ReadyPlanet.com
dot
สำนักงานทนายความ
dot
bulletทนายความฟ้องหย่า
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
dot
พระราชบัญญัติ
dot
bulletพระราชบัญญัติ
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
dot
บทความเฉพาะเรื่อง
dot
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletสัญญายอมความ
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
dot
ลิงค์ต่าง ๆ
dot
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletคำพิพากษาศาลฎีกา
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletอำนาจปกครองบุตร




สิทธิฟ้องหย่าของโจทก์หมดไปโจทก์ให้ความยินยอมและรู้เห็นเป็นใจ

 ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  

         (1) @leenont หรือ (2) @peesirilaw  (3) 0859604258 เพิ่มเพื่อนด้วยหมายเลขโทรศัพท์

-Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย  QR CODE

QR CODE

 สิทธิฟ้องหย่าของโจทก์หมดไป เนื่องจากโจทก์ให้ความยินยอมและรู้เห็นเป็นใจ

สิทธิฟ้องหย่าหมดไปต้องมีเจตนาที่จะยกโทษให้

มีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า สิทธิฟ้องหย่าของโจทก์หมดไป เนื่องจากโจทก์ให้ความยินยอมและรู้เห็นเป็นใจในการกระทำที่เป็นเหตุหย่าหรือไม่ เห็นว่ากรณีที่จะเป็นการกระทำอันแสดงให้เห็นได้ว่าเป็นการที่โจทก์ให้อภัยในการกระทำของจำเลยทั้งสองและทำให้สิทธิฟ้องหย่าหมดไปนั้นต้องได้ความว่า คู่สมรสที่มีสิทธิฟ้องหย่าจะต้องมีเจตนาที่จะยกโทษให้คู่สมรสฝ่ายที่ทำผิดเพื่อที่จะให้คู่สมรสที่ทำผิดกลับคืนสู่สถานะในทางครอบครัวดังเดิม

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2473/2556

แม้โทรสารที่โจทก์ส่งมายังจำเลยที่ 1 ข้อความบางตอนมีรายละเอียดเกี่ยวกับการหย่าว่าการหย่าครั้งนี้เป็นการหย่าที่ยินยอมทั้งสองฝ่าย โดยไม่มีการฟ้องหย่าเรื่องชู้สาวระหว่างจำเลยทั้งสอง แต่กรณีที่จะเป็นการกระทำอันแสดงให้เห็นได้ว่าเป็นการที่โจทก์ให้อภัยการกระทำของจำเลยทั้งสองและทำให้สิทธิฟ้องหย่าหมดไปนั้นต้องได้ความว่าคู่สมรสที่มีสิทธิฟ้องหย่าจะต้องมีเจตนาที่จะยกโทษให้คู่สมรสฝ่ายที่ทำผิดกลับคืนสู่สถานะในทางครอบครัวดังเดิม คือคู่สมรสทั้งสองฝ่ายมีเจตนากลับมาอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาต่อไป การที่โจทก์ขอเข้าไปขนย้ายทรัพย์สินต่าง ๆ ของโจทก์ออกจากบ้านที่เคยอยู่กินกับจำเลยที่ 1 ไม่มีพฤติการณ์ที่โจทก์และจำเลยที่ 1 จะอยู่กินฉันสามีภริยาดังเดิมต่อไปอีก นอกจากนี้โจทก์ยังได้แจ้งความดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ในความผิดฐานพยายามฆ่า ตามพฤติการณ์จึงไม่อยู่ในวิสัยที่โจทก์และจำเลยที่ 1 จะกลับมาอยู่กินฉันสามีภริยากันดังเดิมต่อไป ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ให้อภัยแก่จำเลยอันจะเป็นเหตุให้สิทธิฟ้องหย่าหมดไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1518

โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ดำเนินการจดทะเบียนหย่ากับโจทก์ หากไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 กับให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าทดแทนแก่โจทก์ 500,000 บาท และให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าทดแทนแก่โจทก์ 500,000 บาท รวมเป็นเงิน 1,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์และจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากกัน ให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าทดแทน 500,000 บาท และให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าทดแทน 300,000 บาท รวมเป็นเงิน 800,000 บาท แก่โจทก์ กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 20,000 บาท

จำเลยทั้งสองอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 1 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าทดแทนแก่โจทก์ 300,000 บาท และให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าทดแทนแก่โจทก์ 150,000 บาท ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

จำเลยทั้งสองฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติในเบื้องต้นว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 อยู่กินฉันสามีภรรยาก่อนจดทะเบียนสมรสโดยไม่มีบุตรด้วยกัน ต่อมาภายหลังได้จดทะเบียนสมรสและจำเลยที่ 1 รับว่ามีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับจำเลยที่ 2

มีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองประการแรกว่า สิทธิฟ้องหย่าของโจทก์หมดไป เนื่องจากโจทก์ให้ความยินยอมและรู้เห็นเป็นใจในการกระทำที่เป็นเหตุหย่าหรือไม่ จำเลยทั้งสองฎีกาอ้างว่า โจทก์ให้ความยินยอมและรู้เห็นเป็นใจให้จำเลยที่ 1 มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับจำเลยที่ 2 และไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองตั้งแต่วันที่โจทก์ส่งโทรสารมายังจำเลยที่ 1 แล้ว เห็นว่า แม้เอกสารดังกล่าวเป็นเพียงสำเนาเอกสาร แต่โจทก์เบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านรับว่าเป็นผู้ส่งเอกสารมายังจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่สามารถอ้างส่งต้นฉบับเอกสารต่อศาลในการพิจารณาได้เนื่องจากต้นฉบับเอกสารสูญหาย แต่จำเลยที่ 1 ลงชื่อรับรองสำเนาเอกสารดังกล่าวแล้ว ดังนั้นกรณีจึงเป็นเรื่องที่คู่ความไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารมาแสดงเพราะเอกสารสูญหาย และเนื่องจากเอกสารที่จำเลยอ้างดังกล่าว จำเลยต่อสู้ว่าเป็นเอกสารที่มีข้อความว่าโจทก์รู้เห็นเป็นใจและได้ให้อภัยแก่จำเลยทั้งสองในการที่จำเลยทั้งสองมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกันแล้ว จึงเห็นว่าเป็นกรณีจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะต้องนำสืบสำเนาเอกสาร ศาลจึงรับฟังสำเนาเอกสารได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 (2) แต่เมื่อพิจารณารายละเอียดข้อความในเอกสารดังกล่าวมีเพียงข้อความเกี่ยวกับทรัพย์สินจำพวกสิ่งของ เครื่องใช้ เฟอร์นิเจอร์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่โจทก์มีถึงจำเลยที่ 1 เพื่อขอเข้าไปขนย้ายทรัพย์สินของโจทก์ออกจากบ้าน ซึ่งเป็นบ้านของมารดาจำเลยที่ 1 อันมีลักษณะเป็นเอกสารเพื่อให้เจ้าของสถานที่ยินยอมให้โจทก์นำทรัพย์สินออกมาจากบ้าน อันเป็นการป้องกันมิให้โจทก์ถูกดำเนินคดีในความผิดอาญา แม้ข้อความบางตอนมีรายละเอียดเกี่ยวกับการหย่าว่า การหย่าครั้งนี้เป็นการหย่าที่ยินยอมทั้งสองฝ่าย โดยไม่มีการฟ้องหย่าเรื่องชู้สาวระหว่างจำเลยทั้งสอง ซึ่งศาลเห็นว่า กรณีที่จะเป็นการกระทำอันแสดงให้เห็นได้ว่าเป็นการที่โจทก์ให้อภัยในการกระทำของจำเลยทั้งสองและทำให้สิทธิฟ้องหย่าหมดไปนั้นต้องได้ความว่า คู่สมรสที่มีสิทธิฟ้องหย่าจะต้องมีเจตนาที่จะยกโทษให้คู่สมรสฝ่ายที่ทำผิดเพื่อที่จะให้คู่สมรสที่ทำผิดกลับคืนสู่สถานะในทางครอบครัวดังเดิม คือคู่สมรสทั้งสองฝ่ายมีเจตนากลับมาอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาต่อไป แต่เมื่อพิจารณาเนื้อหาในข้อความตามเอกสาร เป็นการที่โจทก์ขอเข้าไปขนย้ายทรัพย์สินต่าง ๆ ของโจทก์ออกจากบ้านที่เคยอยู่กินกับจำเลยที่ 1 ไม่มีพฤติการณ์ที่โจทก์และจำเลยที่ 1 จะอยู่กินฉันสามีภริยาดังเดิมต่อไป อีกทั้งได้ความจากคำของจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 ไปอยู่กินกับจำเลยที่ 2 ตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน 2551 นอกจากนี้โจทก์ยังได้แจ้งความดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ในความผิดฐานพยายามฆ่า คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาล ตามพฤติการณ์จึงไม่อยู่ในวิสัยที่โจทก์และจำเลยที่ 1 จะกลับมาอยู่กินฉันสามีภริยากันดังเดิมต่อไป ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ให้อภัยแก่จำเลยที่ 1 อันจะเป็นเหตุให้สิทธิฟ้องหย่าหมดไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1518

มีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองประการสุดท้ายว่า สมควรกำหนดให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าทดแทนแก่โจทก์หรือไม่ เพียงใด เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏจากคำเบิกความของจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 2 มาทำงานที่บริษัท อ.ส.ม.ท. จำกัด (มหาชน) ตำแหน่งลูกจ้างสำนักวิศวกรรม ในหน่วยงานที่จำเลยที่ 1 ทำงานอยู่ จากนั้นจำเลยทั้งสองไปพักอาศัยอยู่ด้วยกันตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน 2551 โดยจำเลยที่ 1 รับว่ามีความสัมพันธ์กับจำเลยที่ 2 ก่อนไปพักยังที่ดังกล่าว การที่จำเลยที่ 1 เป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์มีความสัมพันธ์และอุปการะเลี้ยงดูจำเลยที่ 2 โดยอยู่กินกันฉันสามีภริยาจึงมีเหตุฟ้องหย่าและโจทก์มีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1523 ซึ่งการกำหนดค่าทดแทนที่โจทก์พึงได้รับหมายรวมถึงความเสียหายแก่ชื่อเสียงและเกียรติคุณของโจทก์ในฐานะภริยา แม้โจทก์ไม่ได้นำสืบว่าสมควรได้ค่าทดแทนเท่าใด แต่เมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีและฐานะความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ผู้เป็นสามี เมื่อคำนึงถึงฐานะทางสังคมของโจทก์ซึ่งสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาการตลาด จากประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันทำงานตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายการตลาดต่างประเทศบริษัทซันพาราเทค จำกัด (มหาชน) ได้รับเงินเดือนรวมเบี้ยเลี้ยงและค่าเดินทางเป็นเงิน 95,000 บาท ต่อเดือน แม้โจทก์และจำเลยที่ 1 เพิ่งจดทะเบียนสมรสเมื่อปี 2551 และไม่มีบุตรด้วยกัน แต่จำเลยที่ 1 รับว่าคบกับโจทก์ถึงปัจจุบันเป็นเวลา 7 ปี ไปไหนมาไหนกับโจทก์ไม่ได้หลบ ๆ ซ่อน ๆ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าทดแทนจำนวน 300,000 บาท และให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าทดแทนจำนวน 150,000 บาท แก่โจทก์นั้นเหมาะสมแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยทั้งสองทุกข้อฟังไม่ขึ้น

พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ

 




การสิ้นสุดแห่งการสมรส

สิทธิฟ้องค่าอุปการะเลี้ยงดูอันจะอยู่ในอายุความ 5 ปี article
สามีโจทก์เข้าออกบ้านของจำเลยในเวลากลางคืนบ่อยครั้ง
คำสั่งขอคุ้มครองชั่วคราวเกี่ยวด้วยดอกผลของสินสมรส
การหย่าโดยคำพิพากษาจะมีผลต่อเมื่อเวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุด
สามีบังคับภริยาให้ยอมร่วมประเวณีโดยใช้มีดขู่ฆ่าอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้
หลักเกณฑ์การใช้สิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพหลังการหย่า
ความหมายว่า"ค่าอุปการะเลี้ยงดูจนกว่าจะสมรสใหม่และจนกว่าการสมรสสิ้นสุดลง"
ฟ้องหย่าคดีอยู่ระหว่างฎีกาฟ้องคดีใหม่เป็นฟ้องซ้อน
ฟ้องหย่าอ้างสิทธิที่จะเลือกคู่ครองตามรัฐธรรมนูญ
สมัครใจแยกกันอยู่เกิน 3 ปี ต้องเพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันได้โดยปกติสุขด้วย
พี่น้องของผู้ตายขอเพิกถอนการจดทะเบียนสมรสซ้อนไม่ได้
เหตุแห่งการฟ้องหย่าทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลงขอให้อีกฝ่ายหนึ่งจ่ายค่าเลี้ยงชีพได้
ทะเบียนสมรส ลงชื่อฝ่ายชายคนเดียว, เพิกถอนการรับบุตรบุญธรรม
นำตำรวจจับกุมภริยา หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามโจทก์อย่างร้ายแรง
จงใจละทิ้งร้างภริยาไปเกินหนึ่งปีฟ้องหย่าได้, สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา
สิทธิฟ้องหย่าระงับไปเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีเว้นแต่เหตุฟ้องเกิดขึ้นต่อเนื่อง
ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจ, อุปการะเลี้ยงดูหญิงอื่นเป็นภริยา
แยกกันอยู่เพราะสามีรับราชการที่อื่น, ไม่ถือว่าเป็นการแยกกันอยู่โดยความสมัครใจ
ทะเลาะกันและทำร้ายร่างกายยังไม่เป็นเหตุฟ้องหย่า
แยกกันอยู่เพราะสามียกย่องหญิงอื่น, เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง
ฟ้องหย่าจงใจละทิ้งร้างเรียกสินสอดทองหมั้นคืน
สามีหรือภริยาประพฤติชั่วอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
รู้เห็นเป็นใจในการกระทำที่เป็นเหตุหย่าจะยกเป็นเหตุฟ้องหย่านั้นไม่ได้
อำนาจฟ้องขอเพิกถอนการสมรสเพราะสำคัญผิดตัว
ศาลมีอำนาจกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก-ได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปี ฟ้องหย่าได้
สิทธิฟ้องหย่าระงับเมื่ออีกฝ่ายให้อภัยแล้ว
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปีฟ้องหย่าได้
สิทธิที่จะติดต่อกับบุตรของตนได้ตามสมควรแล้วแต่พฤติการณ์
แยกกันอยู่เกินสามปีต้องเพราะไม่อาจอยู่ร่วมกันได้โดยปกติสุข
ไม่อาจร่วมประเวณีได้ ต้องการฟ้องหย่า
แยกกันอยู่หรือจงใจละทิ้งร้าง? -อยู่บ้านเดียวกันแต่ก็มีลักษณะแบบต่างคนต่างอยู่
กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง
สิทธิที่จะเรียกค่าทดแทนชู้สาวนั้นต้องแสดงตนโดยเปิดเผย
พฤติการณ์อย่างไรเรียกว่ายกย่องเมียน้อยฉันภริยา
ฟ้องซ้ำ ค่าอุปการะเลี้ยงดู หนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนด
การสมรสสิ้นไปด้วยเหตุความตายของคู่สมรสฝ่ายหนึ่ง
การแบ่งสินสมรสและกรรมสิทธิ์รวม
หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามสามีหรือบุพการี
ไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควร
สมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้
สัญญาระหว่างสมรสให้ทรัพย์สินของสามีตกเป็นของภริยาห้ามบอกล้าง
ขอเพิกถอนทะเบียนสมรสซ้อน สมรสซ้อนโดยไม่สุจริต
ฟ้องหย่าอ้างเหตุสมัครใจแยกกันอยู่
ทำร้ายร่างกายถ้าเป็นการร้ายแรงฟ้องหย่าได้, ศาลปรับหนึ่งพันไม่เป็นการร้ายแรง
เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากัน, การทำร้ายคู่สมรส
เหตุฟ้องหย่า เหตุที่ไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ มีอะไรบ้าง
ความสมบูรณ์ของการสมรส, ฟ้องให้การสมรสเป็นโมฆะ
การฟ้องหย่าและหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากสามี ไม่ฟ้องหย่า
รู้ว่าสามีไปมีหญิงอื่นเกินหนึ่งปีก็ฟ้องเรียกค่าเสียหายได้,อายุความ
การจดทะเบียนหย่าด้วยการแสดงเจตนาลวง
จงใจละทิ้งร้างไปเกินหนึ่งปี
สามีฟ้องหย่า,จงใจละทิ้งร้าง,เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา
ฟ้องหย่าได้ที่ศาลใด
สมัครใจแยกกันอยู่, จงใจละทิ้งร้าง, เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปี เหตุฟ้องหย่า
ฟ้องหย่าขอแบ่งสินสมรส การจัดการสินสมรสที่เป็นเงินตรา(เงินสด)
การหย่าโดยความยินยอมต้องทำอย่างไร?, หนังสือหย่า
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ สิทธิเรียกร้องกำหนดอายุความ 5 ปี
การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
เรียกค่าทดแทนจากสามีและหญิงอื่น(เมียน้อย), ยกย่องผู้อื่นฉันภริยา
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลัง
การหย่าโดยความยินยอม, บันทึกเป็นหนังสือประสงค์หย่าขาด
การฟ้องและเรียกค่าทดแทนคดีครอบครัว โทร0859604258 article
จดทะเบียนหย่าแล้วก็ฟ้องเรียกค่าทดแทนชู้สาวได้
การจงใจทิ้งร้างไปเกินกว่า 1 ปีต้องในลักษณะที่ไม่หวนกลับไปหาคู่สมรสอีก
การสมรส, การหมั้น, ผิดสัญญาหมั้น, เรียกคืนสินสอดของหมั้น
อำนาจปกครองบุตร
การบอกล้างสัญญาระหว่างสมรส แบ่งสินสมรส
จดทะเบียนรับรองบุตร บิดานอกสมรส-ขอรับเด็กเป็นบุตร
อายุความฟ้องร้องคดี
บิดา มารดา กับ บุตร