ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




สิทธิฟ้องหย่าระงับไปเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีเว้นแต่เหตุฟ้องเกิดขึ้นต่อเนื่อง

ทนายความคดีครอบครัว ฟ้องหย่า สินสมรส อำนาจปกครองบุตร ชู้สาว มรดก

สิทธิฟ้องหย่าระงับไปเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีเว้นแต่เหตุฟ้องเกิดขึ้นต่อเนื่อง

เหตุที่จะอ้างฟ้องหย่าว่า-สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ ย่อมระงับไปนับแต่วันผู้กล่าวอ้างรู้หรือควรรู้ความจริงซึ่งตนอาจยกขึ้นกล่าวอ้าง แต่เหตุดังกล่าวหากยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่องนับแต่อีกฝ่ายหนึ่งรู้ข้อเท็จจริงก็ไม่ทำให้เหตุฟ้องหย่าระงับ เพราะถือว่ามีการล่วงละเมิดต่อสามี หรือภริยาเขาอยู่สิทธิฟ้องหย่าไม่ระงับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  4678/2552
 
    โจทก์เป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 ขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้จำเลยที่ 1 ยังคงอุปการะเลี้ยงดูและยกย่องจำเลยที่ 2 ฉันภริยาอันเป็นพฤติการณ์ต่อเนื่องตั้งแต่โจทก์รู้ข้อเท็จจริงดังกล่าว เหตุฟ้องหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (1) จึงยังคงมีอยู่ตลอดมาและโจทก์ย่อมยกเป็นเหตุหย่าได้ โดยไม่สำคัญว่าโจทก์จะรู้ข้อเท็จจริงดังกล่าวก่อนฟ้องเกิน 1 ปีหรือไม่ สิทธิฟ้องร้องของโจทก์ไม่ระงับไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1529

           โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้พิพากษาให้โจทก์และจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากกัน ให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรแก่โจทก์ 20,000 บาท และให้ชำระอีกเดือนละ 4,000 บาท จนกว่าบุตรผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะ ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระค่าทดแทนเป็นเงินคนละ 150,000 บาท แก่โจทก์ และให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์ 100,000 บาท

          จำเลยทั้งสองให้การและจำเลยที่ 1 ฟ้องแย้ง ขอให้ยกฟ้อง และให้จำเลยที่ 1 กับโจทก์หย่าขาดจากกัน โดยให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กชาย อ. บุตรผู้เยาว์ แต่เพียงผู้เดียว

          โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้ง ขอให้ยกฟ้องแย้ง

  ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์และจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากกัน โดยให้โจทก์เป็นผู้มีอำนาจปกครองเด็กชาย อ. บุตรผู้เยาว์ แต่เพียงผู้เดียวให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าทดแทนเป็นเงิน 100,000 บาท และให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าทดแทนเป็นเงิน 20,000 บาทแก่โจทก์ ให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์แก่โจทก์เป็นเงินเดือนละ 4,000 บาท นับตั้งแต่วันพิพากษา (วันที่ 18 พฤศจิกายน 2546) เป็นต้นไปจนกว่าบุตรผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความให้ 2,000 บาท เฉพาะค่าขึ้นศาลให้ใช้แทนในทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีจำเลยแต่ละคน คำขออื่นของโจทก์นอกจากนี้ให้ยก และให้ยกฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ค่าฤชาธรรมเนียมในส่วนฟ้องแย้งระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ให้เป็นพับ

 จำเลยทั้งสองอุทธรณ์
    ศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

   จำเลยทั้งสองฎีกา

 ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้แย้งรับฟังได้ว่า โจทก์กับจำเลยจดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2531 ต่อมาวันที่ 25 มกราคม 2532 จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 113798 พร้อมบ้านเลขที่ 81/105 หมู่ที่ 5 แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร โจทก์ จำเลยที่ 1 นางโตวตี้ มารดาจำเลยที่ 1 เข้าพักอาศัยอยู่ด้วยกันที่บ้านดังกล่าว โจทก์กับจำเลยที่ 1 มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ เด็กชาย อ. เกิดเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2533 ต่อมาโจทก์กับมารดาจำเลยที่ 1 ทะเลาะกัน จำเลยที่ 1 ไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2538 โจทก์กับจำเลยจดทะเบียนหย่ากัน โดยตกลงให้เด็กชาย อ. อยู่ในความปกครองของโจทก์ และให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูเดือนละ 4,000 บาท แล้วโจทก์กับเด็กชาย อ. ก็ย้ายออกไปพักอาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่ 60/28 หมู่ที่ 8 ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยโจทก์ประกอบอาชีพรับจ้างซักรีดเสื้อผ้า จำเลยที่ 1 ไปเยี่ยมเด็กชาย อ. ทุกสัปดาห์และมอบเงินให้เป็นค่าใช้จ่ายเดือนละ 4,000 บาท ตลอดมา จนกระทั่งถึงวันที่ 16 ธันวาคม 2539 โจทก์กับจำเลยที่ 1 จดทะเบียนสมรสกันใหม่ แต่โจทก์ไม่ได้กลับไปอยู่ที่บ้านเลขที่ 81/105 ของจำเลย ซึ่งมีมารดาของจำเลยที่ 1 พักอาศัยอยู่ด้วย ประมาณเดือนธันวาคม 2544 จำเลยที่ 1 รู้จักจำเลยที่ 2 ต่อมาเดือนมีนาคม 2545 จำเลยที่ 1 นำจำเลยที่ 2 ซึ่งตั้งครรภ์กับจำเลยที่ 1 เข้าไปพักอาศัยในบ้านเลขที่ 81/105 กับจำเลยที่ 1 และมารดาจำเลยที่ 1 โจทก์พบจำเลยที่ 2 ที่บ้านดังกล่าวหลายครั้ง

          คดีมีปัญหาตามฎีกาของจำเลยทั้งสองว่า ที่ศาลอุทธรณ์ให้โจทก์กับจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากกัน ให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าทดแทนให้โจทก์และให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กชาย อ. นั้นชอบหรือไม่ เพียงไร

.พิเคราะห์แล้ว สำหรับปัญหาเรื่องเหตุหย่า ซึ่งโจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1 ให้การอุปการะเลี้ยงดูจำเลยที่ 2 ฉันภริยานั้น โจทก์เบิกความยืนยันว่า จำเลยที่ 1 จดทะเบียนสมรสกับโจทก์อีกครั้ง เพราะโจทก์กับจำเลยที่ 1 ปรับความเข้าใจกันได้ จำเลยที่ 1 จึงเจตนาจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ จำเลยที่ 1 เบิกความโต้แย้งว่า ตนมิได้เจตนาจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ แต่ต้องจดทะเบียนสมรสกับโจทก์อีกครั้งหนึ่ง เพราะเห็นว่าเด็กชาย อ. บุตรจำเลยที่ 1 กับโจทก์จะเข้าโรงเรียนเพื่อประโยชน์ของเด็กชาย อ. และการคำนวณลดหย่อนภาษีเงินได้ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกรณีที่ไม่ชอบด้วยเหตุผล เพราะขณะที่เด็กชาย อ. เกิดนั้น โจทก์กับจำเลยที่ 1 ยังจดทะเบียนสมรสกันอยู่ เด็กชาย อ. จึงเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 แม้ต่อมาโจทก์กับจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากกันด้วยความสมัครใจ ขณะนั้นโจทก์ไม่ใช่ภริยาของจำเลยที่ 1 ก็เป็นเหตุเฉพาะตัวของโจทก์ ไม่ทำให้เด็กชาย อ. บุตรชอบด้วยกฎหมายกลายเป็นบุตรไม่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 เด็กชาย อ. จึงยังคงเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 ตลอดไป จำเลยที่ 1 ย่อมขอลดหย่อนค่าภาษี เนื่องจากต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาเด็กชาย อ. ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะได้ ประกอบกับจำเลยที่ 1 ก็เบิกความตอบทนายโจทก์ถามค้านรับว่า การที่จำเลยที่ 1 และโจทก์จดทะเบียนสมรสกันครั้งหลังนี้ จำเลยที่ 1 และโจทก์สมัครใจที่จะเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ข้ออ้างตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ว่า ความจริงจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะเป็นสามีภริยากับโจทก์อีกครั้งนั้นย่อมรับฟังไม่ได้ ส่วนการที่จำเลยที่ 1 ยกย่องจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 ไปมีเพศสัมพันธ์ด้วย ในขณะที่โจทก์ยังเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 กับนำจำเลยที่ 2 เข้ามาอยู่ในบ้านเลขที่ 81/105 กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นการเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นเป็นภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 (1) แล้ว ส่วนโจทก์ไม่เคยแสดงตนว่าเป็นภริยาจำเลยที่ 1 ไม่เคยทะเลาะหรือไล่จำเลยที่ 2 ออกจากบ้านหรือเพิ่งแสดงตนว่าเป็นภริยาจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2545 ตามสำเนารายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐาน เพราะจำเลยที่ 2 กับพี่สาวโจทก์ทะเลาะวิวาททำร้ายกันนั้น ก็มิใช่กรณีที่โจทก์ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจให้จำเลยที่ 1 กับที่ 2 มีความสัมพันธ์ฉันสามีภริยากัน เพราะเมื่อจำเลยทั้งสองมีความสัมพันธ์กันฉันชู้สาว โจทก์ก็ไม่ทราบเรื่อง ขณะที่โจทก์พบจำเลยที่ 2 อยู่ในห้องนอนจำเลยที่ 1 นั้น จำเลยที่ 2 ก็ตั้งครรภ์แล้ว ดังนั้น โจทก์จึงมีเหตุฟ้องหย่าจำเลยที่ 1 ได้ จำเลยที่ 1 ย่อมไม่มีเหตุฟ้องแย้งขอหย่าโจทก์โดยอ้างเหตุว่า โจทก์รู้เห็นยินยอมให้จำเลยทั้งสองเป็นสามีภริยากัน ประกอบกับข้อเท็จจริงได้ความว่า ขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้จำเลยที่ 1 ยังคงอุปการะเลี้ยงดูและยกย่องจำเลยที่ 2 เป็นภริยาอันเป็นพฤติการณ์ต่อเนื่องตั้งแต่โจทก์รู้ข้อเท็จจริงดังกล่าว เหตุฟ้องหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 (1) จึงยังคงมีอยู่ตลอดมา โดยไม่สำคัญว่าโจทก์จะรู้ข้อเท็จจริงดังกล่าวก่อนฟ้องเกิน 1 ปีหรือไม่ และโจทก์ย่อมยกเป็นเหตุหย่าได้ สิทธิฟ้องร้องของโจทก์ไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1529 ตามที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้าง ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า โจทก์มีเหตุหย่าและให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันนั้นชอบแล้ว และจำเลยทั้งสองต้องชดใช้ค่าทดแทนให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1523 วรรคหนึ่ง เมื่อพิจารณาถึงสถานภาพของจำเลยที่ 1 ซึ่งเคยไปทำงานที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย เคยทำงานที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้รับเงินเดือน เดือนละ 23,000 บาท เริ่มทำงานที่บริษัทอิริกสัน จำกัด มีรายได้เดือนละ 20,000 บาท จนกระทั่งได้รับการขึ้นเงินเดือนเป็นเดือนละ 90,000 บาท และสามารถใช้เงินโจทก์และเด็กชาย อ. ใช้เดือนละ 6,000 บาท ถึง 7,000 บาท บางครั้งเป็น 10,000 บาท มีที่ดิน 2 แปลง แปลงหนึ่งมีบ้านที่ตนใช้พักอาศัยอยู่ด้วย จึงเชื่อว่าจำเลยที่ 1 มีฐานะทางการเงินดี แม้ขณะที่มาเบิกความ จำเลยที่ 1 อ้างว่าไม่มีงานทำแต่จำเลยที่ 1 ก็เคยพบเหตุการณ์นี้เมื่อกลับจากประเทศซาอุดีอาระเบียก็ว่างงานอยู่นานถึง 7 เดือน ก็ไม่ขัดขวางการดำรงชีพของจำเลยที่ 1 ประกอบกับโจทก์มีรายได้จากการรับจ้างซักรีดเสื้อผ้า และยังต้องเสียค่าเช่าบ้านด้วย จึงเห็นว่าค่าทดแทนที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดมานั้นเหมาะสมแล้ว ฎีกาข้อนี้ของจำเลยที่ 1 ก็ฟังไม่ขึ้น คดีมีประเด็นข้อสุดท้ายเรื่องการใช้อำนาจปกครองเด็กชาย อ. นั้น เห็นว่า เด็กชาย อ. อยู่ในความดูแลของโจทก์ตลอดมาตั้งแต่โจทก์ยังอยู่ร่วมบ้านกับจำเลยที่ 1 หรือแยกออกมาอยู่ต่างหากจากจำเลยที่ 1 โดยไม่ปรากฏว่าการปกครองดูแลเด็กชาย อ. ของโจทก์มีผลเสียหายอย่างไร แต่กลับปรากฏผลดีเพราะโจทก์เป็นหญิงมีความละเอียดอ่อนในการดูแลบุตร ทั้งโจทก์ประกอบอาชีพอยู่ภายในบ้าน ย่อมมีเวลาในการเลี้ยงดูบุตร และโจทก์ก็ยังไม่มีสามีใหม่ที่จะมาแบ่งปันเวลาและความรักที่มีต่อเด็กชาย อ. ซึ่งต่างกับจำเลยที่ 1 ที่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน ทั้งมีครอบครัวใหม่กับจำเลยที่ 2 และบุตรกับจำเลยที่ 2 การให้เด็กชาย อ. บุตรอยู่ในความดูแลของโจทก์ย่อมเหมาะสมกว่า ส่วนที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ปัจจุบันเด็กชาย อ. กลับมาอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 ที่บ้านเลขที่ 81/105 ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2548 เพราะโจทก์ไม่มีเวลามาดูแลให้ความอบอุ่น โจทก์ก็แก้ฎีกาว่าจำเลยที่ 1 บอกว่าจะให้บุตรไปศึกษาต่อต่างประเทศจึงขอให้โจทก์ไปทำหนังสือยินยอมที่สถานกงสุล โจทก์จึงต้องยินยอมให้บุตรไปอยู่กับจำเลยที่ 1 เพราะเห็นแก่อนาคตของบุตรแต่บุตรก็ยังไม่ได้ไปต่างประเทศ ต้องอาศัยอยู่กับย่าซึ่งอายุมากแล้วที่บ้านเลขที่ 81/105 ตามลำพังสองคน เพราะจำเลยที่ 1 ได้แยกไปอยู่กับครอบครัวใหม่อีกที่หนึ่ง ทำให้ในตอนกลางวันบุตรเล่นแต่เกมคอมพิวเตอร์ และออกไปเที่ยวเตร่กลางคืนเป็นบางครั้ง เพราะจำเลยที่ 1 ไม่ได้ดูแลใกล้ชิด ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้จึงยังไม่แน่นอนดังที่จำเลยที่ 1 ฎีกา และนำมารับฟังวินิจฉัยประกอบฎีกาของจำเลยที่ 1 ไม่ได้ ฎีกาจำเลยที่ 1 จึงฟังไม่ขึ้น ส่วนข้ออ้างตามฎีกาข้ออื่นของจำเลยทั้งสองนั้น ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยของศาลฎีกา จึงไม่จำต้องวินิจฉัยให้”

  พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

 มาตรา 1516  เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้
(1) สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(2) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง
(ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
(ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่ายที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ
(ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ
อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(3) สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4/1) สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิดหรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามีภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือนร้อนเกินควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4/2) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(5) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามปีโดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(6) สามีหรือภริยา
ไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควร หรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(7) สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมีลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(8) สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(9) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรังไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(10) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกาย ทำให้สามีหรือภริยานั้นไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

 มาตรา 1529  สิทธิฟ้องร้องโดยอาศัยเหตุในมาตรา 1516 (1) (2) (3) หรือ (6) หรือมาตรา 1523 ย่อมระงับไปเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันผู้กล่าวอ้างรู้หรือควรรู้ความจริงซึ่งตนอาจยกขึ้นกล่าวอ้าง
เหตุอันจะยกขึ้นฟ้องหย่าไม่ได้แล้วนั้น อาจนำสืบสนับสนุนคดีฟ้องหย่าซึ่งอาศัยเหตุอย่างอื่น




การสิ้นสุดแห่งการสมรส

หลักเกณฑ์การใช้สิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพหลังการหย่า article
สิทธิฟ้องหย่าของโจทก์หมดไปโจทก์ให้ความยินยอมและรู้เห็นเป็นใจ article
ความหมายว่า"ค่าอุปการะเลี้ยงดูจนกว่าจะสมรสใหม่และจนกว่าการสมรสสิ้นสุดลง" article
ฟ้องหย่าคดีอยู่ระหว่างฎีกาฟ้องคดีใหม่เป็นฟ้องซ้อน
ฟ้องหย่าอ้างสิทธิที่จะเลือกคู่ครองตามรัฐธรรมนูญ
สำนักงานการปฏิรูปฯ (ส.ป.ก.)ขอออกโฉนดโดยมิชอบ
พักโรงแรมห้องเดียวกับสามี ฟ้องเรียกค่าทดแทนจากหญิงชู้โดยไม่ต้องฟ้องหย่า
โจทก์ไม่ทราบแน่ชัดเรื่องชู้สาวจึงไม่เป็นการยินยอมและให้อภัยของโจทก์
การจงใจทิ้งร้างไปเกินกว่า 1 ปีต้องในลักษณะที่ไม่หวนกลับไปหาคู่สมรสอีก
จดทะเบียนหย่าแล้วก็ฟ้องเรียกค่าทดแทนชู้สาวได้
ขับไล่โจทก์ออกจากบ้านเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง
สามีภริยาจะต้องมีการร่วมประเวณีกันบ้างแต่ต้องเกิดจากความยินยอม
ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องด้วยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปี เหตุฟ้องหย่า
สมัครใจแยกกันอยู่, จงใจละทิ้งร้าง, เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา
ฟ้องหย่าขอแบ่งสินสมรส การจัดการสินสมรสที่เป็นเงินตรา(เงินสด)
การหย่าโดยความยินยอมต้องทำอย่างไร?, หนังสือหย่า
การฟ้องและเรียกค่าทดแทนคดีครอบครัว
สิทธิฟ้องค่าอุปการะเลี้ยงดูอันจะอยู่ในอายุความ 5 ปี
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลัง
เรียกค่าทดแทนจากสามีและหญิงอื่น(เมียน้อย), ยกย่องผู้อื่นฉันภริยา
การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ สิทธิเรียกร้องกำหนดอายุความ 5 ปี
การหย่าโดยความยินยอม, บันทึกเป็นหนังสือประสงค์หย่าขาด
สมัครใจแยกกันอยู่เกิน 3 ปี ต้องเพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันได้โดยปกติสุขด้วย
นำตำรวจจับกุมภริยา หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามโจทก์อย่างร้ายแรง
จงใจละทิ้งร้างภริยาไปเกินหนึ่งปีฟ้องหย่าได้, สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา
ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจ, อุปการะเลี้ยงดูหญิงอื่นเป็นภริยา
แยกกันอยู่เพราะสามีรับราชการที่อื่น, ไม่ถือว่าเป็นการแยกกันอยู่โดยความสมัครใจ
ทะเลาะกันและทำร้ายร่างกายยังไม่เป็นเหตุฟ้องหย่า
แยกกันอยู่เพราะสามียกย่องหญิงอื่น, เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง
ฟ้องหย่าจงใจละทิ้งร้างเรียกสินสอดทองหมั้นคืน
สามีหรือภริยาประพฤติชั่วอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
รู้เห็นเป็นใจในการกระทำที่เป็นเหตุหย่าจะยกเป็นเหตุฟ้องหย่านั้นไม่ได้
พี่น้องของผู้ตายขอเพิกถอนการจดทะเบียนสมรสซ้อนไม่ได้
อำนาจฟ้องขอเพิกถอนการสมรสเพราะสำคัญผิดตัว
ศาลมีอำนาจกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก-ได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปี ฟ้องหย่าได้
สิทธิฟ้องหย่าระงับเมื่ออีกฝ่ายให้อภัยแล้ว
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปีฟ้องหย่าได้
สิทธิที่จะติดต่อกับบุตรของตนได้ตามสมควรแล้วแต่พฤติการณ์
แยกกันอยู่เกินสามปีต้องเพราะไม่อาจอยู่ร่วมกันได้โดยปกติสุข
ไม่อาจร่วมประเวณีได้ ต้องการฟ้องหย่า
เหตุหย่าให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ยื่นฟ้องหย่า
แยกกันอยู่หรือจงใจละทิ้งร้าง? -อยู่บ้านเดียวกันแต่ก็มีลักษณะแบบต่างคนต่างอยู่
กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง
สิทธิที่จะเรียกค่าทดแทนชู้สาวนั้นต้องแสดงตนโดยเปิดเผย
เหตุแห่งการฟ้องหย่าทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลงขอให้อีกฝ่ายหนึ่งจ่ายค่าเลี้ยงชีพได้
พฤติการณ์อย่างไรเรียกว่ายกย่องเมียน้อยฉันภริยา
ฟ้องซ้ำ ค่าอุปการะเลี้ยงดู หนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนด
การสมรสสิ้นไปด้วยเหตุความตายของคู่สมรสฝ่ายหนึ่ง
การแบ่งสินสมรสและกรรมสิทธิ์รวม
หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามสามีหรือบุพการี
ไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควร
สมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้
สัญญาระหว่างสมรสให้ทรัพย์สินของสามีตกเป็นของภริยาห้ามบอกล้าง
ขอเพิกถอนทะเบียนสมรสซ้อน สมรสซ้อนโดยไม่สุจริต
ทะเบียนสมรส ลงชื่อฝ่ายชายคนเดียว, เพิกถอนการรับบุตรบุญธรรม
ฟ้องหย่าอ้างเหตุสมัครใจแยกกันอยู่
ทำร้ายร่างกายถ้าเป็นการร้ายแรงฟ้องหย่าได้, ศาลปรับหนึ่งพันไม่เป็นการร้ายแรง
เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากัน, การทำร้ายคู่สมรส
เหตุฟ้องหย่า เหตุที่ไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ มีอะไรบ้าง
ความสมบูรณ์ของการสมรส, ฟ้องให้การสมรสเป็นโมฆะ
การฟ้องหย่าและหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากสามี ไม่ฟ้องหย่า
รู้ว่าสามีไปมีหญิงอื่นเกินหนึ่งปีก็ฟ้องเรียกค่าเสียหายได้,อายุความ
การจดทะเบียนหย่าด้วยการแสดงเจตนาลวง
จงใจละทิ้งร้างไปเกินหนึ่งปี
สามีฟ้องหย่า,จงใจละทิ้งร้าง,เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา
ฟ้องหย่าได้ที่ศาลใด
จดทะเบียนสมรสโดยต่างไม่ได้ยินยอมเป็นสามีภริยากันอย่างแท้จริง
สามีโจทก์เข้าออกบ้านของจำเลยในเวลากลางคืนบ่อยครั้ง
คำสั่งขอคุ้มครองชั่วคราวเกี่ยวด้วยดอกผลของสินสมรส
การหย่าโดยคำพิพากษาจะมีผลต่อเมื่อเวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุด
สามีบังคับภริยาให้ยอมร่วมประเวณีโดยใช้มีดขู่ฆ่าอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้