ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




สัญญาระหว่างสมรสให้ทรัพย์สินของสามีตกเป็นของภริยาห้ามบอกล้าง

 ท นาย อาสา ฟรี

 

เพิ่มเพื่อนไลน์แชทกับทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

 

ปรึกษากฎหมายทางแชทไลน์

 

ฟ้องหย่าเรียกค่าเลี้ยงชีพ,  ค่าทดแทน, แบ่งสินสมรส

ตกลงกันว่าถ้าสามีประพฤติผิดศีลธรรมอันดีเป็นเหตุให้การสมรสสิ้นสุดลงให้ทรัพย์สินของสามีตกเป็นของภริยา และจะไม่บอกเลิกสัญญา 20 ปี ขัดต่อกฎหมายเป็นโมฆะ บอกล้างได้

สามีภริยาชอบด้วยกฎหมายทำสัญญายอมให้ทรัพย์สินส่วนตัวของสามีตกเป็นของภริยาได้หรือไม่ และก่อนที่การสมรสจะสิ้นสุดสามีบอกล้างสัญญาดังกล่าวได้หรือไม่? มีข้อตกลงกันว่าถ้าสามีประพฤติผิดศีลธรรมอันดีเป็นเหตุให้การสมรสสิ้นสุดลงให้ทรัพย์สินของสามีตกเป็นของภริยา โดยนำสัญญาระหว่างสมรสไปฟ้องศาลและบังคับคดีต่อไปได้ และคู่สัญญาจะไม่บอกล้างหรือยกเลิกภายใน 20 ปี  ในเรื่องนี้กฎหมายกำหนดไว้ว่า  สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินใดที่สามีภริยาได้ทำไว้ต่อกัน ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียในเวลาใดก็ได้แต่ต้องก่อนหรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอก ผู้ทำการโดยสุจริต ดังนั้นข้อตกลงว่าไม่ให้คู่สัญญาบอกล้างภายใน 20 ปีนับแต่วันทำสัญญานั้นเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายตกเป็นโมฆะ ในคดีนี้ได้ความว่าสามีบอกล้างสัญญาดังกล่าวระหว่างที่การสมรสยังไม่สิ้นสุดข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันสามี ในเรื่องการแบ่งสินสมรสนั้นโจทก์ต้องสืบพยานตามคำฟ้องของตนการนำสืบนอกเหนือคำฟ้องจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น  ในเรื่องค่าทดแทนที่ภริยาจะเรียกจากสามีและหญิงอื่นหรือเมียน้อยได้มากน้อยเพียงใดนั้น ในคดีนี้ภริยาฟ้องเรียกค่าทดแทนจากทั้งสองคนเป็นเงิน 5,000,000 บาท ศาลเห็นว่าเมียน้อยทราบดีว่าฝ่ายชายมีภริยาอยู่แล้วยังไม่เลิกจึงกำหนดให้สามีจ่ายค่าทดแทนเป็นเงิน 300,000 บาท ให้เมียน้อยจ่ายค่าทดแทนเป็นเงิน 200,000 บาท สำหรับการเรียกค่าเลี้ยงชีพนั้นต้องปรากฏว่าเมื่อการสมรสสิ้นสุดทำให้ฝ่ายที่มีสิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพยากจนลงศาลจะกำหนดให้โดยพิจารณาถึงฐานะผู้ให้และผู้รับ คดีนี้ภริยาลาออกจากงานมาช่วยสามีจึงถือว่าภริยามีสิทธิเรียกได้เดือนละ 20,000 บาท แต่เรียกได้นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาไม่ใช่เรียกได้นับแต่วันฟ้อง และการเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพนี้กฎหมายบอกว่าสิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพเป็นอันสิ้นสุด ถ้ามิได้ฟ้องหรือฟ้องแย้งในคดีหย่านั้น

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่  8739/2551

 แม้สัญญาระหว่างสมรสเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ทำไว้ต่อกันระหว่างที่เป็นสามีภรรยากันจะมีข้อตกลงห้ามไม่ให้บอกล้างหรือยกเลิกสัญญามีกำหนดเวลา 20 ปี ก็ตามแต่ก็เป็นข้อตกลงที่ฝ่าฝืนต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1469 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่มุ่งคุ้มครองสิทธิของคู่สมรสโดยทั่วไปที่ได้ทำสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินไว้ในระหว่างสมรสโดยตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของความเสน่หาหรือเหตุอื่นใดอันทำให้ตนต้องเสียประโยชน์ มิให้ถูกเอารัดเอาเปรียบหรือถูกข่มเหงโดยไม่เป็นธรรมและเป็นการป้องกันมิให้ครอบครัวต้องร้าวฉานแตกแยกกัน ข้อตกลงจะไม่บอกล้างหรือบอกเลิกสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินในระหว่างสมรส จึงมีวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าว ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาดังกล่าวได้

  ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1526 บัญญัติว่า ในคดีหย่าถ้าเหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่เพียงฝ่ายเดียวและการหย่านั้นจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลงเพราะไม่มีรายได้พอจากทรัพย์สินหรือจากการงานที่เคยทำอยู่ระหว่างสมรส อีกฝ่ายหนึ่งนั้นจะขอให้ฝ่ายที่ต้องรับผิดจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้ได้ ค่าเลี้ยงชีพศาลอาจให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้ การกำหนดค่าเลี้ยงชีพให้แก่โจทก์ต้องพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์ที่โจทก์ไม่ได้ทำงานเพราะหลังสมรสโจทก์ลาออกจากงานมาช่วยดูแลคลินิกให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นแพทย์ประจำคลินิกดังกล่าวประกอบกับรายได้ของจำเลยที่ 1 ตลอดจนค่าครองชีพในปัจจุบันประกอบกัน

    การกำหนดค่าเลี้ยงชีพตามมาตรา 1526 นั้น โจทก์มีสิทธิเรียกร้องได้นับแต่วันที่คำพิพากษาให้หย่าขาดจากกันถึงที่สุด

 

ข้อตกลงห้ามไม่ให้บอกล้างหรือยกเลิกสัญญาระหว่างสมรสขัดต่อกฎหมายเป็นโมฆะ



โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากับโจทก์ ให้จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท พร้อมสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินทั้งห้าแปลงให้แก่โจทก์ให้จำเลยที่ 1 จ่ายค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์เป็นรายเดือน เดือนละ 35,000 บาท นับแต่เดือนเมษายน 2546 เป็นต้นไปจนกว่าโจทก์จะสมรสใหม่ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินค่าทดแทนแก่โจทก์ จำนวน 5,000,000 บาท และให้จำเลยที่ 1 แบ่งสินสมรส คือ รถยนต์ยี่ห้อโตโยต้า หมายเลขทะเบียน ค - 6952 กรุงเทพมหานคร บ้านพร้อมที่ดินที่หมู่บ้านลลิลกรีนวิลล์ ตั้งอยู่ถนนอ่อนนุช เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร และคลินิกกรุงเทพราม 2 แก่โจทก์

          จำเลยที่ 1 ให้การและแก้ไขคำให้การว่า จำเลยที่ 1 ยินยอมหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากับโจทก์ ที่ดินพิพาท พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ทำสัญญาระหว่างสมรสกับโจทก์ ฉบับลงวันที่ 21 มีนาคม 2546 ตามฟ้องจริง แต่จำเลยที่ 1 ได้บอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแก่โจทก์แล้ว สัญญาระหว่างสมรสจึงสิ้นผลผูกพันและโจทก์ไม่อาจบังคับให้จำเลยที่ 1 โอนทรัพย์สินตามสัญญาระหว่างสมรสได้ รถยนต์ยี่ห้อโตโยต้า หมายเลขทะเบียน ค - 6952 กรุงเทพมหานคร และบ้านพร้อมที่ดินที่หมู่บ้านลลิลกรีนวิลล์นั้น ไม่ใช่สินสมรส แต่เป็นของบุคคลอื่น ส่วนคลินิกกรุงเทพราม 2 เป็นกิจการที่ตั้งขึ้นระหว่างสมรสจริงโดยเช่าอาคารจากบุคคลอื่นเป็นสถานที่ประกอบกิจการ แต่โจทก์ตกลงรับเงินจากจำเลยที่ 1 และตกลงให้กิจการคลินิกกรุงเทพราม 2 ทั้งหมดเป็นของจำเลยที่ 1 ก่อนฟ้องคดีแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 อีก ค่าเลี้ยงชีพสูงเกินความจริงสมควรกำหนดให้เพียงไม่เกินเดือนละ 9,000 บาท เป็นเวลาไม่เกิน 2 ปี ค่าทดแทนจำนวน 3,000,000 บาท เป็นจำนวนสูงเกินไป หากจำเลยที่ 1 ต้องรับผิด ก็ไม่ควรเกิน 10,000 บาท โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกันกู้ยืมเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) จำนวน 374,439 บาท เพื่อนำมาใช้จ่ายร่วมกันในระหว่างสมรสดังนั้น โจทก์และจำเลยที่ 1 ต้องร่วมกันชำระหนี้ด้วย

   จำเลยที่ 2 ให้การว่า จำเลยที่ 2 ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 1 มีคู่สมรสแล้ว จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าทดแทนแก่โจทก์ หากต้องชดใช้ค่าทดแทนแล้วก็ไม่ควรเกิน 20,000 บาท

    ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์และจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากัน ให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเลี้ยงชีพให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนเดือนละ 20,000 บาท นับแต่วันฟ้อง (วันฟ้องตรงกับวันที่ 16 พฤษภาคม 2546) เป็นต้นไปจนกว่าโจทก์สมรสใหม่ ให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าทดแทนให้แก่โจทก์ จำนวน 300,000 บาท ให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าทดแทนแก่โจทก์ จำนวน 200,000 บาท กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์เท่าที่โจทก์ชนะคดี โดยกำหนดค่าทนายความ 10,000 บาท คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

  โจทก์และจำเลยทั้งสองอุทธรณ์

  ศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยที่ 1 คืนเงิน จำนวน 200,000 บาท แก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับนอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
      โจทก์และจำเลยทั้งสองฎีกา

  ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า “...พิเคราะห์แล้วข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย และศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์และจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากกัน คู่ความไม่อุทธรณ์ ประเด็นดังกล่าวเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ทั้งข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งกันรับฟังได้ว่า ระหว่างสมรสโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญายอมให้ทรัพย์สินซึ่งเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ตกได้แก่โจทก์ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในหนังสือสัญญาระหว่างสมรส แต่จำเลยที่ 1 ได้บอกล้างสัญญาระหว่างสมรสดังกล่าวแล้ว และจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้แต่งงานอยู่กินฉันสามีภริยาในขณะที่โจทก์ยังเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 มีปัญหาเห็นสมควรวินิจฉัยเป็นข้อแรกกตามฎีกาของโจทก์ว่า หนังสือสัญญาระหว่างสมรสมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย และเงื่อนไขในสัญญาไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือไม่ ตามหนังสือสัญญาระหว่างสมรส มีใจความว่า ข้อ 1. ผู้ให้สัญญา (จำเลยที่ 1) เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินรวม 5 แปลง พร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นสินส่วนตัว โดยผู้ให้สัญญาจะไม่ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้ เช่าซื้อ จำนอง หรือโอนสิทธิในที่ดินหรือให้เช่าที่ดินเกินกว่า 3 ปี หรือนำที่ดินดังกล่าวไปเป็นประกันใด ๆ กับบุคคลภายนอกเว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้รับสัญญา (โจทก์) ก่อน... ข้อ 3 ผู้ให้สัญญาจะไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการประพฤติผิดศีลธรรมอันดีระหว่างสามีภริยาอันเป็นเหตุให้สิ้นสุดแห่งการสมรสได้ กรณีที่ผู้ให้สัญญาผิดสัญญาข้างต้นยอมให้ทรัพย์สินตาม ข้อ 1. ตกเป็นสิทธิแก่ผู้รับสัญญาทันที ให้ผู้รับสัญญาดำเนินการทางศาลฟ้องบังคับโอนสิทธิได้ตามสัญญานี้ เห็นว่า สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาระหว่างสมรสที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่ทำไว้ต่อกันในระหว่างที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากัน เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 1 ได้บอกล้างสัญญาดังกล่าวในระหว่างที่เป็นสามีภริยากัน แม้ในสัญญาดังกล่าวจะมีข้อตกลงที่จะไม่ให้บอกล้างหรือยกเลิกสัญญามีกำหนดเวลา 20 ปีก็ตาม แต่ก็เป็นข้อตกลงที่ฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1469 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่มุ่งคุ้มครองสิทธิของคู่สมรสโดยทั่วไปที่ได้ทำสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นไว้ในระหว่างสมรสโดยตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของความเสน่หาหรือเหตุอื่นใดอันทำให้ตนต้องเสียประโยชน์ มิให้ถูกเอารัดเอาเปรียบหรือถูกข่มเหงโดยไม่ชอบธรรม และเป็นการป้องกันมิให้ครอบครัวต้องร้าวฉานแตกแยกกันได้ ข้อตกลงจะไม่บอกล้างหรือยกเลิกสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินในระหว่างสมรสของโจทก์และจำเลยที่ 1 จึงมีวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าวตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาดังกล่าวได้ หนังสือสัญญาระหว่างสมรส จึงไม่มีผลผูกพันอีกต่อไป จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ คำพิพากษาศาลล่างทั้งสองชอบแล้ว ฎีกาข้อนี้ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

     ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ข้อต่อไปมีว่า สินสมรสเกี่ยวกับทรัพย์สินในคลินิกกรุงเทพราม 2 ได้มีการแบ่งปันกันแล้วหรือไม่ จำเลยที่ 1 เบิกความว่า ก่อนฟ้องโจทก์ขอส่วนแบ่งทรัพย์สินในคลินิกกรุงเทพราม 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้จ่ายแคชเชียร์เช็คจำนวนเงิน 340,000 บาท ให้แก่โจทก์ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2546 เห็นว่า โจทก์กับจำเลยที่ 1 มีปัญหาครอบครัวจนต้องมีการทำหนังสือสัญญาระหว่างสมรสเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2546 ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 จ่ายแคชเชียร์เช็คจำนวนเงิน 340,000 บาท จึงน่าเชื่อว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ตกลงแบ่งทรัพย์สินในคลินิกกรุงเทพราม 2 ต่อกันตามที่จำเลยที่ 1 นำสืบจริง ที่โจทก์อ้างว่าเงินดังกล่าวเป็นการชำระหนี้เงินยืม จึงเลื่อนลอยไม่สมเหตุผล พยานจำเลยที่ 1 มีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามานั้นชอบแล้ว ฎีกาข้อนี้ของโจทก์ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน

          มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 ต้องคืนเงินส่วนตัวจำนวน 200,000 บาท ให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์หรือไม่ เห็นว่า ตามคำฟ้องของโจทก์ขอแบ่งสินสมรสเกี่ยวกับรถยนต์ยี่ห้อโตโยต้า รุ่นวีออส แต่ชั้นพิจารณาโจทก์นำสืบว่า ตนได้ขายรถยนต์ยี่ห้อมิตซูบิชิอันเป็นสินส่วนตัวเป็นเงิน 200,000 บาท และได้นำเงินดังกล่าวไปซื้อรถคันใหม่ แล้วมีการเปลี่ยนรถเรื่อยมาซึ่งปัจจุบันรถยนต์ยี่ห้อโตโยต้า รุ่นวีออส จะมีราคาเท่าใดไม่ทราบ และจำเลยที่ 1 ได้ขายรถยนต์คันดังกล่าวไปแล้ว เห็นว่า การนำสืบถึงสินส่วนตัวของโจทก์เป็นการนำสืบนอกเหนือจากคำฟ้อง จึงถือเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1 คืนเงินสินส่วนตัวของโจทก์ จำนวน 200,000 บาท ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาข้อนี้ของจำเลยที่ 1 ฟังขึ้น

          มีปัญหาต่อไปว่า ค่าทดแทนที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยทั้งสองชำระให้แก่โจทก์นั้นเหมาะสมหรือไม่ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้อุปการะเลี้ยงดูและยกย่องจำเลยที่ 2 เป็นภริยาในระหว่างที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ยังเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1523 บัญญัติให้โจทก์มีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 สามี และเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 2 ได้ โดยมาตรา 1525 บัญญัติว่า ค่าทดแทนดังกล่าวแล้วให้ศาลวินิจฉัยตามสมควรแก่พฤติการณ์ และให้ศาลคำนึงถึงจำนวนทรัพย์สินที่คู่สมรสนั้นได้รับไปจากการแบ่งสินสมรสเพราะการหย่านั้นด้วย เห็นว่า ก่อนที่จำเลยทั้งสองจะมีความสัมพันธ์ฉันสามีภริยากันนั้น จำเลยที่ 1 มีโจทก์เป็นภริยา และจำเลยที่ 2 มี นายธีรวัฒน์เป็นคู่หมั้นซึ่งบุคคลทั้งสี่ได้พบกันเพื่อตกลงปัญหาที่เกิดขึ้นแสดงว่าจำเลยที่ 2 ทราบดีว่าโจทก์เป็นภริยาของจำเลยที่ 1 เมื่อพิเคราะห์ถึงสภาพครอบครัวและความเสียหายต่อกาย ประกอบกับชื่อเสียงเกียรติยศของโจทก์แล้ว ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าทดแทนแก่โจทก์เป็นเงิน 300,000 บาท และให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าทดแทนแก่โจทก์เป็นเงิน 200,000 บาท นับว่าเหมาะสมชอบธรรมดีแล้ว ไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาเปลี่ยนแปลงแก้ไข ฎีกาข้อนี้ของจำเลยทั้งสองฟังไม่ขึ้น

          มีปัญหาต่อไปตามที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าเลี้ยงชีพให้แก่โจทก์เป็นเงินเดือนละ 20,000 บาท นับแต่วันฟ้องสูงเกินส่วนและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1526 บัญญัติว่าในคดีหย่า ถ้าเหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่ฝ่ายเดียวและการหย่านั้นจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลง เพราะไม่มีรายได้พอจากทรัพย์สินหรือจากการงานตามที่เคยทำอยู่ระหว่างสมรส อีกฝ่ายหนึ่งนั้นจะขอให้ฝ่ายที่ต้องรับผิดจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้ได้ ค่าเลี้ยงชีพนี้ศาลอาจให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้ โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้ให้และฐานะของผู้รับ...เห็นว่า กรณีภายหลังสมรสโจทก์ได้ลาออกจากงานและมาช่วยดูแลคลินิกกรุงเทพราม 2 ให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นแพทย์ประจำคลินิกดังกล่าว เมื่อพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์ที่โจทก์ไม่ได้ทำงาน จำนวนรายได้ของจำเลยที่ 1 ตลอดจนค่าครองชีพในปัจจุบันประกอบกันแล้ว ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าเลี้ยงชีพให้แก่โจทก์เป็นเงินเดือนละ 20,000 บาท นับว่าสมควรไม่สูงเกินส่วนแต่อย่างใด แต่การกำหนดให้ค่าเลี้ยงชีพตามมาตรา 1526 นั้น โจทก์มีสิทธิเรียกร้องนับแต่วันที่คำพิพากษาให้หย่าขาดจากกันถึงที่สุด ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเลี้ยงชีพเป็นรายเดือน เดือนละ 20,000 บาท นับแต่วันฟ้องจึงไม่ถูกต้องเห็นสมควรแก้ไข ฎีกาข้อนี้ของจำเลยที่ 1 ฟังขึ้นบางส่วน

          ปัญหาข้อสุดท้ายตามที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า โจทก์ต้องร่วมรับผิดชำระเงินกู้ที่มีต่อธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กับจำเลยที่ 1 ด้วยหรือไม่ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้เงินดังกล่าวโดยโจทก์เป็นผู้ให้ความยินยอมตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2544 และนำเงินมาใช้จ่ายเกี่ยวกับคลินิกกรุงเทพราม 2 แต่ปัจจุบันยังชำระหนี้คืนไม่ครบถ้วน เห็นว่า โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ตกลงแบ่งทรัพย์สินในคลินิกกรุงเทพราม 2 ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2546 ดังได้วินิจฉัยมาแล้วข้างต้น ดังนั้นโจทก์ไม่ต้องร่วมรับผิดชำระเงินกู้รายนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 อีกต่อไป ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามานั้นชอบแล้ว ฎีกาข้อนี้ของจำเลยที่ 1 ฟังไม่ขึ้นดุจกัน”

   พิพากษาแก้เป็นว่า ยกคำขอให้คืนเงินสินส่วนตัว 200,000 บาทแก่โจทก์แต่ให้จำเลยที่ 1 จ่ายค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์เป็นรายเดือน เดือนละ 20,000 บาท นับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา นอกจากที่แก้ให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ

     มาตรา 1469 สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินใดที่สามีภริยาได้ทำไว้ต่อกัน ในระหว่างเป็นสามีภริยากันนั้น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียในเวลาใด ที่เป็นสามีภริยากันอยู่ หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการ เป็นสามีภริยากันก็ได้ แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอก ผู้ทำการโดยสุจริต

   มาตรา 1526 ในคดีหย่า ถ้าเหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่ฝ่ายเดียว และการหย่านั้นจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลงเพราะไม่มีรายได้พอจากทรัพย์สิน หรือจากการงานตามที่เคยทำอยู่ระหว่างสมรสอีกฝ่ายหนึ่งนั้นจะขอให้ฝ่ายที่ต้องรับผิดจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้ได้ ค่าเลี้ยงชีพนี้ศาลอาจให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้ โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้ ให้และฐานะของผู้รับและให้นำบทบัญญัติ มาตรา 1598/39,มาตรา 1598/40 และ มาตรา 1598/41 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

 

มาตรา 1469 สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินใดที่สามีภริยาได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยากันนั้น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากันอยู่หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยากันก็ได้ แต่ไม่กระบทกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริต

 

 

 

*Agreements can be Voided* Section 1469.  Any agreement concluded between husband and wife during marriage may be voided by either of them at any time during marriage or within one year from the day of dissolution of marriage; provided that the right of third persons acting in good faith are not affected thereby.




การสิ้นสุดแห่งการสมรส

คดีฟ้องหย่าและการแบ่งทรัพย์สิน, สิทธิการเรียกค่าเลี้ยงดูของโจทก์, การชำระค่าทดแทนในคดีแพ่ง, การบังคับคดีและสิทธิทายาทในมรดก
เรียกค่าทดแทนจากสามีและหญิงอื่น(เมียน้อย), ยกย่องผู้อื่นฉันภริยา
ข้อตกลงแบ่งค่าเช่าที่ดินในสัญญาหย่า
ฟ้องหย่าคู่สมรสวิกลจริต, คนไร้ความสามารถกับการหย่า, แบ่งทรัพย์สินหลังหย่าในกรณีคนวิกลจริต
การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลัง
การหย่าโดยความยินยอมต้องทำอย่างไร?, หนังสือหย่า
การหย่าโดยความยินยอม, บันทึกเป็นหนังสือประสงค์หย่าขาด
การฟ้องและเรียกค่าทดแทนคดีครอบครัว
สามีภริยาจะต้องมีการร่วมประเวณีกันบ้างแต่ต้องเกิดจากความยินยอม
ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องด้วยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์
ไม่เกิดสิทธิฟ้องหย่าเพราะโจทก์มีพฤติกรรมนอกใจจำเลยยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปี เหตุฟ้องหย่า
สมัครใจแยกกันอยู่, จงใจละทิ้งร้าง, เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา
การสมรสสิ้นไปด้วยเหตุความตายของคู่สมรสฝ่ายหนึ่ง
แบ่งสินสมรส, สินสมรสที่เป็นเงินตรา, แบ่งสินสมรสหลังหย่า สิทธิและหน้าที่, สินส่วนตัวกับสินสมรส
อายุความฟ้องหย่า, บันทึกข้อตกลงหย่า, หลักกฎหมายมาตรา 1515,
สิทธิฟ้องค่าอุปการะเลี้ยงดูอันจะอยู่ในอายุความ 5 ปี , หน้าที่บิดามารดาในการเลี้ยงดูบุตร
การฟ้องหย่าด้วยเหตุหมิ่นประมาท, สิทธิการฟ้องหย่าหมดอายุความ
นำตำรวจจับกุมภริยา หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามโจทก์อย่างร้ายแรง
จงใจละทิ้งร้างภริยาไปเกินหนึ่งปีฟ้องหย่าได้, สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา
การจงใจทิ้งร้างไปเกินกว่า 1 ปีต้องในลักษณะที่ไม่หวนกลับไปหาคู่สมรสอีก
ไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควร
สิทธิฟ้องหย่าระงับไปเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีเว้นแต่เหตุฟ้องเกิดขึ้นต่อเนื่อง
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ สิทธิเรียกร้องกำหนดอายุความ 5 ปี
เหตุฟ้องหย่าให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ยื่นฟ้องหย่า
สามีฟ้องหย่า,จงใจละทิ้งร้าง,เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา
ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจ, อุปการะเลี้ยงดูหญิงอื่นเป็นภริยา
สมัครใจแยกกันอยู่เกิน 3 ปี ต้องเพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันได้โดยปกติสุขด้วย
แยกกันอยู่เพราะสามีรับราชการที่อื่น, ไม่ถือว่าเป็นการแยกกันอยู่โดยความสมัครใจ
ทะเลาะกันและทำร้ายร่างกายยังไม่เป็นเหตุฟ้องหย่า
แยกกันอยู่เพราะสามียกย่องหญิงอื่น, เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง
ฟ้องหย่าจงใจละทิ้งร้างเรียกสินสอดทองหมั้นคืน
สามีหรือภริยาประพฤติชั่วอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
รู้เห็นเป็นใจในการกระทำที่เป็นเหตุหย่าจะยกเป็นเหตุฟ้องหย่านั้นไม่ได้
พี่น้องของผู้ตายขอเพิกถอนการจดทะเบียนสมรสซ้อนไม่ได้
อำนาจฟ้องขอเพิกถอนการสมรสเพราะสำคัญผิดตัว
ศาลมีอำนาจกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก-ได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปี ฟ้องหย่าได้
สิทธิฟ้องหย่าระงับเมื่ออีกฝ่ายให้อภัยแล้ว
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปีฟ้องหย่าได้
สิทธิที่จะติดต่อกับบุตรของตนได้ตามสมควรแล้วแต่พฤติการณ์
ไม่อาจร่วมประเวณีได้ ต้องการฟ้องหย่า
แยกกันอยู่หรือจงใจละทิ้งร้าง? -อยู่บ้านเดียวกันแต่ก็มีลักษณะแบบต่างคนต่างอยู่
กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง
ไม่ถือว่าจำเลยประพฤติชั่วทำให้โจทก์อับอายถูกเกลียดชังจนเป็นเหตุฟ้องหย่าได้
สิทธิที่จะเรียกค่าทดแทนชู้สาวนั้นต้องแสดงตนโดยเปิดเผย
เหตุแห่งการฟ้องหย่าทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลงขอให้อีกฝ่ายหนึ่งจ่ายค่าเลี้ยงชีพได้
ฟ้องซ้ำ ค่าอุปการะเลี้ยงดู หนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนด
การแบ่งสินสมรสและกรรมสิทธิ์รวม
หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามสามีหรือบุพการี
ขอเพิกถอนทะเบียนสมรสซ้อน สมรสซ้อนโดยไม่สุจริต
ทะเบียนสมรส ลงชื่อฝ่ายชายคนเดียว, เพิกถอนการรับบุตรบุญธรรม
ฟ้องหย่าอ้างเหตุสมัครใจแยกกันอยู่
ทำร้ายร่างกายถ้าเป็นการร้ายแรงฟ้องหย่าได้, ศาลปรับหนึ่งพันไม่เป็นการร้ายแรง
ฟ้องหย่าอ้างว่าจำเลยดูหมิ่นโจทก์และบุพการีของโจทก์อย่างร้ายแรง
การกระทำของจำเลยถือไม่ได้ว่าเป็นการประพฤติชั่วอันเป็นเหตุฟ้องหย่า
โจทก์ได้ให้อภัยจำเลยเรื่องทำร้ายร่างกายแล้วถือได้ว่าสิทธิฟ้องหย่าในข้อนี้ย่อมหมดไป
ทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง
เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากัน, การทำร้ายคู่สมรส
เหตุฟ้องหย่า เหตุที่ไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ มีอะไรบ้าง
ความสมบูรณ์ของการสมรส, ฟ้องให้การสมรสเป็นโมฆะ
การละเมิดเกิดขึ้นต่อเนื่องอายุความจึงยังไม่เริ่มนับคดีไม่ขาดอายุความ
การฟ้องหย่าและหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากสามี ไม่ฟ้องหย่า
ฟ้องหย่าอ้างสิทธิที่จะเลือกคู่ครองตามรัฐธรรมนูญ
รู้ว่าสามีไปมีหญิงอื่นเกินหนึ่งปีก็ฟ้องเรียกค่าเสียหายได้,อายุความ
จงใจละทิ้งร้างไปเกินหนึ่งปี
ฟ้องหย่าได้ที่ศาลใด
สามีโจทก์เข้าออกบ้านของจำเลยในเวลากลางคืนบ่อยครั้ง
การหย่าโดยคำพิพากษาจะมีผลต่อเมื่อเวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุด
หนังสือร้องเรียนผู้บังคับบัญชาเรื่องความสัมพันธ์กับหญิงอื่น
ฟ้องหย่าอ้างแยกกันอยู่เกินสามปีต้องเพราะไม่อาจอยู่ร่วมกันได้โดยปกติสุข
เหตุฟ้องหย่าอ้างว่าใช้วาจาไม่สุภาพและทะเลาะโดยไม่มีเหตุผล
หลักเกณฑ์การใช้สิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพหลังการหย่า
สิทธิฟ้องหย่าของโจทก์หมดไปโจทก์ให้ความยินยอมและรู้เห็นเป็นใจ
คำสั่งขอคุ้มครองชั่วคราวเกี่ยวด้วยดอกผลของสินสมรส
แม้โจทก์ไม่ได้นำสืบเรื่องอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่ศาลมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดได้
จดทะเบียนสมรสโดยต่างไม่ได้ยินยอมเป็นสามีภริยากันอย่างแท้จริง
ความหมายว่า"ค่าอุปการะเลี้ยงดูจนกว่าจะสมรสใหม่และจนกว่าการสมรสสิ้นสุดลง"
ฟ้องหย่าคดีอยู่ระหว่างฎีกาฟ้องคดีใหม่เป็นฟ้องซ้อน
สำนักงานการปฏิรูปฯ (ส.ป.ก.)ขอออกโฉนดโดยมิชอบ
พักโรงแรมห้องเดียวกับสามี ฟ้องเรียกค่าทดแทนจากหญิงชู้โดยไม่ต้องฟ้องหย่า
โจทก์ไม่ทราบแน่ชัดเรื่องชู้สาวจึงไม่เป็นการยินยอมและให้อภัยของโจทก์
บันทึกท้ายทะเบียนการหย่าว่าให้ที่ดินตกเป็นของบุตรเมื่อตายไม่ใช่พินัยกรรม
คดีฟ้องหย่าฟ้องชู้สาวไม่มีกฎหมายห้ามมิให้รับฟังแผ่นบันทึกเสียงที่แอบบันทึกไว้
สมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้
การจดทะเบียนหย่าด้วยการแสดงเจตนาลวง
จดทะเบียนหย่าแล้วก็ฟ้องเรียกค่าทดแทนชู้สาวได้
ขับไล่โจทก์ออกจากบ้านเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง