

สมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้
สามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีคนใหม่ยังไม่จดทะเบียนหย่า, สมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้เกินสามปี สามีภริยาจดทะเบียนสมรสมีบุตรด้วยกัน 3 คน สามีทิ้งร้างไปมีภรรยาคนใหม่ อีก 2 ปีภริยาก็ไปมีสามีใหม่และมีบุตรด้วยกัน 1 คน สามีภริยาทั้งสองต่างคนต่างอยู่นับถึงวันฟ้องคดีเป็นเวลา 25 ปี สามีฟ้องศาลขอให้หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากัน อ้างเหตุสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้ ภริยาต่อสู้ว่าการที่สามีทิ้งร้างไปมีภรรยาใหม่สามารถอ้างเหตุสมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปีได้หรือไม่? ศาลฎีกาบอกว่าการที่ภริยาทราบว่าสามีพักอยู่ที่ไหนแต่ไม่สนใจหาทางกลับไปอยู่ร่วมกันแสดงว่าภริยาก็ไม่ประสงค์ที่จะอยู่กินฉันสามีภริยากันอีกจึงถือว่าสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2520/2549 แม้ในปี 2517 โจทก์เป็นฝ่ายละทิ้งร้างจำเลยโดยออกจากบ้านที่โจทก์จำเลยเคยอยู่กินด้วยกันไปอยู่กินฉันสามีภริยากับนาง ม. ก็ตาม แต่ในปี 2519 จำเลยก็มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับนาย ส. จนมีบุตรด้วยกัน 1 คน แสดงว่าจำเลยไม่ประสงค์จะอยู่กินฉันสามีภริยากับโจทก์อีกต่อไปเช่นเดียวกัน และระหว่างที่แยกกันอยู่ไม่ปรากฏว่าโจทก์กลับไปอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยอีก ฝ่ายจำเลยซึ่งทราบดีว่าโจทก์พักอาศัยอยู่ที่ใดก็มิได้สนใจหรือหาทางที่จะอยู่ร่วมกับโจทก์ฉันสามีภริยาต่อไป พฤติการณ์ของโจทก์จำเลยที่ต่างคนต่างอยู่เป็นเวลานานถึง 25 ปีนั้น ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี อันเป็นเหตุหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (4/2) โจทก์จึงฟ้องหย่าจำเลยได้ มาตรา 1516 เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์และจำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากัน คำขออื่นให้ยก จำเลยอุทธรณ์ จำเลยฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “...พิเคราะห์แล้วข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย จดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2508 ตามสำเนาทะเบียนการสมรสเอกสารหมาย จ.1 เดิมอยู่กินด้วยกันที่บ้านเลขที่ 58 หมู่ที่ 1 ตำบลฝายหลวง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ มีบุตรด้วยกัน 3 คน ประมาณปี 2517 โจทก์แยกออกจากบ้านไปอยู่กินฉันสามีภริยากับนางมณีไม่ทราบชื่อสกุลจนมีบุตรด้วยกัน 3 คน ต่อมาปี 2519 จำเลยมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับนายสุรพันธ์ และมีบุตรด้วยกัน 1 คน โจทก์และจำเลยต่างคนต่างอยู่นับถึงวันฟ้องเป็นเวลานาน 25 ปีแล้ว มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยเพียงประการเดียวว่า กรณีมีเหตุหย่าเนื่องจากโจทก์จำเลยสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปีหรือไม่ เห็นว่า แม้ในปี 2517 โจทก์เป็นฝ่ายละทิ้งร้างจำเลยโดยออกจากบ้านที่โจทก์จำเลยเคยอยู่กินด้วยกันไปอยู่กินฉันสามีภริยากับนางมณีก็ตาม แต่ในปี 2519 จำเลยก็มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับนายสุรพันธ์จนมีบุตรด้วยกัน 1 คน แสดงว่าจำเลยไม่ประสงค์จะอยู่กินฉันสามีภริยากับโจทก์อีกต่อไปเช่นเดียวกัน และระหว่างที่แยกกันอยู่ ไม่ปรากฏว่าโจทก์กลับไปอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยอีก ฝ่ายจำเลยซึ่งทราบดีว่าโจทก์พักอาศัยอยู่ที่ใดก็มิได้สนใจหรือหาทางที่จะอยู่ร่วมกับโจทก์ฉันสามีภริยาต่อไป พฤติการณ์ของโจทก์จำเลยที่ต่างคนต่างอยู่เป็นเวลานานถึง 25 ปีนั้นถือได้ว่า โจทก์และจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี อันเป็นเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 (4/2) โจทก์จึงฟ้องหย่าจำเลยได้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น” พิพากษายืน การที่จำเลยไม่ได้อยู่กับโจทก์ฉันสามีภริยาที่ต่างประเทศ เนื่องจากโจทก์ไม่ให้ ความยินยอมในการทำหนังสืออนุญาตเข้าประเทศ (VISA) แก่จำเลย ต่อมา เมื่อโจทก์กลับมารับราชการภายในประเทศ โจทก์เป็นฝ่ายแยกไปอยู่ต่างหาก กับน้องสาวของโจทก์เอง ถือว่าโจทก์สมัครใจแยกกันอยู่กับจำเลยแต่ฝ่ายเดียว แต่จำเลยไม่ได้สมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์ หาใช่กรณีที่โจทก์จำเลยสมัครใจ แยกกันอยู่เพราะเหตุไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกิน 3 ปี อันเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่าตาม ป.พ.พ.ม.1516 (4/2) แต่อย่างใดไม่ หย่าแล้วจะจดทะเบียนใหม่ได้ไหม คำตอบ - มาตรา 1453 หญิงที่สามีตายหรือที่การสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่นจะทำการสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อการสิ้นสุดแห่งการสมรสได้ผ่านพ้นไปแล้วไม่น้อยกว่าสามร้อยสิบวัน เว้นแต่ |