

ฟ้องหย่าจงใจละทิ้งร้างเรียกสินสอดทองหมั้นคืน
ปรึกษากฎหมายทางแชทไลน์
ฟ้องหย่าจงใจละทิ้งร้างเรียกสินสอดของหมั้นคืน สามีภรรยาทำพิธีแต่งงานกันตามประเพณี จดทะเบียนสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย และร่วมอยู่กินด้วยกันแล้ว แม้จะมีเรื่องทะเลาะกันรุนแรงเพียงใด หากมิใช่เป็นเรื่องร้ายแรงถึงขนาดแล้วย่อมที่จะให้อภัยโดยต่างฝ่ายต่างผ่อนปรนให้แก่กันได้ สาเหตุที่ทะเลาะกันเป็นสาเหตุเรื่องเงินทองภายในครอบครัวซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดาทั่วไปจึงมิใช่เป็นสาเหตุร้ายแรงและสามารถปรับความเข้าใจระหว่างกันได้ สามีไปอยู่ที่บ้านตนเองโดยไม่ยอมกลับไปหาภริยา สามีมิได้ขวนขวายที่จะชักชวนให้ภริยาไปอยู่ด้วย ข้อเท็จจริงจึงยังฟังไม่ได้ว่าภริยาจงใจละทิ้งร้าง สามีจึงไม่มีเหตุที่จะฟ้องหย่า กรณีที่ฝ่ายชายจะมีสิทธิเรียกค่าสินสอดทองหมั้นและค่าทดแทนค่าใช้จ่ายในการแต่งงานคืนจากฝ่ายหญิงได้นั้น ต้องเป็นกรณีที่มีการหมั้นแล้ว แต่ไม่มีการสมรสโดยเป็นความผิดของฝ่ายหญิง เมื่อปรากฏว่า ทั้งสองได้แต่งงานกันตามประเพณีและจดทะเบียนสมรสกันแล้ว สามีจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าสินสอดทองหมั้นและค่าทดแทน ค่าใช้จ่ายในการแต่งงานคืนจากภริยาได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 83/2542 การที่โจทก์จะมีสิทธิเรียกค่าสินสอดทองหมั้นและ ค่าทดแทนค่าใช้จ่ายในการแต่งงานคืนจากจำเลยได้นั้น ต้องเป็นกรณีที่มีการหมั้นแล้ว แต่ไม่มีการสมรส โดยเป็น ความผิดของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1437 วรรคสาม,1439 และ 1440(2) เมื่อปรากฏว่า โจทก์จำเลยได้แต่งงานกันตามประเพณีและจดทะเบียนสมรสกันแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าสินสอดทองหมั้นและค่าทดแทน ค่าใช้จ่ายในการแต่งงานคือจากจำเลยได้เพราะมิใช่กรณี จำเลยผิดสัญญาหมั้น โจทก์กับจำเลยเป็นสามีภริยาโดยทำพิธีแต่งงานตามประเพณี จดทะเบียนสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย และร่วมอยู่กิน ด้วยกันแล้ว เมื่อสาเหตุที่โจทก์จำเลยทะเลาะกัน เป็นเรื่องเงินทองภายในครอบครัวซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดา ทั่วไป มิใช่เป็นสาเหตุร้ายแรงและสามารถปรับความเข้าใจ ระหว่างกันได้ แต่กลับได้ความว่า โจทก์ไปอยู่ที่บ้านสวน ของโจทก์โดยไม่ยอมกลับไปหาจำเลย แม้โจทก์จะมีวันหยุด ในวันอาทิตย์ว่างอยู่ แต่ก็อ้างว่าจะต้องซักผ้าและ ทำธุระส่วนตัว หากโจทก์จะไปพบจำเลยบ้างในวันธรรมดา เป็นบางครั้ง โจทก์ก็อาจกระทำได้เพราะโจทก์เคยอยู่บ้านจำเลย และเคยไปทำงานโดยไปกลับมาแล้ว แต่โจทก์ก็มิได้ขวนขวาย ที่จะกระทำดังกล่าวหรือชักชวนให้จำเลยไปอยู่กับโจทก์ ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยจงใจละทิ้งโจทก์โจทก์จึงไม่มีเหตุที่จะฟ้องหย่า
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์ขอให้พิพากษาให้โจทก์หย่าขาดจากจำเลย ให้จำเลยส่งใบสำคัญการสมรสที่จำเลยถือไว้ 2 ฉบับ คืนโจทก์ 1 ฉบับ ให้จำเลยใช้เงินค่าสินสอดทองหมั้น 20,000 บาท และเงินที่ใช้จ่ายในการแต่งงาน 3,000 บาท แก่โจทก์ จำเลยให้การว่า จำเลยไม่ได้ทิ้งร้างโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยใช้ค่าสินสอดและเงินใช้จ่ายในงานแต่งงาน ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์มีว่าโจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยชดใช้เงินค่าสินสอดและค่าใช้จ่ายในการแต่งงานหรือไม่ จำเลย (ที่ถูกน่าจะเป็นโจทก์) ฎีกาว่า ฟ้องโจทก์ในส่วนค่าสินสอดทองหมั้นและเงินที่ใช้จ่ายไปในการแต่งงานนั้นไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม ศาลฎีกาเห็นว่าคดีนี้โจทก์ยื่นฟ้องครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2540 และได้บรรยายฟ้องไว้ในข้อ 3 ว่า โจทก์และจำเลยจดทะเบียนสมรสกัน เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2539 ณ ที่ว่าการอำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น โดยโจทก์จ่ายเงินค่าสินสอดทองหมั้นเป็นเงิน 20,000 บาท และค่าใช้จ่ายในการแต่งงานอีกเป็นเงิน 3,000 บาท รวมเป็นเงินที่ใช้จ่ายในการแต่งงาน 23,000 บาท ฯลฯ แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า คดีนี้โจทก์เคยฟ้องหย่าจำเลยโดยอาศัยพฤติการณ์ตามฟ้องข้อ 1 ถึงข้อ 4 มาแล้ว ในคดีหมายเลขแดงที่ 91/2540 ของศาลนี้ ขณะนี้คดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างระยะเวลาอุทธรณ์ โจทก์จึงจะมาฟ้องโดยอาศัยพฤติการณ์ดังกล่าวอีกไม่ได้เพราะเป็นฟ้องซ้อน จึงไม่รับฟ้องในข้อ 1 ถึงข้อ 4 ส่วนฟ้องโจทก์ตามข้อ 5 เป็นเหตุฟ้องหย่าที่เกิดขึ้นใหม่ โจทก์อ้างเหตุดังกล่าวฟ้องหย่าจำเลยได้ แต่เนื่องจากฟ้องโจทก์ฟุ่มเฟือยเกินไปอ่านไม่เข้าใจ ให้โจทก์ทำคำฟ้องโดยอ้างเหตุเฉพาะข้อ 5 มายื่นต่อศาลใหม่ภายใน 7 วัน นับแต่วันนี้ มิฉะนั้นถือว่าทิ้งคำฟ้อง โจทก์จึงทำคำฟ้องลงวันที่ 15 กรกฎาคม 2540ยื่นเข้ามาใหม่โดยนำเหตุฟ้องหย่าตามข้อ 5 มาขยายความและตัดฟ้องโจทก์ข้อ 3 ในส่วนการบรรยายเรื่องค่าสินสอดทองหมั้นและเงินที่ใช้จ่ายในการแต่งงานไปตามคำสั่งศาล แต่ยังคงคำขอให้จำเลยชดใช้เงินค่าสินสอดทองหมั้น 20,000 บาท และเงินที่ใช้จ่ายไปในการแต่งงาน 3,000 บาท รวมเป็นเงิน 23,000 บาท ไว้ในคำขอท้ายฟ้อง ดังนั้น ในการแปลคำฟ้อง โจทก์จึงจำต้องอ่านคำฟ้องเดิมและคำฟ้องใหม่ของโจทก์ประกอบกัน เมื่อโจทก์ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในเรื่องค่าสินสอดทองหมั้นและเงินค่าใช้จ่ายในการแต่งงานไว้ในฟ้องเดิมข้อ 3 แล้ว จึงเป็นฟ้องที่ไม่เคลือบคลุม ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าเป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกาฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังขึ้น อย่างไรก็ตาม กรณีที่โจทก์จะมีสิทธิเรียกค่าสินสอดทองหมั้นและค่าทดแทนค่าใช้จ่ายในการแต่งงานคืนจากจำเลยได้นั้น ต้องเป็นกรณีที่มีการหมั้นแล้ว แต่ไม่มีการสมรสโดยเป็นความผิดของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1437 วรรคสาม, 1439 และ 1440(2) เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงตามคำเบิกความของโจทก์และจำเลยว่า โจทก์จำเลยได้แต่งงานกันตามประเพณีและจดทะเบียนสมรสกันแล้ว ดังนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าสินสอดทองหมั้นและค่าทดแทนค่าใช้จ่ายในการแต่งงานคืนจากจำเลยได้เพราะมิใช่กรณีจำเลยผิดสัญญาหมั้นตามบทกฎหมายดังกล่าว ปัญหาวินิจฉัยต่อไปมีว่า จำเลยละทิ้งร้างโจทก์ไปเกิน 1 ปีอันจะเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยได้หรือไม่นั้น โจทก์และจำเลยเบิกความยันกันอยู่ฟังไม่ได้ข้อยุติว่าการที่โจทก์ออกจากบ้านของจำเลยที่อาศัยอยู่กินร่วมกันนั้นเกิดจากการที่จำเลยขับไล่โจทก์ออกจากบ้านหรือเกิดจากการที่โจทก์ไปพักอาศัยที่บ้านสวนเพื่อความสะดวกในการไปทำงานของโจทก์กันแน่ แต่เมื่อพิเคราะห์คำเบิกความของโจทก์โดยละเอียดแล้วจะเห็นได้ว่า โจทก์กับจำเลยเป็นสามีภรรยาโดยทำพิธีแต่งงานตามประเพณี จดทะเบียนสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย และร่วมอยู่กินด้วยกันแล้ว โดยเหตุผลแม้จะมีเรื่องทะเลาะกันรุนแรงเพียงใด หากมิใช่เป็นเรื่องร้ายแรงถึงขนาดแล้วย่อมที่จะให้อภัยโดยต่างฝ่ายต่างผ่อนปรนให้แก่กันได้ ทั้งยังได้ความจากคำเบิกความของโจทก์ว่า สาเหตุที่ทะเลาะกันเป็นสาเหตุเรื่องเงินทองภายในครอบครัวซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดาทั่วไปจึงมิใช่เป็นสาเหตุร้ายแรงและสามารถปรับความเข้าใจระหว่างกันได้ แต่กลับได้ความว่า โจทก์ไปอยู่ที่บ้านสวนของโจทก์โดยไม่ยอมกลับไปหาจำเลย แม้โจทก์จะมีวันหยุด ในวันอาทิตย์ว่างอยู่ก็ตาม โดยอ้างเหตุผลว่าจะต้องซักผ้าและทำธุระส่วนตัวเท่านั้น และหากโจทก์จะไปพบจำเลยบ้างในวันธรรมดาเป็นบางครั้ง ซึ่งโจทก์อาจกระทำได้เพราะโจทก์เคยอยู่บ้านจำเลยและเคยไปทำงานโดยไปกลับมาแล้ว แต่โจทก์ก็มิได้ขวนขวายที่จะกระทำดังกล่าวหรือชักชวนให้จำเลยไปอยู่กับโจทก์ ข้อเท็จจริงจึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยจงใจละทิ้งโจทก์ดังอ้าง โจทก์จึงไม่มีเหตุที่จะฟ้องหย่าคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น" พิพากษายืน
มาตรา 1437 การหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์ สินอันเป็นของหมั้นให้แก่หญิง เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น เมื่อหมั้นแล้วให้ของหมั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิง สินสอด เป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง แล้วแต่กรณี เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง หรือโดยมีพฤติการณ์ซึ่ง ฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ ทำให้ชายไม่สมควรหรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนได้ ถ้าจะต้องคืนของหมั้นหรือสินสอดตามหมวดนี้ ให้นำบทบัญญัติ มาตรา 412 ถึง มาตรา 418 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้ บังคับโยอนุโลม Section 1437. Betrothal is not valid until the man gives or transfers the property which is Khongman to the woman as evidence that the woman after the betrothal has taken place.
The Khongman shall become the property of the woman after the betrothal has taken place. Sinsod is property given on the part of the man to the parents, adopter of guardian of the woman, as the case may be, in return of the woman agreeing to marry. If the marriage does not take place causing mainly from the woman or on account of any circumstances that make the woman responsible therefore and make the marriage unsuitable for the man or make the man unable to marry that woman, the man may claim the return of the Sinsod. มาตรา 1439 เมื่อมีการหมั้นแล้ว ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นอีกฝ่ายหนึ่ง มีสิทธิเรียกให้รับผิดใช้ค่าทดแทน ในกรณีที่ฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญา หมั้นให้คืนของหมั้นแก่ฝ่ายชายด้วย มาตรา 1440 ค่าทดแทนนั้นอาจเรียกได้ ดังต่อไปนี้
ของหมั้นและสินสอดตามกฎหมาย, เรียกสินสอดของหมั้นคืนไม่ได้ ขณะหมั้นหญิงคู่หมั้นอายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ หลังแต่งงานและอยู่กินด้วยกันนานประมาณ 1 เดือน ตลอดเวลาที่อยู่กินด้วยกัน ชายมุ่งประสงค์จะแต่งงานอยู่กินกับตามประเพณีเป็นสำคัญ หาได้นำพาต่อการจดทะเบียนสมรสไม่ เงินทั้งหลายที่ชายมอบให้แก่หญิงจึงไม่ใช่ของหมั้นและสินสอดตามกฎหมายแม้จะมีการหมั้นกันตามประเพณีและมอบทรัพย์สินให้แก่กัน ชายก็หามีสิทธิเรียกคืนไม่
|