แยกกันอยู่เพราะสามีรับราชการที่อื่น, ไม่ถือว่าเป็นการแยกกันอยู่โดยความสมัครใจ
แยกกันอยู่เพราะสามีรับราชการที่อื่น, ไม่ถือว่าเป็นการแยกกันอยู่โดยความสมัครใจ สามีฟ้องหย่าเพราะเหตุภริยาไม่ยอมติดตามไปอยู่ด้วยกันกับสามีโดยไม่มีเหตุผล กลับก่อหนี้สินเป็นภาระแก่ครอบครัวมากมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5196/2538 โจทก์กับจำเลยแยกกันอยู่มากว่า 3 ปี แต่การแยกกันอยู่นั้นมิใช่ด้วยความสมัครใจของจำเลย แต่เป็นเพียงลำพังความสมัครใจของโจทก์ฝ่ายเดียว จึงหาทำให้โจทก์เกิดสิทธิฟ้องหย่าจำเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1516(4/2)ไม่ โจทก์ ฟ้องว่า โจทก์จดทะเบียนสมรสกับจำเลยระหว่างสมรสได้ซื้อที่ดินเป็นสินสมรส 3 แปลงคือที่ดินโฉนดเลขที่ 9296 เลขที่12424 และเลขที่ 43834 รวมราคา 1,100,000 บาท ตั้งแต่ ปี 2528เป็นต้นมา จำเลยก่อหนี้สินไว้กับบุคคลอื่นเป็น จำนวนมากและมีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกับญาติพี่น้องโจทก์เป็นประจำจนกระทั่งกลางปี 2530โจทก์และจำเลยไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขจึงสมัครใจแยกกัน อยู่โดยไม่ติดต่อกันมาเป็นเวลากว่า 4 ปีแล้วขอให้พิพากษาให้จำเลยไปจดทะเบียนหย่า กับโจทก์และแบ่งสินสมรสแก่โจทก์ครึ่งหนึ่งเป็นเงิน 550,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย อัตราร้อยละ 7.5ต่อ ปี ในต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จ จำเลยให้การว่าจำเลยจดทะเบียนสมรสกับโจทก์อยู่กินเป็นสามีภริยากันตั้งแต่ ปี 2517 โจทก์รับราชการอยู่ต่างจังหวัดหลายจังหวัดส่วนจำเลยเป็นผู้เลี้ยงดูบุตรทั้งสามอยู่ที่บ้าน โดยโจทก์เป็นฝ่ายไปมาหาสู่เยี่ยมเยียนจำเลยและบุตรตลอดมาจนตั้งแต่ ปี2530 โจทก์ ไม่ได้มาเยี่ยมเยียนจำเลยและบุตรตามปกติโดยไปมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับหญิงอื่น โจทก์เป็นฝ่ายทอดทิ้งจำเลย การที่โจทก์ไม่ไปมาหาสู่จำเลยเป็นการกระทำโดยความสมัครใจของโจทก์ จำเลยมิได้สมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์แต่อย่างใด ที่ดินสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลย มีเฉพาะที่ดินโฉนด เลขที่ 12424 เท่านั้นที่ดิน โฉนด เลขที่ 9296 เป็นของบิดาจำเลยส่วนที่ดินโฉนด เลขที่43834 มี ชื่อ นางจินดา พี่สาว โจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์จึงมิใช่สินสมรส ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายืน โจทก์ฎีกา ศาลฎีกา วินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติได้ว่าโจทก์ จำเลยจดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 30 กันยายน 251- มีบุตรด้วยกัน 3 คน คือนางสาว จ. อายุ 16 ปี เศษ เด็กชาย ว. อายุ 14 ปี เศษ และเด็กชาย ส. อายุ 13 ปี เศษ โจทก์มีอาชีพรับราชการที่องค์การสวนยาง เมื่อสมรสแล้ว โจทก์ต้องย้ายไปรับราชการต่างจังหวัดตามลำพังส่วนจำเลยไม่ได้ติดตามไปด้วยคงพักอาศัยอยู่ที่ตำบล ท่าวัง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช และเป็น ผู้เลี้ยงดูบุตรทั้งสามโดย จำเลยประกอบอาชีพค้าขายและรับจ้าง ตัด เย็บเสื้อผ้าช่วยเหลือครอบครัวด้วยโจทก์จะเป็นผู้กลับมาเยี่ยมเยียนดูแลจำเลยและบุตรเป็นประจำ โจทก์ไม่เคยย้ายมาประจำอยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราชเลย ครั้งสุดท้ายย้ายกลับมา ประจำที่จังหวัดกระบี่เมื่อ ปี 2525 ต่อมาโจทก์ไม่ค่อยกลับไปหาจำเลยตามปกติ จำเลย กล่าวหาว่าโจทก์ไปติดพันนางจารีย์ ซึ่งรับ ราชการครู สังกัดสำนักงานการศึกษานอก โรงเรียน จังหวัดกระบี่ ฉันชู้สาวและจำเลยได้ร้องเรียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ต่อผู้บังคับบัญชา ทั้งของโจทก์และของนาง จารีย์ ด้วย มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่าโจทก์ กับจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุข ตลอดมา เกิน 3 ปีหรือไม่ โจทก์มีพยานคือตัวโจทก์เบิกความว่าชีวิตสมรสระหว่างโจทก์ กับจำเลยไม่อาจจะอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขเลยตั้งแต่ ปี 2525 เพราะ จำเลยไม่ยอมติดตามไปอยู่ด้วยกันกับโจทก์โดยไม่มีเหตุผล กลับก่อหนี้สินเป็นภาระแก่ครอบครัวมากมายโจทก์ตักเตือนห้ามปรามก็ไม่เชื่อฟังโจทก์กับพี่สาวต้องรับภาระ ผ่อนชำระหนี้แทนต่อมา กลางปี 2530 โจทก์จำเลยจึงแยกกันอยู่โดยไม่ได้จดทะเบียนหย่า ฝ่ายจำเลยอ้างว่าได้ตกลงกับโจทก์ให้จำเลยอยู่บ้านเลี้ยงดูบุตรโดยไม่ติดตามโจทก์ไปแต่โจทก์จะเป็นฝ่ายมาเยี่ยมเยียนจำเลยและบุตรเมื่อโจทก์ย้ายกลับมาประจำอยู่ที่จังหวัดกระบี่ จนกระทั่ง ปี 2530 โจทก์เริ่มกลับมาหาจำเลยบ้างไม่มาบ้าง ค่าอุปการะเลี้ยงดูที่เคยส่งให้ประจำก็กลายเป็นส่งบ้างไม่ส่งบ้างเพราะโจทก์ไปติดพัน นางจารีย์ จำเลยกับโจทก์ได้ทะเลาะกัน ต่อมาปี 2532 โจทก์มักจะมาหาแต่บุตรไม่ค่อยมาหาจำเลยอีกเห็นว่าโจทก์คงมีแต่ตัวโจทก์เป็นพยานเพียงปากเดียว ที่เบิกความยืนยันถึงข้อบกพร่องเสียหายของจำเลย อันเป็นสาเหตุให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้งถึงขั้นที่ไม่อาจจะอยู่กินด้วยกันได้ต่อไป และแยกกันอยู่ในที่สุดซึ่งก็เป็นคำเบิกความลอย ๆ ปราศจากหลักฐานอื่นใดสนับสนุน ส่วนจำเลย นอกจากจำเลย จะปฏิเสธ ข้อกล่าวหาของโจทก์ แล้วยังนำสืบสาเหตุความบาดหมางระหว่างโจทก์จำเลยว่ามาจากโจทก์เองที่ประพฤติชั่วไปติดพัน นางจารีย์ ฉันชู้สาว จำเลยขอร้องให้โจทก์เลิกติดต่อกับนางจารีย์ โจทก์ก็ ไม่ยินยอม ซึ่งความข้อนี้ จำเลยมีนาย รังสรรค์ เพื่อนร่วมงานของ โจทก์ เป็นพยาน เบิกความสนับสนุนว่า โจทก์ มีความสัมพันธ์กับ นางจารีย์ ตั้งแต่ ปี 2530 จริง และ มี พันตำรวจเอก บรรพต สุวพันธ์ อาของโจทก์พยานจำเลยอีกปากหนึ่งเบิกความยืนยันว่า เมื่อ ปี 2532 จำเลยเคยมาปรึกษาเพราะมีปัญหาครอบครัว เนื่องจากโจทก์ไปติดพัน นางจารีย์ ซึ่งพยานก็เคยเรียกโจทก์มาพบและชี้แจงให้โจทก์คิดถึงบุตรบ้างนาย รังสรรค์เป็นผู้บังคับบัญชาของโจทก์และมีความสนิทสนมกับโจทก์และครอบครัวเป็นอย่างดี พันตำรวจเอก บรรพต เป็นญาติสนิทและญาติผู้ใหญ่ของโจทก์ต่างมีความหวังดีและห่วงใยต่อครอบครัวของโจทก์และไม่มีสาเหตุโกรธเคืองใด ๆ ต่อกันน่าเชื่อ ว่าพยานทั้งสองปากดังกล่าวต่างได้เบิกความไปตามความเป็นจริงจึงรับฟังสนับสนุนข้ออ้างของจำเลยที่ว่าสาเหตุที่โจทก์ไม่กลับบ้านไปหาจำเลยนั้น มาจากตัวโจทก์เป็นเหตุหาใช่ มาจากจำเลยไม่ โจทก์ฎีกาอ้างพยานคำเบิกความ ของจำเลย เมื่อ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2534 ในคดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 1019/2534 ของ ศาลชั้นต้น ตาม เอกสาร หมาย จ. 5 ว่า จำเลยยอมรับว่าขณะเบิกความนั้นจำเลยกับโจทก์แยกกันอยู่มา ประมาณ 3 ปีแล้วจึงเป็นพยานสำคัญที่ยืนยันว่าจำเลยกับโจทก์แยกกันอยู่โดยต่างตกลง กันที่จะยุติความสัมพันธ์ฉันสามีภริยาต่อกัน อันเนื่องมาจากความไม่ปกติสุขในชีวิต สมรสนั้น เห็นว่าตามคำเบิกความของจำเลยที่ปรากฏในเอกสาร หมาย จ. 5 ที่ โจทก์ อ้างดังกล่าวมีเพียงว่าขณะเบิกความนั้น จำเลยกับโจทก์แยกกันอยู่และแยกกันอยู่ มาประมาณ 3 ปี แล้วแต่ ยังไม่ได้จดทะเบียนหย่าเท่านั้น มิได้ มีข้อความใดที่ระบุยืนยันว่า ที่จำเลยกับโจทก์แยกกันอยู่เป็นการแยกกันด้วยความสมัครใจของจำเลยด้วยเลยและ ถ้อยคำของจำเลยที่เบิกความเช่นนั้นก็เป็นการเบิกความไปตามความเป็นจริงที่ต้องแยกกันอยู่ โดยสภาพครอบครัวที่โจทก์ต้องย้ายไปรับราชการตามจังหวัด ต่าง ๆ ที่จำเลยมิได้ติดตามไปด้วยซึ่งโจทก์มีหน้าที่ที่ จะต้องกลับมาเยี่ยมเยียนดูแลบุตรภริยาเมื่อโจทก์ไม่ยอมกลับมาเยี่ยมจำเลยและบุตรอีกการแยกกันอยู่ตามสภาพเดิมก็เปลี่ยนเป็นแยกกันอยู่อย่างจริงจังไป แต่กรณีดังกล่าวจะถือว่าเป็นการแยกกันโดยความสมัครใจของจำเลยด้วยหาได้ไม่ เพราะจำเลยยังรักใคร่ หึงหวง ในตัวโจทก์อยู่ จึงได้ทำหนังสือร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาของ นางจารีย์ ทั้งในระดับต้นและระดับสูง ลงวันที่ 18 มิถุนายน 2533 และ วันที่ 16 กรกฎาคม 2533 ตาม เอกสารหมาย ล. 3 และโจทก์ก็ยังเบิกความรับว่าจำเลยได้ร้องเรียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ต่อผู้บังคับบัญชาของโจทก์เองด้วย ซึ่งเห็นอย่างชัดแจ้งว่าจำเลยมิได้สมัครใจที่จะแยกทางกับ โจทก์แต่อย่างใด แต่กลับแสดงให้เห็นว่า จำเลยยังคงคาดหวังที่จะให้โจทก์ กลับมาอยู่กินฉันสามีภริยาเพื่อความสุข ความอบอุ่นในครอบครัวต่อไป ส่วนผลของข้อร้องเรียนของจำเลยจะเป็นไป ในลักษณะใดโจทก์จะไปติดพัน นางจารีย์ ฉันชู้สาวจริง หรือไม่ ย่อมจะไม่ทำให้ความรักความหึงหวง ของจำเลยที่มีต่อ โจทก์ เปลี่ยนแปลงไป ฉะนั้นข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าว คงฟังได้แต่เพียงว่า โจทก์ กับจำเลย แยกกันอยู่มากว่า 3 ปี จริงแต่การแยกกันอยู่นั้น มิใช่ด้วยความสมัครใจของจำเลย การที่โจทก์ จำเลย แยกกันอยู่เช่นนี้ ก็โดลำพังความสมัครใจของโจทก์ แต่ฝ่ายเดียว หาทำให้เกิดสิทธิฟ้องหย่าจำเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(4/2)ไม่ พยานหลักฐานของจำเลยมีน้ำหนักน่าเชื่อยิ่งกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ ศาลล่างทั้งสอง พิพากษาชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น " พิพากษายืน
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง Section 1516. Grounds for Divorce Grounds of action for divorce are as follows: 1.the husband has given maintenance to or honored such other woman as his wife, or the wife has committed adultery, the other spouse may enter a claim for divorce; 2.one spouse is guilty of misconduct, notwithstanding whether such misconduct is a criminal offence or not, if it causes the other: 1.to be seriously ashamed; 2.to be insulted of hated or account of continuance of being husband or wife of the spouse having committed the misconduct; or 3.to sustain excessive injury or trouble where the condition, position and cohabitation as husband and wife are taken into consideration; the latter may enter a claim for divorce; 3.one spouse has caused serious harm or torture to the body or mind of the other, or has seriously insulted the other or his or her ascendants, the latter may enter a claim for divorce; 4.one spouse has deserted the other for more than one year, the latter may enter a claim for divorce; 1.(4/1) one spouse had been sentenced by a final judgment of the Court and has been imprisoned for more than one year in the offence committed without any participation, consent or in the knowledge of the other, and the cohabitation as husband and wife will cause the other party sustain excessive injury or trouble, the latter may enter a claim for divorce; 2.(4/2) The husband and wife voluntarily live separately because of being unable to cohabit peacefully for more than three years, or live separately for more than three years by the order of the Court, either spouse may enter a claim for divorce; 5.one spouse has been adjudged to have disappeared, or as left his or her domicile or residence for more than three years and being uncertain whether he or she is living or dead; 6.one spouse has failed to give proper maintenance and support to the other, or committed acts seriously adverse to the relationship of husband and wife to such an extent that the other has been in excessive trouble where the condition, position and cohabitation as husband and wife are taking into consideration, the latter may enter a claim for divorce; 7.one spouse has been an insane person for more than three years continuously and such insanity is hardly curable so that the continuance of marriage cannot be expected, the other may enter a claim for divorce; 8.one spouse has broken a bond of good behavior executed by him or her, the other spouse may enter a claim for divorce; 9.one spouse is suffering from a communicable and dangerous disease which is incurable and may cause injury to the other, the latter may file a claim for divorce; 10.one spouse has a physical disadvantage so as to be permanently unable to cohabit as husband and wife, the other may enter a claim for divorce. |