ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




นำตำรวจจับกุมภริยา หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามโจทก์อย่างร้ายแรง

 ท นาย อาสา ฟรี

 เพิ่มเพื่อนไลน์แชทกับทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

ปรึกษากฎหมายทางแชทไลน์

นำตำรวจจับกุมภริยา หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามโจทก์อย่างร้ายแรง เหตุฟ้องหย่า

•  การฟ้องหย่าตามมาตรา 1516

•  สิทธิในการเรียกค่าเลี้ยงชีพหลังหย่า

•  กฎหมายแพ่งและพาณิชย์เรื่องหย่า

•  ลบหลู่เกียรติและหมิ่นประมาท, เหตุแห่งการหย่า

•  ค่าเลี้ยงชีพหลังการหย่า มาตรา 1526

•  เหตุในการฟ้องหย่าตามกฎหมายไทย

•  สิทธิและหน้าที่ในกรณีหย่าขาด

คำพิพากษาสรุปย่อเกี่ยวกับกรณีการหย่าระหว่างโจทก์และจำเลย โดยโจทก์ฟ้องหย่าจำเลยโดยให้เหตุผลว่าได้รับการดูหมิ่นจากจำเลยและครอบครัว รวมถึงการถูกกล่าวหาว่าลักทรัพย์ และจำเลยได้นำตำรวจไปจับกุม ทำให้เกียรติยศและชื่อเสียงของโจทก์ถูกทำลาย ศาลตัดสินว่าการกระทำดังกล่าวถือว่าเป็นการหมิ่นประมาทอย่างร้ายแรง ซึ่งโจทก์มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(3)

โจทก์ยังขอค่าเลี้ยงชีพจากจำเลย โดยอ้างว่าการหย่าทำให้ตนยากจนลงเพราะไม่มีรายได้ จำเลยไม่ได้มีพยานหลักฐานโต้แย้ง ศาลเห็นว่าการหย่าเป็นความผิดของจำเลย จึงมีสิทธิได้รับค่าเลี้ยงชีพตามมาตรา 1526

ศาลฎีกาวินิจฉัยแก้คำพิพากษาเป็นให้โจทก์และจำเลยหย่าขาดจากกัน และให้จำเลยแบ่งสินสมรสและจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้โจทก์

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 (3) และมาตรา 1526 มีบทบาทสำคัญในกฎหมายครอบครัวของไทย โดยให้สิทธิคู่สมรสในการฟ้องหย่าและเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพ ดังนี้:

1. มาตรา 1516 (3) – กรณีที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งถูกลบหลู่ ดูหมิ่น หรือถูกหมิ่นประมาทอย่างร้ายแรง

o ข้อความตามมาตรานี้ระบุว่าหากคู่สมรสฝ่ายหนึ่งกระทำการที่สร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อเกียรติยศหรือชื่อเสียงของอีกฝ่าย โดยการลบหลู่หรือหมิ่นประมาท อีกฝ่ายสามารถใช้การกระทำนี้เป็นเหตุในการฟ้องหย่าได้ เช่นในกรณีที่ฝ่ายหนึ่งถูกกล่าวหาว่าลักทรัพย์และถูกนำตำรวจไปจับกุม อาจถือว่าเป็นการทำลายชื่อเสียงและเกียรติยศของคู่สมรส ซึ่งส่งผลให้มีสิทธินำเรื่องนี้มาฟ้องหย่าได้

o โดยทั่วไป มาตรานี้ถูกใช้เพื่อคุ้มครองสิทธิในความเคารพและเกียรติของคู่สมรส โดยเฉพาะกรณีที่มีการกระทำอันเป็นการทำลายชื่อเสียงหรือให้ความอับอายอย่างร้ายแรง

2. มาตรา 1526 – สิทธิในการขอค่าเลี้ยงชีพหลังหย่า

o มาตรานี้ระบุว่า คู่สมรสที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการหย่ามีสิทธิขอค่าเลี้ยงชีพจากคู่สมรสอีกฝ่าย โดยเฉพาะในกรณีที่การหย่าเป็นความผิดของอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น เมื่อหย่าแล้วโจทก์ต้องอยู่ในสภาวะยากจนลงเนื่องจากขาดรายได้จากคู่สมรสฝ่ายที่เคยให้การช่วยเหลือ จึงสามารถเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพได้ หากจำเลยไม่ได้มีพยานหลักฐานโต้แย้ง และศาลเห็นว่าเหตุหย่าเกิดจากความผิดของฝ่ายจำเลย ฝ่ายโจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพตามมาตรา 1526

การนำสองมาตรานี้มาใช้ในกรณีหย่าจึงช่วยให้คู่สมรสสามารถรักษาสิทธิในชื่อเสียงและศักดิ์ศรีได้ อีกทั้งยังป้องกันไม่ให้คู่สมรสที่เสียหายจากการหย่าต้องอยู่ในสภาวะยากจน

 

•  การฟ้องหย่าตามมาตรา 1516 •  สิทธิในการเรียกค่าเลี้ยงชีพหลังหย่า •  กฎหมายแพ่งและพาณิชย์เรื่องหย่า •  ลบหลู่เกียรติและหมิ่นประมาท,การหย่า •  ค่าเลี้ยงชีพหลังการหย่า มาตรา 1526 •  เหตุในการฟ้องหย่าตามกฎหมายไทย •  สิทธิและหน้าที่ในกรณีหย่าขาด

 

การที่สามีนำตำรวจไปจับกุมภริยาตามที่บิดาของสามีแจ้งความร้องทุกข์ต่อตำรวจไว้แล้วว่าภริยาลักทรัพย์ ถือว่าเป็นการหมิ่นประมาทภริยาอย่างร้ายแรง เป็นเหตุให้ภริยาอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ ภริยาเรียกค่าเลี้ยงชีพอ้างว่าการหย่าทำให้ภริยายากจนลงเนื่องจากไม่มีรายได้จากงานตามที่เคยทำอยู่ในระหว่างสมรส เหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของสามี ๆ จะต้องรับผิดจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้แก่ภริยา

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2985/2525           

 

การที่บิดามารดาจำเลยไปแจ้งความต่อตำรวจกล่าวหาว่าโจทก์ลักทรัพย์แม้จะมิใช่เหตุที่โจทก์จะยกขึ้นอ้างเพื่อฟ้องขอหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากับจำเลยก็ตามแต่การที่จำเลยนำตำรวจไปจับกุมโจทก์ตามข้อกล่าวหาของบิดามารดานั้น การกระทำของจำเลยย่อมถือได้ว่าเป็นการลบหลู่ดูหมิ่นต่อเกียรติยศและชื่อเสียงของโจทก์ อันเป็นการหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามโจทก์อย่างร้ายแรง เป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1516(3)

โจทก์เพิ่งจะหางานทำได้หลังจากที่แยกกันอยู่กับจำเลยจึงติดใจขอค่าเลี้ยงชีพจากจำเลย จำเลยมิได้นำสืบโต้แย้งเป็นอย่างอื่น กรณีถือได้ว่าการหย่าทำให้โจทก์ยากจนลง เพราะไม่มีรายได้จากการงานตามที่เคยทำอยู่ในระหว่างสมรส เมื่อเหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของจำเลยจำเลยจึงต้องจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1526

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาจำเลยประพฤติตนไม่สมควรที่จะเป็นสามีภริยากับโจทก์ โดยจำเลยไม่เอาใจใส่ให้การอุปการะเลี้ยงดูโจทก์และบุตรตามสมควรแต่ฐานานุรูป และกระทำการอันเป็นการทรมานจิตใจโจทก์ทั้งทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรงโดยเอาแต่ดื่มสุราไม่ช่วยเหลือการค้าขาย ไม่ร่วมหลับนอนกับโจทก์ เมื่อสอบถามสาเหตุจำเลยกลับด่าโจทก์และลบหลู่ดูหมิ่นเกียรติยศชื่อเสียงและฐานะของโจทก์อย่างร้ายแรง โจทก์ไม่อาจทนอยู่ร่วมกับจำเลยได้อีกต่อไป ขอให้พิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันและให้แบ่งสินสมรสกับชำระค่าเลี้ยงชีพและค่าทดแทนให้โจทก์

จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยอุปการะเลี้ยงดูโจทก์มาโดยตลอดไม่เคยเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา ไม่เคยดุด่าโจทก์ให้ได้รับความอับอาย นอกจากบางครั้งที่โจทก์ประพฤติตนไม่สมควรและไม่เคยลบหลู่ดูหมิ่นเกียรติยศชื่อเสียงและฐานะของโจทก์ โจทก์จำเลยและบุตรได้รับเงินค่าครองชีพจากบิดามารดาจำเลยเดือนละ 3,000 บาทไม่เคยมีรายได้เป็นสินสมรสถึงขนาดดังที่โจทก์ฟ้อง จึงไม่มีทรัพย์สินเป็นสินสมรสที่จะแบ่งให้โจทก์และโจทก์ไม่เคยมีสินส่วนตัว โจทก์เป็นฝ่ายกระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยาอย่างร้ายแรง โดยหมิ่นประมาทและเหยียดหยามจำเลยและบิดามารดาของจำเลยกล่าวหาจำเลยต่อบุคคลอื่นว่าไม่ยอมร่วมหลับนอนกับโจทก์และเป็นบุคคลที่เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ทั้งยังด่าว่าบุพการีของจำเลยอย่างร้ายแรงโจทก์ได้ขนย้ายทรัพย์และบุตรหนีออกไปจากบ้านเพื่อจงใจทิ้งร้างจำเลยเกินกว่า1 ปีแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าเลี้ยงชีพตามกฎหมายและจำเลยไม่เคยก่อเหตุใด ๆอันจะต้องเสียค่าทดแทน ขอให้ยกฟ้องโจทก์และบังคับให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันตามฟ้องแย้งของจำเลยกับให้โจทก์แบ่งสินสมรสพร้อมดอกเบี้ยแก่จำเลยด้วย

โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า โจทก์ออกจากบ้านจำเลยเพราะไม่อาจทนการกลั่นแกล้งจากจำเลยและบิดามารดาจำเลยได้ ครั้งสุดท้ายบิดามารดาจำเลยแจ้งให้ตำรวจจับโจทก์ในข้อหาลักทรัพย์ทำให้โจทก์ได้รับความอับอาย โจทก์ไม่ได้จงใจละทิ้งจำเลย ทรัพย์สินที่จำเลยกล่าวอ้างในฟ้องแย้งไม่ใช่สินสมรส ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกัน ให้จำเลยแบ่งสินสมรสกับให้จำเลยจ่ายค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์ ให้ยกฟ้องแย้งของจำเลย

จำเลยอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้อง

ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้ยกฟ้อง
โจทก์ฎีกา

 

หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามโจทก์อย่างร้ายแรง เหตุฟ้องหย่า

         ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เมื่อโจทก์เข้าไปอยู่บ้านจำเลย บิดามารดาจำเลยดูถูกเหยียดหยามโจทก์เสมือนโจทก์เป็นคนรับใช้ ไม่เคยให้เกียรติโจทก์หลังจากโจทก์พาบุตรออกจากบ้านจำเลยไปอยู่บ้านบิดามารดาโจทก์ที่คลองเตย เมื่อราวกลางเดือนกรกฎาคม 2522 แล้ว ต่อมาในเดือนสิงหาคม 2522 บิดามารดาจำเลยได้แจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจกล่าวหาโจทก์ลักทรัพย์และจำเลยเป็นผู้นำเจ้าหน้าที่ตำรวจไปติดตามจับกุมโจทก์มายังสถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง โจทก์อ้างว่าทรัพย์ตามที่ถูกกล่าวหาเป็นของหมั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงให้ตกลงกันเองและมารดาจำเลยได้กล่าวต่อหน้าธารกำนัลหาว่าโจทก์หนีตามชู้ซึ่งไม่เป็นความจริง จำเลยมิได้นำสืบโต้แย้งในเรื่องนี้เป็นอย่างอื่น โดยจำเลยและนางเกียงี้  มารดาจำเลยเบิกความยอมรับว่า จำเลยเป็นผู้พาเจ้าหน้าที่ตำรวจไปติดตามจับกุมโจทก์ตามข้อกล่าวหาของบิดามารดาจำเลยศาลฎีกาเห็นว่า แม้ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำของบิดามารดาจำเลยเช่นที่กล่าวมานี้มิใช่เหตุที่โจทก์จะยกขึ้นอ้างเพื่อฟ้องขอหย่าขาดจากการเป็นสามีภรรยากับจำเลยดังคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์แต่ลักษณะการกระทำของจำเลยที่พาเจ้าหน้าที่ตำรวจไปติดตามจับกุมโจทก์มายังสถานีตำรวจนครบาลพระราชวังตามข้อกล่าวหาของบิดามารดาจำเลยถือได้ว่าเป็นการลบหลู่ดูหมิ่นต่อเกียรติยศและชื่อเสียงของโจทก์อันเป็นการหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามโจทก์อย่างร้ายแรง เป็นเหตุที่โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1516(3) ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเหตุหย่าในข้อนี้ฟังไม่ได้นั้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของโจทก์ในข้อนี้ฟังขึ้น

ส่วนปัญหาเกี่ยวกับค่าเลี้ยงชีพที่จำเลยอ้างว่าโจทก์กล่าวลอย ๆ และไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยจะต้องชำระนั้น ได้ความตามคำเบิกความของโจทก์ว่าโจทก์เพิ่งหางานทำได้เมื่อเดือนมิถุนายน 2523 จึงติดใจขอค่าเลี้ยงชีพจากจำเลยนับจากวันฟ้องเป็นเวลาเพียง 5 เดือน จำเลยมิได้นำสืบโต้แย้งเป็นอย่างอื่น กรณีถือได้ว่าการหย่าทำให้โจทก์ยากจนลงเพราะไม่มีรายได้จากการงานตามที่เคยทำอยู่ในระหว่างสมรสประกอบกับเหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของจำเลยดังที่ได้วินิจฉัยมาแล้วข้างต้นจึงมีเหตุที่จำเลยจะต้องรับผิดจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้โจทก์ตามนัยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1526

          พิพากษาแก้เป็นให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันกับให้จำเลยแบ่งสินสมรสและจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้โจทก์

 

 

สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้-(seriously insulted ascendants)




การสิ้นสุดแห่งการสมรส

คดีฟ้องหย่าและการแบ่งทรัพย์สิน, สิทธิการเรียกค่าเลี้ยงดูของโจทก์, การชำระค่าทดแทนในคดีแพ่ง, การบังคับคดีและสิทธิทายาทในมรดก
เรียกค่าทดแทนจากสามีและหญิงอื่น(เมียน้อย), ยกย่องผู้อื่นฉันภริยา
ข้อตกลงแบ่งค่าเช่าที่ดินในสัญญาหย่า
ฟ้องหย่าคู่สมรสวิกลจริต, คนไร้ความสามารถกับการหย่า, แบ่งทรัพย์สินหลังหย่าในกรณีคนวิกลจริต
การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลัง
การหย่าโดยความยินยอมต้องทำอย่างไร?, หนังสือหย่า
การหย่าโดยความยินยอม, บันทึกเป็นหนังสือประสงค์หย่าขาด
การฟ้องและเรียกค่าทดแทนคดีครอบครัว
สามีภริยาจะต้องมีการร่วมประเวณีกันบ้างแต่ต้องเกิดจากความยินยอม
ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องด้วยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์
ไม่เกิดสิทธิฟ้องหย่าเพราะโจทก์มีพฤติกรรมนอกใจจำเลยยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปี เหตุฟ้องหย่า
สมัครใจแยกกันอยู่, จงใจละทิ้งร้าง, เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา
การสมรสสิ้นไปด้วยเหตุความตายของคู่สมรสฝ่ายหนึ่ง
แบ่งสินสมรส, สินสมรสที่เป็นเงินตรา, แบ่งสินสมรสหลังหย่า สิทธิและหน้าที่, สินส่วนตัวกับสินสมรส
อายุความฟ้องหย่า, บันทึกข้อตกลงหย่า, หลักกฎหมายมาตรา 1515,
สิทธิฟ้องค่าอุปการะเลี้ยงดูอันจะอยู่ในอายุความ 5 ปี , หน้าที่บิดามารดาในการเลี้ยงดูบุตร
การฟ้องหย่าด้วยเหตุหมิ่นประมาท, สิทธิการฟ้องหย่าหมดอายุความ
จงใจละทิ้งร้างภริยาไปเกินหนึ่งปีฟ้องหย่าได้, สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา
การจงใจทิ้งร้างไปเกินกว่า 1 ปีต้องในลักษณะที่ไม่หวนกลับไปหาคู่สมรสอีก
ไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควร
สิทธิฟ้องหย่าระงับไปเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีเว้นแต่เหตุฟ้องเกิดขึ้นต่อเนื่อง
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ สิทธิเรียกร้องกำหนดอายุความ 5 ปี
เหตุฟ้องหย่าให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ยื่นฟ้องหย่า
สามีฟ้องหย่า,จงใจละทิ้งร้าง,เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา
ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจ, อุปการะเลี้ยงดูหญิงอื่นเป็นภริยา
สมัครใจแยกกันอยู่เกิน 3 ปี ต้องเพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันได้โดยปกติสุขด้วย
แยกกันอยู่เพราะสามีรับราชการที่อื่น, ไม่ถือว่าเป็นการแยกกันอยู่โดยความสมัครใจ
ทะเลาะกันและทำร้ายร่างกายยังไม่เป็นเหตุฟ้องหย่า
แยกกันอยู่เพราะสามียกย่องหญิงอื่น, เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง
ฟ้องหย่าจงใจละทิ้งร้างเรียกสินสอดทองหมั้นคืน
สามีหรือภริยาประพฤติชั่วอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
รู้เห็นเป็นใจในการกระทำที่เป็นเหตุหย่าจะยกเป็นเหตุฟ้องหย่านั้นไม่ได้
พี่น้องของผู้ตายขอเพิกถอนการจดทะเบียนสมรสซ้อนไม่ได้
อำนาจฟ้องขอเพิกถอนการสมรสเพราะสำคัญผิดตัว
ศาลมีอำนาจกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก-ได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปี ฟ้องหย่าได้
สิทธิฟ้องหย่าระงับเมื่ออีกฝ่ายให้อภัยแล้ว
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปีฟ้องหย่าได้
สิทธิที่จะติดต่อกับบุตรของตนได้ตามสมควรแล้วแต่พฤติการณ์
ไม่อาจร่วมประเวณีได้ ต้องการฟ้องหย่า
แยกกันอยู่หรือจงใจละทิ้งร้าง? -อยู่บ้านเดียวกันแต่ก็มีลักษณะแบบต่างคนต่างอยู่
กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง
ไม่ถือว่าจำเลยประพฤติชั่วทำให้โจทก์อับอายถูกเกลียดชังจนเป็นเหตุฟ้องหย่าได้
สิทธิที่จะเรียกค่าทดแทนชู้สาวนั้นต้องแสดงตนโดยเปิดเผย
เหตุแห่งการฟ้องหย่าทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลงขอให้อีกฝ่ายหนึ่งจ่ายค่าเลี้ยงชีพได้
ฟ้องซ้ำ ค่าอุปการะเลี้ยงดู หนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนด
การแบ่งสินสมรสและกรรมสิทธิ์รวม
หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามสามีหรือบุพการี
สัญญาระหว่างสมรสให้ทรัพย์สินของสามีตกเป็นของภริยาห้ามบอกล้าง
ขอเพิกถอนทะเบียนสมรสซ้อน สมรสซ้อนโดยไม่สุจริต
ทะเบียนสมรส ลงชื่อฝ่ายชายคนเดียว, เพิกถอนการรับบุตรบุญธรรม
ฟ้องหย่าอ้างเหตุสมัครใจแยกกันอยู่
ทำร้ายร่างกายถ้าเป็นการร้ายแรงฟ้องหย่าได้, ศาลปรับหนึ่งพันไม่เป็นการร้ายแรง
ฟ้องหย่าอ้างว่าจำเลยดูหมิ่นโจทก์และบุพการีของโจทก์อย่างร้ายแรง
การกระทำของจำเลยถือไม่ได้ว่าเป็นการประพฤติชั่วอันเป็นเหตุฟ้องหย่า
โจทก์ได้ให้อภัยจำเลยเรื่องทำร้ายร่างกายแล้วถือได้ว่าสิทธิฟ้องหย่าในข้อนี้ย่อมหมดไป
ทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง
เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากัน, การทำร้ายคู่สมรส
เหตุฟ้องหย่า เหตุที่ไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ มีอะไรบ้าง
ความสมบูรณ์ของการสมรส, ฟ้องให้การสมรสเป็นโมฆะ
การละเมิดเกิดขึ้นต่อเนื่องอายุความจึงยังไม่เริ่มนับคดีไม่ขาดอายุความ
การฟ้องหย่าและหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากสามี ไม่ฟ้องหย่า
ฟ้องหย่าอ้างสิทธิที่จะเลือกคู่ครองตามรัฐธรรมนูญ
รู้ว่าสามีไปมีหญิงอื่นเกินหนึ่งปีก็ฟ้องเรียกค่าเสียหายได้,อายุความ
จงใจละทิ้งร้างไปเกินหนึ่งปี
ฟ้องหย่าได้ที่ศาลใด
สามีโจทก์เข้าออกบ้านของจำเลยในเวลากลางคืนบ่อยครั้ง
การหย่าโดยคำพิพากษาจะมีผลต่อเมื่อเวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุด
หนังสือร้องเรียนผู้บังคับบัญชาเรื่องความสัมพันธ์กับหญิงอื่น
ฟ้องหย่าอ้างแยกกันอยู่เกินสามปีต้องเพราะไม่อาจอยู่ร่วมกันได้โดยปกติสุข
เหตุฟ้องหย่าอ้างว่าใช้วาจาไม่สุภาพและทะเลาะโดยไม่มีเหตุผล
หลักเกณฑ์การใช้สิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพหลังการหย่า
สิทธิฟ้องหย่าของโจทก์หมดไปโจทก์ให้ความยินยอมและรู้เห็นเป็นใจ
คำสั่งขอคุ้มครองชั่วคราวเกี่ยวด้วยดอกผลของสินสมรส
แม้โจทก์ไม่ได้นำสืบเรื่องอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่ศาลมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดได้
จดทะเบียนสมรสโดยต่างไม่ได้ยินยอมเป็นสามีภริยากันอย่างแท้จริง
ความหมายว่า"ค่าอุปการะเลี้ยงดูจนกว่าจะสมรสใหม่และจนกว่าการสมรสสิ้นสุดลง"
ฟ้องหย่าคดีอยู่ระหว่างฎีกาฟ้องคดีใหม่เป็นฟ้องซ้อน
สำนักงานการปฏิรูปฯ (ส.ป.ก.)ขอออกโฉนดโดยมิชอบ
พักโรงแรมห้องเดียวกับสามี ฟ้องเรียกค่าทดแทนจากหญิงชู้โดยไม่ต้องฟ้องหย่า
โจทก์ไม่ทราบแน่ชัดเรื่องชู้สาวจึงไม่เป็นการยินยอมและให้อภัยของโจทก์
บันทึกท้ายทะเบียนการหย่าว่าให้ที่ดินตกเป็นของบุตรเมื่อตายไม่ใช่พินัยกรรม
คดีฟ้องหย่าฟ้องชู้สาวไม่มีกฎหมายห้ามมิให้รับฟังแผ่นบันทึกเสียงที่แอบบันทึกไว้
สมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้
การจดทะเบียนหย่าด้วยการแสดงเจตนาลวง
จดทะเบียนหย่าแล้วก็ฟ้องเรียกค่าทดแทนชู้สาวได้
ขับไล่โจทก์ออกจากบ้านเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง