ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




การจัดการมรดกและผู้จัดการมรดก, สินสมรสและสินส่วนตัวในคดีมรดก, อายุความคดีมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733

เพิ่มเพื่อนไลน์แชทกับทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

ปรึกษากฎหมายทางแชทไลน์

การจัดการมรดกและผู้จัดการมรดก, สินสมรสและสินส่วนตัวในคดีมรดก, อายุความคดีมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733

ตามกฎหมายลักษณะผัวเมียมิได้บัญญัติให้ใช้บังคับเฉพาะแก่บุคคลผู้มีสัญชาติไทย

ศาลฎีกาวินิจฉัยกรณีการฟ้องเพิกถอนนิติกรรมโอนมรดกที่ดิน 9 แปลง

ศาลฎีกาตัดสินว่า การเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินโดยโจทก์ซึ่งเป็นทายาทของผู้ตายไม่ขาดอายุความ เนื่องจากเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก โดยทรัพย์สินส่วนหนึ่งถูกแบ่งเป็นมรดกตกทอดให้แก่ทายาทและผู้สืบสันดานตามกฎหมาย ทั้งนี้ศาลพิจารณาว่าการโอนที่ดินบางส่วนโดยไม่ได้รับความยินยอมของทายาทถือเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำถามที่ 1

คำถาม: การฟ้องเพิกถอนนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินในกรณีนี้มีอายุความเท่าใด และศาลชั้นต้นมีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับประเด็นนี้?

คำตอบ: การฟ้องเพิกถอนนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินในกรณีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก ซึ่งมีอายุความ 5 ปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1733 วรรคสอง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ และประเด็นนี้จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

คำถามที่ 2

คำถาม: ศาลฎีกามีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับการสมรสระหว่างนายซิ้มเหงียนกับนางฟ้า และผลต่อการแบ่งมรดก?

คำตอบ: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการสมรสระหว่างนายซิ้มเหงียนกับนางฟ้าเป็นการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมายตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย แม้ทั้งคู่จะไม่ได้จดทะเบียนสมรส แต่ถือว่ามีผลผูกพันตามกฎหมาย ทรัพย์มรดกของนายจวงซึ่งเป็นบุตรของทั้งคู่จึงตกแก่ทายาทโดยธรรม รวมถึงนายซิ้มเหงียน และเมื่อนายซิ้มเหงียนถึงแก่ความตาย มรดกส่วนของเขาก็ตกแก่ผู้สืบสันดานต่อไปตามกฎหมาย

โจทก์(เป็นบุตร)เป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของนายซิ้ม(บิดาของโจทก์และบิดาของนายจวง) ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 (เป็นบุตรของนายจวง) ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของนายจวง ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของนายจวง(อ้างว่าเป็นสินสมรสของนายซิ้ม) อันเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก มีอายุความห้าปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง ซึ่งคดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 11 มิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตามที่ต่อสู้ในคำให้การ ประเด็นที่ว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คดีไม่มีประเด็นเรื่องอายุความในชั้นอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความในชั้นอุทธรณ์จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นในอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การที่โจทก์ฎีกาเรื่องอายุความ และจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 11 แก้ฎีกาเรื่องอายุความเช่นกัน จึงเป็นฎีกาและคำแก้ฎีกาที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 252

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1028/2564

คดีนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์เป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของ ซ. ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ จ. ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งเก้าแปลงที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 โอนให้แก่จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ถึงที่ 11 เป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก มีอายุความห้าปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 11 มิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตามที่ต่อสู้ในคำให้การ ประเด็นที่ว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คดีไม่มีประเด็นเรื่องอายุความในชั้นอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสี่ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นในอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ฎีกาเรื่องอายุความ และจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 11 แก้ฎีกาเรื่องอายุความเช่นกัน จึงเป็นฎีกาและคำแก้ฎีกาที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 252

ซ. กับ ฟ. เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย ซึ่งมิได้บัญญัติให้ใช้บังคับเฉพาะแก่บุคคลผู้มีสัญชาติไทย กฎหมายลักษณะผัวเมียมีผลใช้บังคับแก่บุคคลทั่วไปโดยไม่จำกัดสัญชาติ และตาม พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477 มาตรา 4 (1) บัญญัติว่า “บทบัญญัติแห่งบรรพนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการสมรสซึ่งได้มีอยู่ก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายบรรพนี้ และทั้งสัมพันธ์ในครอบครัวอันเกิดแต่การสมรสนั้น ๆ” ซึ่งมีความหมายว่าการสมรสที่สมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมายลักษณะผัวเมียอยู่อย่างไร ก็ยังคงสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมายอยู่อย่างนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 พุทธศักราช 2479 ไม่กระทบกระเทือนถึงการสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมียซึ่งคู่สมรสไม่จำต้องจดทะเบียนสมรส

ซ. เป็นบิดาชอบด้วยกฎหมายของ จ. เมื่อ จ. ถึงแก่ความตาย ทรัพย์มรดกของ จ. ส่วนหนึ่งย่อมตกได้แก่ ซ. ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรม แม้ ซ. ไม่ได้เรียกร้องก็ไม่มีผลทำให้เสียสิทธิในมรดกส่วนของตนแต่อย่างใด เพราะไม่ปรากฏว่า ซ. แสดงเจตนาสละมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1612 แต่ในระหว่างที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังมิได้จัดการทรัพย์มรดกของ จ. ซ. ถึงแก่ความตายเสียก่อน โจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่งของ ซ. ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกของ จ. ที่ตกได้แก่ ซ. ส่วนหนึ่ง

เมื่อ จ. ถึงแก่ความตาย การสมรสระหว่าง จ. กับ ค. ย่อมสิ้นสุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1501 การคิดส่วนแบ่งทรัพย์สินระหว่าง จ. กับ. ค. มีผลตั้งแต่การสมรสสิ้นไปด้วยเหตุความตาย และการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาให้อยู่ในบังคับของบทบัญญัติว่าด้วยการหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1625 ที่ดินพิพาททั้งเก้าแปลงจึงต้องแบ่งเป็นมรดกของ จ. และแบ่งให้ ค. คนละส่วนเท่ากันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1533 ที่ดินพิพาททั้งเก้าแปลงกึ่งหนึ่งส่วนที่เป็นมรดกตกทอดแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 11 ผู้สืบสันดานของ จ. ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ 1 ซ. บิดาของ จ. ทายาทโดยธรรมลำดับที่ 2 มีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร และ ค. คู่สมรสซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตรตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 วรรคหนึ่ง, 1629 (1) (2), 1630 วรรคสอง และ 1635 (1) แต่ ซ. ถึงแก่ความตายก่อนที่จะมีการจัดการมรดกของ จ. มรดกในส่วนของ ซ. จึงตกได้แก่ผู้สืบสันดานของ ซ. ทั้งเก้าคน เมื่อ จ. ถึงแก่ความตายไปก่อน ผู้สืบสันดานของ จ. คือ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 11 มีสิทธิรับมรดกแทนที่ จ. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1639 ส่วน ย. ผู้สืบสันดานคนหนึ่งของ ซ. ที่ถึงแก่ความตายไปแล้วนั้นแม้ไม่ปรากฏว่า ย. ถึงแก่ความตายก่อนหรือหลัง ซ. ผู้สืบสันดานของ ย. ทั้งหกคนย่อมมีสิทธิรับมรดกแทนที่หรือสืบมรดกของ ย. แล้วแต่กรณี

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1028/2564,การเพิกถอนนิติกรรมโอนมรดก,ข้อพิพาทเรื่องทรัพย์สินมรดก,สิทธิของทายาทโดยธรรม,อายุความคดีมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733,การจัดการมรดกและผู้จัดการมรดก,กฎหมายลักษณะผัวเมียและการสมรสก่อนปี 2477,การฟ้องขอแบ่งมรดกตามกฎหมาย,สินสมรสและสินส่วนตัวในคดีมรดก,บทบัญญัติว่าด้วยการสมรสและสิทธิในมรดก,

 

 

โจทก์ฟ้องขอให้มีคำสั่งเพิกถอนนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับจำเลยทั้งสิบเอ็ดให้กลับเป็นของนายจวง หากไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ให้ถอนจำเลยที่ 1 และที่ 2 ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของนายจวง และตั้งให้โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของนายจวงแทน

จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 11 ให้การขอให้ยกฟ้อง

จำเลยที่ 3 ให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลย โดยกำหนดค่าทนายความ 10,000 บาท

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า โจทก์และนายจวงเป็นบุตรของนายซิ้มเหงียนหรือกักหมา กับนางฟ้า มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 9 คน จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 11 เป็นบุตรของนายจวงกับนางคำ จำเลยที่ 3 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2540 นายจวงถึงแก่ความตาย มีทรัพย์มรดกเป็นที่ดิน 9 แปลง คือ โฉนดที่ดินเลขที่ 1307 กรุงเทพมหานคร โฉนดที่ดินเลขที่ 6487 และ 6488 กรุงเทพมหานคร โฉนดที่ดินเลขที่ 26961 กรุงเทพมหานคร (โฉนดที่ดินเลขที่ 41676 กรุงเทพมหานคร) โฉนดที่ดินเลขที่ 41677, 42977, 42978, 42979 และ 42980 กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของนายจวง ตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 8083/2541 ของศาลชั้นต้น ต่อมาวันที่ 13 เมษายน 2545 นายซิ้มเหงียนถึงแก่ความตาย เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2557 โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนจำเลยที่ 1 และที่ 2 ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของนายจวง วันที่ 20 พฤศจิกายน 2557 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายจวงจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 1307, 6487, 6488 และ 26961 (41676) ให้แก่นางคำ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 11 ในวันเดียวกันบุคคลดังกล่าวจดทะเบียนโอนขายที่ดินทั้งสี่แปลงแก่จำเลยที่ 3 และในวันดังกล่าวจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายจวงจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 41677 ให้แก่จำเลยที่ 1 วันที่ 22 มิถุนายน 2558 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายจวงจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 42977 ให้แก่จำเลยที่ 4 ถึงที่ 9 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 42978 ให้แก่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 42979 ให้แก่จำเลยที่ 10 และจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 42980 ให้แก่จำเลยที่ 11 โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้แบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาท แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เพิกเฉย เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2559 ศาลจังหวัดพระโขนงมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของนายซิ้มเหงียนตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1124/2559 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ถอนจำเลยที่ 1 และที่ 2 ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของนายจวง โจทก์ไม่อุทธรณ์ ปัญหานี้จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์และคำแก้ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 11 ข้อแรกมีว่า คดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ เห็นว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์เป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของนายซิ้มเหงียนฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของนายจวง ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งเก้าแปลงที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 โอนให้แก่จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ถึงที่ 11 เป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก มีอายุความห้าปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1733 วรรคสอง คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 11 มิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตามที่ต่อสู้ในคำให้การ ประเด็นที่ว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คดีไม่มีประเด็นเรื่องอายุความในชั้นอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสี่ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นในอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ฎีกาเรื่องอายุความ และจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 11 แก้ฎีกาเรื่องอายุความเช่นกัน จึงเป็นฎีกาและคำแก้ฎีกาที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 252 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

ปัญหาต้องวินิจฉัยตามคำแก้ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 11 ข้อต่อไปมีว่า นายซิ้มเหงียนเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมายของนายจวงหรือไม่ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 11 แก้ฎีกาว่า นายซิ้มเหงียนเป็นคนต่างด้าว ไม่มีสัญชาติไทย อยู่กินฉันสามีภริยากับนางฟ้าก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 พุทธศักราช 2477 ไม่อาจนำกฎหมายลักษณะผัวเมียมาใช้บังคับกับความสัมพันธ์ในครอบครัวโดยการสมรสได้ นายซิ้มเหงียนจึงไม่ใช่บิดาชอบด้วยกฎหมายไม่มีสิทธิได้รับมรดกของนายจวง โจทก์ซึ่งเป็นบุตรของนายซิ้มเหงียนจึงไม่ใช่ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของนายจวงในส่วนที่ตกได้แก่นายซิ้มเหงียน เห็นว่า โจทก์อ้างตนเองเป็นพยานเบิกความว่า โจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของนายซิ้มเหงียน และได้ความจากจำเลยที่ 6 เบิกความตอบทนายโจทก์ถามค้านรับว่านายซิ้มเหงียนเข้ามามีถิ่นที่อยู่ตามทะเบียนคนต่างด้าวตั้งแต่ปี 2465 โดยอยู่กินกับนางฟ้ามีบุตรคือนายจวงเกิดปี 2476 ทั้งในคำแก้ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 11 ยอมรับว่านายซิ้มเหงียนกับนางฟ้าอยู่กินกันก่อนมีการประกาศใช้บังคับบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477 โดยมีบุตรด้วยกันถึง 9 คน แสดงว่านายซิ้มเหงียนกับนางฟ้ามีเจตนาอยู่กินกันฉันสามีภริยา นายซิ้มเหงียนกับนางฟ้าจึงเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย ซึ่งมิได้บัญญัติให้ใช้บังคับเฉพาะแก่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยดังที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 11 ฎีกา กฎหมายลักษณะผัวเมียมีผลใช้บังคับแก่บุคคลทั่วไปโดยไม่จำกัดสัญชาติ และตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477 มาตรา 4 (1) บัญญัติว่า “บทบัญญัติแห่งบรรพนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการสมรสซึ่งได้มีอยู่ก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายบรรพนี้ และทั้งสัมพันธ์ในครอบครัวอันเกิดแต่การสมรสนั้น ๆ” ซึ่งมีความหมายว่าการสมรสที่สมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมายลักษณะผัวเมียอยู่อย่างไร ก็ยังคงสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมายอยู่อย่างนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 พุทธศักราช 2477 ไม่กระทบกระเทือนถึงการสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมียซึ่งคู่สมรสไม่จำต้องจดทะเบียนสมรส ดังนั้น ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่านายซิ้มเหงียนเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมายของนายจวง เมื่อนายจวงถึงแก่ความตาย ทรัพย์มรดกของนายจวงส่วนหนึ่งย่อมตกได้แก่นายซิ้มเหงียนซึ่งเป็นทายาทโดยธรรม แม้นายซิ้มเหงียนไม่ได้เรียกร้องขอแบ่งปันมรดกส่วนของตนจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ไม่มีผลทำให้นายซิ้มเหงียนเสียสิทธิในมรดกส่วนของตนแต่อย่างใด เพราะไม่ปรากฏว่านายซิ้มเหงียนแสดงเจตนาสละมรดกดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612 แต่ในระหว่างที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังมิได้จัดการทรัพย์มรดกของนายจวง นายซิ้มเหงียนถึงแก่ความตายเสียก่อน โจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่งของนายซิ้มเหงียนย่อมมีสิทธิได้รับมรดกของนายจวงที่ตกได้แก่นายซิ้มเหงียนส่วนหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่านายซิ้มเหงียนเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมายของนายจวง ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย คำแก้ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 11 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ข้อสุดท้ายมีว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาททั้งเก้าแปลงตามฟ้องหรือไม่ ปัญหาข้อนี้ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ เมื่อคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว เพื่อให้คดีเสร็จไปโดยเร็ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยก่อน เห็นว่า ที่ดินพิพาททั้งเก้าแปลงตามฟ้องเป็นทรัพย์สินที่นายจวงได้มาระหว่างสมรสกับนางคำ และตามบัญชีเครือญาติที่โจทก์อ้างต่อศาลระบุว่านายจวงจดทะเบียนสมรสกับนางคำ ที่ดินพิพาททั้งเก้าแปลงจึงเป็นสินสมรสระหว่างนายจวงกับนางคำ เมื่อนายจวงถึงแก่ความตาย การสมรสระหว่างนายจวงกับนางคำย่อมสิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1501 การคิดส่วนแบ่งทรัพย์สินระหว่างนายจวงกับนางคำมีผลตั้งแต่การสมรสสิ้นไปด้วยเหตุความตายนั้น และการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาให้อยู่ในบังคับของบทบัญญัติว่าด้วยการหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1625 (1) ที่ดินพิพาททั้งเก้าแปลงจึงต้องแบ่งเป็นมรดกของนายจวงและแบ่งให้นางคำคนละส่วนเท่ากัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1533 ที่ดินพิพาททั้งเก้าแปลงกึ่งหนึ่งส่วนที่เป็นมรดกตกทอดแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 11 ผู้สืบสันดานของนายจวงซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ 1 นายซิ้มเหงียนบิดาของนายจวงทายาทโดยธรรมลำดับที่ 2 มีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร และนางคำคู่สมรสซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 วรรคหนึ่ง, 1629 วรรคหนึ่ง (1) (2) วรรคสอง, 1630 วรรคสอง และ 1635 (1) แต่นายซิ้มเหงียนถึงแก่ความตายก่อนที่จะมีการจัดการมรดกของนายจวง มรดกในส่วนของนายซิ้มเหงียนจึงตกได้แก่ผู้สืบสันดานของนายซิ้มเหงียนทั้งเก้าคน คือ นายจวง นางยิ้น นางพรทิพย์ นางฟอง นายอำนวย นายวัชระ นางศรีประภา นางพรทิศ และโจทก์ เมื่อนายจวงถึงแก่ความตายไปก่อน ผู้สืบสันดานของนายจวงคือ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 11 มีสิทธิรับมรดกแทนที่นายจวงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1639 ส่วนนางยิ้นที่ถึงแก่ความตายไปแล้วนั้น แม้ไม่ปรากฏว่านางยิ้นถึงแก่ความตายก่อนหรือหลังนายซิ้มเหงียน ผู้สืบสันดานของนางยิ้นทั้งหกคน คือ นายสุพร นางทัศณีย์ นางสุภาณี นางสุทธา นายวิษณุ และนางณัชชาตามบัญชีเครือญาติดังกล่าวย่อมมีสิทธิรับมรดกแทนที่หรือสืบมรดกของนางยิ้นแล้วแต่กรณี สรุปแล้วนางคำมีสิทธิในที่ดินพิพาททั้งเก้าแปลง 13 ใน 24 ส่วน จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 11 และนายซิ้มเหงียนมีสิทธิในที่ดินพิพาททั้งเก้าแปลงคนละ 1 ใน 24 ส่วน ส่วนของนายซิ้มเหงียนต้องแบ่งเป็น 9 ส่วน แก่โจทก์และทายาทดังที่วินิจฉัยข้างต้น การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายจวงจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 41677 และ 42978 ให้แก่จำเลยที่ 1 ที่ดินโฉนดเลขที่ 42977 ให้แก่จำเลยที่ 4 ถึงที่ 9 ที่ดินโฉนดเลขที่ 42979 ให้แก่จำเลยที่ 10 และที่ดินโฉนดเลขที่ 42980 ให้แก่จำเลยที่ 11 ซึ่งรวมส่วนของโจทก์และทายาทของนายซิ้มเหงียนโดยไม่ได้รับความยินยอมและไม่มีค่าตอบแทนนั้น เป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นทางเสียเปรียบแก่โจทก์ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน โจทก์ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของนายซิ้มเหงียนมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนของตนและทายาทของนายซิ้มเหงียนจำนวน 1 ใน 24 ส่วน ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 แม้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 11 มีสิทธิในที่ดินพิพาทส่วนของนายจวงส่วนที่จะเพิกถอนรวมอยู่ด้วย 1 ใน 9 ส่วน จากจำนวน 1 ใน 24 ส่วน แต่กรณีไม่อาจเพิกถอนเฉพาะส่วนของโจทก์และทายาทอื่นของนายซิ้มเหงียน 8 ใน 9 ส่วน จากจำนวน 1 ใน 24 ส่วนได้ ต้องเพิกถอนส่วนที่เป็นมรดกของนายซิ้มเหงียนทั้งหมด 1 ใน 24 ส่วน เพื่อให้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกนำไปจัดการแบ่งปันให้แก่ทายาทของนายซิ้มเหงียนตามกฎหมายต่อไป และแม้โจทก์จะมีคำขอให้การเพิกถอนการจดทะเบียนกลับไปเป็นชื่อของนายจวงตามเดิมแต่ความประสงค์แท้จริงของโจทก์ต้องการนำทรัพย์มรดกส่วนนี้ไปแบ่งปันให้แก่ทายาทของนายซิ้มเหงียนและเพื่อมิให้มีปัญหาในชั้นบังคับคดี ศาลฎีกาเห็นสมควรให้โอนใส่ชื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายซิ้มเหงียน ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 1307, 6487, 6488 และ 26961 (41676) เห็นว่า ตามสารบัญจดทะเบียนโฉนดที่ดินระบุว่าเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2557 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายจวงจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 1307, 6487, 6488 และ 26961 (41676) ให้แก่นางคำ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 11 และในวันเดียวกันบุคคลดังกล่าวจดทะเบียนโอนขายที่ดินทั้งสี่แปลงแก่จำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 มิได้รับโอนที่ดินทั้งสี่แปลงดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายจวงตามที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้อง แม้การโอนดังกล่าวเป็นทางเสียเปรียบแก่โจทก์ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน แต่การโอนอันมีค่าตอบแทนซึ่งผู้รับโอนกระทำโดยสุจริตนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 บัญญัติว่า ไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด ท่านว่าจะเรียกให้เพิกถอนทะเบียนไม่ได้ ซึ่งตามคำฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่าจำเลยที่ 3 รับโอนที่ดินโดยไม่สุจริต จึงต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่า จำเลยที่ 3 ผู้รับโอนกระทำโดยสุจริต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6 และทางพิจารณาโจทก์ก็มิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 กระทำโดยไม่สุจริตอย่างไร ข้อเท็จจริงกลับได้ความจากพยานหลักฐานของจำเลยที่ 3 ว่า จำเลยที่ 3 ซื้อที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงดังกล่าวมาในราคาสูงถึง 545,000,000 บาท โดยจดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 ซื้อที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงมาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน จำเลยที่ 3 ย่อมได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติดังกล่าว โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงไม่ได้ ชอบที่จะว่ากล่าวเอาแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 11 ในส่วนของโจทก์และทายาทของนายซิ้มเหงียนจำนวน 1 ใน 24 ส่วน ต่อไป ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์มานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผลบางส่วน ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้นบางส่วน

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนมรดกที่ดินพิพาทโฉนดที่ดินเลขที่ 41677 และ 42978 กรุงเทพมหานคร ระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายจวงกับจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2557 และวันที่ 22 มิถุนายน 2558 ตามลำดับ โฉนดที่ดินเลขที่ 42977 กรุงเทพมหานคร ระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายจวงกับจำเลยที่ 4 ถึงที่ 9 เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2558 โฉนดที่ดินเลขที่ 42979 กรุงเทพมหานคร ระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายจวงกับจำเลยที่ 10 เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2558 และโฉนดที่ดินเลขที่ 42980 กรุงเทพมหานคร ระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายจวงกับจำเลยที่ 11 เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2558 จำนวน 1 ใน 24 ส่วนของที่ดินพิพาท ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายจวงจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายซิ้มเหงียนตามส่วนดังกล่าว หากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา กับให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 11 ร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความรวม 20,000 บาท ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 ทั้งสามศาลให้เป็นพับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์




คดีมรดก ร้องศาลตั้งผู้จัดการมรดก

พินัยกรรมของผู้ตายที่ห้ามโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตกเป็นโมฆะ, ข้อห้ามในพินัยกรรมเป็นโมฆะ, ผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม
ถอนผู้จัดการมรดก, การปันมรดกเสร็จสิ้นแล้ว, การจัดการศาลจ้าวไม่เป็นมรดก, ศาลจ้าวใต้เซียฮุดโจ๊วเป็นกุศลสถาน
ที่ดินของรัฐ มรดกของผู้ตาย, ที่ดินนิคมสหกรณ์, สิทธิทำประโยชน์ในที่ดิน, สิทธิเหนือพื้นดิน, การเพิกถอนโฉนดที่ดิน,
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทในกองมรดก, การเพิกถอนนิติกรรมในทรัพย์มรดก, การขายทรัพย์มรดกเพื่อชำระหนี้, ผู้จัดการมรดกกับสิทธิและหน้าที่
มรดกตกทอด, การเพิกถอนการสละมรดก, อายุความในการฟ้องคดีมรดก, สิทธิเรียกร้องแทนลูกหนี้
หนังสือแต่งตั้งผู้รับโอนประโยชน์ในเงินทุนเรือนหุ้นของสหกรณ์ไม่ถือเป็นพินัยกรรม, เงินสงเคราะห์สมาชิกสหกรณ์, สิทธิผู้รับโอนประโยชน์ในเงินสงเคราะห์
นิติกรรมซื้อขายที่ดินซึ่งเป็นคนต่างด้าว, คดีมรดกที่ดินของคนต่างด้าว, อายุความคดีมรดก, การยักยอกทรัพย์มรดก
พินัยกรรมยกมรดกให้พี่น้องร่วมบิดามารดา, สิทธิของผู้สืบสันดานในการรับมรดกแทนที่, การฟ้องเรียกค่าเช่าจากทรัพย์สินมรดก
การกำจัดทายาทมิให้รับมรดก, สิทธิรับมรดกของผู้สืบสันดานเมื่อทายาทถูกกำจัด, การเพิกถอนนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์มรดก
เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดก, การฟ้องแบ่งมรดกของผู้ตาย, การยกอายุความในคดีมรดก, สินสมรสและสินส่วนตัวในกองมรดก
ผู้จัดการมรดกและการโอนทรัพย์มรดก, พินัยกรรมด้วยวาจา ป.พ.พ. มาตรา 1663, การครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาท
สิทธิทายาทในมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง, ทายาทตายก่อนแบ่งมรดก, รับมรดกแทนที่ มาตรา 1639,
สิทธิการฟ้องขอแบ่งมรดกของทายาท, การเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินมรดก, สินสมรสหลังคู่สมรสเสียชีวิต
สัญญาประกันชีวิต, สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก, ผู้ทำประกันชีวิตและผู้รับผลประโยชน์ตายพร้อมกัน
การจัดการหนี้สินในกองมรดก, สิทธิของเจ้าหนี้กองมรดก, ที่ดินมรดกและการบังคับคดี
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดก
ผู้จัดการมรดกปฏิบัติผิดหน้าที่-ทายาทผู้มีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกได้
ผู้จัดการมรดกร่วมถึงแก่ความตายต้องทำอย่างไร, ฟ้องซ้อน คืออะไร, แต่งตั้งผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่เพียงทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป
ทายาทฟ้องทายาทให้แบ่งทรัพย์มรดก
การจัดการทรัพย์มรดกในฐานะผู้จัดการมรดกตามหน้าที่ที่จำเป็น
คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกปิดบังทรัพย์มรดกมีผลอย่างไร
ทายาทมิได้ฟ้องเรียกร้องมรดกภายใน 1 ปี
ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ผู้มีส่วนได้เสีย
สามีไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้จัดการมรดกได้
ทรัพย์มรดกยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาททุกคน-การจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้น
บุคคลผู้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มีผลอย่างไร?
ฟ้องผู้จัดการมรดกนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงเกินห้าปีขาดอายุความ
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลถูกเพิกถอนได้
อายุความคดีมรดก เจ้าหนี้ฟ้องคดีมรดกเกินหนึ่งปี
คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก
บุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย
บุตรนอกกฎหมายซึ่งผู้ตายรับรองแล้วเป็นผู้สืบสันดาน
มารดาขายที่ดินซึ่งผู้เยาว์มีส่วนแบ่งไม่ต้องขอศาล
นายอำเภอคือผู้มีอำนาจจัดทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
ความรับผิดของผู้จัดการมดกภายหลังการเสียชีวิต
ผู้จัดการมรดกร่วมนำทรัพย์มรดกหาประโยชน์แก่ตน
ผู้สืบสันดาน คือใคร? ต่างกับทายาท อย่างไร?
คู่สมรสและการแบ่งมรดกของคู่สมรส | การสมรสเป็นโมฆะ
อายุความคดีมรดก และอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก
เหตุอันจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก
การปันมรดกเสร็จสิ้นลงแล้วการถอนผู้จัดการมรดกย่อมพ้นกำหนดเวลา
สามีมิได้จดทะเบียนสมรสไม่ถือเป็นทายาทของภริยาผู้ตาย
อำนาจหน้าที่จัดการศพพระภิกษุผู้มรณภาพไม่มีทรัพย์สิน
สามีไม่จดทะเบียนสมรสขอถอนผู้จัดการมรดก มีกรรมสิทธิ์รวม
ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะทำหน้าที่ผู้จัดการมรดก
อำนาจฟ้องขอแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตาย
ทายาททุกคนมอบหมายให้ครอบครองที่ดินแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วม
ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามมาตรา 1300
ทายาทโดยธรรมย่อมมีสิทธิเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์มรดกตามส่วนที่จะพึงได้
สิทธิรับมรดกที่ยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาห้ามยกเป็นข้อต่อสู้ผู้รับโอนโดยสุจริต
ผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก
ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์มรดกเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความแล้ว
ผู้คัดค้านไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการขอจัดการมรดก
ทายาทมีส่วนเท่ากันออกค่าใช้จ่ายจัดการทำศพ
ความเหมาะสมในการเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น
สิทธิของบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายในการรับมรดกของบุตรนอกกฎหมาย
หนังสือสัญญาแบ่งมรดกตกเป็นโมฆะหรือไม่?
อำนาจและหน้าที่ในการจัดการทำศพและลำดับก่อนหลัง
พินัยกรรมมีเงื่อนไขบังคับก่อน
ผู้จัดการมรดกฟ้องแทนทายาทโดยธรรมอื่น
คู่สมรสที่จดทะเบียนหย่าแล้วเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่
การสละมรดกมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายจึงขาดความเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
แม้กองมรดกมีผู้จัดการมรดกแล้วทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้อง
พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองไม่ได้ทำต่อหน้าพยานตกเป็นโมฆะ
บุตรนอกสมรสและบิดานอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดกต่อกันอย่างไร
ผู้จัดการมรดก | ทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดกเรียกให้เจ้าของรวมส่งมอบโฉนดที่ดิน
การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลงอายุความ 5 ปียังไม่เริ่มนับ
สิทธิรับมรดกก่อนหลัง
คำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ
อายุความฟ้องคดีแพ่งอันเนื่องจากคดียักยอกทรัพย์มรดก
เมื่อแบ่งมรดกเสร็จแล้วความเป็นทายาทสิ้นสุดลง-อายุความมรดก
การแบ่งมรดกที่ดินมือเปล่าไม่มีเอกสารสิทธิ
คดีมรดกต้องเป็นคดีที่ทายาทด้วยกันพิพาทกันเรื่องสิทธิในส่วนแบ่งมรดก
ขอให้ศาลสั่งถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ความรับผิดของผู้ตาย
แสดงบัญชีเครือญาติเป็นเท็จปิดบังจำนวนทายาท
อายุความคดีมรดกสะดุดหยุดลง การแบ่งทรัพย์มรดกไม่ชอบ
ไม่มีกฎหมายบังคับให้ฟ้องเอาทรัพย์มรดกจากทายาทอื่นที่ครอบครองแทนใน 1 ปี
สัญญาว่าจ้างติดตามทรัพย์กองมรดกเรียกส่วนแบ่งเป็นโมฆะ
คดีฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมปลอมและถูกกำจัดมิให้รับมรดก
โจทก์ฟ้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปี
ผู้จัดการมรดกแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันฟังคำสั่งศาล
คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกอายุความ 5 ปี
การแจ้งการเกิดของเด็กในทะเบียนคนเกิดเองว่าเป็นบุตรของตน
ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
การที่จะเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนทายาทอื่น
พินัยกรรมเอกสารลับทำผิดแบบเป็นโมฆะ
การจัดการมรดกไม่ชอบไม่อาจถือว่าการจัดการมรดกสิ้นลงแล้ว