ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ข้อพิพาทตามสัญญาอนุญาโตตุลาการ

ฟ้องคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทตามสัญญาอนุญาโตตุลาการ 

โจทก์ฟ้องเรียกร้องค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และเรียกค่าเสียหายตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 อันเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย ไม่ได้กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองผิดสัญญาจ้าง จึงไม่จำต้องผ่านกระบวนการทางอนุญาโตตุลาการและการตกลงให้ไปดำเนินการทางอนุญาตโตตุลาการที่ประเทศเดนมาร์ก ทั้ง ๆ ที่คู่สัญญาอยู่ในประเทศไทย กฎหมายที่จะใช้บังคับเป็นกฎหมายแรงงานของประเทศไทย เป็นการขัดต่อวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ และเป็นช่องทางให้มีการหลีกเลี่ยงการนำคดีสู่การพิจารณาของศาลแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3530/2549

สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ข้อ 12 มีข้อความเพียงว่า "ข้อโต้แย้งซึ่งไม่สามารถยุติลงได้ด้วยการประนีประนอมระหว่างคู่สัญญาให้ได้รับการชี้ขาดและยุติโดยศาลอนุญาโตตุลาการของเดนมาร์ก" ซึ่งไม่ได้ระบุแยกแยะข้อโต้แย้งที่จะให้ระงับโดยศาลอนุญาโตตุลาการของเดนมาร์กไว้ แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ประสงค์จะให้มีการระงับข้อพิพาทระหว่างกันโดยวิธีอนุญาโตตุลาการเฉพาะข้อโต้แย้งที่เกิดจากสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงานเท่านั้น โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองจ่ายค่าชดเชยและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ซึ่งเป็นการใช้สิทธิตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 และ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงาน ฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ไม่ใช่การฟ้องเกี่ยวกับสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงาน จึงมิใช่ข้อโต้แย้งตามข้อตกลงเรื่องอนุญาโตตุลาการในสัญญาจ้างแรงงานดังกล่าว โจทก์จึงนำคดีมาสู่ศาลได้โดยไม่ต้องเสนอคดีต่ออนุญาโตตุลาการเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดก่อน

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันจ่ายค่าชดเชย 3,050,110 บาท และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม 54,466,250 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2546 จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

ก่อนวันนัดพิจารณา จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งจำหน่ายคดี

วันนัดพิจารณา ศาลแรงงานกลางสอบคู่ความทั้งสองฝ่ายแถลงรับกันว่า สัญญาจ้างที่โจทก์นำมาฟ้องมีข้อตกลงเรื่อง อนุญาโตตุลาการอยู่ในข้อ 12 และทั้งสองฝ่ายยังมิได้ผ่านกระบวนการทางอนุญาโตตุลาการของประเทศเดนมาร์กจริงตามคำร้องของจำเลยทั้งสอง แต่โจทก์คัดค้านว่ากรณียังมิได้มีข้อโต้แย้งระหว่างโจทก์กับจำเลยเกิดขึ้น เพราะโจทก์ฟ้องเรียกร้องค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และเรียกค่าเสียหายตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 อันเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย ไม่ได้กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองผิดสัญญาจ้าง จึงไม่จำต้องผ่านกระบวนการทางอนุญาโตตุลาการและการตกลงให้ไปดำเนินการทางอนุญาตโตตุลาการที่ประเทศเดนมาร์ก ทั้ง ๆ ที่คู่สัญญาอยู่ในประเทศไทย กฎหมายที่จะใช้บังคับเป็นกฎหมายแรงงานของประเทศไทย เป็นการขัดต่อวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ และเป็นช่องทางให้มีการหลีกเลี่ยงการนำคดีสู่การพิจารณาของศาลแรงงาน ขอให้ยกคำร้อง

ศาลแรงงานกลางเห็นว่า คดีพอวินิจฉัยได้โดยไม่จำต้องไต่สวนเรื่องอื่นอีก ให้งดการไต่สวน แล้วศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า กรณีเกิดข้อพิพาทหรือข้อโต้แย้งและไม่สามารถยุติลงด้วยการประนีประนอมยอมความระหว่างคู่สัญญาตามความในสัญญาจ้าง ข้อ 12 ซึ่งมีผลใช้บังคับแล้ว โจทก์จึงต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการตามข้อสัญญาดังกล่าวเสียก่อน เมื่อโจทก์ยังมิได้ดำเนินการ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธินำคดีมาสู่ศาล ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 14 มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ

โจทก์อุทธรณ์คำสั่งต่อศาลฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า โจทก์เป็นคนสัญชาติเดนมาร์ก จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลสัญชาติไทย จดทะเบียนและมีสำนักงานใหญ่ในประเทศไทย โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 1 เข้าทำงานในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการโดยทำสัญญาจ้างแรงงาน โดยในสัญญามีข้อความระบุว่า "ข้อโต้แย้งซึ่งไม่สามารถยุติลงได้ด้วยการประนีประนอมระหว่างคู่สัญญาให้ได้รับการชี้ขาดและยุติโดยศาลอนุญาโตตุลาการของเดนมาร์ก" ซึ่งไม่ได้ระบุแยกแยะข้อโต้แย้งที่จะให้ระงับโดยศาลอนุญาโตตุลาการของเดนมาร์กไว้ แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ประสงค์จะให้มีการระงับข้อพิพาทระหว่างกันโดยวิธีอนุญาโตตุลาการเฉพาะข้อโต้แย้งที่เกิดจากสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงานเท่านั้น คดีนี้เป็นคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยทั้งสองจ่ายค่าชดเชยและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ซึ่งเป็นการใช้สิทธิตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 บัญญัติไว้ ไม่ใช่การฟ้องเกี่ยวกับสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงาน จึงไม่ใช่ข้อโต้แย้งตามข้อตกลงเรื่องอนุญาโตตุลาการในสัญญาจ้างแรงงานดังกล่าว โจทก์จึงนำคดีมาสู่ศาลได้โดยไม่ต้องเสนอคดีต่ออนุญาโตตุลาการเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดก่อน ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์ยังไม่ได้ดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ ไม่มีสิทธินำคดีมาสู่ศาล มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีของโจทก์ออกจากสารบบความ ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของโจทก์ฟังขึ้น กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ข้ออื่น

พิพากษายกคำสั่งศาลแรงงานกลาง ให้ศาลแรงงานกลางดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี.

( จรัส พวงมณี - ชวลิต ยอดเณร - พิทยา บุญชู )

พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545

มาตรา 14 ในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องคดีเกี่ยวกับข้อพิพาท ตามสัญญาอนุญาโตตุลาการโดยมิได้เสนอข้อพิพาทนั้นต่อคณะอนุญาโต ตุลาการตามสัญญา คู่สัญญาฝ่ายที่ถูกฟ้องอาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจ ไม่ช้ากว่าวันยื่นคำให้การหรือภายในระยะเวลาที่มีสิทธิยื่นคำให้การตาม กฎหมายให้มีคำสั่งจำหน่ายคดี เพื่อให้คู่สัญญาไปดำเนินการทางอนุญาโต ตุลาการ และเมื่อศาลทำการไต่สวนแล้ว เห็นว่าไม่มีเหตุที่ทำให้สัญญา อนุญาโตตุลาการนั้นเป็นโมฆะ หรือใช้บังคับไม่ได้ หรือมีเหตุที่ทำให้ ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญานั้นได้ ก็ให้มีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสีย ในระหว่างการพิจารณาคำร้องของศาลตามวรรคหนึ่ง คู่สัญญาฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งอาจเริ่มดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการได้ หรือคณะอนุญา โตตุลาการอาจดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป และมีคำชี้ขาดในข้อพิพาทนั้นได้

พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541

มาตรา 118 ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างดังต่อไปนี้
(1) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งร้อยยี่สิบวันแต่ไม่ครบหนึ่งปีให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวันหรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(2) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งปีแต่ไม่ครบสามปีให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายเก้าสิบวันหรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานเก้าสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(3) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสามปีแต่ไม่ครบหกปีให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวันหรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานหนึ่งร้อยแปดสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(4) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหกปีแต่ไม่ครบสิบปีให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสองร้อยสี่สิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสองร้อยสี่สิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(5) ลูกล้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสิบปีขึ้นไปให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยวันหรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามร้อยวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย 

การเลิกจ้างตามมาตรานี้หมายความว่าการกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใดและหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป 

ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น

การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาตามวรรคสามจะกระทำได้ สำหรับการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจ หรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอนหรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุดหรือความสำเร็จของงานหรือในงานที่เป็นไปตาม ฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้นซึ่งงานนั้นจะต้อง แล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกินสองปีโดยนายจ้างและลูกจ้างได้ ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง

พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522

มาตรา 49 การพิจารณาคดีในกรณีนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ถ้าศาล แรงงานเห็นว่าการเลิกจ้างลูกจ้างผู้นั้นไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง ศาลแรงงาน อาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างผู้นั้นเข้าทำงานต่อไป ในอัตราค่าจ้างที่ได้รับใน ขณะที่เลิกจ้าง ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าลูกจ้างกับนายจ้างไม่อาจทำงานร่วมกัน ต่อไปได้ให้ศาลแรงงานกำหนดจำนวนค่าเสียหาย ให้นายจ้างชดใช้ให้แทน โดยให้ศาลคำนึงถึงอายุของลูกจ้าง ระยะเวลาทำงานของลูกจ้าง ความ เดือดร้อนของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้าง มูลเหตุแห่งการเลิกจ้าง และเงินค่า ชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ ประกอบการพิจารณา

พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 14
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49

 

 คำชี้ขาดอันถึงที่สุดของอนุญาโตตุลาการ

เมื่อคณะกรรมการอนุญาโตตุลาการได้มีคำชี้ขาดข้อโต้แย้งแล้วและได้ส่งสำเนาคำชี้ขาดถึงคู่กรณีแล้วย่อมเป็นที่สุด มีผลให้คู่กรณีจะต้องผูกพันตามคำชี้ขาดอันถึงที่สุดนั้น โดยไม่อาจนำปัญหาข้อโต้แย้งที่อนุญาโตตุลาการได้มีคำชี้ขาดแล้วนั้นขึ้นสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการได้อีก แม้คู่กรณีที่มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาตามคำชี้ขาดภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้ส่งสำเนาคำชี้ขาดถึงคู่กรณีก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าหากคู่กรณีที่มีสิทธิไม่ดำเนินจะทำให้คำชี้ขาดอันถึงที่สุดนั้นสิ้นผลไปแต่อย่างใด

 




ภาษาอังกฤษสำหรับนักกฎหมาย

ภาษาอังกฤษสำหรับนักกฎหมาย article
เหตุที่จะเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ
แบบสัญญาต่างๆ article
คำชี้ขาดอันถึงที่สุดของอนุญาโตตุลาการ