ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




หลักเกณฑ์การใช้สิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพหลังการหย่า

ค่าเลี้ยงชีพหลังการหย่า

  หลักเกณฑ์การใช้สิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพหลังการหย่า

 จำเลยฟ้องแย้งเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพจากโจทก์ โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า โจทก์จำเลยสมัครใจแยกกันอยู่อันเป็นเหตุฟ้องหย่า ทางนำสืบของโจทก์และจำเลยสอดคล้องกันและบ่งชี้ว่าทั้งสองฝ่ายต่างไม่เหลือเยื่อใยต่อกันทั้งยังกระทำการเป็นปฏิปักษ์กันจนไม่น่าจะอยู่ร่วมกันได้โดยปกติสุขอีกต่อไป โดยไม่ปรากฏว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีความพยายามที่จะกลับไปอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาอีก คงมีแต่การฟ้องคดีกันทั้งสองฝ่าย พฤติการณ์ฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยต่างสมัครใจแยกกันอยู่ เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินกว่า 3 ปี แม้คดีจะมีเหตุฟ้องหย่า(ชู้สาว) ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 (1) ประกอบด้วย แต่ก็ถือไม่ได้ว่าเหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของโจทก์แต่เพียงฝ่ายเดียว กรณีจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1526 จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพจากโจทก์ 

  การขอพิจารณาคดีใหม่มีผลให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นอันสิ้นผล

 ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่าการสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะ เมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงเป็นอันสิ้นผลไปทำให้โจทก์และจำเลยกลับคืนสู่สถานะเดิมหมายถึงการสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยยังคงมีอยู่ตามกฎหมาย การยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยจึงไม่เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง

  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10770/2558

 เดิมโจทก์ฟ้องว่าการสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะเพราะจดทะเบียนสมรสซ้อน จำเลยยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่นับแต่การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องโดยขอเสนอคำฟ้องฉบับใหม่อ้างว่าโจทก์สมรสกับจำเลยเพราะถูกกลฉ้อฉลจึงขอบอกล้างโมฆียะกรรมเท่ากับว่าโจทก์สละหรือยกเลิกข้อหาในฟ้องเดิมและแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อหาใหม่ตามคำฟ้องฉบับใหม่แล้ว ข้อหาตามคำฟ้องเดิมจึงเป็นอันยุติไป การยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยจึงไม่เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง

โจทก์อุปการะเลี้ยงดูและยกย่องโจทก์ร่วมฉันสามีภริยาตั้งแต่ปี 2550 ซึ่งในขณะนั้นศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่าการสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะ เมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงเป็นอันสิ้นผลไปทำให้โจทก์และจำเลยกลับคืนสู่สถานะเดิมหมายถึงการสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยยังคงมีอยู่ตามกฎหมาย จำเลยย่อมมีสิทธิและได้รับการคุ้มครองในฐานะภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อโจทก์อุปการะเลี้ยงดูและยกย่องโจทก์ร่วมเป็นภริยาจนมีบุตรด้วยกันจนถึงวันที่มีการสืบพยานโจทก์และจำเลย การกระทำของโจทก์เป็นเหตุต่อเนื่องที่ยังเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาโดยมิได้หยุดการกระทำหรือหมดสิ้นไป จำเลยยังคงมีสิทธิฟ้องหย่าโจทก์ได้ ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1529 วรรคหนึ่ง

โจทก์และจำเลยแยกกันอยู่ตั้งแต่ปลายปี 2538 จนถึงวันฟ้องและฟ้องแย้งเป็นเวลาประมาณ 16 ปี โดยไม่ปรากฏว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีความพยายามที่จะกลับไปอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาอีก คงมีแต่การฟ้องคดีกันทั้งสองฝ่าย พฤติการณ์ดังกล่าวฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยต่างสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินกว่า 3 ปี แม้คดีจะมีเหตุฟ้องหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (1) ประกอบด้วย แต่ก็ถือไม่ได้ว่าเหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของโจทก์แต่เพียงฝ่ายเดียว กรณีจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์มาตรา 1526 จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพจากโจทก์

คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาการสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะ เนื่องจากเป็นการจดทะเบียนสมรสซ้อน

จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้การสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะ จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้ว มีคำสั่งยกคำร้อง

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 1 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายืน

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องและกระบวนพิจารณาต่อจากนั้นตลอดจนคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ตั้งแต่ชั้นส่งคำคู่ความ แล้วมีคำพิพากษาต่อไปตามรูปคดี ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้ศาลชั้นต้นรวมสั่งในคำพิพากษาใหม่

โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องโดยยื่นฟ้องฉบับใหม่ว่า โจทก์เป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลย จดทะเบียนสมรสเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2527 ต่อมาเดือนมกราคม 2542 โจทก์ทราบว่าจำเลยจดทะเบียนสมรสกับนาย ภ. ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2524 เมื่อจำเลยจดทะเบียนหย่ากับนาย ภ. จำเลยต้องใช้คำนำหน้าชื่อว่านาง และใช้ชื่อสกุลเดิมของจำเลย แต่ขณะจำเลยจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ จำเลยกลับแสดงบัตรประจำตัวประชาชนต่อนายทะเบียน โดยมีคำนำหน้าชื่อว่า นางสาว จ. และให้ถ้อยคำต่อนายทะเบียนว่า จำเลยไม่ได้จดทะเบียนสมรสไว้ ณ สำนักทะเบียนใดอยู่ก่อนซึ่งเป็นความเท็จ ความจริงแล้วจำเลยต้องแจ้งว่า ตนจดทะเบียนสมรสมาก่อนและจดทะเบียนหย่าแล้ว การกระทำดังกล่าวทำให้โจทก์หลงเชื่อว่าจำเลยไม่เคยจดทะเบียนสมรสมาก่อนจึงเป็นการฉ้อฉลต่อโจทก์ ซึ่งหากโจทก์รู้ความจริงว่าจำเลยเคยจดทะเบียนสมรสมาก่อนแล้ว โจทก์จะไม่จดทะเบียนสมรสกับจำเลย จึงเป็นการจดทะเบียนสมรสโดยถูกฉ้อฉลอันถึงขนาด การสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆียะและภายหลังจดทะเบียนสมรส โจทก์กับจำเลยมีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ นาย พ. และนางสาว ว. โจทก์ขอใช้สิทธิบอกล้างโมฆียะกรรม และให้ถือว่าการสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ให้โจทก์และจำเลยกลับคืนสู่ฐานะเดิม ขอให้พิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องเพื่อบอกล้างโมฆียะกรรมการสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2527 และให้การสมรสตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ให้โจทก์กลับคืนสู่ฐานะเดิม ให้มีหนังสือแจ้งคำพิพากษาไปยังนายทะเบียนอำเภอเมืองนนทบุรีเรื่องการสมรสเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรกและให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนการรับรองนาย พ. และนางสาว ว. เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์

จำเลยให้การและฟ้องแย้งกับแก้ไขคำให้การขอให้ยกฟ้องและฟ้องแย้งพิพากษาให้จำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยา ให้โจทก์จ่ายค่าเลี้ยงชีพแก่จำเลย 49,920,000 บาท และในอัตราเดือนละ 260,000 บาท นับถัดจากวันยื่นคำให้การและฟ้องแย้งเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะสมรสใหม่ ให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูจำเลย 57,600,000 บาท และในอัตราเดือนละ 300,000 บาท นับถัดจากวันยื่นคำให้การและฟ้องแย้งเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะสมรสใหม่ ให้โจทก์แบ่งสินสมรสให้จำเลยกึ่งหนึ่ง 500,000,000 บาท และชดใช้ค่าเสียหาย 300,000,000 บาท แก่จำเลย

โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งขอให้ยกฟ้องแย้งและแก้ไขคำให้การแก้ฟ้องแย้งพิพากษาให้โจทก์กับจำเลยหย่ากันเนื่องจากเหตุทั้งสองฝ่ายสมัครใจแยกกันอยู่เพราะไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาเกิน 3 ปี

ระหว่างพิจารณา จำเลยยื่นคำร้องขอให้หมายเรียกนางสาว ล. เข้ามาเป็นจำเลยฟ้องแย้ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เรียกนางสาว ล. เข้ามาเป็นโจทก์ร่วม (จำเลยฟ้องแย้ง) ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งและถือว่าจำเลยทิ้งฟ้องแย้งเฉพาะในประเด็นเรื่องขอแบ่งสินสมรสและค่าเสียหายเนื่องจากจำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมศาลมาชำระภายในกำหนดและโจทก์ไม่ติดใจในคำขอท้ายฟ้องเกี่ยวกับบุตรทั้งสอง

โจทก์ร่วมให้การแก้ฟ้องแย้งขอให้ยกฟ้องแย้ง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่ากันและให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูให้แก่จำเลยเป็นเงิน 9,596,500 บาท และต่อไปอีกเดือนละ 51,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องแย้ง (ฟ้องแย้งวันที่ 6 กรกฎาคม 2554) เป็นต้นไปจนถึงวันที่คำพิพากษาถึงที่สุดและให้โจทก์จ่ายค่าเลี้ยงชีพให้แก่จำเลยอีกเดือนละ 50,000 บาท นับถัดจากวันที่คำพิพากษาถึงที่สุดเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะสมรสใหม่ ให้ยกฟ้องโจทก์กับให้เพิกถอนคำสั่งอนุญาตให้เรียกนางสาว ล. เข้ามาเป็นโจทก์ร่วม ค่าฤชาธรรมเนียมในส่วนคำฟ้องและคำฟ้องแย้งให้เป็นพับ

โจทก์และโจทก์ร่วมอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 1 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษาแก้เป็นว่า ให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่จำเลย 3,600,000 บาท และต่อไปอีกเดือนละ 30,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องแย้ง (ฟ้องแย้งวันที่ 6 กรกฎาคม 2554) จนกว่าคดีถึงที่สุด ยกคำขอตามฟ้องแย้งที่ขอค่าเลี้ยงชีพ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ในส่วนคำฟ้องและคำฟ้องแย้งให้เป็นพับ

โจทก์และจำเลยฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังว่า โจทก์และจำเลยจดทะเบียนสมรสเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2527 มีบุตรด้วยกันสองคน คือ นาย พ. และนางสาว ว.

มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ประการแรกว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ โจทก์ฎีกาว่า จำเลยยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ จึงถือได้ว่าจำเลยกระทำการใดๆ อันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่า ยอมรับสภาพตามสิทธิฟ้องร้องของโจทก์ อายุความย่อมสะดุดหยุดลงนับแต่วันยื่นคำร้องและการยื่นคำฟ้องฉบับเดิมว่าการสมรสเป็นโมฆะเป็นการตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้อง อายุความจึงสะดุดหยุดลง นับแต่เหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดถึงวันที่โจทก์เสนอคำฟ้องฉบับแก้ไขต่อศาลยังไม่เกินเก้าสิบวัน ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ เห็นว่า คดีนี้เดิมโจทก์ฟ้องว่าการสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะเพราะจดทะเบียนสมรสซ้อน จำเลยยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่นับแต่การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องโดยขอเสนอคำฟ้องฉบับใหม่อ้างว่า โจทก์สมรสกับจำเลยเพราะถูกกลฉ้อฉลจึงขอบอกล้างโมฆียะกรรมและให้การสมรสตกเป็นโมฆะแต่เริ่มแรก เท่ากับว่าโจทก์สละหรือยกเลิกข้อหาในฟ้องเดิมและแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อหาใหม่ตามคำฟ้องฉบับใหม่แล้ว ข้อหาตามคำฟ้องเดิมจึงเป็นอันยุติไป การยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลย จึงไม่เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง ที่โจทก์ฎีกาต่อไปว่า จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้แจ้งชัดว่า คดีโจทก์ขาดอายุความเกินกว่าเก้าสิบวัน นับจากวันที่โจทก์รู้ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2549 จึงไม่เกิดประเด็นเรื่องอายุความนั้น เห็นว่า โจทก์ไม่เคยโต้แย้งคัดค้านประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ ฎีกาของโจทก์ข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่รับวินิจฉัยจึงชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2548 ศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคำร้องวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2549 ในวันไต่สวนคำร้องจำเลยได้นำหลักฐานการจดทะเบียนหย่ามาเป็นพยานหลักฐานในคดี ถือว่าโจทก์ย่อมต้องรู้หรือควรรู้เหตุแห่งการฉ้อฉลนับแต่วันดังกล่าว เมื่อนับถึงวันที่โจทก์แก้ไขคำฟ้องวันที่ 8 เมษายน 2554 เป็นระยะเวลาเกินกว่าเก้าสิบวัน สิทธิขอเพิกถอนการสมรสเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นอันระงับไป จึงฟังได้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความและไม่จำต้องวินิจฉัยถึงปัญหาที่ว่าโจทก์สมรสโดยถูกกลฉ้อฉลหรือไม่อีก ที่ศาลล่างพิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยมีสิทธิฟ้องหย่าโจทก์ เพราะเหตุที่โจทก์อุปการะเลี้ยงดูและยกย่องหญิงอื่นฉันภริยาหรือไม่ โจทก์ฎีกาว่า ขณะโจทก์อยู่กินกับโจทก์ร่วม ศาลชั้นต้นได้พิพากษาว่า การสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะ โจทก์ควรได้รับการรับรองคุ้มครองตามคำพิพากษาจึงไม่อาจฟังได้ว่าโจทก์อุปการะเลี้ยงดูและยกย่องโจทก์ร่วมเป็นภริยา เห็นว่า แม้ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่โจทก์และจำเลยนำสืบรับกันว่า โจทก์อุปการะเลี้ยงดูและยกย่องโจทก์ร่วมฉันภริยาตั้งแต่ปี 2550 ซึ่งในขณะนั้นศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่า การสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะแล้ว แต่เมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงเป็นอันสิ้นผลไป ทำให้โจทก์และจำเลยกลับคืนสู่สถานะเดิมหมายถึงการสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยยังคงมีอยู่ตามกฎหมาย จำเลยย่อมมีสิทธิและได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายในฐานะภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จะกล่าวอ้างถึงการรับรองคุ้มครองตามคำพิพากษาซึ่งไม่มีผลผูกพันโจทก์กับจำเลยหาได้ไม่ เพราะตราบใดที่ยังไม่มีการหย่าหรือศาลพิพากษาให้เพิกถอนการสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลย ต้องถือว่าโจทก์กับจำเลยยังคงเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์และจำเลยนำสืบรับกันว่า ในปี 2550 โจทก์ได้อุปการะเลี้ยงดูและยกย่องโจทก์ร่วมเป็นภริยาจนมีบุตรด้วยกันจนถึงวันที่มีการสืบพยานโจทก์และจำเลย ที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยทราบเรื่องโจทก์ยกย่องโจทก์ร่วมเป็นภริยา จำเลยไม่ฟ้องคดีภายใน 1 ปี คดีขาดอายุความ จำเลยไม่มีสิทธิฟ้องคดีนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังว่า โจทก์ยังคงอุปการะเลี้ยงดูและยกย่องโจทก์ร่วมเป็นภริยาตลอดมา ลักษณะการกระทำของโจทก์เป็นเหตุต่อเนื่องที่ยังเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา โดยมิได้หยุดการกระทำหรือหมดสิ้นไป จำเลยจึงยังคงมีสิทธิฟ้องหย่าโจทก์ได้ ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่ขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1529 วรรคหนึ่ง ฎีกาข้อนี้ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปตามฎีกาของโจทก์และจำเลยว่า จำเลยมีสิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพจากโจทก์หรือไม่ โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งและนำสืบต่อสู้ว่า โจทก์จำเลยสมัครใจแยกกันอยู่อันเป็นเหตุฟ้องหย่า โดยโจทก์เบิกความว่าประมาณเดือนตุลาคม 2538 จำเลยกลับมายังประเทศไทยเพื่อฟ้องโจทก์เกี่ยวกับที่ดินอันเป็นสินสมรสและยังมีเรื่องบาดหมางกับโจทก์อย่างรุนแรงโดยจำเลยแจ้งความเท็จกล่าวหาว่าบิดาโจทก์ใช้ผู้อื่นบุกรุกและลักทรัพย์ในเคหสถาน คดีดังกล่าวจำเลยได้รับเงิน 11,300,000 บาท จากผู้รับโอนที่ดินแต่กลับผลักภาระให้โจทก์รับผิดในหนี้ภาษีอากร ทั้งยังแจ้งความกล่าวหาโจทก์เป็นคดีอาญาว่าขับรถชนจำเลย ส่วนจำเลยเบิกความว่า โจทก์เป็นคนเจ้าชู้ สำส่อนทางเพศและชอบทำร้ายร่างกายจำเลย เมื่อเมาสุราจนเคยขอแยกทางกันมาก่อน หลังจากจำเลยกลับมายังประเทศไทยเมื่อปลายปี 2538 จำเลยพบว่าโจทก์มีพฤติการณ์ฉ้อฉลเงินค่าเลี้ยงดูและยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินสมรส ซึ่งจำเลยเชื่อว่าโจทก์ร่วมมือกับบิดาและน้องชายของโจทก์ จำเลยจึงฟ้องโจทก์กับน้องชายโจทก์ขอเพิกถอนการโอนที่ดินอันเป็นสินสมรส เมื่อจำเลยได้รับเงินในคดีมาก็มีผู้ปลอมลายมือชื่อของจำเลยทำหนังสือถึงกรมสรรพากรให้เรียกเก็บภาษีเงินได้จากจำเลย หลังจากนั้นโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้พิพากษาว่า การสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะ ต่อมาจำเลยฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญาว่าโจทก์เบิกความเท็จ และนำสืบแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ ทางนำสืบของโจทก์และจำเลยสอดคล้องกันและบ่งชี้ว่าทั้งสองฝ่ายต่างไม่เหลือเยื่อใยต่อกันทั้งยังกระทำการเป็นปฏิปักษ์กันจนไม่น่าจะอยู่ร่วมกันได้โดยปกติสุขอีกต่อไป โจทก์และจำเลยนำสืบรับกันว่า มีการแยกกันอยู่ตั้งแต่ปลายปี 2538 จนถึงวันฟ้องและฟ้องแย้งเป็นเวลาประมาณ 16 ปี โดยไม่ปรากฏว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีความพยายามที่จะกลับไปอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาอีก คงมีแต่การฟ้องคดีกันทั้งสองฝ่าย พฤติการณ์ฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยต่างสมัครใจแยกกันอยู่ เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินกว่า 3 ปี แม้คดีจะมีเหตุฟ้องหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 (1) ประกอบด้วย แต่ก็ถือไม่ได้ว่าเหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของโจทก์แต่เพียงฝ่ายเดียว กรณีจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1526 จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพจากโจทก์ ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังขึ้น ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

อนึ่ง โจทก์ฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ในเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องชำระค่าขึ้นศาลตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 155 การที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลอนาคต 100 บาท มาด้วย จึงไม่ถูกต้อง

พิพากษายืน คืนค่าขึ้นศาลอนาคต 100 บาท แก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

 

มาตรา 1526 ในคดีหย่า ถ้าเหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของคู่สมรสฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งแต่ฝ่ายเดียว และการหย่านั้นจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลง เพราะไม่มีรายได้พอจาก ทรัพย์สินหรือจากการงานตามที่เคยทำอยู่ระหว่างสมรส อีกฝ่ายหนึ่งนั้นจะขอให้ฝ่ายที่ต้องรับผิด จ่ายค่าเลี้ยงชีพให้ได้ ค่าเลี้ยงชีพนี้ศาลอาจให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้ โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้ให้และฐานะของผู้รับ




การสิ้นสุดแห่งการสมรส

คดีฟ้องหย่าและการแบ่งทรัพย์สิน, สิทธิการเรียกค่าเลี้ยงดูของโจทก์, การชำระค่าทดแทนในคดีแพ่ง, การบังคับคดีและสิทธิทายาทในมรดก
เรียกค่าทดแทนจากสามีและหญิงอื่น(เมียน้อย), ยกย่องผู้อื่นฉันภริยา
ข้อตกลงแบ่งค่าเช่าที่ดินในสัญญาหย่า
ฟ้องหย่าคู่สมรสวิกลจริต, คนไร้ความสามารถกับการหย่า, แบ่งทรัพย์สินหลังหย่าในกรณีคนวิกลจริต
การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลัง
การหย่าโดยความยินยอมต้องทำอย่างไร?, หนังสือหย่า
การหย่าโดยความยินยอม, บันทึกเป็นหนังสือประสงค์หย่าขาด
การฟ้องและเรียกค่าทดแทนคดีครอบครัว
สามีภริยาจะต้องมีการร่วมประเวณีกันบ้างแต่ต้องเกิดจากความยินยอม
ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องด้วยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์
ไม่เกิดสิทธิฟ้องหย่าเพราะโจทก์มีพฤติกรรมนอกใจจำเลยยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปี เหตุฟ้องหย่า
สมัครใจแยกกันอยู่, จงใจละทิ้งร้าง, เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา
การสมรสสิ้นไปด้วยเหตุความตายของคู่สมรสฝ่ายหนึ่ง
แบ่งสินสมรส, สินสมรสที่เป็นเงินตรา, แบ่งสินสมรสหลังหย่า สิทธิและหน้าที่, สินส่วนตัวกับสินสมรส
อายุความฟ้องหย่า, บันทึกข้อตกลงหย่า, หลักกฎหมายมาตรา 1515,
สิทธิฟ้องค่าอุปการะเลี้ยงดูอันจะอยู่ในอายุความ 5 ปี , หน้าที่บิดามารดาในการเลี้ยงดูบุตร
การฟ้องหย่าด้วยเหตุหมิ่นประมาท, สิทธิการฟ้องหย่าหมดอายุความ
นำตำรวจจับกุมภริยา หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามโจทก์อย่างร้ายแรง
จงใจละทิ้งร้างภริยาไปเกินหนึ่งปีฟ้องหย่าได้, สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา
การจงใจทิ้งร้างไปเกินกว่า 1 ปีต้องในลักษณะที่ไม่หวนกลับไปหาคู่สมรสอีก
ไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควร
สิทธิฟ้องหย่าระงับไปเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีเว้นแต่เหตุฟ้องเกิดขึ้นต่อเนื่อง
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ สิทธิเรียกร้องกำหนดอายุความ 5 ปี
เหตุฟ้องหย่าให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ยื่นฟ้องหย่า
สามีฟ้องหย่า,จงใจละทิ้งร้าง,เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา
ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจ, อุปการะเลี้ยงดูหญิงอื่นเป็นภริยา
สมัครใจแยกกันอยู่เกิน 3 ปี ต้องเพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันได้โดยปกติสุขด้วย
แยกกันอยู่เพราะสามีรับราชการที่อื่น, ไม่ถือว่าเป็นการแยกกันอยู่โดยความสมัครใจ
ทะเลาะกันและทำร้ายร่างกายยังไม่เป็นเหตุฟ้องหย่า
แยกกันอยู่เพราะสามียกย่องหญิงอื่น, เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง
ฟ้องหย่าจงใจละทิ้งร้างเรียกสินสอดทองหมั้นคืน
สามีหรือภริยาประพฤติชั่วอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
รู้เห็นเป็นใจในการกระทำที่เป็นเหตุหย่าจะยกเป็นเหตุฟ้องหย่านั้นไม่ได้
พี่น้องของผู้ตายขอเพิกถอนการจดทะเบียนสมรสซ้อนไม่ได้
อำนาจฟ้องขอเพิกถอนการสมรสเพราะสำคัญผิดตัว
ศาลมีอำนาจกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก-ได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปี ฟ้องหย่าได้
สิทธิฟ้องหย่าระงับเมื่ออีกฝ่ายให้อภัยแล้ว
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปีฟ้องหย่าได้
สิทธิที่จะติดต่อกับบุตรของตนได้ตามสมควรแล้วแต่พฤติการณ์
ไม่อาจร่วมประเวณีได้ ต้องการฟ้องหย่า
แยกกันอยู่หรือจงใจละทิ้งร้าง? -อยู่บ้านเดียวกันแต่ก็มีลักษณะแบบต่างคนต่างอยู่
กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง
ไม่ถือว่าจำเลยประพฤติชั่วทำให้โจทก์อับอายถูกเกลียดชังจนเป็นเหตุฟ้องหย่าได้
สิทธิที่จะเรียกค่าทดแทนชู้สาวนั้นต้องแสดงตนโดยเปิดเผย
เหตุแห่งการฟ้องหย่าทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลงขอให้อีกฝ่ายหนึ่งจ่ายค่าเลี้ยงชีพได้
ฟ้องซ้ำ ค่าอุปการะเลี้ยงดู หนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนด
การแบ่งสินสมรสและกรรมสิทธิ์รวม
หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามสามีหรือบุพการี
สัญญาระหว่างสมรสให้ทรัพย์สินของสามีตกเป็นของภริยาห้ามบอกล้าง
ขอเพิกถอนทะเบียนสมรสซ้อน สมรสซ้อนโดยไม่สุจริต
ทะเบียนสมรส ลงชื่อฝ่ายชายคนเดียว, เพิกถอนการรับบุตรบุญธรรม
ฟ้องหย่าอ้างเหตุสมัครใจแยกกันอยู่
ทำร้ายร่างกายถ้าเป็นการร้ายแรงฟ้องหย่าได้, ศาลปรับหนึ่งพันไม่เป็นการร้ายแรง
ฟ้องหย่าอ้างว่าจำเลยดูหมิ่นโจทก์และบุพการีของโจทก์อย่างร้ายแรง
การกระทำของจำเลยถือไม่ได้ว่าเป็นการประพฤติชั่วอันเป็นเหตุฟ้องหย่า
โจทก์ได้ให้อภัยจำเลยเรื่องทำร้ายร่างกายแล้วถือได้ว่าสิทธิฟ้องหย่าในข้อนี้ย่อมหมดไป
ทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง
เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากัน, การทำร้ายคู่สมรส
เหตุฟ้องหย่า เหตุที่ไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ มีอะไรบ้าง
ความสมบูรณ์ของการสมรส, ฟ้องให้การสมรสเป็นโมฆะ
การละเมิดเกิดขึ้นต่อเนื่องอายุความจึงยังไม่เริ่มนับคดีไม่ขาดอายุความ
การฟ้องหย่าและหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากสามี ไม่ฟ้องหย่า
ฟ้องหย่าอ้างสิทธิที่จะเลือกคู่ครองตามรัฐธรรมนูญ
รู้ว่าสามีไปมีหญิงอื่นเกินหนึ่งปีก็ฟ้องเรียกค่าเสียหายได้,อายุความ
จงใจละทิ้งร้างไปเกินหนึ่งปี
ฟ้องหย่าได้ที่ศาลใด
สามีโจทก์เข้าออกบ้านของจำเลยในเวลากลางคืนบ่อยครั้ง
การหย่าโดยคำพิพากษาจะมีผลต่อเมื่อเวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุด
หนังสือร้องเรียนผู้บังคับบัญชาเรื่องความสัมพันธ์กับหญิงอื่น
ฟ้องหย่าอ้างแยกกันอยู่เกินสามปีต้องเพราะไม่อาจอยู่ร่วมกันได้โดยปกติสุข
เหตุฟ้องหย่าอ้างว่าใช้วาจาไม่สุภาพและทะเลาะโดยไม่มีเหตุผล
สิทธิฟ้องหย่าของโจทก์หมดไปโจทก์ให้ความยินยอมและรู้เห็นเป็นใจ
คำสั่งขอคุ้มครองชั่วคราวเกี่ยวด้วยดอกผลของสินสมรส
แม้โจทก์ไม่ได้นำสืบเรื่องอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่ศาลมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดได้
จดทะเบียนสมรสโดยต่างไม่ได้ยินยอมเป็นสามีภริยากันอย่างแท้จริง
ความหมายว่า"ค่าอุปการะเลี้ยงดูจนกว่าจะสมรสใหม่และจนกว่าการสมรสสิ้นสุดลง"
ฟ้องหย่าคดีอยู่ระหว่างฎีกาฟ้องคดีใหม่เป็นฟ้องซ้อน
สำนักงานการปฏิรูปฯ (ส.ป.ก.)ขอออกโฉนดโดยมิชอบ
พักโรงแรมห้องเดียวกับสามี ฟ้องเรียกค่าทดแทนจากหญิงชู้โดยไม่ต้องฟ้องหย่า
โจทก์ไม่ทราบแน่ชัดเรื่องชู้สาวจึงไม่เป็นการยินยอมและให้อภัยของโจทก์
บันทึกท้ายทะเบียนการหย่าว่าให้ที่ดินตกเป็นของบุตรเมื่อตายไม่ใช่พินัยกรรม
คดีฟ้องหย่าฟ้องชู้สาวไม่มีกฎหมายห้ามมิให้รับฟังแผ่นบันทึกเสียงที่แอบบันทึกไว้
สมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้
การจดทะเบียนหย่าด้วยการแสดงเจตนาลวง
จดทะเบียนหย่าแล้วก็ฟ้องเรียกค่าทดแทนชู้สาวได้
ขับไล่โจทก์ออกจากบ้านเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง