานะผู้จัดการมรดกของนายสดตามหน้าที่ที่จำเป็นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 ตามสำเนาคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 623/2546 ในระหว่างที่คดีต่าง ๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาทอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล มีการทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินพิพาท คือ วันที่ 25 ธันวาคม 2534 จำเลยที่ 1 จดทะเบียนให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 3258, 3259, 3357, 3456, 3498 และ 3558 แก่จำเลยที่ 3 โดยเสน่หาและไม่มีค่าตอบแทน ในวันเดียวกันจำเลยที่ 3 จดทะเบียนให้ที่ดินดังกล่าวแก่จำเลยที่ 4 โดยเสน่หาและไม่มีค่าตอบแทน วันที่ 30 ธันวาคม 2534 จำเลยที่ 1 จดทะเบียนขายที่ดินโฉนดเลขที่ 3660, 3661, 3717, 3718 และ 3720 แก่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนขายที่ดินโฉนดเลขที่ 3659, 3663 และ 3719 แก่จำเลยที่ 3 จดทะเบียนขายที่ดินโฉนดเลขที่ 3662 และ 3716 แก่จำเลยที่ 5 จดทะเบียนขายที่ดิน น.ส. 3 ก. เลขที่ 781, 1306, 1353, 1520 และ 1521 แก่จำเลยที่ 6 วันที่ 1 มิถุนายน 2535 จำเลยที่ 4 จดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 3258 และ 3259 แก่จำเลยที่ 13 วันที่ 21 มิถุนายน 2538 จำเลยที่ 4 จดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 3558 แก่จำเลยที่ 12 ในระหว่างจำนองมีการแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 3558 ออกเป็นโฉนดเลขที่ 6131 ถึง 6175 วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2535 จำเลยที่ 4 จดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 3498 แก่จำเลยที่ 11 ต่อมาจำเลยที่ 2 แบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 3660 และ 3661 ออกเป็นโฉนดเลขที่ 15333 และ 15334 ตามลำดับ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2535 จำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 3720 แก่จำเลยที่ 14 วันที่ 18 มิถุนายน 2536 จดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 3717 และ 3718 แก่จำเลยที่ 11 วันที่ 8 เมษายน 2537 จดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 15333 และ 15334 แก่จำเลยที่ 11 วันที่ 20 ตุลาคม 2538 จดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 3661 แก่จำเลยที่ 17 วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2535 จำเลยที่ 3 จดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 3659 และ 3719 แก่จำเลยที่ 14 ในระหว่างจำนอง จำเลยที่ 3 แบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 3659 ออกเป็นโฉนดเลขที่ 6192 ถึง 6199 วันที่ 21 เมษายน 2537 จำเลยที่ 5 จดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 3662 แก่จำเลยที่ 18 ในระหว่างจำนอง จำเลยที่ 5 แบ่งแยกที่ดินดังกล่าวออกเป็นโฉนดเลขที่ 22480 ถึง 22487 วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2535 จำเลยที่ 6 จดทะเบียนจำนองที่ดิน น.ส. 3 ก. เลขที่ 1520 แก่จำเลยที่ 14 วันที่ 17 กันยายน 2535 จดทะเบียนจำนองที่ดิน น.ส. 3 ก. เลขที่ 1306 แก่จำเลยที่ 13 วันที่ 20 ตุลาคม 2538 จำเลยที่ 2 จดทะเบียนให้จำเลยที่ 19 มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 15333 และ 15334 โดยไม่มีค่าตอบแทน วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2536 จำเลยที่ 2 จดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 3720 ให้จำเลยที่ 9 โดยไม่มีค่าตอบแทน วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2536 จำเลยที่ 3 จดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 3659 และ 3719 ให้จำเลยที่ 8 โดยไม่มีค่าตอบแทน เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2536 จำเลยที่ 1 จดทะเบียนให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 6284 ถึง 6288 แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยเสน่หาและไม่มีค่าตอบแทนมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ข้อแรกว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่ดินพิพาทตามฟ้องหรือไม่ เห็นว่า ก่อนคดีนี้นาง น. เป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 20 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่อศาลชั้นต้นเป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 16824/2534 โดยกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 20 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความตกลงขายที่ดินส่วนที่เป็นสินสมรสของ น. โดยไม่ได้รับความยินยอมหรือให้สัตยาบันจากนาง น. เป็นการจัดการมรดกโดยมิชอบ สัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมไม่มีผลผูกพันนาง น. ขอให้เพิกถอนการรังวัดแบ่งแยกที่ดินซึ่งเป็นที่ดินพิพาทในคดีนี้บางส่วนให้กลับมารวมอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 838 และ 1113 ในสภาพเดิมก่อนมีการแบ่งแยกแล้วให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 838 และ 1113 ใส่ชื่อจำเลยที่ 20 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายสดโดยปลอดภาระผูกพันใด ๆ กับขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 9536/2523 ของศาลชั้นต้น ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 9536/2523 ของศาลชั้นต้น และคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3594/2527 ประกอบด้วยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4188/2533 เป็นที่ชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 20 ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 9536/2523 ของศาลชั้นต้นได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้ว สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินอันเป็นสินสมรสได้ระงับไปแล้วด้วยสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 นาง น. จึงไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมได้ ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสซึ่งเป็นของนาง น. สองในสามส่วนอันเป็นส่วนหนึ่งของสินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 มาตรา 1462 วรรคสอง (เดิม) นายสดมีอำนาจจำหน่ายสินบริคณห์ได้แต่ผู้เดียวโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากนาง น. ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 มาตรา 1468 (เดิม) และมาตรา 1473 วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะนั้น นายสดย่อมมีอำนาจทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินบริคณห์รวมทั้งในส่วนที่เป็นสินสมรสของนาง น. ให้แก่ผู้อื่นได้โดยลำพัง โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากนาง น. ก่อน จำเลยที่ 1 มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 20 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายสดคู่สัญญาให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่นายสดทำไว้ก่อนตายได้ การที่จำเลยที่ 20 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายสดทำสัญญาประนีประนอมยอมความโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกในการจัดการทรัพย์สินของนายสดเพื่อชำระหนี้ที่นายสดมีความรับผิดอยู่ก่อนตาย และเพื่อนำทรัพย์สินที่เหลือมาจัดการแบ่งปันให้แก่ทายาทของนายสดตามกฎหมาย อันเป็นการจัดการทรัพย์มรดกในฐานะผู้จัดการมรดกของนายสดตามหน้าที่ที่จำเป็นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 หาใช่เป็นการกระทำนอกเหนือหน้าที่ของผู้จัดการมรดกไม่ ตามสำเนาคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 623/2546 ดังนี้ คำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันนาง น. รวมทั้งโจทก์ซึ่งเป็นผู้สืบสิทธิในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของนาง น. จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 20 ซึ่งเป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาในคดีนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่ง โจทก์จะโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ยุติไปแล้วและผูกพันโจทก์เพื่อให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นว่านายสดไม่ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกับจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 20 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายสดทำสัญญาประนีประนอมยอมความโอนขายที่ดินพิพาทส่วนของนาง น. โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่ คดีนี้จึงต้องฟังว่านายสดทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกับจำเลยที่ 1 จริง และจำเลยที่ 20 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายสดทำสัญญาประนีประนอมยอมความและโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 โดยชอบ จำเลยที่ 1 จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย นาง น. ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทอีกต่อไป ดังนั้น จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ได้ และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 มีสิทธิจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและจำนองที่ดินพิพาทดังกล่าว โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่ดินพิพาทตามฟ้อง สำหรับคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3140/2538 ที่วินิจฉัยว่าสัญญาประนีประนอมความและคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 9536/2523 ของศาลชั้นต้นไม่มีผลผูกพันนาง น. ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทสองในสามส่วนและอีกหนึ่งในห้าส่วนของหนึ่งในสามส่วน เป็นเพียงการรับรองสิทธิในที่ดินพิพาทของนาง น. ที่มีต่อทายาทและจำเลยที่ 20 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายสดเท่านั้น ซึ่งหากจำเลยที่ 20 จัดการทรัพย์มรดกของนายสดก่อให้เกิดความเสียหายแก่ นาง น. และทายาทอย่างไร โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของนาง น. ชอบที่จะว่ากล่าวเอาแก่จำเลยที่ 20 เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ข้อต่อไปว่า ต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในชั้นที่ศาลอุทธรณ์ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่แก่โจทก์หรือไม่ เห็นว่า โจทก์อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นทั้งสองคำสั่งที่ไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนคำร้องขอถอนคำฟ้องในส่วนของจำเลยที่ 10 ถึงที่ 12 ที่ 14 ที่ 18 ที่ 21 และที่ 22 กับคำสั่งที่อนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องสำหรับจำเลยดังกล่าว และอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นตามอุทธรณ์ฉบับลงวันที่ 30 มีนาคม 2550 ด้วย แต่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์เฉพาะปัญหาตามอุทธรณ์คำสั่ง โดยพิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนคำร้องขอถอนคำฟ้องในส่วนของจำเลยที่ 10 ถึงที่ 12 ที่ 14 ที่ 18 ที่ 21 และที่ 22 และยกคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี โดยมิได้วินิจฉัยประเด็นแห่งอุทธรณ์ตามอุทธรณ์คำพิพากษาของโจทก์ ดังนั้น อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพียง 200 บาท ตามตาราง 1 (2) (ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (เดิม) ซึ่งโจทก์ได้เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ตามอุทธรณ์คำสั่งมาครบถ้วนแล้ว จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ตามอุทธรณ์คำพิพากษาฉบับลงวันที่ 30 มีนาคม 2550 ทั้งหมด 200,100 บาท แก่โจทก์ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม โดยมิได้สั่งคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ตามอุทธรณ์คำพิพากษาแก่โจทก์นั้น ศาลฎีกาเห็นสมควรสั่งให้ถูกต้อง ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังขึ้น

พิพากษายืน คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ตามอุทธรณ์คำพิพากษาฉบับลงวันที่ 30 มีนาคม 2550 จำนวน 200,100 บาท แก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ




คดีมรดก ร้องศาลตั้งผู้จัดการมรดก

พินัยกรรมของผู้ตายที่ห้ามโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตกเป็นโมฆะ, ข้อห้ามในพินัยกรรมเป็นโมฆะ, ผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม
ถอนผู้จัดการมรดก, การปันมรดกเสร็จสิ้นแล้ว, การจัดการศาลจ้าวไม่เป็นมรดก, ศาลจ้าวใต้เซียฮุดโจ๊วเป็นกุศลสถาน
ที่ดินของรัฐ มรดกของผู้ตาย, ที่ดินนิคมสหกรณ์, สิทธิทำประโยชน์ในที่ดิน, สิทธิเหนือพื้นดิน, การเพิกถอนโฉนดที่ดิน,
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทในกองมรดก, การเพิกถอนนิติกรรมในทรัพย์มรดก, การขายทรัพย์มรดกเพื่อชำระหนี้, ผู้จัดการมรดกกับสิทธิและหน้าที่
มรดกตกทอด, การเพิกถอนการสละมรดก, อายุความในการฟ้องคดีมรดก, สิทธิเรียกร้องแทนลูกหนี้
หนังสือแต่งตั้งผู้รับโอนประโยชน์ในเงินทุนเรือนหุ้นของสหกรณ์ไม่ถือเป็นพินัยกรรม, เงินสงเคราะห์สมาชิกสหกรณ์, สิทธิผู้รับโอนประโยชน์ในเงินสงเคราะห์
นิติกรรมซื้อขายที่ดินซึ่งเป็นคนต่างด้าว, คดีมรดกที่ดินของคนต่างด้าว, อายุความคดีมรดก, การยักยอกทรัพย์มรดก
พินัยกรรมยกมรดกให้พี่น้องร่วมบิดามารดา, สิทธิของผู้สืบสันดานในการรับมรดกแทนที่, การฟ้องเรียกค่าเช่าจากทรัพย์สินมรดก
การกำจัดทายาทมิให้รับมรดก, สิทธิรับมรดกของผู้สืบสันดานเมื่อทายาทถูกกำจัด, การเพิกถอนนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์มรดก
เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดก, การฟ้องแบ่งมรดกของผู้ตาย, การยกอายุความในคดีมรดก, สินสมรสและสินส่วนตัวในกองมรดก
ผู้จัดการมรดกและการโอนทรัพย์มรดก, พินัยกรรมด้วยวาจา ป.พ.พ. มาตรา 1663, การครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาท
สิทธิทายาทในมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง, ทายาทตายก่อนแบ่งมรดก, รับมรดกแทนที่ มาตรา 1639,
สิทธิการฟ้องขอแบ่งมรดกของทายาท, การเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินมรดก, สินสมรสหลังคู่สมรสเสียชีวิต
สัญญาประกันชีวิต, สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก, ผู้ทำประกันชีวิตและผู้รับผลประโยชน์ตายพร้อมกัน
การจัดการหนี้สินในกองมรดก, สิทธิของเจ้าหนี้กองมรดก, ที่ดินมรดกและการบังคับคดี
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดก
ผู้จัดการมรดกปฏิบัติผิดหน้าที่-ทายาทผู้มีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกได้
ผู้จัดการมรดกร่วมถึงแก่ความตายต้องทำอย่างไร, ฟ้องซ้อน คืออะไร, แต่งตั้งผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่เพียงทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป
ทายาทฟ้องทายาทให้แบ่งทรัพย์มรดก
คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกปิดบังทรัพย์มรดกมีผลอย่างไร
ทายาทมิได้ฟ้องเรียกร้องมรดกภายใน 1 ปี
ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ผู้มีส่วนได้เสีย
สามีไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้จัดการมรดกได้
ทรัพย์มรดกยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาททุกคน-การจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้น
บุคคลผู้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มีผลอย่างไร?
ฟ้องผู้จัดการมรดกนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงเกินห้าปีขาดอายุความ
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลถูกเพิกถอนได้
อายุความคดีมรดก เจ้าหนี้ฟ้องคดีมรดกเกินหนึ่งปี
คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก
บุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย
บุตรนอกกฎหมายซึ่งผู้ตายรับรองแล้วเป็นผู้สืบสันดาน
มารดาขายที่ดินซึ่งผู้เยาว์มีส่วนแบ่งไม่ต้องขอศาล
นายอำเภอคือผู้มีอำนาจจัดทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
ความรับผิดของผู้จัดการมดกภายหลังการเสียชีวิต
ผู้จัดการมรดกร่วมนำทรัพย์มรดกหาประโยชน์แก่ตน
ผู้สืบสันดาน คือใคร? ต่างกับทายาท อย่างไร?
คู่สมรสและการแบ่งมรดกของคู่สมรส | การสมรสเป็นโมฆะ
อายุความคดีมรดก และอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก
เหตุอันจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก
การปันมรดกเสร็จสิ้นลงแล้วการถอนผู้จัดการมรดกย่อมพ้นกำหนดเวลา
สามีมิได้จดทะเบียนสมรสไม่ถือเป็นทายาทของภริยาผู้ตาย
อำนาจหน้าที่จัดการศพพระภิกษุผู้มรณภาพไม่มีทรัพย์สิน
สามีไม่จดทะเบียนสมรสขอถอนผู้จัดการมรดก มีกรรมสิทธิ์รวม
ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะทำหน้าที่ผู้จัดการมรดก
อำนาจฟ้องขอแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตาย
ทายาททุกคนมอบหมายให้ครอบครองที่ดินแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วม
ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามมาตรา 1300
ทายาทโดยธรรมย่อมมีสิทธิเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์มรดกตามส่วนที่จะพึงได้
สิทธิรับมรดกที่ยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาห้ามยกเป็นข้อต่อสู้ผู้รับโอนโดยสุจริต
การจัดการมรดกและผู้จัดการมรดก, สินสมรสและสินส่วนตัวในคดีมรดก, อายุความคดีมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733
ผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก
ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์มรดกเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความแล้ว
ผู้คัดค้านไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการขอจัดการมรดก
ทายาทมีส่วนเท่ากันออกค่าใช้จ่ายจัดการทำศพ
ความเหมาะสมในการเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น
สิทธิของบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายในการรับมรดกของบุตรนอกกฎหมาย
หนังสือสัญญาแบ่งมรดกตกเป็นโมฆะหรือไม่?
อำนาจและหน้าที่ในการจัดการทำศพและลำดับก่อนหลัง
พินัยกรรมมีเงื่อนไขบังคับก่อน
ผู้จัดการมรดกฟ้องแทนทายาทโดยธรรมอื่น
คู่สมรสที่จดทะเบียนหย่าแล้วเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่
การสละมรดกมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายจึงขาดความเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
แม้กองมรดกมีผู้จัดการมรดกแล้วทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้อง
พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองไม่ได้ทำต่อหน้าพยานตกเป็นโมฆะ
บุตรนอกสมรสและบิดานอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดกต่อกันอย่างไร
ผู้จัดการมรดก | ทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดกเรียกให้เจ้าของรวมส่งมอบโฉนดที่ดิน
การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลงอายุความ 5 ปียังไม่เริ่มนับ
สิทธิรับมรดกก่อนหลัง
คำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ
อายุความฟ้องคดีแพ่งอันเนื่องจากคดียักยอกทรัพย์มรดก
เมื่อแบ่งมรดกเสร็จแล้วความเป็นทายาทสิ้นสุดลง-อายุความมรดก
การแบ่งมรดกที่ดินมือเปล่าไม่มีเอกสารสิทธิ
คดีมรดกต้องเป็นคดีที่ทายาทด้วยกันพิพาทกันเรื่องสิทธิในส่วนแบ่งมรดก
ขอให้ศาลสั่งถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ความรับผิดของผู้ตาย
แสดงบัญชีเครือญาติเป็นเท็จปิดบังจำนวนทายาท
อายุความคดีมรดกสะดุดหยุดลง การแบ่งทรัพย์มรดกไม่ชอบ
ไม่มีกฎหมายบังคับให้ฟ้องเอาทรัพย์มรดกจากทายาทอื่นที่ครอบครองแทนใน 1 ปี
สัญญาว่าจ้างติดตามทรัพย์กองมรดกเรียกส่วนแบ่งเป็นโมฆะ
คดีฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมปลอมและถูกกำจัดมิให้รับมรดก
โจทก์ฟ้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปี
ผู้จัดการมรดกแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันฟังคำสั่งศาล
คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกอายุความ 5 ปี
การแจ้งการเกิดของเด็กในทะเบียนคนเกิดเองว่าเป็นบุตรของตน
ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
การที่จะเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนทายาทอื่น
พินัยกรรมเอกสารลับทำผิดแบบเป็นโมฆะ
การจัดการมรดกไม่ชอบไม่อาจถือว่าการจัดการมรดกสิ้นลงแล้ว