ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




คดีฟ้องหย่าและการแบ่งทรัพย์สิน, สิทธิการเรียกค่าเลี้ยงดูของโจทก์, การชำระค่าทดแทนในคดีแพ่ง, การบังคับคดีและสิทธิทายาทในมรดก

ทนาย ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ ปรึกษากฎหมายทางแชทไลน์

คดีฟ้องหย่าและการแบ่งทรัพย์สิน, สิทธิการเรียกค่าเลี้ยงดูของโจทก์, การชำระค่าทดแทนในคดีแพ่ง, การบังคับคดีและสิทธิทายาทในมรดก

*ศาลฎีกาเห็นชอบคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูและจำเลยที่ 2 ชำระค่าทดแทน 1,000,000 บาท เนื่องจากการล่มสลายในครอบครัวของโจทก์ สิทธิยังตกทอดแก่ทายาทตามกฎหมาย*

ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิจารณาว่า โจทก์ (คนไทย) กับจำเลยที่ 1 (สัญชาติออสเตรีย) เป็นสามีภริยาที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายตั้งแต่ปี 2519 และย้ายกลับมาอยู่ในไทยในปี 2543 ต่อมาโจทก์ถูกศาลสั่งเป็นคนไร้ความสามารถ และนางบุพณี (บุตรโจทก์) ได้ยื่นคำร้องเข้าเป็นคู่ความแทนในคดีฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู และฟ้องค่าทดแทนจากจำเลยที่ 2

*ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า สิทธิการเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูตามมาตรา 1461 และสิทธิในมรดกตามมาตรา 1599 ยังคงตกทอดแก่ทายาท คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูจึงเหมาะสม นอกจากนี้ คำสั่งให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าทดแทน 1,000,000 บาท เนื่องจากการกระทำที่ก่อให้เกิดการล่มสลายในครอบครัวของโจทก์ ศาลฎีกาเห็นพ้องว่าสมเหตุสมผล ฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงฟังไม่ขึ้น.

คำถามที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2107/2566 ระบุให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าทดแทนและดอกเบี้ยอย่างไรบ้าง?

คำตอบ:

ศาลฎีกาเห็นชอบให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าทดแทนจำนวน 1,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตั้งแต่วันฟ้อง (19 ตุลาคม 2561) จนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และร้อยละ 5 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไป โดยดอกเบี้ยในส่วนนี้ให้ปรับเปลี่ยนตามอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด แต่ต้องไม่เกินร้อยละ 7.5 ต่อปี

คำถามที่ 2

สิทธิการเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูของโจทก์ยังคงอยู่หรือไม่หลังจากโจทก์ถึงแก่ความตาย?

คำตอบ:

สิทธิการเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูของโจทก์ไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัวของโจทก์โดยแท้ แต่เป็นกองมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1600 ซึ่งตกทอดแก่ทายาทตามมาตรา 1599 โดยศาลอนุญาตให้นางบุพณีในฐานะทายาทเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ในส่วนสิทธิเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2107/2566

เมื่อโจทก์มีสิทธิเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1461 วรรคสอง ซึ่งเป็นสิทธิที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากจำเลยที่ 1 ในระหว่างที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ยังเป็นสามีภริยากันอยู่ โดยสิทธิที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูนั้น แม้จะสละหรือโอนมิได้และไม่อยู่ในข่ายแห่งการบังคับคดีตามมาตรา 1598/41 ก็ตาม แต่โจทก์มีสิทธิดังกล่าวก่อนที่จะถึงแก่ความตาย ประกอบกับโจทก์ได้ใช้สิทธิยื่นฟ้องคดีเพื่อเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลยที่ 1 ตามสิทธิแล้ว สิทธิในการได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัวของโจทก์โดยแท้ และเป็นกองมรดกของโจทก์ตามมาตรา 1600 เมื่อโจทก์ถึงแก่ความตายสิทธินี้ย่อมตกทอดแก่ทายาทตามมาตรา 1599

 

คำพิพากษาศาลฎีกา 2107/2566, ดอกเบี้ยตามกฎหมายใหม่ 2564, ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูสามีภริยา, การแบ่งสินสมรสในคดีครอบครัว, การชำระค่าทดแทนในคดีแพ่ง, สิทธิการเรียกค่าเลี้ยงดูของโจทก์, ฎีกาคดีครอบครัวและสินสมรส, การคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดตามกฎหมายใหม่, คดีฟ้องหย่าและการแบ่งทรัพย์สิน, การบังคับคดีและสิทธิทายาทในมรดก,

 

 

****โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้พิพากษาให้โจทก์กับจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากัน หากจำเลยที่ 1 เพิกเฉยให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 ในการจดทะเบียนหย่า ให้จำเลยที่ 1 แบ่งสินสมรสให้แก่โจทก์ ให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาล ก. กับโรงพยาบาล ล. ที่ผู้อนุบาลต้องเสียไปเป็นเงิน 6,461,630 บาท ค่ายาและอุปกรณ์การแพทย์ 1,236,687 บาท รวมเป็นเงิน 7,698,317 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยที่ 1 จะชำระเสร็จแก่โจทก์ ให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ตั้งแต่ปี 2556 จนถึงวันฟ้องเป็นเวลา 70 เดือน เดือนละ 100,000 บาท เป็นเงิน 7,000,000 บาท และชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ต่อไปนับถัดจากวันฟ้องอีก 5 ปี ในอัตราเดือนละ 100,000 บาท เป็นเงิน 6,000,000 บาท ให้จำเลยที่ 1 คืนเงินที่เบิกถอนไปใช้ส่วนตัว 9,205,717.53 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ให้แบ่งสินสมรสเงินฝากบัญชีธนาคาร อ. บัญชีเลขที่ 9816-4xxxx จำนวน 137,271.84 ดอลลาร์ออสเตรเลีย บัญชีเลขที่ 9989-3xxxx จำนวน 33,401.91 ดอลลาร์ออสเตรเลีย บัญชีเลขที่ 9992-8xxxx จำนวน 14,414.70 ดอลลาร์ออสเตรเลีย เป็นเงิน 4,425,464.84 บาท ให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่ง เป็นเงิน 2,212,732.42 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป ให้จำเลยที่ 1 คืนเงินที่เบิกถอนไปโดยมิชอบจากบัญชีเงินฝากธนาคาร ก. บัญชีเลขที่ 261-4-06xxxx จำนวน 17,777,313.98 บาท ให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่งเป็นเงิน 8,888,656.99 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ และให้จำเลยทั้งสองชำระค่าทดแทน 50,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

จำเลยทั้งสองให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าทดแทน 1,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ กับให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์เฉพาะทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี โดยกำหนดค่าทนายความให้ 20,000 บาท ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

โจทก์และจำเลยทั้งสองอุทธรณ์

ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ โจทก์ถึงแก่ความตาย นางบุพณี ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์เฉพาะประเด็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ สิทธิในการเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู เรียกค่ารักษาพยาบาล คืนเงินในบัญชีเงินฝากของโจทก์จากจำเลยที่ 1 และฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 2 ส่วนประเด็นฟ้องหย่าและแบ่งสินสมรสไม่อนุญาต

ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ในอัตราเดือนละ 30,000 บาท นับแต่วันฟ้อง เป็นต้นไปจนถึงวันที่การสมรสสิ้นสุดลงด้วยความตายของโจทก์ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

จำเลยทั้งสองฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้เถียงกันรับฟังเป็นยุติได้ว่า โจทก์กับจำเลยที่ 2 เป็นบุคคลสัญชาติไทย โดยโจทก์มีบุตรกับสามีเดิม คือ นางบุพณี ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นบุคคลสัญชาติออสเตรีย โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย จดทะเบียนสมรสกันที่สาธารณรัฐออสเตรียเมื่อปี 2519 และพักอาศัยอยู่ที่ประเทศดังกล่าวโดยไม่มีบุตรด้วยกัน ต่อมาปี 2543 โจทก์กับจำเลยที่ 1 ย้ายกลับมาอยู่ในประเทศไทย และปี 2556 โจทก์เข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาล ต่อมาศาลมีคำสั่งให้โจทก์เป็นคนไร้ความสามารถโดยมีนางบุพณีบุตรโจทก์เป็นผู้อนุบาล ในระหว่างพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษโจทก์ถึงแก่ความตาย นางบุพณียื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์เฉพาะประเด็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ สิทธิในการเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู เรียกค่ารักษาพยาบาล คืนเงินในบัญชีเงินฝากของโจทก์จากจำเลยที่ 1 และฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 2 ส่วนประเด็นฟ้องหย่าและแบ่งสินสมรสไม่อนุญาต คดีมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองที่ศาลฎีกาอนุญาตให้ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ต้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษหรือไม่ และศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษกำหนดให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าทดแทนให้แก่โจทก์สูงเกินไปหรือไม่

คดีมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยข้อแรกตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 ต้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษหรือไม่ เห็นว่า เมื่อโจทก์มีสิทธิเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 วรรคสอง ซึ่งเป็นสิทธิที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากจำเลยที่ 1 ในระหว่างที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ยังเป็นสามีภริยากันอยู่ โดยสิทธิที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูนั้น แม้จะสละหรือโอนมิได้ และไม่อยู่ในข่ายแห่งการบังคับคดีตามมาตรา 1598/41 ก็ตาม แต่โจทก์มีสิทธิดังกล่าวก่อนที่จะถึงแก่ความตายประกอบกับโจทก์ได้ใช้สิทธิยื่นฟ้องคดีเพื่อเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลยที่ 1 ตามสิทธิแล้ว สิทธิในการได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัวของโจทก์โดยแท้ และเป็นกองมรดกของโจทก์ตามมาตรา 1600 เมื่อโจทก์ถึงแก่ความตายสิทธินี้ย่อมตกทอดแก่ทายาทตามมาตรา 1599 ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ในประเด็นสิทธิในการเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูแล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่โจทก์จึงชอบแล้ว ฎีกาข้อนี้ของจำเลยที่ 1 ฟังไม่ขึ้น

คดีมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยข้อสุดท้ายตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ว่า ค่าทดแทนที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษกำหนดให้จำเลยที่ 2 ชำระแก่โจทก์นั้นสูงเกินไปหรือไม่ เห็นว่า เมื่อพิจารณาพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ตลอดจนฐานะความเป็นอยู่ และสถานะทางสังคมของโจทก์ และจำเลยที่ 2 แล้ว โจทก์กับจำเลยที่ 1 จดทะเบียนสมรสและอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2519 ที่สาธารณรัฐออสเตรีย จนปี 2543 โจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงย้ายกลับมาอยู่กินด้วยกันในประเทศไทยต่อ อันเป็นการครองชีวิตคู่อยู่ด้วยกันมาอย่างต่อเนื่องและยาวนานจนทั้งคู่ต่างเข้าสู่วัยชราที่คาดหวังเพื่อฝากอนาคตและชีวิตไว้กับอีกฝ่ายเพื่อดูแลซึ่งกันและกัน ประกอบกับโจทก์ซึ่งมีปัญหาเรื่องสุขภาพที่ต้องเข้าพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่องด้วยแล้วยิ่งต้องการความรักและกำลังใจจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามีมากกว่าคู่สมรสทั่วไป การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นเรื่องที่กระทบต่อความรู้สึกและสะเทือนใจโจทก์เป็นอย่างยิ่ง โดยจำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมและก่อให้เกิดการล่มสลายในชีวิตครอบครัวของโจทก์โดยตรง ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าทดแทน 1,000,000 บาท นั้น เหมาะสมและเป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 แล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาข้อนี้ของจำเลยที่ 2 ฟังไม่ขึ้น

อนึ่ง พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2564 มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 7 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และมาตรา 4 ให้ยกเลิกความในมาตรา 224 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้ใช้ข้อความใหม่แทน ซึ่งมีผลให้กรณีเสียดอกเบี้ยให้แก่กันและมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมหรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้ง ให้ใช้อัตราร้อยละสามต่อปี เว้นแต่เจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดในอัตราที่กำหนดตามมาตรา 7 บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละสองต่อปี ถ้าเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้นโดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมาย ก็ให้คงส่งดอกเบี้ยต่อไปตามนั้น โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไป แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงการคิดดอกเบี้ยผิดนัดในระหว่างช่วงเวลาก่อนที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ดังนั้นดอกเบี้ยของค่าทดแทนที่จำเลยที่ 2 จะต้องชำระแก่โจทก์ จึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ โดยโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 19 ตุลาคม 2561) เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ โดยดอกเบี้ยในส่วนนี้ให้ปรับเปลี่ยนไปตามอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนดโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 วรรคสอง (ที่แก้ไขใหม่) แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีตามที่โจทก์ขอ

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าทดแทน 1,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ โดยดอกเบี้ยในส่วนนี้ให้ปรับเปลี่ยนไปตามอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนดโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 วรรคสอง (ที่แก้ไขใหม่) แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามที่โจทก์ขอ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

 




การสิ้นสุดแห่งการสมรส

เรียกค่าทดแทนจากสามีและหญิงอื่น(เมียน้อย), ยกย่องผู้อื่นฉันภริยา
ข้อตกลงแบ่งค่าเช่าที่ดินในสัญญาหย่า
ฟ้องหย่าคู่สมรสวิกลจริต, คนไร้ความสามารถกับการหย่า, แบ่งทรัพย์สินหลังหย่าในกรณีคนวิกลจริต
การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลัง
การหย่าโดยความยินยอมต้องทำอย่างไร?, หนังสือหย่า
การหย่าโดยความยินยอม, บันทึกเป็นหนังสือประสงค์หย่าขาด
การฟ้องและเรียกค่าทดแทนคดีครอบครัว
สามีภริยาจะต้องมีการร่วมประเวณีกันบ้างแต่ต้องเกิดจากความยินยอม
ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องด้วยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์
ไม่เกิดสิทธิฟ้องหย่าเพราะโจทก์มีพฤติกรรมนอกใจจำเลยยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปี เหตุฟ้องหย่า
สมัครใจแยกกันอยู่, จงใจละทิ้งร้าง, เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา
การสมรสสิ้นไปด้วยเหตุความตายของคู่สมรสฝ่ายหนึ่ง
แบ่งสินสมรส, สินสมรสที่เป็นเงินตรา, แบ่งสินสมรสหลังหย่า สิทธิและหน้าที่, สินส่วนตัวกับสินสมรส
อายุความฟ้องหย่า, บันทึกข้อตกลงหย่า, หลักกฎหมายมาตรา 1515,
สิทธิฟ้องค่าอุปการะเลี้ยงดูอันจะอยู่ในอายุความ 5 ปี , หน้าที่บิดามารดาในการเลี้ยงดูบุตร
การฟ้องหย่าด้วยเหตุหมิ่นประมาท, สิทธิการฟ้องหย่าหมดอายุความ
นำตำรวจจับกุมภริยา หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามโจทก์อย่างร้ายแรง
จงใจละทิ้งร้างภริยาไปเกินหนึ่งปีฟ้องหย่าได้, สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา
การจงใจทิ้งร้างไปเกินกว่า 1 ปีต้องในลักษณะที่ไม่หวนกลับไปหาคู่สมรสอีก
ไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควร
สิทธิฟ้องหย่าระงับไปเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีเว้นแต่เหตุฟ้องเกิดขึ้นต่อเนื่อง
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ สิทธิเรียกร้องกำหนดอายุความ 5 ปี
เหตุฟ้องหย่าให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ยื่นฟ้องหย่า
สามีฟ้องหย่า,จงใจละทิ้งร้าง,เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา
ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจ, อุปการะเลี้ยงดูหญิงอื่นเป็นภริยา
สมัครใจแยกกันอยู่เกิน 3 ปี ต้องเพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันได้โดยปกติสุขด้วย
แยกกันอยู่เพราะสามีรับราชการที่อื่น, ไม่ถือว่าเป็นการแยกกันอยู่โดยความสมัครใจ
ทะเลาะกันและทำร้ายร่างกายยังไม่เป็นเหตุฟ้องหย่า
แยกกันอยู่เพราะสามียกย่องหญิงอื่น, เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง
ฟ้องหย่าจงใจละทิ้งร้างเรียกสินสอดทองหมั้นคืน
สามีหรือภริยาประพฤติชั่วอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
รู้เห็นเป็นใจในการกระทำที่เป็นเหตุหย่าจะยกเป็นเหตุฟ้องหย่านั้นไม่ได้
พี่น้องของผู้ตายขอเพิกถอนการจดทะเบียนสมรสซ้อนไม่ได้
อำนาจฟ้องขอเพิกถอนการสมรสเพราะสำคัญผิดตัว
ศาลมีอำนาจกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก-ได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปี ฟ้องหย่าได้
สิทธิฟ้องหย่าระงับเมื่ออีกฝ่ายให้อภัยแล้ว
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปีฟ้องหย่าได้
สิทธิที่จะติดต่อกับบุตรของตนได้ตามสมควรแล้วแต่พฤติการณ์
ไม่อาจร่วมประเวณีได้ ต้องการฟ้องหย่า
แยกกันอยู่หรือจงใจละทิ้งร้าง? -อยู่บ้านเดียวกันแต่ก็มีลักษณะแบบต่างคนต่างอยู่
กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง
ไม่ถือว่าจำเลยประพฤติชั่วทำให้โจทก์อับอายถูกเกลียดชังจนเป็นเหตุฟ้องหย่าได้
สิทธิที่จะเรียกค่าทดแทนชู้สาวนั้นต้องแสดงตนโดยเปิดเผย
เหตุแห่งการฟ้องหย่าทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลงขอให้อีกฝ่ายหนึ่งจ่ายค่าเลี้ยงชีพได้
ฟ้องซ้ำ ค่าอุปการะเลี้ยงดู หนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนด
การแบ่งสินสมรสและกรรมสิทธิ์รวม
หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามสามีหรือบุพการี
สัญญาระหว่างสมรสให้ทรัพย์สินของสามีตกเป็นของภริยาห้ามบอกล้าง
ขอเพิกถอนทะเบียนสมรสซ้อน สมรสซ้อนโดยไม่สุจริต
ทะเบียนสมรส ลงชื่อฝ่ายชายคนเดียว, เพิกถอนการรับบุตรบุญธรรม
ฟ้องหย่าอ้างเหตุสมัครใจแยกกันอยู่
ทำร้ายร่างกายถ้าเป็นการร้ายแรงฟ้องหย่าได้, ศาลปรับหนึ่งพันไม่เป็นการร้ายแรง
ฟ้องหย่าอ้างว่าจำเลยดูหมิ่นโจทก์และบุพการีของโจทก์อย่างร้ายแรง
การกระทำของจำเลยถือไม่ได้ว่าเป็นการประพฤติชั่วอันเป็นเหตุฟ้องหย่า
โจทก์ได้ให้อภัยจำเลยเรื่องทำร้ายร่างกายแล้วถือได้ว่าสิทธิฟ้องหย่าในข้อนี้ย่อมหมดไป
ทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง
เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากัน, การทำร้ายคู่สมรส
เหตุฟ้องหย่า เหตุที่ไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ มีอะไรบ้าง
ความสมบูรณ์ของการสมรส, ฟ้องให้การสมรสเป็นโมฆะ
การละเมิดเกิดขึ้นต่อเนื่องอายุความจึงยังไม่เริ่มนับคดีไม่ขาดอายุความ
การฟ้องหย่าและหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากสามี ไม่ฟ้องหย่า
ฟ้องหย่าอ้างสิทธิที่จะเลือกคู่ครองตามรัฐธรรมนูญ
รู้ว่าสามีไปมีหญิงอื่นเกินหนึ่งปีก็ฟ้องเรียกค่าเสียหายได้,อายุความ
จงใจละทิ้งร้างไปเกินหนึ่งปี
ฟ้องหย่าได้ที่ศาลใด
สามีโจทก์เข้าออกบ้านของจำเลยในเวลากลางคืนบ่อยครั้ง
การหย่าโดยคำพิพากษาจะมีผลต่อเมื่อเวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุด
หนังสือร้องเรียนผู้บังคับบัญชาเรื่องความสัมพันธ์กับหญิงอื่น
ฟ้องหย่าอ้างแยกกันอยู่เกินสามปีต้องเพราะไม่อาจอยู่ร่วมกันได้โดยปกติสุข
เหตุฟ้องหย่าอ้างว่าใช้วาจาไม่สุภาพและทะเลาะโดยไม่มีเหตุผล
หลักเกณฑ์การใช้สิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพหลังการหย่า
สิทธิฟ้องหย่าของโจทก์หมดไปโจทก์ให้ความยินยอมและรู้เห็นเป็นใจ
คำสั่งขอคุ้มครองชั่วคราวเกี่ยวด้วยดอกผลของสินสมรส
แม้โจทก์ไม่ได้นำสืบเรื่องอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่ศาลมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดได้
จดทะเบียนสมรสโดยต่างไม่ได้ยินยอมเป็นสามีภริยากันอย่างแท้จริง
ความหมายว่า"ค่าอุปการะเลี้ยงดูจนกว่าจะสมรสใหม่และจนกว่าการสมรสสิ้นสุดลง"
ฟ้องหย่าคดีอยู่ระหว่างฎีกาฟ้องคดีใหม่เป็นฟ้องซ้อน
สำนักงานการปฏิรูปฯ (ส.ป.ก.)ขอออกโฉนดโดยมิชอบ
พักโรงแรมห้องเดียวกับสามี ฟ้องเรียกค่าทดแทนจากหญิงชู้โดยไม่ต้องฟ้องหย่า
โจทก์ไม่ทราบแน่ชัดเรื่องชู้สาวจึงไม่เป็นการยินยอมและให้อภัยของโจทก์
บันทึกท้ายทะเบียนการหย่าว่าให้ที่ดินตกเป็นของบุตรเมื่อตายไม่ใช่พินัยกรรม
คดีฟ้องหย่าฟ้องชู้สาวไม่มีกฎหมายห้ามมิให้รับฟังแผ่นบันทึกเสียงที่แอบบันทึกไว้
สมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้
การจดทะเบียนหย่าด้วยการแสดงเจตนาลวง
จดทะเบียนหย่าแล้วก็ฟ้องเรียกค่าทดแทนชู้สาวได้
ขับไล่โจทก์ออกจากบ้านเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง