ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




อาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าทรัพย์สินในที่ดินไม่เป็นส่วนควบ

ทนายความ ฟ้องหย่า lawyer

การปลูกต้นอ้อยของโจทก์เป็นการอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่า

โจทก์เช่าที่ดินจากนายมนตรี เพื่อทำไร่อ้อยระยะเวลา 6 ปี มีข้อตกลงเลิกสัญญาเมื่อตัดอ้อยของปีที่ 4 เสร็จสิ้น ต่อมาระหว่างรอตัดอ้อยปีที่ 4 นายมนตรีทำสัญญาขายที่ดินและส่งมอบที่ดินให้นายลำดวนแล้ว นายลำดวนใช้ให้จำเลยเข้าไปไถที่ดิน การปลูกต้นอ้อยของโจทก์เป็นการอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าและต้นอ้อยเป็นไม้ล้มลุก จึงไม่เป็นส่วนควบของที่ดิน ทั้งสัญญาเช่าที่ดินระหว่างโจทก์กับนายมนตรีก็ไม่มีข้อความใดระบุให้ต้นอ้อยหรือตออ้อย ตกเป็นสิทธิของนายมนตรีหลังจากสัญญาเช่าเลิกกัน การขายที่ดินของนายมนตรีให้แก่นายลำดวนไม่มีผลให้กรรมสิทธิ์ในต้นอ้อยตกไปเป็นของนายลำดวนนายลำดวนไม่มีอำนาจที่จะตัดตออ้อยของโจทก์โดยพลการ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและจำเลยต้องรับผิดในผลที่เกิดจากการกระทำของตน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17095/2555

โจทก์เช่าที่ดิน น.ค.3. จาก ม. เพื่อทำไร่อ้อย มีกำหนดระยะเวลาการเช่า 6 ปี การปลูกอ้อยของโจทก์เป็นการอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าและต้นอ้อยเป็นไม้ล้มลุก จึงไม่เป็นส่วนควบของที่ดิน ทั้งสัญญาเช่าที่ดินระหว่างโจทก์กับ ม. ก็ไม่มีข้อความใดระบุให้ต้นอ้อยหรือตออ้อยตกเป็นสิทธิของ ม. หลังสัญญาเช่าเลิกกัน ดังนั้น การที่ ม. ตกลงเลิกสัญญาเช่ากับโจทก์หลังจากโจทก์ตัดอ้อยของปีที่ 4 และ ม. ขายที่ดินแก่ ล. ก็ไม่มีผลให้กรรมสิทธิ์ในต้นอ้อยตกไปเป็นของ ล. แม้ ล. จะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าว ก็ไม่มีอำนาจสั่งให้จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างนำรถเข้าไถตออ้อยของโจทก์โดยพลการ แม้จำเลยจะกระทำตามคำสั่งของ ล. เจ้าของที่ดิน แต่จำเลยก็ทราบว่าตออ้อยเป็นของโจทก์ซึ่งเช่าที่ดินจาก ม. ถือได้ว่าจำเลยได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของโจทก์โดยไม่มีอำนาจกระทำได้ตามกฎหมาย เป็นการละเมิด

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าเสียหายเป็นเงิน 204,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษากลับให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ 37,500 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าชำระเสร็จ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งกันในชั้นฎีการับฟังว่า โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินจากนายมนตรี เพื่อทำไร่อ้อยมีกำหนดอายุสัญญา 6 ปี นับแต่วันทำสัญญา และมีการตกลงเลิกสัญญากันหลังจากโจทก์ตัดอ้อยของปีที่ 4 โดยยังคงมีตออ้อยเหลืออยู่ในที่ดินที่เช่า นายลำดวน บิดาภริยาจำเลยซื้อที่ดินจากนายมนตรีเนื้อที่ประมาณ 78 ไร่ รวมที่ดินที่โจทก์เช่า จำเลยนำรถไถเข้าไถที่ดินที่โจทก์เช่าจากนายมนตรีทำให้ตออ้อยได้รับความเสียหาย

มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 6 หรือไม่ ที่จำเลยฎีกาว่า นายมนตรีทำสัญญาขายที่ดินและส่งมอบที่ดินให้นายลำดวนแล้ว กรรมสิทธิ์ในที่ดินย่อมโอนไปยังนายลำดวน การที่นายลำดวนใช้ให้จำเลยเข้าไปไถที่ดินจึงเป็นการกระทำไปโดยสิทธิของเจ้าของที่ดิน ทั้งจำเลยกระทำไปโดยสุจริตตามคำสั่งของนายลำดวน จึงไม่เป็นการกระทำละเมิดนั้น เห็นว่า การปลูกต้นอ้อยของโจทก์เป็นการอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าและต้นอ้อยเป็นไม้ล้มลุก จึงไม่เป็นส่วนควบของที่ดิน ทั้งสัญญาเช่าที่ดินระหว่างโจทก์กับนายมนตรีก็ไม่มีข้อความใดระบุให้ต้นอ้อยหรือตออ้อย ตกเป็นสิทธิของนายมนตรีหลังจากสัญญาเช่าเลิกกัน ดังนั้น การขายที่ดินของนายมนตรีให้แก่นายลำดวนไม่มีผลให้กรรมสิทธิ์ในต้นอ้อยตกไปเป็นของนายลำดวนแต่อย่างใด แม้นายลำดวนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินดังที่จำเลยอ้าง ก็ไม่มีอำนาจที่จะตัดตออ้อยของโจทก์โดยพลการ แต่การที่จำเลยซึ่งกระทำไปตามคำสั่งของนายลำดวนต้องรับผิดฐานละเมิดหรือไม่ จำต้องพิจารณาให้ได้ความก่อนว่าความเข้าใจของจำเลยเป็นไปโดยจงใจหรือประมาทเลิ่นเล่อหรือไม่ ข้อเท็จจริงได้ความจากคำเบิกความของจำเลยตอบทนายโจทก์ถามค้านว่า วันเกิดเหตุจำเลยได้เข้าไปดูสภาพที่ดิน ขณะนั้นมีตออ้อยของโจทก์ซึ่งเช่าที่ดินของนายมนตรี จำเลยจึงสั่งให้คนงานไถที่ดิน คำเบิกความแสดงให้เห็นว่าจำเลยทราบดีว่าตออ้อยไม่ใช่ทรัพย์สินของนายลำดวน แม้จะเป็นการกระทำโดยคำสั่งของนายลำดวนเจ้าของที่ดิน แต่ตามพฤติการณ์ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของโจทก์โดยไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ตามกฎหมาย เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์และเป็นการโต้แย้งสิทธิในทรัพย์สินของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและจำเลยต้องรับผิดในผลที่เกิดจากการกระทำของตน ที่จำเลยฎีกาว่า ตออ้อยมีอายุประมาณ 3 ถึง 4 ปี และต้องรื้อถอนแล้วปลูกพันธุ์อ้อยใหม่ หากปล่อยไว้ต่อไปจะไม่คุ้มค่ากับการลงทุน โจทก์ตัดอ้อยในปีที่ 4 ตออ้อยจึงหมดอายุไม่อาจใช้เป็นพันธุ์ได้ โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหาย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 กำหนดค่าเสียหายให้โจทก์จึงไม่ถูกต้องนั้น โจทก์เบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านว่า อายุของต้นอ้อยที่ปลูกลงในแต่ละครั้งนั้นสามารถใช้ตอเดิมให้ผลผลิตได้ถึง 6 ปี สอดคล้องกับสัญญาเช่าที่ดินและคำเบิกความของนายมนตรีที่ว่า ในปีที่ 4 แม้ต้นอ้อยจะเหลือเพียงตอ แต่หากปริมาณฝนปีนั้นมาก ตออ้อยจะแตกกิ่งเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ได้ จำเลยไม่ได้ปฏิเสธความข้อนี้ คงโต้แย้งเพียงว่าตออ้อยจะให้ผลผลิตดีในช่วง 3 ปี เท่านั้น ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ตออ้อยที่มีอายุเกินกว่า 3 ปี ยังสามารถให้ผลผลิตได้ไม่มากก็น้อย หาใช่หมดอายุที่จะเก็บเกี่ยวดังที่จำเลยอ้างไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 กำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ในอัตราไร่ละ 2,500 บาท นับว่าเป็นจำนวนเงินที่เหมาะสมแล้ว ฎีกาข้ออื่นของจำเลยไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไปจึงไม่จำต้องวินิจฉัย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น

พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

ผู้มีสิทธิในที่ดินของผู้อื่นใช้สิทธิปลูกสร้างโรงเรือนไม่เป็นส่วนควบ

การที่จำเลยปลูกสร้างบ้านในที่ดินโดยอาศัยสิทธิของเจ้ามรดกนั้น มิได้ทำให้โรงเรือนตกเป็นส่วนควบของที่ดินและตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้ามรดกและทายาทแต่อย่างใด จำเลยก็ไม่อาจอ้างได้ว่า เจ้ามรดกและทายาทประมาทเลินเล่อที่ไม่ห้ามปรามขัดขวางมิให้จำเลยปลูกสร้างบ้านเพิ่มเติมอันจะเป็นเหตุให้ทายาทต้องรับเอาบ้านทั้งหมดไว้แล้วใช้ราคาหรือต้องให้จำเลยซื้อที่ดินตามราคาในท้องตลาดหากจำเลยต้องใช้จ่ายในการรื้อถอนบ้านไปมากเกินสมควร เพราะสิทธิและหน้าที่ของเจ้าของที่ดินและผู้ปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินจะเกิดขึ้นได้ เฉพาะกรณีที่ผู้ปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินได้กระทำไปโดยสุจริตเท่านั้น

ปลูกสร้างบ้านโดยทราบอยู่ว่าเป็นที่ดินของผู้อื่นที่เขาอนุญาตให้ปลูกสร้าง ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยได้ปลูกบ้านในที่ดินพิพาทโดยสุจริต คำว่า "สุจริต" มีความหมายว่าผู้ปลูกสร้างได้ปลูกสร้างโรงเรือนลงในที่ดินโดยไม่ทราบว่าที่ดินเป็นของผู้ใดแต่เข้าใจว่าเป็นที่ดินของตนเองและเชื่อว่าตนมีสิทธิปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินนั้นโดยชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  9526/2544

          คำว่า "สุจริต" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1310 นั้น มีความหมายว่าผู้ปลูกสร้างได้ปลูกสร้างโรงเรือนลงในที่ดินโดยไม่ทราบว่าที่ดินเป็นของผู้ใดแต่เข้าใจว่าเป็นที่ดินของตนเองและเชื่อว่าตนมีสิทธิปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินนั้นโดยชอบ เมื่อจำเลยได้ปลูกบ้านในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของ ส. โดยทราบอยู่ว่าที่ดินพิพาทเป็นของ ส. และได้ขออนุญาต ส. ปลูกบ้าน จึงไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยได้ปลูกบ้านในที่ดินพิพาทโดยสุจริต แม้จำเลยจะต่อเติมบ้านในภายหลังอีกโดย ส. และโจทก์ไม่ห้ามปรามขัดขวางก็จะบังคับให้โจทก์ซึ่งเป็นทายาของ ส. รับเอาบ้านแล้วใช้ราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นไม่ได้ การที่จำเลยปลูกสร้างบ้านในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของ ส. นั้น มิได้ทำให้โรงเรือนตกเป็นส่วนควบของที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของ ส. และโจทก์แต่อย่างใดตามมาตรา 146

          โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายทรัพย์สินพร้อมทั้งบริวารออกจากที่ดินโฉนดเลขที่ 1435 ของโจทก์ทั้งสี่ หากไม่รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว ขอให้ถือเอาตามคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนา โดยให้จำเลยทั้งสองเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว และให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสี่เดือนละ 10,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายทรัพย์สินพร้อมทั้งบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์ทั้งสี่เสร็จสิ้น

          จำเลยทั้งสองให้การและฟ้องแย้ง ขอให้ยกฟ้อง และให้จำเลยทั้งสองซื้อที่ดินพิพาทเนื้อที่ 1 ไร่ 1 งานตามราคาตลาด 200,000 บาทหรือให้โจทก์ทั้งสี่ใช้ค่าแห่งที่ดินเพิ่มขึ้นเป็นเงิน 1,000,000 บาท แก่จำเลยทั้งสอง

          โจทก์ทั้งสี่ให้การแก้ฟ้องแย้งขอให้ยกฟ้องแย้ง

   ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายทรัพย์สินพร้อมทั้งบริวารออกจากที่ดินโฉนดเลขที่ 1435 ตำบลเสม็ดใต้ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ของโจทก์ทั้งสี่ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสี่เดือนละ 5,000 บาทนับแต่วันฟ้อง (วันที่ 13มีนาคม 2539) จนกว่าจำเลยทั้งสองจะรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายทรัพย์สินพร้อมทั้งบริวารออกไปจากที่ดินดังกล่าว คำขอนอกจากนี้ให้ยกและให้ยกฟ้องแย้ง

          จำเลยทั้งสองอุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสี่เดือนละ 1,000 บาท นับแต่วันฟ้อง (วันที่ 13มีนาคม 2539) จนกว่าจำเลยทั้งสองจะรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายทรัพย์สินพร้อมทั้งบริวารออกไปจากที่ดินดังกล่าว นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

   จำเลยทั้งสองฎีกา

  ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "... ข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่คู่ความมิได้โต้แย้งกันในชั้นฎีกาฟังได้ว่า นางสาวเลี่ยม อาจเจริญ ได้รับนายสวงศ์ อาจเจริญและจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหลานมาอุปการะเลี้ยงดูจนจำเลยที่ 1 แต่งงานกับจำเลยที่ 2 แยกบ้านจากนางสาวเลี่ยมไปอยู่บ้านจำเลยที่ 2 ส่วนนายสวงศ์ยังอยู่ร่วมบ้านกับนางสาวเลี่ยมจนนางสาวเลี่ยมถึงแก่ความตายในปี 2519 เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 1435 ตำบลเสม็ดใต้ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรามีชื่อนางสาวเลี่ยมถือกรรมสิทธิ์ ต่อมาวันที่ 19 กันยายน 2488 นางสาวเลี่ยมจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่นายสวงศ์ นายสวงศ์เป็นสามีโจทก์ที่ 1 มีบุตรด้วยกัน 3 คน คือโจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 นายสวงศ์ถึงแก่ความตายเมื่อปี 2532 วันที่ 22 ตุลาคม 2533 โจทก์ทั้งสี่รับโอนมรดกที่ดินดังกล่าวมาเป็นของตน เมื่อปี 2516 จำเลยที่ 1 ได้รับเลือกตั้งเป็นกำนันตำบลเสม็ดใต้จึงได้ขอปลูกสร้างบ้านเลขที่ 1/1 ตำบลเสม็ดใต้ในที่ดินพิพาทเนื้อที่ประมาณ1 ไร่ 1 งาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตามโฉนดเลขที่ 1435 วันที่ 12 กรกฎาคม 2533 จำเลยที่ 1 เป็นผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1832 อ้างว่าซื้อที่ดินพิพาทจากนายสวงศ์แต่ไม่ได้จดทะเบียนซื้อขายกันครอบครองมาเกิน 10 ปีแล้ววันที่ 4 กันยายน 2533 โจทก์ทั้งสี่ในฐานะทายาทของนายสวงศ์ยื่นคำคัดค้านตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 896/2535 ของศาลชั้นต้น คดีถึงที่สุดแล้วตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 อยู่ในที่ดินพิพาทด้วยการอาศัยสิทธิของนายสวงศ์ปลูกบ้านและทำกินการที่จำเลยที่ 1 มายื่นคำร้องขอในวันที่ 12 กรกฎาคม 2533 แม้จะเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 แสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตนต่อโจทก์ทั้งสี่ต่อมาก็ยังครอบครองที่ดินพิพาทไม่ถึง 10 ปี จำเลยที่ 1 หาได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทด้วยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ไม่ พิพากษายกคำร้องขอของจำเลยที่ 1 ต่อมาศาลฎีกามีคำพิพากษายกฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3573/2538

          มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามที่จำเลยทั้งสองฎีกาสรุปได้ว่า จำเลยทั้งสองปลูกสร้างบ้านในที่ดินพิพาทโดยสุจริต โดยได้รับการยกให้จากนางสาวเลี่ยม ทั้งการต่อเติมโรงเรือนที่กระทำขึ้นภายหลังก็ด้วยความต้องการของจำเลยทั้งสองเองนายสวงศ์และโจทก์ทั้งสี่ไม่เคยขัดขวางว่ากล่าวจำเลยทั้งสอง การที่นายสวงศ์และโจทก์ทั้งสี่เพิกเฉยไม่แสดงตนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแต่แรก จึงถือได้ว่าเป็นการประมาทเลินเล่อในการครอบครองที่ดิน และเป็นหน้าที่ของโจทก์ทั้งสี่ต้องพิสูจน์ว่าตนมิได้ประมาทเลินเล่อ ซึ่งโจทก์ทั้งสี่ก็หามีหลักฐานเข้าสืบให้เห็นเช่นนั้นไม่กรณีต้องฟังว่าจำเลยทั้งสองปลูกสร้างบ้านในที่ดินพิพาทโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 โจทก์ทั้งสี่ต้องใช้ค่าที่ดินพิพาทที่เพิ่มขึ้นให้แก่จำเลยทั้งสอง หรือต้องขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยทั้งสองนั้น เห็นว่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 วรรคหนึ่งบัญญัติว่า"บุคคลใดสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของโรงเรือนนั้น ๆ แต่ต้องใช้ค่าแห่งที่ดินเพียงที่เพิ่มขึ้นเพราะสร้างโรงเรือนนั้นให้แก่ผู้สร้าง" และวรรคสองบัญญัติว่า "แต่ถ้าเจ้าของที่ดินแสดงได้ว่ามิได้มีความประมาทเลินเล่อจะบอกปัดไม่ยอมรับโรงเรือนนั้นและเรียกให้ผู้สร้างรื้อถอนไป และทำที่ดินให้เป็นไปตามเดิมก็ได้ เว้นไว้แต่ถ้าการนี้จะทำไม่ได้โดยใช้เงินพอสมควรไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินจะเรียกให้ผู้สร้างซื้อที่ดินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนตามราคาตลาดก็ได้" ซึ่งเป็นบทบัญญัติกำหนดสิทธิและหน้าที่ของเจ้าของที่ดินและผู้ปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตว่าจะต้องปฏิบัติต่อกันอย่างไร คำว่า "สุจริต" ตามมาตรา 1310 นั้นมีความหมายว่า ผู้ปลูกสร้างได้ปลูกสร้างโรงเรือนลงในที่ดินโดยไม่ทราบว่าที่ดินเป็นของผู้ใดแต่เข้าใจว่าเป็นที่ดินของตนเองและเชื่อว่าตนมีสิทธิปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินนั้นได้โดยชอบ แต่เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3573/2538 ซึ่งมีผลถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 ได้ปลูกบ้านในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของนายสวงศ์ ซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นคู่ความกับโจทก์ทั้งสี่ในคดีดังกล่าว จึงผูกพันจำเลยที่ 1 อันทำให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 ปลูกบ้านในที่ดินพิพาทโดยทราบอยู่ว่าที่ดินพิพาทเป็นของนายสวงศ์และได้ขออนุญาตนายสวงศ์ปลูกบ้านในที่ดินพิพาทแล้วก็ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ปลูกบ้านในที่ดินพิพาทโดยสุจริต จำเลยที่ 2 เป็นภริยาจำเลยที่ 1 เข้าอยู่อาศัยในบ้านกับจำเลยที่ 1 ด้วย ดังนี้ จำเลยทั้งสองจะอ้างว่าได้ปลูกสร้างบ้านในที่ดินพิพาทโดยสุจริตและบังคับให้โจทก์ทั้งสี่ทายาทของนายสวงศ์รับเอาบ้านแล้วใช้ราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นให้จำเลยทั้งสองไม่ได้ เพราะการที่จำเลยทั้งสองปลูกสร้างบ้านในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของนายสวงศ์นั้น มิได้ทำให้โรงเรือนตกเป็นส่วนควบของที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของนายสวงศ์และโจทก์ทั้งสี่แต่อย่างใดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 146 กรณีจึงไม่อาจที่จะบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 วรรคหนึ่งได้ดังเช่นที่จำเลยทั้งสองฎีกา ทั้งจำเลยทั้งสองก็ไม่อาจอ้างได้ว่า นายสวงศ์และโจทก์ทั้งสี่ประมาทเลินเล่อที่ไม่ห้ามปรามขัดขวางมิให้จำเลยทั้งสองปลูกสร้างบ้านเพิ่มเติมอันจะเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสี่ต้องรับเอาบ้านทั้งหมดไว้แล้วใช้ราคาหรือต้องให้จำเลยทั้งสองซื้อที่ดินพิพาทตามราคาในท้องตลาดหากจำเลยทั้งสองต้องใช้จ่ายในการรื้อถอนบ้านไปมากเกินสมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 วรรคสองเพราะสิทธิและหน้าที่ของเจ้าของที่ดินและผู้ปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินจะเกิดขึ้นได้ตามบทบัญญัติดังกล่าวจะมีได้เฉพาะกรณีที่ผู้ปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินได้กระทำไปโดยสุจริตเท่านั้นเช่นกัน ดังนั้น แม้พยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสี่จะฟังได้ว่านายสวงศ์และโจทก์ทั้งสี่ประมาทเลินเล่อที่ไม่ห้ามปรามขัดขวางมิให้จำเลยทั้งสองปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินพิพาทดังเช่นจำเลยทั้งสองฎีกา ก็ไม่มีผลที่จำเลยทั้งสองจะอ้างเอาประโยชน์ตามบทบัญญัติ มาตรา 1310 วรรคสองแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองจึงชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยทั้งสองในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

          ส่วนที่จำเลยทั้งสองฎีกาเกี่ยวกับเรื่องค่าเสียหายนั้น เห็นว่า ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสี่เป็นคดีที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากอสังหาริมทรัพย์ โดยจำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การโต้แย้งเรื่องกรรมสิทธิ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดค่าเสียหายเดือนละ 1,000 บาท โดยโจทก์ทั้งสี่ไม่ได้ฎีกา จึงถือว่าที่ดินพิพาทอาจให้เช่าได้ในขณะที่ยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท คู่ความจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 วรรคสอง การที่จำเลยทั้งสองฎีกาประเด็นนี้อันเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้"

          พิพากษายืน

 มาตรา 146   ทรัพย์ซึ่งติดกับที่ดินหรือติดกับโรงเรือนเพียงชั่วคราว ไม่ถือว่าเป็นส่วนควบกับที่ดินหรือโรงเรือนนั้น ความข้อนี้ให้ใช้บังคับแก่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นซึ่งผู้มีสิทธิในที่ดินของผู้อื่นใช้สิทธินั้นปลูกสร้างไว้ในที่ดินนั้นด้วย

 มาตรา 1310 บุคคลใดสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของโรงเรือนนั้น ๆ แต่ต้องใช้ค่าแห่งที่ดินเพียงที่เพิ่มขึ้นเพราะสร้างโรงเรือนนั้นให้แก่ผู้สร้าง
--แต่ถ้าเจ้าของที่ดินสามารถแสดงได้ว่า มิได้มีความประมาทเลินเล่อจะบอกปัดไม่ยอมรับโรงเรือนนั้นและเรียกให้ผู้สร้างรื้อถอนไป และทำที่ดินให้เป็นตามเดิมก็ได้ เว้นไว้แต่ถ้าการนี้จะทำไม่ได้โดยใช้เงินพอควรไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินจะเรียกให้ผู้สร้างซื้อที่ดินทั้งหมด หรือแต่บางส่วนตามราคาตลาดก็ได้

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8305/2551

การพิจารณาว่าบุคคลใดสร้างโรงเรือนในที่ดินของบุคคลอื่นโดยสุจริตหรือไม่นั้นจะต้องพิจารณาในขณะที่ปลูกโรงเรือน หากขณะปลูกสร้างโรงเรือนไม่ทราบว่าที่ดินเป็นของบุคคลอื่นก็ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยสุจริต แม้ภายหลังจึงทราบว่าเป็นที่ดินของบุคคลอื่นก็หาทำให้การกระทำที่สุจริตแต่แรกกลับกลายเป็นไม่สุจริตไปแต่อย่างใด เมื่อกรณีเข้าเงื่อนไขตาม ป.พ.พ. มาตรา 1310 แล้ว จะต้องพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยทำให้ที่ดินของโจทก์มีค่าเพิ่มขึ้นเพียงใด โจทก์ประมาทเลินเล่อ หรือไม่ ซึ่งมิได้มีประเด็นในคดีนี้คู่ความจึงมิได้สืบพยานไว้จึงไม่สามารถวินิจฉัยได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกฟ้องโดยให้โจทก์กับจำเลยไปว่ากล่าวกันใหม่จึงชอบแล้ว

โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้บังคับจำเลยและบริวารออกจากที่ดินและรื้อถอนเรือนและสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินของโจทก์ทั้งสองภายใน 30 วัน นับแต่ศาลมีคำพิพากษากับให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเดือนละ 1,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะออกจากที่ดินของโจทก์ทั้งสอง

จำเลยให้การ ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยและบริวารออกจากที่ดินพิพาทพร้อมกับรื้อถอนเรือนและสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินดังกล่าว กับให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเดือนละ 500 บาท นับแต่วันฟ้องไปจนกว่าจำเลยและบริวารจะออกจากที่ดินให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งสอง โดยกำหนดค่าทนายความ 1,000 บาท

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งสอง แต่ไม่ตัดสิทธิคู่ความที่จะไปว่ากล่าวกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ

โจทก์ทั้งสองฎีกา โดยผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เดิมนายแจ่ม และนางไกลเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 10142 เนื้อที่ 2 งาน 51.2 ตารางวา ต่อมาวันที่ 5 มีนาคม 2517 บุคคลทั้งสองจดทะเบียนโอนขายให้แก่โจทก์ทั้งสอง นายสมบูรณ์บุตรของนายแจ่มและนางไกลร่วมกับจำเลยซึ่งเป็นภริยาเข้าครอบครองและปลูกสร้างบ้านเลขที่ 29 หมู่ที่ 14 บนที่ดินดังกล่าวคิดเป็นเนื้อที่ 1 งาน 66 ตารางวา ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาว่าที่ดินดังกล่าวทั้งแปลงเป็นของโจทก์ทั้งสอง แต่โจทก์ทั้งสองและจำเลยต่างเข้าใจว่าที่ดินที่จำเลยปลูกสร้างบ้านเป็นที่ดินของจำเลยที่ได้รับการยกให้มาจากนายแจ่มและนางไกลซึ่งอยู่ใกล้เคียงกับที่ดินโจทก์ทั้งสอง เท่ากับว่าจำเลยสร้างโรงเรือนในที่ดินของบุคคลอื่นโดยสุจริตซึ่งต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 จำเลยไม่ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาดังกล่าว จึงต้องฟังข้อเท็จจริงดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษามา จำเลยจะยื่นคำแก้ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษาว่าจำเลยครอบครองที่ดินจนได้กรรมสิทธิ์แล้วหาได้ไม่ หากจำเลยไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาดังกล่าว จำเลยจะต้องฎีกาคัดค้านขึ้นมา หาใช่ทำเป็นคำแก้ฎีกาศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

ที่โจทก์ทั้งสองฎีกาว่า คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่ว่าการสร้างโรงเรือนของจำเลยและนายสมบูรณ์เป็นการสร้างโรงเรือนในที่ดินของบุคคลอื่นโดยสุจริตเป็นการวินิจฉัยที่ถูกต้องและชอบแล้ว แต่การที่หลังจากตรวจสอบแนวเขตที่ดินรู้ว่าจำเลยและนายสมบูรณ์สร้างโรงเรือนในที่ดินของโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองหาทางออกโดยให้จำเลยและนายสมบูรณ์ทำสัญญาเช่า หรือซื้อที่ดินของโจทก์ทั้งสองหรือขายโรงเรือนให้โจทก์ทั้งสอง แต่จำเลยและนายสมบูรณ์ไม่ตกลง ต้องถือว่าจำเลยและนายสมบูรณ์อยู่ในที่ดินของโจทก์ทั้งสองโดยไม่ชอบ และไม่ยอมออกจากที่ดินของโจทก์ทั้งสอง จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 นั้น เห็นว่า การพิจารณาว่าบุคคลใดสร้างโรงเรือนในที่ดินของบุคคลอื่นโดยสุจริตหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาในขณะที่ปลูกสร้างโรงเรือน หากขณะปลูกสร้างโรงเรือนไม่ทราบว่าที่ดินเป็นของบุคคลอื่นก็ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยสุจริต แม้ภายหลังจึงทราบว่าเป็นที่ดินของบุคคลอื่น ก็หาทำให้การกระทำที่สุจริตแต่แรกกลับกลายเป็นไม่สุจริตไปแต่อย่างใด แม้จะได้ความตามที่โจทก์ทั้งสองฎีกาก็ตาม เมื่อกรณีเข้าเงื่อนไขตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวแล้ว จะต้องพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยทำให้ที่ดินของโจทก์ทั้งสองมีค่าเพิ่มขึ้นเพียงใด โจทก์ทั้งสองประมาทเลินเล่อหรือไม่ซึ่งมิได้มีประเด็นในคดีนี้คู่ความจึงมิได้สืบพยานไว้ จึงไม่สามารถวินิจฉัยได้ ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกฟ้อง โดยให้โจทก์ทั้งสองกับจำเลยไปว่ากล่าวกันใหม่นั้น จึงชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ทั้งสองฟังไม่ขึ้น"

พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้ให้เป็นพับ




การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์

จำเลยแพ้คดีในศาลชั้นต้นแล้วโอนที่ดินให้พ้นจากการถูกบังคับคดี
คำให้การจำเลยขัดแย้งกันเองไม่มีประเด็น