ReadyPlanet.com
dot
สำนักงานทนายความ
dot
bulletทนายความฟ้องหย่า
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
dot
พระราชบัญญัติ
dot
bulletพระราชบัญญัติ
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
dot
บทความเฉพาะเรื่อง
dot
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletสัญญายอมความ
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletกรมบังคับคดี
dot
ลิงค์ต่าง ๆ
dot
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletอำนาจปกครองบุตร




สิทธิที่จะติดต่อกับบุตรของตนได้ตามสมควรแล้วแต่พฤติการณ์ article

สำนักงานทนายความ

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษาทนายความ (นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ) โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  ID line  :

         (1) @leenont หรือ (2)  @peesirilaw  

-Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย  QR CODE

สิทธิที่จะติดต่อกับบุตรของตนได้ตามสมควรแล้วแต่พฤติการณ์

บิดาหรือมารดาย่อมมีสิทธิที่จะติดต่อกับบุตรของตนได้ตามควรแก่พฤติการณ์ ไม่ว่าบุคคลใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองก็ตาม
ในคดีนี้ศาลเห็นว่า บิดา และมารดา ต่างก็มีความสามารถที่จะอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้ แต่การที่บิดารับราชการครูย่อมไม่สะดวกในการเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์เพราะบิดามีเวลาเฉพาะวันเสาร์และวันอาทิตย์เท่านั้น ส่วนมารดาอยู่ใกล้ชิดกับบุตรผู้เยาว์มาตั้งแต่คลอด บุตรผู้เยาว์อยู่กับมารดาย่อมจะได้รับความอบอุ่นมากกว่า แม้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์จะตกแก่มารดา แต่กฎหมายรับรองให้บิดามีสิทธิจะติดต่อกับบุตรผู้เยาว์ได้ตามสมควรแล้วแต่พฤติการณ์
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3035/2533

บิดา         โจทก์
มารดา      จำเลย
 
          โจทก์จำเลยต่างสามารถเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ได้ แต่การให้บุตรผู้เยาว์อยู่กับโจทก์เป็นการไม่สะดวก เพราะโจทก์กลับบ้านได้เฉพาะ วันเสาร์-อาทิตย์ ส่วนการให้บุตรผู้เยาว์อยู่กับมารดาได้รับความอบอุ่นมากกว่าเพราะอยู่ใกล้ชิดตลอดเวลา จึงสมควรให้จำเลยเป็นผู้ปกครองบุตรผู้เยาว์ และแม้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์จะตกแก่จำเลยก็ตาม โจทก์มีสิทธิจะติดต่อกับบุตรผู้เยาว์ได้ตามสมควรแล้วแต่พฤติการณ์ คดีก่อนถึงที่สุดโดยศาลยังมิได้วินิจฉัยประเด็นเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ จำเลยจึงมีสิทธิฟ้องแย้งโจทก์ในนี้ให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ได้อีก ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148.
 
มาตรา 1521  ถ้าปรากฏว่าผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองตามมาตรา 1520 ประพฤติตนไม่สมควร หรือภายหลังพฤติการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป ศาลมีอำนาจสั่งเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองโดยคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของบุตรเป็นสำคัญ
 
          โจทก์ฟ้องว่า โจทก์กับจำเลยเป็นสามีภรรยาโดยจดทะเบียนสมรสมีบุตรด้วยกัน 1 คน จำเลยได้พาบุตรไปอยู่กับมารดาโดยจงใจทิ้งร้างโจทก์ จนบัดนี้เกินกว่า 1 ปีแล้ว ทั้งจำเลยเคยฟ้องหย่าโจทก์ จึงขอให้พิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภรรยา และให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ โดยให้จำเลยส่งมอบบุตรผู้เยาว์ให้โจทก์ภายในกำหนด 7 วัน

          จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยมิได้ทิ้งร้างโจทก์ เหตุที่จำเลยไปอยู่กับมารดาเพราะถูกโจทก์ทำร้ายทุบตี จำเลยมีเวลาพอที่จะเลี้ยงดูบุตรได้ดีกว่าโจทก์ ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์เป็นฟ้องซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ 62/2528 ของศาลชั้นต้น เพราะเหตุอย่างเดียวกัน ขอให้ยกฟ้องโจทก์ และให้จำเลยแต่ผู้เดียวเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ กับให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูให้จำเลยเดือนละ 1,000 บาท จนกว่าบุตรผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะ

          โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้ง และแก้ไขคำให้การแก้ฟ้องแย้งว่า โจทก์ไม่เคยทุบตีจำเลย ฟ้องแย้งของจำเลยซ้ำกับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 63/2528 ของศาลชั้นต้น จำเลยไม่มีสิทธิเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู จำเลยไม่มีอำนาจขอเป็นผู้ปกครองบุตรผู้เยาว์ โจทก์สามารถเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ได้ดีกว่าจำเลย

          ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า 1. ฟ้องโจทก์และฟ้องแย้งจำเลยเป็นฟ้องซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ 63/2528 ของศาลชั้นต้นหรือไม่  2. จำเลยทิ้งร้างโจทก์ไปกว่า 1 ปี เป็นเหตุให้ฟ้องหย่าหรือไม่และ  3. เมื่อหย่าแล้วใครเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง และบุตรจะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูเดือนละเท่าไร   ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นคู่ความสละประเด็นข้อพิพาทข้อ 2 และตกลงหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันโดยจะไปจดทะเบียนหย่าภายหลังศาลพิพากษาในกำหนด 7 วัน และติดใจสืบพยานเฉพาะประเด็นข้อที่ 3 เท่านั้น

          ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่า คดีไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ 63/2528 ของศาลชั้นต้น เพราะอ้างเหตุคนละเหตุเมื่อหย่ากันแล้วให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร ให้จำเลยได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากโจทก์เดือนละ 1,000 บาท จนกว่าบุตรจะบรรลุนิติภาวะ พิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกัน ให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์แก่จำเลยเดือนละ 1,000 บาทนับแต่วันฟ้องจนกว่าบุตรผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะ
       
          โจทก์อุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
          โจทก์ฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ปัญหาแรกโจทก์ฎีกาว่า โจทก์หรือจำเลยควรเป็นผู้ปกครองเด็กชายไกรภพ  บุตรผู้เยาว์ เห็นว่าโจทก์เป็นอาจารย์ 1 ระดับ 3 เงินเดือนขณะนั้น 3,325 บาท บิดาเป็นข้าราชการบำนาญ มีนา 400 ไร่ ส่วนจำเลยจบการศึกษาประถมปีที่ 4 มีนา 30 ไร่ ทำร่วมกับบิดามารดาอีก 80 ไร่ แม้โจทก์มีฐานะดีกว่าจำเลยมากก็ตามแต่โจทก์อาศัยอยู่บ้านพักครู กลางวันต้องไปสอนวันเสาร์-อาทิตย์จึงได้กลับบ้าน การที่จะให้เด็กชายไกรภพบุตรผู้เยาว์ซึ่งมีอายุ 3 ขวบ อยู่กับโจทก์ย่อมไม่สะดวก แม้ว่าจะหาผู้มาเลี้ยงหรือส่งบุตรผู้เยาว์อยู่ในโรงเรียนอนุบาลก็ตาม ความอบอุ่นที่บุตรผู้เยาว์ได้รับจากมารดามีมากกว่าเพราะมารดาอยู่ใกล้ชิดกับบุตรผู้เยาว์ตลอดเวลานับแต่คลอด จำเลยก็มิได้ยากจนถึงขนาดที่จะเลี้ยงดูและให้การศึกษาบุตรผู้เยาว์ไม่ได้ หากโจทก์ประสงค์ที่จะให้บุตรผู้เยาว์ได้รับการศึกษาจนจบการศึกษาชั้นปริญญาตรีก็ทำได้ เพราะแม้อำนาจการปกครองจะตกแก่จำเลยก็ตาม โจทก์ยังมีสิทธิที่จะติดต่อกับบุตรของตนได้ตามสมควรแล้วแต่พฤติการณ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1521 วรรคสอง ที่ศาลล่างทั้งสองให้จำเลยเป็นผู้ปกครองบุตรผู้เยาว์นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย  โจทก์ฎีกาอีกข้อหนึ่งว่า ฟ้องแย้งของจำเลยคดีนี้ฟ้องซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ 63/2528 ของศาลชั้นต้นซึ่งคดีถึงที่สุดแล้ว  เห็นว่าค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ที่จำเลยฟ้องแย้งโจทก์ในคดีหมายเลขแดงที่ 63/2528 ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัย จำเลยจึงฟ้องแย้งเรียกค่าอุปการะเลี้ยงบุตรผู้เยาว์ในคดีนี้ได้  ไม่เป็นฟ้องซ้ำ ศาลล่างทั้งสองพิพากษาชอบแล้ว ฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น
          พิพากษายืน.
 
 
( พนม พ่วงภิญโญ - จองทรัพย์ เที่ยงธรรม - อุดม มั่งมีดี )
 
 
มาตรา 1566  บุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดา
อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดาในกรณีดังต่อไปนี้
(1) มารดาหรือบิดาตาย
(2) ไม่แน่นอนว่ามารดาหรือบิดามีชีวิตอยู่หรือตาย
(3) มารดาหรือบิดาถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
(4) มารดาหรือบิดาต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะจิตฟั่นเฟือน
(5) ศาลสั่งให้อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดา
(6) บิดาและมารดาตกลงกันตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ตกลงกันได้

มาตรา 1584/1  บิดาหรือมารดาย่อมมีสิทธิที่จะติดต่อกับบุตรของตนได้ตามควรแก่พฤติการณ์ ไม่ว่าบุคคลใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองก็ตาม
         

สำนักงานทนายความ โดย  ทนายความ ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ รับฟ้องคดีครอบครัว เช่น

ฟ้องหย่าโดยความยินยอม  

ฟ้องหย่าตามบันทึกข้อตกลง

ฟ้องหย่าให้โจทก์แต่เพียงผู้เดียวเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง

ฟ้องหย่าให้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร

ฟ้องหย่าเรียกค่าเลี้ยงชีพ

ฟ้องหย่าเรียกคืนของหมั้น

ฟ้องหย่าแบ่งสินสมรส

ฟ้องหย่าอ้างเหตุอุปการะเลี้ยงดูหญิงอื่น

ฟ้องหย่าอ้างเหตุเป็นชู้หรือมีชู้

ฟ้องหย่าอ้างเหตุร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ

บริการของ สำนักงานพีศิริ ทนายความ
สำนักงานกฎหมายพีศิริทนายความ ก่อตั้งโดย ทนายความ ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ  รับว่าความคดีแพ่ง คดีอาญา คดีผู้บริโภคและคดีอื่นๆ ทุกคดี รับเป็นที่ปรึกษาทางด้านกฎหมาย รับเป็นทนายความแก้ต่างต่อสู้คดี ข้อตกลง ตลอดจนข้อสัญญาต่างๆ เกี่ยวกับธุรกิจ ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ยื่นคำร้องขอถอนผู้จัดการมรดก ฟ้องเรียกเงินผิดสัญญากู้ยืมเงิน ผิดสัญญาจ้างทำของ  ฟ้องหย่า ฟ้องเกี่ยวเนื่องกับสิทธิในคดีครอบครัว ฟ้องเรียกบุตรคืน ฟ้องถอนอำนาจปกครองผู้เยาว์ ฟ้องหย่าและเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู ฟ้องหย่าและขอแบ่งสินสมรส ฟ้องหย่าและเรียกค่าทดแทนจากหญิงที่แสดงตนว่ามีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับคู่สมรส ฟ้องหย่าและเรียกค่าเลี้ยงชีพ ฟ้องขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียว ฟ้องให้จดทะเบียนรับรองบุตร ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร ฟ้องขอให้ศาลมีว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ฟ้องขอเปลี่ยนอำนาจปกครองบุตร ฟ้องให้คู่หย่าปฏิบัติตามบันทึกท้ายทะเบียนหย่า ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูตามบันทึกท้ายทะเบียนหย่า ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์สินตามบันทึกท้ายทะเบียนหย่า  ฟ้องเรียกค่าทดแทนผิดสัญญาหมั้นเรียกสินสอดคืน ฟ้องบอกเลิกสัญญาหมั้นเรียกของหมั้นคืน ฟ้องคู่สมรสขอแยกกันอยู่ชั่วคราว ฟ้องขอให้จดทะเบียนใส่ชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมคนละครึ่ง ยื่นคำร้องต่อศาลขออนุญาตแทนการให้ความยินยอมขายที่ดินสินสมรส ฟ้องขอเพิกถอนการให้ที่ดินสินสมรส  ฟ้องขอใส่ชื่อเป็นเจ้าของร่วมในที่ดินสินสมรส  ฟ้องขอใส่ชื่อเป็นเจ้าของร่วมในบัญชีธนาคาร  ยื่นคำร้องขอเพิกถอนการจดทะเบียนสมรสซ้อน   ยื่นคำร้องขอเพิกถอนการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร ฟ้องบิดาขอให้รับเด็กเป็นบุตรและเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูรวมมาด้วย  ยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่าผู้ร้องเป็นบุตรเพื่อรับบำเหน็จตกทอดจากทางราชการ  ฟ้องไม่รับเด็กเป็นบุตรเนื่องจากเป็นหมันไม่สามารถให้กำเนิดบุตรได้  ฟ้องคดีขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม  ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแทนการให้ความยินยอมของมารดาในการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม  ยื่นคำร้องขอตั้งผู้ปกครอง  ขอให้ศาลแต่งตั้งเป็นผู้ปกครองเด็ก  คดีขอให้ศาลสั่งเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครอง ติดต่อทนายความได้เลย ฟ้องหย่าคิดถึงทนายความลีนนท์ ติดต่อทนายความลีนนท์ ได้ที่หมายเลข 0859604258

 




การสิ้นสุดแห่งการสมรส

สามีโจทก์เข้าออกบ้านของจำเลยในเวลากลางคืนบ่อยครั้ง article
คำสั่งขอคุ้มครองชั่วคราวเกี่ยวด้วยดอกผลของสินสมรส article
การหย่าโดยคำพิพากษาจะมีผลต่อเมื่อเวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุด article
สามีบังคับภริยาให้ยอมร่วมประเวณีโดยใช้มีดขู่ฆ่าอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ article
หลักเกณฑ์การใช้สิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพหลังการหย่า article
สิทธิฟ้องหย่าของโจทก์หมดไปโจทก์ให้ความยินยอมและรู้เห็นเป็นใจ article
ความหมายว่า"ค่าอุปการะเลี้ยงดูจนกว่าจะสมรสใหม่และจนกว่าการสมรสสิ้นสุดลง" article
ฟ้องหย่าคดีอยู่ระหว่างฎีกาฟ้องคดีใหม่เป็นฟ้องซ้อน article
ฟ้องหย่าอ้างสิทธิที่จะเลือกคู่ครองตามรัฐธรรมนูญ article
สมัครใจแยกกันอยู่เกิน 3 ปี ต้องเพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันได้โดยปกติสุขด้วย article
พี่น้องของผู้ตายขอเพิกถอนการจดทะเบียนสมรสซ้อนไม่ได้ article
เหตุแห่งการฟ้องหย่าทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลงขอให้อีกฝ่ายหนึ่งจ่ายค่าเลี้ยงชีพได้ article
ทะเบียนสมรส ลงชื่อฝ่ายชายคนเดียว, เพิกถอนการรับบุตรบุญธรรม article
นำตำรวจจับกุมภริยา หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามโจทก์อย่างร้ายแรง article
จงใจละทิ้งร้างภริยาไปเกินหนึ่งปีฟ้องหย่าได้, สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา article
สิทธิฟ้องหย่าระงับไปเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีเว้นแต่เหตุฟ้องเกิดขึ้นต่อเนื่อง article
ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจ, อุปการะเลี้ยงดูหญิงอื่นเป็นภริยา article
แยกกันอยู่เพราะสามีรับราชการที่อื่น, ไม่ถือว่าเป็นการแยกกันอยู่โดยความสมัครใจ article
ทะเลาะกันและทำร้ายร่างกายยังไม่เป็นเหตุฟ้องหย่า article
แยกกันอยู่เพราะสามียกย่องหญิงอื่น, เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง article
ฟ้องหย่าจงใจละทิ้งร้างเรียกสินสอดทองหมั้นคืน article
สามีหรือภริยาประพฤติชั่วอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ article
รู้เห็นเป็นใจในการกระทำที่เป็นเหตุหย่าจะยกเป็นเหตุฟ้องหย่านั้นไม่ได้ article
อำนาจฟ้องขอเพิกถอนการสมรสเพราะสำคัญผิดตัว article
ศาลมีอำนาจกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้ article
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก-ได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปี ฟ้องหย่าได้ article
สิทธิฟ้องหย่าระงับเมื่ออีกฝ่ายให้อภัยแล้ว article
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปีฟ้องหย่าได้ article
แยกกันอยู่เกินสามปีต้องเพราะไม่อาจอยู่ร่วมกันได้โดยปกติสุข article
ไม่อาจร่วมประเวณีได้ ต้องการฟ้องหย่า
แยกกันอยู่หรือจงใจละทิ้งร้าง? -อยู่บ้านเดียวกันแต่ก็มีลักษณะแบบต่างคนต่างอยู่
กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง
สิทธิที่จะเรียกค่าทดแทนชู้สาวนั้นต้องแสดงตนโดยเปิดเผย
พฤติการณ์อย่างไรเรียกว่ายกย่องเมียน้อยฉันภริยา
ฟ้องซ้ำ ค่าอุปการะเลี้ยงดู หนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนด
การสมรสสิ้นไปด้วยเหตุความตายของคู่สมรสฝ่ายหนึ่ง
การแบ่งสินสมรสและกรรมสิทธิ์รวม
หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามสามีหรือบุพการี
ไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควร
สมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้
สัญญาระหว่างสมรสให้ทรัพย์สินของสามีตกเป็นของภริยาห้ามบอกล้าง
ขอเพิกถอนทะเบียนสมรสซ้อน สมรสซ้อนโดยไม่สุจริต
ฟ้องหย่าอ้างเหตุสมัครใจแยกกันอยู่, สามีเป็นฝ่ายแยกไปเองโดยยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา
ทำร้ายร่างกายถ้าเป็นการร้ายแรงฟ้องหย่าได้, ศาลปรับหนึ่งพันไม่เป็นการร้ายแรง
เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากัน, การทำร้ายคู่สมรส
เหตุฟ้องหย่า เหตุที่ไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ มีอะไรบ้าง
ความสมบูรณ์ของการสมรส, ฟ้องให้การสมรสเป็นโมฆะ
การฟ้องหย่าและหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากสามี ไม่ฟ้องหย่า
รู้ว่าสามีไปมีหญิงอื่นเกินหนึ่งปีก็ฟ้องเรียกค่าเสียหายได้,อายุความ
การจดทะเบียนหย่าด้วยการแสดงเจตนาลวง
จงใจละทิ้งร้างไปเกินหนึ่งปี
สามีฟ้องหย่า,จงใจละทิ้งร้าง,เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา
ฟ้องหย่าได้ที่ศาลใด
สมัครใจแยกกันอยู่, จงใจละทิ้งร้าง, เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปี เหตุฟ้องหย่า
ฟ้องหย่าขอแบ่งสินสมรส การจัดการสินสมรสที่เป็นเงินตรา(เงินสด)
การหย่าโดยความยินยอมต้องทำอย่างไร?, หนังสือหย่า
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ สิทธิเรียกร้องกำหนดอายุความ 5 ปี
การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
เรียกค่าทดแทนจากสามีและหญิงอื่น(เมียน้อย), ยกย่องผู้อื่นฉันภริยา
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลัง
การหย่าโดยความยินยอม, บันทึกเป็นหนังสือประสงค์หย่าขาด
การฟ้องและเรียกค่าทดแทนคดีครอบครัว โทร0859604258
จดทะเบียนหย่าแล้วก็ฟ้องเรียกค่าทดแทนชู้สาวได้
การจงใจทิ้งร้างไปเกินกว่า 1 ปีต้องในลักษณะที่ไม่หวนกลับไปหาคู่สมรสอีก
การสมรส, การหมั้น, ผิดสัญญาหมั้น, เรียกคืนสินสอดของหมั้น
อำนาจปกครองบุตร
การบอกล้างสัญญาระหว่างสมรส แบ่งสินสมรส
จดทะเบียนรับรองบุตร บิดานอกสมรส-ขอรับเด็กเป็นบุตร
อายุความฟ้องร้องคดี
บิดา มารดา กับ บุตร