ReadyPlanet.com
dot
สำนักงานทนายความ
dot
bulletทนายความฟ้องหย่า
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
dot
พระราชบัญญัติ
dot
bulletพระราชบัญญัติ
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
dot
บทความเฉพาะเรื่อง
dot
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletสัญญายอมความ
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletกรมบังคับคดี
dot
ลิงค์ต่าง ๆ
dot
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletอำนาจปกครองบุตร




ทรัพย์มรดกยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาททุกคน-การจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้น

 ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3)  peesirilaw  หรือ (4) @peesirilaw   (5)   @leenont1

-Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย  QR CODE

ทรัพย์มรดกยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาททุกคน-การจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้น 

เมื่อผู้จัดการมรดกยังมิได้ดำเนินการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาททุกคนตามสิทธิของทายาทตามที่กฎหมายกำหนดไว้ต้องถือว่าการจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้น  ผู้รับโอนที่ดินมาจากผู้จัดการมรดกครอบครองที่ดินแทนทายาทอื่นทั้งหมด โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งที่ดินได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11628/2557

จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกมีหน้าที่ต้องแบ่งที่ดินมรดกให้แก่โจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรม แต่จำเลยที่ 1 แบ่งที่ดินให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยมิได้แบ่งที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสี่ จำเลยที่ 1 จึงกระทำผิดหน้าที่ในการจัดการทรัพย์มรดก โดยปราศจากความยินยอมของทายาททุกคนจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ทั้งสี่ เมื่อจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกยังมิได้ดำเนินการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาททุกคนตามสิทธิของทายาทตามที่กฎหมายกำหนดไว้ต้องถือว่าการจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้น การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับโอนที่ดินพิพาทดังกล่าวมาจากจำเลยที่ 1 จึงถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทอื่นทั้งหมด โจทก์ทั้งสี่ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งที่ดินพิพาทได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1748 วรรคหนึ่ง กรณีมิอาจนำอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคท้ายมาใช้บังคับได้ เพราะมาตราดังกล่าวจะใช้บังคับต่อเมื่อการจัดการทรัพย์มรดกเสร็จสิ้นแล้วเท่านั้น

โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 18944 ตำบลบางขุนเทียน (วัดราชโอรส) อำเภอจอมทอง กรุงเทพมหานคร ฉบับลงวันที่ 10 เมษายน 2544 ระหว่างจำเลยทั้งสาม เพิกถอนสัญญาให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 3032, 3033 และ 66486 ตำบลบางขุนเทียน อำเภอจอมทอง กรุงเทพมหานคร ฉบับลงวันที่ 10 เมษายน 2544 ระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 เพิกถอนสัญญาให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 3028, 3029, 3030, 3031 และ66487 ตำบลบางขุนเทียน อำเภอจอมทอง กรุงเทพมหานคร ฉบับลงวันที่ 10 เมษายน 2544 ระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 3 เพิกถอนคำขอโอนมรดกที่ดินโฉนดเลขที่ 18944 ตำบลบางขุนเทียน (วัดราชโอรส) อำเภอจอมทอง กรุงเทพมหานคร ฉบับลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2524 กลับคืนเป็นทรัพย์มรดกของนายนารถ เสียงสืบชาติ เพิกถอนคำขอโอนมรดกที่ดินเฉพาะส่วนโฉนดเลขที่ 1943 ตำบลบางขุนเทียน อำเภอบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ฉบับลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2524 กลับคืนเป็นทรัพย์มรดกของนายนารถ เสียงสืบชาติ เพิกถอนสัญญาให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 3782 ตำบลบางบอน อำเภอบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ฉบับลงวันที่ 24 ธันวาคม 2524 ระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 3 เพิกถอนสัญญาให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 60208 ตำบลบางบอน อำเภอบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ฉบับลงวันที่ 15 ธันวาคม 2526 ระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 แบ่งปันที่ดินมรดกโฉนดเลขที่ 18944 ตำบลบางขุนเทียน (วัดราชโอรส) อำเภอจอมทอง กรุงเทพมหานคร ให้แก่โจทก์ทั้งสี่ 1 ใน 8 ส่วน เป็นเนื้อที่ 140 ตารางวา แบ่งปันที่ดินมรดกโฉนดเลขที่ 3782 ตำบลบางบอน อำเภอบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ให้แก่โจทก์ทั้งสี่ 1 ใน 8 ส่วน เป็นเนื้อที่ 1,572 ตารางวา แบ่งปันที่ดินโฉนดเลขที่ 66486 และ 66487 ตำบลบางปะทุน อำเภอบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ให้แก่โจทก์ทั้งสี่ 1 ใน 8 ส่วนเป็นเนื้อที่ 16.5 ตารางวา หากจำเลยที่ 1 ไม่อาจแบ่งปันที่ดินทรัพย์มรดกให้โจทก์ทั้งสี่นำที่ดินทรัพย์มรดกทั้งสามแปลงที่ยังคงเหลืออยู่ออกขายทอดตลาด แล้วนำเงินไปแบ่งปันให้โจทก์ทั้งสี่ 1 ใน 8 ส่วน

จำเลยทั้งสามให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนางนารถ แบ่งปันที่ดินมรดกโฉนดเลขที่ 60207 ตำบลบางขุนเทียน อำเภอบางบอน กรุงเทพมหานคร ให้แก่โจทก์ทั้งสี่ 1 ใน 8 ส่วน หากจำเลยที่ 1 ไม่อาจแบ่งปันที่ดินทรัพย์มรดกให้โจทก์ทั้งสี่ได้ ให้นำที่ดินทรัพย์มรดกดังกล่าวออกขายทอดตลาด แล้วนำเงินไปแบ่งปันให้โจทก์ทั้งสี่ 1 ใน 8 ส่วน คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยกให้ยกฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับ

โจทก์ทั้งสี่อุทธรณ์

ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายนารถ เสียงสืบชาติ ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาต

ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้เพิกถอนสัญญาให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 18944 ตำบลบางขุนเทียน (วัดราชโอรส) อำเภอจอมทอง กรุงเทพมหานคร ฉบับลงวันที่ 10 เมษายน 2544 ระหว่างจำเลยทั้งสาม เพิกถอนคำขอโอนมรดกที่ดินโฉนดเลขที่ 18944 ฉบับลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2524 เพิกถอนคำขอโอนมรดกที่ดินเฉพาะส่วนโฉนดเลขที่ 1943 ฉบับลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2524 ของจำเลยที่ 1 เพิกถอนสัญญาให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 3032, 3033 และ 66486 ฉบับลงวันที่ 10 เมษายน 2544 ระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 เพิกถอนสัญญาให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 3028, 3029, 3030, 3031 ฉบับลงวันที่ 10 เมษายน 2544 ระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 3 ให้จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายนารถ เสียงสืบชาติ แบ่งปันที่ดินโฉนดเลขที่ 18944, 3027, 3028, 3029, 3030, 3031, 3032, 3033 และโฉนดเลขที่ 1943, 66486 และ 66487 ให้แก่โจทก์ทั้งสี่ 1 ใน 8 ส่วน หากจำเลยที่ 3 ไม่อาจแบ่งปันที่ดินทรัพย์มรดกให้โจทก์ทั้งสี่ได้ ให้นำที่ดินทรัพย์มรดกดังกล่าวออกขายทอดตลาด แล้วนำเงินไปแบ่งปันให้โจทก์ทั้งสี่ 1 ใน 8 ส่วน ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

โจทก์ทั้งสี่ฎีกา ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 3 และโจทก์ที่ 4 ขอถอนฎีกา จำเลยทั้งสามไม่คัดค้าน ศาลฎีกาอนุญาตให้โจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 3 และโจทก์ที่ 4 ถอนฎีกาได้ 

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติได้ว่า โจทก์ทั้งสี่เป็นบุตรของนายนิพนธ์กับนางอารี นายนิพนธ์เป็นบุตรของนายนารถกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายนารถ มีบุตรด้วยกัน 3 คน คือ นายนิพนธ์บิดาโจทก์ทั้งสี่ จำเลยที่ 2 และ จำเลยที่ 3 เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2515 นายนิพนธ์ถึงแก่ความตาย ต่อมาวันที่ 26 ธันวาคม 2522 นายนารถถึงแก่ความตาย ที่ดินโฉนดเลขที่ 3782 เป็นมรดกของนายนารถ จำเลยที่ 1 ได้แบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 3782 เป็นแปลงย่อยจากแปลงเดิมอีก 2 แปลง คือที่ดินโฉนดเลขที่ 60207 และ 60208 วันที่ 24 ธันวาคม 2524 จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายนารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 3782 ส่วนที่เหลือให้แก่จำเลยที่ 3 ในฐานะทายาทโดยธรรม ต่อมาวันที่ 15 ธันวาคม 2526 จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 60208 ที่แบ่งแยกออกไปให้แก่จำเลยที่ 2 ในฐานะทายาทโดยธรรม 

คงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ที่ 1 เพียงประการเดียวว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 60208 และโฉนดเลขที่ 3782 ขาดอายุความฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคท้าย หรือไม่ เห็นว่า จำเลยทั้งสามให้การยอมรับว่าที่ดินตามโฉนดเลขที่ 3782 เป็นที่ดินมรดก จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกก็ต้องมีหน้าที่แบ่งที่ดินมรดกให้แก่โจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมด้วย แต่จำเลยที่ 1 แบ่งที่ดินให้เพียงจำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยมิได้แบ่งที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรม จำเลยที่ 1 จึงกระทำผิดหน้าที่ในการจัดการทรัพย์มรดก ซึ่งโจทก์ทั้งสี่ก็ได้บรรยายฟ้องไว้แล้วว่า เมื่อศาลแพ่งมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของนายนารถผู้ตายแล้วจำเลยที่ 1 ได้จัดการแบ่งทรัพย์มรดกของผู้ตายไปโดยไม่ชอบ ได้กระทำผิดหน้าที่ของผู้จัดการมรดกอย่างร้ายแรงอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกและไม่ยอมแบ่งทรัพย์มรดกของผู้ตายให้แก่โจทก์ทั้งสี่ ซึ่งศาลอุทธรณ์ก็ได้วินิจฉัยไว้แล้วว่าการครอบครองที่ดินมรดกทั้งหมดของจำเลยที่ 1 เป็นการครอบครองเพื่อประโยชน์แก่ทายาททั้งหมด ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินทรัพย์มรดกให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ในเวลาต่อมาจึงต้องถือว่าเป็นการกระทำในฐานะผู้จัดการมรดก เมื่อกระทำไปโดยปราศจากความยินยอมของทายาททุกคนจึงหามีผลผูกพันโจทก์ทั้งสี่ไม่ และเมื่อจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกยังมิได้ดำเนินการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาททุกคนตามสิทธิของทายาทตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ต้องถือว่าการจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้น ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการจัดการทรัพย์มรดกไม่เสร็จสิ้นแล้ว แต่ศาลอุทธรณ์กลับไปวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 3782 ให้แก่จำเลยที่ 3 เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2524 และจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 60208 ให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2526 โจทก์ทั้งสี่ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสามต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2544 เมื่อนับตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2522 ที่นายนารถเจ้ามรดกถึงแก่ความตายแล้วเกินกว่า 10 ปี คดีระหว่างโจทก์ทั้งสี่กับจำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคท้าย นั้น เห็นว่า เมื่อจำเลยที่ 1 จัดการทรัพย์มรดกผิดหน้าที่โดยมิได้แบ่งปันให้โจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิรับมรดกเป็นการจัดการทรัพย์มรดกโดยมิชอบ การจัดการทรัพย์มรดกจึงต้องถือว่ายังไม่เสร็จสิ้น เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับโอนที่ดินพิพาทดังกล่าวมาจากจำเลยที่ 1 ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ครอบครองที่ดินพิพาทดังกล่าวแทนทายาทอื่นทั้งหมด โจทก์ทั้งสี่จึงมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งที่ดินพิพาทได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 วรรคหนึ่ง กรณีจึงมิอาจนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคท้าย มาใช้บังคับได้ เพราะมาตราดังกล่าวจะใช้บังคับต่อเมื่อการจัดการทรัพย์มรดกเสร็จสิ้นแล้วเท่านั้น ฎีกาโจทก์ที่ 1 ฟังขึ้น

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้เพิกถอนสัญญาให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 3782 ฉบับลงวันที่ 24 ธันวาคม 2524 ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 เพิกถอนสัญญาให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 60208 ฉบับลงวันที่ 15 ธันวาคม 2526 ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายนารถ เสียงสืบชาติ จัดการแบ่งทรัพย์มรดกในที่ดินโฉนดเลขที่ 3782 เนื้อที่ 31 ไร่ 1 งาน 77 ตารางวา (เป็นที่ดินโฉนดแปลงคงเดิม) ก่อนที่จำเลยที่ 1 ได้ทำการแบ่งแยกออกโฉนดในนามเดิมเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2524 ให้แก่โจทก์ทั้งสี่จำนวน 1 ใน 8 ส่วน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754

ข้อมูลจาก: ระบบสืบค้นคำพิพากษา คำสั่งคำร้องและคำวินิจฉัยศาลฎีกา


 




คดีมรดก ร้องศาลตั้งผู้จัดการมรดก

ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด
บุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกปฏิบัติผิดหน้าที่-ทายาทผู้มีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกได้
คู่สมรสและการแบ่งมรดกของคู่สมรส | การสมรสเป็นโมฆะ
อายุความคดีมรดก และอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก
ผู้สืบสันดาน คือใคร? ต่างกับทายาท อย่างไร?
ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์มรดกเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความแล้ว
สามีมิได้จดทะเบียนสมรสไม่ถือเป็นทายาทของภริยาผู้ตาย
ไม่มีกฎหมายบังคับให้ฟ้องเอาทรัพย์มรดกจากทายาทอื่นที่ครอบครองแทนใน 1 ปี
อำนาจฟ้องขอแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตาย
ฟ้องผู้จัดการมรดกนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงเกินห้าปีขาดอายุความ
แม้กองมรดกมีผู้จัดการมรดกแล้วทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้อง
คำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ
คดีมรดกต้องเป็นคดีที่ทายาทด้วยกันพิพาทกันเรื่องสิทธิในส่วนแบ่งมรดก
ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น
ทายาททุกคนมอบหมายให้ครอบครองที่ดินแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วม
อายุความคดีมรดก เจ้าหนี้ฟ้องคดีมรดกเกินหนึ่งปี
การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลงอายุความ 5 ปียังไม่เริ่มนับ
อายุความคดีมรดกสะดุดหยุดลง การแบ่งทรัพย์มรดกไม่ชอบ
อายุความฟ้องคดีแพ่งอันเนื่องจากคดียักยอกทรัพย์มรดก
สามีไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้จัดการมรดกได้
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลถูกเพิกถอนได้
สิทธิของบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายในการรับมรดกของบุตรนอกกฎหมาย
บุตรนอกกฎหมายซึ่งผู้ตายรับรองแล้วเป็นผู้สืบสันดาน
ผู้จัดการมรดกเรียกให้เจ้าของรวมส่งมอบโฉนดที่ดิน
การปันมรดกเสร็จสิ้นลงแล้วการถอนผู้จัดการมรดกย่อมพ้นกำหนดเวลา
ผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก
เหตุอันจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก
มารดาขายที่ดินซึ่งผู้เยาว์มีส่วนแบ่งไม่ต้องขอศาล
พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองไม่ได้ทำต่อหน้าพยานตกเป็นโมฆะ
ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามมาตรา 1300
แสดงบัญชีเครือญาติเป็นเท็จปิดบังจำนวนทายาท
ความเหมาะสมในการเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มีผลอย่างไร?
การแบ่งมรดกที่ดินมือเปล่าไม่มีเอกสารสิทธิ
ขอให้ศาลสั่งถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก
ทายาทมิได้ฟ้องเรียกร้องมรดกภายใน 1 ปี
พินัยกรรมมีเงื่อนไขบังคับก่อน
คู่สมรสที่จดทะเบียนหย่าแล้วเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่
การสละมรดกมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายจึงขาดความเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
สามีไม่จดทะเบียนสมรสขอถอนผู้จัดการมรดก มีกรรมสิทธิ์รวม
ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ผู้มีส่วนได้เสีย
สิทธิรับมรดกก่อนหลัง
บุตรนอกสมรสและบิดานอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดกต่อกันอย่างไร
ผู้จัดการมรดก | ทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดก | ฟ้องแทนทายาทโดยธรรมอื่น
หนังสือสัญญาแบ่งมรดกตกเป็นโมฆะหรือไม่?
ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะทำหน้าที่ผู้จัดการมรดก
ทายาทมีส่วนเท่ากันออกค่าใช้จ่ายจัดการทำศพ
อำนาจหน้าที่จัดการศพพระภิกษุผู้มรณภาพไม่มีทรัพย์สิน
อำนาจและหน้าที่ในการจัดการทำศพและลำดับก่อนหลัง
คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกอายุความ 5 ปี
เมื่อแบ่งมรดกเสร็จแล้วความเป็นทายาทสิ้นสุดลง-อายุความมรดก
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ความรับผิดของผู้ตาย
นายอำเภอคือผู้มีอำนาจจัดทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
พินัยกรรมเอกสารลับทำผิดแบบเป็นโมฆะ
การที่จะเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนทายาทอื่น