![](https://www.peesirilaw.com/images/column_1718776501/lawyer-under-800-129.jpg)
![](/images_profiles/heading2.jpg)
การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
ปรึกษากฎหมายทางแชทไลน์
การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล เหตุฟ้องหย่า หากมีเหตุหย่าเกิดขึ้นจากคู่สมรสฝ่ายหนึ่งทำให้คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิฟ้องหย่าได้ แต่เมื่อมีเหตุหย่าเกิดขึ้นแล้วคู่สมรสฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่าได้นั้นจะต้องไม่กระทำการใดอันเป็นการให้อภัยแก่คู่สมรสฝ่ายดังกล่าว มิฉะนั้นสิทธิฟ้องหย่าย่อมหมดไปทันที ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 มาตรา 1517 มาตรา 1518 มาตรา 1519 และมาตรา 1531 วรรค 2 สิทธิฟ้องหย่าจะเกิดขึ้นใหม่อีกก็ต่อเมื่อคู่สมรสฝ่ายดังกล่าวได้กระทำการอันเป็นเหตุฟ้องหย่าตามมาตรา 1516 ขึ้นอีก ซึ่งการฟ้องหย่าตามมาตรา 1516(1)(2)(3) หรือ (6) นั้น ต้องฟ้องภายในกำหนดเวลา 1 ปีนับแต่วันที่คู่สมรสฝ่ายที่ฟ้องหย่านั้นได้รู้ หรือควรรู้ความจริง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1529 การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3190/2549) มาตรา 1519 ในกรณีที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นคนวิกลจริตและมีเหตุหย่าเกิดขึ้น ไม่ว่าเหตุนั้นจะได้เกิดขึ้นก่อนหรือภายหลังการเป็นคนวิกลจริต ให้บุคคลซึ่งอาจร้องขอต่อศาลให้สั่งให้บุคคลวิกลจริตเป็นคนไร้ความสามาร ตาม มาตรา 28 มีอำนาจฟ้องคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งขอให้ศาลพิพากษาให้หย่า ขาดจากกันและแบ่งทรัพย์สินได้ ในกรณีเช่นว่านี้ ถ้ายังมิได้มีคำสั่งของศาล แสดงว่าคู่สมรสซึ่งวิกลจริตเป็นคนไร้ความสามารถ ก็ให้บุคคลดังกล่าวร้องขอ ต่อศาลในคดีเดียวกันนั้นให้ศาลมีคำสั่งว่าคู่สมรสซึ่งวิกลจริตนั้นเป็นคนไร้ ความสามารถ เมื่อบุคคลดังกล่าวเห็นสมควร จะร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งตาม มาตรา 1526 หรือ มาตรา 1530 ด้วยก็ได้ ในกรณีที่คู่สมรสซึ่งถูกอ้างว่าเป็นคนวิกลจริต ยังไม่ได้ถูกสั่งให้เป็นคนไร้ ความสามารถ หากศาลเห็นว่าคู่สมรสนั้นยังไม่เป็นคนที่ควรสั่งให้เป็นคนไร้ ความสามารถก็ให้ยกฟ้องคดีนั้นเสีย ถ้าเห็นว่าเป็นบุคคลที่ควรสั่งให้เป็นคนไร้ ความสามารถ แต่ยังไม่สมควรจะให้มีการหย่า ก็ให้ศาลสั่งให้คู่สมรสนั้นเป็น คนไร้ความสามารถโดยจะไม่สั่งเรื่องผู้อนุบาลหรือจะตั้งผู้อื่นเป็นผู้อนุบาลตาม มาตรา 1463 ก็ได้ คงพิพากษายกแต่เฉพาะข้อหย่า ในกรณีเช่นนี้ศาลจะสั่ง กำหนดค่าเลี้ยงชีพด้วยก็ได้ ในกรณีที่ศาลเห็นว่าคู่สมรสนั้นวิกลจริตอันควร สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ และทั้งมีเหตุควรให้หย่าด้วย ก็ให้ศาลสั่งในคำ พิพากษาให้คู่สมรสนั้นเป็นคนไร้ความสามารถ ตั้งผู้อนุบาลและให้หย่า ในกรณีนี้ ถ้าศาลเห็นว่าเหตุหย่าที่ยกขึ้นอ้างในการฟ้องร้องนั้นไม่เหมาะ สมแก่สภาพของคู่สมรส ซึ่งเป็นคนไร้ความสามารถที่จะหย่าจากคู่สมรสอีกฝ่าย หนึ่งก็ดี ตามพฤติการณ์ไม่สมควรที่จะให้มีการหย่าขาดจากกันก็ดี ศาลจะ พิพากษาไม่ให้หย่าก็ได้ มาตรา 1529 สิทธิฟ้องร้องโดยอาศัยเหตุใน มาตรา 1516 (1) (2) (3) หรือ (6) หรือ มาตรา 1523 ย่อมระงับไปเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วัน ผู้กล่าวอ้างรู้หรือควรรู้ความจริงซึ่งตนอาจยกขึ้น กล่าวอ้าง (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3596/2546-สิทธิเรียกค่าทดแทนตาม มาตรา 1523) เหตุอันจะยกขึ้นฟ้องหย่าไม่ได้แล้วนั้น อาจนำสืบสนับสนุนคดีฟ้องหย่าซึ่ง อาศัยเหตุ อย่างอื่น มาตรา 1531 การสมรสที่จดทะเบียนตามกฎหมายนั้น การหย่าโดย ความยินยอมของคู่สมรสทั้งสองฝ่ายมีผลนับแต่เวลาจดทะเบียนการหย่าเป็นต้น ไป การหย่าโดยคำพิพากษามีผลแต่เวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุด แต่จะอ้างเป็น เหตุเสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตไม่ได้ เว้นแต่จะได้จดทะเบียนการหย่านั้นแล้ว ในการฟ้องหย่านั้นจะต้องบรรยายเหตุหย่าไว้ให้แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรค 2 "คำฟ้องต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และ คำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น " ไว้ในคำฟ้อง ศาลจะพิพากษาให้หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากัน ก็ต่อเมื่อมีเหตุหย่าตามคำฟ้องเท่านั้น ซึ่งโจทก์จะต้องนำพยานหลักฐานเข้ามาสืบให้รับฟังได้ว่า จำเลยได้กระทำการตามที่กล่าวอ้างไว้ในคำฟ้อง ดังนั้น ถ้าศาลพิจารณาแล้วปรากฏว่า ไม่มีเหตุหย่าตามฟ้อง แต่มีเหตุหย่าประการอื่นปรากฏขึ้น ก็ต้องพิพากษายกฟ้อง หากบรรยายฟ้องไว้ไม่แจ้งชัดย่อมเป็นฟ้องเคลือบคลุม แต่คู่สมรสฝ่ายที่ได้กระทำการอันเป็นเหตุให้คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าตามมาตรา 1516 ก็ย่อมไม่อาจเป็นโจทก์ฟ้องหย่าได้ เพราะเป็นการกระทำของตนเอง การหย่าโดยคำพิพากษาย่อมมีผลผูกพันคู่กรณีแล้ว แต่ไม่มีผลกระทบถึงสิทธิของบุคคลภายนอกที่กระทำการโดยสุจริตจนกว่าจะมีการจดทะเบียนหย่ากันแล้ว การจดทะเบียนหย่าโดยคำพิพากษา ตามมาตรา 1531 วรรค 2 คู่สมรสทั้งสองฝ่ายไม่จำต้องไปด้วยกันเพื่อขอจดทะเบียนหย่าต่อนายทะเบียนอีก โดยคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนำสำเนาคำพิพากษาที่รับรองสำเนาถูกต้องและใบสำคัญเพื่อแสดงว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งได้ถึงที่สุดแล้วไปแสดงต่อนายทะเบียน และขอให้นายทะเบียนบันทึกการหย่าไว้ในทะเบียนได้ และตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว ก็บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสีย ยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดที่รับรองถูกต้องแล้วต่อนายทะเบียนและขอให้นายทะเบียนบันทึกการหย่าไว้ในทะเบียนเท่านั้น
มาตรา 1516 เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้ มาตรา 1517 เหตุฟ้องหย่าตาม มาตรา 1516 (1) และ (2) ถ้าสามี หรือภริยา แล้วแต่กรณี ได้ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำที่เป็นเหตุ หย่านั้น ฝ่ายที่ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจนั้นจะยกเป็นเหตุฟ้องหย่านั้นไม่ได้ เหตุฟ้องหย่าตาม มาตรา 1516 (10) ถ้าเกิดเพราะการกระทำของอีก ฝ่ายหนึ่ง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นจะยกเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้ ในกรณีฟ้องหย่าโดยอาศัยเหตุแห่งการผิดทัณฑ์บนตาม มาตรา 1516 (8) นั้น ถ้าศาลเห็นว่าความประพฤติของสามีหรือภริยาอันเป็นเหตุให้ทำทัณฑ์บน เป็นเหตุเล็กน้อยหรือไม่สำคัญเกี่ยวแก่การอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาโดยปกติสุข ศาลจะไม่พิพากษาให้หย่าก็ได้ มาตรา 1518 สิทธิฟ้องหย่าย่อมหมดไปในเมื่อฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่าได้ กระทำการอันแสดงให้เห็นว่าได้ให้อภัยในการกระทำของอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็น เหตุให้เกิดสิทธิฟ้องหย่านั้นแล้ว |