

ความสมบูรณ์ของการสมรส, ฟ้องให้การสมรสเป็นโมฆะ สามีภริยาที่จดทะเบียนสมรสกันแล้วโดยที่ไม่ได้จดทะเบียนหย่า ต่อมาไม่ได้อยู่กินฉันสามีภริยาและไม่ได้อุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน จนสามีได้ไปจดทะเบียนสมรสและจดทะเบียนหย่ากับหญิงอื่นอีกสองคนนั้น กรณีดังกล่าวถือว่าการสมรสครั้งแรกนั้นของสามีภริยาสมบูรณ์หรือไม่? การที่สามีภริยาจดทะเบียนสมรสกันแล้วโดยยังไม่ได้จดทะเบียนหย่ากันและไม่อุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกันนั้น การไม่อุปการะเลี้ยงดูเป็นเหตุที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้เท่านั้นแต่ไม่ทำให้การสมรสสิ้นสุดหรือไม่สมบูรณ์แต่อย่างใด การสมรสยังคงสมบูรณ์และเป็นสามีภริยาชอบด้วยกฎหมายต่อกันตลอดมา การที่สามีไปจดทะเบียนสมรสกับหญิงอื่นในขณะที่มีภริยาชอบด้วยกฎหมายอยู่นั้นจึงเป็นการสมรสซ้อนและเป็นโมฆะ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3192/2549 ป.พ.พ. มาตรา 1461 เป็นบทบัญญัติในหมวด 3 เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา ซึ่งเป็นเรื่องภายหลังการสมรสตามหมวด 2 เรื่อง เงื่อนไขแห่งการสมรส กล่าวคือ เมื่อสมรสกันแล้วหากฝ่ายใดปฏิบัติฝ่าฝืนมาตรา 1461 ดังกล่าวก็จะเป็นเหตุฟ้องหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (4) หรือ (6) ที่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งอาจนำมาฟ้องร้องได้เท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการฟ้องหย่าระหว่างโจทก์กับพลตำรวจตรี ว. และไม่มีคำพิพากษาของศาลให้หย่ากัน การสมรสระหว่างโจทก์กับพลตำรวจตรี ว. จึงยังสมบูรณ์ตามกฎหมาย แม้หากโจทก์กับพลตำรวจตรี ว. จะมิได้อยู่ด้วยกันและมิได้ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันในระยะหลังก็มิได้มีผลต่อความสมบูรณ์ของการสมรสระหว่างโจทก์กับพลตำรวจตรี ว.โจทก์จึงยังเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของพลตำรวจตรี ว. อยู่ตลอดมา เมื่อจำเลยมาจดทะเบียนสมรสกับพลตำรวจตรี ว. ขณะที่พลตำรวจตรี ว. มีโจทก์เป็นคู่สมรสอยู่จึงเป็นการสมรสที่ฝ่าฝืนเงื่อนไขแห่งการสมรสในมาตรา 1452 และเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 แม้ต่อมาพลตำรวจตรี ว. ถึงแก่ความตาย โจทก์ก็เป็นผู้มีส่วนได้เสียที่มีอำนาจฟ้องขอให้การสมรสระหว่างจำเลยกับตำรวจตรี ว. เป็นโมฆะได้ มาตรา 1461 สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา มาตรา 1495 การสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรา 1449 มาตรา 1450 มาตรา 1452 และมาตรา 1458 เป็นโมฆะ จำเลยให้การ ขอให้ยกฟ้อง จำเลยอุทธรณ์ จำเลยฎีกา ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าโจทก์กับพลตำรวจตรีวัฒนา __ จดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2509 ตามทะเบียนสมรสเอกสารหมาย จ.1 ต่อมาปี 2513 พลตำรวจตรีวัฒนา จดทะเบียนสมรสกับนางธนพรรณ __ แต่ก็ได้จดทะเบียนหย่ากันในปี 2536 หลังจากนั้นวันที่ 20 พฤษภาคม 2541 พลตำรวจตรีวัฒนาได้จดทะเบียนสมรสกับจำเลยตามทะเบียนสมรสเอกสารหมาย ล.8 โดยที่ขณะนั้นพลตำรวจตรีวัฒนา ยังมีโจทก์เป็นคู่สมรสอยู่ คดีคงมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยเพียงว่า ใบจดทะเบียนการสมรสระหว่างโจทก์กับพลตำรวจตรีวัฒนา ไม่เป็นความจริง เพราะโจทก์กับพลตำรวจตรีวัฒนา มิได้อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาและมิได้ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 มาตั้งแต่ปี 2531 จนพลตำรวจตรีวัฒนาถึงแก่ความตาย ทำนองว่าการสมรสระหว่างโจทก์กับพลตำรวจตรีวัฒนา ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายนั้น เห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 ดังกล่าว เป็นบทบัญญัติในหมวด 3 เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา ซึ่งเป็นเรื่องภายหลังการสมรสตามหมวด 2 เรื่อง เงื่อนไขแห่งการสมรส กล่าวคือ เมื่อสมรสกันแล้วหากฝ่ายใดปฏิบัติฝ่าฝืนมาตรา 1461 ดังกล่าวก็จะเป็นเหตุฟ้องหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 (4) หรือ (6) ที่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งอาจนำมาฟ้องร้องได้เท่านั้น เมื่อคดีนี้ไม่ปรากฏว่ามีการฟ้องหย่าระหว่างโจทก์กับพลตำรวจตรีวัฒนา และไม่มีคำพิพากษาของศาลให้หย่ากัน การสมรสระหว่างโจทก์กับพลตำรวจตรีวัฒนา จึงยังสมบูรณ์ตามกฎหมาย แม้หากโจทก์กับพลตำรวจตรีวัฒนา จะมิได้อยู่กินด้วยกันและมิได้ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันในระยะหลังดังที่จำเลยฎีกาก็มิได้มีผลต่อความสมบูรณ์ของการสมรสระหว่างโจทก์กับพลตำรวจตรีวัฒนา โจทก์จึงยังเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของพลตำรวจตรีวัฒนาอยู่ตลอดมา เมื่อจำเลยมาจดทะเบียนสมรสกับพลตำรวจตรีวัฒนา ขณะที่พลตำรวจตรีวัฒนา มีโจทก์เป็นคู่สมรสอยู่ จึงเป็นการสมรสที่ฝ่าฝืนเงื่อนไขแห่งการสมรสในมาตรา 1452 และเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 แม้ต่อมาพลตำรวจตรีวัฒนา ถึงแก่ความตาย โจทก์ก็เป็นผู้มีส่วนได้เสียที่มีอำนาจฟ้องขอให้การสมรสระหว่างจำเลยกับพลตำรวจตรีวัฒนา เป็นโมฆะได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น” พิพากษายืน เรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดู : การฟ้องร้องให้สามีจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่ภริยานั้น กฎหมายไม่ได้บังคับให้ต้องฟ้องหย่าก็สามารถฟ้องได้ กฎหมายระบุให้สามีภริยาจะต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกันตามความสามารถและฐานะของตน สามีหรือภริยาจึงมีสิทธิฟ้องร้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูต่อกันได้โดยไม่จำเป็นต้องหย่าจะฟ้องหย่า คู่สมรสที่ยังไม่มีความประสงค์ที่จะหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากัน แต่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่อุปการะเลี้ยงดูตามความสามารถและฐานะของตนนั้น คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ คือฟ้องเรียกเฉพาะค่าอุปการะเลี้ยงดูที่ไม่ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะสามีภริยา การฟ้องหย่าจะเป็นการฟ้องขอให้การสมรสสิ้นสุดลงซึ่งต้องมีเหตุฟ้องหย่าตามกฎหมายด้วย และอาจจะเรียกค่าเลี้ยงชีพได้ด้วยเหตุที่เรียกว่าค่าเลี้ยงชีพแทนที่จะเรียกค่าเลี้ยงดูก็เพราะขาดจากการเป็นสามีภริยากันแล้วจึงไม่มีหน้าที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกันอีกต่อไป การเรียกค่าเลี้ยงชีพศาลจะสั่งให้มากน้อยเท่าใดหรือไม่ก็ได้ สามีภรรยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถ และฐานะของตน สามีจะต้องช่วยเหลือ อุปการะเลี้ยงดูภรรยา และในขณะเดียวกันภรรยาก็จะต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูสามีเช่นกัน ใครจะเป็นผู้ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและฐานะคงจะต้องพิจารณาดังนี้ - หากภรรยาเกิดเจ็บไข้ได้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ฝ่ายสามีจะต้องช่วยเหลือนำส่ง โรงพยาบาลทำการรักษา เมื่อกลับมาพักฟื้นที่บ้านต้องช่วยดูแลในเรื่องอาหารการกินและเฝ้าดูแลตามสมควรที่จะ
|