ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ฟ้องหย่าอ้างเหตุสมัครใจแยกกันอยู่

 ท นาย อาสา ฟรี

 

เพิ่มเพื่อนไลน์แชทกับทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

 

ปรึกษากฎหมายทางแชทไลน์

 

เหตุฟ้องหย่าที่เกิดจากความสมัครใจของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย-สามีเป็นฝ่ายแยกไปเองโดยยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา 

สามีฟ้องหย่าภริยาหลายครั้งอ้างเหตุสมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปีศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเหตุฟ้องหย่าอันที่มิใช่เกิดจากความยินยอมพร้อมใจของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายแต่สามีเป็นฝ่ายแยกไปเองโดยยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา  

โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลย แม้ว่าจะมิได้อยู่ร่วมกันหรือไม่มีเยื่อใยต่อกันและไม่มีความหวังที่จะคืนดีกันอีกแล้วก็ตา เหตุฟ้องหย่าที่เกิดจากความสมัครใจของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายก็ต้องเกิดจากความสมัครใจโดยแท้จริงของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายมิใช่สมัครใจเพียงฝ่ายเดียว  สามีเป็นฝ่ายแยกไปเองโดยยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา ไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าภริยาได้  แม้ว่าจะมิได้อยู่ร่วมกันหรือไม่มีเยื่อใยต่อกัน และไม่มีความหวังที่จะคืนดีกันอีกแล้วก็ตาม

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1412/2543

เหตุฟ้องหย่าอันที่มิใช่เกิดจากความยินยอมพร้อมใจของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 นั้นโจทก์ต้องพิสูจน์ให้ศาลเชื่อได้ว่า จำเลยเป็นฝ่ายประพฤติตนไม่สมควรหรือกระทำการอันเข้าเงื่อนไขที่มาตรา 1516 ได้ระบุไว้นอกจากอนุมาตรา(4/2) ส่วนเหตุฟ้องหย่าที่เกิดจากความสมัครใจของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายก็ต้องเกิดจากความสมัครใจโดยแท้จริงของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย มิใช่สมัครใจเพียงฝ่ายเดียว ดังนั้น หากพฤติการณ์แห่งคดีมิได้เป็นไปดังที่ได้กล่าวมาทั้งสองกรณีนี้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลย แม้ว่าจะมิได้อยู่ร่วมกันหรือไม่มีเยื่อใยต่อกัน และไม่มีความหวังที่จะคืนดีกันอีกแล้วก็ตาม

แม้จะถูกฟ้องหย่าหลายครั้ง จำเลยก็ไม่เคยคิดที่จะฟ้องหย่าโจทก์หรือมีความประสงค์ที่จะหย่าขาดจากโจทก์แต่อย่างใด รวมทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยมีพฤติกรรมในทำนองชู้สาวกับชายอื่นหรือนอกใจโจทก์ ตรงข้ามกับโจทก์ซึ่งมีพฤติกรรมอันส่อแสดงว่านอกใจจำเลยและยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา จึงเป็นเหตุที่ทำให้จำเลยต้องทำหนังสือร้องเรียนขอความเป็นธรรมต่อปลัดกระทรวงมหาดไทยและสำนักราชเลขาธิการ รวมทั้งทำหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงต่อบิดาและมารดาของหญิงที่ยุ่งเกี่ยวกับสามีของตน ตลอดจนฟ้องเรียกค่าทดแทนจากหญิงนั้นด้วย การที่จำเลยต้องกล่าวพาดพิงถึงโจทก์ในหนังสือร้องเรียนและเบิกความเป็นพยานในคดีดังกล่าวเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงนั้นแม้ถ้อยคำบางคำอาจเกินเลยและรุนแรงไปบ้างก็ล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยกล่าวด้วยความหึงหวงในตัวสามีอันเป็นธรรมชาติของภริยาโดยทั่วไป ทั้งเป็นการกล่าวโดยสุจริต โดยชอบธรรมเพื่อป้องกันส่วนได้เสียตามคลองธรรม จึงมิใช่เป็นการหมิ่นประมาท ดังนั้น ถ้อยคำดังกล่าวมิใช่เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงอันต้องด้วยเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(3) อีกทั้งพฤติการณ์ระหว่างโจทก์และจำเลยยังมิใช่กรณีที่สมัครใจแยกกันอยู่ตามมาตรา 1516(4/2) แต่เป็นกรณีโจทก์เป็นฝ่ายแยกไปเองโดยยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา เมื่อจำเลยมิได้ประสงค์จะหย่าขาดจากโจทก์โจทก์ก็ไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าจำเลยได้

 

สามีเป็นฝ่ายแยกไปเอง โดยยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา  ไม่มีสิทธิฟ้องหย่าภริยา

 

โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาให้โจทก์หย่าขาดจากจำเลย

จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยาน และพิพากษาให้โจทก์หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากับจำเลย

จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์จำเลย

จำเลยฎีกา ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสืบพยานโจทก์และจำเลยแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

ศาลชั้นต้นพิจารณาโดยสืบพยานโจทก์และจำเลยใหม่แล้วพิพากษาให้โจทก์หย่าขาดกับจำเลย

โจทก์และจำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้วข้อเท็จจริงในเบื้องต้นรับฟังเป็นยุติว่า โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยาจดทะเบียนสมรสที่ประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 2505 มีบุตร 1 คนโจทก์เคยฟ้องหย่าจำเลย และศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องรวม 2 คดี ได้แก่

1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 30/2523 วินิจฉัยว่า จำเลยไม่มีเจตนาแยกกับโจทก์หรือละทิ้งโจทก์ โจทก์เป็นฝ่ายหาทางแยกกับจำเลย เพราะจำเลยนำสืบได้ว่า โจทก์มีความสัมพันธ์ทางชู้สาวกับนางสาว ป และส่งเสียให้นางสาว ป ไปศึกษาในต่างประเทศ และโจทก์จะทำการสมรสกับนางสาว ป

2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5347/2538 วินิจฉัยว่า จำเลยมิได้ประพฤติชั่วและมิได้กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง

ส่วนจำเลยได้ฟ้องนาง ด เรียกค่าทดแทนเนื่องจากนาง ด แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่ามีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับโจทก์ในคดีนี้ตั้งแต่ปี 2523 โดยโจทก์มิได้ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจ คดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4745/2539 ให้นาง ด ชำระเงิน200,000 บาท แก่จำเลยในคดีนี้ พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเงินเสร็จ

ต่อมาโจทก์ได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาหมิ่นประมาทอ้างว่าจำเลยเบิกความเป็นพยานในคดีที่จำเลยฟ้องเรียกค่าทดแทนจากนาง ด  โดยเจตนาใส่ความโจทก์หลายเรื่อง ปรากฏว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง คดีจึงต้องห้ามฎีกาทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกามีคำสั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นของโจทก์ตามคำสั่งคำร้องของศาลฎีกาที่ 2085/2539 นอกจากนี้โจทก์ยังฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาหมิ่นประมาท โดยกล่าวหาว่าจำเลยกล่าวข้อความเป็นเท็จใส่ความโจทก์ต่อหน้าบุคคลหลายคนว่า โจทก์จบดอกเตอร์เพราะจำเลยส่งเสีย พอจบกลับมาไล่เตะลูกเมีย ทิ้งลูกเมียไปหาเมียใหม่ เมียคนแรกถูกหลอกเกือบหมดตัว พอคนที่สองก็ถูกหลอกเกลี้ยงตัว ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 1 เดือน ปรับ 500บาท โทษจำคุกรอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี โจทก์จึงนำข้อเท็จจริงในคดีดังกล่าวมาฟ้องหย่าจำเลยเป็นครั้งที่สาม ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีหมายเลขแดงที่ ค. 18/2536

มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยหมิ่นประมาทโจทก์เป็นการร้ายแรงหรือไม่ และโจทก์จำเลยสมัครใจแยกกันอยู่เกินกว่า3 ปี หรือไม่ เห็นว่า เหตุฟ้องหย่าตามมาตรา 1516 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อาจแยกได้เป็น 2 กรณี คือ

1. เหตุฟ้องหย่า ที่มิใช่เกิดจากความยินยอมพร้อมใจของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายจึงต้องกล่าวอ้างว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งกระทำการเข้าเงื่อนไขอย่างหนึ่งอย่างใด ดังที่ปรากฏในมาตรา 1516 นอกจากมาตรา 1516(4/2)

2. เหตุฟ้องหย่า ที่เกิดจากความสมัครใจของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายดังที่ปรากฏในมาตรา 1516(4/2)

ทั้งนี้ เหตุฟ้องหย่าอันเนื่องจากกรณีที่ 1 นั้น โจทก์ต้องพิสูจน์ให้ศาลเชื่อได้ว่า จำเลยเป็นฝ่ายประพฤติตนไม่สมควร หรือกระทำการอันเข้าเงื่อนไขที่มาตรา 1516 ได้ระบุไว้นอกจากอนุมาตรา (4/2)ส่วนเหตุฟ้องหย่าอันเกี่ยวจากกรณีที่ 2 ก็ต้องเกิดจากความสมัครใจโดยแท้จริงของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย มิใช่สมัครใจเพียงฝ่ายเดียว ดังนั้นหากพฤติการณ์แห่งคดีมิได้เป็นไปดังที่ได้กล่าวมาทั้งสองกรณีนี้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลย แม้ว่าจะมิได้อยู่ร่วมกันหรือไม่มีเยื่อใยต่อกันและไม่มีความหวังที่จะคืนดีกันอีกแล้วก็ตาม

เมื่อต้นเหตุแห่งการฟ้องหย่าในคดีนี้ เกิดจากความพยายามของโจทก์ที่ต้องการหย่าขาดจากจำเลยตลอดมานับตั้งแต่โจทก์เรียนจบปริญญาเอกกลับมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา แต่โจทก์ก็มิอาจที่จะหย่าขาดจากจำเลยได้ เพราะศาลฎีกามีคำพิพากษายกฟ้องถึง 2 ครั้งนอกจากนี้ ยังฟ้องจำเลยในข้อหาหมิ่นประมาท และนำข้อเท็จจริงจากคดีดังกล่าวมาฟ้องหย่าจำเลยด้วย แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องอีก เห็นได้ว่า แม้จะถูกฟ้องหย่าหลายครั้งหลายครารวมทั้งในคดีนี้ก็ต้องย้อนกลับมาที่ศาลฎีกาถึง 2 ครั้ง จำเลยก็ไม่เคยคิดที่จะฟ้องหย่าโจทก์หรือมีความประสงค์ที่จะหย่าขาดจากโจทก์แต่อย่างใดรวมทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยมีพฤติกรรมในทำนองชู้สาวกับชายอื่นหรือนอกใจโจทก์ ตรงข้ามกับโจทก์ซึ่งมีพฤติกรรมอันส่อแสดงว่านอกใจจำเลยและยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา ดังจะเห็นได้จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 30/2523 และในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4745/2539 จึงเป็นเหตุที่ทำให้จำเลยต้องทำหนังสือร้องเรียนขอความเป็นธรรมต่อปลัดกระทรวงมหาดไทย และสำนักราชเลขาธิการ รวมทั้งทำหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงต่อบิดาและมารดาของหญิงที่ยุ่งเกี่ยวกับสามีของตน ตลอดจนฟ้องเรียกค่าทดแทนจากหญิงนั้นด้วย การที่จำเลยต้องกล่าวพาดพิงถึงโจทก์ในหนังสือร้องเรียน และเบิกความเป็นพยานในคดีดังกล่าวตามที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องข้อ 2.1 และ 2.2 ว่า เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงนั้น แม้ถ้อยคำบางคำอาจเกินเลยและรุนแรงไปบ้างก็ล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยกล่าวด้วยความหึงหวงในตัวสามี อันเป็นธรรมชาติของภริยาโดยทั่วไป ทั้งเป็นการกล่าวโดยสุจริต โดยชอบธรรม เพื่อป้องกันส่วนได้เสียตามคลองธรรม จึงมิใช่เป็นกรณีหมิ่นประมาท จริงอยู่สำนักราชเลขาธิการมิใช่เป็นหน่วยงานที่จำเลยพึงร้องเรียนโดยตรง แต่มีเหตุที่อาจทำให้จำเลยเชื่อโดยสุจริตใจว่า สมควรที่จะต้องร้องขอความเป็นธรรมต่อสำนักราชเลขาธิการด้วย เพราะเกี่ยวพันกับการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งนายกเหล่ากาชาดของจังหวัดว่ามีความเหมาะสมเพียงใดหรือไม่ที่จะให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ว่าราชการจังหวัดดำรงตำแหน่งนายกเหล่ากาชาดของจังหวัดนั้น

กล่าวโดยสรุป ข้อเท็จจริงตามหนังสือชี้แจงและคำเบิกความของจำเลยในทุกประเด็นตามข้อ 2.1 และ 2.2 ที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่าเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง เพราะทำให้โจทก์เสื่อมเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นและถูกเกลียดชังนั้น เห็นว่า ถ้อยคำดังกล่าวมิใช่เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง อันต้องด้วยเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(3) นอกจากนี้พฤติการณ์ระหว่างโจทก์และจำเลยยังมิใช่กรณีที่สมัครใจแยกกันอยู่ตามมาตรา 1516(4/2)แต่เป็นกรณีโจทก์เป็นฝ่ายแยกไปเองโดยยกย่องหญิงอื่นฉันภริยาเมื่อจำเลยมิได้ประสงค์จะหย่าขาดจากโจทก์ โจทก์ก็ไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าจำเลยได้ ทั้งน่าจะเป็นบทเรียนให้โจทก์จำเลยได้คิดใคร่ครวญและทบทวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดได้ว่า โจทก์จำเลยได้ร่วมในชะตากรรมอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้มาเนิ่นนานเกินควรแล้ว สมควรที่จะได้ยุติความบาดหมางทั้งสิ้นทั้งปวงเพื่อบุตรที่โจทก์จำเลยมีอยู่เพียงคนเดียวซึ่งต้องได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงอันเนื่องจากความขัดแย้งระหว่างบิดามารดา ทั้งที่บุตรมิได้ร่วมก่อขึ้นเลย ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ทุกข้อฟังไม่ขึ้น"

พิพากษายืน

 มาตรา 1516 เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้
(4/2) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของ ศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

 

สามีฟ้องหย่าภริยาหลายครั้งอ้างเหตุ สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปีศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เหตุฟ้องหย่าอันที่มิใช่เกิดจากความยินยอม พร้อมใจของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายแต่สามี เป็นฝ่ายแยกไปเองโดยยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา  โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องหย่าภริยาแม้ว่าจะมิได้อยู่ร่วมกัน หรือไม่มีเยื่อใยต่อกันและไม่มีความหวังที่จะคืนดีกันอีก

 

 

*Grounds for Divorce* Section 1516.  Grounds of action for divorce  are as follows: 3.one spouse has caused serious harm  or torture to the body or mind of the other,  or has seriously insulted the other  or his or her ascendants,  the latter may enter a claim for divorce;




การสิ้นสุดแห่งการสมรส

คดีฟ้องหย่าและการแบ่งทรัพย์สิน, สิทธิการเรียกค่าเลี้ยงดูของโจทก์, การชำระค่าทดแทนในคดีแพ่ง, การบังคับคดีและสิทธิทายาทในมรดก
เรียกค่าทดแทนจากสามีและหญิงอื่น(เมียน้อย), ยกย่องผู้อื่นฉันภริยา
ข้อตกลงแบ่งค่าเช่าที่ดินในสัญญาหย่า
ฟ้องหย่าคู่สมรสวิกลจริต, คนไร้ความสามารถกับการหย่า, แบ่งทรัพย์สินหลังหย่าในกรณีคนวิกลจริต
การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลัง
การหย่าโดยความยินยอมต้องทำอย่างไร?, หนังสือหย่า
การหย่าโดยความยินยอม, บันทึกเป็นหนังสือประสงค์หย่าขาด
การฟ้องและเรียกค่าทดแทนคดีครอบครัว
สามีภริยาจะต้องมีการร่วมประเวณีกันบ้างแต่ต้องเกิดจากความยินยอม
ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องด้วยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์
ไม่เกิดสิทธิฟ้องหย่าเพราะโจทก์มีพฤติกรรมนอกใจจำเลยยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปี เหตุฟ้องหย่า
สมัครใจแยกกันอยู่, จงใจละทิ้งร้าง, เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา
การสมรสสิ้นไปด้วยเหตุความตายของคู่สมรสฝ่ายหนึ่ง
แบ่งสินสมรส, สินสมรสที่เป็นเงินตรา, แบ่งสินสมรสหลังหย่า สิทธิและหน้าที่, สินส่วนตัวกับสินสมรส
อายุความฟ้องหย่า, บันทึกข้อตกลงหย่า, หลักกฎหมายมาตรา 1515,
สิทธิฟ้องค่าอุปการะเลี้ยงดูอันจะอยู่ในอายุความ 5 ปี , หน้าที่บิดามารดาในการเลี้ยงดูบุตร
การฟ้องหย่าด้วยเหตุหมิ่นประมาท, สิทธิการฟ้องหย่าหมดอายุความ
นำตำรวจจับกุมภริยา หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามโจทก์อย่างร้ายแรง
จงใจละทิ้งร้างภริยาไปเกินหนึ่งปีฟ้องหย่าได้, สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา
การจงใจทิ้งร้างไปเกินกว่า 1 ปีต้องในลักษณะที่ไม่หวนกลับไปหาคู่สมรสอีก
ไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควร
สิทธิฟ้องหย่าระงับไปเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีเว้นแต่เหตุฟ้องเกิดขึ้นต่อเนื่อง
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ สิทธิเรียกร้องกำหนดอายุความ 5 ปี
เหตุฟ้องหย่าให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ยื่นฟ้องหย่า
สามีฟ้องหย่า,จงใจละทิ้งร้าง,เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา
ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจ, อุปการะเลี้ยงดูหญิงอื่นเป็นภริยา
สมัครใจแยกกันอยู่เกิน 3 ปี ต้องเพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันได้โดยปกติสุขด้วย
แยกกันอยู่เพราะสามีรับราชการที่อื่น, ไม่ถือว่าเป็นการแยกกันอยู่โดยความสมัครใจ
ทะเลาะกันและทำร้ายร่างกายยังไม่เป็นเหตุฟ้องหย่า
แยกกันอยู่เพราะสามียกย่องหญิงอื่น, เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง
ฟ้องหย่าจงใจละทิ้งร้างเรียกสินสอดทองหมั้นคืน
สามีหรือภริยาประพฤติชั่วอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
รู้เห็นเป็นใจในการกระทำที่เป็นเหตุหย่าจะยกเป็นเหตุฟ้องหย่านั้นไม่ได้
พี่น้องของผู้ตายขอเพิกถอนการจดทะเบียนสมรสซ้อนไม่ได้
อำนาจฟ้องขอเพิกถอนการสมรสเพราะสำคัญผิดตัว
ศาลมีอำนาจกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก-ได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปี ฟ้องหย่าได้
สิทธิฟ้องหย่าระงับเมื่ออีกฝ่ายให้อภัยแล้ว
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปีฟ้องหย่าได้
สิทธิที่จะติดต่อกับบุตรของตนได้ตามสมควรแล้วแต่พฤติการณ์
ไม่อาจร่วมประเวณีได้ ต้องการฟ้องหย่า
แยกกันอยู่หรือจงใจละทิ้งร้าง? -อยู่บ้านเดียวกันแต่ก็มีลักษณะแบบต่างคนต่างอยู่
กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง
ไม่ถือว่าจำเลยประพฤติชั่วทำให้โจทก์อับอายถูกเกลียดชังจนเป็นเหตุฟ้องหย่าได้
สิทธิที่จะเรียกค่าทดแทนชู้สาวนั้นต้องแสดงตนโดยเปิดเผย
เหตุแห่งการฟ้องหย่าทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลงขอให้อีกฝ่ายหนึ่งจ่ายค่าเลี้ยงชีพได้
ฟ้องซ้ำ ค่าอุปการะเลี้ยงดู หนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนด
การแบ่งสินสมรสและกรรมสิทธิ์รวม
หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามสามีหรือบุพการี
สัญญาระหว่างสมรสให้ทรัพย์สินของสามีตกเป็นของภริยาห้ามบอกล้าง
ขอเพิกถอนทะเบียนสมรสซ้อน สมรสซ้อนโดยไม่สุจริต
ทะเบียนสมรส ลงชื่อฝ่ายชายคนเดียว, เพิกถอนการรับบุตรบุญธรรม
ทำร้ายร่างกายถ้าเป็นการร้ายแรงฟ้องหย่าได้, ศาลปรับหนึ่งพันไม่เป็นการร้ายแรง
ฟ้องหย่าอ้างว่าจำเลยดูหมิ่นโจทก์และบุพการีของโจทก์อย่างร้ายแรง
การกระทำของจำเลยถือไม่ได้ว่าเป็นการประพฤติชั่วอันเป็นเหตุฟ้องหย่า
โจทก์ได้ให้อภัยจำเลยเรื่องทำร้ายร่างกายแล้วถือได้ว่าสิทธิฟ้องหย่าในข้อนี้ย่อมหมดไป
ทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง
เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากัน, การทำร้ายคู่สมรส
เหตุฟ้องหย่า เหตุที่ไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ มีอะไรบ้าง
ความสมบูรณ์ของการสมรส, ฟ้องให้การสมรสเป็นโมฆะ
การละเมิดเกิดขึ้นต่อเนื่องอายุความจึงยังไม่เริ่มนับคดีไม่ขาดอายุความ
การฟ้องหย่าและหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากสามี ไม่ฟ้องหย่า
ฟ้องหย่าอ้างสิทธิที่จะเลือกคู่ครองตามรัฐธรรมนูญ
รู้ว่าสามีไปมีหญิงอื่นเกินหนึ่งปีก็ฟ้องเรียกค่าเสียหายได้,อายุความ
จงใจละทิ้งร้างไปเกินหนึ่งปี
ฟ้องหย่าได้ที่ศาลใด
สามีโจทก์เข้าออกบ้านของจำเลยในเวลากลางคืนบ่อยครั้ง
การหย่าโดยคำพิพากษาจะมีผลต่อเมื่อเวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุด
หนังสือร้องเรียนผู้บังคับบัญชาเรื่องความสัมพันธ์กับหญิงอื่น
ฟ้องหย่าอ้างแยกกันอยู่เกินสามปีต้องเพราะไม่อาจอยู่ร่วมกันได้โดยปกติสุข
เหตุฟ้องหย่าอ้างว่าใช้วาจาไม่สุภาพและทะเลาะโดยไม่มีเหตุผล
หลักเกณฑ์การใช้สิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพหลังการหย่า
สิทธิฟ้องหย่าของโจทก์หมดไปโจทก์ให้ความยินยอมและรู้เห็นเป็นใจ
คำสั่งขอคุ้มครองชั่วคราวเกี่ยวด้วยดอกผลของสินสมรส
แม้โจทก์ไม่ได้นำสืบเรื่องอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่ศาลมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดได้
จดทะเบียนสมรสโดยต่างไม่ได้ยินยอมเป็นสามีภริยากันอย่างแท้จริง
ความหมายว่า"ค่าอุปการะเลี้ยงดูจนกว่าจะสมรสใหม่และจนกว่าการสมรสสิ้นสุดลง"
ฟ้องหย่าคดีอยู่ระหว่างฎีกาฟ้องคดีใหม่เป็นฟ้องซ้อน
สำนักงานการปฏิรูปฯ (ส.ป.ก.)ขอออกโฉนดโดยมิชอบ
พักโรงแรมห้องเดียวกับสามี ฟ้องเรียกค่าทดแทนจากหญิงชู้โดยไม่ต้องฟ้องหย่า
โจทก์ไม่ทราบแน่ชัดเรื่องชู้สาวจึงไม่เป็นการยินยอมและให้อภัยของโจทก์
บันทึกท้ายทะเบียนการหย่าว่าให้ที่ดินตกเป็นของบุตรเมื่อตายไม่ใช่พินัยกรรม
คดีฟ้องหย่าฟ้องชู้สาวไม่มีกฎหมายห้ามมิให้รับฟังแผ่นบันทึกเสียงที่แอบบันทึกไว้
สมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้
การจดทะเบียนหย่าด้วยการแสดงเจตนาลวง
จดทะเบียนหย่าแล้วก็ฟ้องเรียกค่าทดแทนชู้สาวได้
ขับไล่โจทก์ออกจากบ้านเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง