ReadyPlanet.com
dot
สำนักงานทนายความ
dot
bulletทนายความฟ้องหย่า
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
dot
พระราชบัญญัติ
dot
bulletพระราชบัญญัติ
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
dot
บทความเฉพาะเรื่อง
dot
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletสัญญายอมความ
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletกรมบังคับคดี
dot
ลิงค์ต่าง ๆ
dot
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletอำนาจปกครองบุตร




รู้เห็นเป็นใจในการกระทำที่เป็นเหตุหย่าจะยกเป็นเหตุฟ้องหย่านั้นไม่ได้

 ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความ นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3)  @peesirilaw  หรือ (4) peesirilaw   (5)   leenont

-Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย  QR CODE

QR CODE 

รู้เห็นเป็นใจในการกระทำที่เป็นเหตุหย่า, อุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องฉันภริยา

ถ้าสามี หรือภริยาได้ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำที่เป็นเหตุหย่านั้นฝ่ายที่ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจนั้นจะยกเป็นเหตุฟ้องหย่านั้นไม่ได้
สามีรับหญิงอื่นมาเป็นภรรยาโดยการรู้เห็นและยินยอมของภริยาและโดยภริยาเป็นเจ้าภาพให้สามีทำพิธีออกบ้านและเป็นผู้มอบเงิน 15,000 บาท เป็นค่าสินสอดให้แก่หญิงอื่นนั้นด้วย หลังจากนั้นสามี ภริยาและหญิงอื่นนั้นอาศัยอยู่ร่วมบ้านเดียวกัน ดังนั้นภริยา จะยกเป็นเหตุฟ้องหย่านั้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 859/2540
 
ตามประเด็นแรกที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ว่าโจทก์ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจให้จำเลยอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องนางย.เป็นภรรยาหรือไม่อันจะนำมาพิจารณาเป็นเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1516(1)ประเด็นดังกล่าวโจทก์จำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านจนกระทั่งได้มีการสืบพยานเสร็จแล้วประเด็นที่ศาลชั้นต้นตั้งไว้แต่แรกดังกล่าวจึงชอบแล้วการที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นขึ้นใหม่ว่าโจทก์มีเหตุฟ้องหย่าจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1516 หรือไม่ประเด็นที่กำหนดใหม่นี้ได้รวมถึงเหตุหย่าทุกข้อตามมาตรา1516 และครอบคลุมไปถึงประเด็นเดิมด้วยทั้งจำเลยก็ได้อุทธรณ์ในประเด็นดังกล่าวดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไปตามประเด็นที่กำหนดไว้จากข้อเท็จจริงในสำนวนโดยโจทก์มิได้โต้แย้งข้อเท็จจริงดังกล่าวว่าไม่ชอบอย่างไรคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงชอบแล้ว

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์และจำเลยเป็นสามีภรรยากันจดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายขณะที่อยู่กินฉันสามีภรรยามีบุตรด้วยกัน 4 คนและมีทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันหลายรายการเมื่อประมาณเดือนมีนาคม 2528 จำเลยได้อุปการะเลี้ยงดูนางสาวเหยอะ แซ่สง เป็นภรรยา และนำมาอาศัยอยู่ร่วมบ้านเดียวกันกับโจทก์และจำเลย หลังจากนั้นจำเลยและนางสาวเหยอะได้หาเหตุทะเลาะและด่าว่าโจทก์หลายครั้ง โจทก์ต้องหนีออกจากบ้านไปถึง 3 ครั้ง ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2536 นางสาวเหยอะได้หาเรื่องทะเลาะกับโจทก์และใช้มีดไล่ฟันโจทก์จนต้องหลบหนีออกจากบ้านและต่อมาได้ไปอาศัยอยู่กับมารดาของโจทก์ โจทก์ไม่ประสงค์ที่จะอยู่กินฉันสามีภรรยากับจำเลยต่อไป ขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนหย่ากับโจทก์ หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยให้แบ่งสินสมรสแก่โจทก์เป็นเงิน 50,500 บาท และให้จำเลยแบ่งที่ดินที่ทางราชการกรมประชาสงเคราะห์อนุญาตให้ทำกินแก่โจทก์ครึ่งหนึ่งเนื้อที่ 8 ไร่ กับให้โจทก์เป็นผู้ปกครองบุตรทั้งสี่คนแต่เพียงผู้เดียว

จำเลยให้การว่า โจทก์และจำเลยเป็นสามีภรรยากันถูกต้องตามกฎหมาย มีบุตรด้วยกัน 4 คน สินสมรสที่ทำมาหาได้ร่วมกันมีบ้าน1 หลัง ราคาเพียง 4,000 บาท ไร่ปลูกข้าวโพดอ่อนเนื้อที่ประมาณ 3 งาน ราคาไม่เกิน 300 บาท ไร่ปลูกแครอทเนื้อที่ 2 งานราคา 3,000 บาท ไร่ปลูกขิงเนื้อที่ 1 ไร่ ราคา 5,000 บาท รวมสินสมรสเป็นเงิน 12,000 บาท เท่านั้น จำเลยรับนางเหยอะมาเป็นภรรยาโดยการรู้เห็นและยินยอมของโจทก์โดยโจทก์เป็นเจ้าภาพให้จำเลยทำพิธีออกบ้านและเป็นผู้มอบเงิน 15,000 บาท เป็นค่าสินสอดให้แก่นางเหยอะ หลังจากนั้นโจทก์จำเลยและนางเหยอะอาศัยอยู่ร่วมบ้านเดียวกัน จำเลยมีบุตรกับนางเหยอะ 5 คน จำเลยไม่เคยด่าว่าโจทก์แต่โจทก์กับนางเหยอะเท่านั้นที่มีสาเหตุทะเลาะกัน โจทก์ฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับจากรู้ว่าจำเลยนำนางเหยอะมาเป็นภรรยา ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์กับจำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภรรยากัน ให้เด็กหญิงยง แซ่เถา เด็กหญิงนิภา แซ่เถา เด็กหญิงวงเดือน แซ่เถา และเด็กชายวีระศักดิ์ แซ่เถา บุตรผู้เยาว์ของโจทก์กับจำเลยอยู่ในความปกครองและอุปการะเลี้ยงดูของโจทก์แต่เพียงผู้เดียว โดยให้จำเลยออกค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่บุตรทุกคนคนละ 300 บาท ต่อเดือน จนกว่าบุตรแต่ละคนจะบรรลุนิติภาวะให้จำเลยแบ่งสินสมรสแก่โจทก์จำนวนเงิน 7,500 บาท

จำเลย อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์

     โจทก์ ฎีกา
     ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ตามฎีกาของโจทก์ได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้วินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาทข้อ (1) ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ครั้งแรก เป็นการพิพากษาไม่ตรงกับเหตุหย่าตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันในประเด็นที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นขึ้นใหม่ให้ถูกต้องสมบูรณ์นั้น เห็นว่า ตามประเด็นแรกที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ว่า"โจทก์ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจให้จำเลยอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องนางเหยอะ แซ่สง เป็นภรรยาหรือไม่" อันจะนำมาพิจารณาเป็นเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(1) ประเด็นดังกล่าวโจทก์จำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านจนกระทั่งได้มีการสืบพยานเสร็จแล้วประเด็นที่ศาลชั้นต้นตั้งไว้แต่แรกดังกล่าวจึงชอบแล้ว และการที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นขึ้นใหม่ว่า "โจทก์มีเหตุฟ้องหย่าจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 หรือไม่"ประเด็นดังกล่าวที่กำหนดใหม่นี้ได้รวมถึงเหตุหย่าทุกข้อตามมาตรา1516 และครอบคลุมไปถึงประเด็นเดิมด้วย อีกทั้งจำเลยก็ได้อุทธรณ์ในประเด็นดังกล่าว ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยไปตามประเด็นที่กำหนดไว้จากข้อเท็จจริงในสำนวนโดยโจทก์มิได้โต้แย้งข้อเท็จจริงดังกล่าวว่าไม่ชอบอย่างไร คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2จึงชอบแล้ว

พิพากษายืน

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 1516 เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้
(1) สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(2) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความ ผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง
(ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
(ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่าย ที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ
(ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพฐานะ และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ
อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(3) สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่น ประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่ง นั้นฟ้องหย่าได้
(4/1) สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุก เกินหนึ่งปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิด หรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามี ภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกิน ควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4/2) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของ ศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(5) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามปี โดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่าง ไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(6) สามีหรือภริยา
ไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควร หรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอา สภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่าย หนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(7) สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมี ลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(8) สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความ ประพฤติอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(9) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่าย หนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรัง ไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(10) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกายทำให้สามีหรือภริยานั้น ไม่อาจร่วม ประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

มาตรา 1517 เหตุฟ้องหย่าตาม มาตรา 1516 (1) และ (2) ถ้าสามี หรือภริยา แล้วแต่กรณี ได้ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำที่เป็นเหตุหย่านั้น ฝ่ายที่ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจนั้นจะยกเป็นเหตุฟ้องหย่านั้นไม่ได้

เหตุฟ้องหย่าตาม มาตรา 1516 (10) ถ้าเกิดเพราะการกระทำของอีก ฝ่ายหนึ่ง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นจะยกเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้

ในกรณีฟ้องหย่าโดยอาศัยเหตุแห่งการผิดทัณฑ์บนตาม มาตรา 1516 (8) นั้น ถ้าศาลเห็นว่าความประพฤติของสามีหรือภริยาอันเป็นเหตุให้ทำทัณฑ์บน เป็นเหตุเล็กน้อยหรือไม่สำคัญเกี่ยวแก่การอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาโดยปกติสุข ศาลจะไม่พิพากษาให้หย่าก็ได้

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 183 ในวันชี้สองสถาน ให้คู่ความมาศาล และให้ศาลตรวจ คำคู่ความและคำแถลงของคู่ความแล้วนำข้ออ้างข้อเถียงที่ปรากฏใน คำคู่ความและคำแถลงของคู่ความเทียบกันดู และสอบถามคู่ความ ทุกฝ่ายถึงข้ออ้าง ข้อเถียง และพยานหลักฐานที่จะยื่นต่อศาลว่า ฝ่ายใดยอมรับหรือโต้แย้งข้ออ้าง ข้อเถียงนั้นอย่างไร ข้อเท็จจริงใด ที่คู่ความยอมรับกันก็เป็นอันยุติไปตามนั้นส่วนข้อกฎหมายหรือ ข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้างแต่คู่ความฝ่ายอื่นไม่รับและ เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับประเด็นข้อพิพาทตามคำคู่ความ ให้ศาลกำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทและกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดนำพยานหลักฐาน มาสืบในประเด็นข้อใดก่อนหรือหลังก็ได้

ในการสอบถามคู่ความตามวรรคหนึ่ง คู่ความแต่ละฝ่ายต้องตอบ คำถามที่ศาลถามเองหรือถามตามคำขอของคู่ความฝ่ายอื่น เกี่ยวกับ ข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายอื่นยกขึ้นเป็นข้ออ้าง ข้อเถียง และพยาน หลักฐานต่าง ๆ ที่คู่ความจะยื่นต่อศาล ถ้าคู่ความฝ่ายใดไม่ตอบ คำถามเกี่ยวกับข้อเท็จจริงใด หรือปฏิเสธข้อเท็จจริงใดโดยไม่มี เหตุผลอันสมควร ให้ถือว่ายอมรับข้อเท็จจริงนั้นแล้ว เว้นแต่คู่ความ ฝ่ายนั้นไม่อยู่ในวิสัยที่จะตอบ หรือแสดงเหตุผลแห่งการปฏิเสธได้ใน ขณะนั้น

คู่ความมีสิทธิคัดค้านว่าประเด็นข้อพิพาทหรือหน้าที่นำสืบที่ศาล กำหนดไว้นั้นไม่ถูกต้องโดยแถลงด้วยวาจาต่อศาลในขณะนั้นหรือ ยื่นคำร้องต่อศาลภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ศาลสั่งกำหนดประเด็น ข้อพิพาท หรือหน้าที่นำสืบ ให้ศาลชี้ขาดคำคัดค้านนั้นก่อนวันสืบพยาน คำชี้ขาดคำคัดค้านดังกล่าวให้อยู่ภายใต้บังคับ มาตรา 226 
 
*ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร. 085-9604258 
สำนักงานพีศิริ ทนายความ

 
 




การสิ้นสุดแห่งการสมรส

สามีโจทก์เข้าออกบ้านของจำเลยในเวลากลางคืนบ่อยครั้ง
คำสั่งขอคุ้มครองชั่วคราวเกี่ยวด้วยดอกผลของสินสมรส
การฟ้องและเรียกค่าทดแทนคดีครอบครัว โทร0859604258
การหย่าโดยความยินยอม, บันทึกเป็นหนังสือประสงค์หย่าขาด
การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ สิทธิเรียกร้องกำหนดอายุความ 5 ปี
เรียกค่าทดแทนจากสามีและหญิงอื่น(เมียน้อย), ยกย่องผู้อื่นฉันภริยา
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลัง
การหย่าโดยความยินยอมต้องทำอย่างไร?, หนังสือหย่า
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปี เหตุฟ้องหย่า
ฟ้องหย่าขอแบ่งสินสมรส การจัดการสินสมรสที่เป็นเงินตรา(เงินสด)
จงใจละทิ้งร้างไปเกินหนึ่งปี
การฟ้องหย่าและหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
สิทธิฟ้องหย่าของโจทก์หมดไปโจทก์ให้ความยินยอมและรู้เห็นเป็นใจ
สิทธิที่จะเรียกค่าทดแทนชู้สาวนั้นต้องแสดงตนโดยเปิดเผย
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก-ได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปี ฟ้องหย่าได้
จดทะเบียนหย่าแล้วก็ฟ้องเรียกค่าทดแทนชู้สาวได้
การจงใจทิ้งร้างไปเกินกว่า 1 ปีต้องในลักษณะที่ไม่หวนกลับไปหาคู่สมรสอีก
ทะเบียนสมรส ลงชื่อฝ่ายชายคนเดียว, เพิกถอนการรับบุตรบุญธรรม
สมัครใจแยกกันอยู่เกิน 3 ปี ต้องเพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันได้โดยปกติสุขด้วย
เหตุแห่งการฟ้องหย่าทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลงขอให้อีกฝ่ายหนึ่งจ่ายค่าเลี้ยงชีพได้
กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง
สิทธิฟ้องหย่าระงับเมื่ออีกฝ่ายให้อภัยแล้ว
สามีฟ้องหย่า,จงใจละทิ้งร้าง,เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา
พฤติการณ์อย่างไรเรียกว่ายกย่องเมียน้อยฉันภริยา
เหตุฟ้องหย่า เหตุที่ไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ มีอะไรบ้าง
หลักเกณฑ์การใช้สิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพหลังการหย่า
การจดทะเบียนหย่าด้วยการแสดงเจตนาลวง
สามีบังคับภริยาให้ยอมร่วมประเวณีโดยใช้มีดขู่ฆ่าอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้
ความหมายว่า"ค่าอุปการะเลี้ยงดูจนกว่าจะสมรสใหม่และจนกว่าการสมรสสิ้นสุดลง"
เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากัน, การทำร้ายคู่สมรส
สิทธิฟ้องหย่าระงับไปเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีเว้นแต่เหตุฟ้องเกิดขึ้นต่อเนื่อง
ฟ้องหย่าคดีอยู่ระหว่างฎีกาฟ้องคดีใหม่เป็นฟ้องซ้อน
นำตำรวจจับกุมภริยา หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามโจทก์อย่างร้ายแรง
ฟ้องหย่าได้ที่ศาลใด
การแบ่งสินสมรสและกรรมสิทธิ์รวม
สัญญาระหว่างสมรสให้ทรัพย์สินของสามีตกเป็นของภริยาห้ามบอกล้าง
ฟ้องหย่าอ้างเหตุสมัครใจแยกกันอยู่, สามีเป็นฝ่ายแยกไปเองโดยยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปีฟ้องหย่าได้
แยกกันอยู่หรือจงใจละทิ้งร้าง? -อยู่บ้านเดียวกันแต่ก็มีลักษณะแบบต่างคนต่างอยู่
ทำร้ายร่างกายถ้าเป็นการร้ายแรงฟ้องหย่าได้, ศาลปรับหนึ่งพันไม่เป็นการร้ายแรง
ศาลมีอำนาจกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้
สามีหรือภริยาประพฤติชั่วอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
ฟ้องหย่าจงใจละทิ้งร้างเรียกสินสอดทองหมั้นคืน
แยกกันอยู่เพราะสามียกย่องหญิงอื่น, เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง
แยกกันอยู่เพราะสามีรับราชการที่อื่น, ไม่ถือว่าเป็นการแยกกันอยู่โดยความสมัครใจ
ขอเพิกถอนทะเบียนสมรสซ้อน สมรสซ้อนโดยไม่สุจริต
รู้ว่าสามีไปมีหญิงอื่นเกินหนึ่งปีก็ฟ้องเรียกค่าเสียหายได้,อายุความ
อำนาจฟ้องขอเพิกถอนการสมรสเพราะสำคัญผิดตัว
ฟ้องซ้ำ ค่าอุปการะเลี้ยงดู หนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนด
ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากสามี ไม่ฟ้องหย่า
หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามสามีหรือบุพการี
ไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควร
แยกกันอยู่เกินสามปีต้องเพราะไม่อาจอยู่ร่วมกันได้โดยปกติสุข
สมัครใจแยกกันอยู่, จงใจละทิ้งร้าง, เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา
ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจ, อุปการะเลี้ยงดูหญิงอื่นเป็นภริยา
ไม่อาจร่วมประเวณีได้ ต้องการฟ้องหย่า
สิทธิที่จะติดต่อกับบุตรของตนได้ตามสมควรแล้วแต่พฤติการณ์
สมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้
จงใจละทิ้งร้างภริยาไปเกินหนึ่งปีฟ้องหย่าได้, สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา
ทะเลาะกันและทำร้ายร่างกายยังไม่เป็นเหตุฟ้องหย่า
การสมรสสิ้นไปด้วยเหตุความตายของคู่สมรสฝ่ายหนึ่ง
พี่น้องของผู้ตายขอเพิกถอนการจดทะเบียนสมรสซ้อนไม่ได้
ความสมบูรณ์ของการสมรส, ฟ้องให้การสมรสเป็นโมฆะ
ฟ้องหย่าอ้างสิทธิที่จะเลือกคู่ครองตามรัฐธรรมนูญ
การหย่าโดยคำพิพากษาจะมีผลต่อเมื่อเวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุด
การสมรส, การหมั้น, ผิดสัญญาหมั้น, เรียกคืนสินสอดของหมั้น
อำนาจปกครองบุตร
การบอกล้างสัญญาระหว่างสมรส แบ่งสินสมรส
จดทะเบียนรับรองบุตร บิดานอกสมรส-ขอรับเด็กเป็นบุตร
อายุความฟ้องร้องคดี
บิดา มารดา กับ บุตร