ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ขับไล่โจทก์ออกจากบ้านเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง

สิทธิฟ้องหย่าอ้างเหตุเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากัน

ขับไล่โจทก์ออกจากบ้านเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง

มูลเหตุสำคัญทำให้โจทก์กับจำเลยต้องทะเลาะกันอย่างรุนแรงจนถึงขนาดที่โจทก์ตัดสินใจออกจากบ้านที่อยู่กับจำเลยและบุตรอีกสามคนไปอยู่ที่หอพักพยาบาลกับเพื่อนเป็นเวลานานเกือบสามปี เชื่อได้ว่าเรื่องนางสาว ร. บุตรของโจทก์ที่เกิดกับสามีเดิมคลอดบุตรแล้วแจ้งว่าจำเลยเป็นบิดาเด็กนั้นเป็นเรื่องจริงตามที่โจทก์อ้าง 

ตามที่โจทก์เบิกความว่า จำเลยขับไล่โจทก์ออกจากบ้านด้วยสาเหตุว่า หมดรักแล้ว ไม่อยากเห็นหน้า ไม่อยากอยู่ด้วยให้โจทก์ขนของออกจากบ้านภายในสามวัน โจทก์จึงพาเด็กชาย ต. และเด็กหญิง ร. ย้ายออกจากบ้านไปโดยไปลงบันทึกประจำวันไว้ที่สำนักงานตำรวจภูธรวารินชำราบ  โดยเด็กหญิง ร. และเด็กชาย ต. เบิกความเป็นพยานโจทก์ว่าถูกจำเลยขับไล่ออกจากบ้าน จึงมีน้ำหนักให้เชื่อถือยิ่งกว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยขับไล่โจทก์ออกจากบ้านจริง อันถือได้ว่าจำเลยทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยได้

ในประเด็นเรื่องฝ่ายใดสมควรเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรทั้งสองเพียงผู้เดียวตามได้ความว่าโจทก์มีอาชีพรับราชการ ถือได้ว่าเป็นอาชีพมั่นคงมีรายได้แน่นอน ส่วนจำเลยนั้นโจทก์อ้างว่าจำเลยไม่มีอาชีพแม้จำเลยอ้างว่าตนมีอาชีพขายสลากกินแบ่งรัฐบาล แต่ก็ถือเป็นอาชีพที่มีรายได้ไม่มั่นคงเท่ากับโจทก์ ประกอบกับได้ความว่าโจทก์เป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูเด็กชาย ต. ซึ่งอยู่กับโจทก์ในทุกเรื่อง ทั้งยังอุปการะดูแลชำระค่าเทอมและให้ค่าใช้จ่ายรายวันแก่เด็กชาย ป. ซึ่งอยู่กับจำเลยด้วยและได้ความว่าเด็กชาย ป. ซึ่งอยูในความดูแลของจำเลยมีอุปนิสัยเปลี่ยนไปในทางก้าวร้าวเอาแต่ใจ และขาดเรียนบ่อยครั้ง ศาลเห็นว่าการให้บุตรทั้งสองซึ่งเป็นพี่น้องกันได้อยู่ใกล้ชิดร่วมกัน รวมทั้งได้อยู่กับมารดาและพี่สาวอีกคน(เด็กหญิงร.) ซึ่งเคยอยู่ร่วมกันมาก่อนน่าจะเป็นผลดียิ่งกว่า เห็นควรให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรทั้งสองเพียงผู้เดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4104/2564

การที่จำเลยขับไล่โจทก์ออกจากบ้าน ถือได้ว่าจำเลยทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (6) การที่จำเลยพาโจทก์และบุตรทั้งสามไปเที่ยวพักผ่อนค้างคืนด้วยกันเป็นเพียงการดูแลให้ความอบอุ่นแก่บุตรตามสมควรเท่านั้นยังไม่เพียงพอให้ถือว่าเป็นการที่โจทก์ได้ให้อภัยจำเลยในเหตุที่โจทก์มีสิทธิฟ้องหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1518โจทก์มีอาชีพรับราชการถือว่าเป็นอาชีพมั่นคงมีรายได้แน่นอน ส่วนจำเลยมีอาชีพขายสลากกินแบ่งรัฐบาลถือเป็นอาชีพมีรายได้ไม่มั่นคงเท่ากับโจทก์ ประกอบกับได้ความว่าโจทก์เป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูบุตรที่อยู่กับโจทก์ในทุกเรื่อง ทั้งยังอุปการะดูแลชำระค่าเล่าเรียนและให้ค่าใช้จ่ายรายวันแก่บุตรอีกคนซึ่งอยู่กับจำเลยด้วย บุตรที่อยู่กับโจทก์ไม่ปรากฏว่ามีลักษณะส่อไปในทางไม่เหมาะสม ส่วนบุตรที่อยูในความดูแลของจำเลยกลับมีอุปนิสัยเปลี่ยนไปในทางก้าวร้าวเอาแต่ใจ และขาดเรียนบ่อยครั้ง นอกจากนี้การให้บุตรทั้งสองซึ่งเป็นพี่น้องกันได้อยู่ใกล้ชิดร่วมกัน รวมทั้งได้อยู่กับมารดาและพี่สาวซึ่งเคยอยู่ร่วมกันมาแต่ก่อนน่าจะเป็นผลดียิ่งกว่า จึงเห็นควรให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรทั้งสองเพียงผู้เดียว แต่จำเลยซึ่งเป็นบิดายังคงมีสิทธิที่จะติดต่อกับบุตรทั้งสองได้ตามควรแก่พฤติการณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1584/1

โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้พิพากษาให้โจทก์หย่าขาดจากจำเลย และให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรทั้งสองเพียงผู้เดียว

จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษากลับ ให้โจทก์หย่าขาดจากจำเลย และให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กชาย ต. และเด็กชาย ป. บุตรทั้งสองเพียงผู้เดียว ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

จำเลยฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่ได้โต้แย้งกันในชั้นฎีกาฟังได้ว่า โจทก์และจำเลยจดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2549 มีบุตรด้วยกัน 2 คนคือ เด็กชาย ต. กับเด็กชาย ป. เดิมโจทก์จำเลยรวมทั้งบุตรชายทั้งสองกับ เด็กหญิง ร. บุตรโจทก์ที่เกิดจากสามีคนก่อนอยู่ร่วมบ้านเดียวกัน ต่อมาประมาณเดือนกรกฎาคม 2555 ขณะที่โจทก์ปฏิบัติหน้าที่วิสัญญีพยาบาล ที่โรงพยาบาลที่โจทก์ทำงานอยู่ นางสาว ร. ไปผ่าตัดคลอดบุตรที่โรงพยาบาลดังกล่าวโดยมีข้อเท็จจริงปรากฏในเอกสารประวัติและสมุดบันทึกการตั้งครรภ์ของนางสาว ร. ว่าจำเลยเป็นบิดาของบุตรในครรภ์ โดยนางสาว ร. ยืนยันว่าจำเลยเป็นบิดาของบุตรในครรภ์ตน โจทก์กับจำเลยจึงทะเลาะกันอย่างรุนแรงจนแยกกันอยู่ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ต่อมาประมาณกลางปี 2557 จำเลยขอคืนดีกับโจทก์ โจทก์เห็นแก่ครอบครัวจึงพาบุตรกลับไปอยู่ร่วมกับจำเลยอีกครั้งเป็นเวลาเกือบสามปี ในระหว่างช่วงเวลานี้จำเลยทะเลาะวิวาทกับพี่สาวและพี่ชายของโจทก์ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดากับโจทก์โดยมีความรุนแรงถึงขนาดฟ้องร้องกันทั้งทางแพ่งและอาญา โจทก์และจำเลยก็มีเรื่องทะเลาะกันหลายครั้ง จนกระทั่งเมื่อเดือนพฤษภาคม 2560 โจทก์และเด็กชาย ต. กับเด็กหญิง ร. ออกจากบ้านไปอยู่ที่อื่น หลังจากนั้นในวันที่ 23 ตุลาคม 2560 โจทก์ จำเลย เด็กหญิง ร. เด็กชาย ต. และเด็กชาย ป. ร่วมเดินทางไปเที่ยวและพักค้างคืนด้วยกันที่อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี และวันที่ 2 ธันวาคม 2560 จำเลยพาโจทก์และบุตรทั้งสามไปเที่ยวและพักค้างคืนด้วยกันอีกที่จังหวัดมุกดาหาร

มีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการแรกว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษหรือไม่ จำเลยฎีกาว่า ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับนางสาว ร. นั้น จำเลยไม่ได้ยกย่องนางสาว ร. เป็นภริยา และไม่ได้เป็นผู้แจ้งว่าจำเลยเป็นบิดาของบุตรที่เกิดกับนางสาว ร. การที่โจทก์ จำเลย กับเด็กหญิง ร. เด็กชาย ต. และเด็กชาย ป. ไปเที่ยวพักผ่อนค้างคืนด้วยกันนั้น ถือได้ว่าโจทก์ได้ให้อภัยในการกระทำของจำเลยที่ผ่านมาแล้ว ทั้งเมื่อโจทก์พาลูก ๆ กลับมาอยู่ร่วมกับจำเลยอีกครั้ง ในระหว่างนั้นจำเลยมีเรื่องทะเลาะวิวาทกับพี่น้องของโจทก์หลายครั้ง เป็นเหตุให้โจทก์กับจำเลยมีเรื่องขัดแย้งทะเลาะกันด้วย เวลาที่โจทก์จำเลยทะเลาะกัน โจทก์ก็จะหนีออกจากบ้านไปอยู่กับพี่สาว เมื่อหายโกรธแล้วก็จะกลับมาคืนดีกับจำเลย เป็นเช่นนี้อยู่เนือง ๆ จำเลยไม่เคยขับไล่โจทก์และบุตรออกจากบ้าน กรณีไม่มีเหตุตามกฎหมายที่โจทก์จะฟ้องหย่าได้ เหตุที่โจทก์ฟ้องหย่าเป็นเพราะโจทก์ต้องการมีสามีใหม่ ในปัญหานี้โจทก์นำสืบว่า หลังจากเดือนกรกฎาคม 2555 ที่โจทก์ทราบเรื่องที่นางสาว ร. แจ้งทางโรงพยาบาลที่โจทก์ทำงานอยู่ว่าจำเลยเป็นบิดาของบุตรในครรภ์นางสาว ร. แล้ว โจทก์กับจำเลยทะเลาะกันอย่างรุนแรงจนมีการตัดความสัมพันธ์และแยกกันอยู่จนถึงประมาณกลางปี 2557 จำเลยขอคืนดีกับโจทก์และให้โจทก์กลับไปอยู่ร่วมกับครอบครัวอีกครั้ง โจทก์ยินยอมโดยกลับไปอยู่ร่วมกับครอบครัวอีกเป็นเวลาเกือบสามปี ระหว่างนั้นจำเลยทะเลาะวิวาทกับพี่น้องของโจทก์ถึงขนาดฟ้องร้องกันทั้งทางแพ่งและอาญา จนกระทั่งเดือนพฤษภาคม 2560 จำเลยขับไล่โจทก์ เด็กชาย ต. และเด็กหญิง ร. ออกจากบ้านเพราะจำเลยหมดรักโจทก์ ไม่อยากเห็นหน้า ไม่อยากอยู่ด้วย โจทก์จึงพาเด็กชาย ต. และเด็กหญิง ร. ออกไปอยู่ที่อื่นจนถึงปัจจุบัน ส่วนจำเลยนำสืบยอมรับว่ามีเรื่องทะเลาะกับพี่น้องของโจทก์ถึงขนาดฟ้องร้องกันจริง แต่จำเลยไม่เคยยกย่องนางสาว ร. ฉันภริยา จำเลยไม่เคยขับไล่โจทก์และบุตรออกจากบ้าน โจทก์พาบุตรออกไปจากบ้านโดยไม่ทราบสาเหตุ จำเลยไม่ได้จงใจทิ้งร้างโจทก์เกิน 1 ปี หลังจากโจทก์ออกจากบ้านไปแล้วเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2560 และวันที่ 2 ธันวาคม 2560 จำเลยพาโจทก์กับบุตรทั้งสามไปเที่ยวพักผ่อนค้างคืนร่วมห้องเดียวกันโดยโจทก์จำเลยนอนเตียงเดียวกันด้วย เห็นว่า เรื่องนางสาว ร. นั้น เป็นเรื่องเดิมที่เป็นมูลเหตุสำคัญทำให้โจทก์กับจำเลยต้องทะเลาะกันอย่างรุนแรงจนถึงขนาดที่โจทก์ตัดสินใจออกจากบ้านที่อยู่กับจำเลยและบุตรอีกสามคนไปอยู่ที่หอพักพยาบาลกับเพื่อนเป็นเวลานานเกือบสามปี เชื่อได้ว่าเรื่องนางสาว ร. เป็นเรื่องจริงตามที่โจทก์อ้าง อย่างไรก็ตามเมื่อประมาณกลางปี 2557 จำเลยขอคืนดีกับโจทก์ โจทก์คำนึงถึงสถาบันครอบครัวจึงยอมกลับมาอยู่ร่วมกับจำเลยและบุตรทั้งสามอีกครั้งหนึ่ง แต่ในระหว่างที่โจทก์กลับมาอยู่ร่วมกับจำเลยและครอบครัวอีกครั้งนั้นก็เกิดเหตุทะเลาะวิวาทกันระหว่างจำเลยกับพี่น้องของโจทก์เกี่ยวกับเรื่องทรัพย์สินหลายครั้งถึงขนาดมีการฟ้องร้องกันทั้งทางแพ่งและอาญา ทำให้เกิดปัญหาลุกลามมาถึงความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยจนทั้งสองฝ่ายต้องทะเลาะกันเองหลายครั้ง จนกระทั่งเดือนพฤษภาคม 2560 โจทก์ต้องพาเด็กชาย ต. และเด็กหญิง ร. ออกจากบ้านไปอยู่กับพี่สาว ในส่วนนี้โจทก์เบิกความว่า จำเลยขับไล่โจทก์ออกจากบ้านด้วยสาเหตุว่า หมดรักแล้ว ไม่อยากเห็นหน้า ไม่อยากอยู่ด้วยให้โจทก์ขนของออกจากบ้านภายในสามวัน โจทก์จึงพาเด็กชาย ต. และเด็กหญิง ร. ย้ายออกจากบ้านไปโดยไปลงบันทึกประจำวันไว้ที่สำนักงานตำรวจภูธรวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เด็กหญิง ร. และเด็กชาย ต. เบิกความเป็นพยานโจทก์เช่นเดียวกันว่า ถูกจำเลยขับไล่ออกจากบ้าน ส่วนจำเลยเบิกความว่า เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2560 โจทก์พาเด็กหญิง ร. กับเด็กชาย ต. ออกไปจากบ้านโดยไม่ทราบสาเหตุ จำเลยไม่เคยขับไล่โจทก์และบุตรทั้งสองออกจากบ้าน เห็นได้ว่าหลังจากโจทก์กลับมาอยู่กับจำเลยและบุตรทั้งสามแล้ว โจทก์กับจำเลยมีเรื่องทะเลาะกันหลายครั้งแต่ก็ไม่ถึงขั้นที่โจทก์จะต้องพาบุตรออกจากบ้านไปแต่อย่างใด ส่วนจำเลยเพียงแต่กล่าวอ้างลอย ๆ ว่า ไม่ทราบว่าโจทก์ออกจากบ้านเพราะเหตุใด ที่โจทก์และเด็กหญิง ร. กับเด็กชาย ต. เบิกความตรงกันว่า จำเลยขับไล่ทั้งสามคนออกจากบ้านโดยโจทก์ได้นำเรื่องไปลงบันทึกประจำวันไว้ที่สถานีตำรวจด้วยจึงมีน้ำหนักให้เชื่อถือยิ่งกว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยขับไล่โจทก์ออกจากบ้านจริง ส่วนที่ได้ความว่า เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2560 และวันที่ 2 ธันวาคม 2560 จำเลยพาโจทก์กับบุตรทั้งสามคนไปเที่ยวพักผ่อนมีการค้างคืนโดยนอนร่วมห้องเดียวกันและจำเลยกับโจทก์นอนเตียงเดียวกันด้วยนั้น น่าจะเป็นเรื่องที่โจทก์และจำเลยช่วยกันดูแลให้ความอบอุ่นแก่บุตรในฐานะบิดามารดาเท่าที่พอจะเป็นไปได้สำหรับครอบครัวที่บิดามารดาแยกกันอยู่ ทั้งปรากฏว่าหลังจากจำเลยขับไล่โจทก์ออกจากบ้านแล้วก็มีเพียงการไปเที่ยวค้างคืนด้วยกันสองครั้งที่กล่าวมาข้างต้นเท่านั้น ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามทางนำสืบของโจทก์ว่า จำเลยขับไล่โจทก์ออกจากบ้าน ถือได้ว่าจำเลยทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 (6) ทั้งการที่จำเลยพาโจทก์และบุตรทั้งสามไปเที่ยวพักผ่อนค้างคืนด้วยกันตามที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เป็นเพียงการดูแลให้ความอบอุ่นแก่บุตรตามสมควรเท่านั้นยังไม่เพียงพอให้ถือว่าเป็นการที่โจทก์ได้ให้อภัยจำเลยในเหตุที่โจทก์มีสิทธิฟ้องหย่าแต่อย่างใด ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

มีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการต่อมาว่า โจทก์สมควรเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กชาย ต. และเด็กชาย ป. บุตรทั้งสองเพียงผู้เดียวตามที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษาหรือไม่นั้น ได้ความว่าโจทก์มีอาชีพรับราชการ ถือได้ว่าเป็นอาชีพมั่นคงมีรายได้แน่นอน ส่วนจำเลยนั้นโจทก์อ้างว่าจำเลยไม่มีอาชีพแม้จำเลยอ้างว่าตนมีอาชีพขายสลากกินแบ่งรัฐบาล แต่ก็ถือเป็นอาชีพที่มีรายได้ไม่มั่นคงเท่ากับโจทก์ ประกอบกับได้ความว่าโจทก์เป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูเด็กชาย ต. ซึ่งอยู่กับโจทก์ในทุกเรื่อง ทั้งยังอุปการะดูแลชำระค่าเทอมและให้ค่าใช้จ่ายรายวันแก่เด็กชาย ป. ซึ่งอยู่กับจำเลยด้วย เด็กชาย ต. ซึ่งอยู่กับโจทก์ไม่ปรากฏว่ามีลักษณะส่อไปในทางไม่เหมาะสมอย่างใดทั้งสิ้น ส่วนเด็กชาย ป. ซึ่งอยูในความดูแลของจำเลยกลับมีอุปนิสัยเปลี่ยนไปในทางก้าวร้าวเอาแต่ใจ และขาดเรียนบ่อยครั้ง นอกจากนี้การให้บุตรทั้งสองซึ่งเป็นพี่น้องกันได้อยู่ใกล้ชิดร่วมกัน รวมทั้งได้อยู่กับมารดาและพี่สาวอีกคนซึ่งเคยอยู่ร่วมกันมาแต่ก่อนน่าจะเป็นผลดียิ่งกว่า ส่วนที่จำเลยอ้างว่าโจทก์จะมีสามีใหม่นั้น จำเลยก็ไม่มีพยานหลักฐานมาสนับสนุนแต่อย่างใด ข้ออ้างดังกล่าวจึงเป็นเพียงการคาดคะเนของจำเลยเท่านั้น ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษเห็นควรให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กชาย ต. และเด็กชาย ป. บุตรทั้งสองเพียงผู้เดียวนั้นเหมาะสมแล้ว ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน

อนึ่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1584/1 บัญญัติว่า บิดาหรือมารดาย่อมมีสิทธิที่จะติดต่อกับบุตรของตนได้ตามควรแก่พฤติการณ์ ไม่ว่าบุคคลใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองก็ตาม ฉะนั้น จำเลยซึ่งเป็นบิดายังคงมีสิทธิติดต่อกับบุตรทั้งสองได้ตามควรแก่พฤติการณ์ด้วย

พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ

 

ในประเด็นเรื่องฝ่ายใดสมควรเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรทั้งสองเพียงผู้เดียวตามได้ความว่าโจทก์มีอาชีพรับราชการ ถือได้ว่าเป็นอาชีพมั่นคงมีรายได้แน่นอน ส่วนจำเลยนั้นโจทก์อ้างว่าจำเลยไม่มีอาชีพแม้จำเลยอ้างว่าตนมีอาชีพขายสลากกินแบ่งรัฐบาล แต่ก็ถือเป็นอาชีพที่มีรายได้ไม่มั่นคงเท่ากับโจทก์ ประกอบกับได้ความว่าโจทก์เป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูเด็กชาย ต. ซึ่งอยู่กับโจทก์ในทุกเรื่อง ทั้งยังอุปการะดูแลชำระค่าเทอมและให้ค่าใช้จ่ายรายวันแก่เด็กชาย ป. ซึ่งอยู่กับจำเลยด้วยและได้ความว่าเด็กชาย ป. ซึ่งอยูในความดูแลของจำเลยมีอุปนิสัยเปลี่ยนไปในทางก้าวร้าวเอาแต่ใจ และขาดเรียนบ่อยครั้ง ศาลเห็นว่าการให้บุตรทั้งสองซึ่งเป็นพี่น้องกันได้อยู่ใกล้ชิดร่วมกัน รวมทั้งได้อยู่กับมารดาและพี่สาวอีกคน (เด็กหญิงร.) ซึ่งเคยอยู่ร่วมกันมาก่อนน่าจะเป็นผลดียิ่งกว่า เห็นควรให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรทั้งสองเพียงผู้เดียว




การสิ้นสุดแห่งการสมรส

สิทธิฟ้องหย่าระงับเมื่ออีกฝ่ายให้อภัยแล้ว article
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปีฟ้องหย่าได้ article
สิทธิที่จะติดต่อกับบุตรของตนได้ตามสมควรแล้วแต่พฤติการณ์
ไม่อาจร่วมประเวณีได้ ต้องการฟ้องหย่า
เหตุฟ้องหย่าให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ยื่นฟ้องหย่า
แยกกันอยู่หรือจงใจละทิ้งร้าง? -อยู่บ้านเดียวกันแต่ก็มีลักษณะแบบต่างคนต่างอยู่
กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง
ไม่ถือว่าจำเลยประพฤติชั่วทำให้โจทก์อับอายถูกเกลียดชังจนเป็นเหตุฟ้องหย่าได้
สิทธิที่จะเรียกค่าทดแทนชู้สาวนั้นต้องแสดงตนโดยเปิดเผย
เหตุแห่งการฟ้องหย่าทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลงขอให้อีกฝ่ายหนึ่งจ่ายค่าเลี้ยงชีพได้
ฟ้องซ้ำ ค่าอุปการะเลี้ยงดู หนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนด
การสมรสสิ้นไปด้วยเหตุความตายของคู่สมรสฝ่ายหนึ่ง
การแบ่งสินสมรสและกรรมสิทธิ์รวม
หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามสามีหรือบุพการี
สัญญาระหว่างสมรสให้ทรัพย์สินของสามีตกเป็นของภริยาห้ามบอกล้าง
ขอเพิกถอนทะเบียนสมรสซ้อน สมรสซ้อนโดยไม่สุจริต
ทะเบียนสมรส ลงชื่อฝ่ายชายคนเดียว, เพิกถอนการรับบุตรบุญธรรม
ฟ้องหย่าอ้างเหตุสมัครใจแยกกันอยู่
ทำร้ายร่างกายถ้าเป็นการร้ายแรงฟ้องหย่าได้, ศาลปรับหนึ่งพันไม่เป็นการร้ายแรง
ฟ้องหย่าอ้างว่าจำเลยดูหมิ่นโจทก์และบุพการีของโจทก์อย่างร้ายแรง
การกระทำของจำเลยถือไม่ได้ว่าเป็นการประพฤติชั่วอันเป็นเหตุฟ้องหย่า
โจทก์ได้ให้อภัยจำเลยเรื่องทำร้ายร่างกายแล้วถือได้ว่าสิทธิฟ้องหย่าในข้อนี้ย่อมหมดไป
ทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง
เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากัน, การทำร้ายคู่สมรส
เหตุฟ้องหย่า เหตุที่ไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ มีอะไรบ้าง
ไม่เกิดสิทธิฟ้องหย่าเพราะโจทก์มีพฤติกรรมนอกใจจำเลยยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา
ความสมบูรณ์ของการสมรส, ฟ้องให้การสมรสเป็นโมฆะ
การละเมิดเกิดขึ้นต่อเนื่องอายุความจึงยังไม่เริ่มนับคดีไม่ขาดอายุความ
การฟ้องหย่าและหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากสามี ไม่ฟ้องหย่า
ฟ้องหย่าอ้างสิทธิที่จะเลือกคู่ครองตามรัฐธรรมนูญ
รู้ว่าสามีไปมีหญิงอื่นเกินหนึ่งปีก็ฟ้องเรียกค่าเสียหายได้,อายุความ
จงใจละทิ้งร้างไปเกินหนึ่งปี
สามีฟ้องหย่า,จงใจละทิ้งร้าง,เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา
ฟ้องหย่าได้ที่ศาลใด
สามีโจทก์เข้าออกบ้านของจำเลยในเวลากลางคืนบ่อยครั้ง
การหย่าโดยคำพิพากษาจะมีผลต่อเมื่อเวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุด
หนังสือร้องเรียนผู้บังคับบัญชาเรื่องความสัมพันธ์กับหญิงอื่น
ฟ้องหย่าอ้างแยกกันอยู่เกินสามปีต้องเพราะไม่อาจอยู่ร่วมกันได้โดยปกติสุข
เหตุฟ้องหย่าอ้างว่าใช้วาจาไม่สุภาพและทะเลาะโดยไม่มีเหตุผล
หลักเกณฑ์การใช้สิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพหลังการหย่า
สิทธิฟ้องหย่าของโจทก์หมดไปโจทก์ให้ความยินยอมและรู้เห็นเป็นใจ
สมัครใจแยกกันอยู่เกิน 3 ปี ต้องเพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันได้โดยปกติสุขด้วย
คำสั่งขอคุ้มครองชั่วคราวเกี่ยวด้วยดอกผลของสินสมรส
แม้โจทก์ไม่ได้นำสืบเรื่องอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่ศาลมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดได้
จดทะเบียนสมรสโดยต่างไม่ได้ยินยอมเป็นสามีภริยากันอย่างแท้จริง
ความหมายว่า"ค่าอุปการะเลี้ยงดูจนกว่าจะสมรสใหม่และจนกว่าการสมรสสิ้นสุดลง"
ฟ้องหย่าคดีอยู่ระหว่างฎีกาฟ้องคดีใหม่เป็นฟ้องซ้อน
สำนักงานการปฏิรูปฯ (ส.ป.ก.)ขอออกโฉนดโดยมิชอบ
พักโรงแรมห้องเดียวกับสามี ฟ้องเรียกค่าทดแทนจากหญิงชู้โดยไม่ต้องฟ้องหย่า
โจทก์ไม่ทราบแน่ชัดเรื่องชู้สาวจึงไม่เป็นการยินยอมและให้อภัยของโจทก์
บันทึกท้ายทะเบียนการหย่าว่าให้ที่ดินตกเป็นของบุตรเมื่อตายไม่ใช่พินัยกรรม
คดีฟ้องหย่าฟ้องชู้สาวไม่มีกฎหมายห้ามมิให้รับฟังแผ่นบันทึกเสียงที่แอบบันทึกไว้
การจงใจทิ้งร้างไปเกินกว่า 1 ปีต้องในลักษณะที่ไม่หวนกลับไปหาคู่สมรสอีก
สมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้
การจดทะเบียนหย่าด้วยการแสดงเจตนาลวง
จดทะเบียนหย่าแล้วก็ฟ้องเรียกค่าทดแทนชู้สาวได้
สามีภริยาจะต้องมีการร่วมประเวณีกันบ้างแต่ต้องเกิดจากความยินยอม
ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องด้วยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปี เหตุฟ้องหย่า
สมัครใจแยกกันอยู่, จงใจละทิ้งร้าง, เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา
ฟ้องหย่าขอแบ่งสินสมรส การจัดการสินสมรสที่เป็นเงินตรา(เงินสด)
การหย่าโดยความยินยอมต้องทำอย่างไร?, หนังสือหย่า
การฟ้องและเรียกค่าทดแทนคดีครอบครัว
สิทธิฟ้องค่าอุปการะเลี้ยงดูอันจะอยู่ในอายุความ 5 ปี
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลัง
เรียกค่าทดแทนจากสามีและหญิงอื่น(เมียน้อย), ยกย่องผู้อื่นฉันภริยา
การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ สิทธิเรียกร้องกำหนดอายุความ 5 ปี
การหย่าโดยความยินยอม, บันทึกเป็นหนังสือประสงค์หย่าขาด
นำตำรวจจับกุมภริยา หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามโจทก์อย่างร้ายแรง
จงใจละทิ้งร้างภริยาไปเกินหนึ่งปีฟ้องหย่าได้, สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา
ไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควร
สิทธิฟ้องหย่าระงับไปเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีเว้นแต่เหตุฟ้องเกิดขึ้นต่อเนื่อง
ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจ, อุปการะเลี้ยงดูหญิงอื่นเป็นภริยา
แยกกันอยู่เพราะสามีรับราชการที่อื่น, ไม่ถือว่าเป็นการแยกกันอยู่โดยความสมัครใจ
ทะเลาะกันและทำร้ายร่างกายยังไม่เป็นเหตุฟ้องหย่า
แยกกันอยู่เพราะสามียกย่องหญิงอื่น, เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง
ฟ้องหย่าจงใจละทิ้งร้างเรียกสินสอดทองหมั้นคืน
สามีหรือภริยาประพฤติชั่วอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
รู้เห็นเป็นใจในการกระทำที่เป็นเหตุหย่าจะยกเป็นเหตุฟ้องหย่านั้นไม่ได้
พี่น้องของผู้ตายขอเพิกถอนการจดทะเบียนสมรสซ้อนไม่ได้
อำนาจฟ้องขอเพิกถอนการสมรสเพราะสำคัญผิดตัว
ศาลมีอำนาจกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก-ได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปี ฟ้องหย่าได้